เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 41001 ปฐมวงศ์ของราชวงศ์จักรี: พระราชหัตถเลขาถึงเซอร์จอห์น เบาริง
พระยาสุเรนทร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 71


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 01 มิ.ย. 07, 03:10

<table cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%">
<tr><td>
 <img src=" rtimages/RW1748x14.jpg" align="left">  มาแปลต่อ ค่ะ


บุตรธิดา 5 คนจากภรรยาคนแรก คือ

คนหัวปีเป็นชาย รับราชการสังกัดวังหน้า หรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล   ท่านมีธิดา ๑ คน   พี่ชายคนโตท่านนี้ถึงแก่กรรมก่อนเสียกรุงแก่หม่าข้าศึก

คนที่สองและที่สาม เป็นหญิง  ลูกหลานของท่านอีกหลายคนยังมีชีวิตอยู่จนทุกวันนี้     ท่านคนหลังนี้เป็นมารดาของพระชนนีของพระเจ้าแผ่นดินสยามและสมเด็จพระปิ่นเกล้า( หมายถึงข้าพเจ้าและพระอนุชาของข้าพเจ้า)มารดาของข้าพเจ้าเป็นบุตรคนที่สามของท่าน

คนที่สี่ คือบุตรชายผู้ประเสริฐ   ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี  ประสูติเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1736  ข้าพเจ้าและพระเชษฐาผู้เสด็จสวรรคาลัย (หมายถึงสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ) เป็นนัดดาของพระองค์ท่าน

คนที่ห้า ประสูติเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1743  ทรงได้เป็นวังหน้าในรัชกาลของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชของท่าน   และสิ้นพระชนม์ก่อนพระเชษฐา 6 ปี


ขออธิบาย และขยายความนะคะ

บุตรทั้ง 5 ที่ทรงเล่าถึงในย่อหน้านี้  คนแรกไม่ทราบพระนามเดิม แต่ว่ารับราชการได้เป็นขุนรามณรงค์   ถึงแก่กรรมเสียก่อนจะเสียกรุงครั้งที่สอง  มีธิดาคนเดียวต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ได้รับสถาปนาเป็นกรมขุนรามินทรสุดา  

บุตรหญิงคนที่สอง   ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมสมเด็จพระยาเทพสุดาวดี

บุตรหญิงคนที่สาม  ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์    เป็นพระชนนีของเจ้าฟ้าบุญรอดหรือสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นพระบรมราชชนนีในสมเด็จพระจอมเกล้าฯ

พูดอีกทีคือกรมพระศรีสุดารักษ์เป็น "สมเด็จยาย"ของสมเด็จพระจอมเกล้าฯ

บุตรคนที่สี่ คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

บุตรคนที่ห้า   คือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท


บุตรหญิงที่เกิดจากหลวงอักษรสุนทร  และภรรยาคนที่สอง(น้องสาวของภรรยาคนแรก) ต่อมา คือเจ้าฟ้าหญิงกุ   หรือกรมหลวงนรินทรเทวี  

ชาวบ้านเรียกกันว่าเจ้าครอกวัดโพธิ์  

ทรงบันทึกเรื่องราวตั้งแต่ปลายธนบุรีจนถึงรัชกาลที่ 1 ไว้  เป็นเรื่องที่เรียกกันว่า บันทึกหรือจดหมายเหตุของเจ้าครอกวัดโพธิ์


ในพระราชหัตถเลขา ยังกล่าวถึงบุตรชายคนเล็กสุดที่เกิดจากอนุภรรยาของหลวงอักษรสุนทร  

ต่อมาคือเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา   พระนามเดิมว่า ลา  เป็นนักรบฝีมือเยี่ยมคนหนึ่งในรัชกาลที่ 1  
</td></tr></table>

ขอแก้หน่อยนะครับ
กรมหลวงนรินทรเทวี เป็น พระองค์เจ้า(กุ) ไม่ใช่ เจ้าฟ้า ถึงเรียกว่า เจ้าครอก
(เจ้าฟ้า=เจ้าครอกฟ้า)

ส่วนเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา ได้เป็นเจ้าฟ้าเป็นกรณีพิเศษ เพราะมีความชอบเป็นผู้ดูแลพระปฐมบรมราชชนกขณะอยู่ที่พิษณุโลกและเป็นผู้อัญเชิญพระบรมอัฐิมาถวายรัชกาลที่ ๑
บันทึกการเข้า
พระยาสุเรนทร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 71


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 01 มิ.ย. 07, 03:22

คุณถาวภักดิ์บอกว่าเจ้าแม่วัดดุสิตน่าจะมี 2 คน  แต่ไม่ได้บอกว่าคนที่สองคือใคร

ถ้าเจ้าแม่วัดดุสิตเป็นแม่นมของพระนารายณ์   ในรัชสมัยพระนารายณ์ลูกชายทั้งสองก็อายุมากจนเป็นเจ้าพระยาพระคลังและราชทูต  ตัวเจ้าแม่ก็น่าจะ50 กว่า ใกล้ๆ 60 เข้าไปแล้วเป็นอย่างน้อยในตอนนั้น

ไม่น่าจะมีอายุยืนยาวมาอีกสองรัชกาล  ถึงกับช่วยพระราชโอรสของพระเจ้าเสือ(ซึ่งก็โตเป็นหนุ่มแล้ว) ให้พ้นถูกกริ้ว

อีกข้อหนึ่ง ก็มีเรื่องว่าเจ้าพระยาโกษาเหล็กและโกษาปานก็ประสบชะตากรรมที่เลวร้ายในบั้นปลาย     เจ้าแม่ก็ไม่น่าจะมีบารมีอะไรเหลืออยู่มากนักในสายตาของพระเจ้าแผ่นดิน

ถ้าจำไม่ผิด(ถ้าผิดก็ขออภัยอย่างสูง)
เจ้าแม่วัดดุสิตองค์ที่สอง คือ กรมพระเทพามาตย์ พระอัครมเหสีของพระเพทราชา(ตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์)และเป็นพระมารดาเลี้ยงของพระเจ้าเสือ
โดยเสด็จย้ายออกจากวังหลวงไปยังตำหนักวัดดุสิตภายหลังพระเพทราชาสวรรคต
พระเจ้าเสือทรงเกรงใจมาก เมื่อครั้งที่พระเจ้าเสือกริ้วเจ้าฟ้าเพชร เจ้าฟ้าพร(พระเจ้าท้ายสระ พระเจ้าบรมโกศ) เจ้าแม่วัดดุสิตองค์นี้ก็เป็นผู้ทูลขอโทษให้
(เหมือนเมื่อครั้งที่พระนารายณ์กริ้วหลวงสรศักดิ์(พระเจ้าเสือ) เจ้าแม่วัดดุสิต(มารดาโกษาเหล็กและโกษาปาน)ก็เป็นผู้ทูลขอโทษให้)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 01 มิ.ย. 07, 09:13

เอามาจากพระราชพงศาวดารเล่มไหนคะ
บันทึกการเข้า
ต้นไผ่ใบว่าน
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 05 มิ.ย. 07, 14:03

มานั่งอ่านขอความรู้จากพี่ๆ ด้วยคนนะคะ อายจัง
บันทึกการเข้า
natch
อสุรผัด
*
ตอบ: 11

ทำของให้สวยและดี


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 07 มิ.ย. 07, 13:31

อยู่ดีๆ เว็บศิลปวัฒนธรรมเกิดเข้าไม่ได้หรือเน็ตไม่ดีก็ไม่ทราบ

ใน www.matichon.co.th/art.php มีคอลัมน์ที่กล่าวถึงเจ้าแม่วัดดุสิต อ้างอิงหลักฐานว่าท่านเป็นหม่อมเจ้าในราชวงศ์สมเด็จพระนารายณ์ และก็หาข้อมูลมาสนับสนัน ก.ศ.ร. กุหลาบ ด้วยค่ะ

แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับไม่เคยได้อ้างถึงเจ้าแม่วัดดุสิตไว้ในพระราชหัตถเลขา...
บันทึกการเข้า

ถ้าเด็กเกิดหนึ่งคน ปลูกต้นไม้อีกหนึ่งต้น ก็คงจะดี...
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 07 มิ.ย. 07, 15:28

ลิงก์ของศิลปวัฒนธรรมคือ

http://www.matichon.co.th/art ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 12 มิ.ย. 07, 01:04

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๖ ที่ให้ถือว่าชาวมอญเป็นพลเมืองที่มีสิทธิเท่าเทียมคนไทยตลอดจนหล่อหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวอยู่ในสังคมไทย เช่น กรณีเจ้าแม่วัดดุสิต หรือหม่อมเจ้าหญิงอำไพ ราชธิดาของสมเด็จพระเอกาทศรถ (พระนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ซึ่งสมรสกับขุนนางผู้สืบตระกูลมาจากนายทหารมอญที่ติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเข้ามา บุตรของเจ้าแม่วัดดุสิตคือเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)  ผู้เป็นบรรพชนของพระปฐมบรมราชชนกในจักรีวงศ์ ทำให้ชาวมอญและชาวไทยมีความกลมกลืนใกล้ชิด ทั้งด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม
(ประวัติศาสตร์มอญ) ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 12 มิ.ย. 07, 01:18

การอพยพของมอญเข้าสู่ประเทศไทยมีหลายครั้ง แต่ครั้งที่น่าจะเกี่ยวกับหัวข้อ  น่าจะมี ๒ ครั้ง
     ครั้งที่ ๑ การอพยพที่ปรากฏในหลักฐานของมอญก็คือ เมื่อ พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ตีหงสาวดีแตกใน พ.ศ.๒๐๘๒  ชาวมอญจำนวนมากหนีเข้ามากรุงศรีอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินโปรดฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถบตัวเมืองกรุงศรีอยุธยาชั้นนอก พระยาเกียรติพระยารามและครัวเรือน ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถบตัวเมืองชั้นใน ใกล้พระอารามวัดขุนแสน และขุนนางของมอญก็เริ่มเข้ารับราชการในกรุงศรีอยุธยานับตั้งแต่นั้นมา  เมื่อถึง พ.ศ.๒๐๘๔  ราชวงศ์ตองอูตีเมืองเมาะตะมะแตก มีการฆ่าฟันชาวมอญลงขนาดใหญ่  ก็เข้าใจว่ามีมอญหนีเข้ามาสู่กรุงศรีอยุธยาอีก ถือเป็นระลอกแรกของมอญอพยพ
       ครั้งที่ ๒ ในพระราชพงศาวดารไทยพูดถึงการอพยพอีกครั้งหนึ่งเมื่อพระนเรศวรเสด็จไปพม่าเมื่อคราวพระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ แล้วประกาศเอกราช  ทรงชักชวนมอญที่เข้าสวามิภักดิ์ ให้อพยพเข้ามาพร้อมกัน ราว พ.ศ.๒๑๒๗ ในการอพยพครั้งนี้ไม่ปรากฏว่าพระเจ้าแผ่นดินโปรดฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่ใด แต่คาดว่าคงเป็นย่านเดียวกับการอพยพคราวแรก
(ประวัติศาสตร์มอญ) ยิ้ม
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 12 มิ.ย. 07, 01:56

เจ้าแม่วัดดุสิต(๒)  คือ กรมพระเทพามาตย์ (รัชกาลขุนหลวงสรศักดิ์-พระเจ้าเสือ)
สมเด็จพระอัยกี กรมพระเทพามาตย์ ในรัชกาลพระเจ้าเสือ คือ พระมเหสีเดิมของพระเพทราชา ซึ่งทรงเลี้ยงดูพระเจ้าเสือมาแต่ยังทรงพระเยาว์ คือเป็นแม่เลี้ยงนั่นเอง พระเจ้าเสือนี้ตามพระราชพงศาวดาร ว่าเป็นพะราชโอรสสมเด็จพระนารายณ์ฯ แต่ทรงยกให้พระเพทราชา แต่ครั้งยังเป็นขุนนางผู้ใหญ่รับไปเลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรม พระอัครมเหสีเดิมของพระเพทราชา ที่พระบัณฑูรใหญ่(เจ้าฟ้าเพชร-พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ)และพระบัณฑูรน้อย (เจ้าฟ้าพร-พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์)ตรัสเรียกว่า สมเด็จพระอัยกี ท่านเป็นผู้ทรงคุณูปการใหญ่หลวงแก่พระเจ้าเสือ ทรงเคารพนับถือท่านเป็นอันมาก พระอิสริยยศ กรมพระเทพามาตย์ เป็นพระอิสริยยศของ พระพันปี พระบรมราชชนนี ในสมัยโบราณ กรมพระเทพามาตย์ แผ่นดินพระเจ้าเสือ หรือ ขุนหลวงสรศักดิ์ นี้ โดยทั่วไปเรียกกันว่า ‘เจ้าแม่วัดดุสิต’ เพราะเสด็จไปประทับทรงศีลอยู่ ณ พระตำหนักริมวัดดุสิต

ขอรบกวนถามครับ
๑.พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์  ที่เขียนให้ถูกต้องควรเขียนอย่างไรครับ  บางทีเห็นเขียน โกศ,โกษ  แล้วแปลว่าอะไรครับ
๒.ขุนหลวง  เป็นชั้นของตำแหน่งหรือเปล่าครับ  ท่านเป็นระดับราชนิกูล  ทำไมไม่ทรงกรม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 13 มิ.ย. 07, 10:11

ตัวสะกดในยุคก่อนจะมีพจนานุกรม   สะกดหลากหลายกันไปในเอกสารต่างๆ  เช่นตัวอย่างที่คุณยกมา    ที่จริงก็คำเดียวกันละค่ะ
คนไทยสมัยปลายอยุธยา   มาจนต้นรัตนโกสินทร์ เรียกพระเจ้าแผ่นดินในรัชกาลก่อน ที่สวรรคตไปแล้ว ว่า พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ   หมายถึงว่าทรงเข้าพระโกศไปแล้ว
โกศ ก็คือที่ใส่ศพ รูปร่างคล้ายกล่องตั้งขึ้น มียอด   ทุกวันนี้ก็ยังมีให้เห็นในงานพระราชทานเพลิงศพบุคคลสำคัญ
ขุนหลวง เป็นคำเรียกอย่างไม่เป็นทางการ    สำหรับเรียกพระเจ้าแผ่นดินสมัยอยุธยา    ทำนองเดียวกับเราเรียก "ในหลวง" สมัยนี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 13 มิ.ย. 07, 13:35

ขอบพระครุณมากครับอาจารย์
บันทึกการเข้า
bun
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 24 มิ.ย. 07, 20:03

ขอบคุณที่สรรมาให้คนไทยได้อ่าน  ช่วยสร้างคนให้รับรู้และตระหนักในคุณค่ามากยิ่งขึ้น ดีกว่าจะเก็บไว้ในพิพธภัณฑ์ อาจารย์ทำได้ดีจริงๆ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 25 มิ.ย. 07, 09:30


    เพิ่งได้อ่านนบทความเกี่ยวกับ หนังสือ "ในหลวง" ในดวงใจ ที่แต่งโดย คุณพลาดิศัย สิทธิธัญกิจ
บทความนั้นกล่าวว่า      ในหนังสือเล่มนี้เขียนไว้ว่า ราชวงศ์จักรีสืบสายมาจากราชวงศ์เชียงแสน และ
ต่อมาในราชวงศ์พระร่วงทางสายโลหิตพระเอกาทศรถ คือ เจ้าแม่วัดดุสิต

      พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ในอดีต
อาทิ สมเด็จพระมหาธรรมราชาและสมเด็จพระเอกาทศรถในสมัยอยุธยา รวมถึงกษัตริย์ในราชวงศ์สุโขทัย
เมื่อกว่า 700 ปีมาแล้ว อีกทั้งยังอาจนับย้อนขึ้นไปถึงกษัตริย์ราชวงศ์เชียงแสนเมื่อกว่า 900 ปีมาแล้วได้ด้วย

       ได้เก็บบทความเรื่องเจ้าแม่วัดดุสิตของเว็บหนังสือ ศิลปวัฒนธรรมไว้ ขอตัดตอนบางส่วนนำมาแสดงไว้
ณ ที่นี้ สำหรับบางท่านได้อ่าน ครับ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 25 มิ.ย. 07, 09:37


          ปริศนาเจ้าแม่วัดดุสิต ต้นราชวงศ์จักรี "เจ้า" หรือ "สามัญชน"ฮืม

ปรามินทร์ เครือทอง

          .............................................
         
        การเปิดเผยพระนาม รวมไปถึงอธิบายความหมายของพระนามพระมหากษัตริย์ เกิดขึ้นจริงๆ ในสมัยรัชกาลที่ ๔
ไม่เพียงแต่ทรงเปิดเผยพระนามเท่านั้น ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เปิดเผยประวัติความเป็นมาของราชตระกูล
อีกด้วย โดยมีพระราชหัตถเลขาถึงเซอร์จอห์น เบาว์ริง ไว้อย่างค่อนข้างชัดเจน ตรงไปตรงมา ทรงยอมรับที่จะไม่ใช่
"ไทยแท้" หากแต่เป็น "มอญ" ผสม "จีน" ในชั้นบรรพบุรุษต้นตระกูล

          ทรงอ้างถึงต้นตระกูลชาวมอญหงสาวดี ได้ติดตามสมเด็จพระนเรศวรหรือที่ทรงเรียกว่าพระนเรศร (King Phra Naresr)
มายังกรุงศรีอยุธยา

           "ในตอนนี้คนในตระกูลที่รับราชการเป็นทหารของพระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ติดตามมากับสมเด็จพระนเรศรด้วย
แล้วตั้งหลักแหล่งอยู่ในอยุธยา"

        ทรงบรรยายต่อว่า หลังจากนั้นเรื่องราวของตระกูลก็ขาดหายไปราวครึ่งศตวรรษหรือประมาณ ๘ รัชกาล จนกระทั่ง
มาปรากฏขึ้นอีกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งทรงเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Narayu
        ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์นี่เองที่ "ต้นตระกูล" ได้รับโอกาสรับราชการสำคัญของแผ่นดินคือ
เจ้าพระยาโกษาเหล็ก และเจ้าพระยาโกษาปาน [ในพระราชหัตถเลขาใช้ปาล (Pal) แต่ในพระราชพงศาวดารใช้ปาน]

         "กล่าวกันว่าบุพการีของพวกเราสืบสายเลือดต่อลงมาจากท่านผู้เป็นอภิชาตบุตรนี้เอง"

         จากนั้นก็ทรงเล่าสืบสายตระกูลลงมาจนถึงสมเด็จพระบรมมหาชนก (คือพระราชบิดารัชกาลที่ ๑)

         "ต้นตระกูลผู้เป็นบิดาของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์แรก และเป็นปู่ของพระราชบิดาในพระเจ้าแผ่นดินองค์ปัจจุบัน
(ตัวข้าพเจ้า) กับพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน (พระเชษฐาผู้ทรงล่วงไปแล้วของข้าพเจ้า) แห่งสยาม เป็นอภิชาตบุตร
ของตระกูลที่สืบเชื้อสายมาจากเสนาบดีต่างประเทศที่ได้กล่าวมาแล้ว ท่านได้ย้ายหลักแหล่งจากอยุธยามาเพื่อความสุขของชีวิต
และตั้งบ้านเรือนที่ "สะกุตรัง" เป็นท่าเรือบนลำน้ำสายเล็ก อันเป็นสาขาของแม่น้ำใหญ่ ตรงรอยต่อของราชอาณาจักรสยาม
ตอนเหนือกับตอนใต้"

           พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงเรื่องราวของตระกูลที่ขาดหายไปราวสองสามชั่วอายุคน
จนกระทั่งมาถึงเรื่องของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี)
            แต่ในเอกสารอื่นได้เชื่อมรอยต่อตระกูล "ทอง" ตรงนี้ไว้บ้างแล้ว คือ
                       บุตรคนใหญ่ของโกษาปานชื่อ นายขุนทองหรือนายทอง ได้เป็นเจ้าพระยาวรวงศาธิราช
                       บุตรนายทองคนใหญ่ คือ นายทองคำ รับราชการเป็นพระยาราชนกูล
                       บุตรคนใหญ่ของนายทองคำ คือ นายทองดี คือ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ เป็นที่หลวงพินิจอักษร
หรือพระอักษรสุนทรศาสตร์ บิดานายทองด้วง คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 25 มิ.ย. 07, 09:44


        "ท่านได้ออกจาก "สะเกตรัง" ไปยังอยุธยา ที่ซึ่งได้รับคำแนะนำให้เข้ารับราชการและได้สมรสกับธิดารูปงามของ
ครอบครัวคหบดีจีนที่ร่ำรวยที่สุดในย่านที่อยู่อาศัยของชาวจีน ภายในกำแพงเมืองตรงมุมด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอยุธยา"

         แม้แต่ในพระราชนิพนธ์ประถมวงศ์ ก็มิได้กล่าวยอกย้อนขึ้นไปถึงบรรพบุรุษรุ่นโกษาปาน ไม่ว่าเรื่องใดๆ รวมถึง
เรื่องความเป็นเจ้า แต่ทรงกล่าวย้อนเพียงพระปฐมบรมมหาชนกเท่านั้นว่าเป็น "ตระกูลใหญ่" คือเป็นการอธิบายถึง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ว่าได้ประสูติในชาติตระกูลที่ยิ่งใหญ่และร่ำรวย

             "ได้เสดจมายังมนุษยโลกย์นี้ อุบัติมีขึ้นในมหามาตย์คฤหบดีสกูลอันมั่งคั่งพร้อมมูลด้วยไอยสูริยสมบัติ ถ้าเปน
มัทธยมประเทศก็ควรจะเปนสกูลมหาสาลได้ เพราะเปนสกูลใหญ่ที่มีนิเวศนสฐานตั้งอยู่นานใน ภายในกำแพงพระมหานคร
กรุงเทพทวารวดีศรีอยุทธยา"

         เอกสารชั้นหลังพบได้หลายต่อหลายชิ้น ที่พยายามสืบเสาะค้นหาและ "ผูก" พระราชวงศ์จักรีเข้ากับพระราชวงศ์สุโขทัย
ในสมัยอยุธยา หรือวงศ์พระมหาธรรมราชา โดยเฉพาะที่สมเด็จพระนเรศวร
                     บุคคลที่เป็นสายโซ่สำคัญเชื่อมต่อสองสาแหรกนี้เข้าด้วยกันคือ "เจ้าแม่วัดดุสิต"
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.367 วินาที กับ 19 คำสั่ง