เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 86451 ราชสกุลบางราชสกุล (ที่ไม่ค่อยจะคุ้นหูกัน)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 30 ธ.ค. 03, 15:14

 http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=2227&stissueid=2539&stcolcatid=2&stauthorid=13
สกุลเทพหัสดิน ณ อยุธยา มีคนดังอยู่สองคนคือ พลเอก พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ที่เคยเป็นนักโทษการเมือง พ.ศ.๒๔๗๕-๒๔๗๖ และ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ เจ้าของเพลงกราวกีฬา ทั้งสองท่านเป็นพี่น้องกันใช่ไหม-

           ราชตระกูล หมายถึงตระกูลอันสืบสายลงมาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งโดยตรงและจากสมเด็จพระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐา ผู้เป็นพระโอรสธิดาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกด้วยกัน สำหรับสายพระพี่พระน้องดังกล่าว บางทีก็เรียกว่า ราชตระกูลสายพระปฐมวงศ์ คือมิได้สืบสายโดยตรงลงมาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ

           ส่วนราชสกุลนั้นดูเหมือนจะใช้กันตั้งแต่เมื่อมีพระราชบัญญัตินามสกุลในสมัยรัชกาลที่ ๖ หมายถึงนามสกุลอันสืบสายลงมาจากเจ้าฟ้าและหรือพระองค์เจ้าในพระบรมราชวงศ์จักรี

           แต่คำว่าราชสกุลนี้ หากพูดถึงเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า เคยได้ยินผู้ใหญ่พูดว่า ‘ท่านเป็นราชสกุล’ ทว่าหากพูดถึง หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง ก็มักว่า ‘เธอเป็นราชนิกุล’ ( ‘เธอ’ คือสรรพนามบุรุษที่ ๓ มิใช่บุรุษที่ ๒)

           ส่วนสมาชิกในราชตระกูลที่ต่ำลงมาจากหม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง ไม่เรียกว่าราชนิกุล เป็นแต่สมาชิกในราชตระกูล ใช้นามสกุลอันเป็นราชสกุลโดยมีคำว่า ‘ณ อยุธยา’ ต่อท้าย

           เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นชั้นอา พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นชั้นหลาน ทว่าอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน เจ้าพระยาธรรมศักดิ์ฯ เกิด พ.ศ.๒๔๑๙ พระยาเทพหัสดิน เกิด พ.ศ.๒๔๒๑

           ราชสกุล เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นสายพระปฐมวงศ์ สืบลงมาจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์น้อยแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ

           สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ มีพระโอรสธิดาเป็นหม่อมเจ้า ตามพระเกียรติยศ โอรสธิดาของเจ้าฟ้า ที่ประสูติแต่มารดาสามัญชน

           สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ มีหม่อมห้ามผู้นับว่าเป็นหม่อมเอก ชื่อว่า หม่อมผ่อง หม่อมผ่องผู้นี้เป็นธิดาของท่านเจ้าขรัวทอง (หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯรับสั่งเรียกว่า ‘เจ้าข้าวทอง’) ท่านเจ้าขรัวทอง เป็นพี่ยาของท่านเจ้าขรัวเงิน พระชนกของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ หม่อมผ่อง จึงเป็นลูกผู้พี่ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ

           หม่อมผ่องมีพระธิดา พระนาม ‘หม่อมเจ้าฉิม’ แสดงว่าเป็นธิดาคนใหญ่ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ

           หม่อมเจ้าฉิมเสกสมรสแล้ว ตามที่ทราบกันโดยเปิดเผยนั้นว่า หม่อมเจ้าฉิมทรงมีโอรสท่านหนึ่ง เรียกกันว่า ‘คุณช้าง’ ในทางราชการเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔ จดว่า ‘หม่อมราชวงศ์ช้าง’ และจดชื่อบุตรธิดาของหม่อมราชวงศ์ช้างเป็น ‘หม่อมหลวง’ ทุกคน

           ทว่าในครั้งกระโน้นมีผู้สันนิษฐานว่าหม่อมราชวงศ์ช้างนี้ คงจะเป็นพระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ นั่นเอง เกิดแต่หม่อมชาวนครราชสีมา ชื่อแปลก หากแต่อาจมีความจำเป็นบางประการ หรืออาจจะทรงพระชราแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ จึงประทานคุณช้างให้เป็นพระโอรสบุญธรรมในหม่อมเจ้าฉิม

           ที่พากันสันนิษฐานดังนี้ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ผู้ทรงเป็นหลานลุงของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ ทรงยกย่องคุณช้างมากยิ่งกว่า ผู้เป็นเพียงหม่อมราชวงศ์ท่านอื่นๆ เมื่อเริ่มเข้ารับราชการ ก็มิต้องขึ้นจากชั้นเล็ก โปรดฯให้เป็นพระยาราชภักดีเลยทีเดียว และเมื่อพระราชโอรสธิดาโสกันต์ ก็โปรดฯให้เสด็จไปลาพระยาราชภักดีทุกพระองค์

           เมื่อหม่อมราชวงศ์ช้างรับราชการ จึงมีบุตรหลานรับราชการมีบรรดาศักดิ์กันต่อๆ มา ผิดจากพระโอรสองค์อื่นในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ ซึ่งแม้เป็นหม่อมเจ้าเมื่อมิได้เข้ารับราชการตลอดถึงลูกหลาน จึงไม่ปรากฏชื่อเสียงเด่นแต่ประการใด มาเด่นในทางราชการก็แต่ลูกหลานของพระยาราชภักดี (ม.ร.ว.ช้าง)

           ถึงรัชกาลที่ ๖ มีพระราชบัญญัตินามสกุลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จึงโปรดฯ พระราชทานนามสกุลที่สืบสายลงมาจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ว่า ‘เทพหัสดิน’ โดยเอาพระนามกรมข้างหน้าของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ กับ ‘หัสดิน’ ที่แปลว่า ‘ช้าง’ รวมเข้าด้วยกัน เป็นการแปลกกว่าราชสกุลอื่น ซึ่งมักจะมาจากพระนามจริงหรือพระนามกรมแต่อย่างเดียว

           พระยาราชภักดี (ม.ร.ว.ช้าง) มีบุตรธิดามากตามความนิยมของสมัยนั้น บุตรชายคนใหญ่ เกิดแต่เอกภรรยาชื่อ หม่อมหลวงเจียม ธิดาอีกคนชื่อ หม่อมหลวงถนอม เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕

           หม่อมหลวงเจียม เป็นเจ้ากรมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง แต่ยังทรงกรมเป็นกรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว โปรดฯให้เป็นพระยาไชยสุรินทร์ (ม.ล.เจียม) เจ้ากรมพระคลังข้างที่

           พระยาไชยสุรินทร์ (ม.ล.เจียม) มีบุตรธิดามาก รวมถึง ๓๒ คน

           ที่เกิดแต่เอกภรรยา ชื่อ นายพุด และ ธิดาถวายตัวเป็นเจ้าจอมพระสนมในรัชกาลที่ ๕ สามท่านคือ เจ้าจอมกลีบ เจ้าจอมลิ้นจี่ และ เจ้าจอมฟักเหลือง

           ส่วนนายพุดนั้น รับราชการเป็นที่โปรดปรานในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมาก ได้เป็นที่หลวงฤทธิ์นายเวร

           หลวงฤทธิ์นายเวร (พุด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ผู้นี้ เป็นบิดาของ พลเอก พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

           ส่วนเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นน้องชายต่างมารดาของหลวงฤทธิ์นายเวร (พุด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นคนที่ ๑๘ ในจำนวนพี่น้อง ๓๒ คน
บันทึกการเข้า
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 02 ม.ค. 04, 12:09

 ท่านรองศาสตราจารย์พนม ทินกร ณ อยุธยา เป็นอาจารย์ดิฉันที่ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ค่ะ ท่านเคยกรุณาชวนลูกศิษย์ไปรับประทานอาหารที่บ้านท่านแถวคลองสาน จำได้ว่าพวกเราตื่นตาตื่นใจกับพระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ รุปภาพ และข้าวของเครื่องใช้ (เรียกว่าโบราณวัตถุได้หรือไม่คะ คุณเทาชมพู?)

เรียนถามคุณเทาชมพูด้วยค่ะว่า "มหาสกะวัน" เป็นราชสกุลด้วยหรือไม่คะ (คลัลคล้ายคลับคลาว่าเป็นน่ะค่ะ แต่ไม่ค่อยคุ้นหูนัก)
บันทึกการเข้า
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 02 ม.ค. 04, 12:12

 ขออภัยค่ะ โพสท์ไปแล้วเพิ่งเห็นว่าพิมพ์ตกไป
และข้าวของเครื่องใช้ .....ของบรรพบุรุษของท่านมาก ท่านได้กรุณานำชมและเล่าประวัติของแต่ละชิ้นให้ฟังด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 03 ม.ค. 04, 08:01

 สวัสดีค่ะคุณ B  หายหน้าไปจากเรือนไทยนานเชียว
มหาสกะวัน  ไม่พบในรายชื่อของทะเบียฬนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ 6 ค่ะ  ไม่น่าจะเป็นราชสกุลหรือนามสกุลพระราชทานนะคะ
ถ้าเป็นนามสกุลพระราชทานจริง  ก็เป็นได้ว่าอาจพระราชทานในรัชกาลที่ 7 ซึ่งมีอยู่จำนวนน้อยมาก  แต่ไม่คิดว่าเป็นราชสกุลค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 05 ม.ค. 04, 09:20

 เพิ่งไปอ่านพบราชสกุลที่หาได้ยากเย็นเข้าอีกราชสกุลหนึ่ง  คือ เพ็ญพัฒน์ ณ อยุธยา
ต้นราชสกุลเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 5 ที่มีผู้รู้จักพระองค์น้อยมาก  แต่พระนิพนธ์กลับเป็นที่แพร่หลายรู้กันทั่วบ้านทั่วเมือง   โดย 99% อาจไม่รู้ว่าเป็นผลงานของใคร
เจ้านายพระองค์นี้คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม   พระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดามรกฎ  ธิดาของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง(เพ็ง เพญกุล)

กรมหมื่นพิไชยฯเสด็จไปศึกษาทางด้านอักษรศาสตร์  ณ ประเทศอังกฤษ   กลับมารับราชการเป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง กระทรวงศึกษาธิการ

พรสวรรค์ของเจ้านายพระองค์นี้ คือทางด้านดนตรีไทย    ทรงแต่งเพลงไทยเดิมได้ไพเราะจับใจยิ่งนัก    เพลงเอกที่นิพนธ์ทั้งเนื้อร้องและทำนอง ชื่อ"ลาวดำเนินเกวียน" ซึ่งขึ้นต้นว่า
โอละหนอ ดวงเดือนเอย  พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง...

ความไพเราะจับจิตจับใจของเพลงนี้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว   ไม่นานคนก็จำได้ติดปากถึงเนื้อร้อง    แต่ไม่มีใครค่อยจำได้ถึงชื่อเดิม  และคนบางส่วนก็เห็นว่าชื่อเดิมไม่ไพเราะ   จึงพาเรียกกันว่า "ลาวดวงเดือน"

มีเกร็ดเล่ากันมา ว่า เพลงนี้นิพนธ์ขึ้นเพื่อเจ้าหญิงเชียงใหม่พระองค์หนึ่ง ที่ทรงมีพระทัยเสน่หา พบกันเมื่อคราวเสด็จขึ้นไปราชการทางเหนือ   แต่ไม่อาจเสกสมรสกันได้ ก็ได้แต่นิพนธ์เพลงเป็นที่ระลึก

กรมหมื่นพิไชยฯ  มีพระธิดาองค์เดียวจากชายาคือหม่อมเจ้าหญิงวรรณวิลัย (ราชสกุลกฤดากร) และพระโอรสอีกองค์จากหม่อมเทียม พระนามว่าหม่อมเจ้าเผ่าเพ็ญพัฒน์
น่าเสียดายว่ากรมหมื่นพิไชยฯพระพลานามัยไม่สมบูรณ์  แค่พระชนม์ได้ 28 ก็สิ้นพระชนม์ด้วยโรคปอดซึ่งเป็นเรื้อรังมาหลายปี
ผู้สืบราชสกุลเพ็ญพัฒน์ ณ อยุธยา มีอยู่น้อยมาก เท่าที่รู้มีไม่ถึง 5 คนในปัจจุบัน
(ข้อมูลบางส่วนจาก คอลัมน์ข้างหลังพระบัญชร ของนายเปี่ยม ในนิตยสารพลอยแกมเพชร  และหนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง)
บันทึกการเข้า
มาดาณัส
อสุรผัด
*
ตอบ: 9

80/2 ซอยเสนานิคม 1 ถนนพหลโยธิน เขตลาดพร้าว กทม. 10230


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 10 ม.ค. 04, 11:28

 ราชสกุลสายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ รัชกาลที่ 3  มี 13 มหาสาขา ปรากฎว่ามีอยู่ 3 มหาสาขาที่ไม่ค่อยได้ยินชื่อเลย คือ โกเมน ปิยากร และลำยอง ถ้าใครรู้จักได้โปรดขอรายละเอียดด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 11 ม.ค. 04, 17:58

 พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้ง 3 พระองค์  หรือเรียกกันภายหลังว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 3     พบหลักฐานเพียงว่า

1)   พระองค์เจ้าโกเมน   เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 11 ที่ประสูติก่อนบรมราชาภิเษก   ในเจ้าจอมมารดาเฟือง          ประสูติ ณวันพฤหัสบดี  เดือน 6  แรม 11 ค่ำ ปีกุน  พ.ศ. 2358
ในรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นกรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์  ไม่พบว่าทรงว่าการกรมใด
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4  เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 3 แรม 2 ค่ำ ปีระกา พ.ศ. 2404  พระชันษา 46 ปี  
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อราชสกุลให้หม่อมหลวงวงษ์  ดูลำดีบแล้วเป็นเหลนทวด ผู้สืบเชื้อสาย ว่า โกเมน ณ อยุธยา

2) พระองค์เจ้าเปียก   เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 27 ที่ประสูติ ก่อนบรมราชาภิเษก  ในเจ้าจอมมารดาเหม็น    ประสูติ ณ วันจันทร์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ปีเถาะ  พ.ศ. 2362
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4  ณ วันจันทร์ เดือน 4 ขึ้น 4 ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ. 2398 พระชันษา 37 ปี
ยังไม่พบหลักฐานว่าได้ทรงกรม   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานชื่อราชสกุลนี้ให้หม่อมราชวงศ์โก๋   ดูลำดับแล้วเป็นหลานปู่ของท่าน ว่า ราชสกุล   ปิยากร(Piyakara ) ณ อยุธยา  

3) พระองค์เจ้าลำยอง  เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 39  ในเจ้าจอมมารดาวัน ประสูติเมื่อบรมราชาภิเษกแล้ว    
ประสูติเมื่อ วันเสาร์  เดือนยี่ ขึ้น 13 ค่ำ ปีวอก พ.ศ. 2367  สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4   ไม่ทราบปี  และ ไม่ทราบหลักฐานว่าได้ทรงกรม    ไม่มีบันทึกว่า ราชสกุลนี้ได้รับพระราชทานชื่อว่าลำยอง ณ อยุธยา ตั้งแต่เมื่อไร เพราะไม่มีปรากฏในทะเบียฬนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ 6

คุณจะหารายชื่อนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ 6 ทั้งราชสกุลและสกุลสามัญชนได้ที่เว็บนี้
 http://www.amed.go.th/palace/sur_order.htm  
บันทึกการเข้า
caeruleus
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 22 ก.พ. 04, 05:16

 แล้วนามสกุล บวรรัตนารักษ์ กับ ทิพยมงคล นี่
รับพระราชทานมาจากรัชกาลอะไรไม่ทราบคะ

คือนามสกุลไม่ได้สืบทอดมาจากเจ้านายพระองค์ได
ทราบแต่ว่าเป็นนามและนามสกุลพระราชทานเท่านั้นค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 ก.พ. 04, 08:35

 ไม่เคยได้ยินนามสกุลทั้งสอง     เป็นนามสกุลพระราชทานหรือไม่   ถ้าเป็น พระราชทานในสมัยใด ไม่ทราบค่ะ
ในรัชกาลที่ 7 มีนามสกุลพระราชทานอีก แต่ไม่มาก  ส่วนใหญ่ตกค้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6
ในรัชกาลปัจจุบัน นามสกุลพระราชทานมีบ้าง เท่าที่รู้คือพระราชทานให้ศิลปิน เช่น นันทนาคร และมุกดาพันธ์

นามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ 6 ตรวจสอบได้ที่นี่
 http://www.amed.go.th/palace/sur_order.htm  
บันทึกการเข้า
ตุ๊ดตู่
อสุรผัด
*
ตอบ: 12

EGAT


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 08 พ.ย. 04, 14:13

 อยากทราบประวัติของราชสกุล กัลยาณวงศ์ ค่ะ และในปัจจุบันมีผู้ใช้ราชสกุลนี้มากน้อยแค่ไหนค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 08 พ.ย. 04, 17:53

 ราชสกุล กัลยาณวงศ์ สืบเชื้อสายมาจากพระราชวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า(ชาย) กัลยาณประวัติ   กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา  ทรงเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ  ซึ่งเป็นวังหน้าพระองค์สุดท้ายของสยามในรัชกาลที่ 5
กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา ประสูติเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2414   ในรัชกาลที่ 5  ทรงกรมในรัชกาลที่ 6 และสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2470
ขอลำดับให้ฟัง ว่ากรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ  ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ผู้เป็นสมเด็จพระราชอนุชาร่วมพระชนกชนนีเดียวกันกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     สมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงเฉลิมพระยศให้สูงกว่ากรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าในรัชกาลก่อนๆ  เทียบได้กับพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สอง
ส่วนปัจจุบันนี้มีลูกหลานของท่านอยู่มากน้อยแค่ไหน   ไม่ทราบเหมือนกัน   ไม่แน่ใจว่ามีใครรวบรวมจำนวนสมาชิกในสายราชสกุลวังหน้าไว้  ถ้า search ชื่อสกุลนี้ ในเว็บไหนที่ลงรายชื่อผู้ใช้โทรศัพท์  อาจจะพอหาตัวได้บ้าง  
บันทึกการเข้า
ไอยริณ
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 31 ธ.ค. 04, 13:23

 มาหาความรู้ใส่ตัวค่ะ ขอบคุณคุณเทาชมพูค่ะ

คุณ B คะ ศิษย์สำนักเดียวกันเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 28 ม.ค. 05, 17:58

 ไม่ค่อยได้แวะมา เพิ่งเห็นที่คณไอยริณโพสท์
สวัสดีศิษย์ร่วมสำนักค่ะ
บันทึกการเข้า
fon
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 07 มี.ค. 05, 19:47

 เรียนถามคุณเทาชมพู
พอดีมีญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเสียชีวิตไปนานมากแล้วก่อนดิฉันเกิดอีกท่านมีนามสกุลว่า  ศรีสังข์ ณ.อยุทธยา คุณเทาชมพูพอจะทราบบ้างใหมค่ะว่าสืบเชื้อสายมาจากใหน และนามสกุลที่ได้รับพระราชทานมาจากสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นหาข้อมูลได้จากที่ใด
ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 08 มี.ค. 05, 08:57

ศรีสังข์ ณ.อยุทธยา  ไม่มี  มีแต่ สีสังข์ ณ อยุธยา
สืบเชื้อสายมาจาก พระราชวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสีสังข์  พระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์  ในรัชกาลที่ 2 ค่ะ
นามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ 6( ไม่ใช่ที่ 5) ลองใช้ www.google.co.th
ค้นดูที่คำว่า นามสกุลพระราชทาน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง