ปิ่นมณี
อสุรผัด

ตอบ: 6
ทำงาน จ.ชลบุรี
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 13 มี.ค. 05, 00:41
|
|
ขอขอบคุณ คุณเทาชมพูด้วยคนคะ ติดตามอ่านทั้งตอนที่1และตอนที่2มาโดยตลอดแต่ยังไม่มีโอกาสได้เข้ามาตอบในกระทู้นี้สักที เคยอ่านเจอในหนังสือเล่มหนึ่งใช่หนังสือศิลปวัฒนธรรมหรือเปล่าไม่แน่ใจ ฉบับ 100 ปี ปรีดี พนมยงค์ แต่ไม่ได้อ่านลึกซึ้งมากนักเป็นการอ่านแบบผ่านตาเฉย ๆ คะ เจอบทความตอนหนึ่งว่า สมัยจอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านจอมพล ป. ได้กระทำตัวเยี่ยงเจ้า ข้อความนี้จริงเท็จประการใดวานคุณเทาชมพูใขข้อข้องใจด้วยคะ และขออภัยลุกหลานจอมพล ป. ด้วยนะคะมิได้ตั่งใจหมิ่นประมาทเพียงแต่อ่านเจอข้อความนี้เท่านั้นก็เลยสงสัย จะกลับไปอ่านหนังสือเล่มนี้อีกก็ไม่รู้จะไปหาอ่านที่ไหนแล้วคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 13 มี.ค. 05, 11:32
|
|
ตอบได้แต่ว่า จอมพลป. ไม่เคยสถาปนาตัวเองเป็นเจ้า แต่ให้เรียกตัวเองว่า "ท่านผู้นำ" มีนโยบาย "เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย" ครั้งหนึ่ง มีการดำริจะเสนอยศ สมเด็จเจ้าพระยา ให้จอมพล ป. และสมเด็จเจ้าพระยาหญิง ให้ภรรยาของท่าน แต่ว่าไม่ผ่านสภา เพราะมีผู้ค้านว่าเลิกราชทินนามขุนนางไปแล้ว เรื่องนี้ก็ตกไป คุณลองเข้าไปที่ http://www.matichon.co.th/art/ ลองค้นศิลปวัฒนธรรมฉบับย้อนหลังดู อาจจะเจอเล่มที่คุณค้นหาก็ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หนูหมุด
มัจฉานุ
 
ตอบ: 88
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 13 มี.ค. 05, 19:26
|
|
มาลงชื่อก่อนค่ะ ยังอ่านไม่ทันเลยค่ะ save ก็ไม่ได้ เพราะมาเล่นในร้านเกม เพิ่งจะมีโอกาสเข้า internet เป็นครั้งแรกเองค่ะตั้งแต่ปีใหม่มา รู้สึกว่าตาลายไปหมดแล้ว กระทู้ไปไวจัง หวังว่าจะมีโอกาสมาตามอ่านอย่างละเอียดอีกครั้ง ขอบคุณไว้ก่อนค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พระอุทัย
อสุรผัด

ตอบ: 2
มัคคุเทศก์อิสระ
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 14 มี.ค. 05, 00:26
|
|
คุณเทาชมพูเคยได้ทราบถึงพระราชทรัพย์บางส่วนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 คือซอสายฟ้าฟาด และหีบหมากของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีบ้างไหมคะว่าหายไปได้อย่างไร เคยอ่านในหนังสือวารสารอะไรจำไม่ถนัดเพราะหลายสิบปีมาแล้ว ในยุคที่คนกลุ่มหนึ่งพยายาม ลดเจ้า แต่กลับทำเทียมเจ้าเหมือนกลืนน้ำลายตนเอง ซ้ำยังฉ้อฉลยึดของท่านเป็นของตัวเองอันตรธานไปดื้อๆ หากไม่เป็นเช่นนั้นของเหล่านี้จะหายไปไหน คุณเทาชมพูพอมีข้อมูลเหล่านี้บ้างไหม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 16 มี.ค. 05, 11:27
|
|
คำถามของคุณแสดงว่ามีคำตอบแล้ว ดิฉันไม่ทราบรายละเอียดมากกว่านี้ ทราบแต่ว่าซอสายฟ้าฟาดเป็นซอคู่พระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถ้าอยู่มาถึงปัจจุบันอายุคงร่วม 200 ปีแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 16 มี.ค. 05, 11:43
|
|
กรมขุนชัยนาทฯ ถูกตั้งข้อหากบฏในพระราชอาณาจักร ถูกขังอยู่ 10 เดือน การพิจารณาคดีจึงสิ้นสุดลง ศาลตัดสินประหารชีวิตแล้วลดโทษลงเป็นจำคุกตลอดชีวิต ทรงถูกถอนฐานันดรศักดิ์ลงเป็น "นักโทษชายรังสิต" เป็นสิ่งที่ย้อนหลังไปสัก 10 ปี ย่อมจะไม่มีใครคาดฝันเลยว่าพระราชโอรสในสมเด็จพระปิยมหาราช จะทรงประสบชะตากรรมเลวร้ายถึงเพียงนี้
ทั้งที่เสด็จในกรมฯ เคยรับสั่งไว้ว่า " ทำไมหนอรัฐบาลหลายรัฐบาลมาแล้วจึงไม่ยอมที่จะเข้าใจเลยว่า ฉันไม่มีความทะเยอทะยานในเรื่องอำนาจวาสนา ฉันต้องการอยู่ตามลำพังอย่างคนสามัญทั้งหลาย"
ข่าวร้ายนี้นำความโทมนัสมาสู่สมเด็จพระพันวัสสาฯ อย่างแสนสาหัสอีกครั้งหนึ่ง ถึงกับทรงพระกันแสงรำพันว่า " ฉันตายแล้ว ฉันจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าหลวงท่านได้อย่างไร ท่านอุ้มมาพระราชทานฉันกับพระหัตถ์เองทีเดียว เมื่อ 12 วัน แท้ๆ"
จากเรื่องสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีฯสิ้นพระชนม์ ซึ่งทำให้สมเด็จพระพันวัสสาฯ ไม่ทรงเหลือพระราชโอรสธิดาทั้ง 8 พระองค์ อีกเลยจนพระองค์เดียว มาถึงเรื่องกรมขุนชัยนาทฯ ที่สมเด็จฯทรงรักและเมตตาประดุจพระราชโอรสในพระอุทร ทรงตกเป็นนักโทษ ความทุกข์ของสมเด็จฯ ไม่ได้จบลงเพียงเรื่องนี้ ข่าวร้ายระลอกใหม่ที่ตามมาก็คือข่าวเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อพ.ศ. 2484 พระราชนัดดาทั้งสามพระองค์ทรงอยู่ไกล ณ ต่างประเทศ อีกครั้งหนึ่ง ในตอนนั้นเอง สยามก็เข้าสู่สงครามมหาเอเชียบูรพา ใต้นโยบาย "เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย"ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 16 มี.ค. 05, 12:12
|
|
นโยบายของจอมพลป. เป็นอย่างไร อ่านส่วนหนึ่งได้จากบทความ "ยุคไม่ขำ " ในเว็บนี้ค่ะ
รัฐบาลเอาจริงเอาจังเรื่องการแต่งกาย เช่นยกเลิกโจงกระเบนมานุ่งกางเกง (สำหรับผู้ชาย) และผ้าซิ่นหรือกระโปรงสำหรับผู้หญิง ออกจากบ้านต้องสวมหมวก
แม้สมเด็จฯทรงอยู่ในวังสระปทุมอย่างสงบ จำกัดการติดต่อกับโลกภายนอกไว้น้อยที่สุด เว้นแต่พระราชกรณียกิจเช่นเรื่องสภากาชาดไทยที่ทรงไม่เคยละทิ้ง ยุค "วัธนธัม"ของรัฐบาลก็ยังยื่นมือเข้าไปยุ่งเกี่ยวเข้าจนได้
เช่นมีเจ้าหน้าที่ตัวแทนไปเข้าเฝ้า ขอพระราชทานฉายพระบรมฉายาลักษณ์ ให้ทรงพระมาลา เพื่อนำไปเผยแพร่ภายนอกว่า สมเด็จฯทรงร่วมมือปฏิบัติตัวตามนโยบายของรัฐบาล เป็นตัวอย่างแก่ประชาชน
สมเด็จฯ กริ้ว ตรัสตอบว่า "ทุกวันนี้ จนจะไม่เป็นตัวของตัวอยู่แล้ว นี่ยังจะมายุ่งกับหัวกับหูอีก ไม่ใส่ อยากจะให้ใส่ก็มาตัดเอาหัวไปตั้ง แล้วใส่เอาเองก็แล้วกัน" หมดเรื่องหมวกไปเรื่องหนึ่ง แต่ก็ยังไม่จบสิ้นอยู่ดี
รัฐบาลมีนโยบายให้ประชาชนเปลี่ยนชื่อ ผู้ชายมีชื่อฟังรู้ว่าเป็นชาย ผู้หญิงมีชื่อฟังรู้ว่าเป็นหญิง รัฐบาลเกิดเห็นว่าพระนาม "สว่างวัฒนา" สมควรเป็นชื่อผู้ชาย ก็ส่งตัวแทนมาขอให้ทรงเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับ "รัฐนิยม"
สมเด็จฯทรงกริ้วทันทีเมื่อทรงทราบ ตรัสด้วยความแค้นพระทัยว่า " ชื่อฉัน ทูลหม่อม( หมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระราชทาน ท่านทรงทราบดีว่าฉันเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย" ผลก็คือ ทรงดำรงพระนามไว้ได้ตามเดิมจนกระทั่งหมดยุค ก็ไม่มีใครมาเซ้าซี้ให้เปลี่ยนพระนามอีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 29 มี.ค. 05, 17:56
|
|
ขอโทษที่ว่างเว้นไปเสียนานค่ะ กว่าจะเข้ามาต่อได้ คิดว่าจะพยายามต่อให้จบอย่างเร็วไว เห็นใจที่หลายท่านตามอ่านมานานเป็นเดือน
ไฟสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปลามมาถึงไทย ในรูปของกองทัพญี่ปุ่นบุกขึ้นฝั่งอย่างสายฟ้าแลบ ประชาชนไทยตื่นขึ้นมา
ในวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ก็พบว่าตกอยู่ในภาวะสงครามเสียแล้ว ทั้งที่เมื่อวานยังฉลองงานรัฐธรรมนูญกันอยู่อย่างครึกครื้น
รัฐบาลของจอมพลป.พิบูลสงครามยอมทำสัญญาประนีประนอมเป็นไมตรีกับญี่ปุ่น ให้ใช้ประเทศไทยเป็นเส้นทางผ่านไปสิงคโปร์ แต่ขอให้ญี่ปุ่นเคารพต่อเอกราชอธิปไตยของไทยด้วย
นโยบายนี้ช่วยผ่อนหนักเป็นเบาไม่ให้นองเลือดกันทั่วประเทศในตอนต้นได้ก็จริง แต่ก็ไม่อาจช่วยให้กรุงเทพรอดพ้นจากสภาพยับเยินในสงครามทิ้งระเบิดระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับฝ่ายญี่ปุ่น และภาวะตึงเครียดของสงครามซึ่งดำเนินมาตลอด ๔ ปีหลังจากนั้น
เมื่อสมเด็จพระพันวัสสาทรงทราบว่าไทยยอมประนีประนอมกับญี่ปุ่น หรือพูดง่ายๆแบบชาวบ้านว่ายอมแพ้ญี่ปุ่น ก็ทรงมี พระราชวินิจฉัยอันแม่นยำอย่างน่าอัศจรรย์ว่า " สู้อังกฤษไม่ได้หรอก เรื่องจะไปตีสิงคโปร์ พระพุทธเจ้าหลวงท่านเคยรับสั่ง อังกฤษไม่ยอมดอก"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 29 มี.ค. 05, 17:58
|
|
คนไทยเริ่มต้องเผชิญภาวะพรางไฟในตอนกลางคืน ต้องขุดหลุมหลบภัยจากระเบิดและหนีลงในหลุมหลบภัย ทีแรกก็เครื่องบินก็มาทิ้งระเบิดเฉพาะบางคืน แต่ต่อมาก็ไม่เลือกทั้งกลางคืนกลางวัน น้ำท่วมใหญ่ในปีพ.ศ. ๒๔๘๕ และข้าวยากหมากแพงช่วยซ้ำเติมให้เกิดความยากลำบากโดยทั่วกัน แม้เจ้านายอย่างสมเด็จฯเองก็ไม่ต่างจากราษฎรทั่วไป เป็นความเดือดร้อนทั้งพระวรกายและพระราชหฤทัย
แต่อย่างหนึ่งที่ทรงพระทัยชื้นขึ้นก็คือพระเจ้าหลานเธอทั้งสามพระองค์มิได้ประทับอยู่ในเมืองไทย แต่ก็อาจจะไม่ทรงทราบว่า ในยุโรปเองภัยสงครามก็ลุกเป็นไฟเกือบจะทุกด้าน ล้อมรอบประเทศสวิตเซอร์แลนด์อยู่
เมื่อภัยสงครามรุนแรงขึ้น สมเด็จฯเสด็จไปประทับอยู่ที่ศรีราชาตามคำกราบบังคมทูลของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ซึ่งเสด็จกลับจากปีนังมาทรงพำนักในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง มีเจ้านายฝ่ายในตามเสด็จไปด้วยหลายพระองค์ นับว่าเป็นการแคล้วคลาดอย่างมาก เพราะเสด็จได้แค่ ๑๕ วันระเบิดก็ลงที่วังสระปทุม ทำให้ต้องประทับอยู่ที่ศรีราชาถึง ๓ เดือน
ความทุกข์ที่รุมเร้าอย่างหนักค่อยเบาบางลง เมื่อสมเด็จทรงเริ่มลืมเรื่องต่างๆได้ รวมทั้งเรื่องกรมขุนชัยนาทฯทรงถูกคุมขัง ณ เรือนจำบางขวาง ทรงเข้าพระทัยไปว่าขณะนั้นประทับอยู่ต่างประเทศ ไม่มีใครกราบทูลให้ทราบความจริงเพราะเกรงว่าจะกลับโทมนัสขึ้นมา
เมื่อกรมขุนชัยนาทฯถูกปล่อยจากที่คุมขัง เสด็จกลับวังได้ในฐานะ "นายรังสิต" ก็ตรงไปที่ศรีราชาทันที แต่ก็ไม่กล้าเข้าเฝ้า และห้ามผู้คนที่นั่นไปกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ ด้วยทรงเกรงว่าสมเด็จฯจะย้อนรำลึกถึงความจริงเรื่องทรงถูกจับกุมคุมขังได้ แล้วจะทรงเศร้าโศกพระราชหฤทัยอย่างรุนแรงขึ้นมาอีก กรมขุนชัยนาทฯก็ได้แต่ทรงแอบทอดพระเนตรดูสมเด็จฯ อยู่อีกห้องหนึ่งอย่างเงียบเชียบ พลางน้ำพระเนตรไหลไปพลาง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 29 มี.ค. 05, 18:00
|
|
ครบ ๓ เดือน สมเด็จฯเสด็จกลับกรุงเทพ แต่ทรงย้ายเข้าไปพำนักในพระบรมมหาราชวัง เพราะแถววังสระปทุมเต็มไปด้วยพวกญี่ปุ่น ภายในพระบรมมหาราชวังแม้ว่าปลอดภัยในตอนนั้น แต่ก็รกร้างทรุดโทรมอย่างไม่น่าเชื่อเลยว่าครั้งหนึ่งเคยเป็นที่สถิตย์ของหัวใจของแผ่นดิน พระที่นั่งต่างๆปรักหักพัง กลายเป็นที่อาศัยของงูเหลือมและค้างคาว ตำหนักต่างๆและแถวเต๊งก็พรางไฟมืดสนิท น่าพรั่นพรึง
ประทับอยู่ได้ ๖ เดือน สถานที่ที่น่าจะปลอดภัยก็ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป เมื่อระเบิดลงที่พระที่นั่งบรมพิมานและพระที่นั่ง พิมานรัถยา ห่างที่ประทับไปไม่มากนัก จึงต้องทรงอพยพลี้ภัยสงครามไปบางปะอิน ความในพระราชหฤทัยในตอนนั้นเป็นอย่างไร สะท้อนในพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า " ฉันเคยเล่นโครเกต์ กับพระพุทธเจ้าหลวงที่สนามข้างใน นี่ไม่มีใครจะเล่นกับฉันได้ ตายกันเสียหมด"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 05 เม.ย. 05, 17:45
|
|
ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงคราม มีเครื่องบินมาทิ้งระเบิดกันไม่เลือกว่ากลางวันหรือกลางคืน ความอกสั่นขวัญหายของประชาชนดำเนินอยู่ถึง ๔ ปี ต่อเนื่องกัน จนในที่สุด เมื่อถึงพ.ศ. ๒๔๘๘ สงครามโลกครั้งที่สองก็จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายอักษะ คือเยอรมัน และญี่ปุ่น สันติภาพกลับคืนมาสู่ไทยอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าเราต้องเสียค่าชดใช้สงครามให้ฝ่ายพันธมิตรมากมายเอาการในการที่ร่วมมือกับญี่ปุ่นก็ตาม แต่บ้านเมืองก็ปลอดภัยแล้ว
หลังสงครามโลกสิ้นสุดลง ประเทศไทยได้นายกรัฐมนตรีใหม่ต่อจากจอมพลป.พิบูลสงคราม คือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นอยู่ ๔ เดือนก็ลาออก นายควง อภัยวงศ์ขึ้นเป็นนายกฯต่อได้เพียง ๔๕ วันก็แพ้โหวตในสภา
สภาผู้แทนสนับสนุนให้นายปรีดี พนมยงค์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
ความโสมนัสของสมเด็จพระพันวัสสาฯทรงกลับคืนมาอีกครั้งเมื่อพระเจ้าหลานเธอทั้งสามพระองค์เสด็จกลับสู่พระนคร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเจริญพระชันษาเป็นชายหนุ่ม ทรงพระโฉมสง่างาม พร้อมด้วยพระจริยาวัตรอันประเสริฐ เป็นที่ชื่นชมโสมนัสของประชาชนชาวไทย ไม่ว่าจะเสด็จที่ไหนก็มีผู้คนมาเฝ้าแหนกันคับคั่ง ชื่นชมพระบารมีอย่างที่พวกเขาไม่มีโอกาสได้เฝ้าพระมหากษัตริย์มาหลายปี
แม้ว่าทางด้านพระอนามัยของสมเด็จพระพันวัสสาฯยังทรงแข็งแรงดี แต่พระอาการทางสมองได้เสื่อมลงเป็นลำดับ บางเรื่องก็ทรงจำได้ดี บางเรื่องก็ทรงลืมเลือน ไม่ทรงทราบว่าลึกลงไปภายใต้ความสงบราบรื่น มีกระแสคลื่นใต้น้ำยุ่งเหยิงอยู่มาก โดยเฉพาะในราชสำนัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 05 เม.ย. 05, 17:48
|
|
เมื่อสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ระเบียบในราชสำนักเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน มีผู้รับผิดชอบหน้าที่อย่างเคร่งครัด แต่แล้วเมื่อเปลี่ยนมาเป็นประชาธิปไตย ระเบียบบางอย่างก็หย่อนคลาย กลายเป็นวุ่นวายไม่รู้การควรมิควรอยู่หลายเรื่อง อย่างเช่นมีการตั้งหนึ่งในคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ประจำพระองค์ ระดับราชเลขาฯ ราชเลขาฯผู้นี้กระทำการหลายอย่างตามใจชอบ เช่นนั่งไขว้ห้างในรถยนต์เข้าไปเทียบถึงพระที่นั่ง สวมแว่นตาดำ สูบบุหรี่ไปเข้าเฝ้าถึงพระองค์ ยืนค้ำพระองค์ที่โต๊ะทรงพระอักษรฯ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของข้าราชบริพาร
นอกจากนี้ การถวายพระเกียรติก็เป็นปัญหา เช่นบางครั้ง พระเจ้าอยู่หัวไม่มีรถพระที่นั่งใช้ เพราะหนึ่งในสองคันที่มี ราชเลขาฯส่งไปให้นายกรัฐมนตรีใช้ อีกคันเอาไปซ่อมให้แขกเมืองใช้ ต้องทรงให้มหาดเล็กไปตามจึงได้รถสำหรับแขกเมืองกลับมา แต่พอได้กลับมา รถก็หายไปจากโรงเก็บรถในพระบรมมหาราชวังเสียเฉยๆ ทั้งที่มีทหารยามเฝ้าอยู่ ตามหาไม่พบเป็นเวลาหลายเดือน
ต่อมา ราชองครักษ์ประสบอุบัติเหตุรถยนต์พระที่นั่งเสียชีวิต และมหาดเล็กเก่าแก่ก็ถึงแก่กรรมลงปัจจุบัน ทันด่วน เหมือนเป็นลางร้ายให้รู้ว่าความน่าสะพึงกลัวยิ่งกว่านี้กำลังจะตามมา
วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ เป็นวันสุดวิปโยคของคนไทยทั้งแผ่นดิน เมื่อพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จ สวรรคตกระทันหัน ด้วยพระแสงปืน ในพระแท่นที่บรรทม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 07 เม.ย. 05, 14:37
|
|
ก่อนหน้านั้น ๒ วัน สมเด็จพระพันวัสสาฯทรงขัดตลับงาซึ่งเป็นงานอดิเรกมายาวนานอยู่ในตอนพลบค่ำ ประทับหันไปตรงพระฉากตรงเฉลียงชั้นบน ทันใดนั้นก็ตรัสขึ้นมาลอยๆว่า
" จะพูดอะไรก็พูดมาซี มาทำหน้าบึ้งยังกับจะร้องห่มร้องไห้"
ม.จ.อัปภัสราภา เทวกุลซึ่งเฝ้าอยู่ ไม่ทรงเห็นผู้ใดในที่นั้น จึงทูลถามว่า
"รับสั่งว่ากระไรเพคะ"
" ดูซี" สมเด็จฯตรัส " กรมเทววงศ์มานั่งอยู่นานแล้ว ไม่พูดไม่จา ทำหน้ายังกับจะร้องไห้ มันเรื่องอะไร"
ขอแทรกเกร็ดความรู้ไว้ตรงนี้อีกครั้งหนึ่งว่า สมเด็จฯมีพระเชษฐาพระองค์ใหญ่คือสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ
สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์ฯ มีพระโอรสองค์ใหญ่คือ หม่อมเจ้าชายไตรทศประพันธ์ เทวกุล ซึ่งโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นเทววงศ์วโรทัยในรัชกาลที่ ๗
'กรมเทววงศ์ฯ' ที่สมเด็จฯรับสั่งเรียก เป็น "หลานอา" ที่โปรดปรานของสมเด็จฯ แต่จะมาเข้าเฝ้าสมเด็จฯอย่างประยูรญาติพระองค์อื่นๆไม่ได้ เพราะสิ้นพระชนม์ไปก่อนหน้านี้แล้ว ๓ ปี เมื่อพ.ศ. ๒๔๘๖
ม.จ.อัปภัศราภาเสด็จไปเปิดไฟให้สว่างขึ้น พอไฟสว่าง สมเด็จพระพันวัสสาฯ ก็ตรัสว่า "อ้าว"
แล้วทรงขัดตลับต่อไป
ข่าวพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตรู้มาถึงวังสระปทุม ทุกคนลงความเห็นกันว่าจะไม่กราบบังคมทูลให้ทรงทราบ เพราะไม่มีใครแน่ใจว่าความโทมนัสครั้งนี้จะสาหัสสักเพียงไหน
ยากที่มีใครในแผ่นดินจะประสบความสูญเสียครั้งแล้วครั้งเล่ามากเท่าสมเด็จฯ ทรงสูญเสียพระราชสวามี สูญเสียพระราชโอรสธิดาไปองค์แล้วองค์เล่าจนหมด ๘ พระองค์ ทรงสูญเสียพระขนิษฐภคินีสมเด็จพระพันปี สูญเสียพระเชษฐา พระราชโอรสบุญธรรมแม้ไม่ได้สูญเสียพระชนม์ ก็ประสบชะตากรรมที่เลวร้ายกว่าเจ้านายทุกพระองค์ พระประยูรญาติก็ต้องกระจัดพลัดพรายกันไปคนละทาง ด้วยเหตุทางการเมือง
ล้วนแล้วแต่เป็นความทุกข์หนักหนาสาหัส
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 07 เม.ย. 05, 15:05
|
|
ด้วยเหตุนี้ ชาววังสระปทุมจึงไม่แต่งไว้ทุกข์ด้วยเกรงว่าจะทรงผิดสังเกต ใครทำงานอะไรก็ทำไปตามหน้าที่
ปกติเหมือนวันอื่นๆ ไม่ร้องไห้ให้ทรงเห็น ในวันที่เชิญพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัวลงพระโกศ สมเด็จฯไม่ทรงระแคะระคายเรื่องสวรรคต แต่จู่ๆก็รับสั่งว่า " วันนี้เป็นอะไร ฟ้าเศร้าจริง นกสักตัว กาสักตัวก็ไม่มาร้อง เศร้าเหลือเกิน นี่ทำไมมันเงียบเชียบไปหมดอย่างนี้ล่ะ" ไม่มีใครกล้ากราบบังคมทูลตอบ ใครทนได้ก็เฝ้าอยู่ต่อไป ใครเหลือทนก็คลานหลบออกมาร้องไห้อยู่ข้างนอก ไม่ให้ทอดพระเนตรเห็น
สมเด็จพระพันวัสสาฯไม่ทรงทราบว่าทรงเสียพระราชนัดดาไปแล้วอย่างไม่มีวันได้คืนมา แม้เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เสด็จมาเฝ้าในภายหลัง ก็ยังไม่มีใครกล้ากราบบังคมทูลอยู่ดี สมเด็จฯเคยรับสั่งถามอย่างสงสัยว่า " หลานฉันสองคนนี่" คำตอบที่ทรงได้รับตลอดมาก็คือ อีกพระองค์หนึ่งเสด็จอยู่ต่างประเทศ ผู้ทูลตอบก็ยอมผิดศีลข้อมุสา เพื่อประคับประคองพระราชหฤทัยไว้ไม่ให้แตกสลายจากความจริง
ด้วยเหตุนี้จึงไม่ทรงทราบแม้แต่พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|