เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 76411 สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 22 พ.ย. 04, 08:54

 จะลงเรือนไป 1 สัปดาห์นะคะ  ไปเที่ยวไม่ไกลเมืองไทยนี่ละค่ะ
เชิญนั่งล้อมวงคุยกันไปพลางๆก่อน
เจอกันจันทร์หน้าค่ะ  
บันทึกการเข้า
ไอยริณ
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 22 พ.ย. 04, 08:58

 สวัสดีค่ะคุณเทาชมพู  ตามอ่านมานานแล้ววันนี้เพิ่งได้สมัครสมาชิกค่ะ  ขอบคุณนะคะที่นำเรื่องราวมาแบ่งปันให้อ่าน  

ไปเจอรูปในเวบไซท์นี้ น่าจะเข้ากับเรื่องที่คุยกันอยู่ค่ะ  เอามาฝาก http://www.chomsurang.ac.th/somdet/panpee1/  
บันทึกการเข้า
Marty
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 22 พ.ย. 04, 09:24

 แล้วพบกันใหม่ในอีกหนึ่งสัปดาห์ครับ เที่ยวให้สนุกนะครับ
บันทึกการเข้า
นนทิรา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 77


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 22 พ.ย. 04, 14:07

 ตามมาส่งคุณเทาชมพูค่ะ ไม่ทราบจะทันหรือเปล่า
ขอให้เที่ยวให้สนุกนะคะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 22 พ.ย. 04, 15:53

 มัวไปดูกระทู้ทำกรอบรูปเลยมาไม่ทันส่งคุณเทาชมพูค่ะ  อย่างไรก็ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพนะคะ



ไข้รากสาดน้อยนี่  ใช่ typhus รึเปล่าก็ไม่ทราบนะคะ  เห็นมีเอ่ยถึงมาก่อน  เลยอดสงสัยไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร  ไปค้นไข้ typhus มาปรากฏว่า  เป็นโรคที่เกิดจากพาหะที่เรียกว่า  bofy louse ตามเว็บนี้ค่ะ http://scarab.msu.montana.edu/historybug/typhus.htm   ไม่ทราบว่าจะใช่โรคเดียวกันรึเปล่านะคะ  แต่เค้าว่าเป็นแล้วอัตราตายสูงมากเกือบจะทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ทีเดียว  ฟังแล้วน่ากลัวจังค่ะ



Typhus has always been associated with war. Indeed, one of its many colloquial names is war fever. Zinsser (1934) stated, "Typhus had come to be the inevitable and expected companion of war and revolution; no encampment, no campaigning army, and no besieged city escaped it." Rickettsia prowazekii (da Rocha-Lima), a bacterialike organism, causes the dreadful disease. The human body louse, Pediculus humanus L., has been a scourge to humans for centuries. It transmits typhus to humans and humans return the "favor" by infecting the louse, which is also a victim of the disease, seldom surviving its attack. Typhus truly is a disease of humans and lice; no animal reservoirs are known to be involved in the disease cycle.



A louse becomes infected with typhus by taking a blood meal from a fever-ridden human. Once in the louse's gut, the rickettsiae reproduce to such enormous numbers that they cause cells in the insect's gut to rupture. The rickettsiae then are present in the feces of the louse. Humans become infected by rubbing or scratching the lice feces into their skin or into their mucous membranes. It is an interesting disease because even though lice imbibe human blood, the parasite is not transmitted to humans during this process. Most of the other diseases carried by insects are transmitted through the bite.



Once infected, humans experience a high fever that continues for approximately two weeks. Simultaneous symptoms may include severe headaches, bronchial disturbances, and mental confusion. Indeed, typhus is from the Greek word typhos meaning stupor. After approximately six days, red eruptions appear on the torso, hands, feet, and face. Mortality is incredibly high under epidemic conditions, nearing 100%.



The conditions of war are perfect for typhus to explode into a raging epidemic because poverty, crowding, mass migrations, inadequate housing, and malnutrition encourage its spread. The Plague of Athens in 420 B.C., during the Peloponnesian War, may have been the first recorded typhus epidemic. Typhus' association with war and its devastating effect continued until World War II. A potentially horrific epidemic was averted in Sicily and Italy in 1943 through a concerted delousing campaign engineered by the Allies using the then miraculous compound, DDT.
บันทึกการเข้า
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 22 พ.ย. 04, 20:18

 เอ่อ เท่าที่ผมทราบนะครับ
โรกไข้รากสาดน้อย (ไทฟอยด์) เกิดจากแบคทีเรียที่ชื่อ Samonella typhi นะครับ
ไม่ใช่พวกโรคไทฟัสที่เกิดจากริกเกตเซีย ซึ่งมีแมลงพวกไรอ่อนเป็นพาหะ
บันทึกการเข้า
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 22 พ.ย. 04, 20:21

 ขอโทษทีครับพิมพ์ผิด
แก้เป็น Salmonella typhi ครับ
บันทึกการเข้า
หนูหมุด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 88


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 22 พ.ย. 04, 22:14

 ขอบพระคุณอาจารย์ที่มาเล่าเรื่องให้ฟังค่ะ กำลังอ่านอยู่ยังไม่จบเลยค่ะ เพิ่งถึงเรื่องที่เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสิ้นเอง ตอนสมัยเรียนไม่ค่อยมีเรื่องแบบนี้สักเท่าไร เพิ่งมาหาอ่านได้สมัยโตนี่เอง ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ รวมทั้งท่านอื่นๆที่กรุณาเล่าเพิ่มเติมด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 22 พ.ย. 04, 22:50

 คุณนทีสีทันดรคะ ไทฟอยด์ ไม่ใช่ ไข้รากสาดใหญ่ เหรอคะ ดิฉันก็จำไม่ค่อยได้เลยค่ะ
บันทึกการเข้า
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 22 พ.ย. 04, 23:42

 โรคไข้ราดสาดใหญ่ (Typhus) เกิดจากริกเกตเซีย และ
โรคไข้รากสาดน้อย (Typhoid) เกิดจากแบคทีเรีย ครับผม
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 24 พ.ย. 04, 09:15

 อาจารย์เทากลับมาเร็วๆครับ แฟนๆรออยู่
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 24 พ.ย. 04, 10:19

 ขอบคุณค่ะคุณนทีฯ ดิฉันจำสับกันเอง  ไม่ทราบว่ามีอาการอะไรคล้ายกันนะคะ (ทั้งๆที่สาเหตุต่างกันมาก)  คนโบราณถึงได้เรียกชื่อคล้ายๆกันน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 24 พ.ย. 04, 20:54

 อันนี้เดาเอานะครับ
ตามคัมภีร์ตักศิลาแบ่งชนิดของโรคไข้รากสาดไว้ตามลักษณะผื่นที่ผุดขึ้น เช่น
- ไข้รากสาดปานดำ ลักษณะ ผุดขึ้นมาเท่างบน้ำอ้อยดังนิล ลิ้นดำ ผุดทั่วทั้งตัว

- ไข้รากสาดปานแดง ลักษณะ ผุดขึ้นมาเป็นเมล็ดถั่วเล็กๆ แดงๆ เป็นหมู ทั้งตัว

- ไข้รากสาดปานเขียว ลักษณะ ผุดขึ้นมาเป็นหมู่ เขียวดังสีคราม ลิ้นก็เขียว ทั้งตัว

- ไข้รากสาดปานขาว ลักษณะ ผุดขึ้นมาเท่าผลพุทรา ขาวเหมือนสีน้ำข้าวเช็ด ผุดทั้งตัว

- ไข้รากสาดปานม่วง ลักษณะ ผุดขึ้นมาสีดุจ ดัง ผลปลังสุก

ผมเดาว่าไข้รากสาดใหญ่กับไข้รากสาดน้อยเนี่ยน่าจะดูตามขนาดของผื่นที่ขึ้นตามตัวนะครับ
ไข้รากสาดใหญ่ : ประมาณวันที่ 5-7 หลังมีไข้จะมีผื่นสีแดงคล้ำขึ้นที่ลำตัวก่อน แล้วกระจายไปแขนขา ผื่นจะมีอยู่ 3-4 วันก็หายไป
ไข้รากสาดน้อย : อาจพบจุดแดงคล้ายยุงกัด เมื่อดึงหนังให้ตึงจะจางหายเรียกว่า โรสสปอต (Rose spots) ที่หน้าอก หรือหน้าท้อง ซึ่งมักจะขึ้นหลังมีไข้ได้ 5 วัน และขึ้นอยู่นาน 3-4 วัน
ถ้ามีผู้รู้ท่านใดรู้คำตอบจริงๆก็ช่วยแก้ไขด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 29 พ.ย. 04, 11:07

 กลับมาแล้วค่ะ  ขณะพิมพ์นี่ยังมึนๆอยู่เลยนะคะ
ลงเครื่องเมื่อราวๆสองยามวันอาทิตย์ กว่าจะนอนก็เกือบตีสอง ตื่นเจ็ดโมง
คำตอบของคุณนที ให้บรรยากาศโบราณเข้ากับกระทู้ดีจัง

ในสมัย 100 ปีก่อน  โรคติดเชื้อจากทางเดินอาหาร  หรือทางลมหายใจ แพร่กระจายง่ายมาก  ตายกันเยอะ   อาจจะเป็นเพราะยาไทยยังไม่มียาปฏิชีวนะที่รักษาผู้ป่วยได้ทันเวลา
อีกอย่างคือเรื่องสุขลักษณะ ก็ยังไม่ค่อยจะรู้กันด้วย  เราถ่ายกันลงแม่น้ำลำคลอง   น้ำก็ไม่ต้มก่อนดื่ม แค่แกว่งสารส้มให้ตกตะกอน (อาจจะเป็นเพราะไม่รู้ว่าน้ำใสก็ยังมีเชื้อโรค) โรคท้องร่วง อหิวาต์ ไข้รากสาด จึงติดกันง่ายมาก

 http://www.thailabonline.com/sec51typhoid.htm#ไข้รากสาดน้อย
ไข้รากสาดน้อย - Typhoid Fever


ลักษณะทั่วไป
ไข้รากสาดน้อย พบได้บ่อยมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังที่ชาวบ้านรู้จักกันดีว่า ไข้หัวโกร๋น เพราะสมัยนั้นยังไม่มียารักษา เป็นไข้กันเป็นเดือนจนกระทั่งผมร่วง พบได้ในทุกอายุ แต่จะพบมากในคนอายุ 10-30 ปี อาจจะพบว่ามีคนในละแวก ใกล้เคียงเคยเป็น หรือกำลังเป็นโรคนี้ด้วย พบมากในฤดูร้อนแต่ก็พบได้เกือบทั้งปี

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไทฟอยด์ เป็นแบคทีเรียที่มีชื่อว่า "ซัลโมเนลลา ไทฟี" (Salmonella typhi) ติด
ต่อโดยการกินอาหาร หรือน้ำดื่มที่ติดเชื้อจากอุจจาระ หรือปัสสาวะของผู้ป่วย หรือที่มีแมลงวันตอม ระยะฟักตัวประมาณ 14 วัน (7-21 วัน)

อาการ
อาการจะค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มแรกจะมีอาการไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว  ปวดเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย คล้ายไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ แต่ไม่มีน้ำมูก อาจมีเลือดกำเดาออก บางครั้งอาจมีอาการไอ และเจ็บคอเล็กน้อย มักมีอาการท้องผูก หรือไม่ก็ถ่ายเหลวเสมอ   อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดแน่นท้อง ท้องอืด และกดเจ็บเล็กน้อย  ต่อมาไข้จะค่อย ๆ สูงขึ้นทุกวัน
และจับไข้ตลอดเวลา ถึงแม้จะกินยาลดไข้ก็อาจไม่ลด ทุกครั้งที่จับไข้จะรู้สึกปวดศีรษะมาก
อาการไข้มักจะเรื้อรัง ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจมีไข้สูงอยู่นาน 3 สัปดาห์ แล้วค่อย ๆ ลดลงจนเป็นปกติเมื่อพ้น 4 สัปดาห์ บางรายอาจเป็นไข้อยู่นาน 6 สัปดาห์ก็ได้ บางรายอาจมีอาการหนาวสะท้านเป็นพัก ๆ เพ้อ หรือปวดท้องรุนแรงคล้ายไส้ติ่งอักเสบ  หรือถุงน้ำดีอักเสบ
ผู้ป่วยจะซึมและเบื่ออาหารมาก ถ้ามีอาการมากกว่า 5 วัน ผู้ป่วยจะดูหน้าซีดเชียว แต่เปลือกตาไม่ซีด (เหมือนอย่างผู้ป่วยโลหิตจาง) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคที่เรียกว่า หน้าไทฟอยด์

สิ่งตรวจพบ
ไข้ 38.5-40 ํซ. หน้าซีดเชียว และเปลือกตาไม่ซีด ฝ่ามือซีด ริมฝีปากแห้ง อาจมีอาการท้องอืด  กดเจ็บใต้ชายโครงขวา หรือท้องน้อยข้างขวา ตับม้ามอาจโต อาจพบจุดแดงคล้ายยุงกัด เมื่อดึงหนังให้ตึงจะจางหายเรียกว่า โรสสปอต (Rose spots) ที่หน้าอก หรือหน้าท้อง ซึ่งมักจะขึ้นหลังมีไข้ได้ 5 วัน และขึ้นอยู่นาน 3-4 วัน ในบางรายอาจมีอาการ ดีซ่าน หรือซีด (ถ้าเป็น
เรื้อรัง)

อาการแทรกซ้อน
ที่พบบ่อย และเป็นอันตราย ได้แก่ เลือดออกในลำไส้ (ถ่ายเป็นเลือดสด ๆ อาจถึงช็อกได้) และลำไส้ทะลุ (ท้องอืด ท้องแข็ง) ซึ่งจะพบหลังมีอาการได้ 2-3 สัปดาห์    ที่พบรองลงไป ได้แก่ ปอดอักเสบ , โลหิตเป็นพิษ ,  กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ,  ถุงน้ำดีอักเสบ ,   ไตอักเสบ,
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ , โรคจิต การกลับเป็นซ้ำ บางรายแม้ว่าจะรักษาจนไข้หายแล้ว อาจมีไข้กำเริบได้ใหม่ หลังจากหยุดยาไปประมาณ 2 สัปดาห์

การรักษา
หากสงสัย ควรส่งตรวจเพิ่มเติม ด้วยการตรวจเลือด ทำการ ทดสอบไวดาล (Widal test)  ตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดขาว (มักต่ำกว่า 5,000 ตัวต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร), นำเลือด อุจจาระ และปัสสาวะไปเพาะหาเชื้อ ถ้าพบว่าเป็นโรคนี้ ควรให้การรักษา ดังนี้
1.แนะนำให้ผู้ป่วยกินอาหารอ่อน, ดื่มน้ำมาก ๆ , ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง, ถ้ากินข้าวไม่ได้นาน ๆ ให้ยาบำรุงพวก วิตามิน, ให้ยาลดไข้-พาราเซตามอล
2.ให้ยาปฏิชีวนะ โคไตรม็อกซาโซล   ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (ในเด็กให้ 6 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ของไตรเมโทพริม) หรือให้คลอแรมเฟนิคอล วันละ 2 กรัม (ในเด็กให้ 75-100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน) แบ่งให้วันละ 4  ครั้ง หรือ อะม็อกซีซิลลิน  วันละ 2 กรัม (ในเด็กให้ 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน)
แบ่งให้ 4 ครั้ง ถ้าดีขึ้น (กินข้าวได้มากขึ้น ไข้ลด) ให้ยาต่อจนครบ 14 วัน ถ้าไม่ดีขึ้นใน 4-7 วัน หรือในรายที่สงสัยว่ามีอาการแทรกซ้อน ควรส่งโรงพยาบาล ในรายที่เชื้อดื้อยา อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะไซโพรฟล็อกซาซิน (Cyprofloxacin) 750 มก. วันละ 2 ครั้ง

ข้อแนะนำ
1.โรคนี้ต้องใช้เวลารักษาติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เมื่อได้รับการรักษา ไข้จะค่อย ๆ ลดลง จนกระทั่ง 4 วัน แล้วจึงจะไม่มีไข้ ถ้าให้คลอแรมเฟนิคอล อาจใช้เวลาอย่างน้อย 4 วันกว่าไข้จะลดเป็นปกติ ถ้าให้โคไตรม็อกซาโซล อาจใช้เวลา 6-10 วันกว่าไข้จะลด ส่วนอะม็อกซีซิลลิน อาจต้องใช้เวลานานกว่า 10 วัน
2. ผู้ป่วยบางรายเมื่อไข้หายแล้ว อาจมีอาการไข้กำเริบได้ใหม่ ภายหลังการหยุดยาไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ แต่อาการไม่รุนแรงเท่าครั้งแรก ควรให้ยารักษาซ้ำอีกครั้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์
3. ผู้ป่วยบางรายเมื่อหายแล้ว อาจมีเชื้อไทฟอยด์หลบซ่อนอยู่ในถุงน้ำดี โดยไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างไร เราเรียกว่า พาหะนำโรค (carrier) ซึ่งมักจะปล่อยเชื้อออกมากับอุจจาระ แพร่กระจายให้คนอื่นต่อไปเรื่อย ๆ แพทย์สามารถตรวจพบโดยการนำอุจจาระไปเพาะเชื้อ และอาจให้การรักษาโดยให้ โคไตรม็อกซาโซล หรือ อะม็อกซีซิลลิน หรือไซโพรฟล็อกซาซิน
นาน 4 สัปดาห์ บางรายอาจต้องผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก
4. ผู้ป่วยบางรายอาจดื้อยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะคลอแรมเฟนิคอล ดังนั้น ถ้าหากให้ยา 4-7 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรแนะนำไปตรวจเพิ่มเติมที่โรงพยาบาล

การป้องกัน
1. ในเด็กอายุมากกว่า 6 ปีให้วัคซีนป้องกันไทฟอยด์ ถ้าใช้วัคซีนชนิดฉีด ให้ฉีด 2 เข็มห่างกัน
1 เดือน และกระตุ้นซ้ำทุก 3 ปี ควรฉีดเข้าใต้ชั้นผิวหนัง วัคซีนชนิดนี้อาจทำให้มีไข้ หรือเกิด
รอยบวมแดงบริเวณที่ฉีดได้ ในปัจจุบันมีวัคซีนชนิดแคปซูลใช้แทนชนิดฉีดได้ ให้กินครั้งละ
1 แคปซูล วันเว้นวัน 3 ครั้ง โดยต้องกลืนทั้งแคปซูล อย่าถอดแคปซูลออก เชื้ออาจถูกกรดใน
กระเพาะอาหารทำลายได้ และในช่วงที่กินวัคซีนอยู่ ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ยาอาจฆ่า
เชื้อในวัคซีนตายหมดได้
2. กินอาหารสุกที่ไม่มีแมลงวันตอม และดื่มน้ำสะอาด
3. ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
4. ล้างมือก่อนปรุงอาหารและเปิบข้าว และหลังถ่ายอุจจาระทุกครั้ง
5. สำหรับผู้ป่วย ควรแยกสำรับอาหาร และเครื่องใช้ส่วนตัว อย่าปะปนกับผู้อื่น อุจจาระควร
ถ่ายลงในส้วม และควรล้างมือให้สะอาดหลังถ่าย

ข้อแนะนำ
ถ้าเป็นไข้รากสาดน้อย ควรให้ยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 14 วัน
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 29 พ.ย. 04, 13:52

ขอบคุณคุณ นทีฯ เป็นอย่างมากอีกครั้งค่ะ  ต้องขออภัยด้วยที่ไม่ได้เข้ามาดูเลย  ช่วงนี้เป็นวันหยุดเทศกาลที่ครอบครัวมาพร้อมหน้าพร้อมตากันเลยปลีกเข้ามาไม่ได้เลยค่ะ  

และขอบคุณคุณเทาชมพูด้วยค่ะ  เพิ่งทราบนี่เองว่าโรคไทฟอยด์นี่จะมีผื่นเป็นจุดขึ้นตามตัวด้วย  มีญาติสนิทของดิฉันเคยเป็นตอนเด็กๆเกือบแย่  แต่รอดมาได้  ผมก็เสียมาตลอดเลยค่ะ  ผมเค้าร่วงหมด  พอหายแล้วงอกกลับมาใหม่  ผมก็หยิกฟูถาวรไปเลยค่ะแต่ผมบางและแห้งกรอบมาก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 19 คำสั่ง