paganini
|
 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของในหลวงของเรา เรามาคุยกันเกี่ยวกับพระอัจฉริยภาพทางดนตรีของพระองค์ท่านดีไหมครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
paganini
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 05 ธ.ค. 03, 16:25
|
|
เมื่อคืนง่วงไปหน่อยเลยไม่มีแรงพอที่จะเขียน กลับมาล่ะครับ จริงๆแล้วผมประทับใจในอัจฉริยภาพของในหลวงเราอย่างยิ่ง เรียกได้ว่าเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์นั้นเป็นงานชั้นครู เป็นงานที่คนรุ่นหลังต้องศึกษา อันเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งหลายนั้นผมได้ยินมาตั้แต่เกิดล่ะครับโดยเฉพาะเมื่อก่อนนี้ที่ช่องเจ็ดชอบเอามาเป็นเพลงพื้นหลังตอนเสนอข่าวในพระราชสำนัก แต่สิ่งที่ทำให้ผมสะดุดใจและหันมาฟังอย่างจริงจังก็เมื่อผมได้ยินเพลงบรรเลงพระราชนิพนธ์ด้วยกีต้าร์คลาสสิคโดย ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์ ที่บรรเลงได้อย่างสวยงามไพเราะ แต่ที่สำคัญคือเรียบเรียงโดย เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ ที่เพิ่งจะล่วงลับไปไม่นาน มานี้ในอนาคตงานชิ่นนี้คงจะติดอยู่คู่กับชื่อของ อ.เขตต์ ไปชั่วลูกชั่วหลานมากกว่าคนรุ่นหลังจะรู้จักชื่อ อ. เขตต์ในฐานะที่เป็นคนแต่งเพลง คู่กัด ให้พี่เบิร์ด เพลงชุดนี้ก็มี สายฝน ใกล้รุ่ง เทวาพาคู่ฝัน ยามเย็น แผ่นดินของเรา แสงเดือน แสงเทียน ค่ำแล้ว แก้วตาขวัญใจเมื่อโสมส่อง อัลบั้มชื่อว่า คืนหนึ่ง นับว่าเป็นอัลบั้มที่คลาสสิค แม้จะเป็นที่รู้จักในหมู่นักดนตรี แต่ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เป็นส่วนประกอบที่ลงตัวระหว่างวัตถุดิบคือตัวเพลง ผู้เรียบเรียง ที่สอดใส่เทคนิคทั้งทางการเรียบเรียงเสียงประสาน ทั้งเทคนิคทางกีต้าร์คลาสสิค ทั้ง counter point ลงไป รวมทั้งการบรรเลงโดยยอดนักกีต้าร์อย่างฮัคกี้ที่พูดไทยได้ชัดมาก และทำมาหากินในเมืองไทยจนกระทั่งปัจจุบัน โดยเหตุที่ว่าเพลงพระราชนิพนธ์นั้นเป็นของที่ทรงรังสรรค์ขึ้นมาอย่างประณีตบรรจง โดยส่วนตัวผมว่าหลายๆเพลง "ฟังยาก" เนื่องด้วยในหลวงท่านทรงมีความรู้ และความเข้าใจในการดนตรีอย่างลึกซึ้งทรงสอดแทรก เทคนิค หรือ ศิลปะของประองค์ ลงไปในแต่ละเพลงอย่างชาญฉลาด ดังนั้นการที่เราจะเข้าใจและทราบซึ้งในบทเพลงบางเพลงมิใช่ง่ายๆ ผมเองอย่างที่บอกคือประทับใจครั้งแรกจากการฟังอัลบั้มคืนหนึ่งนี้ จำได้ว่าพยายามไปหาโน๊ตมาเพื่อเล่นให้ได้ตามเทป(เมื่อก่อนไม่มี CD) พอเล่นได้นิดนึงก็ไปอวดเพื่อนๆ โห เท่ห์มากเลยครับ....555555 เล่าความหลังนิดนึง หลังจากนั้นเมื่อผมมีโอกาสได้เรียนวิชา composition กับท่านอาจารย์ที่ผมเคารพรัก ท่านมักจะยกเพลงพระราชนิพนธ์มาเป็นตัวอย่างการแต่งทำนอง หรือการเรียบเรียงเสียงประสาน (การใส่คอร์ด หรือการเลือกใช้ harmony นั่นเอง) ผมได้ค้นพบว่ามีอะไรๆหลายๆอย่างที่ลึกซึ้งสวยงามซ่อนไว้ในแต่ละบทเพลงพระราชนิพนธ์เหล่านั้น ผมเองคุยกับท่านอาจารย์ของผมได้ทั้งวันเกี่ยวกับบทเพลงพระราชนิพนธ์แถมท่านยังมีเกร็ดเล็กๆน้อยๆจากการทำงานของท่านในอดีตมาเล่าให้ฟัง เมื่อเราเรียนเกี่ยวกับการแต่งดนตรีแบบคลาสสิคท่านก็ยกตัวอย่างจากบทเพลงพระราชนิพนธ์ เมื่อเราเรียนเกี่ยวกับเพลงบลูส์ท่านก็ยกตัวอย่างจากบทเพลงพระราชนิพนธ์ เมื่อเราเรียนเกี่ยวกับแจ๊ซท่านก็ยกตัวอย่างจากบทเพลงพระราชนิพนธ์ เมื่อเราเรียนเกี่ยวกับบันได้เสียงโครมาติก (บันไดเสียงที่ใช้ครึ่งเสียงเป็นพื้น เช่นเพลงเมื่อโสมส่อง)ท่านก็ยกตัวอย่างจากบทเพลงพระราชนิพนธ์ เรียกได้ว่าบทเพลงชุดนี้เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่เราจะเสพได้ไม่รู้จักหมดสิ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
paganini
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 05 ธ.ค. 03, 16:35
|
|
เพลงหนึ่งที่อยู่ในใจผมตลอดมาคือเพลงลมหนาวผมไม่รู้ว่าที่มาที่ไปของเนื้อร้องทั้ง 2 แบบคือไทยกับอังกฤษนี่เป็นยังไงว่าเป็นพระราชประสงค์หรือไม่ที่จะให้เนื้อร้อง 2 แบบมีความแตกต่างตรงข้ามกันแบบนี้ทั้งที่ใช้ทำนองเดียวกัน ผมขอ copy เนื้อจากเวปกาจนาภิเษกตามที่คุณเทาชมพูให้ไว้ข้างบนนะครับ(ขอบคุณมากเลยครับอาจารย์ที่ทำให้ผมผมไม่ต้องพิมพ์ใหม่)
ลมหนาว
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา
ยามลมหนาวพัดโบกโบยโชยชื่น
เหล่าสกุณร้องรื่นรมย์
หมู่ดอกไม้ชวนภมรร่อนชม
ช่างสุขสมเพลินตาน่าดูชูใจ
โอ้รักเจ้าเอ๋ย
ยามรักสมดังฤทัย
พิศดูสิ่งใด
ก็แลวิไลแจ่มใสครัน
อันความรักมักจะพาใจฝัน
เมื่อรักนั้นสุขสมจิตปอง
ยามลมฝนพัดโบกโบยกระหน่ำ
หยดหยาดนำน้ำหลั่งนอง
ผึ้งภู่ทั้งวิหคเหงาเศร้าหมอง
เกลื่อนกลาดผองมาลีร่วงโรยลงดิน
เหมือนรักผิดหวัง
เปรียบดังหัวใจพังภินท์
น้ำตาหลั่งริน
และลามไหลเพียงหยาดฝนปราย
อันความรักแม้นไม่เป็นดังหมาย
ตราบวันตาย ชีพขมขื่นเอย
Love in Spring
Music: H.M.K. Bhumibol Adulyadej
Lyric: H.H. Prince Chakrabandh Pensiri
Love in spring sets my heart aflame,
Burning as embers glow.
Everytime when I hear your name,
Then my burning tears begin to flow.
There'll come a day
When skies will be so blue.
May be you'll say
You are in love with me too.
I'll find joy then in everything,
For I find my love in spring
I am longing for love in spring
When the days are so fair.
What supreme happiness it'll bring.
All the red roses bloom everywhere.
Birds in the trees
Will sing a lovely tune.
And in the breeze
We'll watch the bright lovely moon.
I'll find joy then in everything,
for I find my love in spring.
เกร็ดน่ารู้
เพลงพระราชนิพนธ์ ลมหนาว: Love in Spring เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑๙ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๔๙๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ และได้พระราชทานเพลงนี้ ออกบรรเลงครั้งแรก ในงานประจำปีของสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนลุมพินี เมื่อวันเสาร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗ ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา แต่งคำร้องภาษาไทยถวาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
paganini
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 05 ธ.ค. 03, 17:01
|
|
ตามอารมณ์ของทำนองแล้วเพลงนี้น่าจะเป็นเพลงเศร้า ชื่อก็บอกแล้วว่าเมื่อลมหนาวพัดมาทำหัวใจเราๆสั่นไหวกันถ้วนหน้าใครมีรักที่ไม่สมหวังก็จะขื่นขมเป็นพิเศษในช่วงหน้าหนาว อันนี้เป็นความรู้สึกร่วมกันของคนทั่วไป (อีกเพลงที่ทำได้ดีเกี่ยวกับหน้าหนาวคือ เหมันต์รัญจวน ของสุทราภรณ์) คำร้องไทยของท่านผู้หญิงสมโรจน์สละสลวยและเข้ากับทำนองอย่างยิ่งจนผมอดคิดไม่ได้ว่าเนื้อนี้น่าจะเข้ากับทำนองที่ทรงพระราชนิพนธ์มากกว่า(*** ถามอาจารย์เทาฯ ว่าต้องใช้ว่าทรงนิพนธ์ หรือ ทรงพระนิพนธ์หรือ ทรงพระราชนิพนธ์ครับ***) ในขณะที่เนื้อภาษาอังกฤษกลับพูดถึงรักในฤดูใบไม้ผลิอันสวยงามเบิกบาน ดอกไม้สวยต้นไม่เขียวขจี มีเรื่องเล่าที่ยืนยันถึงพระอัจฉริยภาพของในหลวงเรา อาจารย์ผมเล่าให้ฟังว่าสมัยที่ท่ายังเป็นผู้ควบคุมวงดุริยางค์ทหารบกท่านต้องเรียบเรียงเสียงประสานเพลงพระราชนิพนธ์ให้วง orchestra เล่นประกอบการร้องเพลงปรากฏว่าเมื่อท่านต้องเรียบเรียงเพลงนี้แทนที่จะทำแบบเดียวแต่ใช้กับ 2 เนื้อร้อง ท่านกลับทำแยกกัน โดยเพลงลมหนาวท่านทำให้เป็นเพลงที่ช้าๆ สงบ เศร้า และ harmony หรือ cord ที่ใช้ก็เอาแบบทึมๆได้บรรยากาของลมหนาว แต่เพลง Love in Spring ท่านกับเรียบเเรียงโดยใช่เสียงประสานที่สดใสกว่า รวมไปถึงจังหวะที่จะเร็วขึ้นนิดหน่อย ในสไตล์ของ Viennese Waltz (ใครนึกไม่ออกก็นึกถึง Blue Danube ของโยฮันน์ สเตร้าท์นะครับ ลักษณะแบบนั้นคือวอล์แบบชาวเมืองเวียนนาล่ะ) ปรากฏว่าในหลวงเมื่อทรงได้ยินได้มีรับสั่งกับอาจารย์ผมว่า "เธอเข้าใจเพลงของฉันดีนี่นา" แสดงว่าเป็นพระราชประสงค์แต่เดิมที่ต้องการให้เพลงนี้สามารถตีความได้หลายอารมณ์ อาจารย์ผมท่านปลื้มมากๆกับความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างท่านกับในหลวง สำหรับผมแล้ว ทั้ง 2 ท่านคือศิลปินผู้ยิ่งใหญ่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 06 ธ.ค. 03, 09:35
|
|
ขอถามนอกเรื่องหน่อยนะคะ เพลง เทวาพาคู่ฝัน เป็นจังหวะอะไรคะ ถ้าหากว่าไม่ใช่วอลทซ์ มาสามารถทำให้เป็นวอลทซ์ได้ไหมคะ ทำนองเดียวกับ Love in Spring ที่คุณเล่ามาข้างบนนี้น่ะค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
paganini
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 06 ธ.ค. 03, 16:51
|
|
Waltz ครับ เหมือนกัน คือ 3/4 สังเกตว่าเพลงพระราชนิพนธ์ส่วนใหญ่จะเป็นเพลง Waltz ครับยกเว้นเพลงมาร์ชรึว่าเพลงที่ทรงแต่งให้สถาบัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 196
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 06 ธ.ค. 03, 17:48
|
|
สงสัยนิดหนึ่งนะครับ H.H. ย่อมาจากอะไรครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 06 ธ.ค. 03, 19:30
|
|
H.H. = His Highness ครับ คุณภูมิ
ผมเองชอบเพลงพระราชนิพนธ์ "ยิ้มสู้" ครับ "โลกจะสุขสบายนั่นเป็นได้หลายทาง..." แต่ว่าที่จริง ชอบทุกเพลง เพลงพระราชนิพนธ์ชุดคืนหนึ่งนั้นผมก็ชอบมากๆ ฟังมาแต่เด็กตั้งแต่เป็นเทปคาสเซท จนป่านนี้จะยืดหมดแล้วมั้ง ยังไม่ได้ไปหาซีดีมาเปลี่ยนครับ
พระราชอัจฉริยภาพในทางดนตรีนี่ เป็นที่รับรองในระดับโลก ทั้งในอเมริกา โดยเบนนี่ กูดแมนราชาแจ๊ส (และศิลปินอเมริกันคนอื่นๆ อีกมาก) และที่เวียนนา นครหลวงของดนตรีของโลก โดยสถาบันการดนตรีแห่งเวียนนาก็ได้รับรองพระราชอัจฉริยภาพนี้ คุณ Paganini ทราบไหมครับว่า ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลง Alexsandra พระราชทานเจ้าฟ้าหญิงอเล็กซานดราของอังกฤษในโอกาสที่เจ้าฟ้าองค์นั้นเสด็จเยือนไทย ในระหว่างที่ทรงกำลังรอเครื่องบินพระที่นั่งของเจ้าฟ้าหญิงลงจอด พระราช ... inspiration (เรียกราชาศัพท์ไม่ถูก) ก็ผุดขึ้น ต้องทรงรีบร่างโน้ตเพลงนั้นลงในเศษกระดาษทันที ดูเหมือนจะทรงแต่งเสร็จในไม่เกิน 10 นาที และเพราะมากด้วย ใครทราบรายละเอียดเรื่องนี้ช่วยเล่าหน่อยครับ เพลงนี้ ต่อมาใส่เนื้อไทยเป็นเพลง "ถึงอยู่แคว้นใด ไม่สุขสำราญ เหมือนอยู่บ้านเรา ชื่นฉ่ำค่ำเช้า สุขทวี ..."
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 07 ธ.ค. 03, 09:21
|
|
เพลงพระราชนิพนธ์ ที่คุณนิลกังขาว่า ดูเหมือนภาษาอังกฤษจะชื่อตรงตัวว่า Alexandra มีเนื้อร้องภาษาอังกฤษด้วยค่ะ แต่ดิฉันจำได้กะท่อนกะแท่นเต็มที คล้ายๆ welcome to the land of Smile หรืออะไรทำนองนี้ บางทีคุณ paganini คงเล่าได้ละเอียดและถูกต้องกว่า
เพลงนี้เป็นเพลงแต่งพระราชทานเป็นเกียรติยศแก่เจ้าหญิงอเลกซานดราแห่งอังกฤษ ต่อมาจึงไม่ค่อยจะได้ฟังกัน เพราะไม่อยู่ในโอกาสที่จะเล่นเพลงนี้ถวายเจ้าหญิง เว้นแต่ตอนเสด็จมาเยือน นานทีเดียว ร่วมยี่สิบปี(มั้ง) สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเห็นว่าเพลงนี้น่าจะใส่คำร้องภาษาไทยได้ จึงได้ทูลขอพระราชทานเพลงจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ใส่คำร้องภาษาไทยเป็นชื่อเพลง "แผ่นดินของเรา" เพื่อเตือนใจให้คนไทยนึกถึงชาติบ้านเมือง ถึงอยู่แคว้นใด ไม่สุขสำราญ เหมือนอยู่บ้านเรา ชื่นฉ่ำค่ำเช้าสุขทวี ทรัพย์จากผืนดิน สินจากนที มีสิทธิ์เสรี สันติครองเมือง เรามีป่าไม้อยู่สมบูรณ์ ไร่นาสดใสใต้ฟ้าเรือง โบราณสถานส่งนามประเทือง เกียรติเมืองไทยขจรไปทั่วแดนไกล รักชาติของเรา ไว้เถิดผองไทย ผืนแผ่นแหลมทอง รวมพี่รวมน้องด้วยกัน รักเกียรติรักวงศ์ เสริมส่งสัมพันธ์ ทูนเทิดเมืองไทยนั้น ให้ยืนยง.
เป็นเพลงที่จับใจทั้งทำนองและเนื้อร้อง ดิฉันเคยฟังเพลงนี้ ออกเป็นสปอตสั้นๆทางทีวี ไม่กี่ปีก่อน ทุกครั้งจะทั้งดูและฟังไม่เคยเบื่อเลยค่ะ
ส่วนเจ้าหญิงอเลกซานดรา ไม่ใช่เจ้าฟ้าหญิง เป็นเจ้าหญิงเฉยๆ พระญาติสนิทของควีนเอลิซาเบธ พระบิดาคือดยุคออฟเค้นท์ เป็นนักบินประสบอุบัติเหตุ สิ้นพระชนม์ระหว่างสงครามโลก ดัชเชสออฟเค้นท์พระมารดาทรงเลี้ยงพระโอรสธิดาสามพระองค์มาตามลำพัง เจ้าหญิงสมรสกับลูกชายขุนนางชื่อออนเนอระเบิลแองกัส โอกิลวี่ มีบุตรชายหญิงอย่างละหนึ่ง เป็นสามัญชนเชื้อสายผู้ดีตามบิดา ไม่ได้เป็นราชสกุล
เจ้าหญิงอเลกซานดราเคยแบ่งเบาพระราชภารกิจของพระราชินีนาถเอลิซาเบธมาตั้งแต่บรรดาเจ้าฟ้ายังทรงพระเยาว์อยู่ เคยเสด็จเป็นตัวแทนเยือนประเทศต่างๆทั้งตะวันตกและตะวันออก เมื่อเสด็จมาไทย ก็ทรงสนิทสนมคุ้นเคยเป็นอันดีกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จกี่ครั้งดิฉันจำไม่ได้ แต่ว่าหลายครั้ง ทั้งเป็นทางการในฐานะผู้แทนพระองค์ควีน และเสด็จส่วนพระองค์ กล่าวกันว่าทรงมีพระอัธยาศัยเป็นกันเองดีมาก ละมุนละม่อม เป็นที่รักของผู้คนโดยรอบ และว่ากันว่าเมื่อทรงพระเยาว์กว่านี้(คือตอนสาว)โปรดขนมหวานของไทยเสียด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 07 ธ.ค. 03, 11:40
|
|
ใช่ครับ เพลงนั้นแหละครับ คุณเทาชมพู ผมจำเกร็ดได้อีกอย่างคือ เนื้อภาษาอังกฤษนั้น อัจฉริยะอีกคนหนึ่งแต่งถวายตามพระบรมราชโองการ คืออาจารย์ มรว. เสนีย์ ปราโมช ซึ่งท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษอย่างหาตัวจับยาก (นอกจากความรู้ความสามารถอื่นๆ) และท่านมีของเล่นของท่านอยู่ คือชอบแต่งโคลงสี่สุภาพใช้ฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพไทย แต่แต่งในภาษาอังกฤษ ท่านแปลโคลงโลกนิติไว้ในลักษณะนี้ก็หลายบท
อาจารย์เสนีย์ท่านเล่าไว้ทำนองว่า เพลงนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงเกิดแรงบันดาลพระทัยค่อนข้างกระทันหันอย่างที่ว่า ก็ทรงแต่งทำนองสดๆ จนเสร็จจบแล้ว พระราชทานทำนองนั้นให้อาจารย์เสนีย์รับสั่งให้ใส่เนื้อถวายให้ เอาในชั่วเวลาก่อนที่เครื่องบินพระที่นั่งเจ้าหญิงอะเล็กซานดรากำลังจะลงจอดนี่แหละ ใครเป็นอาจารย์เสนีย์ตอนนั้นก็คงจะตาเหลือกพอสมควร แต่เป็นพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ นี่ครับ แล้วผมก็คิดว่าในหลวงท่านทรงรู้ความสามารถของอาจารย์เสนีย์ดีว่าอาจารย์ทำได้แน่ๆ แล้วอาจารย์ก็ทำได้จริงๆ ร่างเนื้อภาษาอังกฤษถวายได้ทันรับเสด็จเจ้าหญิงพอดี หลังจากนั้นอีกหลายปีจึงมีเนื้อไทย
เนื้อภาษาอังกฤษผมก็จำไม่ได้ แต่คล้ายๆ ว่า Alexsandra, welcome to thee, บุ๋งๆๆๆๆๆ .... มีท่อนหนึ่งที่ว่า land of smile อยู่ด้วยตอนหนึ่งอย่างที่คุณเทาชมพูว่า
เป็นเพลงที่เพราะเหลือเกิน เพราะทั้งเนื้อหาและทำนอง เป็นเพลงที่ ตัวผมคนหนึ่งละ เวลาตอนอยู่ที่บ้านเมืองอื่น ชอบมาก เพราะถ่ายทอดความรู้สึกคิดถึง "แผ่นดินของเรา" ออกมาได้จริงๆ โดยเฉพาะท่อนที่ว่า ถึงอยู่แคว้นใด ไม่สุขสำราญ เหมือนอยู่ "บ้านเรา..." เพลงนี้ฟังแล้วก็เห็นใจคนไทยไกลบ้านทุกคน ไม่ว่าคนคนนั้นโดยส่วนตัวจะน่ารักหรือไม่น่ารัก จะรักผมชอบผมหรือโกรธผมหมั่นไส้ผม หรือไม่รู้จักผมเลยก็ตาม เฉพาะในเรื่องนี้คือความรู้สึกร่วมในฐานะคนที่คิดถึงบ้านนั้น ผมคิดว่าผมเข้าใจ เพราะเคยเป็นเองมาก่อน
แต่ตอนนี้พอฟังเพลงนี้เมื่อกลับมาเมืองไทยเองแล้ว ได้ความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งว่า แม้เมื่อผมกลับมาอยู่ในเมืองไทยแล้วนี่แหละ แต่ แผ่นดินของเรา ตามที่บรรยายไว้ในเพลงพระราชนิพนธ์นี้กำลังจะค่อยๆ เลือนหายไปรึเปล่า ทั้งป่าไม้ ไร่นา โบราณสถาน วัฒนธรรมอันดีงาม ความสงบสันติ และน้ำใจคนไทย ผมหวังว่าจะไม่ใช่อย่างนั้น ผมเชื่อว่ายังมีความเป็นจริงเหลืออยู่ในเพลงนี้แม้ว่าเราจะต้องตระหนักว่ามีแนวโน้มที่จะทำให้ แผ่นดินของเรา ค่อยเลือนหายไปบ้างก็ตาม และผมว่าเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนรวมตัวผมด้วย ที่จะช่วยกันรักษาแผ่นดินของเราเอาไว้ให้เป็นจริงเช่นที่บรรยายไว้ในเพลง เพื่อว่าลูกหลานของเราจะได้สามารถร้องเพลงนี้ได้ต่อไปไม่มีเสื่อมสูญ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
paganini
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 08 ธ.ค. 03, 00:09
|
|
แหมมาช้าไปหน่อยครับ ขออภัย เรื่องเกร็ดเพลง Alexandra นี่ผมไม่ถนัดครับต้องให้คุณนิลกังขานั่นแหละครับเล่าได้ดีแล้วครับ ผมรู้แค่ตรงเนื้อหาทางดนตรี ส่วนเพลงยิ้มสู้นี่ทราบว่าทรงแต่งพระราชทานแก่คนตาบอดครับ สำหรับเนื้อหาของเพลงที่ดีเยี่ยมนั้นต้องให้เครดิตแก่นักเขียนเนื่อส่วนพระองค์ทั้งหลาย ซึ่งท่านทำได้อย่างสวยงามมาก ยังมีอีกหลายเพลงที่น่าจะกล่าวถึงแต่จะมาโพสต์วันหลังนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นนทิรา
มัจฉานุ
 
ตอบ: 77
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 08 ธ.ค. 03, 00:56
|
|
อ่านกำลังสนุกเชียวค่ะ สำหรับเพลงพระราชนิพนธ์ในดวงใจของดิฉัน เป็นเพลงยามเย็น ใกล้รุ่ง และแผ่นดินของเราค่ะ เพลงแผ่นดินของเราฟังแล้วจับใจจริงๆ โดยเฉพาะเวลาที่อยู่ไกลบ้านเหลือเกินแบบนี้ เหมือนที่คุณนิลกังขาบรรยายไว้เลยค่ะ แล้วอีกเพลงที่เป็นเพลงในดวงใจคงจะเป็นมหาจุฬาลงกรณ์ ทำให้นึกถึงเวลาที่เคยซ้อมร้องร่วมกับเพื่อนๆสมัยเป็นเฟรชชี่ รวมถึงเพลงยูงทองด้วยค่ะ เพราะเราต้องหัดร้องเพลงยูงทองด้วยเหมือนกัน
เสียดายที่เว็บไซต์กาญจนาภิเษกที่คุณเทาชมพูให้ลิงค์ไว้ ไม่มี "แผ่นดินของเรา" ให้ฟัง ดิฉันชอบเพลงยามเย็นและเพลงใกล้รุ่งภาคบรรเลงที่เว็บไซต์กาญจนภิเษกมากค่ะ เวลาที่ได้ฟังเพลงพระราชนิพนธ์ จะทำให้รู้สึกมากขึ้นไปอีกว่า โชคดีจริงๆที่ได้เกิดเป็นคนไทยภายใต้พระบรมโพธิสมภาร และฟังแล้วอาจจะดูอาจเอื้อมไปนิด ถ้าจะบอกว่าเวลาฟังเพลงพระราชนิพนธ์ในบางครั้ง ทำให้รู้สึกว่าได้อยู่ใกล้เบื้องพระยุคลบาทค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 08 ธ.ค. 03, 08:17
|
|
เพลง" แผ่นดินของเรา" เป็นเพลงที่เตือนใจได้ดีที่สุดเพลงหนึ่งค่ะ ทำนองและ เนื้อร้องงดงามหาที่ติมิได้ น่าเสียดายที่หาทำองเพลงในเน็ตไม่เจอ เลยไม่มีโอกาสดาวน์โหลด ดิฉันยอมรับว่า แผ่นของเราในทุกวันนี้ มีหลายอย่างจางหายไปมาก เช่น เรามีป่าไม้อยู่สมบูรณ์ คงกลายเป็น เคยมีป่าไม้อยู่สมบูรณ์ แต่ถ้านโยบายปลูกป่าได้ผล คนรุ่นลูกและหลานก็คงจะทันเห็นป่าไม้อีกครั้ง วัฒนธรรมที่ดีงามของไทยคือความใจกว้าง เป็นมิตร อัธยาศัยละมุนละม่อมต่อแขกเหรื่อที่มาเยือน สิ่งเหล่านี้อาจจะยังคงอยู่ ไม่100% ก็เกือบ 100% แต่ทรัพย์ในดินสินในน้ำ กำลังพร่องไปมากจากการทำลายดินและน้ำกันอย่างเมามันด้วยระบบอุตสาหกรรม ก็ต้องสะกัดกันเอาไว้ให้อยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
paganini
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 17 ธ.ค. 03, 10:35
|
|
• ลัดดาขอแสดงความจงรักภักดีว่า ในจำนวนเพลงพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ทั้งสิ้น 44 เพลง เพลงชื่อ ‘LALLABY’ จัดอยู่ในหมู่เพลง ‘กล่อมนอน’ ‘กล่อมนอน”ในความหมาย หมายถึง กล่อมเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ ที่ต่อมาได้เฉลิมพระนามเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร สยามบรมราชกุมารี เนื่องเพราะเมื่อแรกประสูติกาล ณ วันที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2498 ทรงเป็นทารกน้อยที่ไม่โปรดบรรทม ทรงบรรทมยากอย่างยิ่ง เนื่องเพราะการพระราชทานพระกษิรธาราของสมเด็จแม่เป็นสิ่งจำเป็น ด้วยไม่ทรงสามารถเสวยนมผงที่ใช้เลี้ยงทารกเป็นการเสริมได้เลย กระนั้นพระราชกุมารีน้อย กลับทรงเจริญด้วยพระปัญญาอย่างรวดเร็วน่าพิศวง ทรงรู้ความเกินพระชันษา แม้ไม่กี่เดือนก็ตามที เป็นต้น เมื่อมีพระพี่เลี้ยงท่านหนึ่ง กล่อมพระบรรทมด้วยเพลง ‘ลมพัดชายเขา’ เป็นประจำ หากมีพระพี่เลี้ยงอีกท่านหนึ่งที่เข้าเวรกลับเปลี่ยนเพลงกล่อมบรรทมเป็นเพลงอื่น พระราชกุมารีน้อยทรงจำได้ว่า ผิดตัว ผิดเพลง มักจะทรงพระกันแสง ทว่าหากกลับมาขับร้องเพลง ‘ลมพัดชายเขา’ ก็จะทรงหยุดพระกันแสงอย่างฉับพลันทันที กล่าวสำหรับในหลวงพระองค์ทรงอุ้ม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไว้ในอ้อมพระกรข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งทรงอิเล็กโทน พระราชนิพนธ์เพลง ‘LALLABY’ กล่อมพระบรรทม แล้วทูลกระหม่อมพระองค์น้อยก็ทรงหลับไป Note from paganini เพลงนี้ต้องสะกด Lullaby แปลว่าเพลงกล่อมเด็ก เป็นเพลงไทยชื่อว่าค่ำแล้ว from http://www.manager.co.th/Politics/PoliticsView.asp?NewsID=4696444222330
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|