เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 12244 คำว่านิสิตและนักศึกษามีที่มาอย่างไร
มาดาณัส
อสุรผัด
*
ตอบ: 9

80/2 ซอยเสนานิคม 1 ถนนพหลโยธิน เขตลาดพร้าว กทม. 10230


 เมื่อ 08 ม.ค. 04, 12:09

 อ่านข่าวเรื่องโจรวัยรุ่นปล้นทรัพย์นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตร ก็เลยเกิดกังขาว่ามีการกำหนดการเรียกกันอย่างไร ที่คุ้นหูหน่อยก็มีอยู่ 2 มหาวิทยาลัยที่ใช้นิสิต คือ จุฬาลงกรณ์ ฯ และ เกษตรศาสตร์ นอกนั้นเรียกกันว่านักศึกษา ช่วยสงเคราะห์ตอบให้หน่อยว่า มีที่มาอย่างไร ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 ม.ค. 04, 14:49

 http://www.vcharkarn.com/snippets/vcafe/show_message.php?Pid=4612

คุณ"ลุงแก่" ตอบไว้ว่า

คำว่า "นิสิต" นี้ เมื่อก่อนเข้าใจกันว่าหมายถึงเฉพาะนักศึกษาที่ทางมหาวิทยาลัยจัดให้มีหอพักอยู่ภายในมหาวิทยาลัยด้วยเช่นจุฬาฯ หรือเกษตรศาสตร์ ส่วนทีไม่มีหอพักนั้นเรียกว่า"นักศึกษา"
อย่างของธรรมศาสตร์นั้น
เรื่องนี้ไม่เป็นเช่นนั้น คำว่า"นิสิต หรือ นิสสิต" นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏ เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงแปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Matriculated Student" ดังที่ปรากฏ
อยู่ในระเบียบการทั่วไปแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ดังมีข้อความนี้

"นิสิต(Matriculated Student) นับเอาจำพวกที่สอบได้ประโยคมัธยมบริบูรณ์(คือมัธยมปีที่ ๘)แล้ว
เข้าเป็นนักเรียนชั้นสูงซึ่งเรียนตามหลักสูตร เพื่อจะสอบวิชาเป็นบัณฑิต(Graduate)ของสำนัก"
***********************************
เรื่องของคำว่า นิสิต จากระเบียบการทั่วไปฯ ที่อ้างถึงในต้นกระทู้ ขอเพิ่มเติมดังนี้
"ข้อ ๙ การสอบวิชานักเรียนมัธยมบริบูรณ์ ซึ่งโรงเรียนจะเลือกเข้าเป็นนักเรียนชั้นนิสิต เป็นหน้าที่ของ
กระทรวงธรรมการสอบไล่อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการสอนวิชาชั้นต้น ซึ่งโรงเรียนแผนกต่างๆ จะเลือกเข้า
เป็นนักเรียนชั้นศิษย์ก็ควรจะมีเจ้าหน้าที่สอบไล่เป็นแห่งเดียวกัน จะได้เทียบวิชาสูงต่ำได้เสมอกัน เวลานี้
โรงเรียนข้าราชการพลเรือนจึงได้มอบให้กระทรวงธรรมการเป็นผู้สอบวิชานักเรียนให้ นักเรียนที่จะเข้า
สอบวิชาชั้นต้นนี้ เพื่อกันไม่ให้ผู้ที่มีความรู้ต่ำเกินไปเข้ามาขอสมัครสอบ เป็นเหตุให้เสียเวลาของการตรวจ
สอบ กระทรวงธรรมการจะเรียกค่าธรรมเนียมจากผู้สมัครสอบก็ได้ แต่อย่างสูงไม่เกินคนละ ๕ บาท"
บันทึกการเข้า
มาดาณัส
อสุรผัด
*
ตอบ: 9

80/2 ซอยเสนานิคม 1 ถนนพหลโยธิน เขตลาดพร้าว กทม. 10230


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 ม.ค. 04, 19:10

 แจ่มแจ้งชัดเจนเชียวละคุณเทาชมพู น่าทึ่งมากที่ "ลุงแก่" เคยตอบเอาไว้เมื่อ ต.ค. 43 ยังสามารถค้นหาเอามาตอบให้ ที่สำคัญยังสามารถจดจำคำเหล่านี้ได้ ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ ต่อไปนี้ลูกหลาน หรือใครก็ตามสงสัยจะได้ตอบให้หายข้องใจ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 09 ม.ค. 04, 07:47

 ที่นี่มี search engine ค่ะ  อยู่ในหน้าเวบบอร์ด ซ้ายบน
หรือเข้าไปตามลิ้งค์นี้
 http://www.vcharkarn.com/sitemap/cafesearch.php?Cowner=17

พิมพ์คำที่ต้องการค้นหา
เลือก กระทู้เรือนไทย  ทางขวามือ  
ทางซ้ายมือตรงที่เขียนว่า เฉพาะชื่อกระทู้ คลิกตัวเลือกจะเห็นคำว่า เนื้อหา ก็เลือกตัวนั้น แล้วกด v search
แล้วจะเจอกระทู้ที่มีคำที่ค้นหา อาจจะหลายกระทู้ด้วยกัน  ก็ต้องมาเลือกกันอีกทีว่าจะเอากระทู้ไหน
บันทึกการเข้า
dordek
อสุรผัด
*
ตอบ: 10

ทำธุรกิจส่วนตัว


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 29 พ.ค. 04, 01:46


ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 29 มิ.ย. 05, 23:15

 ขอขยายความเพิ่มเติมจากที่ลุงแก่ได้อธิบายไว้
คำว่า "นิสสิต" หรือ "นิสิต" ถ้าแปลตามคำศัพท์แล้วจะแปลว่า "ผู้อาศัย"  ซึ่งหมายถึงเมื่ออดีตกาลนั้นนักเรียนจะเรียนวิชาก็จำต้องไปฝากตัวเป็นศิษย์ในสำนักอาจารย์ต่างๆ เช่นในยุโรปก็ไปฝากตัวตามสำนักของบาทหลวง  ในเมืองไทยเราก็ต้องไปบวชเรียนหรือฝากตัวเป็นศฺญ์พระ  เพื่อให้พระท่านสั่งสอนวิชา  เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ก่อนที่จะประดิษฐานเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในเวลาต่อมา  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงนำหลักการที่ใช้ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดและเคมบริดจ์ซึ่งนักเรียนผู้ที่จะเข้าศึกษาต้องไปฝากตัวเป็ฯศิษย์ในสำนักหรือวิทยาลัย (College) ซึ่งเปรียบได้กับบ้านต่างๆ  และต้องเข้าไปพักในวิทยาลัยตามกำหนดของมหาวิทยาลัย  เพื่อได้รับการฝึกหัดอบรมโดยใกล้ชิดจากผู้เป็นอาจารย์  มาใช้ในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนหรือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อมา  ฉะนั้นคำว่านิสสิตโดยความหมายที่แท้จึงต้องเข้าพักอาศัยในสถานที่ที่มหาวิทยาลัยจัดให้เพื่อให้ได้รับการศึกาอบรมที่สมบูรณ์  ต่างกับยักศึกษาซึ่งถึงเวลาก็มาเรียน  เมื่อเลิกเรียนก็กลับบ้าน  แต่ในสมัยปัจจุบันเนื่องจากจำนวนนักเรียนที่มากขึ้นการให้การศึกษาอบรมตามความมุ่งหมายเดิมไม่สามารถจัดมีต่อไปได้  เพราะจำต้องใช้งบประมาณและสถานที่จำนวนมาก  คำว่า "นิสสิต" ในปัจจุบันจึงคงเป็นคำเรียกขานเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงวัตถุประสงค์เดิมในการจัดตั้งมหาวิทยาลัย
บันทึกการเข้า
kenkorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 35

อาจารย์พิเศษ


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 02 ก.ค. 05, 18:17

 ถ้าอย่างนั้นนิสิตที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แต่ไม่ได้พักอยู่ในหอพักก็คงจะต้องเรียกนักศึกษาซิครับ

ขอถามเพิ่มเติมอีกอย่างด้วยครับ สำหรับการแบ่งว่าคนไหนเรียนที่ไหนและควรจะเรียกว่านักเรียน นิสิต นักศึกษา ใช้อะไรเป็นเกณฑ์การเรียก เช่น นักเรียนโรงเรียนนายเรือ ดูจากระดับการศึกษาแล้วก็น่าจะเรียกว่านิสิตได้เหมือนกันซิครับเพราะเขาก็มีหอพักเหมือนกัน นักเรียนการบิน อย่างนี้เป็นต้น หรือนี้เป็นแค่การอุปโหลกนามตามความต้องการของผู้บริหารรุ่นเก่าก่อน โดยหาสาระความสำคัญไม่ จักเรียกอย่างไรตามใจเป็นไทยแท้
บันทึกการเข้า
ดารากร
อสุรผัด
*
ตอบ: 47

นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 ก.ค. 05, 19:16

 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังคงใช้คำว่า นักศึกษา อยู่ ถึงแม้ว่าตอนนี้นักศึกษาที่ศูนย์รังสิต ส่วนใหญ่จะพักอาศัยอยู่ในหอพักภายในบริเวณมหาวิทยาลัยก็ตาม

ดิฉันคิดว่าการใช้คำว่านิสิตหรือนักศึกษานั้น ถ้าตอนก่อตั้งมหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยนั้น ๆ เรียกอย่างไร ก็คงให้เรียกอย่างนั้นสืบมาน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 03 ก.ค. 05, 09:01

 คำเรียก นักเรียน นิสิต นักศึกษา ปัจจุบันไม่เคร่งครัดแล้ว  
ขึ้นอยู่กับผู้บริหารว่าจะกำหนดคำไหน
มหาวิทยาลัยที่มีหอพัก   หลายแห่งก็เรียกผู้เรียนว่า นักศึกษา
บันทึกการเข้า
kenkorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 35

อาจารย์พิเศษ


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 03 ก.ค. 05, 18:26

 มหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ใช้คำว่านิสิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (รวมทุกวิทยาเขต)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และที่แยกออกไปบริหารเองเช่น มหาวิทยาลัยบูรพา มหาลัยทักษิณ มหาลัยนเรศวร มหาลัยมหาสารคาม
และมหาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (อันนี้ไม่ค่อยจะแน่ใจเพราะดูจากโปสเตอร์ตอนจัดงานแนะแนวการศึกษาใช้คำว่านิสิต)
บันทึกการเข้า
kenkorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 35

อาจารย์พิเศษ


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 03 ก.ค. 05, 18:40

 ยังมีอีกมหาลัยหนึ่งที่ตกไป เพราะเคยใช้คำว่า นิสิต อยู่ชั่วขณะหนึ่งคือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แต่เพราะเหตุผลใดก็ไม่ทราบที่เปลี่ยนมาใช้คำว่า นักศึกษา คาดว่าน่าจะเกิดจากความพึงพอใจของผู้บริหารในขณะนั้นมากกว่า
แต่จุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ มหาลัยที่ใช้คำว่า นิสิต มักจะเป็นมหาลัยของรัฐ และเป็นมหาลัยเก่าแก่ทั้งสิ้น ไม่ยักจะมีมหาลัยที่เป็นของเอกชน และมีหอพักอยู่ข้างใน ผมว่าคำนี้อาจจะดูมีระดับกว่าน๊ะ ผมเองก็มีความภูมิใจกับคำนี้ อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัว
บันทึกการเข้า
adithus
อสุรผัด
*
ตอบ: 17

ฟังเฟืองตัวเล็กที่ยังหมุนอยู่ คนจริงชื่อจริงไม่ปกปิดชื่อแซ่


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 08 ก.ค. 05, 16:51

 ม.อ. ไม่เคยใช้คำว่านิสิต ในจังหวัดสงขลา มีเฉพาะ มหาวิทยาลัยทักษิณ (เดิมคือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ )เท่านั้นที่ใช้คำว่านิสิต และปัจจุบันก็ยังใช้อยู่
บันทึกการเข้า
kenkorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 35

อาจารย์พิเศษ


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 08 ก.ค. 05, 17:57

 แฮะๆๆๆ  แรกเริ่มเดิมทีนะ ม.อ. ได้เปิดสอนคณะวิทยาศาสตร์ มาก่อนตั้งแต่ปี 2510 โดยใช้พื้นที่ของ ม.มหิดล กรุงเทพฯ มาก่อน หลังจากนั้น จึงได้ย้ายไปอยู่ ปัตตานี เพื่อเปิดสอนคณะศึกษาศาสตร์ โดย ศ.นพ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา เป็นคณะบดีคนแรกด้วย  และก็เริ่มใช้คำว่า นิสิต ตั้งแต่คราแรก แต่พอมาถึงยุคหนึ่งก็เปลี่ยนมาใช้คำว่านักศึกษาแทน โดยคนที่เปลี่ยนผมก็จำไม่ได้ว่าเป็นอธิการบดีคนไหน แต่เชื่อเหอะ ข้อมูลผมนะชัวร์ 100 เปอร์เซ็น55555555555  ว่าแต่คุณจะเชื่อแค่ไหน หรือไม่งั้นก็ลองถามใครดูเพราะเปิดมาก็ ยังไม่ถึง 40 ปีเลย อิอิอิ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 08 ก.ค. 05, 18:16

 http://www.thaiengineering.com/webboard/question.asp?QID=2886
นิสิต นักศึกษา สองคำนี้ต่างกันอย่างไร ใครอยากทราบเชิญทางนี้ครับ

ว่าด้วยข้อถกเถียง นิสิต นักศึกษา
บ่อยครั้งที่กระทู้ในโต๊ะห้องสมุดจะมีข้อถกเถียงเรื่องที่มาของคำว่า “นิสิต” และ “นักศึกษา” โดยมากมักตั้งคำถามกันว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร สถาบันใดที่ใช้คำว่านิสิตบ้าง เป็นต้น
ก่อนจะตอบคำถามเหล่านั้นก็ควรจะมาดูก่อนว่าคำว่า “นิสิต” หมายถึงอะไร และสถาบันใดบ้างที่ใช้คำว่า “นิสิต”
คำว่า “นิสิต” นั้นเป็นภาษาบาลี แปลว่า “ผู้อาศัยกับอุปัชฌาย์” เนื่องจากแต่เดิมสถาบันการศึกษาระดับสูงมักมีหอพักให้ผู้เรียนได้พักอาศัยภายในสถาบัน ประกอบกับความนิยมภาษาบาลีด้วยจึงได้ใช้คำนี้โดยทั่วไป
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มแรกเป็นโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ ได้สถาปนาขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย” และปรากฏใช้คำว่า “นิสิต” สำหรับนิสิตชาย และ “นิสิตา” สำหรับนิสิตหญิง ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาใช้คำว่า “นิสิต” เพียงคำเดียว
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ก่อตั้งขึ้นโดยที่ค่านิยมภาษาบาลีสันสกฤตยังเป็นที่นิยมและมีหอพักให้ผู้เรียนภายในสถาบันเช่นเดียวกัน จึงใช้คำว่า “นิสิต” มาตั้งแต่แรกเริ่ม
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นับเป็นสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของไทย เริ่มต้นจากการเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงถนนประสานมิตร” ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “วิทยาลัยวิชาการศึกษา” นับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของไทยที่สามารถเปิดสอนวิชาชีพครูได้ถึงระดับปริญญา (ก่อนจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย) โดยมีทั้งสิ้น ๘ แห่งทั่วประเทศ และทุกแห่งก็ใช้คำว่า “นิสิต” เหมือนกันหมด
ภายหลังวิทยาลัยวิชาการศึกษาทั้ง ๘ แห่ง ก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” (อ่านว่า สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด) และปัจจุบันก็มีการเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (คงสถานะเดิม)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (ยุบวิทยาเขต)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พลศึกษา (ยุบวิทยาเขต)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน (ยุบวิทยาเขต)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยนเรศวร)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัย มหาสารคาม)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยบูรพา)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยทักษิณ)
จนปัจจุบันที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒแต่ละแห่งได้มีการเปลี่ยนไปด้วยประการต่าง ๆ แต่ก็ยังคงใช้คำว่า “นิสิต” เหมือนกันหมด
ทั้ง ๓ มหาวิทยาลัย (๗ มหาวิทยาลัย) ใช้คำว่า “นิสิต” ด้วยเหตุผลเดียวกัน คือ มีหอพักให้ผู้เรียนอยู่ภายในสถาบัน
ในสมัยที่ประชาธิปไตยพยายามจะเบ่งบาน มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (ธรรมศาสตร์ หมายถึง วิชาว่าด้วยกฎหมาย) เป็นมหาวิทยาลัยเปิด ไม่มีหอพักให้ผู้เรียน จึงสร้างคำใหม่ขึ้นมาเพื่อให้เป็น “ไทย ๆ” มากขึ้น จึงใช้คำว่า “นักศึกษา”
มหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้นภายหลังหลาย ๆ แห่ง แม้จะมีหอพักนักศึกษาอยู่ภายในมหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่นิยมใช้คำว่า “นิสิต” เหมือนมหาวิทยาลัย “โบราณ” ที่ก่อตั้งมานานแล้วทั้งหลาย จึงหันไปใช้คำว่า “นักศึกษา” เหมือนกันแทบทุกแห่ง แม้แต่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เอง แต่เดิมก็ใช้คำว่า “นิสิต” แต่ภายหลังอธิการบดีท่านหนึ่งซึ่งเป็นนายแพทย์ ก็ได้เปลี่ยนคำว่า “นิสิต” มาเป็นคำว่า “นักศึกษา” ดังนั้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เองก็นับเป็นมหาวิทยาลัยที่เคยใช้คำว่า “นิสิต” มาก่อน
ผู้ที่ตอบกระทู้ในโต๊ะห้องสมุดหลายคน ก็ให้เหตุผลต่าง ๆ กัน บ้างก็ว่าถ้าที่ไหนเก่าก็ใช้คำว่านิสิต บ้างก็ว่ามหาวิทยาลัยแห่งใดอยากใช้คำว่านิสิตก็ต้องขอพระราชทานเอา (ก็นับเป็นเหตุผลที่ตลกเหตุผลหนึ่ง) ส่วนเหตุผลที่ไม่เข้าท่าที่สุดก็เห็นจะเป็นเหตุผลที่ว่า “มหาวิทยาลัยใดที่เคยมีเจ้าฟ้าเข้าเรียน ก็จะเปลี่ยนไปใช้คำว่านิสิต”
อาจจริงอยู่ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเคยทรงศึกษาที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต อักษรศาสตรมหาบัณฑิต และเคยทรงศึกษาระดับปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร แต่มหาวิทยาลัยดังกล่าวมาแล้วนั้น ปรากฏใช้คำว่า “นิสิต” มาตั้งแต่เดิมแล้ว ไม่ได้เพิ่งมาเปลี่ยนเอาภายหลัง
อีกประการหนึ่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็เคยทรงศึกษาระดับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (จารึกตะวันออก) ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่มหาวิทยาลัยศิลปากรก็ไม่เห็นจะต้องเปลี่ยนคำว่า “นักศึกษา” เป็น “นิสิต” แม้แต่น้อย
อาจจริงอยู่ที่สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะเคยทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่สถาบันแห่งนี้ก็ใช้คำว่า “นิสิต” มาตั้งแต่นมนานก่อนที่สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ จะเสด็จเข้าทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เช่นเดียวกัน
ดังนั้น ข้อสรุปของบทความนี้ก็ไม่เห็นจะต้องมีอะไรมากมาย เพราะทุกสิ่งทุกอย่างผู้เขียนบทความได้อธิบายไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว จึงขอทิ้งท้ายบอกผู้ที่ไม่รู้จริงเอาไว้ ณ ที่นี้ว่า
“อะไรที่ตนไม่รู้จริง… อย่าพูด…”

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

ฌานิศ วงศ์สุวรรณ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 08 ก.ค. 05, 18:20

 http://www.eduzones.com/setupcon/content_nana1/view.php?id=13  
คำว่า นักเรียน นิสิต นักศึกษา สามคำนี้มีความหมายโดยทั่ว ๆ ไปที่คล้าย ๆ กัน คือ เป็นผู้ที่เล่าเรียนวิชาอะไรอย่างหนึ่ง แต่การใช้คำทั้งสามคำนี้ไม่เหมือนกัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ควาหมายไว้ดังนี้

นักเรียน หมายถึง ผู้ศึกษาเล่าเรียน
นิสิต มีความหมายสองอย่าง ความหมายแรกหมายถึง ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย บางแห่ง เช่น นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความหมายที่สอง หมายถึง ศิษย์ที่เล่าเรียน อยู่ในสำนัก หรือ ผู้อาศัย ส่วนคำว่า นักศึกษานั้น ไม่ได้ให้ความหมายไว้เป็นพิเศษ คงอนุโลมได้ว่า หมายถึง ผู้ศึกษา ในทางปฏิบัติจริง เรามักจะใช้คำพูด นักเรียน หมายถึง ผู้ศึกษาเล่าเรียนในระดับต่ำกว่า ปริญญาตรีหรือในระดับโรงเรียน ส่วนคำว่า นิสิตและนักศึกษานั้น ใช้หมายถึงผู้ศึกษา เล่าเรียน ในระดับตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป หรือในระดับมหาวิทยาลัยนั่นเอง แต่ความนิยม ที่ใช้เรียกผู้ศึกษา ในระดับมหาวิทยาลัยว่านิสิต หรือ นักศึกษานั้น ก็ยังมีความแตกต่างกัน ออกไปอีก แต่เดิมมา เมื่อยังมีมหาวิทยาลัยอยู่น้อยแห่งนั้น ผู้ที่ศึกษาอยู่ในจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จะเรียกกันว่า นิสิต ส่วนผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้นจะเรียก กันว่า นักศึกษา ชื่อที่แตกต่างกันนั้นใช้ตามความหมายในทำนองว่า นิสิตจุฬาฯ นั้น เป็นศิษย์ที่เล่าเรียนอยู่ ในสำนัก ซึ่งจะตีความว่าอยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัยด้วย หรือต้องมาเรียนเป็นประจำก็ ได้ ส่วนนักศึกษาธรรมศาสตร์นั้น จะตีความว่าไม่ได้อยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัยหรือมา เรียนตามสะดวกแบบตลาดวิชาก็ได้ ความแตกต่างที่ว่ามานี้ เป็นเรื่องที่เล่าขานกันมา อาจจะมีผู้คัดค้านก็ได แต่มีอีกเหตุหนึ่ง ที่อาจจะไม่มีใครค้าน คือ ต้องการเรียกชื่อผู้ที่เรียนอยู่ในสถาบันทั้งสองน ี้ให้แตกต่างกัน ออกไปนั่นเอง ต่อมาเมื่อมีมหาวิทยาลัยมากขึ้น ก็จะมีการเรียกผู้เรียนไปตามความนิยมของแต่ละสถาบัน เช่น นิสิตเกษตร (อาจจะด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อก่อนนี้นิสิตปีที่หนึ่งทุกคน ต้องอยู่หอพักของ มหาวิทยาลัย) เช่น นักศึกษาแพทย์ เป็นต้น ในปัจจุบัน ความหมายโดยนัยที่กล่าวข้างต้น อาจจะเลือนไปแล้วก็ได้ สถาบันใหม่ ๆ ที่เกิดก็มักจะใช้คำว่า นักศึกษา เพื่อแสดงความใหม่ ปล่อยให้สถาบันเก่า ๆ ใช้คำว่า นิสิต กันไปเพียงไม่กี่แห่ง ทั้งหมดนี้เป็นข้อความที่ ดร. นิตยา กาญจนะวรรณ อธิบายไว้ในหนังสือ ภาษาไทยไฮเทค ซองคำถาม จำได้ว่าข้างฝ่ายธรรมศาสตร์ก็เคยให้คำอธิบายไว้ว่า เหตุใดจึงเรียกผู้ที่ศึกษา ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า นักศึกษา จึงไปค้นหนังสือ สำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง ได้คำอธิบายดังนี้ "คำว่า "นักศึกษา" ก็เกิดขึ้นในช่วงแรกนี้เช่นกัน ส่วนหนึ่งอาจเพราะเป็น คำที่เกี่ยวข้องกับความเป็นตลาดวิชาซึ่งทำให้ผู้เรียนมีความแตกต่างจาก "นิสิต" ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ ทรงอธิบายว่า มธก. ควรเรียกผู้ เข้ามาศึกษาว่า "นักศึกษา" ไม่ควรใช้ "นิสิต" เพราะคำว่า "นิสิต" ตรงกับ "undergraduate" ส่วนคำว่า "นักศึกษา" ตรงกับ "student" ซึ่งเหมาะสมกว่า ตามระเบียบของ มธก. ฉบับแรกเป็นที่น่าสังเกตว่า ใช้คำ "นิสิต" และ "นักศึกษา" ทดแทนกันไปมา จากการบอกเล่า ก่อนหน้านี้ก็มีการใช้คำว่า "นักศึกษา" อยู่ในหมู่ผู้มาเรียนที่ มธก. อยู่ก่อนแล้ว และคณะกรรมการ มหาวิทยาลัย ได้มีมติรับรองให้ใช้คำว่า "นักศึกษา" อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่การประชุมคณะ กรรมการมหาวิทยาลัยครั้งที่ 2 เดือนเมษายน 2477 เป็นต้นไป
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.096 วินาที กับ 19 คำสั่ง