เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 10159 ทำไมคำว่า กู มึง เดี่ยวนี้เป็นคำไม่ไพเราะครับ
เด็กหลงทาง
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 24 ต.ค. 00, 12:00

ทำไมคำว่า กู มึง เดี่ยวนี้เป็นคำไม่ไพเราะซะได้ละครับ
ในเมื่อ เมื่อก่อนนั้นก็เคยพูดกันเป็นปกติ

มีใครออกกฏมาห้ามพูด หรือว่าค่อยๆ เลิกพูดกันไปครับ
บันทึกการเข้า
เท่ง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 25 ต.ค. 00, 00:00

เป็นคำถามที่ดีครับ ผมก็เคยคิดเหมือนกัน
ความจริงแล้วก็เป็นเพียงความคืดหรือค่านิยม
ต่างหากครับว่า สุภาพหรือไม่สุภาพ ยกตัวอย่าง ง่าย ๆ การเรอหลังการกินอาหาร
ของชาวญี่ปุ่นถือเป็นการสุภาพอย่างดี
ลองมาเรอตอนที่กินข้าวกับแม่ของแฟนซิครับ
เป็นเรื่อง
บันทึกการเข้า
ไฝ่รู้วิชาการ
อสุรผัด
*
ตอบ: 7

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 07 ก.ย. 05, 07:43

 ดิฉันก็เคยคิดเหมือนกัน เพราะเมื่อสมัยเด็ก ตอนสาว ๆ เคยพูดกับเพื่อน ๆ แม้ปัจจุบันบางทียังพูดอยู่  แต่รู้สึกอายคนเมื่อเพื่อนพูดดัง ๆ ในที่สาธารณะ  อาจจะเป็นเพราะเดี๋ยวนี้มันค่อย ๆ เลิกพูดกันไป เพราะถือว่าเป็นคำไม่ไพเราะมังคะ  จะไม่เป็นผู้ดีไป  ฮิ ฮิ
บันทึกการเข้า
ju
อสุรผัด
*
ตอบ: 18

ทำงานค่ะ


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 07 ก.ย. 05, 16:17

 อาจจะอยู่ที่สภาวะทางสังคมมั้งคะ

คนในชนบทพูดกันไม่เห็นรู้สึกว่าหยาบคายเลย  

เท่าที่สังเกตุ  ถ้าเป็นคนแปลกถิ่นไป คนสูงอายุในชนบท  มักจะเรียก ตัวเองว่า ข้า  เรียกคนไปเยือนที่ไม่สนิทว่าเอ็ง

แต่ถ้าเป็นคนบ้านเดียวกัน  ก็  มึง -กู

ฟังดู อบอุ่น ไม่เมือนคนกรุงเลยแฮะ
บันทึกการเข้า
นักเรียนประวัติศาสตร์
อสุรผัด
*
ตอบ: 2

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 ก.ย. 05, 16:01

 มีความเห็นว่า คงจะเป็นเริ่มมาจากการที่เรารับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาใช้มากขึ้นในช่วงสมัยหลัง ที่พยายามที่จะให้เราเปลี่ยนแปลงตามแบบตะวันตก โดยอาจจะเชื่อกันว่า การพูดคำว่ากูมึงเป็ฯคำที่ไม่สุภาพ ควรจะใช้ภาษาที่เป็นทางการมากกว่า ก้ออาจเป็นได้
เพราะในความเป็นจริงแล้ว คำว่ากูมึง ก้อไม่ได้เสียหายหรือฟังดูเป็นคำหยาบแต่อย่างไร
อาจจะเป็ฯเพราะผู้เขียนเองใช้จนชินซะแล้วก้อได้      
บันทึกการเข้า
Doraikufuki
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 12:19


อาจารย์เคยบอกว่า มันเป็นลำดับขั้นของความสนิทค่ะ

เปิดเทอมเจอกันวันเเรก เรา-เธอ

1-2อาทิตย์ให้หลัง ชั้น-แก

กลางเทอม กู-มึง

คือว่าที่โรงเรียนก็พูดกันเยอะค่ะ แต่ถ้าพูดแค่มึงกูเนี่ยมันก็ไม่

ค่อยเสียหายอะไรเท่าไหร่หรอกนะคะ แต่บางคนเล่นด่ากันถึงพ่อ

ถึงแม่เนี่ย มันก็สุดจะทนนะคะ (ที่โรงเรียนอีกแหละ) แต่เราไม่

เคยพูดหรอก อาจจะเป็นเพราะว่าชินมั้ง ไม่ได้เป็นผู้ดงผู้ดีมาจาก

ไหนหรอก เพราะตอนอนุบาล ประถม ที่โรงเรียนเค้าไม่พูดกัน ที่

บ้านก็ไม่พูด เราเลไม่พูดไปด้วย อีกอย่างมันน่าจะเกิดจากสภาพ

แวดล้อมด้วยนะ ถ้าชุมชนนั้นๆพูด เราจะไม่พูดคนเดียวก็ไม่ได้

เราว่ามันน่าจะเป็นค่านิยมมากกว่า ตอนนี้ที่โรงเรียนมัธยมพูดกัน

ทั้งโรงเรียนเลยค่ะ แต่เราก็ไม่พูดนะ เพื่อนๆกลุ่มเราที่มาจาก

โรงเรียนประถมเดียวกันก็ไม่พูด ไม่รู้สิคะ มันรู้สึกอายๆยังไงไม่

รู้ เลยไม่กล้าพูด  
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 10 ต.ค. 05, 19:27

 พลายชุมพลจึ่งว่าพี่สร้อยฟ้า  ......           ทำขนมเบื้องหนาเหมือนแป้งจี่
พระไวตอบว่าหนาหนาดี      ...........             ทองประศรีว่ากูไม่เคยพบ
ลาวทำขนมเบื้องผิดเมืองไทย       ....   แผ่นผ้อยมันกระไรดังต้มกบ
แซะม้วนเข้ามาเท่าขาทบ                .......... พลายชุมพลดิ้นหรบหัวร่อไป
ฝ่ายนางศรีมาลาชายตาดู            .........   ทั้งข้าไทยิ้มอยู่ไม่นิ่งได้
อีไหมร้องว้ายข้อยอายใจ             ..........    ลืมไปคิดว่าทำขนมครก
ชุมพลร้องแซ่แก้ไม่รู้สิ้น             .. .........    นานไปก็จะปลิ้นเป็นห่อหมก
สร้อยฟ้าตัวสั่นอยู่งันงก               ............     หกแป้งต่อยกระทะผละเข้าเรือน
ทองประศรีร้องว่าอีห่าลาว      .........        ทำฉาวเจียวอีหมาขี้เรื้อนเปื้อน
เทแป้งแกล้งให้เปรอะเลอะทั้งเรือน  กระทะกระท่อยต่อยเกลื่อนลาวจังไร


คำพูดพื้นบ้านที่ปรากฎข้างบน ปัจจุบันยังมีใช้กันตามบ้านนอกอย่างปกติค่ะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 ต.ค. 05, 09:32

 จำได้ว่าตอนเด็กๆ คุณปู่จะพูด "ชั้น" กับ "แก"
ส่วนคุณย่าจะพูด "ข้า" กับ "เอ๊ง"

แต่ถ้าเป็นคุณลุง หรืออา จะพูดกะหลานๆว่า "กู" กับ "มึง" หรือไม่ก็พูดหวานๆ ลงคะๆขาๆ กับเด็กๆ


แต่เดี๋ยวนี้ทั้งคุณปู่ คุณย่า คุณลุง คุณอาหลายท่านก็ไม่อยู่จะพูดกะผมซะแล้วสิครับแหะๆ
บันทึกการเข้า
สะใภ้จ้าว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 132

นักเรียนชั้นม.4


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 ต.ค. 05, 21:23

 กับเพื่อน ยังใช้อยู่เลยครับ คำพวกนี้
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 11 ต.ค. 05, 22:22

 ประเด็นคำว่า มึง กู ทำไมไม่ไพเราะ โดยส่วนตัวแล้วผมเห็นว่าออกจะใช้บ่อยขึ้นทุกที ๆ แล้วครับ ผมไม่ใช้คำนี้ในการพูดนัก ถ้าจะพูดกับเพื่อน ๆ ชอบใช้คำอื่นแทนมากกว่า (คงเป็นเพราะ
เหตุผลที่คุณ Doraikufuki ยกมาล่ะครับ) แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ คำว่า มึงกู ชักจะแพร่หลายในคำเมืองทุกที ๆ ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
หม่อมจุมพฏเพ็ชรกล้า
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 ต.ค. 05, 00:16

 วัฒนธรรมของไทยก็เจริญขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งวัฒนธรรมทางด้านภาษาด้วย
บันทึกการเข้า
เจ้าชายไซเบอร์สเปซ
อสุรผัด
*
ตอบ: 1

กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 19 ต.ค. 05, 11:39

 I
กู ฉัน ดิฉัน เรา ข้าพเจ้า กระผม ผม ข้า ฯลฯ

YOU
มึง แก คุณ ท่าน เอ็ง ฯลฯ

ในความหมายเดียวกัน แต่มีให้เลือกใช้หลายคำ
เพราะอย่างนี้จึงทำให้เกิดการแบ่งชั้นขึ้น
ทำไม
คำทุกคำของภาษาไทยมีความไพเราะในตัวเอง
แค่คำว่า กู มึง จะพูดไม่ได้เชียวหรือ
พูดอย่างนี้จะดีกว่าพูดว่า "เดี๊ยน" อะไรนี่ซะอีก

คุณอย่าคิดแค่ว่าคนที่พูด "กู มึง" เป็นคนไม่สุภาพ
คุณอย่าคิดแค่ว่าคนที่พูด "ผม คุณ"  เป็นคนสุภาพ

ปกติก็ไม่ได้พูด "กูมึง" นะ
และก็เคยได้ยินคนที่เค้าทะเลาะกัน
โดยใช้สรรพนามแทนว่า กูมึง
ทำไมเค้าไม่ลองด่ากัน
โดยใช้สรรพนามแทนว่า "ฉัน คุณ"
บ้างล่ะ
แล้วถ้าต่อไปมีแต่การใช้สรรพนามตอนการทะเลาะว่า
"ฉัน คุณ" ไปเรื่อยๆ
คุณจะไม่คิดว่า "ฉัน คุณ" เป็นคำที่ไม่สุภาพเช่นเดียวกับ กูมึง เช่นนั้นหรอ ที่คุณจะคิด
บันทึกการเข้า
ฮ นกฮูกตาโต
อสุรผัด
*
ตอบ: 1

ทำงานแล้ว


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 20 ต.ค. 05, 14:20

 เริ่มจากการเรียนรู้ว่าไม่สุภาพ (เพราะโดนดุ หรืออื่นๆ)
กลายเป็นประสบการณ์ เป็นพฤติกรรม
และสะสมจนเป็นความนิสัยความรู้สึกในจิตสำนึก
และจากจิตสำนึกก็แสดงเป็นการกระทำให้เกิดการเรียนรู้
สะสมส่งเสริมกันไปเรื่อยๆ

กับคำที่สุภาพก็เช่นกัน ผ่านการสะสมมาจนตกตระกอนเป็นความรู้สึกในจิตสำนึก

เราไม่ต้องนึกเลือกคำเลยในสถานการณ์ต่างๆ
เมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ก็อย่างหนึ่ง
อยู่กับเพื่อนก็อย่างหนึ่ง
เป็นไปโดยธรรมชาติ

หมายความว่าเรารู้สึกจริงๆเลยว่า คำนี้ คำนั้น (กู,ผม,ฉัน,ข้า ...)มันสามารถแสดงความรู้สึกจากใจออกมาได้ ทั้งๆที่ความหมายมันเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 30 ต.ค. 05, 04:23

 ผมมองว่า เหตุที่ กู มึง เป็นคำไม่สุภาพในปัจจุบัน ก็เพราะว่าพื้นฐานทางสังคมไทย เป็นสังคมที่มีการแบ่งระดับของการใช้ภาษา ว่าภาษาระดับสุภาพใช้พูดกับใคร ภาษาระดับธรรมดาใช้พูดกับใคร ภาษาระดับเพื่อนสนิท หรือ ภาษาระดับต่ำเวลาด่ากัน ใช้เมื่อไหร่ เป็นต้น ดังนั้น เราจึงต้องเปลี่ยนคำสรรพนาม ไปตามระดับของภาษาที่เราใช้ ซึ่งลักษณะแบบนี้ จะไม่พบในภาษาในยุโรป เช่น อังกฤษ กับ ฝรั่งเศส (อาจมีบ้างบางกรณีเช่น ใช้ Vous (คุณ) แทน Tu (เธอ)เวลาพูดกับผู้ใหญ่ แต่ก็ไม่เสมอไป ถ้าผู้ใหญ่ที่ไม่ถือสาก็ใช้ tu ด้วยได้) ดังนั้น เวลาฝรั่งมันด่ากันก็รู้สึกธรรมดา ไม่ค่อยเจ็บเลย เพราะ แปลคำว่า I เป็น ผม กับ you เป็น คุณ ตลอด 555 ลองเป็นภาษาไทยสิ เปลี่ยน คุณ เป็น มึง มีเรื่องได้เลย

ในอดีต กู มึง เป็นสรรพนามระดับสามัญธรรมดาครับ ผมเข้าใจว่า ใช้พูดกับคนในระดับเดียวกัน หรือระดับต่ำกว่าเท่านั้น ไม่น่าที่จะใช้กับคนที่มีฐานะทางสังคมที่สูงกว่า

เืมื่อสังคมพัฒนา ประชาชนที่ได้รับการศึกษา (คาดว่าตั้งแต่สมัย ร.6 เป็นต้นมา) ก็น่าจะถูกสอนให้ใช้้สรรพนามที่ี่ถือกันว่า "เป็นของคนมีการศึกษา" เช่น ข้าพเจ้า ผม ท่าน คุณ ดังนั้น การใช้คำว่า "กู มึง" มันเลยกลายเป็นภาษาของคนไม่มีการศึกษาไปโดยปริยาย

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ข้าพเจ้า หรือ กู โดยตัวของคำแล้วไม่ได้บ่งชี้ว่าผู้พูดนั้นมีการศึกษาหรือไม่นะครับ แต่สิ่งที่จะบ่งชี้ก็คือ "การใช้ให้ถูกกาลเทศะ"

เช่น อยู่บ้านใช้ กู กับพี่น้อง ไปโรงเรียนใช้ กู กับเพื่อน อย่างนี้ก็ถือเป็นการใช้ในระดับครัวเรือนระหว่างพี่น้อง และกับเพื่อนฝูง ก็สามารถทำได้ ถ้าสิ่งแวดล้อมมีการใช้คำว่า กู เป็นเรื่องปกติ (บางบ้านถือเป็นเรื่องผิดปกติ อันนี้ก็แล้วแต่พ่อแม่ครับว่าสอนลูกอย่างไร)

แต่ถ้าอยู่ๆ ไปติดต่อราชการ แล้วไปใช้ กู กับเจ้าหน้าที่ อย่างนี้ ถูกมองว่าไม่มีการศึกษาแน่นอน เผลอๆ โดนสวน "มึง" กลับมาอีก 555

พูดถึงสรรพนามในภาษาไทย อันที่จริงเป็นเรื่องที่ยากมากๆ เลยนะครับ โดยเฉพาะสรรพนามของผู้หญิง ชาวต่างชาติมักสับสนเวลาเรียนภาษาไทย

ผมพบว่า พวกเพื่อนผู้หญิงของผมจะเรียกตัวเองว่า "เรา" หรือ บางคนก็เรียกเอาชื่อเล่นของตัวเองมาเป็นคำสรรพนาม แต่บางคนก็ "กู" ครับ อิอิ

แล้วถ้าเวลาพวกเพื่อนผู้หญิงพูดกับอาจารย์ เห็นใช้กันว่า "หนู" เป็นส่วนใหญ่ น้อยคนที่จะใช้ "ดิฉัน" เพราะจะดูแก่เกินไป

บางคนก็ละที่จะใช้สรรพนามไปเลยก็มี ก็เป็นทางออกที่ดีครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 24 พ.ย. 05, 14:56

 ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นยุค "วัธนธัม" ก็อาจจะมีส่วนด้วยนะครับผมที่มีการกำหนด "ลักษณะวัธนธัมไทย" ว่าเป็นอย่างไร ตั้งแต่วิถีชีวิต การแต่งตัว และคำพูดคำจา

อย่างที่ฉันจะพูดอะไรกับท่านก็ต้องทำตัวให้มีวัธนธัมอย่างนี้แหละจ๊ะ

   
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง