เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9
  พิมพ์  
อ่าน: 87978 จารึกหลักที่ 1 และความคิดเห็นที่แตกต่างในของนักวิชาการ
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 31 ส.ค. 04, 17:56

 ประเด็นที่ผมกล่าวถึงไม่ใช่เรื่องตำแหน่งของวรรณยุกต์นะครับ วรรณยุกต์ในหลักที่หนึ่งวางอยู่บนพยัญชนะเป็นปกติดีครับ(เป็นอย่างเดียวที่ไม่ได้เรียงอยู่ในบรรทัด)

ถ้าเป็นประเด็นเรื่องวางสระบนสระล่างไว้บรรทัดเดียวกันอ.ประเสริฐได้เคยชี้ให้เห็นว่ามีจารึกหลักอื่นที่มีการใช้ให้เห็นอยู่บ้างแล้วครับ

สิ่งที่เป็นปัญหาคือความเคร่งครัดในการใช้วรรณยุกต์ครับ ลองดูตัวอย่างนี้นะครับ

จารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๑ ปริวรรตตามรูปอักษรปัจจุบัน

๑. พ่   ูก   ื ช่    ี สร   ี นทรา   ี ทตย แม่   ู ก   ืช่

นาง    ื เสอง   ี พ่   ู ก   ื ช่ บาน   ื เมอง

๒.   ู ต   ี พ่น๋องท๋องดยวห๋าคน   ู ผ๋ชายสาม

 ู ผ๋    ี ญงโสง   ี พ่     ื เผอ

๓. อ   ู ผ๋อ๋ายตายจาก   ื เผออตยมแฏ่ญงงเลก

 ื เม่ออ   ู ก   ื ฃ๋นให่ญได๋

๔.    ีสบเก๋าเข๋า  ุ ฃนสามชนเจ๋า   ืเมอง

ฉอด(๑) มาท่    ื เมองตากพ่    ู กไปรบ

๕.  ุ ฃนสามชนหววซ๋าย  ุ ฃนสามชนขบบ

 มาหววฃวา  ุฃนสาม

๖. ชน    ื เก่ลอนเฃ๋าไพ่รฝ๋าหน๋าใสพ่    ู ก   ี หน

ญญ่ายพายจแจ๋

๗. (น   ู) (๒) กบ่     ี หน   ูก   ี ข่ ช๋างเบกพล(๓)

ู กขบบ เฃ๋า ก่อนพ่   ูก    ูกฏ่

๘. (ช๋า)งด๋วย  ุฃนสามชนตน   ูก   ูพ่งช๋าง

  ุ ฃนสามชน  ตวว    ื ช่

๙. มาส    ื เมองแพ๋   ุ ฃนสามชนพ่าย    ี หน

พ่   ู  ก    ี จ่ง    ื ฃ๋น    ื ช่   ู ก

๑๐.   ื ช่พระรามคำแหง    ื เพ่ออ    ู ก   ู พ่งช๋าง    

 ุ ฃนสามชน    ื เม่อ
   ๖. ชนเกลื่อน(๑๒) เข้าไพร่ฟ้าหน้าใส(๑๓) พ่อกูหนี

ญญ่ายพายจแจ๋-

๑๑. อช่ววพ่  ู ก  ู กบํเรอแก่พ่    ู ก   ู กบํเรอ

แก่แม่    ู ก   ู กได๋ตวว

๑๒.   ื เน๋ออตววปลา   ู กเอามาแก่พ่   ู ก  ู กได๋

หมากสํ๋หมากหวา

๑๓. นอนนใด   ิ กนอร่อย   ิ กน    ี ด  ู กเอามา

 แก่พ่   ู ก  ู กไปตี

๑๔. หนงงวงช๋างได๋   ู กเอามาแก่พ่   ู ก

   ู กไปท่บ๋านท่   ื เม

๑๕. องได๋ช๋างได๋งวงได๋ป่ววได๋นางได๋

 ื เงอนได๋ทอง  ู กเอา
   ๑๑. อชั่วพ่อกู(๒๒) กูบำเรอ(๒๓) แก่พ่อกู กูบำเรอ

แก่แม่กู กูได้ตัว

๑๒. เนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้

หมากส้ม   หมากหวา-

๑๓. น(๒๔)   อันใดกินอร่อยกินดี   กูเอามา

แก่พ่อกู  กูไปตี-

๑๔. หนังวังช้าง(๒๕) ได้กูเอามาแก่พ่อกู

กูไปท่บ้านท่เมื-

๑๕. อง ได้ช้าง ได้งวง ได้ปั่ว ได้นาง(๒๖) ได้

เงือน(๒๗) ได้ทองกูเอา
๑๖. มาเวนแก่พ่   ู ก  พ่   ู กตายญงง   ี พ่   ู ก

 ู กพรำบํเรอแก่    ี พ่

๑๗.   ู กฎ่งงบํเรอแก่พ่    ูก   ี พ่   ู กตาย

   ึ จ่งได๋     ื เมองแก่   ู กทงง

๑๘. (ก)ลํ   ืเม่ออช่ววพ่  ุ ฃนรามคำแหง

   ื เมอง  ุษกโขไท   ี น๋     ี ดในน๋ำ

๑๙. (   ี ม)ปลาในนา   ี มเข๋าเจ๋า   ื เมองบ่เอา

จกอบในไพร่   ู ลทาง(๔)    ืเพ่

๒๐. (อ)น   ูจองวววไปค๋า    ี ข่ม๋าไปขาย

 ใครจกกใค่รค๋าช๋างค๋าใคร

๒๑. จกกใค่รค๋าม๋าค๋าใครจกกใค่รค๋า    ืเงอน  

ค๋าทองค๋าไพ่รฝ่าหน๋าใส

๒๒.   ู ลกเจ๋า  ูลก  ุฃน   ู ผ๋ใดแล๋ลํ๋ตายหายก่วา

อ๋ยาว    ืเรอนพ่   ืเช๋ออ

๒๓.   ื เส๋ออฅำ(๕) มนนช๋างข    ู ลก   ีมยย   ี ยยเข๋า

ไพรฝ๋าข๋าไทป่า

๒๔. หมากป่า  ูพลพ่   ื เช๋ออมนนไว๋แก่ ูลกมนน

  ี ส๋นไพ่รฝ๋า

๒๕.   ู ลกเจ๋า  ูลก  ุฃน     ีผ๋แล๋   ีผดแผกแสก

ว๋างกนนสวน  ูด

๒๖. แท๋แล๋     ีจ่งแล่งฅวาม(แ)ก่ขาด๋วย    ืซ่

บ่เฃ๋า   ูผ๋ ลกกมกก

๒๗.    ู ผ๋ซ๋อนเหนเข๋าท่านบ่ใค่ร    ีพน

เหน   ีสน ท่านบ่ใค่ร   ืเดอ

๒๘. ดคนใด   ีข่ช๋างมาหา

พา   ืเมองมา   ูศ่ช่อย   ื เหนออ   ืเฟ่อ

๒๙. อ  ูก๋มนนบ่    ีมช๋างบ่     ีมม๋าบ่   ีมป่วว

บ่   ีมนางบ่   ีม   ืเง(อ)

๓๐. นบ่    ีมทองให๋แก่มนนช่อยมนนตวง

     เปนบ๋านเปน     ืเมอ

๓๑. งได๋ข๋า   ืเสอกข๋า    ืเสออหวว  ูพ่งหววรบ  

ก่    ีด บ่ฃ๋าบ่    ีตใน

๓๒. ปาก   ูปต   ีมก    ีดงอนน   ืณ่ง

แขวนไว๋ ห๋นน ไพร่ฝ๋าหน๋า

๓๓. ปกกลางบ๋านกลาง    ืเมอง    ีมถ๋อย

 ีม ฅวามเจบท๋อง

๓๔. (ข๋)องใจมนนจกกก่ลาว    ิเถงเจ๋า   ิเถง

  ุฃนบ่ไร๋ไปลนนก

๓๕.    ีดงอนนท่านแฃวนไว๋พ่   ุฃนรามคำแหง

เจ๋า    ืเมองได๋





ลองสังเกตดูว่ามีการใช้วรรณยุกต์อย่างเคร่งครัดนะครับ

แล้วลองเปรียบเทียบกับจารึกหลักที่ ๒ ด้านที่ ๑ ดูนะครับ

๑. .... (๑) .......................

๒. ............................

๓. ...............สํเดจพระตถาคตเปน........

๔. .....มหิ (ยง) งคน เมิอสํเดจพระ

มหามูณีสรีมหาธาดุ.........

๕. อยู…..สํเดจพระมหาเถรผูชีสรีสรธา

ราชจูลามูณีรดดนลงกาทีบมหาสามิเป

๖. (นเจา).......ใกลฝงันำมาวลิกคงคา

ในลงกาทวิบนอกเมืองกำพไลเถิง.. ิย

สํเดจหา

๗. .........ทีนนนก่พระทนตธาดุสูคนธ

เจดีมีสาม (อ) นนมีญอดอนนนิ

๘. (งพระมหาเถรสรีสรธา) ราชจูลามูณี

เกิดในนครสรลวงสองแฅวปูชีพระญา

สรีนาวนำถุ ํ (เปนขุน) เปนพ

๙. ............... เสวยราชในนคร

สองอนนอนนนิงชีนครสุกโขไทอนน

นีงชีนครสรีเ(ส)

๑๐. (ชนาไล)..........ปรดิสถาพระ

ส (รีรดดนมหาธาดุ) ใกลฝงันำ ...

ในนคร สุกโขไท นนนพ่ขุ

๑๑. นสรีนาว (นำถุ ํ ).......................

.............(สรีเสชนาไล) ดงงอิง

เปนขุนยิขุนนางนกกห(๒)

๑๒. นาแ .......... (เปน) ขุนใน

เมิองชลยง..........เมิองใตออก

พขุนนำถุ ํ เบิองตวนนออ

๑๓. กเถิง .......... เบิองหววนอนเถิง

ขุนลุน (ตา) ขุนดา (ขุนดาน) ๐...

เบิองในหรดีเถิงฉอดวยงเหลก

๑๔. .. (เบิองตวนน) ตกเถิง..ละพุล

.......... บู..๐ เบิองพาย (บบ)เถิงชยง

แสนพยาว. ลาว๐ เบิอ

๑๕. งตีนนอนเถิงเมิองด....ขุนดาน....

...... (ขุน) ค..........พขุน

นำถุ ํ ดาย ไดเมีองสุก

๑๖. โขไทแกพขุนดาย ........ พขุนนำถุ ํ

รูคุณอนนพิเสส๐คี..งชางรูวงัชาง

แกลวหาน.......

๑๗. ...........เขาแทงพขุน...

นำถุ ํ ..๐พขุนนำถุ ํ ตอหววชางดวยอี

แดงพุะเลิง......

๑๘. .. (ไดเมิองแก) พขุนนำถุ ํ  พขุนนำถุ ํ

ใส......อีแดงพุะเลิงใหญปรมาน

เทาบาดเว(น..เมิ)

๑๙. องแหงเมิองสุกโขไท๐พขุนนำถุ ํ (ร) บ

เสอกมาไดใหเข๋าใหสินแก่ท่านแล๐

พิสองนองไดนิง

๒๐. .รก.............นจกก...

อนันิได ลูกพขุนสรีนาวนำถุ ํ ผูนิ (งชี)

พรญาผาเมิองเปนขุน

๒๑. ในเมิองราดเมิองลุมคุมลงแสนชางมา

ฝากรอมบานเมิองออกหลวงหลาย

แกกํ ๐ เมิอกอนพขุน

๒๒. บางกลางหาว (ขิน) ไปเมิองบางยาง

ให สิริ (จ) ดดพลพขุนผาเมิอง

เจาเมิองราด พาพขุนผาเมิองผดาจ

๒๓. (กนน) แลกนน๐พขุนบางกลางหาวได

เมิองสรีเสชนาไล......พขุนผาเมิอง

เจาเมิองราดพลมา

๒๔. ตบกนนทีบางขลงไดเวนบางขลงแก

พขุนผาเมิองแลวพขุนผาเมิองเอาพล

เมิอเมิองราดเมิองส

๒๕. คาได.สบ.ล..บสริเสชนาไลสุกโขไท

ขอมสบาดโขลญลำพงรบกนน. แลว

พขุนบางกลางหาวไป

๒๖. ...... (พลพขุนผา) เมิองเจาเมิอง

ราดมา (ทีนี) ให้ผชุ ํ พล ๐ พขุนบาง

กลางหาว แลพขุนผาเมิองขี

๒๗. ชางสราย . . . . . . . . . พรญาผสบกนน

(แลก) นนคินใหขีดวยกนนเหนิอหวว

ชาง ๐บรคนแลวพ

๒๘. ขุนบางกลางหาวแลขอมสบาดโขลญ

ลำพง รบกนน๐พขุนบางกลางหาวให

ไปบอก แกพขุนผาเมิองพขุน

๒๙. นผาเมิอง . . . . . . . (ขอม) สบาดโขลญ

ลำพงห . . พายพง๐พขุนผาเมิองจิงยงั

เมิองสุก (โข)

๓๐. ไทเขาได๐เวนเมิองแกพขุนบางกลาง

หาว๐พขุนกลางหาวมิสูเขาเพิอเกรง

แก พระสหายพขุนผา

๓๑. เมิงจิงเอาพลออกพขุนกลางหาวจิงเขา

เมิอง๐พขุนผาเมิองจิงอภิเสก พขุนบาง

กลางหาวใหเมิอ

๓๒. งสุโขไทใหทงัชีตนแกพระสหายรยก

ชีสรีอีนทรบดินทราทิตย๐นามเดมกมร

แดงอญผาเมิอง๐เมิอ

๓๓. กอนผีฟาเจาเมิองสรโสธรปุรให

ลูกสาวชีนางสุขรมหาเทวิกบบขนน

ไชยสริให นามกยร แกพขุนผาเมิอ

๓๔. งหยมพขุนบางกลางหาวไดชีสริ

อีนทรบดีนทราทิตยเพิอพขุนผาเมิอง

เอาชิตนให แกพระสหายอีก

๓๕. เมิองสุโขไทเพิอนนน๐พขุนสริอินทร

บดินทราทิตยแลพขุนผาเมิองเอาพล

ตบกนนพา.ว. . .

๓๖. ท .ั  เทิอใตเมิอเหนิอ เตรลาคลาทุกแหง

ทุกพายตางคนตางเมิอบานเมิองดงั

เกาลูกพขุนสริอี

๓๗. นทราทิตยผูนิงชีพขุนรามราชปราญ

รูธรรมกอพระสรีรดดนธาดุอนนนิง

ในสริสชนาไลหลานพขุนส

๓๘. ริอีนทราทิตยผูนิงชีธรมราชาพุล

รูบุนรูธรรมมีปริจญาแกกํบมิกลาว

ถิเลย๐พ่ขุนผาเมิองเจาเมิอง

๓๙. ราดนน๋นใหส่างเจดีมีคุณแกฝูงทาว

พรญาเปนอาจารพรนธิบาลแก่ฝูง

กสดตราธิราชทงัหลายมา

๔๐. สถิ (ต) อยูในสริเสชนาไล.....

ทุกแหงใหเปนบูรา ... สพายลูนปูน

หลงั ทงัหลายญอมใหสบสรร

๔๑. ลิกคุณทานพิ . . . (ผูเ) ปนครูหนกก

หนาแกกํ๐มีหลานพขุนผาเมิองผูนิง-

ชีสํเดจ พระมหาเถรสรีสรธา

๔๒. ราชจูลามูนิสรีรดดนลงกาทิบมหา-

สามิเปนเจาพระมหาเถรสริสรธาราช

จูลามูนิ หลานพขุ (น) ผาเมิ

๔๓. องนนนผูหลวกมกกกทำบุนยกทำ

ธรรมมกกโอยทานทุกเมิอบ่คิดแคน

จกกใหแกทาน (แตงแ)

๔๔. งสอาดงามหนกกหนาจิงโอยทานบิน-

ทิบาด โอยทานบมิขาดสกกวนน

โอย . . . สิบหาฅาบ แล . . . (ม)

๔๕. กกฉนนทุกวนนดงัอนนแลมกกจำสีล

ภาพนาอยูกลางปากลางดงหลงอด

ฉนนใบพง . . . .

๔๖. นลูกหมากรากไมมีวดดปริบดดดู

เยิองสิงหลทุกอนนมกกถเมรเทส

แสวงหาปริจญาธุ . . . .

๔๗. เสสรูทุกภาสามกกกทำพยรพยายาม

กลางฅำบ่อยินกลางฅินบอยูทยน

ปรารถนาโพธิสํภาร . . . . .

๔๘. (กพระ) เจดีปลูกสริมหาโพธิกทำ

พุทธปรดิมาทุกแห่งทุกพาย  

เลิกสาสนาพระมหา . . . . .

๔๙. น . . อนนดรธานบใหฉิบบใหหายสกก

แหง๐พระมหาเถรสริสรธาราชจูลามู

นิ นนนผูเชิอ ผ . . .

๕๐. . . . . . นกดิบมิคยดตอบขสานติ

ไมยตริรูปรานิอีนดูสดตวทงัหลายโปรส

สรายบใหลํบใหตา (ย)

๕๑. สกกอนนรูบุนรูคุณทานสงยมมรรยาท

อาจสงัวอนตนสงัสอนคนทงงหลายให

รูลอาย รูกลววบาบกล

๕๒. ววผิดต่ผูเถาผูแกพแมครูอูบทยาย

มิตรสหายทงัหลาย พระมหาเถรสริ

สรธาราชจูลามูนินน๋นกลา

๕๓. (ว) . . . ดวยแกกํ๐แมนซิไมกทิงก่ดิ

แม๋นชิกิงพระสริมหาโพ . . .แมนชิอี . .

ก่ดีแมนชิ . . . สิร

๕๔. พระสริมหาโพธิน (คร) สิงหลนนนก่

ดีสํเดจพระมหาเถรเปนเจาเอามา

ป(ลูก) เหนิอดินจิงอทิสถานผิวา

๕๕. .........พระพุทธจริงจิงวาใสจุง

ใหเปนญ่าไดหยวสกกอนนคนน

(อทิส)ถานดงัอนนซิใบนิงแ

๕๖. (หง) . . . . . . จิงขินเปนใบขยวงาม

หนกกหนาแกกํเปนตนให (หญตน)

หลวงสูงงามหนกกห

๕๗. นาเปน . . . . . . . . หลายกิงมิพระ . . .

ฉลกกปรดิสถาไวในสรีราม (เท) พ

(น) ครเบิอง (ใต) เมิอง (สุโขไท)

๕๘. . . . . . . . . . . . . . . . .ลางมหาส . . . .

งไวในกุดานคอรกํพงครอง (เถิ) ง

ใ(น) นครสรีสชนาไล

๕๙. . . . นาพระ . . . . . . . . . ายเมิอแผ . . . .

อยดายอทิสถานใสเปนปูราใน ลงกาทวิบ

ในเมิอ

๖๐. . . . . . . . . . กในชํพูทวิบหลวงมีหลาย

แหงใหมีบัง (คํ) . . . สํเดจพระ

มหาเถรสรี (สรธา)

๖๑. . . . .ฝูง . . . . . . . . เปนครหส . . . เมิอ

นนน๐เจ๋า . . . . ภิดเสมิอราชสีหมีกํลงั

๖๒. . . . . . นหนกกหนาแกกํต่หววชางดวย

ขุนจงง๐ขุนจงงนนนขีชางสรายเปน

สารสูงใหญ่

๖๓. (แก) กํนำมนน (ชาง) กำลง (ง)

ตกแล (น) มาดวยเรวหนกกหนา

ขุนจง(ง) . . . ทา . พรญาคำแหง (พระ)

๖๔. (ราม) . . . คนนพรญาคำแหงพระราม

หม . . . มจกกแลกหมอนแพร

แ. . นแ . น . .

๖๕. . . . เปนพดงงอนนเจ๋าสรีสรธารา (ชจูลา

มู) ณีนนนเจบใจตางพ่ตนหนกกหนาเ

๖๖. สมิอดงงเอาฅ๋อนตีหางนาคราช

นนน . . . . ชางชีทวงท . ลช๋นนขบบ

แลนดวย . . นั

๖๗. แมช๋างแลชางสรายลงมนนชำเ (ชิ) งท

. . . นชางสรายเอางวงมนนคลำนำ

ลางใน . . .

๖๘. อนัยอ๋ยถูกหววเจาสรีสรธาราชจูลามูณี

(หน) นหนาไมปกกปีนปากจอบญีง

ถูกรูนำมนน

๖๙. ช๋างสรายนนนเดินเจบหนกกหนา

คนหนดินกญงงชอยแทงชางสราย

นนนจิงยกก

๗๐. พลยกมุดปาพงหนีเจาสรีสรธาราช

จูลามูณี จิงขบบแมชางไลตาม ตีบ่อย๋า

ค๋านบทานเมิ

๗๑. อตามตีฅวานชางวีงหนีตกปาแขม

เงิอดคำรบสองฅาบสามฅาบเขาทงงห

(นดิน)

๗๒. นนนวิงหนีเลยชางนนนตามบ่อยาจิงได

ชางสรายนนนใหมาแลสำเดจธรรมราชา

๗๓. . . . เมิองสุโขไททินิทาน . . . . วาดงงฤา

แลแมชางตชางสารตกมนนแลชาง

สาร (ตกนำมนน)

๗๔. . . . . . . . . . . หนีแกแมชาง . . . ดงง

ฤาแล ชางสารตกนำมนนหนีดงงอนน

หยมชา (ง) . . .

๗๕. . . . . . . . . เมิอสํเดจเจ๋าสรีสรธาราชจูลามูณี

(ช) งง อาสเมิอเปนพระหริะร

. . . เทพเมิอน.

๗๖. . . . ด . . แต่เมิอเจ๋าสรีสรธาราชจูลามูณี

ญงงนอยแม่ใหกินนํไดสองปีปลาย

คำนิงใน


๗๗. ทีแท๋ค (รา) นน๋นมาเถิงสิบเจดปี

สิบแปดปีมีจำบงงดวยขุนผู๋นิงชีท๋าว

มน . . งจำบงงดวย

๗๘. (อี) กมนนผู๋นิงชีท๋าวอีจานมาเถิงญี

สิบหกปี มีจำบงงหนกกหนาต่หวว

ชาง ดวยขุนจงง

๗๙. .งเลยสนอยเลยบมีกลาวถีเลยมีดงง

กลาวกอ่นนนนแล๐เจ้าสรีสรธาราช

จูลามูณี . .

๘๐. . . . . . . . . คุณมกกรยนคุณอนนพิ

(เส)ส อนนนิงรู๋คุณชางอนนนิงรู๋คุณม๋า

อนนนิงรู๋ คุณ . . . (อนน)

๘๑. (นิงรูคุณ) .นอนนนิงรู๋คุณสีห . . .

อนนนิงรู๋คุณคี (ธ) นูสีลบปี (น) ญิง

เ(ขาไป) กถูกรู๋คุณ (หลายประการ)

๘๒. มหาเถรสรีสรธาราชจูลามูณีนน๋นบดด

เข๋าบุนเข๋าบาบบดดหววบดดไห บดด

ไดบดดเสียบดด

๘๓. (ได) สุ (ข) บดดไดทุกขวยนสบบ

กลบบไปมา เขนใจในสงสารนีหลาย

ซำแกกํบ . . . . . . . . . นบบ

๘๔. . . . . . นมาเถิงญีสิบเก๋าเข๋าสามสิบทดด

มีราชกูมารพตรผู๋นิ่งส . . . . ดทาน

ทสตโอ . . . . นสำ

๘๕. . . . . หนกกหนาเหนสงสาราภพ

นีอ่นิตยอ่นาตบ่มิทยงจิงคำนิ (ง)

โพธิภารอนน . . . . . . . . รพา

๘๖. น..ง.....มาเถิงสามสิบเอดปีมีสรรธา

หนกกหนาชิผูใดปรารถนาเอาหววต(น)

. . . . . . .

๘๗. (โอย) ทานเมิอนนนจิงขนนีมล๋าง

เคริองอาวุทธทงงหลายอนนเปน

ตนว่า . . . . . . . . . .

๘๘. . . . สหนาไมธนูฟนนหูงจงงหนนใน

ป่า . . . . จิงว . นใหม . . อยา . . . . .

. . . . . . . งง . .

๘๙. . . . นนจิง . . ตองสวาะพนนละอย๋าว

เริอนแตงเริอนผาด้วยผ๋าแดงผาเหลิอง

ผ๋าดำผ๋า (ข) ยวผ๋าขา (ว)

๙๐. เหลิอม . . . สาเอาห่ปไดจิงไตรกรยา

ทานสํส . . . พารฝงงมรกต . . . . ใน . . . .

นิ . . . ง . . นิ .



ทั้งหมดนี้คัดลองจากฐานข้อมูลจารึกของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรนะครับ
 http://203.144.221.112/jaruk/

อยากให้ลองอ่านดู หรือหากอ่านไม่ถนัดลองเข้าห้องสมุดอ่านประชุมหลักศิลาจารึกภาคที่ ๑ ดูครับ แล้วจะเห็นอย่างที่ผมเห็น จารึกหลักที่ ๑ เป็นหลักเดียวที่ใช้วรรณยุกต์อย่างเคร่งครัด

ทำไม?ฮืมฮืมฮืม

อยากให้ลองอ่านหลักที่ ๑ เปรียบเทียบกับหลายๆหลักในยุคสมัยเดียวกันแล้วจะเห็นอะไรดีๆหลายอย่างครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 31 ส.ค. 04, 18:02

 ประชุมหลักศิลาจารึกภาคที่ ๑ ดูครับ แล้วจะเห็นอย่างที่ผมเห็น จารึกหลักที่ ๑ เป็นหลักเดียวที่ใช้วรรณยุกต์อย่างเคร่งครัด

ทำไม?ฮืมฮืมฮืม

อยากให้ลองอ่านหลักที่ ๑ เปรียบเทียบกับหลายๆหลักในยุคสมัยเดียวกันแล้วจะเห็นอะไรดีๆหลายอย่างครับ
********************
ไม่เข้าใจค่ะ  แล้วยังไงล่ะคะ?  
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 31 ส.ค. 04, 19:37

 ผมจะลองสุมยกจากหลัก ๒ สักบรรทัดหนึ่งนะครับ

๑๗. ...........เขาแทงพขุน...

นำถุ ํ ..๐พขุนนำถุ ํ ตอหววชางดวยอี

แดงพุะเลิง......

อ่านว่า

เข้าแทงพ่อขุน...นำถุม...พ่อขุนนำถุมต่อหัวช้างด้วยอีแดงพุเลิง

จะเห็นได้ว่าไม่ใส่วรรณยุกต์เลยครับ ไม้เอก ไม้โท หายหมดเลย 6 ที่ 6 ตำแหน่ง ไม่ใส่เลยสักตำแหน่ง

ลองเทียบกับหลักที่ ๑

๑๗. ู กฎ่งงบํเรอแก่พ่ ูก ี พ่ ู กตาย

ึ จ่งได๋ ื เมองแก่ ู กทงง

อ่านว่า

กูดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตายจ่งได้เมืองแก้กูทัง

(คำว่า "ทัง" คือ "ทั้ง" ปรากฎในหลักนี้และหลักอื่นๆในรูป "ทัง" ครับไม่ได้ตกหล่นไม้โทแต่อย่างใด)

7 ที่ 7 ตำแหน่งใส่ครบถ้วนไม่ตกหล่น

การใช้วรรณยุกต์อย่างเคร่งครัดนี้ปรากฎเฉพาะในหลักที่ ๑ และเข้าใจว่าไม่ปรากฎในที่ใดอีกเลย อย่างน้อยอีกหลายร้อยปีต่อมาเลยครับ (จารึก ๒๑๐๐ เศษยังใส่บ้างไม่ใส่บ้างอยู่ดี)

ผมดูจารึกทุกหลักในประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๑ และ ตามดูในฐานข้อมูลของศูนย์ฯสิรินธรทั้งหมด แน่ใจว่าหลักที่ ๑ เป็นหลักเดียวที่ใช้อย่างถูกต้องเคร่งครัด หลักอื่นๆนั้นอย่างเก่งก็ใส่สัก 50% เท่านั้นครับ(เอาเฉพาะที่มีความเนื้อหามากพอประเมินได้นะครับ) และไม่ใช่เรื่องเสียงของแต่ละยุคแน่ เพราะใส่แบบคำเดียวกันปรากฏในหลักเดียวกันก็ใส่บ้างไม่ใส่บ้าง ไม่แน่ใจว่าเพราะอะไร แต่หากจะคิดว่าการออกเสียงสมัยก่อนลื่นไหลไม่บังคับเสียงของคำ นั่นก็ยิ่งแปลก เพราะหลักที่ ๑ บังคับแน่นหนามาก

ไม่มีความหมายในเชิงอักษรศาสตร์เลยหรือครับ?
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 01 ก.ย. 04, 09:00

 มีค่ะ  เจอความไม่เสมอกันแบบที่คุณCH ว่าอีกมากมาย  ในการเขียนภาษาไทย   ไม่เฉพาะแต่ในศิลาจารึก  ในสมุดข่อย  ก็มีเยอะแยะ  เขาเรียกว่าสะกดไม่ตรงกัน
ไม่เฉพาะแต่วรรณยุกต์เท่านั้น   พยัญชนะ สระ ก็ลักลั่นไม่ตรงกัน มีให้เห็นเป็นปกติ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 01 ก.ย. 04, 10:28

 ไม่ใช่สะกดไม่ตรงกันนะครับ คนละเรื่องกัน เป็นเรื่องความเคร่งครัดในการกำกับวรรณยุกต์ จะเรียกว่า่ใช้วรรณยุกต์ลักลั่นกันอย่างคุณเทาชมพูว่านั้นถูกต้อง ที่ว่ามีให้เห็นเป็น"ปกติ"

หลักที่ ๑ "ผิดปกติ" ตรงที่ไม่ลักลั่นไงครับ มีหลักไหนอีกสักหลักไหมครับที่ "ผิดปกติ" อย่างนี้อีก ยกตัวอย่างให้ผมสบายใจสักหลักเถอะครับ เพราะผมหาไม่เจอจริงๆ (ถ้าไม่นับประเภทที่ว่ามีอยู่แต่ ๑-๒ บรรทัด ไม่เพียงพอที่จะเปรียบเทียบได้)
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 01 ก.ย. 04, 20:19

 ดิฉันไปค้นอะไรต่อมิอะไรมาเยอะพอแล้วค่ะ ขอหยุดพักเรื่องนี้ก่อน
แต่อยากจะเสนอคุณ CH ว่าเรามาคุยกันแบบนี้น่าจะสนุกกว่านะคะ  คือแทนที่คุณจะเป็นฝ่ายตั้งโจทย์อยู่หลายครั้งหลายหน  แต่ไม่มีความเห็นออกมาชัดๆสักเท่าไรว่าคุณคิดยังไงแน่  และที่ตั้งโจทย์แต่ละเรื่องนั้น ในใจคุณคิดอะไรอยู่  ดิฉันก็ดูไม่ออก
คุณบอกออกมาเลยดีไหมว่าคุณคิดอะไร    ดิฉันเชื่อว่าคุณ มีความรู้พอจะไม่ถามอย่างเดียวโดยตัวเองก็ไม่รู้ว่าสงสัยเรื่องอะไรหรือว่ามีแต่คำถามแต่ไม่มีคำตอบเป็นเงาๆอยู่ในใจ
พูดง่ายๆอีกทีว่าดิฉันสงสัยว่าคุณมีคำตอบอยู่ในใจแล้วละว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ ไม่ได้จารึกสมัยพ่อขุนราม หรอก  อย่างน้อยก็ในความเชื่อของคุณ  
 ในตอนแรกคุณอาจจะคล้อยตามดร.พิริยะในหลายประเด็นเสียด้วยซ้ำ   แต่ต่อมาเมื่อเห็นคำชี้แจงของดร.ประเสริฐบ้างท่านอื่นบ้างคุณก็ค่อยๆตัดประเด็นว่าศิลาจารึกทำขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ออกไป   แต่ยังไงคุณก็ไม่เชื่อว่าเป็นของแท้ที่สร้างขึ้นในสมัยพระราชโอรสพระองค์ที่สองของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  พระอนุชาของพ่อขุนบาลเมือง   ใช่ไหมคะ?
(นี่คือคำถามค่ะ)
ความไม่เชื่อของคุณเห็นได้จากการตั้งคำถามเอาไว้หลายข้อ แสดงถึงความคิดที่คุณแปร่งๆกับศิลาจารึกแท่งนี้   เรื่องความลักลั่นของวรรณยุกต์ก็เป็นข้อหนึ่งที่เป็นข้อสงสัยของคุณ
ถ้าดิฉันเดาถูกทั้งหมด หรือเดาถูกส่วนใหญ่   ดิฉันจะตั้งคำถามย้อนกลับไปหาคุณดีกว่า
ว่าการเขียนวรรณยุกต์อย่างถูกต้องตามระเบียบของศิลาจารึก ทำให้คุณสงสัยอะไร?
สงสัยว่าของแท้ต้องลักลั่น  ของไม่แท้ ก็เลยไม่ลักลั่นยังงั้นหรือคะ?
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 01 ก.ย. 04, 21:24

 ผมยืนยันอย่างที่ได้บอกไว้หลายครั้งแล้วครับ คือผมยังไม่มีความเห็นสุดท้ายกับเรื่องนี้แต่อย่างใด

ผมไม่ได้ pro อ.พิริยะ และกลับมองว่าการที่อ.พิริยะใช้วิธีการตั้งสมมติฐานว่าหลักที่ ๑ สร้างในสมัย ร.๔ และใช้เกณฑ์นี้ในการทำงานวิจัยโดยพยายามหาว่าความในหลักที่ ๑ นั้น "หยิบยก" มาจากหลักใดบ้าง กลับสร้างความสับสนและเกิดกระแส "ฟันธง" โดยขาดความรู้ความเข้าใจ อย่างที่ได้เห็นจากความเห็นของคนส่วนหนึ่งในสังคมขณะนี้

มองในทางมุมกลับกันนักวิชาการส่วนหนึ่งก็ใช้หลักที่ ๑ เป็นเกณฑ์ยึดถือว่านี่คืองานของพ่อขุนราม(หรืออย่างน้อยก็งานสมัยสุโขทัย) และทำงานวิจัยโดยใช้ความเชื่อนั้นเป็นฐานโดยไม่สนใจถึงความผิดปกติที่มีอยู่ การทำเช่นนี้ไม่ได้ต่างอะไรกับสิ่งที่อ.พิริยะทำอยู่

ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เคยรู้จักหลักที่ ๑ แค่หนังสือเรียน และต่อมาก็เป็นงานเขียนงานวิเคราะห์ของนักวิชาการทั้งหลาย ความคิดเห็นสายของอ.ประเสริฐ และสายอ.พิริยะผมได้เห็นมาก่อนกระทู้นี้เป็นส่วนมาก และมองว่าเป็นเรื่องปกติ

เรามีจารึกโบราณอยู่หลักหนึ่ง นักวิชาการกลุ่มหนึ่งตั้งข้อสงสัยว่าผิดปกติ และตั้งสมมติฐานว่าถูกสร้างขึ้นในยุคหลัง และพยายามอธิบายสิ่งที่ปรากฎในจารึกโดยยึดสมมติฐานนั้น กลุ่มนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งพยายาม defend โดยการชี้แจงข้อ"กล่าวหา"ดังกล่าวให้ตกไปเป็นข้อๆ

ทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการปกติในงานวิชาการนะครับ

ผมบอกว่าผมยังไม่มีข้อสรุป ก็เพราะอย่างที่ว่า ข้อนำเสนอของอ.พิริยะหลายข้อทำโดยยึดว่าหลายๆอย่าง"สอดคล้อง"หากว่าจารึกหลักที่ ๑ สร้างโดย ร.๔ แต่ผมไม่เห็นด้วย เพราะการพิสูจน์ได้ว่า 2+2=4 ไม่ได้แปลว่า 1+3 จะไม่มีทางเท่ากับ 4 ได้ มันคนละเรื่องกัน

แต่ทั้งนี้คำอธิบายของอ.ประเสริฐก็ไม่สามารถปิดบังความจริงที่ปรากฎอยู่ได้ คือหลักที่ ๑ แปลกจริงๆ ไม่ได้ อ.พิริยะคนเดียวที่เห็นว่าแปลก ท่านจันทร์ก็เห็น Vickery ก็เห็น อ.ศรีศักรก็เห็น อ.พิเศษก็เห็น อ.นิธิก็เห็น ไมเคิล ไรท์เห็น ฯลฯ แต่ละท่านแต่ละคนก็มีสมมติฐานที่แตกต่างกันบ้างเหมือนกันบ้าง ผมว่าแม้แต่อ.ประเสริฐเองท่านก็เห็น แต่ท่านมีคำอธิบายของท่านเองเช่นเดียวกัน

"ความแปลก"ของหลักที่ ๑ นี่มีความหมายในตัวเองอยู่แล้ว ของจะแปลกได้ต้องไม่เหมือนใคร นั่นคือต้องเทียบกับหลักอื่นๆ มิฉะนั้นจะไม่เห็นความแปลกนั้นแต่อย่างใด เราเองอยู่ในยุคที่คนธรรมดาสามารถเข้าถึงหลักฐานชั้นต้นจำนวนหนึ่งอย่างไม่ยากนัก เป็นโอกาสอันดีที่จะได้ไปเห็นสิ่งที่นักวิชาการหลายๆท่านเห็นว่า "แปลก" และเลือกที่จะดูตามวิจารณญานของตนเองได้ว่า "แปลก" หรือไม่ อย่างไร ผมว่าไม่น่าจะละทิ้งโอกาสนี้ไปนะครับ ดีกว่าที่จะมารับฟังแต่ความเห็นของคุรุทั้งที่หลักฐานจริงอยู่แค่เอื้อมมือนี่เอง

ในช่วงชีวิตของผมเอง อาจจะอยู่ได้รู้เห็นคำตอบที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นพ่อขุนรามทรงสร้าง พญาลิไททรงสร้าง ร.๔ ทรงสร้าง หรือมือมืดที่ไหนจะแอบทำขึ้นมาตอนปลายกรุงศรีอยุธยาผมก็พอใจทั้งนั้นแหละครับ หากมันเป็นความจริงและพิสูจน์ได้โดยไม่ต้องสงสัย

น่าเสียใจหากจะปล่อยโอกาสในการศึกษาทิ้งไปเพียงเพราะเชื่อในบทสรุปของคุรุ โดยที่แม้แต่ตนเองก็ไม่รู้ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 01 ก.ย. 04, 21:46

 กลับมาตอบคำถามของคุณเทาชมพู

ข้อแรก: ผมไม่ได้เชื่อว่าจารึกหลักที่ ๑ ไม่ได้สร้างขึ้นในสมัยพระราชโอรสพระองค์ที่สอง(จริงๆองค์ที่ ๓ - ลองอ่านจารึกดูนะครับ)ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระอนุชาของพ่อขุนบาลเมืองครับ เพราะอย่างที่ว่า ถึงความแปลกจะมีอยู่มาก แต่ใครจะรู้ ทั้งหมดนี้อาจจะเป็นเพราะพระอัจฉริยภาพของพ่อขุนรามคำแหงอย่างที่อ.ประเสริฐตั้งข้อสังเกตไว้จริงๆครับ

สำหรับผม ไม่ได้ตัดคำตอบใดออกไปเลยแม้แต่ข้อเดียวครับ (ยกเว้นเรื่องที่ว่าทั้ง ๔ ด้าน จารในสมัยพ่อขุนราม ซึ่ง obvious อยู่แล้ว)

คำถามที่สอง: การเขียนวรรณยุกต์อย่างถูกต้องตามระเบียบของศิลาจารึก ทำให้คุณสงสัยอะไร?
สงสัยว่าของแท้ต้องลักลั่น ของไม่แท้ ก็เลยไม่ลักลั่นยังงั้นหรือคะ?

ขอตอบว่า: จารึกนั้นเป็นของจริง จับต้องได้ ไม่ใช่ของปลอมแน่ แต่จะสร้างโดยใครสมัยไหนนั้น ผมยังข้องใจ เพราะอย่างที่เห็น เรื่องความเคร่งครัดในการวรรณยุกต์ อันเป็นเรื่องหนึ่งที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนหากได้อ่านจารึกที่ปริวรรตมาเป็นตัวอักษรปัจจุบัน ไม่ใช่ฉบับแปลที่ความผิดปกติข้อนี้ถูกกลบหายไป หลักที่ ๑ ไม่เหมือนจารึกภาษาไทยหลักใดๆที่มีอายุเก่าอย่างน้อยอีกสองร้อยกว่าปีต่อมา ผมแปลความหมายได้ดังนี้
- จารึกนี้ถูกสร้างขึ้นหลังจากนั้น ในยุคที่มีการใช้วรรณยุกต์อย่างเคร่งครัดแล้ว
- พ่อขุนรามฯมีพระปรีชาสามารถเหนือใครในยุคสมัยเดียวกันและแม้คนรุ่นหลังหลายร้อยปี อย่างที่อ.ประเสริฐว่าไว้ว่าระบบการเขียนอักษรไทยได้เสื่อมลงภายหลังรัชสมัยของพระองค์ก่อนที่จะค่อยๆถูกพัฒนาขึ้นมาให้เหมือนกับที่พระองค์เคยสร้างไว้ในหลายร้อยปีถัดมา

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นไปได้ทั้งสองประการ แต่โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าข้อแรกน่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่า ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้เหมารวมว่าผมจะต้องไปเชื่อว่า ร.๔ จะเป็นผู้ทรงสร้าง เพราะไม่มีข้อเท็จจริงอะไรจะไปยืนยันอย่างนั้นได้แต่อย่างไรครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 01 ก.ย. 04, 22:12


ความเห็นของคุณ CH
เรามีจารึกโบราณอยู่หลักหนึ่ง นักวิชาการกลุ่มหนึ่งตั้งข้อสงสัยว่าผิดปกติ และตั้งสมมติฐานว่าถูกสร้างขึ้นในยุคหลัง และพยายามอธิบายสิ่งที่ปรากฎในจารึกโดยยึดสมมติฐานนั้น กลุ่มนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งพยายาม defend โดยการชี้แจงข้อ"กล่าวหา"ดังกล่าวให้ตกไปเป็นข้อๆ

ทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการปกติในงานวิชาการนะครับ

ความเห็นของดิฉัน
เรามีจารึกโบราณอยู่หลักหนึ่ง แต่เดิมมาก็เชื่อข้อความในนั้นว่าเป็นข้อเท็จจริงในอดีตเมื่อเจ็ดร้อยปีก่อน สร้างขึ้นในสมัยที่ระบุไว้ในหลัก  ต่อมานักวิชาการกลุ่มหนึ่ง เช่นไมเคิล ไรท์ และดร.พิริยะ ตั้งข้อสงสัย  ว่าข้อความในนั้นไม่ใช่ข้อเท็จจริง  ความไม่จริงที่สำคัญที่สุดคือมันเพิ่งสร้างขึ้นในยุคหลังจากนั้นราว ๕๐๐ ปี   ดังนั้นก็แปลได้ว่าเรื่องราวในจารึกเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น ด้วยฝีมือผู้ที่เกิดไม่ทันและไม่รู้ไม่เห็นเหตุการณ์ในจารึกนั้นจริงๆ  
กลุ่มนี้จึงอธิบายความเชื่อของตน โดยอ้างหลักฐานเปรียบเทียบหลายอย่าง หักล้างความเชื่อเดิมๆ

กลุ่มนักวิชาการที่เชื่ออย่างแรกเช่นดร.ประเสริฐ หักล้างเหตุผลของกลุ่มที่เชื่ออย่างหลังโดยอ้างหลักฐานอื่นๆ ทั้งสมัยสุโขทัยและอยุธยา   หักล้างความเชื่อใหม่
ทั้งหมดนี้เป็นการเสนอและแย้งเชิงวิชาการ ที่เป็นกระบวนการปกติ

สิ่งที่คุณ CH เรียกว่าแปลก ดิฉันเรียกว่าลักษณะเฉพาะของศิลาจารึก     นักวิชาการทั้งสองกลุ่มก็มองเห็นเช่นกัน

หลายคนเอาลักษณะเฉพาะนี้ไปตีความ   สู่ความเชื่อคนละแบบ  บางคนเชื่อว่าแต่งขึ้นสมัยพระเจ้าลิไท ไม่ใช่พ่อขุนราม ฯลฯ
ลักษณะเฉพาะหรือความแปลกนั้นถ้ามันอยู่เฉยๆ หาคำสรุปไม่ได้   มันก็จะไม่มีประโยชน์อะไร
บางคนหาคำตอบได้อย่างอาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์   แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยุติ และดิฉันไม่ค่อยจะแน่ใจว่ามันมีข้อยุติ  
อ.พิเศษเองก็ไม่ได้ฟันธงว่าที่ท่านสรุปเช่นนั้นจะต้องเป็นแบบนั้น  แต่ท่านเห็นของท่านอย่างนั้น

คุณ CH ยังไม่เดินไปถึงขั้นความคิดตกผลึก  ยังอยู่ในระหว่างตั้งข้อสังเกต     คำตอบที่น่าพอใจที่สุด เกิดจากคุณแสวงหาเอง

ความคิดเห็นของดิฉัน - ศิลาจารึกหลักที่ ๑ สร้างสมัยสุโขทัย
จบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 01 ก.ย. 04, 22:18

 คุณ CH เคยถามอาจารย์ที่สอนเรื่องจารึกไหมคะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 02 ก.ย. 04, 02:12

 ยอมรับอย่างเต็มใจเลยครับ ว่าผมยังเดินไปไม่ถึงขั้นความคิดตกผลึก ผมยังหาคำตอบที่น่าพอใจให้กับตัวเองไม่ได้ ตราบใดที่ยังเป็นอย่างนี้ผมก็คงอยู่ในวังวนนี้ มองหาข้อมูลใหม่ๆ รับฟังความคิดเห็นใหม่ๆ เผื่อว่ามันจะตอบข้อข้องใจให้ผมสบายใจได้สักทีแหละครับ

สำหรับเรื่องอาจารย์สอนจารึกนั้น ไม่เคยถามเลยครับ เพราะไม่รู้จักสักท่านเดียว คุณเทาชมพูมีอะไรจะชี้แนะหรือครับ? แน่นอนว่าผมยินดีรับข้อมูล/ความคิดเห็นใหม่ๆเสมอ

ทั้งนี้หากคุณเทาชมพูเบื่อที่จะสีซอให้ควายอย่างผมฟังแล้วล่ะก็ ผมยินดีที่จะยุติการสนทนาเรื่องนี้ครับ

เจ้าบ้านว่าอย่างไรก็ว่าตามกันอยู่แล้วครับ    
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 02 ก.ย. 04, 12:16

 โอ๋   คุณ CH ไม่น่าใจน้อยนะคะ    คนที่ควรน้อยใจน่าจะเป็นดิฉันมากกว่า   เพราะโพสต์มาเกือบ 100 ความเห็น   เพิ่งจะรู้เดี๋ยวนี้เองว่าสิ่งที่คุณข้องใจ ไม่ใช่เรื่องที่ไปหามาแทบล้มประดาตาย
ถ้าบอกกันเสียแต่คห. 1 ป่านนี้คงไปสอบถามนักวิชาการมาให้ได้ตรงเป้าหมายแล้ว

เดี๋ยวจะลองไปถามมาให้   เพราะอ่านที่คุณสงสัยแล้ว  เป็นสมมุติฐานที่ฟังแล้ว ไม่แน่ใจว่าคุณสงสัยอยู่คนเดียวหรือว่าหลายคนสงสัยร่วมกัน
เพราะอาจตีความได้หลายทาง
1) วรรณยุกต์  ในยุคกระโน้น  กระจัดกระจายไม่มีแบบแผนแน่นอน (เรียกว่าไม่เข้าแถว) มาก่อน  แล้วคนจารึกหลักที่ 1 จึงเรียกมาเข้าแถวให้เรียบร้อยในภายหลัง
หรือ
2) วรรณยุกต์ถูกกำหนดเข้าแถวมาก่อน  แล้วไปแตกแถวทีหลัง
3) วรรณยุกต์เข้าแถวบ้างไม่เข้าแถวบ้าง  แล้วแต่ใครจะเรียกแถวหรือไม่เรียก

สมมุติฐานของคุณ CH เป็น 1 ในหลายๆข้อเท่านั้น  ไม่ใช่ว่ามีข้อเดียว
ขอบคุณที่บอกเรื่องจำนวนพระราชโอรสค่ะ ลืมนึกถึงองค์แรกที่ตายไปตั้งแต่ยังเล็ก
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 02 ก.ย. 04, 18:16

 ไม่ได้น้อยใจหรอกครับ ตระหนักอยู่ว่าคุณเทาชมพูลำบากมาสแกนมาโพสต์ แต่คิดว่าไม่เสียเปล่าแน่ เพราะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ(เชื่อว่าไม่ใช่ผมคนเดียวแน่ที่ตามอ่าน) จะได้รับข้อมูลจำนวนมากครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 03 ก.ย. 04, 10:48

 ไปถามมาให้แล้วค่ะจากอาจารย์ที่จบมาทางด้านจารึก  เธอตอบว่าข้อที่ 3 ค่ะ
เหมือนอย่างที่ดิฉันตอบไว้ก่อนหน้านี้ว่าการสะกดตัว ไม่มีรูปแบบตายตัวมาจนถึงรัตนโกสินทร์
การจารึกวรรณยุกต์ลง บ้าง ไม่จารึกบ้าง รวมอยู่ในการสะกดด้วยเช่นกัน

ถ้าจะให้อธิบาย ก็ต้องย้อนกลับไปใหม่ว่า ประเด็นของคุณCH เกี่ยวกับความเคร่งครัดในเรื่องใช้วรรณยุกต์  ยังแคบเกินกว่าจะสรุปได้
เพราะจากการศึกษาจารึกจำนวนนับร้อยหลัก   การมองว่าหลักไหนสร้างขึ้นก่อนหลังหลักไหน หรือหลักไหนร่วมสมัยกับหลักไหน
ต้องดูหลายๆอย่างรวมกัน เช่นอักขรวิธี  เนื้อหา ฯลฯ    วรรณยุกต์เป็นส่วนประกอบรายละเอียดของอักขรวิธี   เป็นส่วนน้อยเกินกว่าจะยกมาตัดสินได้ โดยไม่รวมองค์ประกอบโดยรวม

การอ่านจารึกจำนวนมากๆ รวมมาถึงสมุดข่อย ใบลานจารึก สมัยอยุธยาและล้านนา  ทำให้มองเห็นว่า การใช้พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ลักลั่นกันนั้นเป็นของปกติ     การใช้วรรณยุกต์ในศิลาจารึกอย่างเคร่งครัดตามที่คุณ CH มอง จะว่าไปก็ปกติเช่นกัน  
ทำไมถึงปกติ
เพราะวิธีคิดของเราในยุคปัจจุบัน คือ มีมาตรฐานการใช้ภาษาอยู่ในใจ จะกำหนดโดยราชบัณฑิตยฯหรือตำราของกระทรวงศึกษาฯก็ตาม  ทำให้เราเกิดความคิดว่า ภาษาที่เขียนถูก มันมีอยู่   และมันมีภาษาที่เขียนผิดเช่นกัน
แต่ย้อนไปในอดีตตั้งแต่ 200 ปีถอยหลังไป  มันไม่มีภาษาที่เขียนถูกและเขียนผิด
มันมีภาษาที่เขียนตามความเข้าใจ   เข้าใจจากอะไร  คำตอบคือเข้าใจจากเสียงที่ได้ยิน
เมื่อได้ยินเสียงที่เขาพูดกันยังไง   ก็ถ่ายทอดลงด้วยพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตามความเข้าใจ ยังงั้น
แต่คนที่อยู่ในแต่ละท้องถิ่น   แต่ละรัชกาล  หรือแม้แต่ว่ายุคเดียวกันแต่ละกลุ่มแต่ละพวก ถ่ายทอดเสียงลงมาไม่เหมือนกัน    เพราะความเข้าใจของเขายังไม่มีมาตรฐานเดียวกัน
คำที่จารึกลงในหิน  แม้แต่คำเดียวกัน ก็อาจจะผิดกันด้านสระ  เช่น บรรทัดบน สะกด เอีย   บรรทัดล่างสะกด เอือ ก็มี
วรรณยุกต์ยิ่งไม่ต้องพูดถึง   มีโอกาสจะผิดจากกันได้มาก ตามเสียงที่ถ่ายทอดไม่เหมือนกัน

ยกตัวอย่าง ว่า ในเว็บบอร์ดคนละแห่ง   คำอุทานว่า ว้าย   นางสาว ก. สะกดว่าว้าย    นางสาว ข. สะกดว่า หวาย  นางสาวค. สะกด ว๊าย   สองคนหลังบอกว่าหล่อนร้องของหล่อนยังงั้น หวายและ ว๊ายตรงกับเสียงหล่อนมากกว่า  เพราะแหลมสูงกว่า ว้าย
ยังงี้ เวลาผ่านไป 500 ปี  เราจะตั้งข้อสงสัยได้หรือไม่ว่า  ทั้งสองคำนี้วรรณยุกต์ลักลั่นกัน แสดงว่า น.ส. ก ผู้สะกดวรรณยุกต์ครบถ้วนในเว็บบอร์ดที่หนึ่งเกิดก่อน   อีกสองคนในเว็บบอร์ดหลังเกิดทีหลัง
คำตอบคือไม่ได้

ศิลาจารึกหลักที่ 2 ถ้าจำไม่ผิดเป็นจารึกของศรีสัชนาลัย    วรรณยุกต์ที่ไม่เคร่งครัดเหมือนหลักที่ 1อาจจะไม่ใช่ ไม่เคร่งครัด แต่วิธีการออกเสียงของคนแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกันก็ได้ค่ะ  
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 03 ก.ย. 04, 15:10

 เรื่องการใช้วรรณยุกต์เป็นแค่ ๑ ในหลายๆเรื่อง แต่เห็นได้ชัด คุณเทาชมพูยังไม่เข้าใจว่าผมพูดถึงอะไรอยู่

คืออย่างนี้ครับ ไม่ใช่เรื่องใส่ผิดหรือถูกหรอกครับ เพราะเราไม่รู้ว่าสมัยก่อนเขาใช้วรรณยุกต์สูงต่ำของแต่ละคำอย่างไร ยกเว้นแต่ว่าคำนั้นจะพบบ่อยจนเรารู้นะครับ ผมว่าโดยมากแล้วก็ใช้ตรงกับปัจจุบัน(ไม่ว่าหลักไหน) คำที่ไม่ตรงหลายคำเราก็รู้ อย่างคำว่า "ทั้ง" ที่ใช้เป็น "ทัง" อันนี้เป็นทุกหลักทุกที่ อย่างนี้เราก็รู้แล้วว่าเขาใช้กันในรูปนี้

เรื่องใส่วรรณยุกต์ผิดบ้างเล็กน้อย อันนี้เป็นเรื่องปกติเหมือนเราพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ก็ยังพิมพ์ผิดบ้าง อันนี้เป็น human error เป็นเรื่องธรรมดา

สิ่งที่ผมพยายามบอกคือ การใส่บ้างไม่ใส่บ้าง อย่างในจารึกหลักเดียวกันคำว่า"พ่ขุน" บางทีเขียน "พขุน" บางที่เขียน "พ่ขุน" อันนี้เรียกว่าการใส่วรรณยุกต์ไม่เคร่งครัด คือเรารู้อยู่ว่าเขาใช้เสียงไหน(?) แต่เขาจะใส่หรือไม่ใส่ยังจับหลักไม่ถูก ดูคล้ายๆกับว่าเขียนตามอำเภอใจ ลองดูตัวอย่างหลักที่ ๒ นี้นะครับ

๓๗.นทราทิตยผูนิงชีพขุนรามราชปราญรูธรรมกอพระสรีรดดนธาดุอนนนิงในสริสชนาไลหลานพขุนส
๓๘.ริอีนทราทิตยผูนิงชีธรมราชาพุลรูบุนรูธรรมมีปริจญาแกกํบมิกลาวถิเลย๐พ่ขุนผาเมิองเจาเมิอง

บรรทัดที่ ๓๗ มีคำว่า พขุน อยู่ท้ายบรรทัด ในขณะที่ท้ายบรรทัดที่ ๓๘ มีคำว่า พ่ขุน ปรากฎอยู่ ดูจากบุพบทไม่ต้องสงสัยเลยว่าหมายถึงคำเดียวกันแน่นอน บรรทัดติดกันแท้ๆที่หนึ่งใส่อีกที่หนึ่งไม่ใส่

และเกือบทุกหลักก็เป็นอย่างนี้ คือใส่บ้างไม่ใส่บ้าง(คำเดียวกันในหลักบ้างใส่บ้างไม่ใส่) ไม่ใช่เพราะความนิยมในการเขียนคำเดียวกันที่ต่างกันอย่าง ว้าย กับ หวาย และก็เป็นอย่างที่ผมไปค้นดู คือในหลักเดียวกันจะเป็นแบบนี้หมด เรียกว่าหลักไหนใส่ถึง 50% ก็ถือว่ามากแล้วครับ ผมยังไม่ได้ถึงกับลองทำเป็น quantitative record เอาไว้ แต่เท่าที่ประมาณด้วยการอ่านผ่านๆก็เป็นอย่างที่ว่าน่ะครับ 10-50% ก็แล้วกัน อย่างหลัก ๒ ถือว่าใส่น้อยมาก อย่างเก่งก็ไม่น่าเกิน 10%

จะมียกเว้นก็แต่เฉพาะหลักที่ ๑

เพราะหลักที่ ๑ ใส่ทุกที่ 100% (หรือไม่ก็ 99% ส่วนที่หลุดไป ถ้ามี ผมคิดว่าน่าจะถือได้ว่าเขียนผิดเหมือนเราพิมพ์ผิดไงครับ)  และผมเจอแค่หลักเดียวโดดๆที่เป็นอย่างนี้

ความต่างตรงนี้เห็นได้ชัดเจนว่ามีนัยสำคัญ เรื่องนี้ผมจึงว่าหลักที่ ๑ แปลก

เพราะนั่นความว่ามีหลักที่ ๑ หลักเดียวเท่านั้นที่เรียกวรรณยุกต์เข้า "แถวตรง" เป็นระเบียบเรียบร้อย ที่เหลือเป็นแบบ "ตามสบายพัก" หรืออย่างเก่งก็ "ตามระเบียบพัก"

ก็น่าจะมีคำอธิบายที่ดีสำหรับความแปลกตรงนี้ครับ หากว่า "วรรณยุกต์เข้าแถวบ้างไม่เข้าแถวบ้าง แล้วแต่ใครจะเรียกแถวหรือไม่เรียก" จะ่มีพ่อขุนรามอยู่ "พระองค์เดียว" ที่ทรง "เรียกแถว"
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 19 คำสั่ง