เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 9
  พิมพ์  
อ่าน: 87874 จารึกหลักที่ 1 และความคิดเห็นที่แตกต่างในของนักวิชาการ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 16 ส.ค. 04, 11:03

 .
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 16 ส.ค. 04, 11:09

 .
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 16 ส.ค. 04, 11:11


.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 16 ส.ค. 04, 11:16


.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 16 ส.ค. 04, 11:20


.
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 16 ส.ค. 04, 17:32

 ขอโทษด้วยครับ ยังตามอ่านอยู่ครับ แต่ช่วงนี้ค่อนข้างยุ่ง อาจจะเงียบไปบ้าง แต่ก็ยังอยู่นะครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 17 ส.ค. 04, 15:01

 ขอแทรกด้วยการถอดเทปรายการถึงลูกถึงคน จากศิลปวัฒนธรรมค่ะ
 http://www.komchadluek.net/news/2004/08-17/p1--51217.html
วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 25 ฉบับที่ 10

สโมสรศิลปวัฒนธรรม

ปัญหา "จารึกหลักที่ ๑" แบบ "ถึงลูกถึงคน"

จากรายการถึงลูกถึงคน วันพุธที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๗ "ปัญหาหลักศิลาจารึก หลักที่ ๑"

ผู้ร่วมรายการ :

ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิตสาขาประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่านศิลาจารึก ในฐานะคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยความทรงจำของโลก

อาจารย์ธวัช ปุณโณทก อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการอิสระ

สมศักดิ์ คำทองคง ประธานคณะทำงานเครือข่ายชุมชนลูกพ่อขุนรามคำแหง (สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์)

สรยุทธ : อาจารย์ศรีศักรไม่ได้เป็นผู้ออกมาเสนอว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ แต่มีความรู้สึกว่าน่าจะตั้งข้อสงสัยได้ยังไง

อาจารย์ศรีศักร : เรื่องศิลาจารึก เรื่องหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มันตั้งข้อสงสัยได้ทั้งนั้น เพราะอดีตไม่มีทางรู้ได้แน่ชัดหรอก มันต้องค้นคว้ากันเรื่อย เมื่อไรก็ตามหาข้อยุติ มันก็เป็นปัญหา ความเห็นของผมอาจจะต้องถกเถียงกันต่อไป

สรยุทธ : ในความเห็นอาจารย์ ศิลาจารึกหลักที่ ๑ คิดว่าไม่ได้สร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหงหรือเปล่า

อาจารย์ศรีศักร : ผมไม่เชื่อว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหง แต่ผมเชื่อว่าสร้างในสมัยสุโขทัย

สรยุทธ : พอจะบอกวิเคราะห์ของอีกฝ่ายได้มั้ยครับ ทำไมเขาถึงตั้งข้อสงสัยอย่างนั้น ฝ่ายที่เขาบอกว่าสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์

อาจารย์ศรีศักร : ผมคิดว่าเขามองในแง่มุมมองของเขา ในความถนัดทางวิชาการของเขา ผมคิดว่าการมองหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มันไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมอง นักวิชาการหลายฝ่ายมองตามความถนัดของเขา เขาก็มีสิทธิ์ตั้งข้อสงสัยได้ แต่ปัญหาสิ่งที่เขาเสนอขึ้นมา ให้ความรู้และข้อคิดยังไงกับเรา ในมุมมองของผม ไม่ได้มองว่าการขัดแย้งกัน เราไม่ได้หาข้อยุติ เราหาความรู้

สรยุทธ : ผมจะให้อาจารย์ประเสริฐเล่าพื้นเดิม ก็คือประวัติศาสตร์ที่กำหนดเอาไว้ในปัจจุบัน ศิลาจารึกหลักที่ ๑ สร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เพราะเราพิสูจน์อะไรบ้างครับ

ศ.ดร.ประเสริฐ : ที่เราพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ก็น่าจะยุติลงไปได้ว่าหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ สร้างในสมัยสุโขทัย เพราะถ้าเรานำเอาผิวของศิลาที่ตากแดดตากฝนมาเป็นเวลานานไปตรวจดู ซึ่งก็มีวัตถุบางอย่างละลายออกไป และกร่อนไป ถ้ายิ่งอยู่นานมันก็ยิ่งกร่อนมากขึ้น แต่ถ้าเพิ่งเมื่อ ๒๐๐ ปี มันก็กร่อนน้อย โดยเฉพาะที่บอกว่ารัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชนิพนธ์เสร็จแล้ว มันก็มาเก็บอยู่ในที่ร่ม ไม่ได้ตากแดดตากฝนอะไร เพราะฉะนั้นวัตถุที่จะละลายไป มันก็ไม่มี แต่อันนี้เขาได้พิสูจน์แล้วรอยโพรง รอยขูด มันต้องทำมาเมื่อสมัยสุโขทัยแล้ว แต่ทางวิทยาศาสตร์จะบอกลงไปแน่นอนลงไปเลยไม่ได้

สรยุทธ : คือหมายความว่าถ้าอยู่ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณ ๒๐๐ ปี

ศ.ดร.ประเสริฐ : มันก็จะไม่สึกหรอไปอย่างนี้ และทางโน้นบอกว่าเป็นข้าราชการกรมศิลปากรเอง ก็คงจะต้องบอกว่ามันเก่า เพราะเป็นข้าราชการกรมศิลปากรเอง แต่เท็จจริงนั้นคนที่ทำมีทั้งกรมศิลปากร มีเจ้าหน้าที่จากกรมทรัพยากรธรณี และเจ้าหน้าที่จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมกันถึง ๓ ฝ่ายที่ทำ แต่เขาก็ไม่เชื่ออยู่ดีครับ เมื่อพิสูจน์อย่างนี้ก็เห็นได้ว่ามันเป็นสมัยสุโขทัย

สรยุทธ : อาจารย์มีความเชื่อตรงไหนว่าหลักศิลานี้อยู่ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง

ศ.ดร.ประเสริฐ : ปกติจารึก จะถือว่าถูกต้องหรือไม่ ก็เปรียบเทียบกับจารึกหลักอื่นๆ ว่ามันขัดแย้งหรือไม่ขัดแย้ง ถ้ามันถูกต้อง ไม่มีส่วนใดน่าสงสัย เราก็เชื่อว่าเป็นจารึกในยุคนั้นจริงๆ แต่หากว่ามันไปขัดในเรื่องอะไรต่างๆ ก็ทำให้น่าสงสัยว่าจารึกจะจารึกทีหลังหรือเปล่า มันก็ต้องไปขัดกับจารึกอื่น แต่เท่าที่ปรากฏมา เขาใช้วิธีว่าถ้าข้อความตรงไหนไปเหมือนกับหลัก ๒ หลัก ๓ หลัก ๔ หลัก ๕ ก็บอกว่าไปลอกมาจากจารึกหลักนั้น

สรยุทธ : เดี๋ยวท่านผู้ชมจะไม่เข้าใจ หลักที่ ๑ คือเป็นหลักแรกทางประวัติศาสตร์ชาติไทย หลักที่ ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘ ก็คือไล่ลำดับลงมาในแต่ละยุคสมัย แต่อาจารย์ศรีศักรมองจุดแตกต่างอย่างไรบ้างครับ

อาจารย์ศรีศักร : คือผมไม่สนใจเรื่องภาษา ถ้าถามว่าจารึกหลักนี้สร้างขึ้นสมัยไหน ผมไม่เชื่อว่าสมัยรัชกาลที่ ๔ และไม่เชื่อว่าสมัยพ่อขุนรามคำแหง ผมเชื่อว่าในสมัยสุโขทัย

สรยุทธ : อาจารย์ใช้หลักอะไร

อาจารย์ศรีศักร : ผมไม่ใช้หลักภาษา เพราะผมไม่มีความรู้เรื่องภาษา แต่ผมไม่เชื่อในเรื่องเนื้อหาที่อยู่ในหลักศิลาว่าเป็นสมัยพ่อขุนรามคำแหง อีกประการหนึ่งจารึกหลักที่บอกว่าเป็นสมัยสุโขทัย เพราะมีหลักฐานทางสภาพภูมิศาสตร์และหลักฐานทางวรรณคดีที่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งในสมัยนั้นรัชกาลที่ ๔ ท่านคงไม่เห็น เพราะบ้านเมืองเป็นป่าทั้งหมด ผมจะยึดหลักที่คิดว่าโซลิด ผมถึงทำ จารึกหลักนี้ค่อนข้างจะเป็นการเมือง เพราะเวลาเราเอาจารึกหลักนี้มาใช้ เราดึงออกจากบริบททั้งการเมืองและสังคมสุโขทัยโดยตรง

สรยุทธ : คือโดยเนื้อหาของจารึกหลักที่ ๑ มันมีความหมายทางการเมือง ชนิดที่มันแยบคายอย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นหลักที่ ๑ เพราะหลักที่ ๑ คือจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ชาติ อาจารย์จะบอกว่าเนื้อหาเขียนจงใจเกินไป

อาจารย์ศรีศักร : ใช่มันจงใจ มีปฏิกิริยาทางการเมืองบางอย่าง และอันนี้ไปขัดแย้งกับจารึกหลักที่ ๒ ถ้าถามว่าความเก่าแก่ของสุโขทัย เราไปมองที่จารึกหลัก ๑ ได้มั้ย เพราะจารึกหลัก ๒ พูดถึงสุโขทัยที่เก่าแก่กว่านั้น และมีปฏิกิริยาโต้ตอบกันมาก ผมถึงบอกว่าเป็นเรื่องการเมืองภายในสุโขทัย แต่เราดึงมาเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ชาติ จึงเกิดปัญหาวุ่นวายมาถึงขณะนี้

สรยุทธ : ลองยกตัวอย่างให้เห็น

อาจารย์ศรีศักร : เราเริ่มประวัติศาสตร์สุโขทัยในฐานะที่เป็นราชธานีแห่งแรก เพราะเราประกาศอิสรภาพจากขอม ถามว่าใครเป็นคนเขียน ที่บอกว่าไทยเป็นขี้ข้าขอม เซเดส์ใช่มั้ยครับ ฝรั่งเศส แต่นักปราชญ์ของไทยตามพวกนี้ มี ๒ ประเด็นที่ต้องตีความ ประเด็นแรก เซเดส์มองว่านักประวัติศาสตร์ไทยรุ่นเก่าตามว่า เหตุการณ์ขัดแย้งเกิดขึ้นสุโขทัยจากศิลาจารึกหลักที่ ๒ ที่บอกว่าสุโขทัยมีกษัตริย์องค์หนึ่งปกครองอยู่ชื่อขุนศรีนาวนำถม ไม่ได้บอกว่าเป็นขี้ข้าขอม แต่ว่าขุนศรีนาวนำถมมีลูกองค์หนึ่งชื่อขุนผาเมือง และเมื่อจารึกขาดกระท่อนกระแท่น ก็เกิดการวุ่นวายขึ้น...แล้วเมืองสุโขทัยถูกบุคคลคนหนึ่งเข้ายึดครอง คือขอมสบาดโขลญลำพง นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสเอาไปบอกว่าเป็นขุนนางขอม หรือคนที่ขอม กษัตริย์เมืองพระนครส่งมาควบคุม เพราะเราเป็นเมืองขึ้น และจารึกมันก็เดินเรื่องต่อไปว่าพ่อขุนผาเมืองผนึกกำลังกันกับขุนบางกลางหาว มาตีสุโขทัย เมื่อตีได้แล้ว ขุนผาเมืองไม่เอาสมบัติ ที่จริงขุนผาเมืองตีได้ ความสัมพันธ์ของขุนผาเมืองกับกษัตริย์ขอม ไม่ใช่ลักษณะของเมืองขึ้น ระหว่างที่เซเดส์ตีความว่าสุโขทัยถูกขอมปกครอง แต่ว่าความเป็นขุนผาเมือง ศักดิ์ศรีเป็นลูกเขยกษัตริย์ขอม มันคนละเรื่อง

สรยุทธ : นี่เป็นความเห็นแตกต่างว่าหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ กับหลักที่ ๒ เนื้อหามันไม่ใช่แล้ว เป็นยังไงครับ

อาจารย์ธวัช : เราน่าจะมองเนื้อหานะครับ มองคำศัพท์ มองตัวอักษรว่าร่วมสมัยกันมั้ย ถ้าดูเนื้อหาผมว่ามันร่วมสมัยกัน แต่มันก็ขัดแย้งกันบ้าง หรือต่างคนต่างเขียน เพราะหลักที่ ๒ เป็นของพ่อมหาศรีศรัทธาฯ มันหลานขุนผาเมืองนะครับ ฝ่ายนั้นก็ไม่ได้อยู่ที่นั้นแล้ว ท่านจะเขียนยังไง เพราะท่านไม่ได้อยู่ในไทย ท่านไปบวชอยู่อินเดีย อยู่ลังกานานมาก แล้วท่านกลับมาตอนแก่ แล้วท่านมาจารึกของท่านอยู่คนเดียว และจารึกนั้นเพิ่งมาเจอเมื่อปี ๒๓๗๖ รัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นอักษรขอม มี ๒ หลักเท่านั้นแหละ แล้วท่านจะเอาหลักไหนมาทำหลักที่ ๑ ท่านเอาศัพท์เขมรมาใช้ และศัพท์ทุกอย่างมันร่วมสมัยกับสุโขทัย คำว่าเฒ่าเลิกใช้กันแล้ว ใครก็รู้พระเจ้าตากสินพูดเป็นขวบเป็นปี แต่ในกฎหมายตราสามดวงยังใช้อยู่ อย่างลักษณะพยาน เด็กเจ็ดเข้า เถ้าเจ็ดสิบ เป็นพยานไม่ได้ ก็แสดงว่ามันใช้เรื่อยมา แต่มาเลิกใช้ตอนสมัยปลายอยุธยา เพราะลักษณะชาติมีทั้งขวบทั้งเถ้า บางแห่งใช้ ๗ ขวบ บางแห่งใช้ ๕ เถ้า สับสนแล้ว นี่ผมจะให้เห็นว่านี่มันร่วมสมัยกันอยู่

สรยุทธ : ฉะนั้นคือรัตนโกสินทร์แน่นอน

อาจารย์ธวัช : ผมอยากพูดให้ไอ้พวกนักวิชาการรู้กันเสียที ให้ชาวบ้านรู้เสียทีว่ามันพูดกันอยู่ได้ทำไมว่า ถ้าเกิดหลักที่ ๑ เพิ่งมาเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ จะไปรู้ได้ยังไง คำต่างๆ ที่เพิ่งมาพบภายหลัง รัชกาลที่ ๔ ไปเห็นได้ยังไง หรือคนร่วมสมัยนั้นไปรู้ได้ยังไง

สรยุทธ : หลักศิลาจารึก หลักที่ ๑ เป็นจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ชาติไทย สุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรก พ่อขุนรามคำแหงคิดภาษาไทย นี่ผมเรียนมาอย่างนั้นเลยนะ แล้วเกิดหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ แล้วก็มีใครใคร่ค้า ค้า ใครใคร่ขาย ขาย และก็มีสั่นกระดิ่ง พ่อปกครองลูก ทั้งหมดนี้มาจากหลักศิลาจารึก หลักที่ ๑ ที่ผมเรียนมา คราวนี้เกิดข้อสงสัยว่ามันแยบยล ในยุคนั้นมันจะมีอย่างนั้นจริงๆ เหรอ

อาจารย์ธวัช : มันต้องมีงานเฉลิมฉลองอะไรซักอย่างนึง และจารึกก็ตั้งอยู่ในที่ชุมชน คุณสามารถมองได้ทุกด้าน ประกาศต่อธารกำนัล เพราะฉะนั้นกรุงสุโขทัยรับรู้กันแล้วว่าสมัยนั้นเขารับรู้ว่าเข้าใจกันอย่างนั้น เราตีความกันผิด เขาแค่บอกว่าในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เขาเพียงบอกว่าบ้านเขามีความสุข

สรยุทธ : คือนักวิชาการกลุ่มนั้นบอกว่าภูมิศาสตร์

อาจารย์ธวัช : นักประวัติศาสตร์กำลังหลงทางกัน

สรยุทธ : เขาบอกว่าสุโขทัยไม่ใช่เลยในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

อาจารย์ธวัช : เขาแค่บอกไม่อดอยากก็พอแล้ว ไม่ต้องส่งข้าวไปขายปีละ ๒๐๐-๓๐๐ ตัน เขาแค่มีกิน ผมอยากให้คิดแบบคนโบราณคิด เมืองเขากว้างมาก เขาเดินทางกี่วันล่ะครับ จะไปจากศรีสัชนาลัยไปสุโขทัย เราใช้เวลาแผล็บเดียว แต่เขาใช้เวลาเป็นวันๆ ฉะนั้นต้องเข้าใจเขา

สรยุทธ : อาจารย์ศรีศักรลองเห็นแย้งหน่อยครับ

อาจารย์ศรีศักร : ผมคิดว่าสังคมไทยต้องใจกว้าง เราพูดถึงประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ที่ขัดแย้งมา เรามองประวัติศาสตร์ผิด เรามองประวัติศาสตร์ลักษณะที่เชื่อว่าเป็นจริง ซึ่งมันผิดวัตถุประสงค์ประวัติศาสตร์ ในสังคมไทยเหมือนสังคมอื่นๆ ในโลก มองประวัติศาสตร์เนื้อหาที่เป็นตำนาน คือเชื่อว่าเป็นจริง แต่ความเป็นนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ไม่ใช่อย่างนั้นครับ ประวัติศาสตร์คือเรื่องที่จะถกเถียงกันโดยไม่ให้หาข้อยุติ เพื่อให้เกิดความคิด ความรู้ขึ้นมา ตรงนี้แหละประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือ ทำให้เกิดสติปัญญา ถามว่าในอดีตใครสามารถที่จะบอกได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ มันไม่มีทาง มันก็ต้องมีการค้นคว้าและตีความ

สรยุทธ : อาจารย์ยึดอยู่บนตำนานหรือเปล่า

อาจารย์ธวัช : ไม่ใช่ เราต้องดูทุกหลัก ๔๘ หลัก สุโขทัยมี ๔๘ หลัก เขียนทั้งภาษาไทย บางหลักเขียนภาษาขอมด้วย

สรยุทธ : มีข้อเสนอเพื่อให้เกิดการถกเถียงกันขึ้นใหม่ อาจารย์ไม่เอา

อาจารย์ธวัช : เอา แต่ต้องให้มีระบบ ไม่ใช่แบบลักษณะความคิดอย่างนี้ ผมว่ามันอคติเกินไป เอาแค่มีเหตุมีผล และประวัติศาสตร์สุโขทัยไม่ชัดเจน คือผมอยากให้คิดแบบสร้างสรรค์ ไม่ใช่ประวัติศาสตร์แบบทำลาย

สรยุทธ : ฝ่ายทฤษฎีที่เสนอความคิดใหม่ สุโขทัยไม่ได้มีสภาพที่น่าจะเป็นราชธานีได้จริง แต่หลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ สุโขทัยคือราชธานี คือเริ่มต้นประวัติศาสตร์ อาจารย์ว่ายังไงครับ

ศ.ดร.ประเสริฐ : อย่าว่าแต่ในน้ำมีปลา ในนามีข้าวเลย แม้แต่ปลูกต้นตาลก็ไม่ขึ้น เพราะเขาได้เอาดินส่งไปให้วิเคราะห์ เพราะเนื่องจากดินนี้เป็นเมืองร้างมา พอหน้าแล้ง หญ้าแห้ง มันถูกน้ำชะลงไป และดินที่จะปลูกอะไรขึ้นมันแค่ ๑-๒ นิ้วเท่านั้น และเมื่อออกไปแล้วมันก็ปลูกอะไรไม่ขึ้น อย่าว่าแต่ปลูกข้าวเลย ปลูกต้นตาลก็ไม่ขึ้น แต่เราไปดูสุโขทัยสิครับ เขียวชอุ่มเลยครับ ต้นตาลก็ขึ้นเต็มไปหมด

สรยุทธ : ภูมิประเทศของสุโขทัยไม่น่าจะใช่

ศ.ดร.ประเสริฐ : ก็แก่งหลวง จับปลากันไม่ไหวเลย

อาจารย์ศรีศักร : ผมมองประเด็นคำว่าราชธานี มันพูดถึงใช้เฉพาะรัฐซึ่งรวมศูนย์ อย่างเช่นเมืองพระนครเป็นราชธานี แต่ขณะนี้สุโขทัยมีตัวตน มีรัฐอื่นที่ทัดเทียมกับสุโขทัยอยู่ มันไม่ใช่เป็นราชอาณาจักรอย่างที่คิด ถ้าบอกว่าเมืองสุโขทัยเป็นเมืองหลวง เมืองสำคัญของรัฐหนึ่ง มันก็ OK ไม่มีปัญหา แต่เวลาใช้คำว่าราชธานี มันหมายความว่ามันเป็นราชอาณาจักร ตรงนี้สิครับมานั่งถกเถียงกันทำไม ต้องมองการเมืองขณะนั้นที่ระบุว่าก่อนอยุธยาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ไม่มีราชอาณาจักรที่ชัดเจน มันมีเมืองใหญ่ๆ อยู่แล้ว ล้านนาก็เป็นส่วนหนึ่ง นครศรีธรรมราชต่างๆ เหล่านี้ แล้วมันก็รวมกัน เวลาเราเขียนประวัติศาสตร์ เราบอกว่าสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกทันทีผิดเลย

อาจารย์ธวัช : แต่ผมว่าเขาอยู่กันอย่างมีความสุข เขามีน้ำ พังโพยสี มีท่อน้ำ มีเขื่อน เขาเลียนแบบขอมอยู่เยอะนะครับ ทำที่กักน้ำและต่อท่อลงมาเข้าในเมืองใช้น้ำ ฉะนั้นสระกลางเมืองก็มีน้ำทั้งปี ท่อทำจากดินเผาเลยครับ มีความคิดสร้างสรรค์กว่าอยุธยาด้วยซ้ำไป สมัยอยุธยายังใช้น้ำคลองอยู่เลย ผมคิดว่าเมืองสุโขทัยอายุไม่ยืนยาวเท่าไหร่ แต่เขามีความสุข เหมือนกับที่เขียนบันทึกไว้ เขามีความชื่นชมบ้านเมือง อยู่ดี มีกิน ไม่ลำบาก

สรยุทธ : ทฤษฎีของฝ่ายนั้นบอกว่า ใครใคร่ค้า ค้า สุโขทัยสมัยนั้นมีเหรอ

อาจารย์ธวัช : มี

สรยุทธ : น่าจะเอามาจากยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น

อาจารย์ธวัช : หลักศิลาจารึกหลักที่ ๓ พูดลงเรือไปค้า ขี่ม้าไปขาย นี่เป็นความดีอกดีใจของเขา

สรยุทธ : อาจารย์ศรีศักรอธิบายได้มั้ยเรื่องการค้า

อาจารย์ศรีศักร : ถ้าดูจารึกหลักที่ ๑ เมื่อช่วงพ่อขุนรามคำแหงปกครองแบบพ่อปกครองลูก มันพูดถึงเมืองแรกเริ่ม ไม่ใช่เป็นราชธานี โครงสร้างขนาดนั้นเมืองกระจอก แต่ถ้าเป็นราชธานีต้องมีระบบ มาถึงพระยาลิไท ไปสร้างให้เป็นโครงสร้างให้พิลึกกึกกือขึ้นมา ในตัวจากรึกบอกอยู่แล้ว นี่ผมพูดจริงนะ ผมไม่กลัวใครจะไปเดินขบวนก็แล้วแต่ เพราะโครงสร้างเล็กๆ อย่างนี้ ไม่น่าจะมีอะไรที่ซับซ้อน

สรยุทธ : เชื่อว่าสร้างในสมัยสุโขทัย

อาจารย์ศรีศักร : ใช่ แต่มันรุ่นหลังๆ แล้ว

สรยุทธ : แล้วสมัยนั้นสร้างทำไมครับ แล้วทำไมไปเขียนให้เป็นอย่างนั้น

อาจารย์ศรีศักร : จารึกเป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างหนึ่ง เพราะมันขัดแย้งกัน ผมบอกว่าต้องเอาหลักที่ ๑ และ ๒ มาดู ต่างฝ่ายต่างเชียร์ตัวเอง

ศ.ดร.ประเสริฐ : พระเจ้าลิไทยกล่าวว่าบ้านเมืองแตกเป็นเสี่ยงๆ แต่กล่าวในสมัยพ่อขุนรามคำแหงไว้ว่าบ้านเมืองกว้าง คือกว้างขวางมาก ก็แปลว่ามันต้องใหญ่กว่านั้น ก็เพียงเท่าที่ว่าลิไทยเองก็ไปถึงหลวงพระบาง ไปถึงชวา แต่สมัยของปู่ท่าน ดินแดนมันกว้างขวางกว่านี้ เอาแค่นี้แหละครับ อย่าเถียงกันเลย ผมไม่ต้องการมาเถียงกัน เอาไว้แค่สมัยสุโขทัย ผมก็พอใจแล้ว อย่าให้มาถึงรัชกาลที่ ๔ เลย

อาจารย์ศรีศักร : เรื่องรัชกาลที่ ๔ ในความเห็นผม ท่านเอาสิ่งของเก่าๆ มาสร้างประวัติศาสตร์ชาติ คือศิลาจารึกหลักที่ ๑ เพื่อจะยืนยันว่าเมืองไทยมีอารยะ เพราะความเป็นอารยธรรมคือการมีลายลักษณ์ อันที่ ๒ ในเรื่องของพระศาสนา รัชกาลที่ ๔ ท่านอ้างพระปฐมเจดีย์ แต่ท่านไม่ได้สร้างใหม่ ท่านเอาเหล่านี้มาอ้างในการสร้างความเป็นรักชาติของเรา แต่พอเวลาอ้างขึ้นมาก็จะไปพูดถึงความเก่าแก่ เดี๋ยวนี้พิสูจน์ได้มั้ยว่านครปฐมเป็นแหล่งแรกที่พระโสณอุตตระมาประกาศศาสนา

(สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์)

สรยุทธ : สวัสดีคุณสมศักดิ์ครับ ปัญหาของคุณสมศักดิ์และชาวบ้านที่ไปชุมนุม ปัญหาคืออะไรครับ

สมศักดิ์ : ปัญหาตรงนี้ผมคงไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับนักวิชาการ แต่มันเป็นผลเฉพาะทางความรู้สึกนะครับ และเป็นผลสะท้อนมาถึง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งชูยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวและการเป็นมรดกโลกอยู่ คนสุโขทัยที่รู้ความมาก็คือมีความเชื่ออย่างนี้มาตลอด และผลกระทบที่ตามมาก็คือวิถีชีวิตของคนสุโขทัยถูกเปลี่ยนแปลงไปด้วยประวัติศาสตร์ และที่นักวิชาการทั้งสองฝ่ายมาถกเถียงกัน ซึ่งผมไม่แน่ใจว่ามีผลประโยชน์อะไรแอบแฝงกันอยู่

สรยุทธ : และที่คนสุโขทัยเผาพริกเผาเกลือ เพราะกำลังถูกลบหลู่อย่างนั้นหรือครับ

สมศักดิ์ : กำลังมีความรู้สึกว่าสิ่งที่มีมาอยู่แล้ว ก็ดีอยู่แล้ว วิถีชีวิตก็เดินไปด้วยดีด้วยคนสุโขทัย แต่ถ้ามาเปิดประเด็นกันเรื่องนี้ขึ้นมา เปิดมานานแล้วครับ เราเคยเชิญนักวิชาการทั้งฝ่ายที่นำเสนอเรื่องนี้ขึ้นมา ก็ปรากฏว่าเขาก็ไม่มาให้ความกระจ่าง ก็เลยเป็นเรื่องคลุมเครือ มันก็เงียบมาตลอด จนสุดท้ายมีการต่อเนื่องเรื่องนี้ เราจึงคุยกับประชาชนว่าทำไมไม่ลุกขึ้นมาต่อสู้ แต่ไม่ได้เถียงว่าจริงหรือไม่ แต่เราอยากอยู่ในวิถีชีวิตของคนสุโขทัยแบบนี้นะครับ

สรยุทธ : คืออะไรครับ

สมศักดิ์ : ก็คือสิ่งที่ยอมรับกันแล้ว แม้กระทั่งยูเนสโกยังยอมรับเลยครับ

สรยุทธ : อย่าได้มาเสนอความคิดที่จะเปลี่ยน จนทำให้เกิดความไม่แน่ใจ อย่างนั้นใช่มั้ยครับ

สมศักดิ์ : อาจจะเป็นกุศโลบายของบรรพชนของคนสุโขทัย หรือใครก็ได้ที่เป็นคนไทย ที่เป็นหลักจิตวิทยามากกว่าที่จะพูดถึงเรื่องเก่า-ใหม่ ผมว่าเป็นหลักจิตวิทยาในการปกครองของคนสมัยนั้นมากกว่า

สรยุทธ : อีกมุมนึงในประวัติศาสตร์ก็น่าจะมีการชำระเสียให้ถูกต้องไม่ใช่หรือครับ

สมศักดิ์ : ชำระได้ครับ มีหลักฐานแน่นอน คนสุโขทัยไม่ใช่ไม่มีเหตุผลนะครับ ยอมรับฟังถ้าทุกอย่างมีหลักฐานชัดเจนว่าถ้าเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ก็ช่าง คนสุโขทัยยอมรับได้ เพราะเป็นสมบัติของชาติไทยครับ

สรยุทธ : ถ้ายอมรับได้ ปัญหาคืออะไรครับ

สมศักดิ์ : ปัญหาคือน่าจะทำให้มันชัดเจนกว่านี้ แล้วออกมาคุยกันครับผม

อาจารย์ศรีศักร : การหาข้อเท็จจริง มันยุติไม่ได้ เพราะใครจะไปรู้อดีตได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ มันก็เป็นมุมมองที่ต้องโต้เถียงกันสืบไป แต่ถ้าความเชื่อเป็นเรื่องนี้ ก็เป็นสิทธิของคนสุโขทัย ก็เชื่อไปสิ

สมศักดิ์ : ก่อนที่จะออกมาตีแผ่เป็นสื่อทั้งประเทศ มันย่อมเกิดผลกระทบแน่นอนครับ คนสุโขทัยเดินไปที่ไหน ก็บอกว่าคนสุโขทัยไม่ใช่ของจริงล่ะ เพราะฉะนั้นพอประวัติศาสตร์ถูกบิดเบือน ผมไม่บอกว่าบิดเบือนดีกว่า ผมว่าจะมีการถกเถียงกันอยู่ว่าสิ่งที่เราได้ร่ำเรียนมา รู้มา อาจจะถูกชำระ หรือไม่เป็นไรถ้าชำระแล้วมันขาวสะอาดและชัดเจน และไม่มีอะไรอยู่เบื้องหน้าเบื้องหลัง คนสุโขทัยยอมรับได้ครับ

อาจารย์ศรีศักร : ผมว่าเรื่องนี้อยู่ที่กระทรวงศึกษาธิการ ทำความเข้าใจในการเรียนประวัติศาสตร์เสียใหม่ให้ดี และรวมทั้ง ททท. หรือกรมศิลปากร จะทำอะไรให้มันเข้าใจ อะไรที่เป็นความเชื่อ อะไรที่จะสร้างขึ้นเพื่อให้มีการท่องเที่ยว ให้มันเคลียร์ซะ อย่าเอาเรื่องที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วิชาการ ไม่เกี่ยวข้อง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เขาถกเถียงกันในวงวิชาการเท่านั้นเอง พวกที่ทำหนังสือขาดทุนทั้งนั้นแหละครับ แต่หนังสือพระขายดี

อาจารย์ธวัช : ถ้าเรื่องธรรมดา หนังสือพิมพ์ก็ไม่ชอบลง แต่ถ้าเรื่องขัดแย้งขึ้นมา หนังสือพิมพ์ชอบลง วิธีการนี้ใครอยากดัง ก็ทำเรื่องอย่างนี้เรื่อยๆ ก็ดังไปเรื่อยๆ ดังชั่วคืนชั่ววันเลย

สรยุทธ : กลุ่มที่ไปชุมนุมเผาพริกเผาเกลือ เรียกร้องยังไงอะไรครับ

สมศักดิ์ : ขอให้นักวิชาการทั้งหลายแหล่ปิดประตูห้องทำการบ้านให้เรียบร้อย ตอนนี้หยุดการให้ข่าวทางสื่อ หรือการตีพิมพ์ที่เป็นสื่อสาธารณะ ทำให้คนไขว้เขว แม้กระทั่งลูกหลานสุโขทัยตอนนี้ไขว้เขวกันหมดแล้ว ต้องกลับไปเรียนกันใหม่แล้วมั้งอย่างนี้

สรยุทธ : แยกได้มั้ยว่าบางอย่างเป็นเรื่องของความเชื่อประเพณี แต่ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ คนละแบบกัน อย่างเช่น เผาเทียนเล่นไฟ ลอยกระทง เราแยกได้มั้ย นี่ผมถามสมมตินะครับ

สมศักดิ์ : แยกได้ครับ แต่ในส่วนของหลักจิตวิทยา ผมเชื่อว่าในความเชื่อของคนสุโขทัยมีความเชื่อเต็ม ๑๐๐% และกลายเป็นเหมือนลักษณะของทางล้านนา เป็นความเชื่อที่หนักแน่นมากครับคนสุโขทัย

สรยุทธ : และจะชุมนุมกันอีกเมื่อไหร่ครับ

สมศักดิ์ : ถ้ามีการเคลื่อนไหวทำให้สุโขทัยได้รับผลกระทบจากวิถีชีวิตตรงนี้ เราก็จำเป็นต้องเคลื่อนตัวออกมาอีกครั้งในการชุมนุมใหญ่ แต่ชุมนุมด้วยสันติ เราต้องการแสดงพลังให้เห็นว่าคนสุโขทัยปลูกฝังความรู้สึกนี้ รักสุโขทัย รักพ่อขุนรามคำแหง เป็นอย่างมากครับ

สรยุทธ : แล้วทำไมนักวิชาการไม่เข้าไปนั่งคุยให้ได้ครับ อันนี้ผมเป็นคนนอกครับ

อาจารย์ธวัช : ใครเป็นคนจัดล่ะ

สรยุทธ : หมายถึงนักประวัติศาสตร์ด้วยกันก็จัดกันเอง แล้วเข้าไปนั่งคุยกันเอง

อาจารย์ธวัช : ตอนนี้สมาคมประวัติศาสตร์ไม่มีบทบาทอะไรเท่าไหร่ มันไม่ค่อยทำงานกันแล้วนะ และการชำระประวัติศาสตร์ของสำนักนายกฯ ก็มีคนแค่กลุ่มนึง เดี๋ยวนี้มันหลายสำนัก หลายกลุ่ม หลายความคิด ฉะนั้นประวัติศาสตร์เมืองไทยอีกนานที่จะเจริญก้าวหน้า ไม่ยอมลงกันเลย ต่างคนต่างคิดคนละอย่าง

สรยุทธ : นักประวัติศาสตร์บ้านเราไม่ยอมลงรอยกันเลยเหรอ

อาจารย์ศรีศักร : ผมว่าบางกลุ่มก็ลงรอย บางกลุ่มก็ไม่ลงรอย แต่ที่ไม่ลงรอยก็เป็นลักษณะของนักวิชาการทั่วโลกก็เป็นอย่างนี้แหละ เราอย่าไปถือเป็นสาระ ความงอกงามทางวิชาการคือการถกเถียงกัน แต่ใครจะถูก-ผิด ขึ้นอยู่กับคนฟังมากกว่า

สรยุทธ : วันนี้ก็ถือว่าเราเรียนรู้เรื่องที่กำลังถกเถียงกันในแวดวงประวัติศาสตร์ แต่กลายเป็นเรื่องที่ชาวบ้านก็ต้องมีส่วนรู้เห็นบ้าง เพื่อจะได้ศึกษาครับ ถ้าเกิดมีประเด็นนี้เกิดขึ้น วันนี้ขอบพระคุณทุกท่านครับ ลาไปก่อน สวัสดีครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 17 ส.ค. 04, 18:32

 ผมได้ดูรายการนี้ในช่วงท้าย หลังจากนั้นก็ไปดู WEBTV ช่วงต้นที่ www.mcot.or.th เนื้อความที่ศิลปวัฒนธรรมเอามาลงนี้ หยิบเอามาจากเนื้อหาที่ถอดเทปและลงไว้ใน mcot แต่แก้ไขการสะกดและข้อความที่พนักงานของรายการถอดไว้ผิดๆจำนวนมาก

แต่ที่สำคัญคือมีเนื้อหาบางส่วนหายไปครับ เป็นส่วนที่สำคัญ ถึงแม้ว่าผมเห็นด้วยว่าไม่น่าบันทึกไว้ เนื่องจากผู้ร่วมรายการ"ท่านหนึ่ง" ฟันธงย้ำหลายครั้งในทำนองว่า เราจะถกหรืออภิปรายหลัก ๑ อย่างไรก็ได้ แต่ต้องทำอย่าง"สร้างสรรค์" คือให้เอาข้อความมาศึกษากัน "ภายใต้เงื่อนไขว่าพ่อขุนรามเป็นคนสร้างเท่านั้น"

พ่อขุนรามอาจจะเป็นผู้สร้างหลักที่ ๑ จริง แต่ความคิดแบบนี้เป็นอันตรายต่อวงการศึกษามาก คือ "คุณจะคิดอย่างไรก็ได้ แต่ต้องคิดเหมือนผมเท่านั้น"

รับไม่ได้จริงๆครับ

ไม่แปลกใจว่าทำไมอ.พิริยะถึงปฏิเสธที่จะร่วมรายการ ภาพพจน์วงการวิชาการโบราณคดีคงป่นปี้หมดถ้าจะมาทะเลาะกันแบบเหลวไหลออกทีวี
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 18 ส.ค. 04, 08:47

 ถ้าอาจารย์พิริยะยังคงเชื่อว่าศิลาจารึกสร้างสมัยรัตนโกสินทร์    ก็ไม่ควรจะมาออกรายการนี้อยู่ดีละค่ะ จะกลายเป็นการพูดคนละประเด็นกันไป
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 18 ส.ค. 04, 13:02

 คุณเทาชมพูคงจะไม่ได้ขมรายการตอนนี้ ประเด็นคือดังนี้ครับ

 http://www.mcot.net/tltk/today.php?id=430&PHPSESSID=137b2512969c3ad30f8c848cc2146997

ขออนุญาตยกความมาตรงนี้นะครับ

ปัญหาหลักศิลาจารึก หลักที่ 1

เปิดประเด็นร้อนค่ำคืนนี้ จะไป "ถึงลูกถึงคน" กับเรื่องของการพิสูจน์ความจริงที่คนไทยต้องตะลึง.. หลักศิลาจารึก.สมัยสุโขทัย..ว่า หลักไหนคือของจริง หรือ สิ่งที่ค้นพบเป็นประวัติศาสตร์ จะเป็นเรื่องลวง วันนี้ จะมาแกะทุกตัวอักษร กับทฤษฎีที่ต้องพิสูจน์... อะไรคือเรื่องจริง ของจริงมีอยู่หรือไม่ ร่วมกันค้นหา และแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้กันได้ที่นี่ ในรายการ "ถึงลูกถึงคน" เวลา 23.00 น. ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี และติดตามรับฟังการถ่ายทอดสดรายการนี้ ผ่านทางคลื่นวิทยุ FM 100.5 MHz (กรุงเทพฯ และปริมณฑล) และในต่างจังหวัด รับฟังผ่านทางคลื่นวิทยุ อ.ส.ม.ท. อีกกว่า 50 สถานีทั่วประเทศ

ผู้ร่วมรายการ
------------------------------------
1. ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ  ณ นคร  ผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่านศิลาจารึก
   ราชบัณฑิตสาขาประวัติศาสตร์ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำของโลก
2. ศาสตราจารย์ ธวัช  ปุณโณทก  อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยบูรพา
3. อ.ศรีศักร  วัลลิโภดม  นักวิชาการอิสระ
4. สมศักดิ์  คำทองคง  ประธานคณะทำงานเครือข่ายชุมชนลูกพ่อขุนรามคำแหง (สัมภาษณ์โทรศัพท์)

*** ร่วมแสดงความคิดเห็น ได้ที่ ***
- โทร.02-201-6061 ถึง 3
- ส่งข้อความผ่าน SMS กับโทรศัพท์มือถือได้ทุกระบบ
  กด 9 เว้นวรรค แล้วตามด้วยข้อความ จากนั้นส่งมาที่ 84820
----------------------------
(สำหรับวันที่มีโหวต) เข้าเมนูส่งข้อความ ไปที่เมนูเขียนข้อความ
เลือกหัวข้อโหวต (กด 91)หรือ(กด 92) ส่งมาที่หมายเลข 84820
-----------------------------
ล่าสุดรายงานจาก หนังสือพิมพ์มติชน  (ขอขอบคุณข้อมูล)
ประท้วง2นักวิชาการแย้งศิลาจารึก ขู่ไม่หยุดวิจารณ์จะเคลื่อนใหญ่อีก

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 12 กรกฎาคม บริเวณหน้าพระบรมรูปอนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย นายมนู พุกประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย พร้อมแกนนำเครือข่ายชุมชนลูกพ่อขุนรามทั้ง 9 อำเภอ และนักเรียน นักศึกษา จำนวน 5,000 กว่าคน ร่วมกันชุมนุมเคลื่อนไหวประท้วงนายไมเคิล ไรท์ นักวิชาการอิสระ และ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา ที่ระบุว่าหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สร้างขึ้นมาในรัชกาลที่ 4

กลุ่มแกนนำต่างๆ อาทิ นายมนู นายจำเจน จิตธร ส.ว.สุโขทัย นายสมศักดิ์ คำทองคง ประธานคณะทำงานองค์กรเครื่อข่ายชุมชนลูกพ่อขุนราม และหัวหน้าแกนนำองค์กรเครือข่ายชุมชนลูกพ่อขุนรามทั้ง 9 อำเภอของสุโขทัย ผลัดกันขึ้นกล่าวโจมตีผู้ที่คิดว่าหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 พ่อขุนราม เป็นของปลอมนั้น เป็นการสร้างความแตกแยกให้กับคนไทย แบ่งออกเป็นสองฝ่าย เพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ขอเรียกร้องเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจับตามอง

"ขอฝากผ่านสื่อไปถาม ดร.พิริยะว่าเป็นคนไทยหรือเปล่า ที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันไม่ใช่เพราะอานุภาพของพ่อขุนรามหรือที่เป็นผู้สร้างสุโขทัยเป็นราชธานีจนมีประเทศไทยถึงทุกวันนี้ และที่ผ่านมา ดร.พิริยะได้เรียนหนังสือซึ่งก็เป็นตัวอักษรที่พ่อขุนรามประดิษฐ์ขึ้นมา จนมีงานเลี้ยงครอบครัวและมีหน้ามีตาในสังคมไทย ก็ไม่ใช่หนังสือของพ่อขุนรามหรอกหรือ การชุมนุมครั้งนี้เพื่อเตือนกลุ่มนักวิชาการ แต่หากยังออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 พ่อขุนรามฯปลอมอีกก็จะเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ และคงจะไม่หยุดอยู่เท่านี้" แกนนำผู้หนึ่งกล่าว

ก่อนสลายการชุมนุมกลุ่มพลังมวลชน ได้ร่วมประกอบพิธีเผาพริกเผาเกลือสาปแช่งผู้ที่ออกมาระบุว่า ศิลาจารึกสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีพระครูวิจิตรธรรมนิเทศก์ ประธานศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนา จ.สุโขทัย เป็นผู้ทำพิธีสวดยัดสาปแช่ง พร้อมทั้งนำแผ่นป้ายข้อความต่างๆ เผาพร้อมกับพริกและเกลือด้วย

ด้านนายสุพจน์ พรหมมาโนช ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ที่ออกมาเฝ้าดูสถานการณ์ในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ กล่าวว่า มีการตรวจสอบหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ทั้งการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ และทางภาษาโบราณมาแล้วหลายต่อหลายครั้งว่าเป็นของแท้ และเกิดขึ้นในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงจริง และในหลักศิลาจารึกอีกหลายหลักที่ถูกค้นพบรอบๆ อุทยานประวัติศาสตร์ จะมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักที่ 1
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 18 ส.ค. 04, 13:18

 อ.พิริยะถูกโจมตีมากด้วยเหตุที่ว่ารายการนี้แทนที่จะมีฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้าน กลับมีเพียงฝ่ายคัดค้านคืออ.ประเสริฐ และ อ.ธวัช กับอ.ศรีศักรที่มาเป็นตัวแทนฝ่ายที่เห็นว่าหลักที่๑ไม่ได้สร้างโดยพ่อขุนราม(อ.ศรีศักรเห็นว่าน่าจะสร้างสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท)

หากคุณเทาชมพูพอมีเวลาและ internet ที่ใช้อยู่มีความเร็วพอสู้ไหว อยากให้เข้าไปดู video clip ด้วยตนเอง จะเห็นได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่

ตามลิงก์นี้ไปจะเห็นลิงก์ไปยัง video clip อยู่ด้านล่างครับ
 http://www.mcot.net/tltk/today.php?id=430  
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 18 ส.ค. 04, 13:35

 ผมว่านักวิชาการแสดงความคิดเห็นแบบนักวิชาการเป็นเรื่องสมควรอยู่แล้ว หากคิดต่างกันก็หาหลักฐานมายันกันไป ถึงจุดหนึ่งใครมีหลักฐานมั่นคงกว่ากันสมมติฐานนั้นก็จะได้รับการยอมรับในวงกว้าง (แต่ก็ยังคงต้องรอการ challange จากหลักฐานใหม่ๆ)

ผิดถูกว่ากันไปครับ

แต่ที่ว่าอ.พิริยะอยากดัง ผมว่ามันก็ตลก ผมตามเรื่องนี้มาหลายปี ผมยังไม่เคยเห็นหน้าอ.พิริยะเลยครับ ถ้าลองตรวจสอบประวัติดู ก็จะรู้ว่าท่านเป็นอย่างไร หากมองในแง่สิ่งที่นำเสนอออกมา ผมว่าเหตุผลที่อ.พิริยะยกมา หลายๆเรื่องไม่มีน้ำหนักมากพอที่จะใช้ยึดถือได้ แต่ในขณะที่ฝ่ายที่พยายามชี้ว่า"ปลอม"ต้องชี้จุด"แปลกปลอม"ออกมา ฝ่ายที่เห็นว่า"แท้"ก็ต้องชี้แจงว่าจุดที่"แปลกปลอม"นั้นมันไม่ได้แปลกปลอมแต่อย่างใด หลายๆสิ่งที่อ.ประเสริฐท่านยกขึ้นมา ผมว่าอยู่หมัด ชัดเจน แต่ก็ยังมีบางประเด็นที่ยังไม่หนักแน่น และบางประเด็นก็ไม่มีการชี้แจง ทั้งนี้การที่ยังมีสิ่งที่"แปลกปลอม"อยู่ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะชี้ชัดได้ว่าหลัก ๑ "ปลอม" แค่เรายังไม่สามารถอธิบายความแปลกปลอมนั้นได้ เป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันต่อไปครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 18 ส.ค. 04, 13:49

 ดิฉันดูรายการนี้ค่ะคุณ  CH  ถึงออกความเห็นอย่างที่บอกไว้ไงคะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 18 ส.ค. 04, 17:54

 คุณเทาชมพูดูแล้วเห็นเป็นอย่างไรบ้างครับ?

ผมดูคนที่ sms เข้ามาแล้วก็ไม่ค่อยสบายใจ "ด่า"อ.พิริยะก็มาก พวกที่"เชื่อ"ว่าทำสมัยรัตนโกสินทร์"โวย"อ.ประเสริฐก็เยอะ อ.ศรีศักรก็พลอยโดนลูกหลงไปไม่น้อย

ส่วนตัวผมเองค่อนข้างพอใจกับการแสดงความคิดเห็นของอ.ประเสริฐและอ.ศรีศักรครับ อาจจะดูรุนแรงไปบ้างในบางจังหวะแต่อยู่บนฐานของวิชาการ แต่ก็เห็นว่าคนไทยยังไม่มีความพร้อมกับการเสวนาแบบวิชาการแบบนี้ นักวิชาการที่ดีก็ทำงานของตนเองไป ประชาชนดูจะใช้วิธี"เลือก"ที่จะเชื่อตามความพอใจของตนมากกว่า และที่แย่คือมองคนที่คิดต่างจากตนเองเป็นผู้ร้ายไปเลย

ที่ยังงงๆคือเรื่องนี้มันระเบิดขึ้นมาเพราะอะไร ผมเห็นว่าอ.พิริยะค่อนข้างจะเก็บตัวเงียบ หนังสือที่ตีพิมพ์ในช่วงนี้ก็เป็นหนังสือเก่าเอามาพิมพ์ใหม่ เนื้อหาในหนังสือก็ค่อนข้างจะเป็นวิชาการมาก ถ้าไม่สนใจจริงจะน่าง่วงเลยด้วยซ้ำ คนที่ออกมาแสดงความเห็นแบบ"แรง" กลับเป็นคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ, ไมเคิล ไรท์ และ อ.นิธิ ซะมากกว่า

มันเกิดอะไรขึ้นหรือครับนี่
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 19 ส.ค. 04, 09:59

 ไม่มีอะไรเกิดขึ้นหรอกค่ะ   นักวิชาการเขาก็เห็นกันหลากหลาย เท่านั้นเอง
ส่วนการเล่นกับความเชื่อของประชาชน เป็นอีกกรณีหนึ่ง
เรื่องนี้น่าจะจบกันไปนานแล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.117 วินาที กับ 19 คำสั่ง