เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5477 คุกตะรุเตา
สดุดี
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 23 ต.ค. 00, 12:00

มีใครทราบประวัติคุก ที่เกาะตะรุเตาบ้างครับ อยากรู้ว่ามันโหดแค่ไหน ต้องก่อคดีอุฉกรรจ์แค่ไหนถึงจะถูกส่งไปที่นั่น แล้วเกาะตะรุเตาเป็นคุกอยู่นานเท่าไหร่ มีใครสามารถหนีออกมาได้บ้างมั้ย มีนักโทษดังๆ โหดๆ เคยถูกจองจำที่นี่บ้างไหม เอาเป็นว่าอยากทราบรายละเอียดทุกอย่างเลยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 21 ต.ค. 00, 00:00

เข้าไปอ่านที่นี่ค่ะ

http://www.trekkingthai.com/Parks/south/tarutao/trtguide.htm' target='_blank'>http://www.trekkingthai.com/Parks/south/tarutao/trtguide.htm
บันทึกการเข้า
ลุงแก่
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 ต.ค. 00, 00:00

คุณ สอ เศถบุต อีกท่านหนึ่งที่เคยอยู่บนเกาะนี้
ท่านจึงได้มีโอกาสได้สร้างสรรพจนานุกรมขึ้นมา
อยู่คู่วงการศึกษาไทยจนทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
นักเดินทาง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ต.ค. 00, 00:00

ผมไปที่นั่นมาเมื่อปลายปีที่แล้ว มีคนบอกเหมือนกันว่า เป็นคุกเก่า แต่ผมดูแล้ว
พวกติดคุกพวกนี้ น่าจะมีความสุขกว่าพวกอยู่ในกล่องสี่เหลี่ยม แถวๆ บางกอกเป็นไหน ๆ
อากาศก็ดี สวยก็สวย อาหารการกินก็เยี่ยม จะเสียอย่างเดียวก็น่าจะเป็นเรื่องเหงา
แต่ถ้าให้เลือกผมคงจะอยู่ที่นี่มากกว่าจะอยู่ที่ห้องผมที่สีลมเป็นแน่ครับ
บันทึกการเข้า
สดุดี
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 ต.ค. 00, 00:00

แวะไปดูเว็บไซต์ที่คุณเทาชมพูแนะนำแล้วครับ ขอบคุณมากครับ ดูจากภาพแล้วท่าทางเกาะจะสวยมากจริงๆ

ขอฝากถาม คุณนักเดินทางนิดนะครับว่า ถ้าคุณต้องไปอยู่ที่นั่นอย่างคนไร้อิสระภาพ เป็นผู้ต้องขัง คุณยังอยากไปอยู่อีกละเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 22 ต.ค. 00, 00:00

ก็คุณนักเดินทางไปตอนนี้นี่ครับ อะไรต่ออะไรก็พร้อมหมดแล้ว สมัยโน้น "อาหารก็เยี่ยม" ของคุณน่ะ นักโทษมีกินเสียที่ไหน สมัยสงครามนะครับ แต่คนธรรมดานอกคุกยังอดเลย แล้วดูเหมือนจะมีกรณีผู้คุมยักยอกอาหารนักโทษ มีกรณีการลงโทษโดยผู้คุมอีก
ที่จะหลับจะนอนก็ไม่ใช่จะบริบูรณ์ เข้าใจว่าโรงเรือนอาคารต่างๆ ของคุกสมัยนั้น จะสร้างขึ้นมาด้วยแรงงานนักโทษนี้แหละ
ผมเคยอ่านว่า นักโทษการเมืองที่เป็นชั้นเจ้านายพระองค์หนึ่ง จะหม่อมเจ้าอะไร ก็ลืมแล้ว ทรงพระอุตสาหะร่วมกับนักโทษการเมืองอื่นๆ ที่เป็นนักเรียนนอก ความรู้ดี ประดิษฐ์อะไรกันเองหลายอย่าง เช่น เอากระป๋องโลหะมาดัดแปลงทำเป็นเตาอบทำขนมปังคนยากกินได้ ทำวิทยุแร่เอง พอฟังข่าวสารได้บ้าง ฯลฯ คุณนักเดินทางจะเอายังงั้นมั่งไหมล่ะ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 23 ต.ค. 00, 00:00

อ่านประวัติชีวิตของสอ เสถบุตร ที่พูดถึงตอนเป็นนักโทษการเมืองบนเกาะตะรุเตา
เห็นว่าที่นั่น  มีทั้งโรคภัยไข้เจ็บ ความอดอยาก  ทุกข์ทรมานทั้งกายใจ  ไม่น่าพักผ่อนเหมือนสมัยนี้
นักโทษการเมืองในสมัยนั้นน่าสงสารมาก  ดีแล้วที่ปิดฉากลงเสียได้
บันทึกการเข้า
ทิด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 ต.ค. 00, 00:00

เมื่อสิ้นปีที่แล้วได้มีโอกาสไปเยี่ยม อช.เกาะตะรุเตามาเหมือนกันครับ
ปัจจุบันที่นั่นเป็นสวรรค์ของนักดำน้ำทั้งแบบดำผิวน้ำ และดำน้ำลึก
ได้แวะเข้าไปดูนิทรรศการ อ่านประวัติของเกาะจากที่ทำการอุทยาน
เท่าที่อ่านดูก็คือ เมื่อก่อนนี้ที่นั่นลำบากมากครับไม่สบายเหมือนเดี๋ยวนี้แน่นอน
แหล่งน้ำจืดหลกก็ไม่ได้อยู่บนเกาะตะรุเตา แต่อยู่ที่เกาะหลีเป๊ะ
นอกจากสัตว์ป่า สัตว์น้ำดุร้ายหลายชนิดแล้ว ที่สาหัสที่สุดที่ไข้ป่าครับ
ยารักษาโรค ก็ไม่รู้จะไปหากันได้จากที่ไหนให้เพียงพอ
การเดินทางจากเกาะเข้ามาแผ่นดินใหญ่ก็ไกลเหลือเกิน
วันที่ผมเดินทางกลับมาเจอหางพายุลูกย่อมๆ เข้าไป ก็แย่แล้ว
คลื่นกลางทะเลแต่ละลูกสูงสอง - สามเมตร ดีที่ว่าเป็นเรือใหญ่
ถ้านึกกลับไปถึงเมื่อก่อนที่การเดินทางยังไม่สะดวกเท่าปัจจุบันนี้
เกาะตะรุเตาก็แทบจะขาดการติดต่อจากแผ่นดินใหญ่โดยสิ้นเชิง
เรื่องที่น่าสนใจของตะรุเตาอีกเรื่องเห็นจะเป็นชุมโจรสลัดที่ขึ้นชื่อมาก
เพื่อนคนไหนมีข้อมูลในมือเอามาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 ต.ค. 00, 00:00

คุณทิดหมายถึงเรื่องโจรสลัดนี้หรือเปล่าคะ มันอยู่ในเว็บที่แนะนำไว้ในข้อ ๑
********************************
โจรสลัดแห่งตะรุเตา
สงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ พร้อม ๆ กับภาวะขาดแคลนในทุกด้าน นิคมฝึกอาชีพตะรุเตาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นอยู่แล้วยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ นักโทษและเจ้าหน้าที่ไม่ต่ำกว่า ๓,๐๐๐ คน ถูกรุมเร้าด้วยความอดอยากหิวโหยและโรคภัย โดยเฉพาะไข้ป่าที่คร่าชีวิตนักโทษไปเป็นจำนวนมาก จนทำให้ผู้คุมและนักโทษบางส่วนหันมาเป็นโจรสลัด ตั้งเป็นก๊กโจรสลัดตะรุเตา ปล้นสะดมเรือสินค้าที่แล่นผ่านไปมาระหว่างปีนัง กันตัง ภูเก็ต พม่า ลังกาวี และสตูล ซึ่งต่อมาก็มีโจรสลัดอ้างตนว่าเป็นก๊กตะรุเตาหลายก๊กมาร่วมปล้นด้วย แรก ๆ ก็ปล้นเอาแต่สินค้า แต่ต่อมากลับยึดเรือ ทั้งยัง ทั้งยังฆ่าผู้คนอย่างทารุณ จนเป็นที่หวาดหวั่นของนักเดินเรือ
ในสมัยนั้นน่านน้ำตะรุเตากลายเป็นที่ชุมนุมของโจรสลัด เมื่อเรือโจรสลัดเข้าใกล้เรือใหญ่จะบังคับให้ลดใบและและทอดสมอ ใช้คำพูดเป็นภาษาจีนฮกเกี้ยนว่า " โละผ่าง" แปลว่า ลดใบลง และอีกคำคือ "โละดิ่ง" หมายถึง ทิ้งสมอ เป็นที่รู้จักทั้งเมืองสตูลว่าเป็นสมัยโละผ่างและโละดิ่ง
เมื่อไม่มีเรือสินค้ากล้าล่องผ่านในย่านนี้ ในที่สุดอังกฤษซึ่งปกครองมลายูต้องทำหนังสือถึงทรางการไทยขออนุญาตส่งกองกำลังเข้ามาปราบโจรสลัดตะรุเตา เมื่อทางการไทยยินยอม วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ เรือรบอังกฤษพร้อมทหาร ๓๐๐ นายก็ยกพลขึ้นบกที่เกาะตะรุเตา จับกุมขุนอภิพัฒน์สุรทัณฑ์ หัวหน้าโจรสลัด และแก๊งโจรสลัด
เล่ากันว่าระหว่างทีอยู่ในเรือ นายทหารอังกฤษได้ทรมานแก๊งโจรสลัดด้วยการให้นั่งตากแดดอยู่บนดาดฟ้าเรือ โดยขีดวงกลมให้นั่ง ไม่ให้ลุกไปไหนโดยเด็ดขาด เมื่อเดินทางถึงเกาะนกก็บังคับให้โจรสลัดเดินเท้าเปล่าไปยังเรือนจำจังหวัดสตูล มอบให้นายแสวง ทิมทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลในสมัยนั้นดำเนินการต่อไป
หลังจากปิดฉากความโหดร้ายของโจรสลัดแห่งน่านน้ำตะรุเตา ทางราชการก็ได้ประกาศยกเลิกนิคมฝึกอาชีพตะรุเตาในปี พ.ศ. ๒๔๙๑
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.033 วินาที กับ 19 คำสั่ง