หม่อมจุมพฏเพ็ชรกล้า
มัจฉานุ
 
ตอบ: 78
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 23 มิ.ย. 05, 20:22
|
|
ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หม่อมจุมพฏเพ็ชรกล้า
มัจฉานุ
 
ตอบ: 78
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 24 มิ.ย. 05, 20:22
|
|
อยากจะถามว่ายศ ๑.พระประพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ๒.พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ๓.พระบรมอัยกาเธอ พระองค์เจ้า ๔.พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ๕.กรมสมเด็จพระ คืออะไรครับ แล้วถ้า 1.หม่อมเจ้าหญิงและพระวรวงศ์เธอสมรสกับเจ้าฟ้าชายลูกจะมียศอะไรครับ 2.พระเจ้าวรวงศ์เธอกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ ลูกจะมียศอะไรครับ 3.ถ้าหม่อมห้ามในเจ้านายได้เครื่องราชฯทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษจะเปลี่ยนคำนำหน้านามเป็นท่านผู้หญิงได้รึเปล่าครับ 4.ถ้าพระองค์เจ้าหญิงแต่งงานกับหม่อมเจ้าชายต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์รึเปล่าครับ ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 29 มิ.ย. 05, 23:43
|
|
คำถามเรื่องพระอิสริยยศตอนแรกทั้ง ๕ ข้อนั้น ขอเวลาไปค้นหนังสืออ้างอิงสักนิดครับ ส่วนคำถาม ๔ ข้อหลังขอตอบดังนี้ครับ
๑) หม่อมเจ้าหญิงและพระวรวงศ์เธอสมรสกับเจ้าฟ้าชายลูกจะมียศอะไร ตอบ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เช่น พระโอรสพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าหญิงประสงค์สม พระชายา
๒) พระเจ้าวรวงศ์เธอกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ ลูกจะมียศอะไร ตอบ หม่อมเจ้า แต่ปกติจะโปรดให้ยกขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
๓) ถ้าหม่อมห้ามในเจ้านายได้เครื่องราชฯทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษจะเปลี่ยนคำนำหน้านามเป็นท่านผู้หญิงได้รึเปล่า ตอบ ไม่นิยมครับ เช่น หม่อมกอบแก้ว อาภากร ชายาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา หรือ หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล ชายาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
๔) ถ้าพระองค์เจ้าหญิงแต่งงานกับหม่อมเจ้าชายต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์รึเปล่า ตอบ ไม่ต้องครับ เพราะหม่อมเจ้าถือว่าเป็นพระอนุวงศ์อยู่แล้ว เช่น หม่อมเจ้าพิริยดิศ - หม่อมเจ้าหญิงภัทรลดา (ฉัตรชัย) ดิศกุล ทรงมีโอรสและธิดาเป็น หม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล และหม่อมราชวงศ์รมณยฉัตร แก้วกิริยา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หม่อมจุมพฏเพ็ชรกล้า
มัจฉานุ
 
ตอบ: 78
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 01 ก.ค. 05, 23:43
|
|
ขอบคุณมากครับ ขอเพิ่มอีกหน่อยคือถ้าได้เป็นคุณหญิง ล่ะครับจะเปลี่ยนคำหน้านามรึเปล่าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 02 ก.ค. 05, 00:43
|
|
ถ้าได้เป็นคุณหญิง ล่ะครับจะเปลี่ยนคำหน้านามรึเปล่าครับ อ่านคำถามแล้วออกจะงงเล็กน้อย แต่ขอตอบตามความเข้าใจก่อนแล้วกันครับ ในกรณที่หม่อมเจ้าหญิงได้รับพระราชทานตราจุลจอมเกล้าชั้นใดก็ตาม ก็ยังคงใช้พระยศเดิมตลอดไม่มีการเปลี่ยนเป็นคุณหญิงหรือท่านผู้หญิงเด็ดขาด เพราะพระยศเดิมนั้นสูงกว่า ถ้าหม่อมราชวงศ์หรือหม่อมหลวง ได้รับพระราชทานตราจุลจอมเกล้าตั้งแต่ชั้น ทุติยจุลจอมเกล้าลงมา ให้คงใช้ฐานันดรเดิมโดยไม่ต้องเติม คุณหญิง ลงหน้านามหนือฐานันดรเดิม จนกว่าจะได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ จึงจะเปลี่ยนไปใช้ท่านผู้หญิงนำหน้าชื่อแทนฐานันดรเดิม ตือเลิกใช้หม่อมราชวงศ์หรือหม่อมหลวงแต่บัดนั้นเป็นไป ตัวอย่างเช่น ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค เมื่อคุณท่านได้รับพระราชทาน จตุตถจุลจอมเกล้า แล้วเลื่อนเป็นตติยจุลจอมเกล้า จนถึงทุติยจุลจอมเกล้า ท่านก็ยังคงเป็น ม.ล.มณีรัตน์ มาตลอด จนได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าววิเศษ จึงเปลี่ยนเป็นท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค แต่ก็มีชายาพระราชวงศ์บางท่านในอดีตที่ท่านไม่เปลี่ยนตำนำหน้าชื่อท่านแม้ท่านจะได้รับทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษซึ่งควรจะใช้ท่านผู้หญิงแล้ว เช่น ม.ล.สร้อยระย้า ยุคล ชายาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล หรือ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ชายา ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต และอีกท่านหนึ่งที่ยังมีชีวิตอยู่ คือ หม่อมกอบแก้ว อาภากร ชายาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เรื่องนี้คงจะขึ้นกับความนิยมส่วนบุคคลกระมังครับ แต่ที่เห็นมาในระยะหลังนี้บางท่านคงจะกลัวว่าคนทั่วไปไม่ทราบว่าท่านได้รับตราแล้ว จึงนิยมให้ออกนามท่านว่า ท่านผู้หญิง หม่อมหลวง หรือคุณหญิง หม่อมราชวงศ์ เป็นต้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 06 มี.ค. 06, 15:42
|
|
ผมเข้าใจว่าหม่อมของเจ้านายตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป แม้ได้รับพระราชทานตราชั้นใดๆ ก็ยังคงใช้คำนำหน้านามเดิมนะครับ
เช่นท่านทั้งหลายตามที่คุณ V_Mee กล่าวนามมาในความเห็นที่ ๑๙
ตัวอย่างที่ชัดเจนและได้ยินกันบ่อยๆ เห็นจะเป็น หม่อมหลวงบัว กิติยากร ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ ก็ไม่ได้เปลี่ยนคำนำหน้านามเป็นท่านผู้หญิงบัวฯ แต่อย่างใด
ผมว่าท่านเหล่านั้นไม่น่าจะพลาดในเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|