ถาวภักดิ์
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 25 มิ.ย. 04, 16:24
|
|
คุณพวงร้อยคงหมายถึงขนมที่คุณแม่ของอาจารย์เทาฯทำ เป็นของชาติไหนหรือครับ
แต่ขนมโอชารสของผมนี่แปลก ไม่ต้องตีเลย เพียงนำไปอังไฟแล้วใช้ไม้(ตะเกียบหนึ่งข้าง)คนไปเรื่อยๆ พอน้ำระเหยได้ที่ก็จะฟูขึ้นมาแข็งกรอบเอง แต่ก็มีบ้างที่ไม่ฟู แห้งแข็งเป็นแผ่นติดอยู่กับภาชนะก็มี ต้องแคะทิ้งไป พยายามถามหามานานแล้ว ยังไม่เคยพบเสียที
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงร้อย
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 26 มิ.ย. 04, 03:12
|
|
 คิดว่าก็คงใช้หลักการเดียวกันนั่นแหละค่ะ โปรตีนในไข่ขาวพอถูกความร้อนแล้วจะแข็งกรอบ เมื่อตีให้ฟองอากาศเข้าไปผสม ก็ดันพองขึ้นเพราะอากาศร้อนขยายตัวดันผนังโปรตีนที่แข็งกรอบตั้งตัวได้ พอใส่น้ำตาลใส่รสต่างๆมันก็หอมกลิ่นไหม้นิดๆ หวาน มัน ตามสิ่งที่ใส่ไปน่ะค่ะ
ก็ของคุณแค่คนๆเอา ไม่ได้ตีจนขึ้นฟู ซึ่งก็คือทำให้มีฟองอากาศเข้าไปผสมมากขึ้น ในขนาดฟองที่เล็กลงมันเลยจะเนียนเนื้อกว่า แต่คนเบาๆ จำนวนอากาศเข้าไม่แน่ไม่นอนหรือบางทีก็ไม่พอที่จะดันขึ้น บางอันมันถึงแฟ่บไปเพราะไข่ขาวก็แข็งกรอบไปตามธรรมชาติของมันเมื่อถูกความร้อน จะมีฟองข้างในหรือไม่มีมันก็เหมือนกันค่ะ แต่พอมีฟอง ผนังบางๆมันกรอบ ทำให้ได้สัมผัสลิ้นต่างกันค่ะ เพราะมันมี texture ที่ผิดกันมาก
ดูจากชื่อ Meringue น่าจะเป็นภาษาฝรั่งเศสนะคะ ดิฉันก็ไม่ใช่เด็กศิลป์ ไม่เคยเรียนภาษาฝรั่งเศสเสียด้วย
ตัวอย่างของ คุกกี้เมอแรง จากเว็บนี้นะคะ(มีบอกสูตรด้วยค่ะ) http://www.joyofbaking.com/MeringueCookies.html |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงร้อย
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 26 มิ.ย. 04, 03:18
|
|
วิธีของพี่เลี้ยงคุณถาวศักดิ์ เป็นภูมิปัญญาไทยที่น่าสนใจนะคะ เมืองไทยไม่มีเตาอบ ขนมนมเนยต่างๆที่รับมาจากชาวตะวันตกที่นิยมอบกัน คนไทยก็คิดหาวิธีทำให้ออกมาได้ใกล้เคียงต้นตำรับโดยไม่ต้องอาศัยเตาอบเอา
การอบอาหารด้วยเตา อาศัย การพาความร้อน ผ่านโมเลกุลของอากาศ เข้ามาสัมผัสกับเนื้ออาหาร เมื่ออยู่ในเตาปิดแบบนั้น อากาศร้อนก็วนเวียนรอบอาหารโดยทั่ว ถ้าเราไม่มีเตาอบ เอาตักใส่ช้อนมาอังๆไฟแบบที่พี่เลี้ยงของคุณทำ ก็อาศัยแรงมือหมุนไปให้ขนมได้รับความร้อนพอทั่ว และต้องทำทีละอันๆละเล็กๆ ซึ่งเปลืองเวลากว่าหยอดทีเดียวทั้งถาดไปอบ แต่เอาละ เมื่อเราไม่มีเครื่องใช้แพงๆ เอาแรงงานเข้าสู้แล้วได้กินเหมือนกัน ก็เป็นการคิดค้นที่น่าทึ่งอยู่มากนะคะ เพราะคนคิดทำขึ้นมา ต้องเป็นคนช่างสังเกตมากทีเดียว ถึงจะเข้าใจธรรมชาติของสารพวกนี้ได้น่ะค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 04 มี.ค. 05, 10:00
|
|
เจ้าจอมมารดาชุ่มป็นเจ้าจอมที่ได้สด็จต่างประเทศกับพระพุทธเจ้าหลวง และท่านเป็นน้องของพระยาบุรุษรัตนราชพัลลพ (บ้านของท่านที่ใช้ถ่ายหนังหลายเรื่องไงอยู่ในสำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบก)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 04 มี.ค. 05, 10:02
|
|
บ้านของท่านพระยาบุรุษรัตนราชพัลลพ ที่ใช้ถ่ายหนังหลายเรื่องไง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 04 มี.ค. 05, 10:04
|
|
บ้านของท่านหลังที่2 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 04 มี.ค. 05, 10:13
|
|
บ้านท่านหลังแรกครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 04 มี.ค. 05, 10:20
|
|
บ้านของพระยาบุรุษ เป็นสถาปัตยกรรมแบบสมัยพระเจ้าวิคตอเรียมีลวดลายสวยงาม ในหน้าต่างเป็นลาปูนปั้นรูปใบผักกาด พอเข้าไปในบ้านจะเห็นบันไดลักษณะวน3รอบ เป็นลายไม้แกะสลัก คล้ายของวังเทเวศน์ มีห้องหลายห้อง และมีห้องที่สวยที่สุดคือห้องรับแขกของท่าน เพดานทำด้วยลวดลายแกะสลักสีสวยงามมาก พออกมาจากห้องจะติดต่อกับสวนไม้ระแนง สมัยปี 2544 ทรุดโทรมมาก สำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบก ต้องบำรุงไว้ ภายนอกเสร็จในปี2546 เริ่มบำรุงภายในจนเสร็จปี2548
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 04 พ.ค. 05, 21:09
|
|
รู้สึกว่าเจ้าจอมมารดาชุ่มจะมีเชื้อไขเป็นญาติกับคูณเปรมแน่เลย เพราะเจ้าคุณปู่ของคุณเปรมก็เป็นเจ้าพระยาโชฏึก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33423
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 05 พ.ค. 05, 07:40
|
|
พระยาโชฎึกราชเศรษฐี เป็นตำแหน่งของเจ้ากรมท่าซ้าย ใครได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้ากรม ก็ใช้ราชทินนามนี้ จึงมีพระยาโชฎึกฯ หลายท่าน ในหลายสกุล ในสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 อย่าง ไกรฤกษ์ โชติเสถียร โชติกะพุกกะนะ เป็นต้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 13 พ.ค. 05, 10:17
|
|
ขอแก้ไขครับ จากพระราชบันทึกประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ทรงเล่าว่า เสด็จในกรมราชบุรีฯ ไม่ได้เฝ้าฯ รัชกาลที่ ๕ เลยตราบจนเสด็จสวรรคต ได้แต่มาเฝ้าเวลาเสด็จออกขุนนางที่พระที่นั่งอภิเศกเสิตแต่เกรงพระราชอาญาจึงไม่ได้เฝ้าตราบจนสิ้นัชกาล ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ จึงได้โปรดให้กลับเข้ารับราชการเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการตราบจนสิ้นพระชนม์
ส่วนกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมนั้น นอกจากเสด็จในกรมฯ แล้ว ยังรวมถึงพระโอรสที่ถูกห้าเฝ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงินปุ่นสี
อสุรผัด

ตอบ: 47
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 28 ก.พ. 06, 09:12
|
|
ขุนหลวงพระยาไกรสีฯ ที่เป็นคุณตาคุณมารุต บุนนาคคือ ขุนหลวงพระยาไกรสีฯ (เปล่ง เวภาระ) ครับ ภริยาท่านชื่อคุณหญิงทองคำ บุตรีคนท่านคนหนึ่งชื่อคุณผ่องศรีเป็นภรรยาของพระสุทธิสารวินิจฉัย (มะลิ บุนนาค) ซึ่งเป็นบิดาของคุณมารุต บุนนาค
ขุนหลวงพระยาไกรสีฯ (เปล่ง เวภาระ) ท่านนี้ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.๒๔๔๔ ส่วนงานพระราชทานเพลิงศพมาจัดในปี พ.ศ.๒๕๒๖ เหตุผลที่ช้าไปกว่า ๘๐ ปี ก็อย่างที่คุณน้าชูได้เขียนไว้ครับ
[ข้อมูลนี้ได้มาจาก หนังสืองานศพของขุนหลวงพระยาไกรสีฯ (เปล่ง เวภาระ), พ.ศ.๒๕๒๖]
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 28 ก.พ. 06, 18:37
|
|
ขุนหลวงพระยาไกรศรี (เปล่ง เวภาระ) นี้ เป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตจากประเทศอังกฤษ เสียดายที่ท่านอายุน้อยมิฉะนั้นคงได้เป็นเจ้าพระยาเสนบดีเป็นแน่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|