เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 41034 ปฐมวงศ์ของราชวงศ์จักรี: พระราชหัตถเลขาถึงเซอร์จอห์น เบาริง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 29 มิ.ย. 04, 09:43


เอกสารที่สแกนมาให้อ่านกัน มาจากหนังสือ The Kingdom and People of Siam Vol.1    ของ   Sir John Bowring เจ้าเมืองฮ่องกงผู้เป็นทูตอังกฤษ เดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีและทำสนธิสัญญาในสมัยรัชกาลที่ ๔  

ข้อความภาษาอังกฤษข้างบนนี้ เป็นพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีถึงเซอร์จอห์น เบาริง  

ทรงเล่าถึงบรรพชนฝ่ายชายของราชวงศ์จักรี ที่ย้อนกลับไปได้ถึงสมัยเสียกรุงครั้งที่ ๑       เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจะได้กล่าวถึงกันนักในตำราประวัติศาสตร์   จึงขอลอกมาให้อ่านกัน
และจะได้อ่านถึงสำนวนโวหารของพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ศึกษาภาษาตะวันตกทั้งละตินและอังกฤษ จนสามารถติดต่อสื่อสารกับชาวอังกฤษได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 มิ.ย. 04, 09:51


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงเล่าว่า
ต้นตระกูล(ทางฝ่ายชาย)ของราชวงศ์จักรี เป็นชาวเมืองหันสวัตตี  หรือที่บิชอปปาเลอกัวส์เรียกเพี้ยนไปว่า "หงสาวดี"  เมืองหลวงของอาณาจักรพะโค
Pegu ก็คือพะโค หรือมอญ
ในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง หรือ Jumna ti cho (ออกเสียงอย่างมอญ)
(คำนี้ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์(พร บุนนาค) ผู้ถอดความพระราชหัตถเลขา ท่านถอดออกมาว่า ยุมนาติโช  
ส่วนดิฉันเข้าใจว่า Jumna ถ้าสะกดด้วยอักษรโรมัน(ไม่ใช่อังกฤษ) อ่านว่า ชุมนะ หรือชำนะ  
ส่วน ti cho อ่านว่า ติโช   หรือบาลีเรียกว่า เตโช   ไทยเราเรียกว่า เดช)
เรียกว่าพระเจ้าเดชชำนะ ก็คงได้...ถ้าถอดออกมาได้ถูก

คำต่อมาคือ  Dusadisawijay  เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ออกเสียงว่า ดุษดีวิชัย  ส่วนดิฉัน อ่านว่า ทุศทิศวิชัย  (หรือทศทิศวิชัย แปลว่าผู้ชนะสิบทิศ)อันเป็นสมญาของพระเจ้าบุเรงนอง  (ยาขอบก็ใช้คำนี้)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 29 มิ.ย. 04, 09:52

 ตระกูลนี้เป็นขุนนางฝ่ายทหาร  สังกัดในกองทัพของพระเจ้าบุเรงนอง ผู้เคยตีอยุธยาได้ประมาณ ค.ศ. ๑๕๕๒ และแต่งตั้งพระมหาธรรมราชา  อุปราชผู้ครองหัวเมืองเหนือขึ้นเป็นกษัตริย์อยุธยา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 มิ.ย. 04, 09:57


ต่อมาพระเจ้าบุเรงนองพาพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาไปยังพะโคเพื่อเป็นตัวประกัน  ด้วยกษัตริย์สยามทรงยินยอมเป็นเมืองขึ้นของพะโคในสมัยนั้น พระราชโอรสสยามจึงได้ตามเสด็จไปพะโค
พระราชโอรสพระองค์นั้นทรงพระนามว่า พระนเรศ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 29 มิ.ย. 04, 10:18


พระราชโอรสทรงพระนามว่า พระนเรศร์  ก็ได้ประทับอยู่ที่หงสาวดีจนสิ้นรัชกาลของพระเจ้าบุเรงนอง  
เมื่อพระเจ้าบุเรงนองเสด็จสวรรคต  บ้านเมืองก็เริ่มปั่นป่วนแบ่งแยกออกเป็นหลายฝ่าย ตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะได้ครองราชสมบัติต่อไป เป็นเวลาร่วมครึ่งเดือน
พระนเรศร์จึงเกลี้ยกล่อมหลายตระกูลในหงสาวดี ให้มาสวามิภักดิ์    รวมทั้งขุนนางฝ่ายทหารที่ว่ามานี้  ก็ตกลงใจออกจากหงสาวดี ตามเสด็จกลับมาอยุธยา
แล้วพระนเรศร์ก็ทรงประกาศอิสระภาพ ไม่ขึ้นกับพะโคอีกต่อไป
นายทหารดังกล่าวก็ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในกรุงศรีอยุธยาในที่ดินพระราชทาน  
***********************************
ขอหยุดแค่นี้ก่อนนะคะ  แล้วจะนำเอกสารส่วนที่เหลือมาลงให้อีก

จะเห็นว่า สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงเล่าถึงปฐมวงศ์ของราชวงศ์จักรี  ตามที่ทรงได้ยินจากคำบอกเล่าของพระญาติพระวงศ์ สืบต่อๆกันมา  เป็นการบอกเล่าด้วยการจดจำ
น่าสังเกตว่า ทรงกล่าวถึงบรรพบุรุษรุ่นแรกที่มาตั้งถิ่นฐานในกรุงศรีอยุธยาว่า มาจากหงสาวดี เมืองหลวงของพะโค  หรือมอญ  รับราชการกับบุเรงนอง พระองค์ไม่ทรงใช้คำว่า "พม่า" เลยสักคำ ทั้งที่บุเรงนองเป็นกษัตริย์พม่า
ในตอนนั้นพม่ามีอำนาจเหนือมอญ
จะทรงเข้าพระทัยว่าบรรพชนจากหงสาวดีเป็นมอญ มิใช่พม่า หรือเปล่า?
หรือทรงใช้คำว่า พะโค ในความหมายเดียวกับ พม่า?

พงศาวดารไทยเคยกล่าวถึงพระยาเกียรติและพระยาราม แม่ทัพมอญที่ติดตามสมเด็จพระนเรศวรกลับมาอยุธยา ในคราวประกาศอิสรภาพ    บรรพชนของราชวงศ์จักรีจะเป็นพระยาเกียรติหรือพระยาราม ก็ไม่อาจทราบได้
หรือไม่ใช่  อาจ เป็นหนึ่งในแม่ทัพนายกองที่มาด้วยกับพระยาเกียรติหรือพระยาราม ก็เป็นได้เช่นกัน  
สมเด็จพระจอมเกล้าฯมิได้ทรงระบุชื่อเสียงเรียงนามไว้

อย่างไรก็ตาม  พระราชหัตถเลขานี้ ได้กล่าวทำนองว่าสมเด็จพระนเรศวรได้ตัดสินพระทัยกลับมาอยุธยาเอง  เมื่อบ้านเมืองพม่าเกิดวุ่นวายเพราะบุเรงนองสวรรคต ยังตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่  

น่าจะเป็นการหนีกลับมาด้วยซ้ำ    เพราะมีการกล่าวถึงการเกลี้ยกล่อมทหารหลายกลุ่มให้มาสวามิภักดิ์     เหตุการณ์แบบนี้   ไม่น่าจะเป็นการขออนุญาตใครกลับมา  
และถึงขอกลับ ทางพม่าก็คงไม่ยอมให้มีแม่ทัพนายกองฝ่ายทหารในหงสาวดีกลับมาด้วยตั้งหลายกลุ่ม  เป็นกำลังทางฝ่ายอยุธยาเปล่าๆ

นอกจากนี้  พระราชหัตถเลขามิได้กล่าวเลยว่า พระมหาธรรมราชาส่งพระสุพรรณกัลยาไปขอแลกตัวกับพระราชโอรสเพื่อกลับมาอยุธยา
บันทึกการเข้า
เรียบๆเรื่อยๆ
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 29 มิ.ย. 04, 12:50

 
สวัสดีค่ะคุณเทาชมพู
แอบเข้ามาอ่านหลายสัปดาห์แล้วค่ะทั้งกระทู้เก่าและใหม่
วันนี้จึงตัดสินใจสมัครสมาชิกเข้ามาเพราะติดบทความคุณเทาชมพูนี้ล่ะค่ะ
โดยเฉพาะบทความบทใหม่นี้..ทึ่งมากเลยค่ะ..รออ่านอยู่นะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 29 มิ.ย. 04, 18:25

 มาต้อนรับสมาชิกใหม่ด้วยความยินดีค่ะ  
เชิญร่วมวงสนทนากันตามสบายเลยนะคะ  

นิสัยดิฉันมักเถลไถลออกนอกทางบางครั้งบางคราวค่ะ
ทำให้คนนั่งร่วมวง นั่งรอเก้อบ้างก็มีในบางกระทู้
เพราะมัวไปตอบกระทู้อื่นหรือไม่ก็หายหน้าจากเรือนไทยไปเป็นพักๆ
จะพยายามรักษาวินัยให้ดีกว่านี้  
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 29 มิ.ย. 04, 22:33

 สวัสดีค่ะ คุณเทาชมพู  เป็นเอกสารที่น่าในใจไม่น้อยเลยค่ะ  ดิฉันยังคิดตามไปไม่ตลอดนะคะ  แต่ติดใจตรงที่ชื่อ Dusadi sawijay ท่านทรงเว้นวรรคระหว่างคำ  ราวกับว่า  เสียงตัว s เป็นอิสระ ไม่ได้มาจากตัว di  จะเป็นไปได้มั้ยคะ  หรือจะเป็นว่าพิสูจน์อักษรไม่ได้แก้ตรงนี้

แต่ถ้าจะเดาๆเอาล้วนๆเลยนะคะ  ดิฉันว่าเป็นไปได้ว่าท่านจะมีเชื้อมอญ  เพราะจากภาพวาดก็ดูจะไปทางลักษณะของคนมอญอยู่นะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 30 มิ.ย. 04, 07:35

 หน้ากระดาษที่ถ่ายมาเป็นการพิมพ์จากพระราชหัตถเลขาของจริงอีกทีค่ะ   เลยมองไม่เห็นว่า ในพระราชหัตถเลขาเว้นคำหรือเปล่า  

ดิฉันสงสัยมากกว่าคุณพวงร้อยถึงขั้นว่า พิมพ์ผิดหรือเปล่าด้วยซ้ำ

คำนี้ น่าจะเป็นคำเดียวกันนะคะ  ถ้าแยกเป็น 2 คำ น่าจะเป็น Dusadi Sawijay  
นี่ก็เดาเหมือนกันค่ะ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 30 มิ.ย. 04, 09:51

 ขอถอดความ ต่อ นะคะ

นายทหารตระกูลนั้นได้สร้างพระพุทธรูปใหญ่  พร้อมด้วยคำจารึกอักขระโบราณ ขึ้นที่วัดใกล้ที่ดินแห่งนั้น  ซึ่งยังอยู่มาจนบัดนี้( หมายถึงจนรัชกาลที่ ๔)
(พระพุทธรูปในวัดที่ว่ามานี้ ดิฉันเข้าใจว่าหมายถึงวัดสุวรรณดาราราม ซึ่งเป็นวัดของบรรพชนของราชวงศ์จักรี )

หลังจากนั้น ตระกูลนี้ก็ไม่ปรากฏเรื่องราวอีกชั่วระยะหนึ่งจนมาถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ผู้ครองศรีอยุธยาและละโว้(ลพบุรี) เชื้อสายของตระกูลจึงปรากฏชื่อขึ้นอีกครั้ง มีสองคนพี่น้อง ล้วนแต่มีคุณสมบัติอันยอดเยี่ยม เป็นที่โปรดปรานอย่างยิ่งของพระเจ้าแผ่นดิน
คนพี่ได้ว่าการด้านต่างประเทศ มีตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาพระคลัง  ทำหน้าที่ต้อนรับราชทูตฝรั่งเศสที่มาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยาม คนน้องชื่อปาล เป็นราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 30 มิ.ย. 04, 09:58

 ขณะเดินทาง เรือได้อับปางลงในบริเวณแหลมกู๊ดโฮป ทำให้ท่านและขบวนผู้ติดตามจำต้องพำนักอยู่ที่นั่นนานพอประมาณ ก่อนจะสามารถลงเรือเดินทางต่อไปยังฝรั่งเศสได้

ราชทูตสยาม ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากรัฐบาลฝรั่งเศส  เมื่อท่านเดินทางกลับมาสยาม  พี่ชายของท่านถึงแก่อสัญกรรมแล้ว  สมเด็จพระนารายณ์ฯจึงทรงแต่งตั้งท่านขึ้นเป็นเจ้าพระยาพระคลังแทน

กล่าวกันว่า บรรพบุรษของข้าพเจ้าสืบเชื้อสายมาจากท่าน  แต่ว่าลูกหลานมิได้ดำรงตำแหน่งนี้ หรือการงานในด้านการต่างประเทศอีกในรัชสมัยต่อๆมาของศรีอยุธยา    
*********************
(เรื่องราวในตอนนี้ ตรงกับประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนารายณ์    พี่น้องทั้งสองที่กล่าวมา   ก็คือเจ้าพระยาโกษาธิบดี(เหล็ก) กับเจ้าพระยาโกษาธิบดี(ปาน) หรือเรียกกันสั้นๆว่าโกษาเหล็ก และโกษาปาน)  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 30 มิ.ย. 04, 10:28

 สมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงว่างเว้นการลำดับถึงเชื้อสายของเจ้าพระยาทั้งสองมาอีกในหลายรัชกาล  จนกระทั่งถึงปลายอยุธยา ในรัชสมัยของพระเจ้าแผ่นดินอยุธยา ที่ทรงเรียกในพระราชหัตถเลขานี้ว่า พระเจ้าภูมินทรราชาธิราช ครองราชย์อยู่ระหว่าง พ.ศ. 2245 ถึง 2275  
(ดิฉันนับจากพ.ศ.แล้ว หมายถึงพระเจ้าท้ายสระ  เป็นลำดับที่สามของราชวงศ์บ้านพลูหลวง  พระองค์แรกคือพระเพทราชา  พระองค์ที่สองคือพระเจ้าเสือ   ส่วนพระองค์ที่สี่ต่อจากพระเจ้าท้ายสระคือพระเจ้าบรมโกศ พระราชบิดาของพระเจ้าอุทุมพรและพระเจ้าเอกทัศ)
สมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงเล่าว่าบรรพบุรุษผู้เป็นเชื้อสายตระกูลนี้ได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่บ้าน “สะแกตรัง” ซึ่งเป็นท่าริมแม่น้ำน้อย (ของอยุธยา)

บรรพบุรุษพระองค์นี้มีนามว่าพระอักษรสุนทร  มีตำแหน่งเป็นเสมียนตรา  มีหน้าที่แต่งพระราชสาส์นและท้องตราที่มีไปมากับหัวเมืองฝ่ายเหนือ และรักษาพระราชลัญจกรของพระเจ้าแผ่นดิน
พระอักษรสุนทรได้สมรสกับบุตรีงามของเศรษฐีจีนในกรุงศรีอยุธยา  มีบุตรธิดาด้วยกัน ๕ คน  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 30 มิ.ย. 04, 10:41

 โพสต์ได้ทีละท่อนค่ะ
เรื่องราวของพระอักษรสุนทรอยู่ในหน้าที่สแกนมานี้

คำว่า Phra Aksom Sundom Samiantra   หนังสือสะกดผิดจากพระราชหัตถเลขา  
ตัว rn เขียนอย่างบรรจงแบบลายมือคนโบราณที่ลากเส้นติดกันไป  อาจจะมองเป็น m ไปได้ง่ายๆ
ถ้าอ่านว่าพระอักษมสุนดม ก็ไม่มีความหมายเลยในภาษาไทย
แต่ถ้าอ่าน อักษรสุนทร  เป็นราชทินนามของเสมียนตราได้ลงตัวเหมาะเจาะ  
หน้าที่ของท่านก็บอกแล้วว่าแต่งพระราชสาส์น   ก็คงคล้ายๆกองเลขานุการหรือสารบรรณ ในสมัยนี้

ในประวัติบอกว่า พระอักษรสุนทรมีบุตรธิดากับภรรยาคนแรก 5 คน   เมื่อเธอถึงแก่กรรม ท่านก็สมรสกับน้องสาวของภรรยาและมีธิดาด้วยกัน 1 คน

ใครเป็นใคร จะอธิบายต่อไปค่ะ  
บันทึกการเข้า
เรียบๆเรื่อยๆ
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 30 มิ.ย. 04, 12:17


ขออนุญาติ....มาบอกว่านั่งฟังตาแป๋วอยู่ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 01 ก.ค. 04, 14:47

 มาแปลต่อ ค่ะ

บุตรธิดา 5 คนจากภรรยาคนแรก คือ
คนหัวปีเป็นชาย รับราชการสังกัดวังหน้า หรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล   ท่านมีธิดา ๑ คน   พี่ชายคนโตท่านนี้ถึงแก่กรรมก่อนเสียกรุงแก่หม่าข้าศึก
คนที่สองและที่สาม เป็นหญิง  ลูกหลานของท่านอีกหลายคนยังมีชีวิตอยู่จนทุกวันนี้     ท่านคนหลังนี้เป็นมารดาของพระชนนีของพระเจ้าแผ่นดินสยามและสมเด็จพระปิ่นเกล้า( หมายถึงข้าพเจ้าและพระอนุชาของข้าพเจ้า)มารดาของข้าพเจ้าเป็นบุตรคนที่สามของท่าน
คนที่สี่ คือบุตรชายผู้ประเสริฐ   ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี  ประสูติเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1736  ข้าพเจ้าและพระเชษฐาผู้เสด็จสวรรคาลัย (หมายถึงสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ) เป็นนัดดาของพระองค์ท่าน
คนที่ห้า ประสูติเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1743  ทรงได้เป็นวังหน้าในรัชกาลของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชของท่าน   และสิ้นพระชนม์ก่อนพระเชษฐา 6 ปี

ขออธิบาย และขยายความนะคะ
บุตรทั้ง 5 ที่ทรงเล่าถึงในย่อหน้านี้  คนแรกไม่ทราบพระนามเดิม แต่ว่ารับราชการได้เป็นขุนรามณรงค์   ถึงแก่กรรมเสียก่อนจะเสียกรุงครั้งที่สอง  มีธิดาคนเดียวต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ได้รับสถาปนาเป็นกรมขุนรามินทรสุดา  
บุตรหญิงคนที่สอง   ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมสมเด็จพระยาเทพสุดาวดี
บุตรหญิงคนที่สาม  ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์    เป็นพระชนนีของเจ้าฟ้าบุญรอดหรือสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นพระบรมราชชนนีในสมเด็จพระจอมเกล้าฯ
พูดอีกทีคือกรมพระศรีสุดารักษ์เป็น "สมเด็จยาย"ของสมเด็จพระจอมเกล้าฯ
บุตรคนที่สี่ คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
บุตรคนที่ห้า   คือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท

บุตรหญิงที่เกิดจากหลวงอักษรสุนทร  และภรรยาคนที่สอง(น้องสาวของภรรยาคนแรก) ต่อมา คือเจ้าฟ้าหญิงกุ   หรือกรมหลวงนรินทรเทวี  
ชาวบ้านเรียกกันว่าเจ้าครอกวัดโพธิ์  
ทรงบันทึกเรื่องราวตั้งแต่ปลายธนบุรีจนถึงรัชกาลที่ 1 ไว้  เป็นเรื่องที่เรียกกันว่า บันทึกหรือจดหมายเหตุของเจ้าครอกวัดโพธิ์

ในพระราชหัตถเลขา ยังกล่าวถึงบุตรชายคนเล็กสุดที่เกิดจากอนุภรรยาของหลวงอักษรสุนทร  
ต่อมาคือเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา   พระนามเดิมว่า ลา  เป็นนักรบฝีมือเยี่ยมคนหนึ่งในรัชกาลที่ 1  
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 20 คำสั่ง