เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 10458 โหมโรงกันซะหน่อย
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 15 มี.ค. 04, 19:21

 มีบทความของคุณ มุกหอมวงษ์เทศเขียนไว้ในมิติชนสุดสัปดาห์เกี่ยวกับโหมโรง คิดว่าน่าสนใจเลยคัดบางส่วนมาให้อ่านกันครับ

----------------------------------------------
อันที่จริงแล้ว ปี่พาทย์ไม้แข็งและขนบการให้ระนาดเอกเป็น "พระเอก" ที่ดุดันเกรี้ยวการดทั้งเขื่องและข่มทั้งพลิ้วและไหว ทั้งสะบัดทั้งขยี้อย่างโลดโผนแหวกแนวนั้น (หรือการกลายเป็นการแสดงฝีมืออย่าง Virtuoso) ไม่ได้มีมาแต่โบราณและในประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวและเขมร แต่เริ่มมาในสมัยรัตนโกสินทร์ หรือโดย ครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะนั่นเอง

ทางระนาดอย่างนี้สร้างสรรค์ก็จริง แต่ก็ส่งผลอย่างลึกซึ้งต่อวัฒนธรรมดนตรีไทยหลายๆ อย่างด้วยกัน

เช่นการระนาดไม้แข็งของวงปี่พาทย์ทั่วไปนั้นหากพูดอย่างทางสุนทรียะของเสียแล้ว ต้องถือว่า(ประทานโทษ) หนวกหู และ "กลบ" เสียงดนตรีชนิดอื่นที่ไม่มีพลังทางเสียงและแนวการเล่นที่โดดเด่นเท่า

คนทั่วไปที่ฟังปี่พาทย์ก็จะได้ยินแต่ ระนาดเอกกับปี แทบไม่มีทางจะเงี่ยหูให้ได้ยินฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดทุ้มได้เลย

การประสมเสียงวงด้วยการคำนึงถึงสุนทรียศาสตร์ของ "การฟัง" จึงหายไป หรือไม่เคยได้รับความสนใจ ปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาต่อไป

การฟังจึงอยู่แต่ในหมู่นักดนตรีและผู้เชี่ยวชาญกันเอง และดนตรีปี่พาทย์ก็จะจำกัดอยู่แต่ในบริบทของการเล่นประกอบการแสดง พิธีกรรม และการประชันขันแข่งในหมู่คนวงในเองเท่านั้นอย่างน่าเสียดาย ทั้งๆที่ดนตรีจะสืบต่อย่างมีพลังในสังคมได้นั้นต้องมี "ผู้ฟังสาธารณะ" ไม่ใช่มีแต่ผู้เล่น

นอกจากฝู้ฟังรุ่นใหม่แล้ว สิ่งที่วงการดนตรีไทยน่าจะพัฒนาควบคู่ไปด้วยเพื่อมิให้มีแต่วัฒนะรรมระนาดเอกที่ง่ายต่อการล้ำไปเป้นความกร่าง คือวัฒนธรรมระนาดทุ้ม หรือวัฒนธรรมฆ้องวง ซึ่งมีสุ้มเสียงที่เสนาะโสต และแนวทำนองที่มีชั้นเชิงลูกเล่นแพรวพราว ซึ่งถ้าทำให้วงปี่พาทย์เป็นดนตรีเพื่อ "การฟัง" จริงๆได้ ก็อาจจะขยายวัฒนธรรมการฟังดนตรีไทยไปได้มากกว่าที่เป็นอยู่
--------------------------------------------------
เป็นที่รู้กันว่า นอกจากปัจจัยทางการเมืองภายนอกและขบวนการถ่ายทอดที่เข้มงวดแล้ว สิ่งกีดขวางพัฒนาการของวงการดนตรีไทยอย่างสำคัญคือ ขนบการมี"ครู"ที่"แรง"และ การ"หวง"วิชา ทั้งๆที่ครูหวงประดิษฐ์ฯ เป็นผู้ "แหกขนบ" ที่สร้างสรรค์อย่างแท้จริงและไม่หวงวิชามิใช่หรือ

ฉากสุดท้ายที่ "ผู้พัน" ล่าถอยไปจากบ้านของ "ท่านครูศร" อย่างยอมจำนนต่อเสียงระนาดอันมหัศจรรย์นั้น เป็นฉากที่มีพลังที่ทิ้งทายต่อผู้ชมว่าในที่สุดตัวแทนของอำนาจรัฐก็จะพ่ายต่อศิลปะ คงมีผู้ชมน้ำตาคลออยู่ไม่น้อย

นี่เป็นพลังของภาษาหนัง แต่ความเป็นจริงคงไม่ใช่
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 15 มี.ค. 04, 19:32

(ต่อ ...)
โหมโรง คงก่อให้เกิดกระแสดื่มด่ำซาบซึ่ง"ดนตรีไทย"พอๆกับที่สุริโยไท ได้ก่อให้เกิดกระแสขวนขวายอยากรู้อยากเห็น "ประวัติศาสตร์ไทย" เพราะทั้งสองสิ่งมีความหมายรวบยอดคือ "ความเป็นไทย" แม้ปรากฎการณ์ภาพยนตร์ไม่ธรรมดาเหล่านี้จะจุดประกายให้มีผู้สนใจอย่างจริงจังได้บ้าง แต่ "กระแส" ก็คือ "กระแส" แปลอีกแบบได้ว่า "แฟชั่น" ที่มีช่วงเวลา "in" และ "out" มาแล้วก็ไป

ส่วนที่มีอยู่ตลอดไม่ยอมไป รอแต่ตัวกระตุ้นให้ปะทุทะลักทลายออกมา กลับเป็นเรื่องที่น่าศึกษษทางการแพทย์ ผู้ที่ปรากฎอาการนี้เรียกมันว่า "ต่อมความเป็นไทย"

"ต่อมความเป็นไทย" ซึ่งเกิดทำงานอย่างเฉียบพลันฉุกละหุก "ต่อมความเป็นไทย" นี้ยังไม่ได้รับการค้นคว้าวิจัยอย่างเพียงพอว่าสถิตอยู่ตรงไหนในร่างกายหรือจิตวิญญาน ประกอบด้วยเนื้อเยื่ออะไรบ้าง มีหน้าที่และทำงานอย่างไร ติดเชื้อชนิดไหนได้ หรือสร้างอาการข้างเคียงอย่างไรกับอวัยวะอื่น ...

... ในกรณีของผู้ปรากฏอาการเหล่านี้หลังจากได้ดูโหมโรงแล้ว จะเกิดอาการฟูมฟาย "ความเป็นไทย" ในลักษระพการระลึกชาติได้ออกมาทั้งทางการพูด การเขียน ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยสนใจดนตรีไทย หรืเอเรื่องของวัฒนธรรมและอำนาจในสังคมไทยมาก่อน แต่ประสบการณ์เพียงสองชั่วโมงสามารถทำให้หวนระลึกและเข้าถึงความเป็นไทยที่น่าเทิดทูน และมีอยู่ในก้นบึ้งจิตใจตัวเองอย่างไม่รู้ตัวมาก่อนได้สมบูรณ์ไม่บกพร่อง

"ความเป็นไทย"  อย่างนี้ไม่ได้อยู่ในชีวิตปกติของชนชั้นกลาง เพราะจะเข้าถึงได้โดยผ่านตัวกลาง "สื่อ" ที่จำลองภาพเท่านั้น แต่จะว่าไปเกือบทุกสิ่งทุกอย่างในโลกสมัยนี้ก็ถูกรับรู้ผ่าน "สื่อ" แทบทั้งนั้น ...
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 มี.ค. 04, 19:47

 (ต่อ...ลอกเขามาอีกทีจากมติชนสุดสัปดาห์)

... โหมโรง สมควรอย่างยิ่งที่จะเป็น "โหมโรง" สำหรับคนไทยทุกคนและรัฐบาลที่ไม่รู้จักรากเหล้าตัวเองแต่ลุ่มหลงความเป็นไทย และยังเป็นหนังที่กัดกินใจชนชั้นกลางในเมืองที่หูชุ่มโชกหมกอยู่ใน Commercial music หรือ noise pollution ที่เสนอหน้าตัวเองว่าเป็น "music" อยู่ตลอดเวลา

หนังเรื่องนี้อาจไม่จำเป็นอะไรสำหรับชาวบ้านส่วนหนึ่งที่ไปดูโขน ละคร ลิเก ฟังปี่พาทย์ตามปกติธรรมดาในวิธีชีวิตอยู่แล้ว ไม่มีความเป็นไทยอะไรให้โหยหาโหยหอน เมื่ออยู่ในภาพชีวิตจริงก็ไม่จำเป็นต้องไปแสวงหาอดีตหรือวัฒนธรรมที่ตัวเองไม่รู้จักจากภาพจำลอง

ใครก็ตามอาจรู้สึกว่า "ดนตรี" และ "บท" ในโหมโรงสามารถไปได้ลึกและมีพลังกว่านี้ ฉากจบค่อนข้างอ่อนและยังมีความเป็น melodrama  โหมโรง น่าจะถูกดูชมในแง่ของศิลปะภาพยนต์ ไม่ใช่เป็นเพียง "แถลงการณ์ของความเป็นไทย" ที่จริตคนดูชนชั้นกลางละเมอเพ้อพกกันไปเองอย่างไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อ

ไม่ว่าสังคมใด Traditional arts อาจเปลี่ยนแปลงหรือไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ปรับตัว โรยราดับสูญ หรือไม่ "สื่อ" กับคนรุ่นใหม่ แต่ที่แน่ๆนั้นไม่ใช่เรื่องเชย ความรู้สึกหยาบๆ ตื้นๆ ว่า "เชย" กับ "art" ตามประเพณีเป็นปัญหาของคนที่ไม่รู้จักวัฒนธรรมและไม่มีรสนิยมทางศิลปะเอง

ในขณะที่ Commercial music และมิคสิควีดีโอของค่ยเพลงหรือวัฒนธรรม "ทันสมัย" อื่นๆชนิดที่ปรับให้เป็นไทยๆ นั้นเข้าไกล้ความกลวงและไร้รสนิยมมากกว่า ซึ่งเป็นปัญหาของคนส่วนใหญ่และสังคมไทยที่ยังไม่เคยตระหนักเองต่างหาก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง