เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 75 เมื่อ 25 ต.ค. 04, 10:51
|
|
พระพันปี เป็นคำที่ชาววังเรียกพระชนนีของพระเจ้าแผ่นดินค่ะ ความหมายของคำ ตรงกับพระพันวสา หรือพันวัสสา หรือพันวษา
คำว่า พระพันวษา ใช้เป็นคำกลางๆ เรียกพระเจ้าแผ่นดินได้ด้วย ในสมัยกรุงศรีอยูธยา เห็นหลักฐานได้จากเรื่องขุนช้างขุนแผน ว่าเรียกกษัตริย์ในเรื่องว่าพระพันวษา ในตอนต้นรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระอมรินทราฯ ในรัชกาลที่ 1 ก็เรียกกันว่าพระพันวสา (ในเอกสารต่างๆสะกดแตกต่างกันไป ไม่ลงตัวแน่นอน) ส่วนพระนามอย่างเต็มยศนั้นมาถวายกันทีหลังเมื่อสิ้นพระชนม์ไปแล้ว
ตามความเข้าใจของดิฉัน คำทั้งสองนี้ไม่ได้กำหนดแน่นอนลงไป แต่รวมความแล้วอาจเป็นพระมเหสีของพระเจ้าแผ่นดินในรัชกาลก่อน พระชนนีของพระเจ้าแผ่นดินในรัชกาลหลังจากนั้น ก็ได้ สมเด็จพระศรีสวรินฯ แม้ว่าไม่ได้เป็นพระราชชนนีของรัชกาลที่ 6 แต่ก็ทรงอยู่ในฐานะพระมเหสีพระองค์หนึ่งในรัชกาลที่ 5 เป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ พระองค์แรก และต่อมาก็เป็นพระอัยกีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้รับการยกย่องเป็นสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าฯ
ส่วนพระพันปี หรือพระพันปีหลวง เป็นพระราชชนนีของพระเจ้าแผ่นดิน เห็นได้จากสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ ข้อนี้ชัดอยู่แล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
paganini
|
ความคิดเห็นที่ 76 เมื่อ 25 ต.ค. 04, 20:12
|
|
ขอบคุณครับอาจารย์ แล้วเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศล่ะครับอยากทราบเรื่องราวเกี่ยวกับท่านบ้าง พอดีผมไปงานหนังสือที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต มาน่ะครับไปยืนอ่านมานิดนึงว่า อัครมเหสีหมายเลขของ ร.5 องค์ก่อนคือพระนางสุนันทากุมารีรัตน์แต่ทรงสิ้นพระชนม์ซะก่อน อืม จริงรึเปล่าครับ ผมไม่ค่อยเชื่อหนังสือที่เขียนๆกันทั่วไปเท่าไหร่ ถ้าจำไม่ผิด ทั้ง 4 ตำแหน่งมีศักดิ์เท่ากันไม่ใช่เหรอครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 77 เมื่อ 26 ต.ค. 04, 08:11
|
|
เรื่องของเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศเป็นเรื่องยาว เหมาะจะตั้งกระทู้ใหม่เมื่อกระทู้นี้จบแล้วค่ะ อาจจะเล่ารวมไปในกระทู้สมเด็จพระศรีสวรินฯ ที่ติดหนี้คุณพวงร้อยไว้นานแล้ว พระมเหสีเทวีในรัชกาลที่ 5 มีมากกว่า 4 ค่ะ บางพระองค์ ก็สิ้นพระชนม์ไปก่อนปลายรัชกาล บางองค์ในตอนแรกไม่ได้มีการสถาปนาพระยศกันอย่างชัดเจนเป็นทางการ มาสถาปนาภายหลัง บางองค์ก็เลื่อนพระยศขึ้นก็มี 4 ตำแหน่งที่คุณ paganini ถาม คงหมายถึงในปลายรัชกาลที่ 5 ต่อถึงรัชกาลที่ 6 ขอเรียงลำดับดังนี้ค่ะ 1) สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ 2) สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี 3) สมเด็จพระนางเจ้าปิตุฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี 4) พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ที่จริง สมเด็จพระศรีสวรินทิรา ทรงอยู่ในอันดับหนึ่งเมื่อตอนกลางๆรัชกาล เพราะทรงเป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก แต่เมื่อเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสิ้นพระชนม์กะทันหัน ตำแหน่งเลื่อนไปอยู่ที่พระราชโอรสที่มีอาวุโสรองลงไป คือเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ซึ่งประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี หรือพระพันปี พระราชชนนีจึงเลื่อนขึ้นเป็นอันดับหนึ่งแทน ต่อมาก็ได้ดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สำเร็จราชการแทนพระเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จยุโรป ก็ถือได้ว่าเป็นอันดับหนึ่งชัดเจน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงร้อย
|
ความคิดเห็นที่ 78 เมื่อ 26 ต.ค. 04, 09:11
|
|
ขอบพระคุณมากค่ะคุณเทาชมพู ตามแต่สะดวกนะคะ ของดีๆคุ้มค่าแก่การรอคอยเสมอค่ะ
เรื่องเสด็จประพาสยุโรปนี่ ดิฉันเคยอ่านพระราชหัตถเลขาที่ทรงมีถึงเจ้าฟ้าหญิงนิภานภดล ตั้งแต่เด็กๆก็ยังจำได้หลายตอนเลยค่ะ ไม่ทราบว่า เจ้าฟ้าหญิงเกือบจะได้ตามเสด็จไปด้วย แต่ไม่ได้ไปเพราะเรื่องเจ้าจอม มรว สดับ น่าเสียดายแทนท่านจริงๆเลยนะคะ
ขอเรียนถามข้อนึงค่ะ ว่า พระวิมาดาเธอ นี่มีเชื้อสายจากทางไหนคะ เป็นพระน้องนางพระองค์หนึ่งด้วยหรือเปล่า ดิฉันจำไม่ได้เสียแล้วค่ะ นึกไม่ออกจริงๆว่าท่านเป็นใคร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 79 เมื่อ 26 ต.ค. 04, 11:00
|
|
พระประวัติย่อๆมีดังนี้ค่ะ พระวิมาดาฯ ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์ เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นภูมินทรภักดี (พระองค์เจ้าลดาวัลย์ ต้นราชสกุลลดาวัลย์ ณ อยุธยา ) พระราชโอรสในรัชกาลที่ 3 พระชนก ด้วยความจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัว รับสั่งว่าท่านไม่มีสมบัติข้าวของเงินทองจะถวาย ก็ขอถวายลูกหลานแทน พระธิดาสององค์ก็ได้เป็นพระอรรคชายา คือ พระวิมาดาฯ และพระอรรคชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์ องค์หลังนี้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ปี 2430
พระวิมาดาฯ ทรงมีตำแหน่งสำคัญมากในวัง คือควบคุมดูแลห้องพระเครื่องต้น(หมายถึงห้องครัว) ของเสวยคาวหวานอยู่ในความดูแลของท่าน ในพ.ศ. 2431 โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็นพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสินีนาฎ
พระวิมาดาฯทรงมีพระราชโอรสและธิดา 4 พระองค์คือ 1) พระองค์เจ้าชายยุคลทิฆัมพร ต่อมาเฉลิมพระยศขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ 2) พระองค์เจ้าหญิงนภาพรจำรัสศรี ต่อมาเฉลิมพระยศเป็นเจ้าฟ้า องค์นี้สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ ไม่ทันทรงกรม 3) พระองค์เจ้าหญิงมาลินีนพดารา ต่อมาเฉลิมพระยศเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนศรีสัชชนาลัยสุรกัญญา 4) พระองค์เจ้าหญิงนิภานภดล ต่อมาเฉลิมพระยศเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนอู่ทองเขตขันตติยนารี เจ้าฟ้าทั้ง 4 พระองค์ เรียกกันว่าเจ้าฟ้าชั้นโท คือมิได้เป็นเจ้าฟ้าตั้งแต่ประสูติ ถ้าเป็นเจ้าฟ้าตั้งแต่ประสูติชาววังเรียกว่าทูลกระหม่อม เจ้าฟ้าชั้นโทเรียกว่าสมเด็จชาย หรือสมเด็จหญิง) อย่างเจ้าฟ้านิภานภดล ชาววังเรียกว่าสมเด็จหญิงน้อย
พระวิมาดาฯเป็นพระองค์แรกที่ตั้งโรงเลี้ยงเด็กขึ้นในประเทศไทย ในรัชกาลที่ 5 เพื่อเป็นพระกุศลประทานพระธิดาที่สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ที่ทำการอยู่ตรงตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง รับเด็กกำพร้าและเด็กยากจนมาเลี้ยงดูอย่างดี สอนให้เล่าเรียนเขียนอ่าน ทำกับข้าว ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ มีวิชาติดตัวทั้งหญิงและชาย เด็กเหล่านี้หลายคนเมื่อเติบโตก็ได้เข้ารับราชการ มียศเป็นขุน หลวง พระ พระยา กันหลายคน
สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2472 ได้รับพระราชทานโกศทองใหญ่ อันเป็นพระโกศสำหรับทรงพระบรมศพ พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นนทิรา
มัจฉานุ
 
ตอบ: 77
|
ความคิดเห็นที่ 80 เมื่อ 26 ต.ค. 04, 13:42
|
|
ดิฉันเคยอ่านพบว่า สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงทูลขอพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 ให้การสืบสายรัชทายาทตกอยู่ในสายพระราชโอรสที่ประสูติในสมเด็จพระศรีพัชรินทรฯก่อนที่จะตกกลับไปสายอื่น คือจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธแล้ว ให้สืบต่อที่พระอนุชาร่วมพระชนนี
จะทูลขอเมื่อไรก็จำไม่ได้แน่ชัดค่ะ ไม่ทราบจะเป็นหลังจากที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นควีนรีเจนท์ระหว่างเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกหรือเปล่า
คุณเทาชมพูทราบรายละเอียดของเหตุการณ์นี้ไหมคะ และไม่ทราบว่าสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ ซึ่งทรงโศกเศร้าเสียพระทัยเป็นอันมากจากการเสียพระราชโอรสองค์โตจะทรงรู้สึกอย่างไร เพราะยังทรงมีพระราชโอรสอยู่อีก คือสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 81 เมื่อ 26 ต.ค. 04, 14:43
|
|
เคยได้ยินมาสั้นๆตรงกับคุณนนทิราเล่าค่ะ แต่ไม่แน่ใจว่าหลังจากทรงเป็นสมเด็จรีเยนต์แล้วหรือยัง แต่ว่าหลัง พ.ศ. 2347 แน่นอน เพราะปีนั้นเป็นปีที่เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ หลังจากสูญเสียพระราชโอรส ก็ทรงอยู่แต่ในพระตำหนักเป็นส่วนใหญ่ พระสุขภาพไม่สู้ดีนัก แปรพระราชฐานไปพักที่ศรีราชาอยู่พักใหญ่ คุณนนทิราพูดถึงสมเด็จเจ้าฟ้าชายมหิดล ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2434 ขณะนั้นพระชนม์แค่ 3 พรรษาเท่านั้นเองละค่ะ ทรงมีพระเชษฐาที่เป็นเจ้าฟ้าเช่นกันอีกตั้งหลายพระองค์
ถ้าเป็นการเรียงลำดับอาวุโสตามพระชนมายุ ตามแบบเก่าละก็ หากว่าเกิดเหตุอะไรกับสมเด็จพระบรมฯพระองค์ที่สอง ผู้อยู่ในลำดับต่อไปคือสมเด็จเจ้าฟ้าชายบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ในสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ทรงอ่อนกว่าเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธประมาณ 6 เดือน แต่นับพ.ศ. แล้วเป็นคนละปีกัน
การทูลขอในข้อนี้ ก็เท่ากับข้ามเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯไปโดยปริยาย
ถ้าลำดับอายุกันต่อไปอีกก็จะได้แก่พระราชโอรสในสมเด็จพระพันปีทั้งนั้น ก่อนจะมาถึงเจ้าฟ้ามหิดล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 82 เมื่อ 26 ต.ค. 04, 14:54
|
|
ขอกลับมาถึงเรื่องกรมหลวงชุมพรนะคะ ข่าวลือเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6 คือ ความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จนมีการเล่าเติมเสริมต่อกันไปอีกมาก แต่ในความเป็นจริง ไม่ใช่การขัดแย้งแบบตัวต่อตัวระหว่างเจ้านายสองพระองค์นี้ แต่เป็นเรื่องที่ก่อหวอดขึ้นมาโดยลูกน้อง แล้วมีผลกระทบไปถึงนายของทั้งสองฝ่าย
ก่อนอื่นขอเท้าความถึงพระประวัติของพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ หรือ "เสด็จเตี่ย" ที่กองทัพเรือให้ความเคารพนับถืออย่างสูง ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติก่อนเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ หรือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพียงสิบกว่าวันเท่านั้นเอง ประสูติจากเจ้าจอมมารดาโหมด บุนนาค พระนามเดิมคือพระองค์เจ้าชายอาภากรเกียรติวงศ์ เมื่อเจริญพระชนม์ขึ้นได้เสด็จไปศึกษาวิชาทหารเรือที่ประเทศอังกฤษ กลับมาทรงรับราชการอยู่ในกองทัพเรือ จนได้เป็นเสนาบดีกระทรวงทหารเรือในรัชกาลที่ 6 สิ้นพระชนม์เมื่อพ.ศ. 2466 ก่อนสิ้นรัชกาลที่ 6 เพียงสองปี
เรื่องที่เป็นชนวนความขัดแย้ง เริ่มตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5 เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ประทับอยู่ที่วังสราญรมย์ ทรงโปรดการเล่นโขนละคร ก็ทรงรับมหาดเล็กใหม่ๆเข้ามาฝึกเป็นตัวโขนตัวละคร มหาดเล็กเหล่านี้บางคนก็เป็นลูกผู้ดีมีตระกูล บางคนเป็นลูกชาวบ้านธรรมดาแต่หน่วยก้านดี มีแววทางนาฏศิลป์ พวกแรกมักอยู่ในระเบียบดี ไม่มีปัญหา แต่พวกหลัง บางคนนิสัยดี แต่มีบางคนซ่าส์ถือว่าเป็นถึงมหาดเล็กของเจ้านายใหญ่ เลยคึกคะนองไม่ค่อยจะเกรงใคร
วันหนึ่ง นักเรียนนายเรือหนุ่ม 2 คน ซึ่งก็เป็นศิษย์ของกรมหลวงชุมพรฯ แต่งตัวชุดยูนิฟอร์มขาวสุดเท่ เดินสมาร์ทผ่านไปทางถนนสนามไชย ผ่านพวกมหาดเล็กหนุ่มๆกลุ่มใหญ่ที่กำลังเตะฟุตบอลกันอยู่
นักเรียนนายเรือหนึ่งในสองชื่อจือ (หรือเจือ สหนาวิน ต่อมาได้เป็นนาวาตรีหลวงจบเจนสมุทร์) ได้เขียนบันทึกเรื่องนี้เอาไว้ ดิฉันเล่าจากบันทึกของท่าน
พอมหาดเล็กเห็นนักเรียนนายเรือสองคนเดินอกผายไหล่ผึ่งผ่านไป หยุดทำความเคารพธงชาติตอนหกโมงแล้วก้าวผึ่งผายออกเดินพร้อมกัน ก็เกิดอยากแซวขึ้นมา ในจำนวนพวกซ่าส์ก็เกิดมีหัวโจก ส่งเสียงเป็นจังหวะ ว่า หนึ่ง หนึ่ง หนึ่งสอง ตามจังหวะก้าวเดิน นักเรียนนายเรือเห็นมหาดเล็กมาลูบคม ก็เอาจริงขึ้นมา จึงเกิดถามทำนองต่อว่ากัน ถามกันไปถามกันมาไม่มีใครยอมรับ ก็เลยเกิดเป็นมวยหมู่ขึ้นมาระหว่างนักเรียนนายเรือ 2 คนและมหาดเล็กหลายสิบ ชกต่อยกันชุลมุนอยู่พักใหญ่ มหาดเล็กตะโกนให้ทหารยามหน้ากระทรวงกลาโหมจับนักเรียนนายเรือ ทหารยามไม่กล้าจับ มีนายทหารคนหนึ่งเห็นเหตุการณ์ก็ร้องบอกให้นักเรียนนายเรือหลบหนีไปเสียเพราะว่ากำลังของอีกฝ่ายมากกว่า นักเรียนนายเรือทั้งสองก็เลยแหวกพวกมหาดเล็กซึ่งไม่กล้าทำอะไรจริง กลับบ้านไปได้ ปรากฏว่านายจือได้รับบาดเจ็บ หน้าบวมปากเจ่อไปตามระเบียบ แต่ก็ไปเรียนหนังสือต่อได้ไม่ถึงกับบาดเจ็บสาหัส ความทราบไปถึงผู้บังคับการโรงเรียน น.ต. หลวงพินิจจักรพันธุ์(สุริเยศ อมาตยกุล ภายหลังเลื่อนขึ้นเป็นพระยาสาครสงคราม) เรียกตัวไปตักเตือน ให้ทำรายงานเสนอขึ้นไป แต่ก็แค่นั้น เพราะดูแล้วก็ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร ต่อมา 3-4 เดือนเรื่องที่นึกว่าจบกันไปแล้วก็กลับลุกลามเป็นเหตุใหญ่โต มหาดเล็กกลุ่มนั้นไปทูลฟ้องสมเด็จพระบรมฯ ว่าถูกนักเรียนนายเรือมาข่มเหงถึงหน้าวัง สมเด็จพระบรมฯก็กริ้วว่าผู้ก่อเหตุเป็นนักเรียนของกรมหลวงชุมพรฯ มารังแกมหาดเล็กของพระองค์ท่าน จึงทรงทำเรื่องกราบบังคมทูลให้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงทราบ เมื่อกรมหลวงชุมพรฯ ทรงทราบ สืบสาวราวเรื่องหาข้อเท็จจริงได้แล้วก็ไปเฝ้ากรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชวนกันเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว กราบทูลว่าในความเป็นจริง มีนักเรียนนายเรือแค่ 2 คนเท่านั้น แต่มหาดเล็กหลายสิบคน ใครข่มเหงใครกันแน่ ไม่มีกฎหมายที่ไหนออกว่าคนน้อยข่มเหงคนมาก กรมหลวงราชบุรีฯก็ทรงสนับสนุนว่าเป็นความจริง ทั่วโลกไม่มีกฎหมายว่าคนน้อยข่มเหงคนมาก มีแต่คนมากข่มเหงคนน้อย
พระเจ้าอยู่หัวก็เลยทรงหันพระพักตร์ไปทางสมเด็จพระบรมฯ รับสั่งว่า " พ่อโตก็ไม่ควรเอาเรื่องเล็กๆน้อยๆเหล่านี้มากล่าวให้เป็นเรื่องเป็นราว เสียเวลา"
นายจือก็เลยรอดพ้นจากความผิด เรียนจบเข้ารับราชการในกองทัพเรือ เข้าวังได้ใกล้ชิดกับพระโอรสธิดาที่ทรงพระเยาว์ จนกระทั่งชราก็เขียนบันทึกเรื่องนี้ไว้ให้รู้กันสำหรับคนรุ่นหลัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Marty
อสุรผัด

ตอบ: 8
|
ความคิดเห็นที่ 83 เมื่อ 26 ต.ค. 04, 16:06
|
|
มาแสดงตัวเป็นครั้งแรกครับ ติดตามอ่านมานานพอสมควรแล้ว มีประโยชน์มากเลยครับ คิดว่าเรื่องความขัดแย้งระหว่างในหลวงรัชกาลที่ 6 กับกรมหลวงชุมพรฯ คงยังไม่จบแค่นี้ รอฟังคุณเทาชมพูเล่าต่อครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
วิรงรอง
อสุรผัด

ตอบ: 3
|
ความคิดเห็นที่ 84 เมื่อ 26 ต.ค. 04, 18:15
|
|
ขอบคุณค่ะคุณเทาชมพูที่เล่าเรื่องกรมหลวงชุมพรให้ฟัง แต่ไหนแต่ไรตั้งแต่อ่านพระราชนิพนธ์ที่ทรงแปลเชคสเปียร์และบทละครอื่นๆ ก็ให้สนใจใคร่รู้เรื่องในสมัยนั้น ด้วยคิดว่าเป็นสมัยคาบตะวันตกตะวันออก น่าพิศวง ขอบคุณค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
พวงร้อย
|
ความคิดเห็นที่ 86 เมื่อ 27 ต.ค. 04, 00:51
|
|
ตามมาอ่านช้าหน่อย ขออภัยด้วยค่ะ ขอบคุณคุณเทาชมพูสำหรับรายละเอียดของพระวิมาดาฯด้วยค่ะ ไม่ทราบว่า สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร เป็นพระชนกของ พระองค์เจ้า เฉลิมพรทิฆัมพร อนุสรมงคลการ ใช่มั้ยคะ ขออภัยดิฉันจำชื่อพระองค์ชายใหญ่ไม่ได้ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นนทิรา
มัจฉานุ
 
ตอบ: 77
|
ความคิดเห็นที่ 87 เมื่อ 27 ต.ค. 04, 01:51
|
|
พอดีผ่านมา ตอนนี้ที่เมืองไทยก็ดึกแล้ว เลยขออนุญาตตอบพี่พวงร้อยค่ะ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร และพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ เป็นพระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพรค่ะ และพระชนนีคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตรมงคล (พระธิดาในสมเด็จวังบูรพา)
เสด็จพระองค์ชายใหญ่ กลาง และเล็ก ล้วนสิ้นพระชนม์แล้วทั้งสิ้นค่ะ
กำลังรอฟังเรื่องราวตอนต่อไปของกรมหลวงชุมพรฯจากคุณเทาชมพูนะคะ กรมหลวงราชบุรีฯก็ดูเหมือนมีเรื่องขัดแย้งในหมู่เจ้าพี่เจ้าน้องอยู่เหมือนกันใช่ไหมคะ คงเป็นอย่างที่คุณเทาชมพูว่าน่ะค่ะ ครอบครัวใหญ่ขนาดนี้ เรื่องกระทบกระทั่งย่อมมีบ้างเป็นเรื่องธรรมดา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงร้อย
|
ความคิดเห็นที่ 88 เมื่อ 27 ต.ค. 04, 09:37
|
|
ขอบคุณมากค่ะ คุณนนทิรา ไม่น่าลืมพระนาม พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ได้เลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 89 เมื่อ 28 ต.ค. 04, 11:20
|
|
ขอโยงต่อไปอีกเรื่องว่า นอกจากมีเรื่องกับนักเรียนนายเรือแล้ว มหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ยังเคยไปมีเรื่องกับนายทหารรักษาพระองค์ที่วังสวนดุสิตด้วย ในปลายรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ ทูลฟ้องต่อพระเจ้าอยู่หัว ว่าทหารรักษาพระองค์รังแกมหาดเล็ก ผลการไต่สวน ตรงกันข้ามกับนักเรียนนายเรือ ทหารรักษาพระองค์ถูกสอบสวนว่าผิดจริง ก็เลยถูกเฆี่ยนต่อหน้าแถวทหารที่กระทรวงกลาโหม แล้วปลด ผู้เฆี่ยน คือเสนาบดีกลาโหม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ( พระองค์เจ้าชายจิรประวัติวรเดช ต้นราชสกุล จิรประวัติ ณ อยุธยา) ตามพระบรมราชโองการของพระเจ้าอยู่หัว
หลังจากทหารบกถูกเฆี่ยนแล้ว ก็เลยไม่ถูกกันระหว่างทหารกับมหาดเล็ก เป็นความขุ่นข้องที่ยาวนาน จนทหารหนุ่มกลุ่มหนึ่งคิดก่อการกบฏขึ้นในรัชกาลที่ 6 เรียกว่ากบฏ ร.ศ. 130 แต่ว่าไม่สำเร็จ ถูกจับติดคุกระนาว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|