เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 19158 สามี ภรรยา
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
 เมื่อ 25 ก.พ. 04, 10:49

 พอดีผมไปอ่านมาจากเว็บนึงว่า

สามี แปลว่า ผู้เลี้ยง; ผัว
ภรรยา แปลว่า ผู้ควรเลี้ยง; เมีย

แปลอย่างนี้จริงๆหรือเปล่าครับ แล้วทั้งสองคำนี้มาจากภาษาอะไรครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 ก.พ. 04, 11:27

 เคยได้ยินแต่ ปาล แปลว่าผู้เลี้ยง  เราเอามาใช้ว่า บาล
อย่างโคบาล คือคนเลี้ยงวัว  ตรงกับ cowboy ค่ะ

สามี มาจาก สฺวามินฺ  คำบาลีและสันสกฤต   ใช้ตรงกัน
แปลว่านาย หรือเจ้าของค่ะ   น่าจะตรงกับ master
ส่วนภรรยา  หรือภริยา   สันสกฤตเรียกว่า ภารฺยา  บาลีใช้ ภริยา  เรารับมาทั้ง 2 คำ  แปลว่า ผู้ได้รับการเลี้ยงดู  ผู้ได้รับการค้ำจุน

มันก็บ่งถึงหน้าที่ในสมัยโบราณว่าสามีเป็นผู้เหนือกว่า เพราะเลี้ยงดูภรรยา จึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของ
ส่วนภรรยาก็อยู่ในฐานะผู้อยู่ในการค้ำจุน ให้สามีเลี้ยงดู

ว่าแต่คุณเปี้ยวสงสัยขึ้นมาเพราะกำลังจะไปทำหน้าที่เลี้ยงดูใคร  หรือยังไงล่ะคะ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 ก.พ. 04, 17:50

 คำว่า สามี กับ บดี เดิมความหมายเหมือนกัน มี 2 ความหมาย คือ ผู้เป็นใหญ่ ผัว คำว่าสามี แปลว่าผู้เป็นใหญ่ก็ได้ แต่ต่อมามักใช้ในความหมายว่าผัว ส่วนบดี แปลว่าผัวก็ได้แต่ต่อมามักใช้ในความหมายว่าผู้เป็นใหญ่

แต่สะท้อนว่า แขกฮินดูโบราณมองว่าสามีเป็นใหญ่ในครอบครัวเหนือภรรยา ซึ่งไม่จำเป็นต้องจริงเช่นนั้นในครอบครัวไทย (แฮ่ะๆ...)

ผมเคยแกล้งแผลงแปล อธิบดี ว่า ผัวหลวง ไม่ใช่ผัวน้อย ส่วนผัวน้อยก๊อ อนุบดี อิอิอิ -
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 ก.พ. 04, 18:13

 จากบทสวดมนต์
สามีจิปฏิบิันโน หมาย ถึง พระสงฆ์คือผู้ที่ปฏิบัติสมควรแล้ว
ถ้าเช่นนี้จริง สามี น่าจะหมายถึงเหมาะ หรือสมควร
แต่ผมว่าไม่ค่อยเหมาะเท่าไรที่จะแปลแบบนี้
ผมเห็นด้วยกับคำแปลของคุณ"เทาชมพู" เพราะเคยอ่านเจอในพจนานุกรมภาษาบาลี

ส่วนคำว่า ภรรยา หรือ ภริยา
ในความเห็นผมนะครับ
ภร น่าจะมาจาก ภาระ
ภรรยา ก็คือผู้ที่เป็นภาระ
(คล้าย ๆ ราหุล ที่เป็นห่วงผูกคอ)
ภาระอันนี้ ก็คงจะหมายถึง เป็นผู้ที่ต้องถูกเลี้ยงดู

แต่บางทีก็ไม่ใช่
เห็นมีสามีบางคนคอยแต่ให้ภริยาเลี้ยงดู
เช่น ทำกับข้าวให้สามีกิน จัดบ้านให้เรียบร้อยไว้คอยท่าสามี
เจ้าหล่อนทำสารพัดเลย เลยไม่รู้ว่า ใครกันแน่ที่เป็นภาระ
 
บันทึกการเข้า
บ้านายคำเก่ง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 52

ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 27 ก.พ. 04, 09:12

 สรีสวัสสดีชุผู้ทุฅนน่อ ...

ที่ล้านนาบ้านข้าม่อนนั้นตะก่อนเพิ่นตั้งสวาธุเจ้าหลวงครูบาทังหลายมีราชชครู สังฆราชา สะหวามีสามีก็ว่า แล มหาเถน ... คำว่า สะหวามีคือว่าสามีนี้เปนคำทังพายในแล

เพิ่นเอาคำมุนี้ลุกแต่เมืองลงกาพุ้นมาน่อเช่นไปสืบสาสนามานั้นแล

ที่ล้านนานั้นบ่เคยมีคำว่าสามีแปว่าผัว หลอนว่าจักร้องผัวก็ว่าผัวอี้นา เปนท้าวพญาไหย่ประเทสท้องห้องไดก็ว่าผัวทึงหมดหั้นแล ฅะเท้ามาเถิงขึ้นไธยจิ่งมีคำว่า ... ตนเปนสามิกา ... คำว่า สามิกา แปว่าผัวแล

คำว่า เมีย นั้นก็ร้องเมียมาเมินแล้วแลจักหมายเอาสองคำแล เมีย ที่เปนคู่ผัว แล เมีย คือว่า พิกบ้าน ไพบ้านแล ส่วนว่า ภันรยา นั้น คำเมืองเพิ่นว่า ภันนยา รือว่า ภรัพน์ยา ก็ปะคำนี้พร้อมกันกับ สามิกา นั้นแล

มีเจี้ย ๑ ว่า พระกินเหล้าทุเจ้าเอาเมีย ไผผิด ....

(คำแปลภาษาไทย)

สวัสดีทุกๆคนครับ

ที่ล้านนาบ้านผมนั้น ในอดีตมีการตั้งตำแหน่งพระสงฆ์ให้เป็น ราชครู สังฆราชา สวามีหรือสามีก็เรียก และ มหาเถร... คำว่าสวามีหรือสามีนี้จึงเป็นคำที่ใช้ในฝ่ายสงฆ์

คำเหล่านี้นำมาจากการรับพระพุทธศาสนาที่ลังกา

ที่ล้านนานั้นไม่มีคำว่าสามีที่แปลว่าผัว หากจะเรียกผัวก็เรียกว่าผัว แม้แต่กษัตริย์หรือเจ้าเมืองใดก็ตามก็เรียกว่าผัว(เพราะไม่มีคำราชาศัพท์) ตราบจนกระทั่งล้านนากลายเป็นประเทศราชของสยามจึงปรากฎมีคำว่า ... ตนเป็นสามิกา .. คำว่า สามิกา แปลว่าผัว

คำว่าเมียก็เช่นเดียวกันใช้เรียกคู่กันกับผัวมานานแล้วซึ่งคำว่าเมียมีสองความหมาย ความหมายหนึ่งคือคู่ของสามี และอีกความหมายแปลว่า กลับบ้าน (ล้านนาเรียกว่า พิกบ้าน -- อ่านว่า ปิ๊กบ้าน ก็ได้ เมียบ้าน ก็ได้) ส่วนคำว่า ภรรยา นั้น ภาษาล้านนาเขียนว่า ภันนยา หรือ ภรัพน์ยา ก็มาพร้อมๆกับ สามิกา

มีโจ๊กตลกถามว่าพระกินเหล้าทุเจ้าเอาเมีย--(พระ-กิ๋น-เหล้า-ตุ๊-เจ้า-เอา-เมีย)... ใครผิด ?

คำตอบคือ พระ ... เพราะพระหมายถึง เณร ทุเจ้า หมายถึงพระสงฆ์ เมียแปลว่า กลับ

ดังนั้นแปลว่า สามเณรฉันเหล้าแต่พระสงฆ์เอากลับวัด (เรื่องนี้จึงมีเฮตามมา)
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 27 ก.พ. 04, 10:07

 (เห็นคุณพนายคำฯ ใส่เสียงในฟิล์ม ผมเลยเอามั่ง)

กาโฮ้ ฮัจช่ะ อีนี่ในภาษาอินตะระเดีย คำว่า สวามี อีนี้ก็เป็นคำเรียกนักบวชฮินดูเหมือนกันน่ะ คะร้าบ อีนี้มีท่านนักบวชฮินดูหลายท่านใช่ไทเทิ่ล คำนำหน้าชื่อ ว่าสวามี น่ะ เช่น สวามีสัตยานันท ปุรี นะนายจ๋า อีนี้ถ้าสวามีแปลว่า นาย หรือผู้เป็นใหญ่ อีนี้ก็ปายโตรงกับคำว่า Master นะนายจ๋า Master ภาษาฝรั่ง นอกจากแปรว่านาย ยังแปรได้ว่าอาจารย์หรือครูเหมือนกันน่ะคะร้าบ คงแปรว่าท่านครูผู้เป็นใหญ่คะร้าบ อั๊ชช่า -

ทางพระพุทธศาสนา อีนี้ สามี เป็นส่วนหนึ่งของคำสรรเสริญพระสังฆคุณด้วยคะร้าบ อีนี่คุณครูนิรันดร์เขียนไว้ข้างบนแล้วคะร้าบ นอกจากนั้นเคยเป็นสมณศักดิ์พระผู้ใหญ่สมัยก่อนด้วยคะร้าบ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดวัดช้างไห้ ทางปักษ์ใต้ ท่านก็เคยได้รับถวายสมณศักดิ์จากราชสำนักอยุธยาเป็นท่านเจ้าคุณ สมณศักดิ์ท่านว่าอะร้าย - สามีราม ๆ อะไรทำนองนั่นคะร้าบ (จำไม่ได้แน่คะร้าบ)

อ้อ- คำว่าเมีย ที่คำเมืองแปลว่า กลับ นั่น ทางเมืองลาวเมืองอิสานบ้านเฮาก็ใช้คำเดียวกันอยู่เด๊อครั่บ เขาฮ้องว่า "เมือ" เช่น เมือเวียงจัน แปลว่ากลับเวียงจันทน์ นั่นแลอ้าย

สู่มาเต๊อะ ขอถามอีกคำ แล้วคำว่า ปิ๊ก นั่น ใจ้แปลว่า กลับ เหมือนกัน แม่นก่อ ?
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 ก.พ. 04, 10:08

 อ้อ เพิ่งอ่านเห็นมีคำว่าปิ๊กบ้านอยู่แล้ว ขอบคุณหลายๆ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 01 มี.ค. 04, 11:42

 ขอฝากไปยังอาจารย์นิรันดร์ครับ ในความเห็นที่ 3

ตามความเข้าใจของผมเองนั้น บทสวดสรรเสริญพระสังฆคุณที่ผมก็จได้กระท่อนกระแท่นเต็มที (ห่างวัดครับ) ท่านว่า
สุปฏิบันโน ภควโต สาวกสังโฆ
อุชุปฏิปันโน ภควโต...
ญายปฎิบันโน ...
และ สามีจิปฏิปันโน ... ฯลฯ

วรรคสุดท้ายมีคำว่าสามีที่อาจารย์ยกมาด้วย

แต่คำแปลนั้นผมเข้าใจว่า สุปฏิปันโน ฯ วรรคแรกท่านจะแปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติ "ดี" (สุ แปลว่า ดี) อุชุปฏิปันโน ฯ นั้นถ้าผมเข้าใจไม่ผิดแปลว่า  ... เป็นผู้ปฏิบัติ  "งาม - เรียบร้อย" (แต่ไม่แน่ใจ) ญายปฏิปันโน ฯ วรรคนี้นั่นดูจะแปลว่า ...ปฏิบัติ "เหมาะสม" ส่วนสามีจิปฏิปันโน ฯ นั้น ผมจำไม่ได้เสียแล้วว่าแปลว่าอะไร หนังสือสวดมนต์แปลก็เผอิญไม่มีกับตัวขณะนี้ แต่จำคำพระได้คำหนึ่งว่า "สามีจิกรรม" แปลว่าการที่พระท่านทำความเคารพกันตามลำดับผู้ใหญ่ผู้น้อย ยังงั้น สามีจิ- จะแปลว่า อันควรเคารพ ได้ไหมครับ สามีจิปฏิปันโน ฯ ก็น่าจะแปลว่า เป็นผู้ปฏิบัติน่าเคารพ

ถ้า สามี แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ ได้ ก็น่าจะหมายความรวมไปได้ด้วยว่า เป็นผู้ได้รับความเคารพด้วย?
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 01 มี.ค. 04, 11:49

 ปั่นกระทู้ต่อ พักนี้ไม่เห็นค่อยมีใครเข้ามา

ปล. ...


















ถ้าผมอยากเป็นสามีมั่ง (สัญญาว่าถ้าได้เป็น จะเป็นสามีที่เคารพภริยาอย่างยิ่งเชียวครับ ไม่ว่าคำสองคำนี้เดิมจะแปลว่าอะไรมาก็ช่างเถอะ) ผมควรจะทำยังไงดี ใครช่วยผมหน่อยสิครับ...
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 01 มี.ค. 04, 13:31

 เท่าที่ผมทราบนะครับ
อุชุ น่าจะแปลว่าตรง
อุชุปฏิบันโน คือพระสงฆ์ท่านคือผู้ปฏิบัติในแนวเส้นตรงของทางสู่พระนิพพานครับ

ส่วน ญาญะปฏิปันโน ก็น่าจะหมายถึง การปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดปัญญา

ส่วนผู้ที่สมควรได้รับการกราบไหว้ น่าจะเป็น อัญชลีกรณีโย

ผมฉีกทางนั้นออกมา 30 ปีแล้วครับ แต่ก็ยังพยายามระลึกถึงคำสั่งสอนเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตครับ
บันทึกการเข้า
Little Sun
พาลี
****
ตอบ: 212

กำลังตามหาความฝัน


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 01 มี.ค. 04, 19:02

 ลิตเติ้ลมีคำตอบค่ะเอ่อหมายถึงบทสวดมนต์นะคะ  ลิตเติ้ลขอยกมาทั้งบทเลยแล้วกันจะได้คลายความสงสัยและมั่นใจขึ้น
บทสวดนี้เรียกว่า   สังฆาภิถุติ  ในวงเล็บพระท่านจะเป็นผู้นำสวดค่ะ

(หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส.)

           โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว ;
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว ;
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว ;
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว ;
ยะทิทัง,
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ ;
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ;
อาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา ;
ปาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ ;
ทักขิเณยโย,
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน ;
อัญชะลิกะระณีโย,
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี ;
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ,
เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ;
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น ;
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า ;

ลิงค์บทสวดมนต์อื่นๆ
 http://www.geocities.com/Athens/Olympus/1288/bkindx02.htm  
บันทึกการเข้า
Little Sun
พาลี
****
ตอบ: 212

กำลังตามหาความฝัน


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 01 มี.ค. 04, 19:10

 คำว่า  ญายะ   หมายถึง หลักปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นจากทุกข์ คำๆนี้บังเอิญเมื่อ2อาทิตย์ที่แล้วลิตเติ้ลผ่านไปเจอเค้านั่งเรียนกันที่ห้องสมุดเรื่อนธรรมพอดี  รายละเอียดมีอะไรบ้างถ้ามีโอกาสลิตเติ้ลจะไปถามอาจารย์ท่านอีกทีค่ะ
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 02 มี.ค. 04, 15:14

ขอตั้งข้อสังเกตุครับคือในอินเดียนี่ ผู้หญิงเป็นคนไปสู่ขอผู้ชาย แถมต้องจ่ายค่าสินสอดตั้งหลายรูปี พอได้ฝ่ายชายมา ผู้ชายก็กลายเป็น Master และผู้ให้การเลี้ยงดู ส่วนผู้หญิงก็กลายเป็น ภรรยา หรือ ผู้ได้รับการเลี้ยงดู ผู้ได้รับการค้ำจุน หรือผู้ได้รับการคุ้มครอง

อืมมม... ต้องจ้างสามีมาเป็นรปภ. และ เจ้านาย น่าสงสารจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
Little Sun
พาลี
****
ตอบ: 212

กำลังตามหาความฝัน


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 03 มี.ค. 04, 13:13

 คุณสมบัติของสุภาพบุรุษที่ดีทั้ง ๑๐ ประการ มีดังต่อไปนี้(ที่ควรพิจรณาก่อนจะเลือกคู่ครอง)

๑.รักงาน ขยันขันแข็ง
    วิธีสังเกต เขาสนุกกับการทำงานหรือเปล่า เป็นคนสู้ชีวิตไหม เคยบ่นร้อนบ่นหนาว หรือ บ่นท้อใจให้เราได้ยินหรือไม่
๒.ใจดี มีเมตตา ไม่โกรธง่าย
    วิธีสังเกต อารมณ์ดีเสมอหรือไม่ เวลาเขาเจออะไรที่ขัดใจ เขาแสดงอาการโกรธหรือเปล่า ใครพูดขัดคอ
     เขาโกรธหรือไม่ เป็นต้น
๓.เป็นเพื่อนคู่คิดสำหรับทุก ๆ คน
    วิธีสังเกต เขาเป็นเพื่อนที่ปรึกษาที่ดีของทุก ๆ คนหรือเปล่า เขาเป็นคนรับฟัง เข้าอกเข้าใจคนอื่นหรือเปล่า
๔.เป็นคนเสียสละ
    วิธีสังเกต ในยามที่มีสถานการณ์เฉพาะหน้าอะไรบางอย่างที่ต้องการคนที่เสียสละ เขาเคยแสดงตัวอย่าง
      ของความเสียสละให้เราเห็นหรือเปล่า
๕.ใจซื่อ มือสะอาด
    วิธีสังเกต เขามีอาชีพทุจริตอะไรหรือเปล่า เขาเป็นคนรักความถูกต้อง ไม่ชอบการคดโกงหรือไม่
๖.ไม่เป็นคนโอ้อวด
    วิธีสังเกต เขาเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตัวหรือเปล่า ชอบอวดเก่ง อวดรวย หรือ อวดโก้เก๋ หรือไม่
๗.ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
    วิธีสังเกต เขาเป็นคนกระตือรือร้น ชอบช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชังหรือเปล่า
๘.พูดจาสุภาพ อ่อนโยน
    วิธีสังเกต เขาเป็นคนพูดจาสุภาพกับทุก ๆ คนหรือเปล่า เขามีความอ่อนโยนให้เกียรติต่อสุภาพสตรีหรือไม่
๙.จดจำคุณความดีของผู้อื่น ไม่เคยลืม
    วิธีสังเกต เขาเคยพูดถึงคุณความดีของคนอื่น ๆ ให้เราฟังบ้างหรือเปล่า หรือว่าเป็นคนที่เห็นแต่ความ
      ดีของตัวเอง แต่ไม่เห็นความดีของคนอื่น
๑๐.เชื่อมั่นในการทำความดี ไม่หวังพึ่งอำนาจดลบันดาล
    วิธีสังเกต เขาเคยแสดงความมั่นใจในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยไม่คิดที่จะไปพึ่งพาอาศัยใคร
      หรือไม่คิดที่จะไปกราบกรานขอโชคลาภกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดใด หรือเปล่า
กติกา
๑.ให้สังเกตเฉพาะบุรุษที่เรารู้จักนิสัยใจคอดีแล้วเท่านั้น เช่น เพื่อนร่วมงาน คนข้างบ้าน ฯลฯ ไม่นับดารา หรือ นักร้อง เพราะนั่นเรารู้จักแค่ผิว ๆเผิน ๆ นะจ๊ะ
๒.คุณสมบัติข้อใดที่เห็นได้ชัดเจนว่ามีอยู่จริง ให้คะแนน ๑ คะแนน คุณสมบัติข้อใด สังเกตแล้วเห็นว่าไม่มี หรือ มีนิสัยตรงกันข้าม ให้ ๐ คะแนน
๓.ให้คะแนนครบทุกข้อแล้ว รวบรวมคะแนนเก็บไว้ดูเล่นเป็นสถิติส่วนตัว ไม่บอกใคร ฮิฮิ
๔.เกมนี้นอกจากจะฝึกการสังเกตแล้ว ยังเป็นการฝึกนิสัยให้รู้จักเลือกคบหาแต่คนที่ดี ๆ ต่อไปในภายหน้าจะได้ไม่น้ำตาเช็ดหัวเข่านะจ้ะ
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 15 มี.ค. 04, 11:16

คุณอาทิตย์ดวงน้อยครับ

ผมว่า ถ้าจะต้องได้ดีครบ 10 ข้อ อย่างว่า ผมว่าสาว ๆ หลายท่านคงต้องไปอยู่คานทองนิเวศน์กันเป็นแถว ๆ แน่เลย

แต่ผมก็เ้ห็นด้วยนะครับ
ถ้าไม่ได้คนดีเป็นคู่ครอง อยู่คนเดียวก็คงจะมีความสุขกว่า
ไม่เป็นการเพิ่มประชากรให้แก่โลกด้วย

ผมดูแล้วเทียบกับตัวเองแล้วคงได้ไม่ถึง 50 % ของ 10 ข้อของคุณอาทิตย์ดวงน้อยหรอกครับ แต่ก็มีกุลสตรีเป็นเหยื่อรองรับอารมผมไปหนึ่งท่านนานกว่า 26 ปีแล้ว(อายุบุตรีคนโตของผม คาดว่าน่าจะไล่เลียกับคุณ little son กระมัง)
ตอนนั้นบัญญัติ 10 ประการนี้คงยังไม่มี ไม่งั้นผมคงไม่ได้แต่งงานแน่  
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง