เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 117036 ก็อสสิปนอกกำแพงวัง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 07 ต.ค. 04, 17:06

 ราชสกุล สุริยกุล  อย่างที่เกริ่นไว้แล้วว่าสืบสายมาจากรัชกาลที่ 1     พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุริยา กรมพระรามอิศเรศ ทรงมีพระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีกองค์หนึ่งคือ กรมหมื่นศรีสุเทพ( พระองค์เจ้าชายดารากร   ต้นราชสกุล ดารากร)
วังเดิมของกรมหมื่นศรีสุเทพ อยู่ตรงกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน   ส่วนกรมพระรามฯ อยู่ใกล้ๆกันตรงศาลฎีกา  
ต่อมาในรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการสร้างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงยุติธรรม วังของเจ้านายทั้งสองพระองค์ที่เชื้อสายครอบครองอยู่ก็ย้ายมาอยู่ ณ ที่ดินพระราชทานตรงสี่แยกสะพานดำ
สะพานดำเรียกอีกชื่อว่าสะพานแม้นศรี  เดี๋ยวนี้กลายเป็นสี่แยก  ชื่อแม้นศรีตั้งเป็นอนุสรณ์รวมถึงของบุคคล 2 ท่านด้วยกัน คือหม่อมแม้นในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระราชอนุชาในรัชกาลที่ 5     และพระองค์เจ้าศิริวงศ์พระโอรส
หลักฐานร่องรอยของราชสกุลนี้ที่มีให้เห็นสำหรับคนรุ่นหลัง คือคลองทางใต้ของสะพานแม้นศรี  ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นซอย ชื่อซอยพระยาราชสีห์
พระยาราชสีห์เป็นบุตรของหม่อมเจ้าจันทรสุเทพ( ภายหลังเลื่อนขึ้นเป็นพระองค์เจ้า) ซึ่งเป็นโอรสในกรมหมื่นศรีสุเทพ พูดง่ายๆว่าพระยาราชสีห์เป็นหลานปู่กรมหมื่นศรีสุเทพ
ส่วนเชื้อสายทางสายกรมพระราชอิศเรศ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯก็โปรดให้ย้ายมาอยู่รวมกันในวังพระองค์เจ้าจันทรสุเทพ   ไม่ได้พระราชทานที่ดินแยกให้เป็นสัดส่วน  เพราะเชื้อสายทางด้านนี้ ไม่ได้รับราชการใหญ่โตอย่างเจ้านายอื่นๆ

สาเหตุที่เจ้านายสายนี้ไม่ค่อยเป็นใหญ่เป็นโต   ไม่ใช่เพราะขาดโอกาส       ตรงกันข้าม  เรียกว่ามีโอกาสดีเกินไปก็ว่าได้   เพราะกรมพระรามอิศเรศทรงค้าสำเภา  มีเรือสำเภาส่งสินค้าอิมพอร์ตเอกซพอร์ตกับเมืองจีนจนร่ำรวย  
บรรดาโอรสจึงไม่เห็นความจำเป็นจะต้องเข้ารับราชการกินเงินเดือนให้เหนื่อยยาก   แต่ละองค์ก็ขลุกอยู่ในวัง เล่นต้นไม้(ดัด) เล่นเครื่องกังไส  เพลิดเพลินไปตามเรื่อง  เพราะมีเงินมรดกมากพอแล้ว  
กรมพระรามฯ ทรงซื้อที่ดินที่บางกรวยในคลองบางกอกน้อยไว้ให้เป็นที่อยู่   เรียกชื่อกันว่า "สวนบ้านเจ้า"

พระโอรสของกรมพระรามอิศเรศ ชื่อหม่อมเจ้าถมยา  ได้ชายาเป็นหม่อมเจ้าหญิงพระธิดาในกรมพระศรีสุเทพ    เรียกว่าลูกพี่ลูกน้องแต่งงานกันเอง  สองสายนี้จึงผูกพันกันแน่นหนา  

ยุคสมัยล่วงมาถึงรัชกาลที่ 4   ลูกหลานในราชสกุลนี้ไม่เป็นที่โปรดปรานเท่าไร  นอกจากไม่รับราชการแล้ว   หม่อมเจ้าถมยาตกที่นั่งลำบาก  ถูกกริ้วเพราะมีเรื่องว่าทรงไปคบค้ากับเจ้าเขมรองค์หนึ่งที่มาสวามิภักดิ์ต่อไทย  และพระเจ้าลูกยาเธออีกพระองค์หนึ่งในรัชกาลที่ 4  ทำเรื่องไม่เหมาะสม
 
เรื่องที่ว่าก็คือแอบไปคบหาสูบฝิ่นด้วยกัน    ความล่วงรู้ถึงพระเนตรพระกรรณ   เจ้าเขมรกลัวพระราชอาญาก็หนีกลับเขมร   เหลือเจ้าไทยอีกสององค์ถูกกริ้วอยู่ทางนี้   แต่ไม่มีหลักฐานว่าถูกลงพระอาญาอย่างใดหรือไม่

แต่ก็โชคดีของราชสกุลนี้อยู่หน่อยที่มีเชื้อสายกอบกู้หน้าตาเอาไว้ได้    คือกรมพระรามอิศเรศทรงมีพระธิดาทรงพระนามว่าหม่อมเจ้าหญิงเป้า    ทรงเข้าไปเป็นพนักงานในวังหลวง รับราชการอยู่ช้านาน    เมื่อพระเจ้าอยู่หัวจะทรงตั้งชื่อสะพานข้างวัดชนะสงคราม   ก็พระราชทานเกียรติยศตั้งชื่อว่า "สะพานรามบุตรี"  
แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว กลายเป็นซอยรามบุตรี  อยู่ใกล้ๆบางลำพูระหว่างถนนจักรพงศ์กับถนนเจ้าฟ้า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 08 ต.ค. 04, 11:03

 หม่อมเจ้าถมยาไม่เป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระจอมเกล้าฯ  ก็ทรงรู้ตัว จึงแก้ไขผ่อนหนักให้เป็นเบาด้วยการส่ง  ม.ร.ว. ร้าย บุตรชายเข้าไปเป็นมหาดเล็กในวังหลวง  ได้ไปเป็นข้าหลวงเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ  
แต่ม.ร.ว.ร้าย ก็เกิดไปทำเรื่องอย่างหนึ่งเข้า ทำให้อนาคตไม่รุ่งเรืองเท่าที่ควร  
เรื่องนั้น ถ้าเป็นสมัยนี้ก็ไม่แปลกอะไร  แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5  ถือว่าเป็นความผิด  และถ้าย้อนไปถึงต้นรัตนโกสินทร์ถือว่าผิดอุกฉกรรจ์  เพราะผิดกฎมณเฑียรบาล
นั่นคือชายที่ไม่ใช่เจ้า จะไปสมรสกับเจ้านายฝ่ายหญิง ไม่ได้  ผูกสมัครรักใคร่ก็ไม่ได้

ม.ร.ว.ร้ายไปแต่งงานกับสตรีที่สูงศักดิ์กว่า  คือหม่อมเจ้าหญิงศรีเฉลิม เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระพิทักษ์เทเวศร์  (พระองค์เจ้ากุญชร  พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2)  ถือว่าเป็นความผิด  มีบทลงโทษตามกฎมณเฑียรบาล  
 แต่ลงโทษถึงขั้นไหนไม่ทราบ  ดิฉันทราบแต่ว่าการล่วงละเมิดหรือติดต่อฉันชู้สาวกับนางในนั้นโทษถึงประหาร  แต่หม่อมเจ้าหญิงศรีเฉลิมท่านไม่ใช่นางใน  เป็นเจ้านายฝ่ายหญิงที่อยู่นอกวังหลวง  โทษจะเท่ากันหรือเปล่าไม่แน่  

อย่างไรก็ตาม เมื่อม.ร.ว.ร้ายเป็นข้าหลวงเดิม    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงเมตตาทำเมินกับความผิดข้อนี้  มิได้ลงโทษอย่างใด    แต่จะว่าโปรดปรานหรือสนับสนุนนั้นไม่ใช่แน่นอน  อาจจะไม่ให้อภัยเท่าไรนัก      เพราะเมื่อม.ร.ว.ร้ายกราบบังคมทูลลาออกจากราชการเมื่ออายุแค่ 46  ก็มิได้ทรงทักท้วง  โปรดเกล้าฯให้พ้นไปง่ายๆ ไม่ได้ทรงชุบเลี้ยง   แต่ก็ไม่ขัดข้องที่เจ้านายอื่นจะเอาตัวไปใช้สอย

ตัวม.ร.ว.ร้ายเองเมื่อสมัยเป็นมหาดเล็กเด็กๆ ก็ไม่ค่อยแฮปปี้กับการเป็นมหาดเล็ก  ถึงกับสั่งสอนบุตรชาย (คือคุณหลวงวรภักดิ์ภูบาลผู้เล่าเรื่องนี้) ว่าอย่าไปเป็นมหาดเล็กเชียว    เพราะพ่อเคยน่วมมาแล้ว

หยุดพัก ดื่มน้ำแก้คอแห้งก่อนค่ะ  ใครจะกระแอมกระไออะไรไหมคะ  
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 08 ต.ค. 04, 12:54


ค่อกๆแค่กๆ ค่อยไอเบาๆด้วยความเกรงใจค่ะ  ขอบคุณกับเรื่องก็อสสิปสนุกๆด้วยนะคะ   อืมม ดิฉันนึกว่า เรื่องโปรดไม่โปรดนี่จะเป็นเรื่องใหญ่กันแต่ในหมู่ข้าราชสำนักฝ่ายหญิงเท่านั้น  แต่ฝ่ายชายก็เป็นเรื่องใหญ่ไม่น้อยเหมือนกันนะคะ  แล้วเรื่องที่ทำให้ไม่เป็นที่ทรงโปรดก็นึกไม่ถึงเหมือนกันค่ะ  คือไม่ทราบว่าเคยเป็นเรื่องคอขาดบาดตายขนาดนั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 09 ต.ค. 04, 17:52

เรื่องในอดีตหลายเรื่องก็ฟังแปลกประหลาดในสายตาคนปัจจุบัน  ดิฉันก็นึกอัศจรรย์ใจมาหลายครั้งแล้ว  คล้ายๆคุณพวงร้อยน่ะค่ะ
อีกร้อยกว่าปีข้างหน้า   คนไทยยุคนั้นเขาก็คงเห็นค่านิยมสมัยนี้แปลกประหลาดเหมือนกันนะคะ  ว่าไม่ได้

ขอย้อนกลับมาเล่าถึงชีวิตมหาดเล็กที่ ม.ร.ว. ร้ายไม่อยากให้ลูกชายเจริญรอยตาม   ทั้งที่ในยุคของท่าน ใครเป็นมหาดเล็กก็เป็นเรื่องโก้  ได้อยู่ใกล้ชิดเจ้านายและมีโอกาสจะเลื่อนขึ้นเป็นขุนนางใหญ่โตได้เร็วกว่าขุนนางอื่นๆ
แต่ม.ร.ว.ร้าย เห็นว่าเป็นมหาดเล็ก มีโอกาสเจ็บตัวมากกว่าคนอื่นๆเช่นกัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯผนวช   ม.ร.ว.ร้ายในฐานะมหาดเล็กข้าหลวงเดิมก็บวชเป็นเณร ตามไปปรนนิบัติรับใช้    ต้องรับใช้อยู่ดึกดื่นกว่าเจ้านายจะบรรทมหลับ  
ท่านทนง่วงไม่ไหว  ก็แอบไปนอนอยู่ใต้โต๊ะถมปัด (ทองแดงลงยา) ที่มีผ้าคลุมถึงพื้น  หลับอยู่ตรงนั้นมีแต่เท้าเท่านั้นยื่นออกมา ผ้าคลุมไม่มิด
พระเจ้าน้องยาเธอสองพระองค์ คือกรมพระจักรพรรดิพงษ์และเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุฯ ยังเล็กๆกันอยู่   ซนตามประสาเด็ก
ก็แอบย่องเข้ามา จุดไฟเย็น คือเอาไม้ขีดที่เคยขีดใช้งานแล้ว มาเหน็บเข้ากับเล็บเท้าของสามเณร  จุดไฟที่หัวคาร์บอนเข้าอีกครั้งแล้วปล่อยให้ลามไปตามก้าน  
ปล่อยให้ลามมาจนไหม้เท้า  คุณชายร้ายกำลังหลับก็สะดุ้งตื่นด้วยความเจ็บปวด  ดิ้นโครมครามถีบโต๊ะล้ม  ข้าวของหล่นระเนนระนาด
เจ้านายกำลังบรรทมอยู่ก็สะดุ้งตื่น  รับสั่งถามว่าใครทำอะไรโครมคราม  พอทรงทราบก็เป็นคุณชายร้าย ก็กริ้ว เรียกตัวมาหวดเสียน่วม
คุณชายโดนเฆี่ยนเข้าไปหลายที   กว่าจะกราบทูลได้ว่าเป็นฝีมือเจ้าฟ้าเล็กๆสองพระองค์แกล้ง   แต่สองพระองค์นั้นก็เปิดแน่บหนีไปแล้วจับไม่ทัน
เป็นอันว่าคุณชายเจ็บตัวฟรี สองซ้ำสองซ้อน
ถึงไม่อยากให้ลูกชายเจอแบบเดียวกัน  เพราะมีหลายครั้งที่คุณชายถูกเฆี่ยน ทั้งที่ท่านไม่ได้ทำผิด  แต่มีคนฟ้อง  เจ้าตัวแก้ตัวไม่ทันก็โดนไปก่อน
ม.ล.อาจบุตรชายจึงไม่ได้เป็นมหาดเล็ก  แต่ก็ได้เป็นนายทหาร   มีโอกาสเข้าเฝ้ารับใช้ฉลองพระเดชพระคุณเจ้านายหลายพระองค์
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 10 ต.ค. 04, 00:29

 เรื่องนี้  ดิฉันเข้าใจอย่างซาบซึ้งถึงกึ๋นเลยว่า  คุณชายร้ายท่านจะรู้สึกอย่างไรน่ะค่ะ

ขอวกกลับมาพูดถึงเรื่องความแปลกใจที่ว่านะคะ  หากเป็นการมิบังควรสถานใด  ดิฉันขออภัยไว้ล่วงหน้าด้วย  เพราะไม่ทราบขนบธรรมเนียมเท่าใดนัก

คือแปลกใจมากๆกับตรรกะของ ร.๕ น่ะค่ะ  พระองค์ท่านก็ทรงสถาปนาพระน้องนางเธอร่วมพระบิดา  เป็นพระชายาหลายพระองค์  พูดอย่างภาษาชาวบ้านนะคะ  ดิฉันจำพระราโชวาทไม่ได้แจ่มชัดเลยไม่อยากมั่วค่ะ  จำได้ว่าเคยอ่านมาว่า  ได้ทรงอบรมราชโอรสของพระองค์ท่านว่า   อย่าได้แต่งงานกับน้องสาว  สมัยพระองค์ท่านไม่เป็นไร  แต่สมัยลูกทำไม่ได้แล้ว

ก็เห็นว่า  พระองค์ท่านก็ได้ทรงเล็งเห็นถึงความไม่แน่นอนของขนบธรรมเนียมประเพณี  มีพระเนตรกว้างไกลถึงกับเห็นว่า  การกระทำบางอย่างของพระองค์ท่านเอง  ไม่เป้นที่ยอมรับของสังคมปัจจุบันเสียแล้ว  แต่เมื่อมาทราบว่า  ยังทรงมิโปรดการอาจเอื้อมแต่งงานกับหญิงศักดิ์สูงกว่า ของชายศักดิ์ต่ำกว่า  แม้จะมิใช่ชายสามัญด้วยซ้ำ  เลยแปลกใจมากน่ะค่ะ

แต่ก็อาจจะเป็นได้ว่า  ในสมัยนั้น  เราเพิ่งเปิดโลกทัศน์ให้รวมไปถึงการยอมรับจากชาวโลกด้วย  ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติกันมาช้านาน  ก็ยังยากที่จะให้หลุดพ้นจากความรู้สึกไปได้ง่ายๆมังคะ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 10 ต.ค. 04, 03:49

 สวัสดีครับอาจารย์เทาชมพูและทุกท่าน
ไม่ได้เข้ามานานจนนึกว่าเขาจะลบชื่อทิ้งไปแล้ว
ดีใจที่อาจารย์ยังเขียนเรื่องสนุกๆให้อ่านกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 10 ต.ค. 04, 12:00

 สวัสดีค่ะคุณ paganini หายหน้าไปพักใหญ่เชียวนะคะ  งานยุ่งมากหรือ
ยินดีที่กลับมาร่วมวงคุยกันอีกค่ะ

คุณพวงร้อยคะ   ข้อสังเกตของคุณพวงร้อยทำให้ดิฉันต้องกลับไปทบทวนเกี่ยวกับเรื่องการเสกสมรสของเจ้านายอีกครั้ง
ก็พบอะไรบางอย่างที่น่าสนใจ

ถ้าหากว่าเราลำดับถึงพระมหากษัตริย์และพระมเหสีในแต่ละรัชกาลแล้ว  จะเห็นได้ว่ามีรัชกาลเดียวเท่านั้นที่มีพระมเหสีเป็นพระกนิษฐภคินีต่างพระมารดากัน   คือในรัชกาลที่ ๕
นอกนั้นไม่ใช่
ในรัชกาลที่ ๑  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯกับสมเด็จพระอมรินทร์ฯ ท่านไม่ได้เกี่ยวข้องกันทางสายเลือดเลย  ฝ่ายชายมีตระกูลอยู่ทางกรุงศรีอยุธยา  ฝ่ายหญิงอยู่ราชบุรี
แล้วมาสมรสกันด้วยความเห็นชอบของผู้ใหญ่
ในรัชกาลที่ ๒  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราฯ ไม่ใช่พี่น้อง  แต่เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน  แบบ first cousin  ฝ่ายหญิงเป็นลูกป้า  ฝ่ายชายเป็นลูกน้า(ชาย)
ในรัชกาลที่ ๓  ไม่ทรงมีพระมเหสีในราชวงศ์จักรี  ทรงมีแต่เจ้าจอม  ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกันทางสายเลือด
ในรัชกาลที่ ๔  สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงมีพระมเหสี ซึ่งนับตามลำดับญาติแล้ว เป็นหลานปู่  แต่ไม่ใช่หลานแท้ๆ
ในรัชกาลที่ ๖   พระนางเธอลักษมีฯ   เป็นลูกพี่ลูกน้องของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ  พระนางเจ้าอินทรศักดิศจีเป็นสามัญชน เช่นเดียวกับพระนางเจ้าสุวัทนา   ไม่มีสายเลือดเกี่ยวข้องกัน
ในรัชกาลที่ ๗   พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และพระนางเจ้ารำไพพรรณี อยู่ในฐานะพระญาติ first cousin
ในรัชกาลปัจจุบัน  สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นพระญาติในพระราชวงศ์จักรี   ดิฉันเข้าใจว่าถ้านับแบบฝรั่งเขาจะเรียกว่า second cousin
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 10 ต.ค. 04, 12:19

คิดว่าจากแหล่งเดียวกันนะคะ  เอ จะเป็นพระราชหัตถเลขาถึงพระราชโอรสองค์ใดดิฉันก็จำไม่ได้แล้วค่ะ (ความจำแย่จริงๆเลยค่ะ)  ที่ทรงอบรมเช่นนั้น  แล้วยังทรงกล่าวถึงว่า  สาเหตุที่พระองค์ทรงมีพระน้องนางเธอเป็นพระมเหสี  เพราะทรงขึ้นครองราชย์แต่ยังทรงพระเยาว์ สิ้นพระราชชนกชนนีเสียแล้ว  ในพระราชวังก็เป็นชายหนุ่มคนเดียวที่จะทรงทำอะไรก็ไม่มีใครว่ากล่าวตักเตือน  ถึงได้เป็นไปเช่นนั้นน่ะค่ะ

เรื่องนี้  ดิฉันเคยฟังคุณชายคึกฤทธิ์ตั้งข้อสังเกตไว้ค่ะ  ตอนนั้นยังเด็กมากอยู่  จำไม่ค่อยได้ว่าท่านพูดถึงเรื่องอะไร  แต่เป็นการเล่าพระราชจริยวัตรของในหลวง  ดิฉันก็ปะติดปะต่ออะไรไม่ได้  จำได้แม่นว่า  ท่านเอ่ยถึงเรื่อง ร.๕ กับพระมเหสีที่เป็นพระน้องนางเธอ  จึงทำให้พระราชโอรสหลายพระองค์  สิ้นพระชนม์แต่ยังทรงพระเยาว์  หรือพูดอย่างชาวบ้าน  ก็ว่าอายุไม่ยืนน่ะค่ะ  โดยยกตัวอย่างพระราชโอรสของสมเด็จพระพันปีหลวง  ว่าสิ้นพระชนม์แต่ยังทรงพระเยาว์ หรือยังหนุ่มแน่นทั้งนั้น   แล้วคุณชายท่านก็ยกตัวอย่างราชวงศ์ซาร์นิโคลาสว่า  แต่งงานระหว่างญาติเหมือนกัน  ดิฉันก็ไม่ค่อยแน่ใจในความจำของตัวเองนะคะ  เพราะมันนานมากจริงๆ  และท่านได้ใช้คำศัพท์ว่า  imbreeding ให้ดิฉันได้ยินเป็นครั้งแรก  ก็ไม่รู้เรื่องจนกลับบ้านมาต้องมานั่งเปิดดิคฯดูค่ะ  

เมื่อตอนที่ไปฮาวาย  ก็สนใจประวัติศาสตร์ของฮาวาย  จนไปซื้อหนังสือมาอ่าน  โดยเฉพาะเรื่องราชวงศ์ของเขา  ทางฮาวายก็มีธรรมเนียมในบรรดาเจ้าของเขา  ที่นิยมแต่งงานกันระหว่างพี่ชายน้องสาว  บางครั้งก็เป็นพี่น้องคลานตามกันมาด้วยซ้ำ  เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของสายเลือด  แต่มารุ่นหลัง  ช่วงที่อเมริกัน อังกฤษเริ่มเข้ามามีอิทธิพล  เลยมีความมั่นคงทางราชบัลลังก์  เพราะกษัตริย์คาเมฮาเมฮา  ได้ปืนจากชาวตะวันตก  สร้างความเป็นปึกแผ่นให้ตระกูลของพระองค์ให้ได้ผ่านราชบัลลังก์มาหลายรุ่น  แต่บรรดาเจ้าฮาวายทั้งหลายที่สืบทอดมาจากกษัตริย์คาเมฮาเมฮา  ซึ่งมักจะแต่งงานกันเองระหว่างพี่น้อง หรือญาติในวงศ์เดียวกัน  ก็สิ้นแต่ยังอายุน้อยๆกันทั้งสิ้น  ดิฉันเลยสงสัยมานานแล้วค่ะ  ว่าการแต่งงานระหว่างญาติใกล้ชิด  จะทำให้ลดภูมิต้านทานโรคหรืออย่างไรไม่ทราบนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 10 ต.ค. 04, 12:23

 การแต่งงานในหมู่เครือญาติ   ในสมัยโบราณของไทยเป็นเรื่องธรรมดาค่ะ  ทั้งเจ้านายและสามัญชน  
คนเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน แต่งงานกันเองก็มาก   เพราะสังคมไทยโบราณอยู่กันแบบครอบครัวขยาย ที่เห็นๆหน้าค่าตากันมาก็ญาติกันนี่แหละ   โตเป็นหนุ่มสาวก็เลยแต่งงานกันเองด้วยความเห็นชอบของผู้ใหญ่   นี่ก็ลูกชาย นั่นก็หลานสาวเราเอง   เมตตาเอ็นดูได้ง่าย

ส่วนเจ้านายในสมัยอยุธยาก็เคยมีตัวอย่างให้เห็นว่าพระเจ้าบรมโกศทรงสถาปนาพระขนิษฐาเป็นพระมเหสี
อาจจะเป็นได้ว่าเราเชื่อว่า สายเลือดเดียวกันจะบริสุทธิ์กว่าสายเลือดอื่น   หรือไม่ก็เป็นได้ว่าในกฎมณเฑียรบาล ให้ความสำคัญกับฐานันดรศักดิ์   เจ้านายที่พ่อเป็นเจ้า แม่เป็นเจ้าจะมีฐานันดรสูงกว่าเจ้านายที่พ่อเป็นเจ้าและแม่ไม่ใช่

สังคมไทยก็เช่นเดียวกับสังคมตะวันออกอีกหลายประเทศที่ให้ความสำคัญกับฝ่ายชายมากกว่าหญิง
การสืบตระกูลก็นับจากสายทางฝ่ายชาย  ถ้าจะยกเว้นก็มีน้อยมาก  
ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์   กำเนิดของคนถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการจัดระดับฐานะคนนั้นในสังคม    ไม่ได้วัดด้วยพฤติกรรมหรือการเรียนหรือการทำงาน อย่างในสมัยนี้
ข้อนี้นำไปสู่คำตอบว่าทำไมเจ้านายหญิงถึงสมรสกับสามัญชนไม่ได้  

เพราะในสังคมโบราณ ไทยเราอยู่แบบสังคมขยาย   สามีเป็นหัวหน้าครอบครัว   ลูกเต้าเขาก็นับกันทางพ่อว่าเป็นลูกของพ่อชื่ออะไร     การเคารพนับถือยกย่องหรือดูถูกดูแคลนก็นับจากตัวพ่อเป็นหลัก  ไม่ใช่จากแม่
นอกจากนี้ เป็นสังคมที่ "เจ้า" ได้รับการให้เกียรติมากกว่าสามัญชน  เรียกว่าเจ้าองค์ไหนอุแว้ออกมา  เกียรตินี้ก็จะได้รับโดยอัตโนมัติทันที
ทีนี้ถ้าหากว่า "เจ้า" องค์นั้นเป็นหญิงซึ่งถือกันว่าเป็นช้างเท้าหลัง เกิดได้มาเป็นภรรยาของสามัญชน   ความประดักประเดิดในสังคมก็จะเกิดขึ้น  อย่างน้อยก็สังคมที่สามัญชนนั้นเป็นสมาชิกอยู่
พ่อผัวแม่ผัวที่เป็นสามัญชน  จะกราบไหว้ลูกสะใภ้ได้อย่างไร
สามีจะอยู่เหนือภรรยาได้หรือ
แขกเหรื่อญาติมิตรไปมาหาสู่จะจัดเจ้านายหญิงคนนั้นไว้ในระดับไหน  จะระดับสูงกว่าสามีก็ไม่เหมาะ  จะระดับต่ำกว่าก็ไม่ได้  จะระดับเดียวกันมันก็ไม่ถูกต้องในสังคมสมบูรณาฯอีกนั่นแหละ
มันขลุกขลักอย่างนี้ละค่ะ   เมื่อพระพุทธยอดฟ้าฯทรงสถาปนาเจ้าพี่เจ้าน้องฝ่ายหญิงของพระองค์ท่านขึ้นเป็นเจ้านาย   ก็ยังต้องสถาปนาน้องเขยขึ้นเป็นกรมหมื่น ให้เป็นเจ้าด้วยกันเลย
เพื่อจะได้มีระดับในสังคมได้เหมาะสม ลดปัญหาอย่างที่บอกมาข้างบนนี้  (แต่ก็ยังไม่วายไม่ลงตัวกันบ้าง   ว่างๆจะเล่าให้ฟัง)

ขออธิบายเพิ่มหน่อยนะคะสำหรับคนที่ยังไม่ทราบว่าม.ร.ว. และม.ล.  เป็นเจ้าหรือไม่
ม.ร.ว. และม.ล.  ไม่ใช่เจ้า  เป็นเชื้อพระวงศ์ ที่เติบโตในสังคมค่อนไปทางสามัญชน   รับราชการก็จะได้บรรดาศักดิ์แบบสามัญชน  เช่นเป็นหลวง พระ พระยา เจ้าพระยา
มีเว้นนิดหน่อย ที่แตกต่างจากสามัญชน  คือได้เป็น "หม่อม" ที่สามัญชนไม่ได้กัน  อย่างหม่อมราโชทัยหรือหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ อดีตราชเลขาธิการสำนักพระราชวัง
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 10 ต.ค. 04, 12:26

 ลืมไปอีกอย่างนึงที่คุณเทาชมพูยกมาก็น่าคิดมากเลยค่ะ  ว่าเราไม่มีธรรมเนียมแต่งงานระหว่างพี่ชายน้องสาวในราชวงศ์มาก่อน  และกับคนอื่นๆทั่วไป  ก็เดาว่าคงไม่มีเหมือนกันมังคะ  มีพระองค์ท่านทรงกระทำอยู่พระองค์เดียว  ก็เป็นเกร็ดที่น่าสนใจมากๆเลยนะคะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 10 ต.ค. 04, 12:30

 ออนไลน์ตรงกันพอดีเลยค่ะ

ม.ร.ว. กับ ม.ล. ไม่ใช้เจ้า  ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหามาก  สำหรับเราๆสมัยนี้นะคะ  เพราะถ้าสามีเป็นสามัญ  ต้องใช้ราชาศัพท์กับภรรยาเจ้า  แถมพ่อแม่สามีก็ต้องใช้ราชาศัพท์อีก  ก็คงประดักประเดิกอย่างคุณเทาชมพูว่าน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 10 ต.ค. 04, 12:43

 ออนไลน์ตรงกันพอดีเลยครับ หุๆๆๆ
หวัดดีครับอาจารย์เทา และพี่พวงร้อย
ที่พี่พวงร้อยถามว่าการแต่งงานกับญาติพี่น้องมีผลอย่างไร
จริงๆครับได้ยินมาว่า การแต่งงานในสายเลือดเดียวกันมีโอกาสให้ลูกที่ออกมามียีนที่ด้อยของพ่อและแม่ เลยเชื่อกันว่าลูกจะอ่อนแอและขี้โรค ลองสังเกตดูสิครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 10 ต.ค. 04, 12:54

 เรื่องสายเลือดเดียวกันทำให้ลูกที่ออกมาไม่แข็งแรง จริงหรือไม่  เห็นจะต้องถามแพทย์ หรือนักวิทยาศาสตร์แถวเรือนไทย
แต่ก็เคยได้ยินว่าจริง  อย่างน้อยโรคบางอย่างที่ถ่ายทอดกันได้ทางสายเลือดก็จะส่งผลให้เสี่ยงมากขึ้น อย่างเบาหวาน
หรือยุโรปก็เคยมีโรคฮีโมฟีเลียหรือเลือดไม่แข็งตัว ที่ระบาดกันอยู่ในหมู่เจ้านายที่แต่งกันไปแต่งกันมา
ความเชื่อสมัยโบราณนั้นตรงกันข้ามกับยุคนี้    การสมรสระหว่างพี่น้องเพื่อ"รักษาสายเลือดบริสุทธิ์" จึงย้อนกลับไปได้ถึงสมัยอียิปต์  คุณพวงร้อยคงจำได้

เมื่อถึงรัชกาลที่ ๕   พระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าเรื่องนี้ไม่สมควรอีกแล้ว     จึงมิได้สนับสนุนเรื่องปฏิพัทธ์ที่เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศทรงมีต่อเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์
แต่ก็คงจะทรงเห็นว่าสภาพสังคมในสมัยนั้นยังไม่ลงตัวกับการที่สตรีสูงศักดิ์จะไปสมรสกับสามัญชน หรือแม้แต่เชื้อพระวงศ์
หรือแม้แต่เจ้านายที่ฐานันดรศักดิ์น้อยกว่า
ข้อนี้อาจจะเป็นคำตอบว่า พระราชธิดาทุกพระองค์ในรัชกาลที่ ๕ จึงไม่มีพระองค์ไหนอภิเษกสมรสเลยสักพระองค์เดียว

ต่อมา  เจ้านายสตรีสมรสกับสามัญชนได้ แต่ต้องกราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์ค่ะ  แต่จะโปรดเกล้าฯพระราชทานคืนหรือว่ายกเว้นให้ ก็แล้วแต่พระบรมราชวินิจฉัย
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 10 ต.ค. 04, 13:03

 อาจารย์ครับ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ นี่ทราบว่าทรงพระสิริโฉมมากๆทีเดียว ไม่ทราบว่าทรงมีพระราชมารดาองค์เดียวกับมกุฏราชกุมารพระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์รึเปล่าครับ
คิดว่าน่าจะเป็นพี่สาวของพระองค์ด้วยนะ ใช่รึเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 10 ต.ค. 04, 13:27

ใช่ค่ะ  คลีโอพัตราก็สมรสกับน้องชายตัวเองเหมือนกัน ขอบคุณคุณ paganini นะคะ

เป็นผู้หญิงสมัยโน้นนี่แย่นะคะ  เป็นคนชั้นต่ำก็มีชีวิตเหมือนสัตว์ใช้งาน  เป็นคนชั้นสูงก็เหมือนนกในกรงทอง  จะมีคู่ก็ยังไม่ได้เลย  เคยสังเกตมาบ้างเหมือนกันว่า  พระราชธิดาใน ร๕ นั้นเป็นโสดกันเป็นส่วนใหญ่  เพิ่งมาทราบจากคุณเทาชมพูนี่เองว่า  ไม่มีพระองค์ได้ได้เสกสมรสเลย  เป็นเรื่องน่าเศร้าจริงๆนะคะ

ต้องขอลาไปนอนแล้วล่ะค่ะ  คุณเทาชมพูและคุณ paganini มีความสุขกับวันอาทิตย์นะคะ  หวังว่าฝนคงซาบ้างแล้ว  แบ่งๆมาตกที่นี่บ้างก็จะดีไม่น้อยเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง