ตัวอักษรบางตัว เชื่อว่าน่าจะแทนเสียงที่เลิกใช้พูดกันไปแล้ว อย่าง ฅ ซึ่งถ้าจำไม่ผิดในจารึกสมัยสุโขทัยใช้มีเพียงคำเดียวที่ใช้ ฅ สะกดคือคำว่า ฅอ ดังนั้นน่าจะเรียกว่า ฅ คอ มากกว่า ฅ คน นะครับ

แต่ตัวอักษรส่วนมากเป็นอย่างที่คุณถาวศักดิ์ว่าครับ คือมาจากภาษาแขก แต่ผมว่าส่วนใหญ่น่าจะเป็นภาษาสันสกฤตมากกว่าที่เข้ามามีบทบาทในภาษาไทยลุ่มเจ้าพระยาในช่วงต้นๆ(ที่มีบันทึก)
เสียงเหล่านี้แขกออกเสียงแตกต่างกัน แต่เนื่องจากไม่มีเสียงนั้นใช้ในภาษาไทย คนไทยจึงออกเสียงเป็นแบบไทยๆกลายไปอย่างที่ใช้กันอยู่ครับ จะว่าละเลยที่จะออกเสียงให้ถูกต้องก็คงไม่ใช่ เพราะภาษาที่มีคนพูดในชีวิตประจำวันจะมีวิวัฒน์อยู่ตลอดเวลาทั้งความหมายและการออกเสียง เอาง่ายๆความหมายคำว่าครูกับอาจารย์สมัยนี้ก็มีการใช้งานแตกต่างจากเมื่อราว 50 ปีก่อนไม่ใช่น้อย และคำว่าข้าว ก็เพิ่งจะเปลี่ยนจากการเขียนว่า "เข้า" มาไม่กี่สิบปีนี้เอง แถมอีกคำ "น้ำ" ก็ออกเสียงว่า "น้าม" ทั้งๆที่ตอนเปลี่ยน "เข้า" เป็น "ข้าว" (ซึ่งน่าจะเป็นเพราะว่าคนกรุงเทพออกเสียงคำนี้เป็นเสียงยาวตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว) ก็ไม่ได้มีการเปลี่ยน "น้ำ" เป็น "น้าม" ไปด้วย ชวนให้ผมสงสัยว่าคนกรุงตอนนั้นยังออกเสียงว่า "นั้ม" อยู่นะครับ
ผมกลับมาคิดเรื่องจอมพล ป. วิบัติภาษาไทยในตอนนั้น เพิ่งจะนึกได้ว่าแนวคิดการปรับเปลี่ยนระบบการเขียนแบบนี้ จีน ในยุคที่คอมมิวนิสต์เข้าปกครองใหม่ๆก็ทำมาก่อน ด้วยวัตถุประสงค์เดียวกันคือให้คนอ่านออกเขียนได้ง่ายขึ้น น่าคิดว่าจอมพล ป.ที่ยืนหยัดอุดมการณ์ฟากตรงกันข้ามกับคอมมิวนิสต์จะหยิบยืมความคิดจีนมาหรือไม่ เรื่องนี้คงต้องรอพระเอก นิลกังขา ขี่ม้าขาวมาช่วยแล้วแหละครับ