เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 19708 เกตุ กับ ราหู
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 10 มิ.ย. 04, 12:16


ไม่เป็นไรค่ะ อาจารย์  

สำหรับคุณเทาชมพูนะคะ  คือระนาบวงโคจรของดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลก  กับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์  ถ้านึกเป็นกระดาษบางๆสองแผ่น  จะตัดทำมุมกัน ๕ องศา  

ทีนี้เราถือด้านเหนือ(คือซีกโลกที่เราอยู่เป็นซีกเหนือ)เป็นหลัก  เราเลยแบ่ง วงโคจรของดวงจันทร์  เป็น ๒ ส่วน  เมื่อดวงจันทร์โคจรในวงโคจรที่อยู่เหนือระนาบที่ตรงกับระนาวศูนย์สูตร  ก็เรียกว่า  วงโคจรตัดขึ้นอย่าง  อีกครึ่งนึง จะเป็นเวลาที่ดวงจันทร์โคจรด้านใต้ศูนย์สูตร  ก็เรียกว่า  ตัดลง

ที่ดิฉันไม่เคยทราบมาก่อนก็คือว่า  คำว่า ดาวเคราะห์ นี่  ไม่ใช่หมายถึงแต่ ตัวดวงดาวอย่างเดียว  แต่ไปรวมถึงว่าเป็น ดาวในตำแหน่งที่ต่างกันด้วย  เพิ่งมาเห็นที่คุณเทาชมพูคัดมาถึงได้เห็นจะๆนี่เองค่ะ

ดวงจันทร์เลย แตกหน่อ ไปอีก ๒ คือ  ราหู เมื่ออยู่ในวงตัดขึ้น เป็น  เกตุ เมื่ออยู่ในวงตัดลงอย่างอาจารย์นิรันดร์ว่าน่ะค่ะ

ดิฉันไม่เข้าใจเลยว่า  ทำไมต้องเอาศัพท์แบบนี้มาใช้ในการบรรยายให้คนทั่วไปฟังด้วย  จะมีใครรู้เรื่องสักกี่คนในจำนวนคนที่ไปฟังทั้งหมดกันคะ  ภาษาไทยดิฉันคงอ่อนมาก  เพราะไม่เคยได้ยินคำว่า เกตุ เลย  การเอาศัพท์แสงที่ตั้งขึ้นด้วยความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงจากทางโหราศาสตร์  มาใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์  ก็เป็นเรื่องที่ดิฉันคิดตามไม่ทันเลยจริงๆ  มึนอีกแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 10 มิ.ย. 04, 12:45


ส่วนเรื่อง โหราศาสตร์ นะคะ  ดิฉันก็หมายความถึงความคลาดเคลื่อนหลังจากที่พราห์มณ์อินเดียรับเอา วิทยาการ astrology มาจากตะวันออกกลางน่ะค่ะ

หลังจากที่มนุษย์เริ่มตั้งตัวเป็นสังคมกสิกรรมขึ้นมาแล้ว  ความเข้าใจว่า  ฤดูเพาะปลูกเริ่มได้เมื่อไหร่  เป็นเทคโนโลยี่ที่ต้องแสวงหามา  เพื่อความอยู่รอดของสังคมค่ะ  สังคมที่ค้นพบและแก้ปัญหานี้ได้  ต้องตั้งอยู่ในแนวละติจูดที่สูงขึ้นไปหน่อยถึงจะช่วยให้มองออกค่ะ

คุณเทาชมพูคงจำได้ตอนไปต่างประเทศว่า  เวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตกนั้นต่างกันจากเมืองไทยมากใช่มั้ยคะ  แหล่งกำเนิดวัฒนธรรมในเมโสโปเตเมีย  ตั้งอยู่ราวๆละติจูด ๓๐ องศา  ราวๆที่ดิฉันอยู่นี่แหละค่ะ  หน้าหนาว ห้าโมงเย็นก็มืดตี๊ดตื๋อแล้ว  หน้าร้อน  สองทุ่มครึ่งยังสว่างโร่เลยค่ะ

สมัยโบราณที่ยังไม่มีการค้นพบปฏิทิน  การคิดหาเวลาที่จะทำการต่างๆในรอบปี  เป็นเรื่องซับซ้อนมากทีเดียว  ก็มีการติดตามศึกษา บันทึก เส้นทางการเคลื่อนไหวของเทหวัตถุที่สำคัญๆบนท้องฟ้า  ที่มีระบบแน่นอน แต่สลับซับซ้อนมากเป็นเวลานาน  กว่าจะคิดออก  สังคมส่วนใหญ่ก็คิดไม่ออกเลยค่ะ

สังคมแรกๆมักจะเอาดวงจันทร์เป็นหลักในการหมายเดือน  เรียกว่า  จันทรคติ  แต่ก็คลาดเคลื่อนมากๆ  เพราะการเล็งเห็น เอาดวงอาทิตย์มาเป็นหลัก  เรียกว่า สุริยคติ นั้น  ต้องอาศัยปัจจัยหลายๆอย่าง  ที่สำคัญ  ท้องฟ้าต้องใส เปิดอยู่ตลอดเวลา(สังคมที่ตั้งกลางทะเลทราย  เลยได้เปรียบ  เพราะฟ้าเปิดทั้งปีเลย)  เพราะต้องหมายตำแหน่งดวงอาทิตย์ก่อนขึ้น หลังตก  กับกลุ่มดาว  จึงจะติดตามเส้นทางที่ ดูเหมือนดวงอาทิตย์เคลื่อนไปจากขอบฟ้าตะวันตกในตอนขึ้นใหม่ๆ  ไปยังขอบฟ้าตะวันตกตอนตกได้ (นี่แหละค่ะที่เค้าเรียกว่า  สุริยวิถี) มนุษย์เราเริ่มทำกสิกรรมกันมาเป็นหมื่นๆปี  รู้สึกจะ ๓-๔ หมื่นมังคะ  แต่กว่าจะมีสังคม Chaldean แถบบาบิโลเนีย  คิดทำปฏิทินตามหลัก สุริยคติ ได้  ก็ประมาณ ๔๕๐๐ ปีมานี่เองเท่านั้นค่ะ

คติพราห์มณ์อินเดียโบราณก่อนหน้านั้น  (เช่นเดียวกันกับปราชญ์จีน)  ก็นับปฏิทินตามจันทรคติ  แต่เมื่ออาณาจักรเมโสโบเตเมีย  และกลุ่มชนทางนั้น  มีอำนาจแข็งแกร่ง  แผ่ขยายอาณานิคม  เกิดแหล่งอารยธรรมหลายๆเมืองในแถบนั้น  ที่มีอิทธิพลต่ออินเดียมากที่สุด  ก็คือ อาณาจัก Pathia (เปอร์เซียโบราณ) ซึ่งนำความรู้เรื่อง สุริยคติ แผ่ขยายมายังอินเดีย  และจีน

แต่เรื่องการนับปฏิทินเหล่านี้  พราห์มณ์ เป็นผู้คิดค้น จดลงเป็นหลักฐาน ใน พระเวทซึ่งถือเป็นคัมภีร์ศาสนาอันศักดิสิทธิ์  เมื่อศักดิ์สิทธิ์แล้วก็เปลี่ยนไม่ได้  แต่ก็ต้องเปลี่ยน  เพราะมันเห็นอยู่โต้งๆแล้วว่า  เดือนที่เมื่อก่อนเคยเป็นฤดูใบไม้ผลิที่ปลูกข้าวได้  กลับกลายมาเป็นหน้าหนาว  ที่หว่านเมล็ดลงไปก็ตายเรียบ  ความจำเป็นเรื่องปากท้องมันสำคัญกว่าความศักดิ์สิทธิ์  แต่จะแก้ก็ต้องแก้อย่างไม่ให้เสียเชิง  คือถ้าจะให้
รับว่าของเก่าผิด  ต้องสังคายนากันใหม่นั้น  ทำไม่ได้  ก็ได้แต่เอาของใหม่โปะลงไป  ตำราโหราศาสตร์ของอินเดีย  เลยคำนวณยุ่งยากสลับซับซ้อนอย่างไม่น่าจะทำนายอะไรได้มาก

แต่มามีปัญหาเพิ่มเข้าไปอีก  เมื่อโลกเรา  มีการควงส่ายเหมือนลูกข่าง  รอบละ ๒๖๐๐๐ ปี  คือทิศที่เราคิดว่าเป็นทิศเหนือนี่  จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ  จนมาบรรจบที่เดิมภายในเวลา ๒๖๐๐๐ ปี

ชาว Chaldean คิดค้นวิทยาการด้าน astrology เมื่อ ๔๕๐๐ ปีมาแล้ว  คิดไปแกนโลกก็ควงส่ายผ่านไปไม่น้อยแล้วหละค่ะ

สมัยก่อน  เวลาเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ  ที่เรียกว่า  Vernal Equinox มีความสำคัญต่อสังคมมาก  จนสังคมโบราณ  ถือเอาเวลานั้น  เป็น  ปีใหม่  จะเป็นเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นพร้อมๆกับกลุ่มดาวในราศีพฤษพ หรือ Taurus แต่จากความเปลี่ยนแปลงดังว่านี้  ทำให้ถ้านับตามเวลาปีใหม่ไทย คือก่อนสงกรานต์ เล็กน้อย กลุ่มดาวที่ขึ้นพ้องกับดวงอาทิตย์  ก็เป็นกลุ่มดาว Aries ไปเสียแล้ว

(นี่ดิฉันว่าไปจากความทรงจำพร่องๆไปทั้งดุ้นเลยนะคะ  ไม่มีเวลาค้นตำรายืนยันอีกทีค่ะ  ถ้าผิดพลาดอย่างไรขออภัยด้วย)

Astrology มีบทบาทสำคัญต่อวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์  ในด้านที่เป็นวิทยาการสมัยใหม่  ที่ช่วยให้มนุษย์เราเพิ่มผลผลิตมากมายจนเพิ่มประชากรโลกได้หลายเท่าตัว  แต่มีรุ่งเรืองก็มีเสื่อมสลาย  ถ้าไม่พัฒนาความรู้  ติดยึดว่ามันศักดิ์สิทธิ์จนแตะไม่ได้  ก็ไร้ความหมายไป  จนเหลือแค่ในส่วน วิชาโหร  ที่ยังพอเอาตัวรอดได้หากทำนายผิดได้อยู่  ส่วนที่กำหนดปฎิทิน  ก็ถูกทดแทนไปด้วยวิทยาการที่ทันสมัย แม่นยำกว่าน่ะค่ะ

นี่แหละค่ะที่ว่า  วิชาโหร เป็นวิทยาการของดวงดาวที่ตกยุคไปนานแล้วน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 10 มิ.ย. 04, 12:54


เฮ้อ ดิฉันต้องไปแก้ที่พิมพ์ไว้หลายที  โค้ดสำหรับชี้ไปยังรูปนั้น  มีเครื่องหมายคำพูดอยู่หลายอัน  พอเข้าไปหน้าเอดิเต้อร์ที  มันก็เพิ่ม  เข้ามาให้อีก ๓ อัน  โค้ดเลยเละเลย  แปะใหม่ละกันนะคะ  รูปแผนที่อาณาจักรต่างๆในดินแดนเมโสโปเตเมียค่ะ
บันทึกการเข้า
ถาวภักดิ์
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 10 มิ.ย. 04, 14:02

 ช้าก่อนครับ ขอมาเป็นฝ่ายค้าน ระยะนี้น่าสงสาร เสียงน้อยเหลือเกิน ขนาดจะอภิปรายฝ่ายรัฐบาล ยังถูกอภิปรายเองเสียหลายยก

เคยได้ยินว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนวนสุริยุปราคาที่หว้ากอจากตำราโหราศาสตร์ไทยด้วยเช่นกันนะครับ

ส่วนพระราหูก็มิได้เลวร้ายไปทุกเรื่อง บางท่านผูกให้เป็นถึงอสุริทรราหู อันเป็นถึงพระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่งที่จะมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งข้างหน้า ปรากฎในพระคัมภีร์อนาคตวงศ์

ดวงตราพระราหูก็เป็นเครื่องรางที่มีอานุภาพเหนือธรรมชาติของไทยที่สืบทอดมาแต่โบราณ สุนทรภู่ยังหยิบยกมากล่าวไว้ในเรื่องพระอภัยมณี ที่เคยพบเห็นเป็นรูปราหูอมจันทร์ ซึ่งกรอบพระเครื่องสำเร็จทำจากเงินหรือทอง ก็มักแกะเป็นลายราหูอมจันทร์

ตามตำราโหราศาสตร์ไทยพระเสาร์กับพระราหูเป็นเพื่อนซี้กัน ในขณะที่พระเสาร์เป็นอริกับพระอังคาร และพระราหูเป็นอริกับพระอาทิตย์และพระจันทร์ จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า พระอาทิตย์กับพระจันทร์เป็นต้นเหตุให้พระราหูต้องถูกจักรพระนารายณ์จนตัวขาด ตั้งแต่ครั้งเหล่าเทพและอสูรร่วมกันกวนน้ำอมฤต แล้วพรรคเทพหักหลัง งกไว้กินแต่พวกตัวเอง เป็นเหตุให้พรรคมารต้องกลายเป็นฝ่ายแค้น

เอ ว่าจะคุยเรื่องโหราศาตร์ ไหงฟังเหมือนการเมืองไปได้ก็ไม่รู้  จบดีกว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 10 มิ.ย. 04, 14:52

 เนื่องจากไม่กระดิกหูเลยเรื่องดาราศาสตร์    จึงค่อยๆอ่านที่คุณพวงร้อยอธิบายไว้   เพิ่งรู้เรื่องระนาบเดี๋ยวนี้เอง

ได้คืบขออีก 1 ศอกได้ไหมคะ เรื่องสุริยวิถี  
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 10 มิ.ย. 04, 20:48

 คุณ ถาวศักด์ คะ  ดิฉันคิดว่า  ร ๔ ทรงผสานความรู้ทางดาราศาสตร์สมัยใหม่ที่เรียนรู้มาจากพวกมิชชันนารีด้วยค่ะ  จำได้ว่า  เคยเห็นรูปเครื่องมือทางดาราศาสตร์ที่ทรงใช้  เรียกว่า sextant น่ะค่ะ  เห็นจากไหนดิฉันก็จำไม่ได้แล้วค่ะ

ดิฉันเดาๆเอานะคะว่า  ตำราโหราศาสตร์ไทยหรืออินเดีย  ไม่น่าจะสามารถคำนวณสุริยุปราคาได้  ในประวัติศาสตร์ของราชสำนักไทย  ก็มีพราห์มณ์ประจำสำนักที่ศึกษาด้านนี้(จากตำราอินเดีย) มาอย่างแตกฉาน  แต่ทำไมไม่มีปรากฎไว้ว่า  ใครคำนวณได้  อนุมานอย่างนี้อาจจะไม่แข็งแรงพอที่จะเป็นข้อยืนยันได้เต็มที่ก็ได้นะคะ

ส่วนเรื่องสุริยวิถี  ดิฉันหยอดไว้หน่อยๆแล้ว  ในความเห็นที่ ๑๖  เดี๋ยวเสร็จธุระกับเด็กๆแล้วจะมาตอบใหม่นะคะ
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 11 มิ.ย. 04, 11:33

 สุริยวิถีเปลี่ยนไปมีหลักฐานจากรามเกียรติตอนหนึ่งที่ว่า
พระลักษณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์ ต้องใครจะฉุดนั้นหาไม่
พระรามเลยใช้ให้หนุมานไปห้ามพระอาทิตย์ไว้ก่อน เพราะว่า ต้องแสงพระระวีจะอาสัญ พระอาทิตย์ไม่ยอมหยุดแต่ก็เลี่ยงชักรถแอบไปหลังเขา
สงสัยว่าตอนพระลักษณ์โดนหอกคงจะเป็นหน้าหนาวพอดีเลยรอดไปได้    
บันทึกการเข้า
ถาวภักดิ์
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 11 มิ.ย. 04, 12:29

 ไหนๆประกาศจะเป็นฝ่ายแค้น เอ๊ย ฝ่ายค้าน จึงขอใช้โรคประจำตัว คือความดัน มาดันทุรังต่อ

อะไรๆก็ไปยกให้อินเดียเหนือกว่าไปหมด เป็นทฤษฎีของนักประวัติศาสตร์การเมืองยุคล่าอานานิคมนะครับ  อย่างไรชำเลืองมองความเห็นของนักวิชาการปัจจุบันบ้าง

อย่างสุวรรณภูมิที่ปรากฎในพระไตรปิฎก ถูกผู้คนในยุคนั้นกล่าวขวัญถึงราวกับเป็นสวรรค์บนดิน ก็เริ่มจะมีผู้มั่นใจมากขึ้นว่าอยู่ในเขตประเทศไทยนี่เอง

ท่านไมเคิ้ล ไรท์เคยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับทฤษฎีเดิมของปฏิมากรรมหินแกะสลักในยุคทวารวดีที่ว่าเป็นอิทธิพลอารยธรรมจากอินเดีย  แต่เหตุไฉนหลายๆชิ้นที่พบในไทยกลับมีความอ่อนช้อย งดงามปราณีตกว่ามาก

เสียดายว่าไม่ได้ศึกษาโหราศาสตร์ในรายละเอียดลึกซึ้งมากนัก จึงไม่อาจยืนยันได้ว่า โหราศาตร์ไทยสามารถคำนวนตำแหน่งดวงดาวในระบบ 3 มิติได้หรือไม่ เพราะปกติจะคำนวนหาตำแหน่งดาวพระเคราะห์ต่างๆในระบบสองมิติเท่านั้น

เคยผ่านๆตา บทความของอาจารย์หม่อนคึกฤทธิ์ กล่าวถึงปฏิทินจันทรคติของไทยที่ยังมีความเที่ยงตรงแม่นยำ ต่างจากของเพื่อนบ้านที่เพี้ยนออกไปทุกที

ถ้าเคยเปิดอ่านตำราพรหมชาติ มีกล่าวถึงโหราศาตร์ไทยว่าเป็นวิชาที่สืบทอดจากพระยาโหราธิบดี ครั้งอยุธยายังรุ่งเรือง โดยยกตัวอย่างความแม่นยำว่า

ครั้งหนึ่งมีแมว(หรือหนู ก็จำไม่ได้)ท้องแก่ หล่นจากที่สูงมาต่อหน้าพระพักตร์ พระองค์จึงทรงครอบปิดไว้(รู้สึกจะใช้พระมาลา) แล้วลองวิชาพระยาโหราฯ

กษัตริย์ : ท่านจ้าคุณโหราฯ คำนวนดูซิว่า มีอะไรอยุ่ใต้หมวก
โหราฯ : (หลังจากใช้เวลานับนิ้ว น้อยกว่าดอกเตอร์สมัยนี้กดเครื่องคิดเลข) สัตว์จตุบาท พระพุทธเจ้าข้า
กษัตริย์ : เออ เก่ง แล้วมีกี่ตัว
โหราฯ : (หลังใช้เวลาชั่วสองลัดนิ้วมือ เงยหน้าพิจารณาเพดานท้องพระโรง) 2 ตัวพระพุทธเจ้าข้า
กษัตริย์ : ฮ่า ฮ่า คำนวนใหม่ ซิ ท่านโหรา
โหราฯ : (คราวนี้ นั่งนับนิ้วมือ นิ้วเท้า เสียเวลาไปพักใหญ่ จนข้าราชบริพารในทั้งพระโรงเริ่มพยักพเยิด บุ้ยใบ้บอกกันว่า ไอ้หวังตายแน่)  7 ตัวพระพุทธเจ้าข้า
กษัตริย์ : ฮ่าๆ ฮิๆ หุๆ ท่านโหรา ผิดแล้ว เหอๆ ฮิๆ เอิ๊ก ฮ่าๆ (พลางเปิดพระมาลา)

แล้วทุกคนในที่นั้นนอกจากพระยาโหราฯก็ออกอาการเหวอ นิ่งตะลึ่งราวกับเป็นหุ่นขี้ผึ้งของมาดามทรูโซกันทั้งท้องพระโรง  ซึ่งถ้าไม่มีจิ้งจกที่เกาะอยู่บนขื่อท้องพระโรง ท้องเสียตดออกมาดังๆในวันนั้น จนป่านนี้อาจยังไม่มีใครขยับ  เพราะเกิดอาการเหวอถึงสามเด้ง

เด้งที่หนึ่ง คือ เมื่อเปิดพระมาลาแล้ว ก็พบแม่แมว(หรือหนู)คลอดลูกออกมาถึง 6 ตัว มีทั้งหมด 7 ตัวอย่างถูกต้อง

เด้งที่สอง คือ นึกได้ว่า ตอนที่พระยาโหราฯคำนวนได้ 2 ตัวนั้น คงไม่ผิด เพราะตอนนั้นเป็นเวลาที่เพิ่งเริ่มกระบวนการคลอด

เด้งที่สาม คือ นึกได้ว่าการคำนวนสองครั้งแรกพระยาโหราฯใช้เวลาชั่วแมลงวันเช็ดก้น  หากครั้งที่สาม อันเป็นครั้งที่กำลังถูกเย้ยหยันว่าครั้งที่แล้วคำนวนผิด ที่แท้แล้วพระยาโหราฯแกล้งถ่วงเวลาให้กระบวนการคลอดดำเนินจนจบก่อน แล้วจึงบอกคำพยากรณ์ เพื่อมิให้ถูกเข้าใจผิดอีก

ฉะนั้นเมื่อคิดออกได้ถึงสามเด้งอย่างนี้ ทุกคนจึงยังนิ่งตะลึงขบคิดกันต่อว่าเด้งที่สี่ และห้าคืออะไร เพื่อที่เมื่อเริ่มเปิดปากแสดงความเห็นกัน จะได้แสดงความรู้ทันให้ครบทุกเด้งและดูไม่โง่จนเกินไปนัก

ตะเล้นๆๆ....
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 12 มิ.ย. 04, 11:03


ขออภัยที่ให้รอนะคะ  ข้อศอกเจ็บขึ้นมาเลยรอว่าจะให้ดีขึ้นหน่อย  แต่มันไม่ค่อยดีขึ้นเลยค่ะ  เห็นจะต้องจำกัดการพิมพ์หน่อยนะคะ  ถ้าอธิบายไม่ละเอียดก็ขออภัยด้วยค่ะ

คำว่า สุริยวิถี นี่  ดิฉันเข้าใจเอาเองว่า  เป็น Sun's path นะคะ  คือ  ตามสายตาของผู้สังเกตการณ์บนโลก  เราไม่รู้สึกถึงการหมุนของโลก  ก็เหมือนกับว่า  เทหวัตถุบนฟากฟ้าทุกอย่าง  หมุนรอบโลก  พระอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าตะวันออก  แล้วเคลื่อนสูงขึ้นจนถึงเหนือหัว  แล้วตกต่ำลงมาจนกระทั่งลับหายไปในขอบฟ้าตะวันตก  

และดวงดาวต่างๆ  ก็ดูเหมือนว่า  จะโคจรรอบโลก  ไปในเส้นทางแนวเดียวกันกับ สุริยวิถี  อาจจะมีเบี่ยงเบนออกเล็กน้อย  แต่ไม่เกิน ๕-๖ องศา  เส้นทางที่ว่านี่แหละค่ะ  ที่เรียกว่า สุริยวิถี  ถือเอาดวงอาทิตย์เป็นหลัก  แต่ก็รวมไปถึงเส้นแนวการเดินทางของ ดวงจันทร์ (ซึ่งตามการสักเกตการณ์ของคนบนโลก  ดวงจันทร์สว่างเป็นที่ ๒ รองจากดวงอาทิตย์  ก็ให้ความสำคัญเป็นที่ ๒)  ดาวเคราะห์ต่างๆ  จะเดินทางอยู่ในแนวนี้ทั้งนั้น
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 12 มิ.ย. 04, 11:08


Astrology โบราณ  ก็เป็นจุดเริ่มต้นของวิทยาการเรื่อง Celestial Sphere  คือ จากสายตาของเราบนโลก  ไม่ว่าจะอยู่แห่งใดบนโลกก็ตาม  ก็จะเหมือนท้องฟ้าเป็นรูปโดม  ดาวต่างๆไม่ว่าอยู่ใกล้ไกล  ก็เหมือนถูกแปะติดกับผนังโดมที่ว่านี่แหละค่ะ  เรายังให้ความสำคัญกับ celestial sphere อยู่  เพราะมันช่วยทำให้การกำหนดตำแหน่งของวัตถุในอวกาศอย่างเป็นระบบให้หาได้ง่าย  ตำแหน่งของยานอวกาศในปัจจุบัน  ก็หมายกันด้วยค่าต่างๆที่มีต้นตอมาจากความรู้ด้าน astrology นี่แหละค่ะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 12 มิ.ย. 04, 11:16


จากการสังเกตการณ์ของเรา  เราก็เห็นไม่หมดทั้งครึ่งโลก  เพราะส่วนโค้งของโลกบังสายตาเราไว้มาก  แต่ถ้าเราหมายตำแหน่งของดวงอาทิตย์ไว้ทั้งวัน  ก็จะมองเห็นว่า  ดวงอาทิตย์เดินเป็นเส้นอย่างนี้น่ะค่ะ  ที่เรียกว่า  สุริยวิถี
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 12 มิ.ย. 04, 11:18


เนื่องจากดาวเคราะห์ส่วนใหญ่  มีแนวระนาบใกล้เคียงกันแบบนี้
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 12 มิ.ย. 04, 11:24


เวลาเราสังเกตจริงๆ  ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ต่างๆ  จึงไม่ได้เดินอยู่บนเส้นเดียวกัน  แต่อยู่ในแถบทางโคจรเดียวกันน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 12 มิ.ย. 04, 11:26

 คุณถาวศักดิ์คะ ดิฉันต้องขอผ่านนะคะ  เพราะไม่ชำนาญเรื่องนั้น  และไม่มีอะไรให้ค้นเปรียบเทียบ  ดิฉันเลยไม่ถนัดที่จะคิดอะไรต่อๆไปโดยไม่มีความรู้ หรือข้อมูลเป็นฐานรองรับน่ะค่ะ  แถมต้องรักษามือและแขนให้ดีๆ  คลิกเม้าส์อ่านก็ยังเจ็บ  เลยร่วมแจมไม่ไหวจริงๆนะคะ  ขออภัยด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 14 มิ.ย. 04, 10:15

 ผมคิดว่าเป็นนิทานสนุกน่ะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 19 คำสั่ง