เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 10883 ที่มาของเพลงเชียร์สถาบันต่างๆ
นกข.
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 12 พ.ย. 00, 00:00

อันนี้ไม่ทราบเป็นประเด็นทื่ยังอยู่บนเรือนไทยหรือเปล่านะครับ แต่ผมอยากรู้
เพลงสถาบันการศึกษาต่างๆ ในชั้นแรกผมเข้าใจว่า เข้ามาในเมืองไทยพร้อมกับวัฒนธรรมการเชียร์ที่เรารับมาจากฝรั่ง เพลงเชียร์รุ่นเก่าหลายเพลงเลยปรากฏว่าเป็นเพลงฝรั่งมาแต่เดิม
อย่างมาร์ชจุฬา " เดินเดินเถิดรานิสิตมหาจุฬาลงกรณ์..."  นี่ เข้าใจว่าเป็นทำนองเพลงมาร์ชฝรั่ง จะใช่ Onward Christian Soldiers หรือจะเป็น Battlehymn of the Republic หรือเพลงอื่นก็ไม่ทราบ แต่รู้ว่าเพลงฝรั่งแน่ๆ

ทาง มธก. "เหล่านักศึกษาธรรมศาสตร์ประกาศชื่อก้อง โห่ร้องเอาชัยบำรุงจิตใจให้นักกีฬา..."  นี่ ก็มีคนบอกผมว่าเป็นทำนองเพลงชาติหรือเพลงปลุกใจฝรั่งเศสเพลงหนึ่ง แต่ผมชอบอีกเพลงด้วย ที่เอาทำนองมอญดูดาวของดนตรีไทยเดิมมาใส่เนื้อน่ะครับ "สำนักไหนหมายชูประเทศชาติ สำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมืองเอย..."

ที่คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ เพลงเชียร์หลายเพลงก็สำเนียงเป็นเพลงฝรั่ง แต่บางเพลงก็ไทย

"ธงเทาเราสง่าธงเทาเราสง่า..." นี่ ผมว่าทำนองใกล้ๆ เพลง Waltzing Matilda ของออสเตรเลียนะครับ คุณเทาชมพูว่าไง?

ที่สถาปัตย์จุฬา "- สะ ถาปัตย์ เรา มา-พร้อมกัน ..." นั้น ทำนองมาจากมหาอุปรากรเรื่อง คาร์เมน เลยเชียวแหละ ไม่เบา

มีท่านผู้ใดจะให้ความรู้เพิ่มเติมหรือจะแลกเปลี่ยนในเรื่องนี้ได้อีกไหมครับ
บันทึกการเข้า
ลุงแก่
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 21 ต.ค. 00, 00:00

บูมของ 'ถาปัตย์ จุฬาฯ ว่าไงนะ ... เอ๋  เอ้  ใช่หรือเปล่า ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 ต.ค. 00, 00:00

ธรรมเนียมเชียร์ก็ธรรมเนียมฝรั่งเต็มตัวละค่ะ   เพราะเหตุนี้เพลงเชียร์ส่วนใหญ่ก็คงเอามาจากเพลงฝรั่ง เพราะทำนองมันคึกคักดี เหมาะกับการปลุกใจนักกีฬา  เมื่อมีทำนองแล้วก็หาเนื้อร้องใส่เข้าไปง่าย
เพลง "ธงเทาเราสง่า" เคยร้องคอแหบคอแห้งไม่เคยมีใครบอกว่าเอามาจากเพลงประเทศไหน  เพิ่งรู้จากคุณนกข.นี่ละค่ะ
เพลงของสถาปัตย์ Toledo มั้ง ที่ว่ามา มาจากอุปรากรจริงๆด้วย  
ส่วนเพลงประจำมหาวิทยาลัย
รู้แต่ว่า CU Polka ศ. สดใส พันธุมโกมล เป็นผู้แต่งทั้งเนื้อร้องและทำนอง
ขณะพิมพ์ตอบ  หยิบแผ่น CD  แปดสิบปี น้องพี่สีชมพูมาเปิดอ่านว่าใครแต่งเพลงในนี้บ้าง   มีแต่ชื่อเพลง ไม่มีชื่อผู้แต่งเลยสักคน
มาร์ชจุฬา มีเนื้อร้องภาษาอังกฤษด้วยค่ะ สอดคล้องกับเนื้อภาษาไทย  เลยสงสัยว่าเราดัดแปลงของเขามาทั้งเนื้อฝรั่งเนื้อไทยเลยหรือ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 ต.ค. 00, 00:00

ผมก็ไม่ยืนยันนะครับ ว่าเพลงประจำคณะอักษรฯ จุฬาฯ ทำนองมาจากออสเตรเลีย เป็นแต่ว่าผมได้ยินวอลทซิ่ง มาทิลด้า แล้ว สะกิดใจว่าทำนองคล้ายๆ ธงเทาเราสง่าเท่านั้นเอง
เผอิญไม่รู้จะหา ลา มาร์แซแยส (ผมต้องสะกดผิดแน่ๆ ภาษาฝรั่งเศสผมอ่อนแอครับ) จากไหน ที่ว่ากันว่าเป็นแรงบันดาลใจให้ มาร์ช มธก. จะได้ลองฟังเปรียบเทียบดู
มาร์ชจุฬาฯ นั้น ถึงจะมีเนื้ออังกฤษด้วย คือ March, march along we sing a song, we sing so gay - สมัยโน้นเกย์ยังไม่มีความหมายเหมือนสมัยนี้ แปลว่ารื่นเริงเฉยๆ - แต่ผมก็คิดว่า ทั้งเนื้อไทยเนื้ออังกฤษ แต่งในเมืองไทยที่จุฬาฯ นี่แหละ เพราะเนื้อเพลงตำรับดั้งเดิมของเขา ที่เผอิญผมจำชื่อเพลงเขาไม่ได้นี่ ขึ้นต้นบรรทัดแรก (คล้ายๆ จะเป็น) ว่า Glory, Glory, Hallelujah... จังหวะของเดิมลากกว่าของมาร์ชจุฬาครับ
บันทึกการเข้า
มดขาว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 ต.ค. 00, 00:00

ผมทราบว่าเพลง "มหาจุฬาลงกรณ์" นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชนิพนธ์พระราชทานแก่จุฬาฯ เพื่อใ้่เป็นเพลงประจำสถาบัน
แต่จะเมื่อไหร่ ไม่ทราบครับ
อ้อ ... รวมถึงเพลง "ยูงทอง" ที่พระราชทานให้ ธรรมศาสตร์ ด้วยครับ
"แหล่งศึกษาร่มเย็น เด่นริมสายชล
เราทุกคนรักดุจหัวใจ ..."
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 ต.ค. 00, 00:00

เปิดแผ่น แกรมมี่ สุนทราภรณ์  จึงพบว่ามีเพลงประจำมหาวิทยาลัย อีกหลายเพลงของจุฬา เเป็นผลงานของสุนทราภรณ์ค่ะ
ขวัญใจจุฬา  ดาวจุฬา และ ลาแล้วจามจุรี เป็นผลงานร่วมกันระหว่างครูแก้ว อ้จฉริยกุล และครูเอื้อ สุนทรสนาน
บันทึกการเข้า
นนทิรา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 23 ต.ค. 00, 00:00

ดิฉันเคยชอบ "จามจุรีศรีจุฬา" (คิดว่าชื่อเพลงนี้นะคะ แต่อาจจะจำผิด จบมานานเต็มที) ที่มีเนื้อร้องกล่าวถึงจามจุรีในฤดูต่างๆ มีใครนึกออกบ้างไหมคะ จะใช่ผลงานของสุนทราภรณ์ด้วยหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 ต.ค. 00, 00:00

ไม่แน่ใจว่าเป็นพระนิพนธ์พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ หรือเปล่าค่ะ
จำได้ทั้งเพลง แต่ยาวมาก เลยตัดตอนมา
"เมื่อต้นปีจามจุรีงามล้น  เครื่องหมายของสิ่งมงคล ทุกคนเริ่มต้นสนใจ
เริ่มเวลารับชาวจุฬาน้องใหม่ เบิกบานสำราญฤทัย น้องเรามาใหม่หลายคน"
แล้วก็ท่อนสุดท้าย ที่ไม่อยากร้องเลย  ไม่อยากฟังด้วยตอนใกล้สอบ
"เมื่อปลายปี  ดอกจามจุรีร่วงหล่น ทิ้งใบเกลื่อนถนนเหลือแต่ลำต้นยีนไว้  
เหล่าจุฬาทิ้งความสุขาทันใด  พ่อแม่น้องพี่ใกล้ไกลอยู่ไหนลืมกัน
ทั่กินถิ่นนอน มิได้อาวรณ์นำพา มีความปรารถนาเหลือเพียงตำราเท่านั้น
เพื่อนเชือนชัก ทิ้งจนคนรักสารพัน หวังมิให้ตกชั้นรีไทร์"
ตำนานเล่าว่าสมัยก่อนโน้นรีไทร์กันง่ายมากกว่าเดี๋ยวนี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
แก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 23 ต.ค. 00, 00:00

ขออนุญาตเขียนเพลงจามจุรีศรีจุฬาแบบเต็มๆ จะได้ครบนะครับ อ้อ..ที่ผมจำได้มีหลายคำที่ไม่เหมือนกับversionของคุณเทาชมพูด้วย เช่นท่อนสามผมร้องว่า"ไกลใกล้"ไม่ใช่"ใกล้ไกล" และ"ลืมพลัน"ไม่ใช่"ลืมกัน"

เมื่อต้นปีจามจุรีงามล้น
เครื่องหมายของสิ่งมงคล ทุกคนเริ่มต้นสนใจ
เริ่มเวลารับชาวจุฬาน้องใหม่
เบิกบานสำราญฤทัย น้องเรามาใหม่หลายคน
เห็นจามจุรีสีงาม ทุกยามช่างงามล้ำล้น
น้องเราเข้ามาทุกคน เบิกบานกมลเริ่มต้นด้วยดี
พร้อมกันในวันนี้เอง ร้องเพลงครื้นเครงเต็มที่
หมายเอาจามจุรีเป็นเกียรติเป็นศรีของชาวจุฬาฯ

เมื่อกลางปีจามจุรีฝักหล่น ถึงเวลาหน้าฝนลำต้นก็ลื่นหนักหนา
ฝักหล่นไปทั้งยางก็ไหลลงมา ถ้าเดินพลั้งพลาดท่าจะล้มทันที
ฉันใดก็ดียางจามจุรีเตือนใจ ว่ายางที่ไหลนั้นคือยางอายเรานี้
พลาดการศึกษา แสนอายหนักหนาทั้งตาปี จำยางจามจุรีเตือนใจ

เมื่อปลายปีดอกจามจุรีร่วงหล่น ทิ้งใบเกลื่อนถนนเหลือเพียงลำต้นยืนไว้
เหล่าจุฬาทิ้งความสุขาทันใด พ่อแม่น้องพี่ไกลใกล้อยู่ไหนลืมพลัน
ที่กินถิ่นนอนมิได้อาวรณ์นำพา มีความปรารถนาเหลือเพียงตำราเท่านั้น
เพื่อนเชือนชัก ทิ้งจนคนรักสารพัน หวังมิให้ตกชั้นรีไทร์

แงๆ...เขียนไปๆใจมันรอนๆ ตามันรื้นๆ เฮ้อ...อุตส่าห์เรียนจบมาได้เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
นนทิรา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 ต.ค. 00, 00:00

ขอบคุณคุณแก้วมากค่ะ จำเก่งจังเลยนะคะ พออ่านเนื้อเพลง ก็ทำเอาดิฉันใจรอนๆ ตารื้นๆเข้าเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
นนทิรา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 ต.ค. 00, 00:00

ขอบคุณคุณเทาชมพูด้วยนะคะ ดิฉันจำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า สมัยดิฉัน เพลงนี้จะเป็นเพลงที่น้องใหม่จะไม่ร้องกันค่ะ (อาจจะเป็นแต่ที่คณะดิฉันก็ได้) เพราะเนื้อร้องที่น่ากลัวในท่อนสุดท้าย สมัยนี้รีไทร์กันยากขึ้นเหรอคะ ดิฉันมีเพื่อนที่รีไทร์ตอนปีหนึ่งไปหลายคนเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 24 ต.ค. 00, 00:00

คุยกันถึงแต่จุฬา เดี๋ยวศิษย์เก่าที่อื่นเปิดมาเจอจะแจมด้วยไม่ถูก   ขอแถมเป็นเพลงของ ม.อื่นบ้างนะคะ
อย่างมหาวิทยาลัยศิลปากร  มีเพลงประจำมหาวิทยาลับชื่อ " ศิลปากรนิยม" ทำนองมาจากเพลงอิตาเลียนชื่อ Santa Lucia
เป็นเพลงโปรดของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย  ท่านเป็นชาวอิตาเลียนค่ะ
เนื้อเร้อง
มามา   เรามารื่นเริง....เชิงชื่นรื่นสำราญ
ยามเรียนเราเรียนเพราะรัก....เราฝึกหัดเพื่อชำนาญ
ยามพักเราแสนสนุก.....เราเป็นสุขจากผลของงาน
ศิลปะแสนบริสุทธิ์......ผุดผ่องดั่งแสงจันทร์
ปราศไฝและไร้ฝ้า.....เปรียบจันทราคราไร้หมอกควัน

(สร้อย) ศิลปินอยู่เพื่ออะไร....ยืนยงเพื่อจรรโลงสิ่งไหน
แต่ศิลปินกลับภาคภูมิในใจ...ที่ได้สร้างเพื่อมนุษยธรรม

ดูสิสวยแท้ปานใด......ศิลปะ ภพเลิศไฉไล
กลิ่นสีและกาวแป้ง.....ดุจดังแรงส่งเสริมใจ
มนุษย์เราหากรักศิลป....สิ่งซึ่งงามวิไล
มวลมนุษย์คงสดชื่น....รื่นเริงศิวิไล
(สร้อย)
เสียดายไม่ทราบชื่อผู้แต่งเนื้อร้องภาษาไทยค่ะ
และมีอีกเพลง คือ ลานจันทน์รัญจวน  ของธาตรี-สุนทราภรณ์ ก็เป็นเพลงของม.ศิลปากรเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
ลุงแก่
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 24 ต.ค. 00, 00:00

แล้ว cheer leader and หางเครื่อง ของใครที่คิดว่าสวยที่สุดล่ะครับ
บันทึกการเข้า
ด.เด็ก
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 ต.ค. 00, 00:00

เรื่องเชียร์ลีดดี้(ผู้หญิง) เชียร์ลีดเดอร์น่ะผู้ชายครับ ตั้งกระทู้ใหม่สิครับ ผมมันเชียร์ลีดเดอร์เก่าเหมือนกันนา
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 26 ต.ค. 00, 00:00

ตกลงไม่มีลูกแม่โดมมาไขข้อข้องใจผมเลยเหรอครับว่า มาร์ช มธก. ทำนองมาจากฝรั่งเศสจริงรึเปล่า

เรื่องครุยวิทยฐานะก็น่าสนใจอีกเรื่อง ครุย มธ. แบบเป็นครุยฝรั่งเศส มี "สังฆาฏิ"  พาดบ่าด้วย ครุยของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ส่วนมาก ดูหน้าตาเป็นครุยอเมริกัน ผมเข้าใจว่าที่ ม. เกษตรมีหมวกอยู่มหาวิทยาลัยเดียว ที่อื่นไม่เห็นมีหมวกด้วย หรือจะมีก็ไม่ทราบ ครุยที่สีแดงสดเตะตาผิดกับครุยสถาบันอื่น (ที่มักจะสีมืดๆ เข้มๆ) ได้แก่ครุยสถาบันพระจอมเกล้าฯ
 
ของจุฬาฯ เอง แต่ก่อนมีเอกลักษณ์ว่าเป็นครุยแห่งเดียวที่หน้าตาไม่เป็นครุยฝรั่ง แต่เป็นครุยแบบทางตะวันออก ผ้าโปร่ง ไม่ร้อนดีด้วย เดี๋ยวนี้เข้าใจว่านอกจากจุฬาฯ แล้ว มสธ. ก็เป็นชุดเทวดาไทยหรือชุดบวชนาคแบบนี้ จะยังมีที่อื่นที่ครุยเป็นผ้าขาวบางอย่างนี้อีกหรือไม่ ไม่ทราบ
ผมกำลังจะเขียนว่า ครุยจุฬาฯ เป็นครุยแบบไทยๆ แต่นึกอีกที ถึงแม้ว่าครุยผ้าโปร่งนี้จะเป็นเครื่องแบบขุนนางไทยมาแต่โบราณ แต่ครั้งราชทูตโกษาปานไปฝรั่งเศสก็จริง แต่ก็ไม่ใช่ของไทยแท้ชาติเดียว ชนชาติทางเอเชียอีกหลายชาติก็ใส่ครุยเช่นนี้เหมือนกัน ผมกำลังเดาว่า ครุยไทยที่พระยาแรกนา หรือขุนนางไทยสมัยก่อน หรือตัวเทวดาไทย ใส่เป็นครั้งคราวนั้น เดิมไทยน่าจะรับมาจากเมืองแขก (ถ้าเป็นไทยแท้จริงๆ ไม่สวมเสื้อครับ) อาจจะมาจากอิหร่าน(หรือเปอร์เซีย) พร้อมกับท่านเฉกอะหมัดก็ได้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 19 คำสั่ง