พวงร้อย
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 16 ม.ค. 05, 10:35
|
|
เพิ่งหาเวลามาอ่านได้ค่ะ ขออภัยที่หายไปนาน ขอบคุณคุณเทาชมพูอีกครั้งค่ะ เกร็ดประวัติช่วงนี้ไม่เคยได้รับทราบจากที่ใดมาก่อนเลยค่ะ ได้เข้าใจพระอุปนิสัยของพระองค์ท่านแล้ว รู้สึกเคารพนับถือและปลาบปลื้มที่เรามีเจ้านายที่ทรงมีพระเนตรกว้างไกล พระปัญญาลึกล้ำอย่างพระองค์ท่านนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 18 ม.ค. 05, 16:38
|
|
คุณพวงร้อยคงจะชอบตอนนี้เช่นกันค่ะ
หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงเล่าถึงสมเด็จพระศรีสวรินทิราไว้ว่า " สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา ทรงมีพระนิสัยซื่อและไม่โปรดหรือถนัดในการสมาคม ข้าพเจ้ารักและสงสารท่านว่ารับสั่งอะไรตรงๆ ท่านโปรดตรัสเรื่องในพระธรรม เพราะทุกครั้งที่ทรงเล่าเรื่องวัดและข้อพระธรรมต่างๆแล้ว ดูทรงพระสำราญขึ้นอย่างผิดปรกติ ทั้งนี้เห็นจะเป็นเพราะเคยทรงมีทุกข์มามาก โดยเฉพาะในเรื่องพระราชโอรสธิดาของพระองค์ท่าน ซึ่งทรงมีถึง 8 พระองค์ และสิ้นพระชนม์แต่มีพระชันษาได้ 18 เป็นอย่างสูง เท่านั้น คงเหลืออยู่ 2 พระองค์คือสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงวไลยอลงกรณ์ แลละสมเด็จ เจ้าฟ้าชายมหิดลอดุลยเดช ซึ่งมีพระชันษาอ่อนกว่าสมเด็จพระบรมฯมหาวชิรุณหิศถึง 14 ปี แต่ทั้งสองพระองค์ก็ไม่ค่อยทรงรู้จักกันดีกับพระราชมารดานัก เพราะไม่ค่อยได้เสด็จอยู่ด้วยกัน แล้วต่อมาก็สิ้นพระชนม์ถวายให้ทอดพระเนตรหมด จนเหลือแต่สมเด็จฯเสด็จอยู่พระองค์เดียว แม้จะได้ทรงเป็นสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ด้วยพระราชนัดดาขึ้นทรงราชย์ ก็เป็นเวลาวิกาล บ้านเมืองย่อยยับเปลี่ยนแปลงจนไม่มีสิ่งใดเหลือให้เป็นที่ควรจะชื่นชม นอกจากความดับพระทัยในตอนทรงพระชรา จึงเห็นว่าน่าสงสารนัก แต่พระองค์ทรงมีความสามารถในทางใช้จ่ายเรื่องเงินทองมาก จนมีพระนามว่าทรงมั่งมีกว่าทุกพระองค์"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 23 ม.ค. 05, 09:07
|
|
ความห่วงใยที่สมเด็จฯมีต่อพระเจ้าหลานเธอทั้งสามพระองค์ จนให้เสด็จไปอยู่ต่างประเทศ นับว่าเป็นความรอบคอบและเล็งเห็นการณ์ไกล เพราะหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เพียงหนึ่งปีเศษ บ้านเมืองก็เข้าสู่ความเดือดร้อนยุ่งยากยิ่งขึ้นไปอีก แทนที่จะสงบลงแบบไม่เสียเลือดเนื้ออย่างที่ควรจะเป็น ทั้งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แล้ว เพราะเกิดสงครามกลางเมืองที่เรียกว่า "กบฎบวรเดช" ขึ้น
เริ่มต้นด้วยคณะผู้ก่อการฯเกิดแตกแยกกันเองจนถึงกับยึดอำนาจระหว่างกัน ประชาธิปไตยที่เคยเป็นปณิธานในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต้องหลีกทางให้กับอำนาจเบ็ดเสร็จ ทำให้พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหมและนายทหารสำคัญจำนวนหนึ่ง มีพันเอกพระยาศรีสิทธิสงครามเป็นหัวหน้า ยกพลจากโคราชลงมาถึงกรุงเทพเพื่อปราบปราม เกิดการต่อสู้กับทางฝ่ายรัฐบาล ที่มีพันโทหลวงพิบูลสงครามเป็นแม่ทัพ ปะทะกันที่ทุ่งบางเขน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 23 ม.ค. 05, 09:09
|
|
เมื่อเกิดการสู้รบ เจ้าพระยาวรพงษ์ฯ เสนาบดีกระทรวงวัง เชิญเสด็จสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯไปประทับที่สวนสุนันทาก่อนเพื่อความปลอดภัย ต่อมาเห็นว่าอาจจะยังไม่ปลอดภัยพอก็เชิญเสด็จย้ายเข้าไปที่พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง พร้อมด้วยพระราชธิดาที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่เพียงพระองค์เดียวในจำนวนพระราชโอรสธิดา 8 พระองค์ คือสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ ฯ และเจ้านายฝ่ายในอื่นๆ รวมทั้งสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตน์และพระนางเจ้าสุวัทนาด้วย
ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงอยู่ที่หัวหิน เมื่อทราบข่าวก็ทรงเป็นห่วง จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าพระยาวรพงษ์ฯ เชิญเสด็จลี้ภัยไปสงขลา
ที่สงขลา ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน พากันมารับเสด็จกันเนืองแน่น เป็นที่ชื่นพระทัย เมืองนี้เป็นที่โปรดปรานของสมเด็จฯ อาจจะเป็นเพราะเป็นเมืองพระนามทรงกรมของพระราชโอรส หรือโปรดภูมิประเทศความเป็นอยู่ และความจงรักภักดีของประชาชน ก็ไม่มีใครทราบ ทรงปลูกต้นปาล์มไว้ที่สวนปาล์ม อำเภอสะเดา และทรงสร้างถนนรอบพระอุโบสถวัดมัชฌิมาวาส และเป็นองค์อุปัฏฐากเจ้าอาวาสวัดนั้น
จนกระทั่งการต่อสู้จบลงด้วยความพ่ายแพ้ทางฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดช รัฐบาลจึงเชิญเสด็จกลับพร้อมกันทุกพระองค์ หลังจากเสด็จกลับ ข้าราชการที่มารับเสด็จด้วยความภักดี ถูกสอบสวนและปลดออกจากราชการกันหลายคน เช่นหลวงณรงค์วังศาทร นายอำเภอหาดใหญ่
แม้ว่าเหตุการณ์ทางบ้านเมืองสงบลงก็จริง แต่สำหรับเจ้านาย และนายทหารกับพลเรือนปัญญาชนอีกมาก ที่เกี่ยวข้องหรือถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกกบฏ ฝันร้ายครั้งใหม่เพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้นเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงร้อย
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 24 ม.ค. 05, 12:26
|
|
สวัสดีค่ะ คุณเทาชมพู พักนี้ไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้คอมพ์เท่าไหร่ เลยมาช้าค่ะ ขออภัยด้วยนะคะ
ยิ่งอ่านก็ยิ่งรู้สึก "ทึ่ง" มาก ในพระสติปัญญาที่แสนจะล้ำลึกของพระองค์ท่านมากเลยค่ะ แต่ที่ประทับใจที่สุด ก็คือความทรงมี integrity (ขออภัยนึกไม่ออกว่าจะใช้คำไทยว่าอะไรดีค่ะ) มากเลย ทำให้สามารถมองเห็นความสืบต่อของพระอุปนิสัย มาถึงพระราชชนก ซึ่งทรงเลือกพระชายาที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงสมเด็จฯ ทั้งๆที่ในฐานะของกรมสงขลาฯก็สามารถเลือกพระชายาอย่างไรก็ได้ และก็ทำให้เป็นโชคดีของคนไทยนะคะ ขอบคุณที่สรรหาสิ่งดีๆมาให้อ่านค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 148
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 28 ม.ค. 05, 19:12
|
|
คลำหาทางเข้าอยู่พักใหญ่ สวัสดีคุณเทาชมพู คุณพวงร้อย คุณนนทิราและทุกท่านค่ะ
ดีใจที่แวะเข้ามาเรือนไทยในวันนี้ หลังจากห่างหายไปนาน กำลังไล่อ่านกระทู้และบทความ ขอบพระคุณสำหรับเรื่องดีๆ ในกระทู้นี้ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นายชินจัง
อสุรผัด

ตอบ: 31
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 30 ม.ค. 05, 11:36
|
|
"แกกลัด คนเขานึกว่าเก๊ ฉันกลัดคนเขาไม่นึกหรอก"
ชอบจัง คนที่ทักไปพูดอย่างนั้น.....ได้ยังไง ชิๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 01 ก.พ. 05, 13:09
|
|
การไต่สวนผู้ที่เกี่ยงข้องในกบฏบวรเดช ทำให้มีผู้คนถูกจับกุมคุมขังมากมาย นักโทษจำนวนมากที่เป็นทหาร ข้าราชการ ปัญญาชน ถูกส่งไปตัวไปคุมขังที่เกาะตะรุเตา มองไม่เห็นอนาคตว่าจะได้กลับมาเมื่อไร และมีหลายคนที่ถูกตัดสินขั้นประหารชีวิต
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ไม่ทรงเห็นด้วยกับการกระทำของรัฐบาลที่รุนแรงเกินไป หลังจากเสด็จไปรักษาพระองค์ที่อังกฤษ ก็ทรงสละราชสมบัติ และมิได้เสด็จกลับมาสยามอีกเลย จนถึงสวรรคตที่อังกฤษนั่นเอง
เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เสด็จอังกฤษ สมเด็จไปเฝ้าส่งเสด็จพร้อมด้วยเจ้านายฝ่ายใน ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จลงเรือพระที่นั่งชื่อ "ศรวรุณ" เพื่อจะไปลงเรืออีกลำที่เกาะสีชังก่อนจะสด็จพระราชดำเนินออกพ้นอ่าวไทยไป
ในตอนนั้นกล่าวกันว่า ผู้ส่งเสด็จต่างสังหรณ์กันทั่วไปว่าจะไม่เสด็จกลับมาอีก และก็เป็นความจริง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 01 ก.พ. 05, 13:27
|
|
ในช่วงนั้น เป็นยุคตกต่ำของพระราชวงศ์ เจ้านายที่เหลืออยู่ต้องระมัดระวังองค์กันแจ ด้วยเกรงว่าจะถูกเพ่งเล็งจากรัฐบาล ซึ่งมองกบฏบวรเดชว่าเป็นฝ่ายเจ้าตั้งใจยึดอำนาจคืน สมเด็จฯทั้งที่เป็นหญิงและมีพระชนมายุมากแล้ว ก็ต้องระวังพระองค์เช่นกัน สิ่งใดที่ทรงอนุโลมตามรัฐบาลได้ก็ทรงอนุโลม แม้ว่าไม่สบายพระราชหฤทัยแม้แต่น้อย ส่วนใหญ่จะเก็บพระองค์อย่างสงบ ไม่ออกมาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางบ้านเมือง
ความทุกข์ระลอกใหม่ที่เข้ามาถึงสมเด็จ คือทรงสูญเสียพระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท พระราชธิดาบุญธรรมซึ่งอยู่ใกล้ชิดพระองค์มากที่สุด ทรงเคยหวังว่าจะ "ฝากผีฝากไข้" ด้วย เมื่อพระองค์เจ้าเยาวภาฯสิ้นพระชนม์ไปก่อนก็เป็นความโทมนัสอย่างแสนสาหัสของสมเด็จฯ
ขอลำดับให้ฟังอีกครั้งว่า สมเด็จฯ ในฐานะแม่ มีพระราชโอรสธิดา 8 พระองค์ ก็ล้วนแต่สิ้นพระชนม์ไปก่อนในช่วงที่ทรงเป็นหนุ่มสาวสวยงามถึง 7 พระองค์ เหลือเพียงพระองค์เดียวคือสมเด็จเจ้าฟ้าวไลอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
ความโทมนัสเรื่องใหม่ก็คือ เรื่องการสืบราชสมบัติ ที่รัฐบาลประชุมกันแล้วเห็นสมควรว่า พระนัดดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จฯ ทรง อยู่ในลำดับที่จะขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 สถานการณ์บ้านเมืองในตอนนั้นเป็นยุคแห่งความหวาดกลัว หวาดระแวง เกลียดชัง ถ้าเทียบกับบ้านเมืองสมัยที่สมเด็จฯทรงดำรงพระยศสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาฯ แล้ว ก็ต่างกันเหมือนกลางคืนกับกลางวัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงร้อย
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 01 ก.พ. 05, 13:55
|
|
สวัสดีค่ะ คุณเทาชมพู ดีใจที่ได้มาอ่านต่อค่ะ หวังว่าคุณเทาชมพูคงจะสบายดีนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปังหวาน
แขกเรือน
อสุรผัด

ตอบ: 3
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 02 ก.พ. 05, 18:13
|
|
ชอบกระทู้ลักษณะนี้มากเลยค่ะ ขอขอบคุณอาจารย์เทาชมพูที่ได้สละเวลา มาเล่าเรื่องที่ทั้งดี ทั้งสนุกให้ฟังค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สะอาด
อสุรผัด

ตอบ: 5
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 02 ก.พ. 05, 22:17
|
|
คุณเทาชมพู ขอถามรายพระนามพระราชโอรสธิดา 8 พระองค์ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
วารุณี
อสุรผัด

ตอบ: 1
สำนักงาน กสจ.
เลขที่ 63 อาคาร 2 ชั้น 15 ธนาคารอาคารสงเคราะห์
สำนักงานใหญ่ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 03 ก.พ. 05, 09:49
|
|
สวัสดีค่ะ คุณเทาชมพู ดีใจที่เจอเวบดีดีแบบนี้นะคะ โดยส่วนตัวเป็นคนที่ชอบอ่านเรื่องสมัยโบราณ โดยเฉพาะ เรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน นางอันเป็นที่รัก อะไรแบบเนี่ยค่ะ เผอิญมาเจอที่นี่เข้า ลองอ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าในหนังสืออีกเยอะเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ จะติดตามอ่านต่อไปค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สะอาด
อสุรผัด

ตอบ: 5
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 04 ก.พ. 05, 03:04
|
|
ขอบคุณนะคะ คุณพวงร้อย
สมเด็จทรงดำรงพระชนมายุถึง ๖ แผ่นดิน นับจากรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๙ ทรงผ่านความทุกข์ ความโศก ความวิปโยค และความอาดูร มาเกือบจะตลอดพระชนมายุของพระองค์อันนับได้ถึง ๙๓ พรรษาเศษ สมเด็จฯ ทรงดำเนินพระราชภารกิจเป็นคุณประโยชน์ต่อพสกนิกรอย่างมากมายมหาศาล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|