เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5267 'ชินเซงงุมิ' : ตำนานฮีโร่แดนอาทิตย์อุทัย (ลอกมาจากผู้จัดการ)
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
 เมื่อ 05 มิ.ย. 04, 17:25

cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%">

src="rtimages/RW1741x0.jpg">
ภาพถ่าย อิซามิ
คนโดะ หัวหน้าหน่วยชินเซงงุมิ (ซ้าย) และมือขวา โทะชิโซะ ฮิจิกาตะ

/>


 เวลาผ่านมานานกว่าศตวรรษนับจากการแผ่อิทธิพลของสหรัฐฯ
ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นต้องก้าวออกมาจากยุคแห่งการโดดเดี่ยวตัวเองเป็นครั้งแรก
แต่ถึงบัดนี้ชาวอาทิตย์อุทัยทั้งประเทศก็ยังดื่มด่ำกับการย้อนเวลาหาอดีต
สู่ตำนานในประวัติศาสตร์ที่เหล่าซามูไรผู้กล้าได้หลั่งเลือดปกป้องบัลลังก์ของรัฐบาลโชกุน
/>
       

       
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ชัดในงานนิทรรศการ 'ชินเซงงุมิ'
ที่พิพิธภัณฑ์เอโดะ-โตเกียว
ซึ่งเด็กสาวญี่ปุ่นต่างยกขโยงมาชมโบราณวัตถุในยุคนั้น ไม่ว่าจะเป็นดาบ
เครื่องแบบซามูไร จดหมาย
และบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเหล่าชินเซงงุมิหรือขุนพลที่รัฐบาลโชกุนจ้างมาปราบกบฏ
/>
       

       นิทรรศการดังกล่าวซึ่งจัดมานานร่วม 2
เดือนและเสร็จสิ้นลงเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 พ.ค. ที่ผ่านมา
กลายเป็นนิทรรศการยอดฮิตที่ชาวปลาดิบให้ความสนใจเข้าชมกันอย่างล้นหลามราว
127,400 คน ทะลุเป้าซึ่งตั้งไว้แต่แรกราว 100,000 คน
และตอนนี้ทางคณะผู้จัดก็เตรียมเดินสายเปิดแสดงในเมืองหลวงเก่าอย่างนครเกียวโตเป็นลำดับต่อไป
โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนมิ.ย. ไปจนถึง ก.ค.

       

       
"ปกติแล้วงานนิทรรศการแบบนี้จะมีแต่คนแก่ๆ เข้าชม แต่คราวนี้กลับมีสาวๆ
วัยกระเตาะแห่กันมาดูอย่างไม่น่าเชื่อ" ชิเกรุ มะซุดะ
ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์แห่งนี้กล่าว

       

       
"มันเป็นปรากฏการณ์ที่หาได้ยากในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ซึ่งเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยอย่างพวกซามูไรหรือกลุ่มชนชั้นล่างกลายเป็นแกนกลางในการเคลื่อนไหวของประชาชน
แบบเดียวกับการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส" เขากล่าว "หลายๆ
คนรู้สึกอ่อนไหวไปกับเรื่องราวเหล่านี้"

       

       
อาการคลั่งไคล้พวกชินเซงงุมิส่วนหนึ่งอาจมาจากซีรีส์ทางทีวีในช่วงไพรม์ไทม์ของวันอาทิตย์
ซึ่งนำเอาตำนานของเหล่าซามูไรผู้กล้ามาขึ้นจอ
พร้อมกับการประชันบทบาทของเหล่าไอดอลขวัญใจวัยรุ่นญี่ปุ่น
เช่นเดียวกับเรื่องราวของซามูไรที่มีให้เลือกอ่านมากมายบนแผงหนังสือ

 
       

       
ชาวอาทิตย์อุทัยยุคใหม่กำลังตื่นเต้นกับการย้อนรอยประวัติศาสตร์ไปสู่ตำนานการต่อสู้ของนักรบผู้กล้าในสงครามกลางเมืองที่นำไปสู่การโค่นระบอบเผด็จการโชกุนที่เรืองอำนาจมากว่า
260 ปี และการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่องค์จักรพรรดิอีกครั้ง
พวกเขากระหายใคร่รู้เรื่องราวของเหล่าขุนพลผู้มีศักดิ์ศรีควรค่ากับคำว่า 'The
Last Samurai' ยิ่งกว่าในหนังฟอร์มยักษ์ปี 2003 ของทอม ครูซ มากมายนัก
/>
       

       ตำนานเล่าขานถึงวีรกรรมกล้าหาญเปิดฉากขึ้นในปี
1853 เมื่อพลเรือจัตวาแมทธิว แพร์รี แห่งกองทัพสหรัฐฯ นำกองเรือรบ 'Black
Ships' 4 ลำเข้าจอดยังปากอ่าวโตเกียว นำไปสู่การเจรจาทำสนธิสัญญามิตรภาพ
'Treaty of Amity' ซึ่งกดดันให้ญี่ปุ่นต้องเปิดประเทศสู่โลกยุคใหม่
/>
       

       
เหตุการณ์ดังกล่าวจุดชนวนการลุกฮือขึ้นก่อกบฏของเหล่าซามูไรที่ไม่พอใจรัฐบาลโชกุนตระกูลโทะกุงะวะ
ซึ่งถูกมองว่าไร้น้ำยาต้านทานอิทธิพลตะวันตก

       

       
ซามูไรกลุ่มนี้เคลื่อนขบวนมายังกรุงเกียวโตซึ่งเป็นเมืองหลวงในขณะนั้น
เพื่อวางแผนช่วยเหลือจักรพรรดิซึ่งกลายสภาพเป็นเพียงหุ่นเชิดของรัฐบาลโชกุน
ให้กลับขึ้นครองอำนาจอีกครั้ง

       

       
ส่วนทางรัฐบาลโชกุนก็ระดมขุนพลฝีมือกล้ากว่า 200 คน ซึ่งเรียกกันว่า 'โรนิน'
หรือซามูไรไร้นาย ขึ้นเป็นกองกำลังพิเศษในปี 1863
เพื่อถอนรานถอนโคนกลุ่มกบฏในเมืองหลวง

       

       
ขุนพลกลุ่มนี้รวมถึงปรมาจารย์เพลงดาบจากโตเกียวอย่างอิซามิ คนโดะและโทะชิโซะ
ฮิจิกาตะ มือขวาของเขา
ทว่าหลังจากนั้นซามูไรหลายคนในกลุ่มกลับแปรพักตร์ไปเข้ากับกองกำลังฝ่ายจักรพรรดิ
และถูกเนรเทศออกไป

       

       
กองกำลังพิเศษถูกเปลี่ยนชื่อเป็นชินเซงงุมิ
ซึ่งแปลว่ากลุ่มที่ผ่านการคัดเลือกใหม่ โดยมีคนโดะเป็นผู้บัญชาการ
เขาประกาศใช้กฎเหล็กซึ่งซามูไรคนใดที่กระทำผิดจะต้องชดใช้บาปด้วยการคว้านท้อง
หรือ 'เซปปุกุ'
กิตติศัพท์อันน่าพรั่นพรึงของชินเซงงุมิแพร่สะพัดไปทั่วญี่ปุ่น
เมื่อพวกเขาออกปฏิบัติการทลายแหล่งกบดานและสังหารโหดกลุ่มกบฏ 7 คน เมื่อปี 1864
อันเป็นที่จดจำกันดีในชื่อเหตุการณ์ 'อิเกะดายะ'

       

 
     
แต่สุดท้ายกองทัพของโชกุนและเหล่าชินเซงงุมิก็ถูกทหารของจักรพรรดิบุกตะลุยจนต้องล่าถอยออกไปยังโตเกียว
พวกเขาถูกกวาดล้างในปี 1868 คนโดะถูกตัดหัวระหว่างการต่อสู้
ส่วนฮิจิกาตะถูกยิงตายบนเกาะฮ็อกไกโด 1 ปีให้หลัง
ขุนพลชินเซงงุมิได้รับการกู้เกียรติคืนมาอีกครั้งเมื่อได้รับการอภัยโทษจากทางการในปี
1874

       

       ถึงวันนี้
ตำนานความกล้าหาญของนักรบหนุ่มผู้พลีชีพเพื่ออุดมการณ์ยังคงดึงดูดชาวญี่ปุ่นทุกเพศทุกวัย
เรื่องราวของพวกเขาถูกหยิบมาเล่าใหม่ในนวนิยาย บทละครและภาพยนตร์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ขณะที่ดีไซเนอร์ดังอย่างคันไซ ยามาโมโตะ ก็เตรียมจัดโชว์ยิ่งใหญ่อลังการ
ซึ่งจะรวมไว้หมดทั้งแฟชั่น ดนตรี และการเต้น ที่ได้แรงบันดาลใจจากชินเซ็งงุมิ
โดยเปิดฉากในเดือนก.ค. นี้ ที่บุโดกันฮอลล์ในกรุงโตเกียว

       
/>
       
สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคให้เหตุผลในการนำเรื่องราวของชินเซงงุมิมาขึ้นจอในรูปแบบซีรีส์ยาวประจำปีของทางสถานี
ว่าต้องการสื่อถึงพลังอันเร่าร้อนของคนรุ่นใหม่
เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในช่วงที่โลกกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤติเช่นปัจจุบัน
/>
       

"ผมจะเข้าร่วมด้วยแน่ๆ ถ้าชินเซงงุมิยังอยู่ตอนนี้"
โคอิชิ อิไมซุมิ นักศึกษาวัย 19 ปีกล่าวอย่างกระตือรือร้น
"แต่ถ้าเป็นกองทัพญี่ปุ่นในอิรักล่ะก็ไม่รู้นะ"
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 มิ.ย. 04, 11:56

 สวัสดีค่ะ คุณจ้อ  ตอนไปดูหนังเรื่องนี้มา  ก็เจอบทความหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นท้าวเรื่อง ชินเซงงุมิ อยู่เหมือนกันค่ะ  เสียดายไม่ได้เก็บไว้  เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากทีเดียวค่ะ

ไม่ทราบว่ากระแสสนใจหันกลับไปดูประวัติศาสตร์ของตัวเองนี่  ได้รับการจุดประกายมาจากหนังเรื่อง Last Samurai หรือเริ่มมีมาก่อนแล้วค่ะ  พี่รู้สึกเหมือนว่า  หนังเรื่องนี้ไปโดนใจคนญี่ปุ่นมากในแง่ที่ช่วยให้วัยรุ่นญี่ปุ่นหันมาสนใจเรื่องราวของตัวเอง  ภูมิใจในความเป็นญี่ปุ่น นะคะ  ปกติพี่ก็ไม่ชอบ ทอม ครูซ  แต่ชอบผลกระทบของหนังเรื่องนี้น่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 12 มิ.ย. 04, 18:28

 สวัสดีครับผมพี่พวงร้อย

ผมเคยได้ยินว่าเด็กนักเรียนญี่ปุ่นเขาเรียนประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นกันเข้มข้นนะครับ แต่เรียนกันถึงแค่ก่อนเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 เท่านั้น

เด็กวัยรุ่นที่สนใจประวัติศาสตร์กันจริงๆจังๆก็คงมีบ้างครับ แต่จะมาเพิ่มมากขึ้นก็เพราะหนังเรื่องนี้ละมั้ง อาจจะเกิดขึ้นเป็นแฟชั่น เหมือนเด็กไทยเห่อเรื่องโหมโรง และสุริโยทัย ตอนนี้ลืมไปหมดแล้ว หันไปอ่านแฮรี่พร๊อตเตอร์ กับ ทรอย แทน แฮ่ๆ    
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง