เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 36648 เพลงพระราชนิพนธ์ในดวงใจ
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 30 พ.ย. 05, 17:21

 ดีแล้ว...อันนามท่านพี่สุมาลี ผู้แปลพอตเตอร์   เป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกับเรา
ซือเจ๊ อยู่ฟากขะโน้น เราอยู่ฟากเธียรี่ อองรี  

เดือนหน้าข้าพเจ้าจะฝ่าเหมันตร์ไปขอซือเจ๊ซุกหัวนอนที่อิงกั๋ว
จะบอกว่า ซือเฮียพอใจในการแปลนั้นก็หาไม่
บทแปลที่ห่วยแยบยลระบือนาม สมควรต้องทบทวนก่อนฤดูชุนเทียนหน้า
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 01 ธ.ค. 05, 11:33

 ป่าวครับ ไม่ได้แย่ที่คนแปล แต่แย่ที่คนแต่งครับ
JK Rohling มีคุณูปการต่อวงการวรรณกรรมตรงที่แสดงให้เห็นว่างานแย่ๆก็สามารถทำเงินมหาศาลได้ หากมีความสามารถทางการตลาด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 01 ธ.ค. 05, 12:37

 ขอออกนอกกระทู้อีกคน
ดิฉันว่า Harry Potter โครงเรื่องมันคล้ายสูตรของกำลังภายในเลยนะคะ
เริ่มต้นด้วยพระเอก เป็นเด็กกำพร้า พ่อแม่ถูกฆ่าตายด้วยฝีมือเจ้าสำนักฝ่ายมาร มีวิทยายุทธเยี่ยมยอด หากถูกขับไล่จากยุทธจักร
แต่พระเอกรอดมาได้  ถูกข่มเหงมีชีวิตต้อยต่ำดังเด็กรับใช้
วันหนึ่ง   เหล่าจอมยุทธฝ่ายธรรมะเห็นสมควรว่าโตพอแล้ว  พระเอกจึงถูกนำไปฝึกปรือวิทยายุทธ ที่สำนักฝ่ายธรรมะ  
มีเพื่อนรักเป็นจอมยุทธหนุ่มน้อย ชายหญิง  มีคู่แข่งเป็นศิษย์สำนักเดียวกันมั่ง ตามระเบียบ

เจ้าสำนักฝ่ายมาร ซุ่มตัวลึกลับ   ส่งมือกระบี่ฝ่ายมาร คนแล้วคนเล่า
เข้ามาหวังทำลายพระเอก
แต่ก็ไม่สำเร็จ  จนแล้วจนรอด
ล่าสุดพ่อบุญธรรมของพระเอก ถูกปลิดชีวิต
เจ้าสำนักธรรมะ ตาย  แต่มีเงื่อนงำว่าอาจเป็นการซ้อนกล

รอฉากสุดท้ายเล่ม 7  เจ้าสำนักมาร จะปรากฏตัวมาประลองกับพระเอก
ใครอยู่ใครไปก็รู้กัน
ถ้าพระเอกชนะ จะออกไปทำไรไถนาอยู่นอกด่าน หรือเปล่านะเนี่ย

สูตรหนังกำลังภายในชนะใจคนดูเอเชียอย่างล้นหลามมายี่สิบสามสิบปีแล้ว   ถ้ามันจะชนะใจคนอ่านฝรั่งก็ไม่แปลกละค่ะ
แสดงว่า โก อินเตอร์ ของจริง
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 01 ธ.ค. 05, 15:00

 ขออภัยที่ออกนอกกระทู้ไปหน่อย แต่เลยตามเลยครับ หึหึหึ

อาจารย์วิเคราะห์ได้ชัดเจนมากเลยครับ
แต่ผมว่า หนังกำลังภายในแม้พลอตเรื่องค่อนข้างซ้ำแต่กลวิธีในการสร้างตัวละคร การดำเนินเรื่อง ปมปริศนา รวมไปถึงสาระ ความคิดที่ผู้แต่งนำเสนอมักจะแตกต่างกันไป งานของกิมย้ง โก้วเล้งเหนือกว่าของคนอื่นตรงนี้แหละครับ

ส่วนหนังสือแฮรรี่ พอตเตอร์ มันเหมือนกับกึ่งๆกลางๆยังไงก็ไม่ทราบ พยามทำพลอตให้ซับซ้อน แต่หาความแยบยลไม่ได้ ช่องโหว่เยอะ ความเป็นเหตุเป็นผลก็ไม่มี ทุกอย่างเป็นเพื่อให้มันลงเอยอย่างที่ผู้แต่งต้องการเท่านั้น ตัวพระเอกเองไม่เคยแสดงให้เห็นว่ามีอะไรพิเศษที่เหนือกว่าคนอื่น ทุกอย่างที่รอดได้เพราะคนอื่นช่วยประคบประหงมมาตลอด เรียกได้ว่าเจเค ได้สร้างแฮรรี่ขึ้นมาให้เป็นเด็กธรรมดาแต่มีบุญญาธิการ มีสิ่งพิเศษติดตัวมาโดยไม่ต้องพยายามเลย

หากจะบอกว่าเป็นหนังสือเด็กก็ไม่เชิงเท่าไหร่ เนื้อหาและความหนามากกว่าเด็กวัยเล็กและกลางจะอ่านได้ จินตนาการรึก็ไม่เห็นจะวิลิศมาหราสมคำคุย หนังสือเด็กที่เกี่ยวกับพ่อมดแม่มดที่ผมอ่านและดูหนังแล้วรู้สึกว่าเยี่ยม ฝีมือดีกว่า JK เยอะก็ยกตัวอย่างเช่น Mathilda ของ Roald Dalh

ผมอ่านแฮร์รี่เล่มแรกๆยังพอรู้สึกสนุกบ้าง แต่หลังๆเหมือนคนเขียนหมดมุข โดยเฉพาะเล่ม 5  หนาเตอะเยิ่นเย้อ ไม่มีอะไรใหม่เลย
บันทึกการเข้า
particle-in-a-box
อสุรผัด
*
ตอบ: 13

ยังเรียนอยู่ อนาคตครูฟิสิกส์


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 01 ธ.ค. 05, 15:16

 ขอแจมด้วยคนค่ะ
       ชอบเพลง เกาะในฝัน ค่ะ ตอนอยู่ม.5 ฟังเพลงนี้ครั้งแระ ไพเราะมากค่ะ

เกาะในฝัน

ฉันสุดปลื้ม
ไม่ลืมเกาะงามที่เคยฝัน
หลงเพ้อคำมั่น
รำพันถึงความรักชื่นฉ่ำ

แสงจันทร์ผ่อง
ส่องเป็นประกายบนผืนน้ำ
เสียงสายลมพร่ำ
คร่ำครวญเหมือนมนตรา

หาดทรายขาว
หมู่ดาวพร่างพราวนภา
รูปเงาเพราพริ้งตา
ไยด่วนลาเลือนมลาย

ฝันสุดสิ้น
ไม่ยลไม่ยินน่าใจหาย
ฝันถึงไม่หน่าย
ไม่คลายร้างรักเธอ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 01 ธ.ค. 05, 15:52

 คุณอนุภาคในกล่อง เคยฟังที่อาจารย์ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์เล่นเพลงนี้โดยกีต้ารคลาสสิคมั้ยครับ เพราะดีเหมือนกัน ได้บรรยากาศอโลฮา ฮาวายเลยครับ แต่ในหลวงท่านยังทรงสอดแทรกสำเนียงไทยๆลงไปในเพลงนี้ด้วย
เสียดายจังที่ตรงนี้โพสต์ไฟล์เสียงให้ฟังไม่ได้
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 02 ธ.ค. 05, 01:33

 มีพอตเตอร์อยู่ 4 เล่ม อ่านอย่างไรก็ได้ไม่เกิน 10 หน้า
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 02 ธ.ค. 05, 03:58

 คุณนุชครับ ผมนะ ไม่มีซักเล่ม อาศัยยืมชาวบ้านอ่าน อ่านมาแล้ว 5 เล่มดูหนังมาแล้ว 4 ตอน เหมือนๆว่าจะเป็นแฟนตัวจริงเลย  ป่าววครับ เป็น "ขาประจำ"ต่างหาก  ผมสงสัยว่าทำไมถึงมี Harry Potter Phenomenon ได้ ทำไมถึงได้ฮิตขนาดนี้ อ่าน+ดูขนาดนี้แล้วก็ยังสงสัยอยู่ว่ามัน ป๊อปปูล่าร์ขนาดนี้เป็นเพราะอะไรกันแน่

แต่ผมก็ไม่เสียดายเวลาและความมานะในการอ่านหนังสือชุดนี้นะครับ เพราะอะไรเหรอครับ เพราะมันจะเป็นพื้นฐานให้เรารู้ว่าหนังสือที่ดีควรจะเป็นยังไง ไงครับ

ผมได้ความคิดจากวันก่อนที่ไปดูคอนเสิร์ทวงซิมโฟนี่แห่งชาติจากจีน ที่ศูนย์วัฒนธรรม วงเขาเล่นได้แน่นเปรี๊ยะ แม้เพลงที่ฟังไม่เพราะ แต่พอฟังเสียงอันกระหึ่ม ชัดเจน มันก็ได้อรรถรสของเสียง (ไม่ใช่ของดนตรี) เรียกว่าขนลุกใจเต้นทีเดียว เลยมานึกว่าเราเคยฟัง orchertra เต็มวงในเมืองไทยมาหลายครั้งแล้ว ก็รู้สึกดีพอสมควร พอมาฟังวงระดับโลกแบบนี้เลยรู้ว่าของดีจริงๆเป็นอย่างไร นั่นเป็นเพราะว่าผมได้ฝึกหูว่าถ้าเป็นวงที่อ่อนกว่าจะฟังดูแบบนี้ ถ้าวงดีกว่าจะฟังดูแบบนั้น

อย่างที่เพลงเขาว่าไง
"หากไม่รู้จักเจ็บปวด ก็คงไม่ซึ้งถึงความอุ่นใจ"
(ฤดูที่แตกต่าง บอย โกสิยพงศ์)

ปล. อยากเล่าให้คุณนุช ฟังถึงเพื่อนผมคนหนึ่ง เขาเป็นคนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือมากๆ แต่คิดเยอะ เป็นนักคณิตศาสตร์ เก่งทีเดียว เพราะเขารู้สึกว่าการอ่านทำให้เขาไม่ได้คิด เลยไม่ค่อยลงทุนลงแรงในการอ่านนิยาย วรรณกรรมเท่าไหร่นักแม้ว่าเขาจะสนใจและอยากอ่าน  รู้มั้ยครับว่าเขาทำยังไง
เขาเอาหนังสือที่อยากอ่านมาโยนให้ผม แล้วบอกว่า "อ่านให้ที แล้วมาเล่าให้ฟังด้วย"
ฉะนั้นการอ่านมากก็เป็นฉะนี้แล เป็นหนอนหนังสือ ที่ไม่ได้สร้างสรรค์อะไรมากมายนัก
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 02 ธ.ค. 05, 04:18

 วันนี้นอนที่ทำงานอีกแย้ว งานมันไม่เสร็จนะ

"อ่านให้ที แล้วมาเล่าให้ฟังด้วย"
มุกนี้เราใช้ประจำ กับรูมเมทน่ะ ต้องตกลงกันต้น semester ก่อน ห้ามเบี้ยวด้วย
รู้จักไหม The Great Expectation by C D
บันทึกการเข้า
ayjung
อสุรผัด
*
ตอบ: 15

เรียนมัธยมปลาย ค่ะ


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 05 ธ.ค. 05, 12:34

 พระปรีชาสามารถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นั้นพสกนิกรชาไทยต่างทราบ ซึ้งกันดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปกครอง การแก้ไขปัญหาดูแลทุกข์สุขของประชาชน การกีฬา ศิลปะ และการดนตรี

      ในด้านการดนตรีนั้น พระองค์ท่านทรงพระปรีชาสามารถเทียบเท่ากับศิลปินเอก  ทางด้านดนตรีของโลก  บทเพลงพระราชนิพนธ์ เพลงแล้วเพลงเล่า ที่พระองค์ท่านพระราชทานให้กับพสกนิกรทั่วทุกภูมิภาค   มีทั้งความไพเราะ  ลึกซึ้งกินใจ เตือนสติคนไทยให้หันหน้าเข้าหากันมีความสามัคคี  หรือบางบทเพลงที่ให้  ความสนุกสนานทรงทำออกมาได้อย่างลึกซึ้ง พระปรีชาสามารถทางการดนตรีเช่นนี้ ก็ไม่น่าแปลกใจอะไร ที่พสกนิกรคนไทยทั่วหน้าจะถวายให้พระองค์ท่านเป็น"คีตราชัน"
 
      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  ทรงสนพระทัยในเรื่องดนตรี  ตั้งแต่ครั้นทรงพระเยาว์  ขณะที่ทรงศึกษา  ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์  พร้อมพระเชษฐา  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล  รัชกาลที่  8  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ฯ  ทรงโปรดเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมลิ้นไม้ไผ่ หรือ WOODWIND เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเครื่องดนตรีในตระกูล แซกโซโฟน และคาริเนท

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ฯ  ทรงศึกษา และฝึกฝนทางด้านดนตรีตามแบบฉบับการศึกษาวิชาดนตรี อย่างแท้จริง   โดยการฝึกตามโน้ตและการบรรเลงแบบคลาสสิค  ทั้ง ๆ  ที่พระองค์มีพระราชหฤทัยโปรดที่ จะทรงดนตรีในแบบแจซซ์ (JAZZ) มากกว่า  แต่ก็ต้องทรงฝึกตามหลักวิชาการอย่างเข้มงวดและจริงจังตลอดระยะเวลา 2 ปี โดยมีพระอาจารย์ชาวอังกฤษ  คอยถวายคำแนะนำอย่างใกล้ชิด

      เมื่อทรง ศึกษาเรียนรู้ และฝึกฝนดนตรีขั้นพื้นฐานจนมีความชำนาญดีแล้ว จึงเริ่มศึกษา และทรงดนตรีในแนวที่ โปรดปราน คือแจซซ์อย่างจริงจัง โดยมีพระเชษฐา คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรเมนทรมหา อานันทมหิดล ซึ่งสนพระทัยในดนตรีแนวบลูส์ (BLUES) คอยให้คำแนะนำอยู่ตลอดเวลา (ดนตรี JAZZ กับ BLUES เป็นดนตรีคนละประเภท แต่มี "แนว" หรือ "ไลน์" ที่ใกล้ เคียงกัน ไม่ใช่เป็นดน ตรี ประเภทเดียวกัน...ผู้เขียน)


 
      เมื่อพระองค์หันมาฝึกฝนดนตรี JAZZ อย่างจริงจังจนมีความสามารถ เข้าร่วมสมทบกับวงดนตรีได้ เครื่องดนตรีที่ทรงโปรดปรานมากที่สุดคือ โซพราโน แซกโซโฟน (SOPRANO SAXOPHONE) และทรงเล่นเครื่องดนตรีชิ้นนี้ได้อย่างยอดเยี่ยม ทั้งนี้ก็เพราะว่า พระองค์ทรงฝึกฝน โซพราโน แซกโซโฟน โดยการเป่าสอดแทรกแบบอิสระ (หรือที่นักดนตรีรุ่นเก่าเรียกกันว่า "บายฮาร์ท" หรือทาง แจซซ์เรียกว่า "อิมโพรไวศ์") กับแผ่นเสียงของ ซิดนีย์ บาเชท์ (SYDNEY BACHET) นักเป่า โซพราโน แซกโซ โฟน ที่มีชื่อเสียงของโลก จึงไม่น่าแปลกใจอะไรเลย ที่ทรงดนตรี ชิ้นนี้ได้อย่างยอด เยี่ยม จนนักดนตรี แจซซ์ระดับโลกอย่าง เบนนี กูดแมน (BENNY GOODMAN) นักเป่าคาริเนท และหลุยส์ อาร์มสตรอง (LOUIS ARM-STRONG) นักเป่าทรัมเพท ที่เคยร่วมแสดงดนตรีกับพระ องค์ท่าน ถึงกับกล่าวยกย่องว่าถ้าพระองค์เป็นสามัญชนธรรมดา พระองค์จะเป็นนักดนตรีแจซซ์ ที่มีชื่อ เสียงก้องโลกทีเดียว !  

      ไม่เพียงแต่โซพราโน แซกเท่านั้นที่ทรงเล่นได้อย่างยอดเยี่ยม เครื่องดนตรีในตระกูล แซกโซโฟนอื่นๆ ก็ ทรงเล่นได้หมด ไม่ว่าจะเป็น บาริโทน อัลโต หรือคาริเนท รวมไปถึงเครื่องเป่าทองเหลืองอย่าง ทรัม เพท ก็ทรงได้อย่างดีเยี่ยม
      เรมอนด์ ซีกรารา นักดนตรีชาวโปรตุเกสซึ่งต่อมาได้รับ พระราชทานนาม จากพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวว่า แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ซึ่งเคยเป็นนักดนตรีในวง "ลายคราม" และวง "อส.วันศุกร์ "  
      ซึ่งเป็น วงดนตรีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งขึ้นมาได้ให้สัมภาษณ์ ในรายการทีวีรายการหนึ่ง ถึงพระปรีชา สามารถของพระองค์ท่านในการทรงดนตรีว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง นักดนตรีตำแหน่งทรัมเพทของวงอส. วันศุกร์ หรือ อัมพรสถานวันศุกร์ (เมื่อก่อน วงอส. วันศุกร์ จะเล่นออกอากาศทางสถานี อส. ในทุกเย็นวันศุกร์) ได้ขาดหายไป ลูกวงก็ไม่มีใครเล่นทรัมเพทได้ พระองค์ก็เลยต้องทรงทรัมเพทแทน ซึ่งก็ทำให้ลูกวงต่างก็งงไปตามๆ กัน เพราะองค์ ทรงทรัมเพท ได้ดีกว่านักดนตรีที่เล่นเครื่องดนตรีชิ้นนี้เสียอีก  
      เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเพียโน และ กีตาร์เพิ่มขึ้น เพื่อใช้ประ กอบในการพระราชนิพนธ์เพลง ซึ่งในส่วนของการพระราชนิพนธ์เพลงนั้น พระองค์ทรงมีเค้าที่จะทรง พระราชนิพนธ์เพลงขึ้นมา เป็นท่อนเป็นตอนแล้วแต่ยังไม่จบสมบูรณ์ ครั้นเมื่อเสด็จทรงพระราชดำเนิน ตามสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จนิวัตพระนครในปี พศ. 2488 ก็ได้ทรงพระ กรุณาโปรด เกล้า ฯ ให้เชิญนักดนตรีสมัครเล่น ผลัดกันเข้าไปร่วมบรรเลงกับพระองค์ท่าน เช่น มล. อุดม สนิทวงศ์ คณะของมรว.เสนีย์ ปราโมช และคณะของนายวิลาส บุนนาค
      เมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทย และทรงทราบว่า มจ. จักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ทรงเป็นนักแต่งเพลงสมัคร เล่นท่านหนึ่ง ที่มีความสามารถ ประกอบกับ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และพระ เจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน ทรงสนพระทัยการพระราชนิพนธ์อยู่บ้างแล้ว จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้เข้า เฝ้า และให้นำเพลงที่ทรงแต่งไปถวายเป็นตัวอย่างด้วย เมื่ออยู่ต่อหน้าพระที่นั่ง ทรงมีพระราชดำรัส ถามถึงการแต่งเพลงว่า มีปัญหาอะไรบ้าง ซึ่ง มจ. จักรพันธุ์ ฯ หรือ "ท่านจักร" ได้กราบบังคมทูลว่าเพลง ทั่วๆ ไปไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นเพลงบลูส์ ยังไม่สามารถที่จะแต่งได้  
      สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรเมนทรมหาอานันทมหิดล จึงทรงสาธิตด้วย เพียโน และโปรดเกล้า ฯ ให้ พระ อนุชาทรงเป็นผู้บรรยาย ท่านจักรจึงถวายข้อคิดเห็นว่า โดยที่มีพื้นฐานทางด้านดนตรี มาเป็นอย่างดี น่าจะทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เอง แต่พระองค์ท่านทรงมีพระราชดำรัสว่า พระอนุชาควรจะ ทรงพระราชนิพนธ์ต่อ เพราะทรงได้ดีมาเป็นท่อนเป็นตอน แต่ยังไม่จบเพลงเท่านั้นดังนั้นพระบาท สมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 จึงทรงสรุปพระราชทาน ให้ท่านจักร ไปทรงแต่งเพลง บลูส์ ตามที่ให้พระราชทานคำแนะนำไป โดยพระองค์เองก็จะทรงพระราชนิพนธ์ ด้วยภายหลังประมาณ ต้นปี พศ. 2489 ซึ่งขณะนั้นยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช อยู่ เมื่อได้ ทรงพระราชนิพนธ์เสร็จแล้ว จึงได้ทรงนัดหมายให้ท่านจักรเข้าเฝ้า และให้ทรงแต่ง คำร้องด้วยตั้ง แต่นั้นเป็นต้นมา จึงทรงมีการ พระราชนิพนธ์เพลงขึ้น และได้โปรดเกล้า ฯ พระราชทานไปยังวงดน ตรีต่างๆ ในสมัยนั้น เช่นวงดนตรี สุนทราภรณ์ วงดนตรีดุริยโยธิน รวมทั้งวงดนตรีประจำมหา วิทยาลัยต่างๆ ในโอกาสต่อมาด้วย นอกจากจะทรงมีพระปรีชาสามารถทางศิลปการดนตรีแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระ ปรีชาสามารถในทางด้านศิลปการละครอีกด้วย โดยได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงชุดแสงเดือนขึ้นเป็นเพลง พระราชนิพนธ์ที่ใช้ประกอบลีลาแสดงระบำปลายเท้า (บัลเลท์) ซึ่งได้เปิดการแสดง ณ เวทีลีลาศสวน อัมพรปรากฏเป็นที่นิยมของประชาชนโดยทั่วกัน และอยู่ในความทรงจำทุกวันนี้นอกจากเพลงแสงเดือน แล้ว พระองค์ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงประกอบการแสดงอีกชุด คือมโนราห์ (KINARI SUITE) โดยทรงแยก และเรียบเรียงเสียงประสานด้วยพระองค์เอง และได้มีการบรรเลงประกอบการแสดงด้วย ซึ่งเพลงพระราชนิพนธ์ดังกล่าวพิสูจน์ได้ชัดว่า ทรงมีพระปรีชาสามารถในการพระราชนิพนธ์เพลงประ กอบ POP LIGHT MUSIC และ CLASSIC ได้เป็น อย่างดีอีกด้วย  
         ก็ดังที่ได้กล่าวไว้กล่าวไว้ในข้างต้นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถย่างยิ่งในการทรงดนตรี มจ. จักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ทรงเล่าว่าระหว่างที่ทรงพระประชวรอยู่ที่ประเทศสวิส เซอร์แลนด์ และ ระยะที่ทรงพักฟื้นอยู่นั้น คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาได้ห้ามมิให้พระองค์ท่านทรงเครื่องเป่าทุกชนิด แต่ด้วยความสนพระทัยในเรื่องดนตรีอย่างแท้จริง ในวันหนึ่งได้โปรดเกล้า ฯ ให้ มจ. จักรพันธุ์ ฯ ทรงเป่าแซกโซโฟน ถวายให้ออกเสียงเพียงอย่างเดียว โดย มจ. จักรพันธุ์ ฯ ประทับ กับพื้นและพระองค์ท่านทรงเอื้อมพระหัตถ์ไปคร่อม แล้วทรงใช้นิ้วพระหัตถ์กดลงบนแป้นตัวโนทของแซกโซโฟน เสียงที่ออกมามีความไพเราะมาก ทำให้เสด็จพระราชชนนี ซึ่งประทับอยู่อีกห้องหนึ่ง ตกพระทัยรีบเสด็จเข้าไปทอดพระเนตร พร้อมด้วยคณะแพทย์ และข้าราชบริพารที่ตกใจรีบเข้าเฝ้าเป็นการใหญ่ เมื่อไปถึงก็กลายเป็นเรื่องที่น่า แปลกใจอย่างยิ่ง ที่ว่า มจ. จักรพันธุ์ ฯ ทรงเป็นผู้เป่าให้ออกเสียงถวาย แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้นิ้วพระหัตถ์กดแป้นโนทบรรเลงออกมา ได้อย่างไพเราะ

      พระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน ในทางด้านการดนตรีไม่เพียงแต่สร้างความประทับใจให้แก่ พสกนิกรชาวไทยเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญ และเป็นที่ชื่นชมของชาวเวียนนา นครแห่งดนตรี อีกด้วย  
      เรื่องนี้ พอ. ชาติชาย ชุณหวัณ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเวียนนา (ยศ และตำแหน่งใน ขณะนั้น) เคยเล่าว่าครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชินีนาถเสด็จกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และได้ เสด็จไปทอดพระเนตรการแสดงดนตรี ของวงนีเดอร์ เอิสดอร์ไรซ์ โทนคึนสเลอร์ออร์เครสตรา (N.Q. TONKUNSTLER ORCRESTRA) ควบคุมวงโดย ไฮน์ วัลเบอร์ก ณ มิวสิค ฮอลล์ ประจำกรุง เวียนนา เมื่อวันที่ 3 ตุลาคมพศ. 2507 ทางวงได้อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ชุด มโนราห์ สายฝน ยามเย็น มาร์ชราชนาวิกโยธิน และมาร์ชราชวัลลภ ไปบรรเลงพร้อมกันนี้ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงของรัฐบาลออสเตรีย ได้เสนอ ข่าวนี้ และทำการถ่ายทอดการแสดงไปทั่วประเทศ ในการแสดงดนตรีนั้น ทุกครั้งที่ทางวง N.Q. TONKUNSTLER ORCRESTRA บรรเลงเพลง พระราชนิพนธ์จบลง ผู้ชมภายในมิวสิคฮอลล์ จะลุกขึ้นยืนปรบมือถวายพระเกียรติเป็น เวลาที่ยาวนานมาก และเป็นเช่นนี้ทุกครั้งที่เพลงพระราชนิพนธ์ถูกบรรเลงจบลง นับเป็นครั้งที่พระมหากษัตริย์แห่งทวีปเอเชียได้ทรงเข้าไปมีบทบาทอันสำคัญยิ่งในนครดนตรีแห่งนี้

      เมื่อการแสดงดนตรีจบลง และถัดมาอีกสองวัน คือวันที่ 5 ตุลาคม 2507 ทางรัฐบาลออสเตรีย ได้ถวาย สมาชิกภาพกิตติมศักดิ์หมายเลขที่ 23 แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ. สถาบันการดนตรี และศิลปะ แห่งกรุงเวียนนา หรือที่มีชื่อว่า (THE INSITUTE OF MUSIC AND ART OF CHY OF VIENNA) ดังที่ปรากฏ พระนามอยู่บนแผ่นหินสลักของสถาบัน ทั้งๆ ที่สถาบันแห่งนี้ ก่อกำเนิดมาเป็น เวลาที่ช้านานแล้ว แต่พระองค์เป็นชาวเอเชีย แต่เพียงพระองค์เดียวที่ทรงได้รับการถวายพระเกียรติให้ ทรงเป็นสมาชิก ภาพกิตติมศักดิ์นี้ นับเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจของพสกนิกรชาวไทยทุกคนด้วยอย่างยิ่ง

      สถาบันการดนตรี และศิลปะแห่งกรุงเวียนนา หรือ THE INSITUTE OF MUSIC AND ARTS OF THE CHY OF VIENNA ก่อตั้งขึ้นมา เมื่อปีคศ. 1817 โดย IGNOZ V. MOSEL ในระยะเริ่มแรกของการก่อตั้ง จะเป็นเพียงโรงเรียนสอนการขับร้องเพลงธรรมดา ต่อมาได้ทำการปรับปรุงตามลำดับ เมื่อเกิดสงคราม โลกครั้งที่ 1 ชื่อของสถาบันแห่งนี้ก็ถูกลืมไป จวบจนกระทั่งปี คศ. 1923 JOSEPH MARX ซึ่งถือ เป็นประธานคนแรก ของสถาบันแห่งนี้ มีความคิดที่จะขยายงานของสถาบันให้แพร่ขยายออกไป ดังนั้น สถาบันแห่งนี้จึงได้รับการปรับปรุง และพัฒนาเปลี่ยนแปลงให้ดียิ่งขึ้น จนกระทั่งในปี คศ. 1949 สถาบัน แห่งนี้จึงเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า เป็นสถาบันชั้นสูงทางวิชาการด้านศิลปะต่างๆ โดยเฉพาะทางด้าน การดนตรี ในปี คศ. 1964 ทางรัฐบาลออสเตรีย ได้ถวายปริญญากิตติศักดิ์หมายเลขที่ 23 ของสถาบัน แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

      ในส่วนของบทเพลงพระราชนิพนธ์นั้น ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง และนักแยก และเรียบเรียงเสียงประสานที่ทรงมีพระ ปรีชาสามารถอย่างสูง เพราะเพลงพระราชนิพนธ์ทุกเพลง ไม่เพียงแต่จะสร้างความซาบซึ้งประทับใจ กินใจผู้ฟังเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้เป็นสื่อสร้างความดีงาม และความคิดสร้างสรรค์ให้กับผู้ฟังได้อย่าง เต็มเปี่ยม  
       เพลงพระราชนิพนธ์ เพลงแรกของพระองค์ท่านคือเพลง "แสงเทียน" ซึ่งเป็นเพลงบลูส์ ที่มีท่วงทำนองที่ไพเราะมาก พระองค์โปรดเกล้า ให้ มจ. จักรพันธุ์ ฯ ทรงแต่งคำร้องถวาย แต่เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะทรงแก้ไขให้ดีกว่าเดิม จึงยังไม่โปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้นำออกมาบรรเลง แต่โปรดเกล้า ฯ พระราชทานเพลง "ยามเย็น" และเพลง"สายฝน" ออกมาบรรเลงก่อนตามลำดับ จึงทำให้ คนส่วนมากเข้าใจว่าเพลง "ยามเย็น" เป็นเพลง พระราชนิพนธ์เพลงแรก เพลงยาม "ยามเย็น" เป็นพระราชนิพนธ์เพลงที่สองซึ่งทรง พระราชนิพนธ์ขึ้นขณะยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช และโปรดเกล้า ฯ ให้ มจ. จักรพันธุ์ ฯ ทรงแต่งคำร้องภาษาไทย และให้คุณหญิงนพคุณ ทองใหญ่ ฯ แต่งคำร้องภาษาอังกฤษ และใช้ชื่อเพลงว่า LOVE AT SUNDOWN ถ้าใครได้ฟังเพลงนี้ ที่ร้องโดย DIANE SCHUR นักร้องแจซซ์ชื่อก้องโลกนัยน์ตาพิการ และบรรเลงโดยวงดนตรีบริทิชเคาท์ซี "คอนแจซซ์" จะต้องยอมรับว่า นี่คือเพลงแจซซ์ที่ดี เพลงหนึ่งของโลก ดนตรี แจซซ ์ทีเดียว

       เพลง "สายฝน" เป็นพระราชนิพนธ์เพลงที่ 3 ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้นำออก บรรเลงเป็นเพลงที่สองต่อ จากเพลง "ยามเย็น" ณ เวทีลีลาศสวนอัมพรประพันธ์เนื้อร้องภาษาไทยโดย มจ. จักรพันธุ์ ฯ และประ พันธ์เนื้อร้องภาษาอังกฤษ (FALLING RAIN) โดย มจ. จักรพันธุ์ ฯ และ คุณหญิงนพคุณ ทองใหญ่ ฯ มีข้อสังเกตในการพระราชนิพนธ์ ในระยะเริ่มแรกทรงแปรรูปการพระราชนิพนธ์หลายๆ จังหวะ เริ่มต้นด้วย BLUES คือเพลงแสงเทียน ต่อมาเป็น FOXTROT ในเพลงยามเย็น และเป็น WALZ ในเพลงสายฝน อีกทั้งยังทรงแปรรูปลีลาของสำเนียง และเมโลดี เช่นแบบแจซซ์มาเป็นแบบ POP JAZZ ในลีลาแบบไทยๆ รวมทั้งการเปลี่ยนไปใช้คอร์ดต่างๆ และริเริ่มในคอร์ดที่แปลกๆ ใหม่ๆ อีกด้วย  
      "ใกล้รุ่ง" เป็นเพลงพระราชนิพนธ์อันดับที่ 4 คำร้องภาษาไทยแต่งโดย ดร. ประเสริฐ ณ นคร สำหรับ คำร้องภาษาอังกฤษ (NEAR DAWN) โปรดเกล้า ฯ ให้คุณหญิงนพคุณ ทองใหญ่ ฯ เป็นผู้ประพันธ์ และโปรดเกล้านำออกบรรเลงครั้งแรกในงานของสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ในวันที่ 4 มิถุนายน 2489 โดยวงดนตรี สุนทราภรณ์

H.M. BLUES หรือเพลง "ชะตาชีวิต" เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในแนว BLUES อีกเพลงหนึ่งที่ ถือว่า ยอดเยี่ยมมากทั้งเนื้อร้อง และทำนอง HOWARD ROBERTS นักกีตาร์ JAZZ ของสังกัด GRP PRODUCTION         ที่มีผลงานให้กับ DAVE GRUSIN และ DIANE SCHUUR กล่าวว่าครั้งแรก ที่ได้ยินเพลงนี้เขาไม่เชื่อว่านี่คือผลงานการประพันธ์ของพระมหากษัตริย์ไทย หรือ ชาวเอเชีย เพราะเพลงนี้คือเพลง BLUES ของคนผิวดำอย่างแท้จริง คนที่ทำได้ถึงขนาดนี้น่าจะเป็น คนดำ เจ้าตำรับ BLUES เท่านั้น ! เพลงชะตาชีวิตในภาคภาษาอังกฤษมีเนื้อหาดังน ี้

WE'VE GOT THE HUNGRY MEN'S BLUES. YOU'LL BE HUNGRY TOO IF YOU' RE IN THIS BAND. DON'T YOU THINK THAT OUR MUSIC IS GRAND ? WE'VE GOT THE HUNGRY MEN'S BLUES. WE'D LIKE TO EAT WITH YOU TOO, THAT'S WHY WE'VE GOT THE H.M. BLUES.        เพลงนี้พระราชนิพนธ์หลังจากเสวยราชสมบัติแล้ว และเสด็จแปรพระราชฐานไปประเทศ สวิสเซอร์ แลนด์ พระองค์ได้ทรงดนตรีในงานรื่นเริง ที่ได้ทรงเชิญข้าราชบริพารไปร่วมงานเป็นการส่วนพระองค์ และได้โปรดเกล้า ฯ ให้ มจ. จักรพันธุ์ ฯ ทรงแต่งคำร้องภาษาอังกฤษใส่ในทำนองที่ทรงพระราชนิพนธ์ ขึ้นมา โดยให้ชื่อเพลงว่า H.M. BLUES เพื่อเป็นปริศนาว่า H.M. แปลว่าอะไร และส่วนใหญ่มีความ เห็นว่าหมายถึง HIS MAJESTY BLUES แต่แท้ที่จริงแปลว่า HUNGRY MEN'S BLUES เพราะเหตุ ว่าทรงบรรเลง ตั้งครึ่งคืนในงานนั้น โดยมิได้เสวย อะไรเลย แต่ในขณะเดียวกัน ข้าราชบริพารที่มาร่วมในงานต่างไดรับพระราชทานอาหารอย่างอิ่มหนำ สำราญ สำหรับคำร้องภาษาไทยได้โปรดเกล้า ฯ ให้ ดร. ประเสริฐ ณ นคร เป็นผู้แต่งคำร้องแต่เนื่อง จากในเวลานั้นเนื้อเพลงภาษาอังกฤษ และโน้ตเพลงอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์ ดร. ประเสริฐไม่ทราบความ หมาย จึงใส่คำร้องภาษาไทยที่มีความหมายออกมาคนละแบบ


      เพลง "ดวงใจกับความรัก" เป็นเพลงที่พระราชนิพนธ์ขึ้นมาในช่วงเวลาที่เสด็จขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ ใน ต้นปีพศ. 2489 และในปีนี้เอง ได้เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิสเซอร์ แลนด์ และขณะที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงดนตรีกับวงดนตรี "กระป๋อง" โดยโปรดเกล้า ฯ ว่าถ้าใครไม่ อายก็ให้เข้ามา ร่วมบรรเลงได้ เพลงนี้โปรดเกล้า ฯ ให้ มจ. จักพันธุ์ ฯ ใส่เนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษ และ ทรงให้ชื่อว่า NEVER MIND THE HUNGRY MEN'S BLUES เป็นเพลงที่พระราชทาน ให้หลังจากเสวยพระกระยาหารในงานรื่นเริงส่วนพระองค์ เป็นการตอบปริศนาของ คำว่า H.M. BLUES ด้วย BLUES DAY หรือ "อาทิตย์อับแสง" เป็นเพลงที่ พระราชนิพนธ์ ขณะที่เสด็จประทับแรมบนเขาใน เมือง DAVOS เพลงนี้โปรดเกล้า ฯ ให้ มจ. จักพันธุ์ ฯ ทรงแต่งคำร้องภาษาไทยด้วย และได้โปรดเกล้า ฯ ให้ MICHEL TODD PRODUCTION นำออกแสดงในกรุงนิวยอร์คร่วมกับเพลง สายฝนด้วย เพลงพระราชนิพนธ์ในช่วงแรกๆ นั้นจะเป็นเพลงทั่วๆ ไปที่มีความไพเราะ และซาบซึ้งเป็นที่ประทับใจ ของพสกนิกรเป็นอย่างมาก ต่อมาทางมหาวิทยาลัยต่างๆ จึงได้ขอพระราชทานเพลงประจำมหาวิทยาลัย โดยเริ่มจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ขอพระราชทานก่อน โดย มรว. สุมนชาติ สวัสดิกุล เป็นผู้ขอ พระราชทาน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง และโปรดเกล้า ฯ พระราช ทานให้แล้วทางจุฬา ฯ ได้ขอพระราชทาน คำร้องอีกซึ่งได้โปรดเกล้า ฯ ให้ทางจุฬาประพันธ์คำร้องเอง เนื่องจากเพลงพระราชนิพนธ์ในระยะแรก ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่ทรงใช้ SCALE แบบสิบสองห้องหรือ CROMATIC SCALS ที่ใช้คอร์ดสลับซับซ้อน และพัฒนาออกไปไกลมากเลย ทำให้เป็นเพลงที่จำยาก ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ปรารภว่า แม้แต่เพลงที่ใช้เสียงเพียง 5 เสียง หรือ PENTATONIC SCALE ก็สามารถแต่งให้มีความไพเราะได้เช่นกัน จึงโปรดเกล้า ฯ ให้มจ. จักพันธุ์ ฯ เริ่มวรรคแรก โดยใช้ SCALE 5 เสียงก่อน จากนั้นพระองค์จึงทรงต่อจนจบเพลง และเมื่อ ทางจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้ขอพระราชทานเพลง ประจำมหาวิทยาลัยมา จึงได้โปรดเกล้า ฯ พระ ราชทานทำนองเพลงแบบใช้ PENTATONIC SCALE คือ 5 เสียงซึ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ก่อนแล้วให้ทางจุฬา ฯ นำไปใส่คำร้องเองภายหลัง คุณหญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และนายสุพร ผลชีวิน ได้ประพันธ์ คำร้องขึ้นถวายในวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ระหว่างปี พศ. 2494-2495 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะพระราชทานพรให้แก่พสกนิกร โดยใช้บทเพลงแทนการพระราชทานพร

      จึงโปรดให้ผู้ใกล้ชิดร่วมแต่งเพลง "พรปีใหม่" ขึ้น และได้โปรดเกล้าให ้มจ.จักรพันธ์ ฯ ทรงเป่าแซกโซโฟนในช่วงแรก และช่วงที่สามโดยพระองค์จะทรงเป่าในช่วงที่สอง และสี่สลับไปจนครบทำนองเป็นเพลง แล้วแต่งคำอวยพรในบทเพลงตอนนั้นเลย ซึ่งเสร็จภายในครึ่งชั่วโมง เนื่องจากในคืนนั้นมีจำนวนจำกัด จึงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้แก่วงดนตรี เพียงสองวงเท่านั้น คือวงดนตรีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงสุนทราภรณ์ ซึ่งกำลังแสดงอยู่ที่โรงหนังศาลาเฉลิมไทย เพลง "พรปีใหม่" นี้คงบรรเลงกัน เรื่อยมาทุกๆ ปี จนถึงปัจจุบันนี้ เพลง "ลมหนาว" ก็เป็นพระราชนิพนธ์อีกเพลงหนึ่ง ที่มีทำนองที่ไพเราะมาก เพลงนี้พระราชนิพนธ์ขึ้น มาหลังจากเสด็จนิวัตพระนครเป็นการถาวรแล้ว โดยที่ได้พระราชทานเพลงนี้ในงานประจำปี ของนัก เรียนเก่าอังกฤษ "LOVE IS SPRING" และทรงแต่งคำร้องภาษาไทยชื่อ "ลมหนาว" ต่อมาในภาย หลังด้วย

      LAY KRAM GOES DIXIE หรือเพลง "ศุกร์สัญลักษณ์" เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่ทรงขึ้นสำ หรับการบรรเลงเปิด และปิดของวงดนตรี "ลายคราม" ซึ่งถือเป็นเพลงประจำวง เช่นเดียวกับเพลง "ไกลกังวล" (WHEN) เพลงประจำของวงอส. วันศุกร์ เพลง "ศุกร์สัญลักษณ์" นี้ ท่วงทำนอง และ จังหวะ เป็น JAZZ ในแบบ DIXIELAND ที่สนุกสนานมาก เพลงนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ มรว. เสนีย์ ปราโมช ซึ่งขณะนั้นเป็นลูกวงประจำวงดนตรี "ลายคราม" เป็นผู้แต่งคำร้องถวาย

       ในยุคสมัยที่ภาวะบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีน้ำพระทัยเต็มเปี่ยม ไปด้วยความห่วงใย ความเสียสละเพื่อพสกนิกร เราจะเห็นได้ว่าพระองค์ท่านเริ่มทรงพระราชนิพนธ์ เพลงปลุกใจเพื่อเป็นกำลังใจให้แก่ประชาชน เสียสละเพื่อส่วนรวม และเพื่อให้พสกนิกรร่วมแรง ร่วมใจ กัน พัฒนาบ้านเมือง

      "เกิดเป็นไทย ตายเพื่อไทย" เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ ซึ่งทรงขึ้นและโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นเพลง ประจำวงอส. วันศุกร์อีกเพลง ต่อมาภายหลังสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทูลขอพระราชทานให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค แต่งคำร้องภาษาไทย เนื้อร้องมีความหมาย เตือนใจให้คนไทยคิดถึง ชาติบ้านเมือง เพลง "ความฝัน อันสูงสุด" เกิดขึ้นมาเนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมี พระราชเสาวนีย์ ให ้ท่านผู้หญิง มณีรัตน์ บุนนาค เขียนคำกลอนเตือนใจ แล้วพิมพ์แจกข้าราชการทหาร พลเรือนมิให้ท้อถอย ในการปฏิบัติหน้าที่ต่อประ เทศชาติ ต่อมาภายหลังสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้กราบทูลขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ใส่ทำนองเพราะฉะนั้นเพลง "ความฝันอันสูงสุด" เป็นพระราชนิพนธ์เพลงแรกที่เขียนคำร้องก่อน แล้วใส่ทำนองทีหลัง "เราสู้" เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่ทรงจากคำร้อง แล้วใส่ทำนองทีหลัง เป็นเพลงที่สองต่อจากเพลง "ความฝันอันสูงสุด" คำร้องเป็นพระราชดำรัสที่พระราชทานต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติ ซึ่งได้เข้าเฝ้า ณ พระตำหนักจิตรลดา ต่อมาอาจารย์สมภพ จันทรประภา ได้ขอพระราชทานดำรัสนี้ มาเขียนเป็นโคลง กลอนถวาย และมาทรงใส่ทำนองในตอนหลัง และได้พระราชทานเพลงนี้ เป็นของขวัญปีใหม่แก่ทหาร และตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อพระราชนิพนธ์เพลงนี้เสร็จใหม่ๆ ได้พระราชทานให้วง อส. วันศุกร์ นำไปบรรเลงก่อน ต่อมาได้นำกลับมาแก้ไข และเรียบเรียงใหม่ เพลงในรุ่นหลังๆ นี้ มีพระราช ประสงค์ ให้นักดนตรีทุกคนมีส่วนเข้าร่วมแก้ไขปรับปรุงทำนองด้วย และทรงมีพระราชดำรัสแบบติด ตลกว่า "การแต่งแบบนี้เรียกว่าการแต่งแบบสหกรณ์"

      "แสงเดือน" เป็นเพลงที่ทรงขึ้น เมื่อเสด็จกลับมาประทับในเมืองไทยเป็นการถาวรในภายหลังได้ ทรง นำเพลงนี้ไปแสดงประกอบลีลาในงานพระราชกุศล เป็นฉากการแสดงลีลา และลำนำที่สวยงามประทับ ใจมาก นับเป็น ROYAL PRODUCTION ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงโดย ใช้เพลงพระราชนิพนธ์ บทนี้

      "มาร์ชราชนาวิกโยธิน" เพลงนี้ พล รต. สนอง นิสาลักษณ์ ผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธินขณะนั้น ได้กราบ บังคมทูลขอพระราชทานเพลงประจำกรมนาวิกโยธิน ซึ่งได้โปรดเกล้า ฯ พระราชทาน ให้เมื่อ วันที่ 28 มิถุนายน 2502 ในโอกาสที่นาวิกโยธินอเมริกันประจำกองเรือรบที่ 7 ของสหรัฐอเมริกา เดินทางมาเยือน ประเทศไทย เพลงนี้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมาอย่างกะทันหัน แล้วพระราชทานให้แก่กรมนาวิกโยธินนำ ออกมาบรรเลงต้อนรับนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกัน ได้ทันพอดี

      A LOVE STORY (KINARI SUITE) เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่ทรงแต่งขึ้นประกอบการแสดง ระบำปลาย เท้าชุด "มโนราห์" โดยทรงเรียบเรียงเสียงประสานด้วยพระองค์เอง ต่อมาภายหลัง ท่านผู้ หญิงมณีรัตน์ ฯ และมล. ประพันธ์ สนิทวงศ์ ได้แต่งคำร้องภาษาไทยนำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายชื่อเพลง "ภิรมย์รัก" ALEXANDRA เป็นพระราชนิพนธ์ ที่ได้ทรงขึ้นเฉพาะการรับเสด็จ เจ้าหญิง อเลกซานดรา แห่งเคนท์ ซึ่ง เสด็จมาเยือนไทย เป็นการส่วนพระองค์เนื้อร้องมีดังนี้



ALEXANDRA WELCOME TO THEE HERE IN THIS LAND OF SUNSHINE AND OF FLOWERS MAY YE BE BLESSED BY THE BLESSING THAT HAS MADE OUR COUNTRY HAPPY


      เพลงนี้นำออกมาใช้เพียงครั้งเดียว และไม่ได้ใช้อีกเลย ต่อมาสมเด็จพระบรมราชินีนาถโปรดเพลงปลุกใจให้รักบ้านเมือง ทรงเห็นว่าเพลงนี้น่าจะใส่คำร้องภาษาไทยได้จึงได้ทูลขอราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ใส่เนื้อร้องภาษาไทยชื่อเพลง "แผ่นดินของเรา"STILL ON MY MIND เป็นพระราชนิพนธ์เพลงแรกที่ทรงเขียนคำร้องเป็นภาษาอังกฤษด้วย พระองค์เอง ส่วนคำร้องภาษาไทยชื่อเพลง"ในดวงใจนิรันดร์" ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ ดร. ประเสริฐ ณ นคร เป็นผู้แต่ง โดยแปลจากคำร้องภาษาอังกฤษวรรคต่อวรรค เพื่อให้ได้ความหมายเดิม ของพระราชนิพนธ์ไว้ด้วยECHO เป็นเพลงที่ได้ทรงพระราชนิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เอง และได้โปรดเกล้า ฯ ให้ ดร. ประเสริฐ ณ นคร แต่งคำร้องภาษาไทย และให้ชื่อภาษาไทยว่า "แว่ว" ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ เพลงที่ 40 และได้โปรดเกล้า ฯ ให้นำ ออกบรรเลงครั้งแรกในงานสังคีตมงคล เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2509 ตรงกับปีที่มีพระชนม์ ครบ 40 พรรษาพอดี โอกาสนี้ขออัญเชิญคำร้องภาษาอังกฤษพร้อมโนท ซึ่งเป็น ลายพระหัตถ์ของพระองค์ท่านเอง มาเสนอพร้อมกัน ณ ที่นี้ด้วย

      ดร. ประเสริฐ ณ นคร เคยเล่าถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านว่า มีอยู่คราวหนึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ พระองค์ท่านทรงเป็นเหมือนนักประพันธ์เพลง หรือปราชญ์ของ โลก คือเวลาที่ทรงเกิด แรงบันดาลใจ ขึ้นมาจะทรงหยิบฉวยเศษกระดาษหรือซองจดหมายขึ้นมา แล้วตีเส้นโนท 5 เส้น แล้วทรงพระราช นิพนธ์ ทำนองเพลงออกมาได้โดยฉับพลัน

      พระปรีชาสามารถอีกอย่างหนึ่งของพระองค์ท่านคือ การนำโนทดนตรี ของเครื่อง ดนตรีชนิดหนึ่ง มาทรงกับ เครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่ง อาจารย์แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ เคยเล่าให้ฟังว่ามีนักดนตรีวง "ลายคราม" นำ โนทดนตรีที่เล่นกับเครื่องเป่าทรัทเพท มาถวาย พระองค์ท่านนำโนตดนตรีนั้น มาทรงเล่นกับ เพียโน ได้ โดยไม่ผิดเพี้ยน ทั้งทำนองและจังหวะ

      เป็นที่น่าเสียดายว่า ในระยะหลังพระองค์ท่านมีพระราชกรณียกิจมากมายนานับ ประการ โดยเฉพาะ ความห่วงใยในทุกข์สุขของพสกนิกรของพระองค์ท่านเอง ทำให้พระองค์ท่านไม่มีเวลาพอที่จะทรง ดนตรี หรือพระราชนิพนธ์เพลงใหม่ๆ ที่มีคุณค่าออกมา เพลงสุดท้ายที่พระองค์ท่านพระราชนิพนธ์ ออกมาน่าจะเป็นเพลง "เมนไข่" ซึ่งเป็นเพลง JAZZ ในแนว B-BOB ที่สนุกสนานทรงพระราชนิพนธ์ เนื้อร้อง โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ซึ่งพอจะหาฟังกันได้ ทางสถานีวิทยุ จส. 100 ที่นำมาเปิดอยู่เป็นประจำ





      คำว่า "คีตราชัน" ที่พสกนิกรทั่วประเทศ ถวายให้กับพระองค์ท่านนั้น ยิ่งใหญ่มโหฬารควรคู่กับพระ ปรีชา สามารถทางด้านศิลปการดนตรี ของพระองค์ท่าน เพลงพระราชนิพนธ์ทุกเพลง ถือเป็นเพลง BLUES และ JAZZ ที่มีความเป็นสากลอยู่ทุกตัวโนท ถ้าใครได้ชมวงบริทิช เคาน์ซี ที่อัญเชิญเพลง พระราชนิพนธ์ มาอเรนจ์ในรูปแบบ JAZZ ที่สมบูรณ์ ในท่วงท่าของดิกซีแบนด์ นิวออร์ลีน แจซซ์ บี-บอบ หรือบิกแบนด์ และขับร้องโดยศิลปิน JAZZ ระดับปรมาจารย์อย่าง DIANE SCHUR รับรอง ว่าจะไม่มีใครเชื่อว่านี่ คือ เพลงที่ประพันธ์โดยคนไทย น่าจะเป็นฝีมือของศิลปิน JAZZ ระดับโลกมาก กว่า

      แต่ทั้งหมดก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า นี่คือพระราชนิพนธ์ของมหากษัตริย์ไทย ที่ BENNY GOODMAN และ LOUIS ARMSTRONG ถวายพระเกียรติให้พระองค์ท่านเป็นนักดนตรี JAZZ เอกของโลก...สำหรับ พสกนิกรชาวไทยแล้ว พระองค์ท่านคือ " คี ต ร า ชั น " อย่างแท้จริง
บันทึกการเข้า
คำฝอย
มัจฉานุ
**
ตอบ: 64

เรียน


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 05 ธ.ค. 05, 21:08

 หาย เฮด ไปนาน ได้ฤกษ์แวะมาเสียที ขอตอบด้วยคนนะคะ ดิฉันชอบเพลง แสงเทียนค่ะ ถ้าได้ผู้ร้องเป็นสตรีที่เสียงทุ้มๆ ท่าจะไพเราะดีอีกเพลงก็แผ่นดินของเราค่ะ คิดถึงบ้าน
บันทึกการเข้า
เจอรี่
อสุรผัด
*
ตอบ: 1

อยู่ในประเทศไทย


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 08 ธ.ค. 05, 18:44

 ชอบเพลงอาทิตย์อับแสงกับเพลงความฝันอันสูงสุดมากค่ะ
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ


เคยชม
ร่วมภิรมย์ใจ
ด้วยความรักจริงยิ่งใหญ่
ผูกพันหัวใจเรามั่น
รักเอย
เคยอยู่เคียงกัน
ร่มเย็นมิเว้นวายวัน
ด้วยความสัมพันธ์ยืนยง
ทิวางาม
ยามอยู่เคียงคง
สุริยาแสงส่ง
ปวงชีวิตในโลกดำรงเริงใจ
ร้างกัน
วันห่างไปไกล
มืดมนหมองมัวปานใด
เยือกเย็นเข็ญใจรัญจวน
ไกลกัน
พาพรั่นใจครวญ
ร่างกายทรุดโทรมทุกส่วน
จิตใจร้อนรวนแรงอ่อน
รักเอย
เลยกลับอาวรณ์
ค่ำคืนฝืนใจไปนอน
ยิ่งดูเหมือนฟอนไฟลน
ทิวาทราม
ยามห่างดวงกมล
สุริยาหมองหม่น
ปวงชีวิตในโลกอับจนเสื่อมทราม
หวังคอย
คอยเฝ้าโมงยาม
จวบจนทิวาเรืองงาม
สบความรักยามคืนคง  


เกร็ดน่ารู้
เพลงพระราชนิพนธ์ อาทิตย์อับแสง: Blue Day เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๘ ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อวันพุธที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๒ ขณะประทับแรมบนภูเขาในเมืองดาโวส์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อมา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย
บันทึกการเข้า
Dominio
ชมพูพาน
***
ตอบ: 128

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 08 ธ.ค. 05, 20:20


.
บันทึกการเข้า
Dominio
ชมพูพาน
***
ตอบ: 128

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 11 ธ.ค. 05, 14:42


ทรงกีตาร์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.094 วินาที กับ 19 คำสั่ง