เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 16982 "จอง" ถนนไปลงกา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 20 พ.ย. 03, 12:33

 งั๊นเชียวรื๊อคะ  คุณpaganini  ร๊องลั่นเชียว  ลองสะกดใหม่มั๊ยคะ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 25 พ.ย. 03, 09:55

 เมื่อไม่กี่วันมานี่เอง อ่านเจอคำให้สัมภาษณ์ท่านปลัดกระทรวงสาธารณสุขในหนังสือพิมพ์ไทยอีกฉบับหนึ่ง ท่านบอกว่า "ผมเป็นคนค่าโดยสารค่าโดยสาร ใครมาเล่นค่าโดยสารกับผมผมก็พร้อมที่จะค่าโดยสารตอบ แต่ใครที่ไม่ค่าโดยสารกับผมผมก็จะไม่ค่าโดยสารด้วยเหมือนกัน..."

ขออภัยคุณหมอครับ ที่จริงท่านปลัดท่านไม่ได้พูดยังงั้นหรอก ผมแกล้งแปลเอง เพราะท่านบอกแต่ว่า "ผมเป็นคนแฟร์ๆ ใครเล่นแฟร์กับผมผมก็แฟร์ด้วย ฯลฯ" แฟร์ในที่นี้ คือทับศัพท์คำว่า fair ในภาษาอังกฤษแปลว่ายุติธรรมนั่นเอง แต่นักข่าวที่ฟังท่านสัมภาษณ์ เกิดจะต้องถอดให้เป็นภาษาอังกฤษลงพิมพ์ จะใช้สระแอ ฟอฟัน รอเรือการันต์ เป็นภาษาไทยก็ไม่ได้ ถ้าจะถอดเป็นภาษาฝรั่ง ถอดให้มันถูกต้องก็ยังจะดี ไพล่ไปถอดเสียว่า "ผมเป็นคน fare" แปลออกมาแล้วจึงไม่เป็นภาษาคนอย่างที่ผมแกล้งแปลนั่นแหละ

ป่านนี้ไม่รู้ว่านักข่าวท่านนั้นรู้รึยัง

เน็คไทที่เป็นผ้าผูกคอฝรั่ง อันคนไทยรับมาผูกคอเป็นเครื่องแบบไปแล้ว (ทั้งๆ ที่บ้านเราร้อน - คิดถึงเสื้อทรงพระราชนิยมที่ป๋าเปรมชอบใส่ที่เรียกกันว่า ชุดพระราชทาน จัง) นั้น คำว่าไทภาษาเดิมเขาเรียก tie แต่เห็นถอดเป็นไทยกันแปลกๆ บางทีก็เห็นถอดว่า "ผูกไทด์" อันน่าจะแปลว่าเอากระแสน้ำมาผูกคอ บางครั้งก็จะเห็นว่า "ผูกไทม์" อันควรจะแปลได้ว่า เอาเวลามาผูกคอ บางทีเขียน "ผูกไทล์" หรือ "ผูกไทร์" ก็เคยเห็น คำแรกน่าจะแปลว่าเอากระเบื้องผูกคอ ส่วนคำหลังสงสัยว่าจะแปลว่าเอายางรถยนต์มาผูกคอ ล้วนเป็นสิ่้งที่ไม่น่าจะเอามาผูกคอเล่นด้วยกันทั้งสิ้น ที่จริงในเมื่อภาษาเดิมเขาลุ่นๆ อยู่แค่ tie ก็ไม่ควรจะต้องมีการันต์ใดๆ ทั้งสิ้นให้รุงรังเกินภาษาเดิม ไท ก็ไท

ถ้ากลัวว่าจะซ้ำกับคำว่า เป็นไท ในภาษาไทย ผมก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่าจะแก้ยังไง เท่าที่ปัญญาอันน้อยของผมจะนึกออกนั้น ถ้าใช้คำว่าเน็คประกอบความก็น่าจะช่วยชี้อยู่แล้วว่า เน็คไทเป็นภาษาฝรั่งไม่เกี่ยวกับคำว่าเป็นไทในภาษาไทย บางทีเคยเห็นท่านที่รู้ภาษาดีทั้งไทยและอังกฤษท่านใช้ว่า ชุดราตรีสโมสรแบล็กทาย มาจาก black tie แปลว่าท่านออกเสียงคำหลังให้ยาว (แต่ก็จะไปซ้ำกับคำว่าทำนายทายทักอีก)

ผมคิดว่าในเมื่อถูกบังคับโดยคำในภาษาเดิมว่า tie แล้ว ก็อย่าไปพยายามหาเติมการันต์อะไรให้มันแตกต่างจากคำในภาษาไทยเลยครับ มันจะซ้ำกับคำว่าเป็นไทหรือทักทายก็ช่างมัน ความแวดล้อมหรือบริบทจะบอกผู้อ่านเองว่าเราพูดทับศัพท์ฝรั่งอยู่
บันทึกการเข้า
Ngao_Mak
อสุรผัด
*
ตอบ: 45


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 11 ก.พ. 10, 07:16

ตอนจองถนน หนุมานได้นางสุพรรณมัจฉาเป็นเมีย มีลูกชื่อมัจฉานุ มีในรามายณะนะครับ

ขอยืนยันว่าตอนนี้มีครับ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 11 ก.พ. 10, 07:24

อืม......เพิ่งเคยได้ยินนะครับว่าในรามายณะมีตอนสุพรรณมัจฉาด้วย ยังไงคุณ Ngao_Mak รบกวนหาสักโศลกมาเปรียบเทียบหน่อยได้ไหมครับ

รวมทั้งชื่อตัวละคร อย่างสุพรรณมัจฉา กับลูกชายด้วยครับ
บันทึกการเข้า
Ngao_Mak
อสุรผัด
*
ตอบ: 45


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 15 ก.พ. 10, 07:38

ผมลืมบอก ไม่ใช่ของวาลมิกีนะครับ
แต่เป็นรามายณะที่เรียกว่า"อิรามายณัม" หรือ กัมพะ อิรามายณัม ของฤษีกัมพะ เป็นรามายณะฉบับทมิฬครับ

mAyiliravanan ไทยคือ ไมยราพณ์
tUratantikai ไทยคือ นางพิรากวน
timiti ไทยคือ สุพรรณมัจฉา
maccakarppan(มัตสยครรภ์) ไทยคือ มัจฉานุ
nilamEkan(นีลเมฆัน) ไทยคือ ไวยวิก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 15 ก.พ. 10, 11:50


เสฐียรโกเศศ เขียนไว้ในหนังสืออุปกรณ์รามเกียรติ์ (กรุงเทพมหานคร : ศิลปาบรรณาคาร,๒๕๑๕),๒๓๓-๒๓๗. ว่าในภาษาทมิฬเรียกชื่อตัวละครในรามเกียรติ์ดังนี้

ไมยราพณ์    =   มยิลิราพณ์
มัจฉานุ       =   มัจฉครภ
นางพิรากวน  =   นางทูรตัณฑิไก
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 15 ก.พ. 10, 12:08

เป็นที่รู้กันว่า รามเกียรติ์ ของไทย เป็นญาติสนิทกับรามายณะฉบับศรีลังกา

น่าสงสัยว่าเรารับมาทางเดียว หรือมีส่วนร่วมด้วยช่วยกันดัดแปลงด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Ngao_Mak
อสุรผัด
*
ตอบ: 45


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 16 ก.พ. 10, 07:00

เมื่อหลายวันก่อน มีคนชวนไปสมาคม"หเร กฤษณะ"คุยเรื่องจองถนนกับสาวกคนนึง เขาบอกว่าตอนหลังมีการค้นพบก้องหินที่"รามเสตุ"สลักชื่อ"ราม"ที่ก้อนหิน เขาบอกว่ามีคนไปพิสูจน์แล้ว ผมถามว่าเขาพิสูจน์จริงหรอ อาจจะเอาหินสลักชื่อ แล้วใส่ลงไปก้ได้ แต่สาวกบอกว่าเขาพิสูจน์แล้ว

ผมไม่ได้คุยอะไรต่อกับเขา แต่ถ้าใครพอทรายข้อมูลตรงนี้ ช่วยชี้แนะหน่อยครับ ว่าหินตรงนั้นมีการค้นพบจริงหรือเปล่าว่ามีการสลักชื่อ"ราม"ที่ก้อนหิน
บันทึกการเข้า
Ngao_Mak
อสุรผัด
*
ตอบ: 45


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 16 ก.พ. 10, 07:05

ฤษีกไลโกฎ ที่ทำพิธีขอบุตรให้ท้าวทศรถและเมีย3คน

กไลโกฏ คือชื่อภาษาทมิฬ kalaikkoottu รามายณะเรียกว่า ฤษยศฤงคะ
ใน อลัมพุสาชาดก มีเหมือนกัน เรียกว่า อิสิสิงคะ

ฤษีตนนี้มีหัวเป็นกวางครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 16 ก.พ. 10, 09:21

เมื่อหลายวันก่อน มีคนชวนไปสมาคม"หเร กฤษณะ"คุยเรื่องจองถนนกับสาวกคนนึง เขาบอกว่าตอนหลังมีการค้นพบก้องหินที่"รามเสตุ"สลักชื่อ"ราม"ที่ก้อนหิน เขาบอกว่ามีคนไปพิสูจน์แล้ว ผมถามว่าเขาพิสูจน์จริงหรอ อาจจะเอาหินสลักชื่อ แล้วใส่ลงไปก้ได้ แต่สาวกบอกว่าเขาพิสูจน์แล้ว

ผมไม่ได้คุยอะไรต่อกับเขา แต่ถ้าใครพอทรายข้อมูลตรงนี้ ช่วยชี้แนะหน่อยครับ ว่าหินตรงนั้นมีการค้นพบจริงหรือเปล่าว่ามีการสลักชื่อ"ราม"ที่ก้อนหิน

ลองค้นดูในเน็ต  แล้วภาพนี้  มีคำอธิบายว่า  Floating Stone from Ramsethu(bridge made by lord Rama and Vanara sena)  ไม่แน่ใจว่า ใช่หินที่กล่าวถึงหรือไม่


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 17 ก.พ. 10, 15:54

หินก้อนนี้สลักชื่อ ราม แน่นอน แต่สำคัญว่าใครเป็นคนเขียน

 ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 17 ก.พ. 10, 16:11

อย่างที่คุณเพ็ญชมพูว่าแหละครับ ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า มีคำว่า "ราม" อยู่หรือไม่ เพราะถึงมี ก็ไม่ได้หมายถึงว่าเก่าแก่ถึงยุครามายณะ

ที่สำคัญ รูปแบบตัวอักษรนั้นใหม่มาก เป็นตัวอักษรเทวนาครีแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันไม่ผิดเพี้ยน

ถ้าคนเขียนตั้งใจปลอมของเก่า ก็แสดงว่าเป็นคนที่ไม่มีความรู้เรื่องรูปแบบอักษรโบราณเลย
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 18 ก.พ. 10, 08:23

ในรูปภาพรามายณะตอนจองถนนข้ามไปลงกา  เท่าที่เคยเห็นมาจะเขียนหรือวาดเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ  หินที่บรรดากองทัพวานรของพระรามขนมาทิ้งถมมหาสมุทรทุกก้อนจะเขียนหรือจารึกชื่อ ราม ไว้   ซึ่งความหมายตรงกับคำว่า "จอง" ในภาษาไทย  (เขียนบอกว่าหินที่เอามาถมนี้ของพระรามนะจ๊ะ  ใครห้ามแตะ)  แต่แปลกใจตรงที่ ไทยเราเรียกรามเกียรติ์ตอนนี้ว่า  พระรามจองถนน  แต่หาได้บอกว่ามีการเขียนชื่อพระรามบนก้อนหินด้วยไม่  อาจจะเป็นไปได้ว่า  รายละเอียดตรงนี้คงจะหายไปเมื่อเรื่องพระรามถูกถ่ายทอดกันมาหลายชั่วอายุคน  รายละเอียดเล็กๆ จึงอาจตกหายระหว่างเวลาไป  กระนั้นก็โชคดีที่ยังคงเหลือชื่อตอนไว้ให้สืบกลับไปหาต้นตอรามายณะได้อยู่  แต่ก่อนคิดสงสัยเหมือนกัน  ทำไมถึงต้องเรียกรามเกียรติ์ตอนนี้ว่า พระรามจองถนน  มันน่าจะเป็นพระรามทำถนน  พระรามถมถนน หรือไม่ก็พระรามตัดถนน  เพิ่งจะถึงบางอ้อก็ตอนได้เห็นภาพจากอินเดียนี่เอง ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 19 ก.พ. 10, 09:44

คำว่า จอง มาจากภาษาเขมรแปลว่า ผูก

ที่จริงคำว่า จองถนน ทั้งคำก็มาจากภาษาเขมรเช่นกัน เขียนแบบเขมรได้ว่า จงถฺนล่ (อ่านว่า จอง-ถนน) แปลตรง ๆ ได้ว่า ผูกถนน ซึ่งหมายความว่า สร้างถนน

คำว่า ผูกถนน คงเรียกตามลักษณะการสร้างถนนในสมัยโบราณ เช่นเดียวกับในปัจจุบันใช้ว่า ตัดถนน อาจารย์กาญจนา นาคสกุล ว่าการสร้างถนนใช้คำกริยาว่า ตัด เช่น ตัดถนน ตัดทาง ตัดทางรถไฟ เข้าใจว่า เพราะในการสร้างทางนั้นต้องตัดต้นไม้ ถางป่าเพื่อเปิดช่องให้เป็นทางตามที่ต้องการ การสร้างถนนและทางคมนาคมจึงใช้คำว่า ตัด ถนนยิ่งตัดก็ยิ่งยาวเพราะไม่ใช่การตัดตัวถนนออก หากเป็นการตัดต้นไม้เพื่อสร้างถนนต่อไปและเรียกว่า ตัดถนน

คำว่า จอง ในความหมายว่า ผูก มีอยู่ในคำไทยโบราณอีกคำหนึ่งคือ โจงกระเบน ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษาเขมรเช่นกัน เขียนแบบเขมรได้ว่า จงกฺบิน (อ่านว่า จอง-เกฺบิน) จง  แปลว่าผูก ส่วน กฺบิน เป็นคำเรียกชายของผ้านุ่งที่ม้วนขึ้นไปเหน็บไว้ข้างหลัง

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 19 ก.พ. 10, 15:47

เทคนิคในการสร้างถนนด้วยการผูก มีร่องรอยอยู่ในคำกลอนตอนที่หนุมาน (ลิงขาว) กับนิลพัท (ลิงดำ) ทำสงครามปาก้อนนหินใส่กัน คือหนุมานใช้วิธีผูกก้อนหินเข้ากับเส้นขนทุกเส้นเพื่อนำมาถมเพื่อสร้างถนน (และทุ่มใส่นิลพัทด้วย  ยิงฟันยิ้ม)

ครั้นถึงสำแดงศักดา                ดั่งว่าเกิดกาลลมกรด
สะเทือนเลื่อนลั่นถึงโสฬส          หักยอดบรรพตด้วยว่องไว
ผูกศิลาเข้าทุกเส้นขน               ทั่วตนจะเว้นก็หาไม่
เรียกเร่งบริวารบรรดาไป            ได้พร้อมกันแล้วเหาะมา


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nayrotsung&month=09-2009&date=07&group=5&gblog=20


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 20 คำสั่ง