เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 16981 "จอง" ถนนไปลงกา
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 24 ก.พ. 10, 08:10

คำว่า จอง มาจากภาษาเขมรแปลว่า ผูก

ที่จริงคำว่า จองถนน ทั้งคำก็มาจากภาษาเขมรเช่นกัน เขียนแบบเขมรได้ว่า จงถฺนล่ (อ่านว่า จอง-ถนน) แปลตรง ๆ ได้ว่า ผูกถนน ซึ่งหมายความว่า สร้างถนน

คำว่า ผูกถนน คงเรียกตามลักษณะการสร้างถนนในสมัยโบราณ เช่นเดียวกับในปัจจุบันใช้ว่า ตัดถนน อาจารย์กาญจนา นาคสกุล ว่าการสร้างถนนใช้คำกริยาว่า ตัด เช่น ตัดถนน ตัดทาง ตัดทางรถไฟ เข้าใจว่า เพราะในการสร้างทางนั้นต้องตัดต้นไม้ ถางป่าเพื่อเปิดช่องให้เป็นทางตามที่ต้องการ การสร้างถนนและทางคมนาคมจึงใช้คำว่า ตัด ถนนยิ่งตัดก็ยิ่งยาวเพราะไม่ใช่การตัดตัวถนนออก หากเป็นการตัดต้นไม้เพื่อสร้างถนนต่อไปและเรียกว่า ตัดถนน


"จอง" ใน จองถนน เป็นคำภาษาเขมรโบราณ  แปลว่า  สร้าง  เขมรโบราณเขียนเป็นโจง  แล้วจึงเปลี่ยนเขียนเป็น จง  ในภายหลัง  ส่วนที่ไทยรับมาเขียนว่า  ทั้ง ดจง และ จอง ที่เขียนว่า โจง  เป็นการเขียนตามรูปของเขมรโบราณ  ส่วน จอง เป็นการเขียนตามการออกเสียง โอ ในเขมรบางถิ่นที่ออกเสียงกระเดียดมาทางเสียงสระ ออ  เช่น โอย (ให้) คนเขมรออกเสียงว่า  ออย   โหง คนเขมรออกเสียงว่า  ฮอง  เป็นต้น   นอกจากนี้  ภาษาไทยสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาตอนต้น  ยังมีการใช้ สระโอ ในคำบางคำ ที่ปัจจุบันเขียนด้วยสระออ  เช่น ตะวันโอก  คือ ตะวันออก  โสง คือ สอง  โทง คือ ทอง  เป็นต้น  อาจจะเป็นอิทธิพลอักขรวิธีของเขมรด้วย  ในการเขียนภาษาไทยด้วยอักษรขอมไทย  ท่านก็ใช้สระโอแทนสระออด้วย  การที่ โจงในภาษาเขมรโบราณ กลายมาเป็น โจง และ จอง ในภาษาไทย ก็มีด้วยประการฉะนี้ ยิ้ม

ส่วนจองในภาษาไทยที่ความหมายตรงกับภาษาเขมรโบราณที่แปลว่า สร้างนั้น  น่าจะเหลือแต่คำว่า จอง ในจองถนนเพียงคำเดียวเท่านั้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 24 ก.พ. 10, 16:01


"จอง" ใน จองถนน เป็นคำภาษาเขมรโบราณ  แปลว่า  สร้าง 

ส่วนจองในภาษาไทยที่ความหมายตรงกับภาษาเขมรโบราณที่แปลว่า สร้างนั้น  น่าจะเหลือแต่คำว่า จอง ในจองถนนเพียงคำเดียวเท่านั้น

คุณหลวงพอมีตัวอย่างคำเขมรโบราณที่  จง-โจง (จอง) มีความหมายว่า สร้าง ได้อีกบ้างไหม

 เจ๋ง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 24 ก.พ. 10, 16:14

ได้ครับ  แล้วจะนำมาตัวอย่างมาแสดงให้ดูครับ   ยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 25 ก.พ. 10, 13:13

ตัวอย่าง   โจง ในภาษาเขมรโบราณ  แปลว่า  สร้าง

จากศิลาจารึกสด็อกก็อกธม ๒ ด้านที่ ๔ ภาษาเขมร

๑.(บรรทัดที่ ๒๐)...สฺถาปนา  วฺระ เปฺร ภูตาศ ๒ อาย์ เชง์ วฺนํ คิ ต จต์ สฺรุก์ เถฺว การฺยฺย นา วฺระ โนะห์ ทํเนปฺร  โจง์  ปฺราสาท  กํเวง์ วลภิ เสตง์ อญ์ ศิขา คิ ต ...

๒.(บรรทัดที่ ๓๗-๓๘)...ชา คุรุ วฺระ บาท อีศฺวรโลก เสฺตง์ ชคต์ ต ราช ชา อาจารฺยฺยดหม ปิรธาน ต กุเล โจง์ ปฺราสาท วลภิ อาย์ สฺตุก์ รนฺสิ จต์ สฺรุก วฺรหฺมปุร จํนต์ กตุก จํนต์ ศานฺติ อฺเนา ต ภูมิ สฺตุก์ รนฺสิ สฺถาปนา...

๓.(บรรทัดที่ ๔๗-๔๘)...สฺถาปนา วฺระ ลิงฺค ๑ ปฺริติมา ๒ ไท ติ เลง์ ไน สนฺตาน โอย์ สรฺวฺวทฺรวฺย ต วฺระ โนะ โผง์ โอย์ ขฺญุม์  โจง์ วลภิ โจง์ กํเวง์ อเลง์ เถว เกฺษตฺราราม ชฺยก์ ตฺรวาง์ เถฺว ทํนบ์ ต สฺรุก์ ภทฺราวาส อุนฺมีลิต วฺระ โนะ โอย์ สรฺวฺวทฺรวฺย ...

๔.(บรรทัดที่ ๕๕-๕๖)...จต์ สฺรุก์ โนะ วิง์ ต ศูนฺย เถฺว วลย อฺวล์ วิง์ ต คิ สฺถาปนา วฺระ ลิงฺค เอกหสฺต โจง์ ปฺราสาท โอย์ ขฺญุม์ โอย์ สรฺวฺวทฺรวฺย ...

๕.(บรรทัดที่ ๗๕-๗๖)...คิ โอย์ ต ธูลิ เชง์ วฺระ กมฺรเตง์ อญ์ โอย์ ทาส ทาสี สฺลิก ๑ ต วฺระ โนะ โจง์ ศิลาปฺราสาท วลภิ ชฺยก์ ตฺรวาง์ เถฺว ทํนบ์ เถฺว เกฺษตฺราราม...

จากศิลาจารึกหลักที่ K ๙๑ ด้าน B ที่จังหวัดกำปงจาม

(บรรทัดที่ ๔-๕)...ไอ ไวฺร ทฺรมฺวาง์ นุ โฉฺลญ์ เทวาจฺยุต ต ยาชก ไอ ไวฺร ทฺรมฺวาง์ ๐๐๐๐๐ กุเล มาตฺฤปกฺษ  โจง์ ปฺราสาท  มฺวย์ ปศฺจิม กํลุง์ เอกาศิติ ๐๐๐๐๐ สฺถาปนา ...

จากศิลาจารึกหลักที่ K ๑๙๔ ด้าน B ที่จังหวัดกำปงธม

(บรรทัดที่ ๑๙-๒๐)...นุ อฺนก์ วิษย สทฺยา เทา เถฺว สฺรุก์ วฺนุร์ ทฺนง์ นุ เทวสถาน โนะ บิ เลง์ ต สนฺตาน ติ โกฺรย์  โจง์ ปฺราสาท  ชฺยก์ ทนฺเล ๐๐๐๐น์  วน์ กํเวง์ ชุม์  สฺรุก์ บิต์...

ขออนุญาตไม่แปลข้อความที่ยกมา  แต่ถึงไม่แปลก็พอจะจับความได้อยู่บ้าง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 25 ก.พ. 10, 14:03

แกะรอยไปอ่านจารึกสด๊กก๊อกธม ๒ ด้านที่ ๔
http://www2.sac.or.th/databases/jaruk/th/main.php?p=cGFydA==&id=258&id_part=4

๑๙. ศิวโลก เปฺร วฺร ปํนฺวาสฺ มฺวายฺ ชฺมะ เสฺตงฺ อญฺ ศิขา . ศิษฺย  กมฺรเตงฺ ศิวาศฺรม ชา อฺนกฺ วฺระ ราชการฺยฺย . วฺระ เปฺร เสฺตงฺ โนะ เทา เถฺว สฺรุกฺ ภทฺรป -
๒๐. ตฺตน สฺถาปนา วฺระ เปฺร ภูตาศ ๒ อายฺ เชงฺ วฺนํ คิ ต จตฺ สฺรุกฺ เถฺว การฺยฺย นา วฺระ โนะหฺ ทํเนปฺร โจงฺ ปฺรสาท กํเวงฺ วลภิ เสฺตงฺ อญฺ ศิขา คิ ต
๒๑. เปฺร อฺนกฺ เถฺว การฺยฺย ลฺวะหฺ สฺรจฺจฺ . โอยฺ ต กมฺรเตงฺ ศิวาศฺรม . กมฺรเตงฺ ศิวาศฺรม นิเวทน โอยฺ สฺรุกฺ ภวาลย ต ใน สนฺตาน นุ สฺรุกฺ รฺหา นุ สฺรุกฺ

คำแปล

๑๙ - ๒๑. บรมศิวโลก ทรงรับสั่งให้วามศิวะอุปสมบท เสตงอัญศิขา ซึ่งเป็นข้าราชการคนหนึ่งของพระองค์เป็นนักพรต ท่านวามศิวะได้แนะนำให้เสตงอัญศิขาสร้างเทวสถานไว้ในภัทรปัตตนะ แล้วพระบาทบรมศิวโลกทรงมีพระกระแสรับสั่งให้พระราชทานหมู่บ้านภวาลัย อันเป็นของสกุลวามศิวะ และหมู่บ้านอื่น ๆ อีก



๔๗. ปตฺตน สฺถาปนา วฺระ ลิงฺค ๑ ปฺรติมา ๒ ใท ติ เลงฺ ใน สนฺตาน โอยฺ สรฺวฺวทฺรวฺย ต วฺระ โนะ โผงฺ โอยฺ ขฺญุ ํ . โจงฺ วลภิ โจงฺ กํเวงฺ เอฺลงฺ เถฺว เกฺษตฺราราม ชฺยกฺ ตฺรวางฺ

คำแปล

๔๗. ปัตตนะ นอกจากมรดกประจำสกุลแล้ว ท่านยังได้สถาปนาพระศิวลึงค์หนึ่งองค์ และพระปฏิมาอีกสององค์เหมือนกับที่อื่น ๆ ได้มอบทรัพย์สินต่าง ๆ พร้อมทั้งทาสให้แก่พวกเขา ได้สร้างป้อม กำแพงมอบทุ่งนาและสวนให้พร้อมทั้งขุดสระเก็บน้ำ

ได้ตัวอย่างมา ๓ คำ โจงฺ ปฺรสาท - โจงฺ วลภิ - โจงฺ กํเวงฺ = สร้างเทวสถาน -สร้างป้อม - สร้างกำแพง

เข้าใจถูกบ่

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 25 ก.พ. 10, 14:13

ทีนี้ มาดู "จอง"ถนน  ในรามเกรฺติ์ ของเขมร บ้าง

๐ฎงโนะพฺระราเมศสูร              พฺระโอสฺถมธูร
บนฺทูลมธุรสเมตฺรีฯ
๐ไหมหาชมฺพูราชธิบตี             พงฺสราชฎ็กฺรบี
ตฺรกูลอํบูรบริสุทฺธฯ
๐อญเปฺรีหนุมานองฺคท             เทาอญิเชีญมกบท
นูวคิตชํนุมจงถฺนล่
......................................

๐สพฺทสูรทัวทาล่ลงฺกา             ถาพฺระรามา
พิระลกฺสฺมฺณ์ธิราชนรปตีฯ
๐ถานูวจงถฺนล่ชลธี       นูวรํลางบูรี
บูรมบูราณลงฺกาฯ

......................................

๐นเรนฺทฺรพานรองฺคทคง่คาล่      วึกวรเขฺญียวขฺญาร
คาล่คิตนูวแบ"กจารจง
ถฺนล่พฺระพีรพานรผง               รนฺเทะธารนูวปฺรลง
นูวอาลฎณฺเฎีมยกชัยฯ

......................................

คัวรเยีงสํแฎงฤทฺธิ์จงถฺนล่           โฎยเตโชพล
จํพูกกฺรบินฺทยาตฺราฯ

..................................... ยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 25 ก.พ. 10, 14:34

ได้ตัวอย่างมา ๓ คำ โจงฺ ปฺรสาท - โจงฺ วลภิ - โจงฺ กํเวงฺ = สร้างเทวสถาน -สร้างป้อม - สร้างกำแพง

เข้าใจถูกบ่

 ยิงฟันยิ้ม

เช่นนั้นครับ   นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างจากศิลาจารึกสมัยหลังพระนครว่า

"...อนก์  ทำง  อมฺปาล  โนะ ชา สากฺสี  โอก หฺลูง  ราชาเตชชะ โปรส ขญุมฺม โจฺจง  พฺระ..."
แปลว่า  ท่านทั้งหมดนั้นเป็นพยานแก่ออกหลวงราชเดชะปล่อยข้าทาส สร้างพระพุทธรูป  จากศิลาจารึกนครวัดสมัยหลังพระ หลักที่ IMA 8 บรรทัดที่ 17

ในพจนานุกรม Dictionnaire  vieux khmer - francais - anglais (An old khmer  - franch - english dictionary) ของ Saveros Pou  หน้า 167-168 อธิบายความหมายคำว่า โจง ไว้ดังนี้
 "To bind. To build of brick or stone. To compose, establish"  และว่าปัจจุบันเขมรใช้ว่า จง (ตรงกับ จอง ในภาษาไทย)

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 25 ก.พ. 10, 17:01

น่าสนใจเรื่องรามเกรฺติ์ ของเขมร โดยเฉพาะตอน จงถฺนล่

อยากทราบว่าเหมือนหรือต่างจากรามเกียรติ์ของไทยประการใด

อาทิเช่น มีเรื่องลิงขาวทะเลาะกับลิงดำ เรื่องนางสุพรรณมัจฉา หรือไม่

 ฮืม

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง