|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 29 มิ.ย. 04, 19:37
|
|
น่าสนใจครับ แต่ผมไม่ค่อยดูโทรทัศน์เท่าไหร่ รอฟังคนในเรือนไทยเล่าให้ฟังดีกว่า แหะๆๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงร้อย
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 29 มิ.ย. 04, 22:37
|
|
ดิฉันเคยมีเพื่อนที่หน้าตาไม่เหมือนคนไทยเลย ได้ความว่า ต้นสุกลของคุณแม่เค้า เป็นแขกมาจากเปอร์เซีย แขกอาหรับส่วนใหญ่ที่เข้ามาเมืองไทยนี่ ไม่ทราบว่ามาจากเปอร์เซียหรือที่อื่นบ้างนะคะ จำได้เลาๆว่า กองทหารอาสาในสมัยพระนารายณ์ ที่ประกอบด้วยทหารหลายชาติ (รวมทั้ง ญี่ปุ่นและ โปรตุเกสด้วย) ก็มีกองทหารเปอร์เซียด้วยเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
นิรันดร์
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 30 มิ.ย. 04, 08:10
|
|
ต้นตระกูลผมก็มาจากประเทศรอบ ๆ ไทยนี่แหละครับ ส่วนต้นตระกูลฝ่ายคุณภริยาก็มาจากเจ้าภาพบอลยูโร 2004 ลูก ๆ ผมก็เลยเป็นไทยแท้ ร้อยเปอร์เซ็น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
เมรี
อสุรผัด

ตอบ: 22
ทำงาน - NECTEC
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 30 มิ.ย. 04, 17:36
|
|
ตอนนี้ติดตามเรื่อง ฟ้าใหม่ เหมือนกันค่ะ ดีจังที่ได้ดูตั้งแต่ตอนแรก น่าเสียดายค่ะ ที่หนังสือเรื่องนี้ไม่เอามาพิมพ์ใหม่อีกนะคะ สงสัยว่าจะมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์หรือเปล่าไม่รู้ ปกติเรื่องที่เอามาทำเป็นละคร มักจะจะเห็นพิมพ์หนังสือใหม่เสมอ อยากอ่านสำนวนคนเขียนค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 02 ก.ค. 04, 14:22
|
|
ไม่มีโอกาสได้ดูเลยครับ แต่เห็นว่ามีประเด็นที่คนหยิบยกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์กันในแง่ข้อเท็จจริงของประวัติศาสตร์อยู่มาก
ทำให้กลับมาคิดว่างานเพื่อความบันเทิงแบบนี้มีผลต่อความคิดความเชื่อของคนยุคสื่อไร้พรมแดนอย่างในปัจจุบันนี้มากกว่างาน reproduction ทางประวติศาสตร์ทั่วๆไป
พาลนึกไปถึงอิทธิพลทางความเชื่อของนิยาย The Davinci Code ของ Dan Brown ขึ้นมาเชียวครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
|
ตุ๊ก
อสุรผัด

ตอบ: 1
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 05 ก.ค. 04, 18:11
|
|
ขอบคุณนะคะที่กรุณาเล่าให้ฟังค่ะ เพราะกำลังสงสัยอยู่ว่าทำไมคุณคนใหญ่กับคุณคนกลางเป็นพี่น้องกันในเรื่อง เพราะพอจะทราบว่าจริง ๆ เป็นเพื่อนรักกันค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 06 ก.ค. 04, 00:43
|
|
1.ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือชิ้นใดที่บ่งชี้ว่าพระเจ้าตากเคยพบกับร.1ก่อนที่พระองค์ทรงเข้าทำราชการกับพระเจ้าตากหลังจากที่ตั้งเมืองที่กรุงธนบุรี 2-3 ปีแล้วนะครับ ทั้งนี้โดยการชักชวนของกรมพระราชวังบวรฯที่เข้ารับราชการกับพระเจ้าตากตั้งแต่ที่ตีฝ่าออกมาจากกรุงศรีอยุธยาไม่นานนัก
2.พระเจ้าตากทรงมีพระชนมายุมากกว่าพระพุทธยอดฟ้าฯ 2 ชันษาครับ ผมก็งงเหมือนกันเรื่องคุณใหญ่ คุณกลาง คุณเล็กนี่
3.จะว่าเป็นเพื่อนรักกัน อันนี้ก็ไม่ทราบได้ แต่โดยความเป็นจริงแล้ว พระพุทธยอดฟ้าฯเข้าทำราชการกับพระเจ้าตากเมื่อพระเจ้าตากมีสถานะเป็นกษัตริย์แล้ว อีกทั้งยังไม่เคยเป็นสหายร่วมรบมาแต่ต้น(กรมพระราชวังบวรยังเป็นไปได้มากกว่า) นอกจากนี้สภาพการเมืองภายในในช่วงนั้น น่าจะมีความตึงเครียดอยูบ้างไม่มากก็น้อย น่าจะเป็นไปได้ยากว่าจะมีความสัมพันธ์ในรูปแบบพระสหาย
ผมก็เข้าใจนะว่านี่คือนิยาย แต่อย่างที่ว่า ดูมันจะกลายเป็นความจริงของคนส่วนมากที่ได้ติดตาม
นี่แหละพลังของสื่อยุคใหม่
ยิ่งได้อ่านบทความของผู้ที่ใช้ชื่อว่า สิริอัญญา ในนสพ.ผู้จัดการแล้ว ผมว่า น่ากลัวมาก!
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 06 ก.ค. 04, 09:42
|
|
พูดถึงหลักฐาน เรื่องฟ้าใหม่ ศุภร บุนนาค ใช้หลักฐานข้อมูลเป็นจำนวนมากมายหลายแหล่งด้วยกันเป็นฉากหลังของนวนิยาย เท่าที่เห็นว่าน่าจะเป็นหลักใหญ่ๆ ก็คือ พระราชพงศาวดาร ฉบับต่างๆ คำให้การของขุนหลวงหาวัด คำให้การของชาวกรุงเก่า อภินิหารบรรพบุรุษ ปฐมวงศ์ จดหมายเหตุกรมหลวงนรินทรเทวี ส่วนที่เป็นวรรณคดีก็เช่น ขุนช้างขุนแผน พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ฯลฯ และท้ายสุดคือคำบอกเล่าที่ตกทอดกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษของผู้ประพันธ์เอง
การเลือกใช้ข้อมูลสำหรับเขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์นับเป็นเรื่องที่ลำบาก เพราะนักเขียนจำต้องเลือกข้อมูลเดียวสำหรับเหตุการณ์เดียว ไม่สามารถจะแจกแจงข้อมูลหลายๆ ด้านในเหตุการณ์เดียวเหมือนเวลาเขียนตำราหรืองานวิจัยได้ ซ้ำข้อมูลที่นำมาเขียนก็ต้องตัดทอนหรือดัดแปลงให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและจุดมุ่งหมาย จะใส่ลงไปทั้งหมดก็จะกลายเป็นตำรา ไม่ใช่นวนิยาย ศุภร บุนนาคจึงเรียบเรียงตัดทอนและดัดแปลงข้อมูลต่างๆ เพื่อบรรจุได้ลงตัวในเนื้อเรื่อง เธอเลือกข้อมูลจากหลักฐานทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิปะปนกัน
ส่วนความน่าเชื่อถือของข้อมูลแต่ละแหล่งนั้น เข้าใจว่าผู้ประพันธ์จะตัดสินโดยวิจารณญาณ และพื้นความรู้ทางอักษรศาสตรบัณฑิตของตนเอง ส่วนข้อสุดท้ายคือตัดสินโดยดูว่า ตรงกับจุดมุ่งหมายในการแต่งหรือไม่ เธอระบุว่า
“เป็นเรื่องที่ใช้ฉากของจริง ข้าวของทุกอย่างที่เอามาเข้าฉากก็พยายามให้สมจริง เป็นของในสมัยให้มากที่สุด แต่ตัวละครนั้นแต่งขึ้นทั้งนั้น ดังนั้นจึงพยายามไม่เรียกชื่อตัวละคร แต่เรียกว่า คุณกลาง คุณเล็ก แทน ผู้อ่านที่ชอบประวัติศาสตร์อยู่แล้วก็คงพอทราบว่าตั้งใจจะให้หมายถึงใคร” (ฟ้าใหม่ หน้า ๑๕)
การแต่งนิยายอิงประวัติศาสตร์ นักประพันธ์สามารถจะใช้หลักฐานทั้งที่เชื่อถือได้ และไม่น่าเชื่อถือ มาประกอบจินตนาการของตัวเอง เพราะถือว่านี่คือเรื่องสมมุติ ไม่ใช่ข้อเท็จจริง แม้จะ"อิง" ข้อเท็จจริงบางประการ ก็แค่"อิง" ไม่ใช่ "สะท้อน" นิยายอิงประวัติศาสตร์ไม่สามารถนำไปอ้างว่าเป็น "หลักฐานข้อมูล" ทางประวัติศาสตร์ได้ เว้นแต่มีการยืนยันว่ามันตรงกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถืออยู่แล้ว
นโปเลียนในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ก็เป็นคนละองค์กับนโปเลียนในนิยาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 06 ก.ค. 04, 09:49
|
|
ตัวละครสำคัญอีก ๓ คน คือ คุณใหญ่ คุณกลาง คุณเล็ก ในด้านประวัติความเป็นมา ศุภร บุนนาคถือตามหนังสือ ปฐมวงศ์ และ อภินิหารบรรพบุรุษ เป็นส่วนใหญ่ แต่กล่าวถึงอย่างย่นย่อรวบรัด ไม่บรรยายถึงบทบาทของพ่อแม่ของทั้ง ๓ คน อาจจะเห็นว่าไม่จำเป็น หรือไม่เหมาะสมจะกล่าวถึงมากเกินไป หรืออย่างไรก็ตามแต่ คนอ่านจึงทราบประวัติของคุณใหญ่ (สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ) และคุณเล็ก (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) เพียงว่า
“บ้านนี้เขาผู้ดีเก่าแก่ย้อนขึ้นไปขั้นสุโขทัย” (ฟ้าใหม่ หน้า ๔๙)
“ไม่ใช่แต่ขุนนางนะอ่อน ออกพระพ่อเขาน่ะ เขานับทวนขึ้นไปถึงสายสุโขทัยนะลูกจ๊ะ ติดทางเจ้าแม่วัดดุสิตเป็นไร ผู้ดีเจ็ดแปดชั้นทีเดียวแหละ” (ฟ้าใหม่ หน้า ๔๑)
หนังสือ อภินิหารบรรพบุรุษ ลำดับความเป็นมาไว้ดังนี้ สมเด็จพระมหาธรรมราชา (เชื้อสายสุโขทัย) สมเด็จพระนเรศวรฯ หม่อมเจ้าหญิงบัว(เจ้าแม่วัดดุสิต) เจ้าพระยาโกษาปาน เจ้าพระยาวงวงษาธิราช พระยาราชนิกูล พระพินิจอักษร(ทองดี) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
สังเกตว่าน้ำเสียงของผู้ประพันธ์แสดงว่า ตระกูลของคุณใหญ่และคุณเล็กนั้น ไม่ใช่ตระกูลผู้ดีขุนนางธรรมดา ไม่เหมือนกับตระกูลของแสน หากทว่าสืบเชื้อสายกษัตริย์ถึง ๒ อาณาจักรด้วยกันคือ สุโขทัย และอยุธยาก่อนหน้าราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ แสดงความไม่เชื่อถือเนื้อความในหนังสือ อภินิหารบรรพบุรุษ อยู่หลายตอนด้วยกัน รวมทั้งพระราชประวัติบางส่วนของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ก่อนเสียกรุงครั้งที่ ๒ ด้วย แต่ก็ยอมรับว่า สกุลที่จะเป็นราชวงศ์จักรีก็ได้มีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติในกลุ่มผู้ดีเก่าอย่างกว้างขวาง และศาสตราจารย์วัยอาจ แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนลสรุปไว้ว่า ก่อน พ.ศ.๒๓๒๕ นั้น สกุลที่จะเป็นราชวงศ์จักรีได้แต่งงานเข้าไปสัมพันธ์อยู่กับสกุลใหญ่ทุกสกุล ที่เคยมีบุคคลในสกุลเป็นเจ้าพระยามาในอยุธยาหมดแล้ว
ความสัมพันธ์นี้ย่อมจะมีไม่ได้หากว่าสกุลดังกล่าวมิได้มีความเก่าแก่ หรือกว้างขวางเป็นที่ยอมรับในหมู่ขุนนางด้วยกัน เพราะการสมรสของบุคคลในระดับนี้ ย่อมคำนึงถึงความเหมาะสมในสังคมด้วยเป็นเกณฑ์
ศุภร บุนนาคได้ใช้ อภินิหารบรรพบุรุษ เป็นหนังสือพื้นฐานในการปูพื้นประวัติของคุณใหญ่ คุณกลาง และคุณเล็ก ตัวเธอเองอาจจะรู้ว่าหนังสือของ ก.ศ.ร. กุหลาบไม่อาจเป็นหลักฐานยืนยันข้อเท็จจริงได้ทั้งหมด เพราะผสมจินตนาการของผู้เรียบเรียงเข้าไปมาก แต่จะหาหนังสืออื่นที่กล่าวถึงรายละเอียดเบื้องหลังประวัติศาสตร์อย่างนี้ก็คงจะยาก เธอจึงใช้วิธีกล่าวอย่างย่นย่อเพียงว่า คุณใหญ่รับราชการเป็นหมาดเล็กวังหน้า เป็นที่นายสุดจินดาหุ้มแพรก่อนจะย้ายไปเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ส่วนน้องชายคือคุณเล็กก็เลื่อนขึ้นเป็นหุ้มแพรตำแหน่งเดียวกันแทนจนกระทั่งถึงตอนเสียกรุง
ถ้าถามว่าพระราชประวัติในความเป็นจริงเป็นอย่างไรนั้น มีหนังสืออีก ๒ เล่มที่นักวิชาการให้น้ำหนักเชื่อถือมากกว่า อภินิหารบรรพบุรุษ คือ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ปฐมวงศ์( คนละเรื่องกับของนายกุหลาบ) และพระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เรื่อง เทศนาพระราชประวัติและพงศาวดารกรุงเทพฯ ทั้ง ๒ เล่มนี้กล่าวตรงกันซึ่งอาจเป็นเพราะมาจากแหล่งข้อมูลเดียวกันว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ในสมัยอยุธยา มิได้ทรงรับราชการเป็นขุนนางโดยตรง แต่เคยเป็นมหาดเล็กในพระเจ้าอุทุมพร หลังจากนั้นจึงอยู่ในสังกัดเป็นพระพี่เลี้ยงพระองค์เจ้าอาทิตย์ พระโอรสเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ หลังจากเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์สิ้นพระชนม์แล้ว เมื่อพระชนมายุ ๒๕ พรรษา จึงเสด็จออกไปประทับที่อัมพวากับสมเด็จพระอมรินทร์ฯ เมื่อทรงอภิเษกสมรสแล้ว
ศุภร บุนนาค เขียนไว้ว่า คุณใหญ่ออกจากอยุธยาไปรับราชการเป็นหลวงยกกระบัตรราชบุรี เพราะเบื่อหน่ายสภาพการปกครอง และการขาดจริยธรรมในราชสำนัก ข้อนี้เป็นการตีความหรืออาจจะเรียกได้ว่าการเสริมแต่งของผู้ประพันธ์เอง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเสื่อมโทรมภายในของอยุธยา
ส่วนคุณเล็ก ผู้ประพันธ์บอกเพียงว่าเป็นมหาดเล็กหุ้มแพรต่อจากพี่ชาย รับราชการในพระเจ้าเอกทัศน์ ไม่มีการกล่าวรายละเอียดถึงชีวิตส่วนตัวและการครองเรือน
ส่วนคุณกลางหรือพระยาตากสินในสมัยปลายอยุธยา มีรายละเอียดน้อยกว่าคุณใหญ่และคุณเล็กในตอนต้นเรื่อง ผู้ประพันธ์ใช้ข้อมูลจาก อภินิหารบรรพบุรุษ (ซึ่งกล่าวไว้แล้วว่าเป็นหนังสือที่เล่ารายละเอียดประวัติกำเนิดของพระเจ้าตากสินฯ มากกว่าหนังสืออื่นๆ) กล่าวคือเอ่ยถึงคุณกลางว่าเป็นเชื้อจีน บุตรบุญธรรมของพระยาพระคลัง พูดภาษาต่างประเทศได้หลายภาษา และได้รับการศึกษาอบรมอย่างลูกผู้ดีชาวอยุธยา ไม่ต่างจากประวัติที่แพร่หลายกันอยู่แม้ในกระทั่งปัจจุบันนี้
การดำเนินเรื่องราวเกี่ยวกับคุณกลาง ในตอนกลางและบั้นปลาย ใช้หลักฐานจากพระราชพงศาวดารที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเรียบเรียงไว้โดยมาก เช่น การกล่าวถึงคุณกลางในฐานะพระยาตาก และพระยาวชิรปราการตามลำดับ การยิงปืนใหญ่โดยไม่ได้รับอนุญาตก็ดี การตีฝ่าทหารพม่าออกจากอยุธยาก็ดี ล้วนตรงกับเนื้อความที่ยอมรับกันอยู่ว่าเป็นหลักฐานที่รู้จักกันมากที่สุดเกี่ยวกับพระราชประวัติ
อย่างไรก็ตาม ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้รวบรวมและวิเคราะห์หลักฐานใหม่เกี่ยวกับพระราชประวัติ ข้อวิเคราะห์ของศาสตราจารย์ ดร. นิธิ ควรได้รับความสนใจ ในฐานะมุมมองของนักประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจจะเหมือนหรือไม่เหมือนหลักฐานที่ตีความกันมาแต่เดิมก็ได้
พระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่ศาสตราจารย์ ดร. นิธิ ตีความใหม่นี้ บางส่วนได้มาจากพระราชพงศาวดารบางเล่มที่ถูกมองข้ามมาก่อนว่าไม่น่าเชื่อถือ เช่น พระราชพงศาวดารฉบับปลีก หมายเลข ๒/ก ๑๐๑ แต่ศาสตราจารย์ ดร. นิธิ เห็นว่าเนื้อความและข้อมูลบางตอนที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ จึงรวบรวมและสรุปว่า
“พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระราชสมภพในฐานะสามัญชนลูกชาวจีนมีอาชีพค้าขายทางเกวียน และแม้ยังมีถิ่นฐานบ้านช่องและญาติพี่น้องอยู่ในภาคกลาง โดยเฉพาะที่พระนครศรีอยุธยาและลพบุรี แต่ก็ได้ทำการค้าอยู่ในหัวเมืองเหนือชายแดน เมื่อสบโอกาสก็ได้เข้ารับราชการในหัวเมืองไกลคือเมืองตาก–ระแหง และในที่สุดก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก...ในสงครามครั้งเสียกรุง ได้กวาดต้อนไพร่พลหลบพม่าลงมา เป็นกำลังแก่กรุงศรีอยุธยาได้บำเหน็จความชอบจากการนั้น”
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|