Little Sun
พาลี
   
ตอบ: 212
กำลังตามหาความฝัน
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 16 มี.ค. 04, 09:53
|
|
อาจารย์ต้องให้แฟนอาจารย์ให้คะแนนค่ะ เพราะคะแนนอาจมากกว่านี้แฟนอาจารย์ก็เลยเลือกอาจารย์ไงคะ หนูเกิดหลังจากอาจารย์แต่งงานได้ปีเดียวค่ะ ถ้างั้นหนูก็คงจะรุ่นเดียวกับลูกอาจารย์ใช่มั้ยคะ
หนูมักจะได้ยินบ่อยๆว่าคู่กันแล้วย่อมไม่แคล้วกัน จริงมั้ยคะ ตอนนี้หนูว่าหนูก็ก้าวเข้าประตูหมู่บ้านคานทองไปแล้วยังไม่เต็มก้าวดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Little Sun
พาลี
   
ตอบ: 212
กำลังตามหาความฝัน
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 16 มี.ค. 04, 09:56
|
|
ขอฝากบทความนี้เอาไว้ซักบทความ น่าจะเข้ากับกระทู้ บทความนี้นำมาจาก ลานธรรมค่ะ คัดย่อจาก หนังสือ "ชีวิตกับความรัก" ของท่าน อาจารย์ วศิน อินทสระ
…………….ความรักที่แท้จริงต้องการความเสียสละสูงเป็นอันมาก มีความสุขที่ได้เสียสละ ได้ทำอะไรให้กับคนที่ตนรัก และความเสียสละเป็นสัญลักษณ์สำคัญประการหนึ่งของความรัก และเป็นนิมิตหมายว่า เป็นความรักที่แท้จริง คือ ต้องเสียสละ ที่เรามักจะได้ยินอยู่เสมอว่าความรัก ต้นรัก ต้องรดด้วยน้ำตา มันต้องมีความเสียใจ มันต้องมีความเจ็บปวด นี่คือ ความรักที่เป็นโลกียะ………
……….. ความสุขที่เกิดจากความรักที่เจือด้วยความใคร่ในประสาทสัมผัส มักจะเป็นความสุขที่มีปัญหา มีความขัดแย้งและบกพร่อง เพราะว่าทั้งผู้รักและผู้ถูกรักก็ล้วนแต่เป็นผู้ที่ไม่สมบูรณ์ มีความบกพร่องอยู่ในตน เมื่อมาสัมพันธ์กันเข้า ก็เพิ่มความบกพร่องให้มากขึ้น เหมือนคนตาบอดคนหนึ่ง เมื่อมาสัมพันธ์กับคนตาบอดอีกคนหนึ่ง มันจะทำให้ตาดีขึ้นได้อย่างไร เป็นไปไม่ได้ มีแต่จะเป็นภาระมากขึ้น เรื่องนี้เป็นข้อสังเกต วิญญูชนผู้รู้ควรจะนำมาพิจารณา การที่คนไปสัมพันธ์กันด้วยความรัก ในแง่ของเสน่หาหรือ สิเน่หา นั้นคิดว่าจะทำให้ชีวิตสมบูรณ์ขึ้น แต่บางทีก็ทำให้ความทุกข์สมบูรณ์ขึ้น เพราะว่าเอาความบกพร่องทั้งสองไปบวกกัน คนหนึ่งก็บกพร่องอีกคนหนึ่งก็ยังบกพร่อง แล้วถ้าคนไม่มีธรรมะก็คอยจับผิดกัน ไม่มีธรรมะเป็นทางดำเนินของความรัก มันก็ไปนั่งจับผิดกัน ส่วนที่ดีก็ไม่พูดถึง มองแต่ส่วนที่ร้าย มันก็มีความบกพร่อง พอเอาความบกพร่องไปบวกกับความบกพร่องมันก็ยิ่งมีความบกพร่องมากขึ้น แล้วความบกพร่องมันก็เกิดขึ้นในใจ ………..
……….ควรจะทำความเข้าใจคู่สมรสของตนให้ถ่องแท้ และควรพยายามที่จะเข้าใจเขามากกว่าที่จะพยายามตั้งความหวังให้เขาเข้าใจเรา ควรทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ ดีกว่าที่จะพยายามให้เขาทำหน้าที่ของเขาให้สมบูรณ์ โดยที่ตัวเรายังบกพร่องอยู่นานาประการ ตัวเราก็ยังบกพร่องอยู่มากมาย แต่ว่าต้องการที่จะให้อีกคนหนึ่งหรืออีกด้านหนึ่งทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ หรือว่าถ้าเป็นเพื่อนกันเราก็ควรจะตั้งความหวังว่า ทำอย่างไรเราจะเป็นเพื่อนที่ดีของใครสักคนหนึ่ง ไม่ใช่คิดอยู่แต่ว่าทำอย่างไรเราจะได้เพื่อนที่ดีสักคนหนึ่ง………
……..การพ่ายรักและการชนะรัก ในภาษาโลกและในภาษาธรรม ถ้าสมมติว่าจำเป็นจะต้องเป็นไปอย่างนั้นแล้ว ก็ต้องพยายามที่จะทำอย่างไรให้ความรักเป็นพิษต่อจิตใจให้น้อยที่สุด คือว่ารักโดยประการที่จะทำให้มีทุกข์น้อยที่สุด แต่ถ้าเกิดมีความทุกข์ขึ้นทีไรก็ให้พิจารณาเห็นโทษสิ่งนั้นอยู่เนืองๆ ให้เห็นโทษของความรักอยู่เนืองๆ แทนที่จะไปโทษคนนั้นคนนี้ ก็ให้โทษความรักนั่นแหละเป็นตัวการสำคัญ บางทีเราก็ทำหน้าที่ไปโดยที่ว่ารับผิดชอบ มีความเข้าใจ อันนั้นสำคัญกว่าด้วยซ้ำไปสำหรับการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวกับความรักความผูกพัน คือ ทำไปตามหน้าที่ใน “ทิศหก” ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ทำหน้าที่ให้สมบูรณ์นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดี เราอาจจะมีความสุขที่สงบเย็นตามมามอบให้เป็นรางวัลในภายหลัง หรือแม้ในขณะที่ทำอยู่นั้นเอง ได้รู้สึกว่าเขาได้ทำหน้าที่ที่ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด เราก็ชื่นชมตัวเอง…………
………..การปรารถนาความสุขจากภายนอกไม่มีวันสนองความอยากให้เต็มบริบูรณ์ได้ เพราะโดยสภาวะที่แท้จริงแล้ว สิ่งเหล่านี้มีความบกพร่องอยู่ในตน เมื่อได้สิ่งนั้นมาจึงได้รับเอาความบกพร่องเหล่านั้นมาด้วย ท่านลองนึกดูรอบๆตัวท่านว่าท่านมีสิ่งใด ท่านก็ต้องทุกข์กับสิ่งนั้นบ้างไม่มากก็น้อย ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า มีบุตรย่อมเศร้าโศรกเพราะบุตร ย่อมเดือดร้อนเพราะบุตร ย่อมมีปัญหาเพราะบุตร ย่อมจะมีความกังวลเรื่องบุตร อย่างทำนาก็ย่อมมีโค ย่อมต้องเดือดร้อนเพราะโค สมัยก่อนพระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาไว้อย่างนั้น…………
………..ความรักที่มีอยู่โดยทั่วๆไปของคนทั้งหลาย เป็นความรักแบบโลกียะ(เกี่ยวกับโลก) นั่นมันวางอุเบกขาไม่ได้ วางไม่ลง มันปล่อยไม่ได้ ก็ยังสร้างความเดือดร้อนให้ไม่มากก็น้อย เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ต่ำ หรือในระดับที่ว่าเป็นน้ำที่รดผักได้ รดต้นไม้ได้ แต่ว่าไม่เพียงพอที่จะนำมาดื่มแก้ความกระหายได้ ขอให้เราช่วยกันคิดช่วยกันนึก ช่วยกันฝึกอบรมพัฒนาให้ดีขึ้น ให้สูงขึ้น เรียกว่าใช้ความรักให้เป็นประโยชน์กับชีวิต ไม่ใช่จมปลักอยู่กับความรักแล้วก็เศร้าหมองไม่มีการพัฒนา ไม่มีการเสาะหาแสวงหาทางที่จะหลุดพ้น พระพุทธเจ้าท่านก็ให้เห็นคุณเห็นโทษ แล้วก็เห็นทางออกว่าเราจะออกอย่างไร อย่างนี้เป็นต้น และก็พร้อมที่จะออกไปได้เหมือนเนื้อป่าที่นอนทับกองบ่วงอยู่ แต่ไม่ติดบ่วงเมื่อพรานป่ามาก็พร้อมที่จะหนีไปได้ ไม่เหมือนเนื้อที่ติดบ่วงมันหนีไม่ได้ มันต้องเป็นเหยื่อของนายพราน มันต้องถูกจับถูกยิงอย่างนี้นะครับ………
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ถาวภักดิ์
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 17 มี.ค. 04, 13:28
|
|
นึกขลังขึ้นมา ขอเถียงท่านอาจารย์วศิน อินทสระ ของหนูตะวันหน่อยเถิด
"…………….ความรักที่แท้จริงต้องการความเสียสละสูงเป็นอันมาก......" - ถ้าต้องถึงกับเสียสละก็ไม่ใช่ความรักในนิยามของผม รักในพจนานุกรมของความคือความสุขที่ได้ให้แก่คนรัก
"……….. ความสุขที่เกิดจากความรักที่เจือด้วยความใคร่ในประสาทสัมผัส มักจะเป็นความสุขที่มีปัญหา มีความขัดแย้งและบกพร่อง......." - บ้า ความรักกับเซ็กส์เป็นไวพจน์ของกันและกัน ถ้าละวางจากกามราคะได้ ก็หมดรักแล้ว เหลือได้แต่พรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อย่างผมถ้ารู้สึกรักผู้หญิงคนไหน ก็ย่อมเห็นเธอผู้นั้นเป็นที่ปรารถนา ต้องการแต่จะคลอเคลีย โลมเล้าไม่รู้ห่าง และก็แน่นอนว่าความสุขที่เกิดจากการสัมผัสนั้นจะสมบูรณ์ไปไม่ได้ หากเธอไม่สุขสมไม่รู้เบื่อด้วยเช่นกัน
"……….ควรจะทำความเข้าใจคู่สมรสของตนให้ถ่องแท้ และควรพยายามที่จะเข้าใจเขามากกว่าที่จะพยายามตั้งความหวังให้เขาเข้าใจเรา......." - ก่อนคิดจะสมรสต้องรู้จักตนเองก่อน มิฉะนั้นแล้วอย่าคิดรับผิดชอบชีวิตใคร ตัวของตัวเองยังไม่รู้จักแล้วจะไปรู้จักใครอื่นได้
"……..การพ่ายรักและการชนะรัก......" - ความรักไม่ใช่การแข่งขันเอาชัย หากคิดเอาชนะแล้ว นั่นย่อมไม่ใช่ความรัก
"………..การปรารถนาความสุขจากภายนอกไม่มีวันสนองความอยากให้เต็มบริบูรณ์ได้ เพราะโดยสภาวะที่แท้จริงแล้ว สิ่งเหล่านี้มีความบกพร่องอยู่ในตน......." - เออ อันนี้ไม่เถียงก็ได้ เล่นเอาพระธรรมมาพูด ใครจะเถียงได้ละหว่า
"………..ความรักที่มีอยู่โดยทั่วๆไปของคนทั้งหลาย เป็นความรักแบบโลกียะ(เกี่ยวกับโลก) นั่นมันวางอุเบกขาไม่ได้ วางไม่ลง มันปล่อยไม่ได้ ก็ยังสร้างความเดือดร้อนให้ไม่มากก็น้อย....." - ก็ความรักเป็นเรื่องของโลกอยู่แล้ว วางอุเบกขาได้เมื่อไร ก็เป็นการปฏิบัติแบบพรหม หรือเรียกว่าประพฤติพรหมจรรย์ เป็นการออกจากกาม ก็ย่อมหมดรัก แต่ถ้ายังมีรัก ก็ต้องมีทุกข์ และยินดีพอใจที่จะแบกรับทุกข์นั้นไว้เพื่อคนรักเสียด้วยซ้ำ
นี่แหละจำไว้นะหนูตะวัน ความรักของนักเลงโบราณเป็นแบบนี้ ตรงไปตรงมา ไม่มีการสร้างภาพ เป็นความรักที่สร้างชาติสืบแผ่นดินไว้ให้ลูกหลาน ทีมันแตกแยกมีปัญหาอยู่ทุกวันนี้ เพราะมันรักไม่เป็นแม้แต่รักตัวเอง เป็นแต่เห็นแก่ตัวทั้งนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Little Sun
พาลี
   
ตอบ: 212
กำลังตามหาความฝัน
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 18 มี.ค. 04, 10:21
|
|
"…………….ความรักที่แท้จริงต้องการความเสียสละสูงเป็นอันมาก......" - ถ้าต้องถึงกับเสียสละก็ไม่ใช่ความรักในนิยามของผม รักในพจนานุกรมของความรักคือความสุขที่ได้ให้แก่คนรัก *** แต่หนูคิดว่าการให้ก็คือการเสียสละอย่างหนึ่งนะคะ สละได้แม้จะต้องแลกกับชีวิต (หนูคิดเอง นิยายจริง จริ๊ง)
"……….. ความสุขที่เกิดจากความรักที่เจือด้วยความใคร่ในประสาทสัมผัส มักจะเป็นความสุขที่มีปัญหา มีความขัดแย้งและบกพร่อง......." - บ้า ความรักกับเซ็กเป็นไวพจน์ของกันและกัน ถ้าละวางจากกามราคะได้ ก็หมดรักแล้ว เหลือได้แต่พรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อย่างผมถ้ารู้สึกรักผู้หญิงคนไหน ก็ย่อมเห็นเธอผู้นั้นเป็นที่ปรารถนา ต้องการแต่จะคลอเคลีย โลมเล้าไม่รู้ห่าง และก็แน่นอนว่าความสุขที่เกิดจากการสัมผัสนั้นจะสมบูรณ์ไปไม่ได้ หากเธอไม่สุขสมไม่รู้เบื่อด้วยเช่นกัน *** จากบรรทัดแรก อ่านดูแล้ว ความรักมีความหมายแค่เพียงเรื่องนี้หรือคะ (ดูจากบรรทัดแรก)
"……….ควรจะทำความเข้าใจคู่สมรสของตนให้ถ่องแท้ และควรพยายามที่จะเข้าใจเขามากกว่าที่จะพยายามตั้งความหวังให้เขาเข้าใจเรา......." - ก่อนคิดจะสมรสต้องรู้จักตนเองก่อน มิฉะนั้นแล้วอย่าคิดรับผิดชอบชีวิตใคร ตัวของตัวเองยังไม่รู้จักแล้วจะไปรู้จักใครอื่นได้ *** หนูคิดว่าศึกษาตัวเองไม่พอหรอกค่ะ ต้องทำความเข้าใจคนรักบ้าง รักเค้าอย่างที่เค้าเป็น เข้าใจว่าทำไมเค้าต้องเป็นแบบนั้น "……..การพ่ายรักและการชนะรัก......" - ความรักไม่ใช่การแข่งขันเอาชัย หากคิดเอาชนะแล้ว นั่นย่อมไม่ใช่ความรัก *** การพ่ายรักและการชนะรัก จากข้อความนี้ หนูคิดว่า ไม่น่าจะเป็นการแข่งขันแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะรักไม่เป็นต่างหากจึงต้องทุกข์ใจเพราะหวังมากเกินไปแล้วไม่ได้ดั่งใจ นี่น่าจะหมายถึงการพ่ายรัก การชนะรัก น่าจะหมายถึงคนที่รู้จักรักรักด้วยสมอง ไม่คิดแต่ได้ รู้จักที่จะให้และยอมบ้างในบางครั้ง "………..การปรารถนาความสุขจากภายนอกไม่มีวันสนองความอยากให้เต็มบริบูรณ์ได้ เพราะโดยสภาวะที่แท้จริงแล้ว สิ่งเหล่านี้มีความบกพร่องอยู่ในตน......." - เออ อันนี้ไม่เถียงก็ได้ เล่นเอาพระธรรมมาพูด ใครจะเถียงได้ละหว่า *** อาจารย์ท่านมีหน้าที่สอนธรรมะและเผยแพร่ธรรมะน่ะค่ะ
"………..ความรักที่มีอยู่โดยทั่วๆไปของคนทั้งหลาย เป็นความรักแบบโลกียะ(เกี่ยวกับโลก) นั่นมันวางอุเบกขาไม่ได้ วางไม่ลง มันปล่อยไม่ได้ ก็ยังสร้างความเดือดร้อนให้ไม่มากก็น้อย....." - ก็ความรักเป็นเรื่องของโลกอยู่แล้ว วางอุเบกขาได้เมื่อไร ก็เป็นการปฏิบัติแบบพรหม หรือเรียกว่าประพฤติพรหมจรรย์ เป็นการออกจากกาม ก็ย่อมหมดรัก แต่ถ้ายังมีรัก ก็ต้องมีทุกข์ และยินดีพอใจที่จะแบกรับทุกข์นั้นไว้เพื่อคนรักเสียด้วยซ้ำ *** ออกจากกาม กับหมดรัก ไม่น่าจะเกี่ยวกันนะคะ เราอาจจะเปลี่ยนจากรักแบบสามีภรรยามาเป็นรักเหมือนเพื่อน เหมือนพี่น้องก็ได้ใช่มั้ยคะ สถานะเปลี่ยนไป แต่ความรักยังคงอยู่ มีเมตตา มีความปรารถนาดีให้แก่กัน บางคนพอเลิกรักกัน กลายเป็นศัตรูกัน เพราะคิดว่าไม่เกี่ยวกันแล้ว เธอจะเป็นตายร้ายดีก็เรื่องของเธอ อย่างนี้ฟังดูไม่ค่อยดีเลย น่าจะนึกถึงตอนรู้จักกันครั้งแรกบ้าง
นี่แหละจำไว้นะหนูตะวัน ความรักของนักเลงโบราณเป็นแบบนี้ ตรงไปตรงมา ไม่มีการสร้างภาพ เป็นความรักที่สร้างชาติสืบแผ่นดินไว้ให้ลูกหลาน ทีมันแตกแยกมีปัญหาอยู่ทุกวันนี้ เพราะมันรักไม่เป็นแม้แต่รักตัวเอง เป็นแต่เห็นแก่ตัวทั้งนั้น (กราบขอบพระคุณ สำหรับข้อคิดค่ะ)
***หนูต้องขอโทษคุณถวามิภักดิ์ด้วยนะคะหากหนูแสดงความเห็นไม่ถูกกาละเทศะ ถือว่าเป็นการดีค่ะที่มีคนมาแสดงความคิดเห็นกับบทความทำให้เห็นมุมมองกว้างขึ้นไปอีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Little Sun
พาลี
   
ตอบ: 212
กำลังตามหาความฝัน
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 18 มี.ค. 04, 10:50
|
|
ขอฝากขอยกธรรมบท ในเรื่องของนางโกลิกาผู้ประหารกิเลส (ซึ่งเป็นข้อความที่พระอานนท์ได้เมตตาให้ธรรมกับนางโกกิลาผู้หลงรักพระอานนท์) บางตอนมาให้อ่านกันค่ะ(คัดลอกข้อความมาจากคุณ satina ลานธรรม)
ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้วจะเป็นพิษแก่จิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้นเหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธออย่าพอใจในเรื่องความรักเลย เมื่อหัวใจถูกลูบไล้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่ น้องหญิง! อย่าหวังอะไรให้มากนัก จงมองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่นซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่งและแตกกระจายเป็นฟองฝอย จงยืนมองดูชีวิตเหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่งมองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทรฉะนั้น
"โกกิลาเอย! เมื่อความรักเกิดขึ้น ความละอายและความเกรงกลัวในสิ่งที่ควรกลัวก็พลันสิ้นไป เหมือนก้อนเมฆมหึมา เคลื่อนตัวเข้าบดบังดวงจันทร์ให้อับแสง ธรรมดาสตรีนั้นควรจะยอมตายเพราะความละอาย แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้นความละอายมักจะตายไปก่อนเสมอ เมื่อความใคร่เกิดขึ้นความละอายก็หลบหน้า เพราะเหตุนี้พระบรมศาสดาจึงตรัสว่าความใคร่ทำให้คนมืดบอด อนึ่งโลกมนุษย์ของเรานี้ เต็มไปด้วยชีวิตอันประหลาดพิสดารต่างชนิดและต่างรส ชีวิตของแต่ละคนได้ผ่านมาและผ่านไป ด้วยความระกำลำบากทุกข์ทรมาน ถ้าชีวิตมีความสุขก็เป็นความหวาดเสียวที่จะต้องจากชีวิตอันรื่นรมย์นั้นไป
"โกกิลาเอย! มนุษย์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาเป็นฝ้าบังปัญญาจักษุนั้น เป็นเสมือนทารกน้อยผู้หลงเข้าไปในป่าใหญ่อันรกทึบซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายอันน่าหวาดเสียวและว้าเหว่เงียบเหงา มนุษย์ส่วนใหญ่แม้จะร่าเริงแจ่มใสอยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง แต่ใครเล่าจะทราบว่าในส่วนลึกแห่งหัวใจเขาจะว้าเหว่ และเงียบเหงาสักปานใดแทบทุกคนว้าเหว่ไม่แน่ใจว่าจะยึดเอาอะไรเป็นหลักของชีวิตที่แน่นอน เธอปรารถนาจะเป็นอย่างนั้นด้วยหรือ?
"น้องหญิง! บัดนี้เธอมีธรรมเป็นเกาะที่พึ่งแล้วจงยึดธรรมเป็นที่พึ่งต่อไปเถิด อย่าหวังอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย โดยเฉพาะความรักความเสน่หาไม่เคยเป็นที่พึ่งจริงจังให้แก่ใครได้ มันเป็นเสมือนตอที่ผุ จะล้มลงทันทีเมื่อถูกคลื่นซัดสาด
"ธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้น พระศาสดาทรงสอนให้เว้นเสีย เพราะฉะนั้นแม้จะประสบปัญหาหัวใจ หรือได้รับความทุกข์ยากลำบากสักปานใด ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้น ย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติในภายหลังแล้ว ก็ควรตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้วจำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ
"น้องหญิง! ธรรมดาว่าไม้จันทร์นั้น แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สงครามก็ไม่ทิ้งลีลา อ้อยแม้เข้าสู่หีบยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม พระศาสดาทรงย้ำว่าพึงสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรักษาธรรม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ถาวภักดิ์
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 18 มี.ค. 04, 12:11
|
|
*** แต่หนูคิดว่าการให้ก็คือการเสียสละอย่างหนึ่งนะคะ สละได้แม้จะต้องแลกกับชีวิต (หนูคิดเอง นิยายจริง จริ๊ง) - นี่ไง ถ้ารู้สึกว่าต้อง"เสีย"สละ ย่อมไม่ใช่สิ่งที่ทำด้วยความยินดีพอใจ ฉะนั้นผมจึงยืนยันว่า ถ้ารักจริงต้องมีความสุขที่จะให้ และไม่รู้สึกว่าต้องเสีย ต้องสละ
*** จากบรรทัดแรก อ่านดูแล้ว ความรักมีความหมายแค่เพียงเรื่องนี้หรือคะ (ดูจากบรรทัดแรก) - นี่เป็นส่วนหนึ่งของการทำความรู้จักตัวเอง ไม่หลอกตัวเอง ตราบใดที่เรายังไม่เป็นพระอนาคามี เราย่อมยังมีกามราคะทั้งสิ้น ถ้าเราไม่ซื่อสัตย์ตรงไปตรงมากับตนเองแล้ว จะไปหวังความซื่อสัตย์จากใครอื่นได้ ผู้ที่จะแก้ปัญหาได้ ย่อมต้องยอมรับก่อนว่ามีปัญหา หากตนเองยังไม่ยอมรับ เทวดาหน้าไหนก็ช่วยแก้ไม่ได้
*** หนูคิดว่าศึกษาตัวเองไม่พอหรอกค่ะ ต้องทำความเข้าใจคนรักบ้าง รักเค้าอย่างที่เค้าเป็น เข้าใจว่าทำไมเค้าต้องเป็นแบบนั้น - ผู้ที่มีปัญญาที่ปราณีตละเอียดอ่อนพอที่จะรู้จักตนเองอย่างแท้จริง จึงจะมีปัญญารู้จักผู้อื่นได้ ปัญญาแบบนี้แหละจะเป็นรากฐานที่มั่นคงในการแผ่ความสุขไปสู่คนโดยรอบ พระอรหันต์ได้รับการกราบไหว้บูชาโดยทั้งสามโลก ท่านไม่ได้ไปทำความเข้าใจเอาชนะใครอื่นเลย ท่านทำความเข้าใจแต่ในตนจนบังเกิดปัญญาเอาชนะกิเลสในตนเองเท่านั้น
*** การพ่ายรักและการชนะรัก จากข้อความนี้ หนูคิดว่า ไม่น่าจะเป็นการแข่งขันแต่อย่างใด ...... - โดยเนื้อหาไม่ได้เถียงจ้ะ ติงแต่การใช้คำ ความรักที่จะเป็นพิษน้อยย่อมต้องไม่มองว่าเป็นการแข่งขัน มิฉะนั้นแล้วคือความเห็นแก่ตัว หาใช่รักไม่
*** อาจารย์ท่านมีหน้าที่สอนธรรมะและเผยแพร่ธรรมะน่ะค่ะ - ทราบอยู่จ้ะ เคยผ่านตาผลงานของอาจารย์วศินมานานมาก แต่มุมมองของผู้คนใจยุคของอาจารย์ โดยเฉพาะในประเด็นการให้นิยามความรักนั้น ผมเห็นว่ายังสับสน และเป็นทฤษฎีหรืออุดมการณ์ ที่ไม่ตรงกับความจริง ทัศนคติของผู้คนในยุคอาจารย์ที่ผมเห็นว่าไม่ถูกต้อง เป็นรากฐานที่พัฒนามาเป็นความไม่รู้จักตนเองของคนในยุคปัจจุบัน และเป็นรากเหง้าของทุกปัญหาร้ายแรงที่เรากำลังเผชิญอยู่ในสังคม
*** ออกจากกาม กับหมดรัก ไม่น่าจะเกี่ยวกันนะคะ เราอาจจะเปลี่ยนจากรักแบบสามีภรรยามาเป็นรักเหมือนเพื่อน เหมือนพี่น้องก็ได้ใช่มั้ยคะ ........ - นี่ก็อีก ความสำนึกในความเนื่องต่อบุคคลอื่นนั้นเป็นกามาวจร ก็คือยังข้องอยู่ในกามราคะนั่นแหละ ถ้าวางอารมณ์ในพรหมวิหารได้ ก็เป็นพรหม และที่สำคัญและสูงมาก คืออุเบกขา ปัจจุบันหนูตะวันยังอาจไม่ค่อยต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่นมากนัก จึงอาจยังไม่สามารถเข้าใจได้เต็มที่ ต่อไปถ้าต้องมีกิจกรรมร่วมกับคนจำนวนมาก ยิ่งต้องรับผิดชอบดูแลคนจำนวนมาก ถ้าไม่รู้จักวางอารมณ์พรหมวิหารเลย ถ้าไม่ถูกเขาฆ่าตาย ก็คงได้ฆ่าตัวตายเอง
***หนูต้องขอโทษคุณถวามิภักดิ์ด้วยนะคะหากหนูแสดงความเห็นไม่ถูกกาละเทศะ...... - ไม่มีอะไรต้องโทษจ้ะ ยกเว้นที่พิมพ์ชื่อผิด คนเราย่อมมีทัศนะคติไม่ตรงกันบ้างเป็นธรรมดา นึกสนุกก็เอามาเถียงกันซะที ถ้าวางอุเบกขาไม่เป็นก็กลายเป็นความขัดแย้ง ขยายตัวไปเป็นโทสะ นี่เห็นหรือยังว่าอุเบกขานะดีจริง อย่าไปหาว่าเป็นการหมดรัก ที่เราคิดอย่างนั้นเพราะเรายังไม่รู้จักตัวเอง คิดแบบเห็นแก่ตัว แม้แต่รักตัวเองอย่างแท้จริงก็ยังทำไม่เป็น ต่อไปถ้าหนูตะวันได้สมรสสมรักกับผู้ที่รู้จักอารมณ์อุเบกขาอย่างแท้จริง นั่นแหละคือโชคอันประเสริฐ ที่สำคัญอย่าทำตนเป็นลิงได้แก้วก็แล้วกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Little Sun
พาลี
   
ตอบ: 212
กำลังตามหาความฝัน
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 18 มี.ค. 04, 19:53
|
|
- นี่ไง ถ้ารู้สึกว่าต้อง"เสีย"สละ ย่อมไม่ใช่สิ่งที่ทำด้วยความยินดีพอใจ ฉะนั้นผมจึงยืนยันว่า ถ้ารักจริงต้องมีความสุขที่จะให้ และไม่รู้สึกว่าต้องเสีย ต้องสละ *** แต่หนูคิดว่าถ้าการเสียสละมาจากใจนั่นย่อมแสดงว่า พอใจนะคะ สาระสำคัญไม่น่าจะอยู่ที่พอใจแต่น่าจะอยู่ที่การกล้าเสียสละดีกว่าไม่กล้าที่แม้จะสละอะไร
- นี่เป็นส่วนหนึ่งของการทำความรู้จักตัวเอง ไม่หลอกตัวเอง ตราบใดที่เรายังไม่เป็นพระอนาคามี เราย่อมยังมีกามราคะทั้งสิ้น ถ้าเราไม่ซื่อสัตย์ตรงไปตรงมากับตนเองแล้ว จะไปหวังความซื่อสัตย์จากใครอื่นได้ ผู้ที่จะแก้ปัญหาได้ ย่อมต้องยอมรับก่อนว่ามีปัญหา หากตนเองยังไม่ยอมรับ เทวดาหน้าไหนก็ช่วยแก้ไม่ได้ *** น่าคิดนะคะ จริงอยู่คนที่จะละกามได้ต้องเป็นพระอนาคามี แต่ถ้าเราไม่มัวหมกมุ่นคิดแต่เรื่องนี้มีสติอย่างต่อเนื่องอยู่กับปัจจุบันให้มาก อย่างน้อยเรื่องนี้ก็ต้องห่างๆเราไปบ้าง ถึงจะไม่สามารถตัดขาดได้ก็ตาม
- ผู้ที่มีปัญญาที่ปราณีตละเอียดอ่อนพอที่จะรู้จักตนเองอย่างแท้จริง จึงจะมีปัญญารู้จักผู้อื่นได้ ปัญญาแบบนี้แหละจะเป็นรากฐานที่มั่นคงในการแผ่ความสุขไปสู่คนโดยรอบ พระอรหันต์ได้รับการกราบไหว้บูชาโดยทั้งสามโลก ท่านไม่ได้ไปทำความเข้าใจเอาชนะใครอื่นเลย ท่านทำความเข้าใจแต่ในตนจนบังเกิดปัญญาเอาชนะกิเลสในตนเองเท่านั้น *** แต่โดยมากคนธรรมดาสามัญชนยังไม่ได้เป็นพระอรหัตน์กันนี่คะ จึงทำอย่างท่านไม่ได้ หนูเห็นด้วยค่ะว่าก่อนอื่นเราต้องรู้จักตัวเองก่อนแต่ก็ยังยืนยันว่าต้อง ศึกษาทำความเข้าใจคนรอบตัวบ้าง ไม่เฉพาะแต่คนที่เรารักและตัวเอง เพราะจิตใจเป็นเรื่องที่ละเอียดและซับซ้อนพอสมควร การศึกษานิสัยใจคอคนหรือจริตของแต่ละคนเป็นเรื่องสำคัญนะคะถ้าเราสารถรู้จริตคนที่เราต้องพบปะและอยู่ร่วมกันจะทำให้เราสามารถเข้าใจคนเหล่านั้นขึ้น เช่นถ้าอยู่ใกล้คนที่มีโทสะจริต (โทสะจริตจะมีลักษณะโผงผางทำอะไรเสียงดัง ทำอะไรรวดเร็ว ) แล้วเค้ามักทำอะไรเสียงดัง ถ้าเราไม่เข้าใจว่าเค้ามีลักษณะอย่างนี้เอง เราก็จะพาลโกรธเค้าได้และอาจคิดว่าเค้าทำประชดเราหรือเปล่า ประโยชน์ของการรู้จริตมีประโยชน์อย่างมากถ้าเจ้านายรู้จริตลูกน้อง คนแบบนี้ต้องพูดด้วยยังไง เราจะใช้ให้ใครทำงานนี้ดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราจะรู้จริตของใครได้ก็ต้องศึกษาดูก่อน
- ทราบอยู่จ้ะ เคยผ่านตาผลงานของอาจารย์วศินมานานมาก แต่มุมมองของผู้คนใจยุคของอาจารย์ โดยเฉพาะในประเด็นการให้นิยามความรักนั้น ผมเห็นว่ายังสับสน และเป็นทฤษฎีหรืออุดมการณ์ ที่ไม่ตรงกับความจริง ทัศนคติของผู้คนในยุคอาจารย์ที่ผมเห็นว่าไม่ถูกต้อง เป็นรากฐานที่พัฒนามาเป็นความไม่รู้จักตนเองของคนในยุคปัจจุบัน และเป็นรากเหง้าของทุกปัญหาร้ายแรงที่เรากำลังเผชิญอยู่ในสังคม ***แล้วแบบไหนคะถึงจะถูกต้อง ความรักไม่มีถูกผิดไม่ใช่หรือคะ
-ไม่มีอะไรต้องโทษจ้ะ ยกเว้นที่พิมพ์ชื่อผิด คนเราย่อมมีทัศนะคติไม่ตรงกันบ้างเป็นธรรมดา นึกสนุกก็เอามาเถียงกันซะที ถ้าวางอุเบกขาไม่เป็นก็กลายเป็นความขัดแย้ง ขยายตัวไปเป็นโทสะ นี่เห็นหรือยังว่าอุเบกขานะดีจริง อย่าไปหาว่าเป็นการหมดรัก ที่เราคิดอย่างนั้นเพราะเรายังไม่รู้จักตัวเอง คิดแบบเห็นแก่ตัว แม้แต่รักตัวเองอย่างแท้จริงก็ยังทำไม่เป็น ต่อไปถ้าหนูตะวันได้สมรสสมรักกับผู้ที่รู้จักอารมณ์อุเบกขาอย่างแท้จริง นั่นแหละคือโชคอันประเสริฐ ที่สำคัญอย่าทำตนเป็นลิงได้แก้วก็แล้วกัน *** หนูเห็นด้วยค่ะว่าอุเบกขาดีจริง ถ้าหนูเป็นลิงก็ขอกล้วยน้ำว้าดีกว่าค่ะไม่อยากได้แก้ว แหะแหะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ถาวภักดิ์
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 19 มี.ค. 04, 10:21
|
|
ยุคของอาจารย์วศินเป็นยุคที่นิยมบูชาวัฒนธรรมตะวันตกอย่างไม่ลืมหูลืมตา เวลาจะกล่าวถึงความรักอันบริสุทธิ์ก็นิยมหยิบยกเอาทฤษฎีพลาโตนิกเลิฟมาเป็นคัมภีร์
หากวัฒนธรรมฝรั่งนั้นเป็นวัฒนธรรมแห่งการสร้างภาพ ที่พัฒนาตนขึ้นมาจากการชูกิเลสและผลประโยชน์เป็นเป้าหมาย
ดูอย่างคำว่า Double Stadard ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงหยิบยกมาเป็นหนึ่งในหัวข้อที่พระราชทานตักเตือน เป็นคำศัพท์ของวัฒนธรรมฝรั่งโดยแท้ หาคำไทยที่มีความหมายกระชับตรงกันไม่ได้
ในวัฒนธรรมไทยไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติศัพท์เช่นนี้ เพราะพระพุทธศาสนาที่แทรกอยู่ในทุกอณูของวัฒนธรรมไทย หล่อหลอมอบรมให้บรรพบุรุษไทยรู้จักใช้สติสร้างปัญญาให้เท่าทันธรรมารมณ์ในตน อันมีผลให้เท่าทันความดีชั่วในผู้อื่นไปด้วย อย่างไม่สามารถสร้างภาพปิดบังได้ และยังมีความซื่อตรงทั้งในและนอกด้วยศีล บรรพบุรุษไทยจึงรู้ถึงคุณค่าแห่งความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
ถ้าส่วนใดที่อาจารย์วศินหยิบยกมาแสดงเป็นพระธรรมของแท้ ย่อมไม่สามารถเถียงได้ สิ่งใดที่สลับสับสนกับทัศนคติและวัฒนธรรมที่มุ่งร้าย สิ่งนั้นเป็นอันตรายเป็นพิษภัยที่จำเป็นต้องคัดแยกมิให้ปะปนกับของดีของสูงที่เป็นมรดกสูงค่าของชาวไทย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Little Sun
พาลี
   
ตอบ: 212
กำลังตามหาความฝัน
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 22 มี.ค. 04, 12:28
|
|
บางครั้งเราต้องยอมรับนะคะว่าคำบางคำต้องให้เป็นภาษาอังกฤษ เช่น Computer , printer และอื่นๆ เรียกชื่อไทยคงแปลกๆ
ทฤษฎีความรักของพลาโตนิกเลิฟเป็นยังไงหนูไม่ทราบหรอกค่ะ รู้แต่ว่ารักก็คือรัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|