เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 17001 พระอินทร์อยู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แล้วองค์อื่นล่ะครับอยู่สวรรค์ชั้นไหน
ไตรภพ
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 09 พ.ย. 00, 01:00

อย่างพระพรหม พระนารายณ์ พระอิศวรเนี่ย อยู่สวรรค์ชั้นไหนครับ
บันทึกการเข้า
คุณพระนาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 ต.ค. 00, 00:00

พระอิศวร ท่านประทับอยู่ที่เขาไกรลาศ ครับ
พระนารายณ์ นี่ท่านอยู่ที่เกษียรสมุทรครับ
แต่ว่าทั้งสองที่นี่อยู่ไหนแน่ ก็แหะแหะไม่รู้
พระพรหมองค์เดียวแหละครับที่อยู่บนสวรรค์ชั้นพรหม ซึ่งอยู่เหนือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่เป็นแค่สวรรค์ชั้น 2 เท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า
ไตรภพ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 ต.ค. 00, 00:00

ขอบคุณครับ แล้วเขาไกรลาศกับเขาพระสุเมรุนี่ใช่อันเดียวกันหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 ต.ค. 00, 00:00

เรื่องสวรรค์ ๖ ชั้นที่เรียกว่า "ฉกามาพจรภพ" กับสวรรค์ชั้นพรหม ๒๐ ชั้น นี่ เป็นคติพุทธครับ จึงมีแต่พระอินทร์(สถิตอยู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์)กับพระพรหม(สถิตอยู่ในพรหมโลก) ไม่ได้กล่าวถึงพระอิศวรกับพระนารายณ์(ซึ่งเป็นเทพเจ้าของฮินดูอย่างเดียว)ซึ่งเขาบอกไว้ว่าสถิต ณ เขาไกลาสกับเกษียรสมุทรอย่างที่คุณพระนายบอกไว้ การแบ่งเขตสวรรค์ของฮินดูไม่ได้เป็นชั้นๆเหมือนกับของพุทธ ถึงแม้ว่าพุทธไปเอาคติเรื่องเทวดามาจากฮินดูก็ตาม [อย่างที่บอกว่าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีเทวดาอยู่ ๓๓ องค์นั้น ก็มาจากคติเทพเจ้าของฮินดูยุคฤคเวท ซึ่งบอกว่าแรกเริ่มเดิมทีมีเทพอยู่ ๓๓ องค์ เป็นวสุเทพ ๑๑ องค์ เป็น อาทิตยเทพ ๑๒ องค์ รุทร(ะ)เทพ ๘ องค์ พระปชาบดี ๑ องค์ แล้วอีกองค์หนึ่งที่เหลือนี่ผมจำไม่ได้ ยุคต่อมาจึงเกิดเทพเจ้าองค์อื่นๆอีกมากมายในภายหลัง แต่พุทธคัดเอาบางองค์เท่านั้นมากล่าวไว้ในตำนานพุทธ] ครับ
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 ต.ค. 00, 00:00

เขาไกลาสนี่ตามตำนานบอกว่าอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย
ส่วนเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาลนั้นว่ากันว่าอยู่ขั้วโลกครับ

แม่น้ำคงคาที่ไหลมาจากสวรรค์ผ่านมุ่นพระเกศาพระศิวะนั้น ทั้งในตำนานและเรื่องจริงก็มาจากเขาหิมาลัยครับ
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 ต.ค. 00, 00:00

เข้ามาบอกอีกหน่อยว่า...

พระอินทร์ก็เป็นหนึ่งในอาทิตยเทพ เรียกว่า "อินทราทิตย์" ถ้าจำไม่ผิดรู้สึกว่าอินทราทิตย์เป็นเทพเจ้าประจำดวงอาทิตย์ในเดือนศรวณมาศ [เดือนที่พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ดาวนักษัตรศรวณะ (คนไทยเรียกว่าดาวหลักชัยหรือดาวพระฤษี) คือเดือน ๙ ทางจันทรคตินั่นเอง]

"อาทิตฺย" แปลตามรูปศัพท์ว่า "เหล่ากอแห่งนางอทิติ" ที่เป็นเช่นนี้เพราะพระอาทิตย์หรืออาทิตยเทพทั้ง ๑๒ องค์ เป็นบุตรของนางอทิติ(กับฤษีกัศยปะ)

ดวงอาทิตย์ที่กำลังส่องแสงอยู่นี้เรียกว่า "สูรยาทิตย์" หรือ "สุริยาทิตย์" เป็นน้องของ "อินทราทิตย์" (พระอินทร์)

ถ้าเป็นไปได้...พรุ่งนี้จะไปค้นชื่อของพระอาทิตย์ทั้ง ๑๒ องค์มาเขียนลงให้ครับ
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 20 ต.ค. 00, 00:00

"ศรวณะ" อ่านว่า "สะ-ระ-วะ-นะ" นะครับ

"ศรวณะ" เป็นคำในภาษาสันสกฤต บาลีใช้ว่า "สาวนะ" (อ่านว่า สา-วะ-นะ)
บันทึกการเข้า
ทิด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 ต.ค. 00, 00:00

เหมือนกับวันธรรมสาวนะ หรือวันพระหรือเปล่าครับ คุณอินทาเนีย
บันทึกการเข้า
ทิด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 20 ต.ค. 00, 00:00

เอ..หรือว่าธรรมสวนะหว่า
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 ต.ค. 00, 00:00

เรียกว่า "ธรรมสวนะ" ครับ

"สวนะ" เป็นคำในภาษาบาลี แปลว่า "การฟัง"

"ธรรมสวนะ" ก็คือ "การฟังธรรม" นั่นเอง





ส่วนชื่อดาวนักษัตรศรวณะนั้น จริงๆแล้วบาลีใช้ว่า "สวณะ"

และชื่อเดือนที่มีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์สวณะ เรียกว่า "สาวณะ"

(เป็นไปตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลี เหมือน "ศรวณะ" กับ "ศราวณะ" ในภาษาสันสกฤต)

แต่ราชบัณฑิตยสถานสะกดด้วย 'น' เป็น 'สวนะ' กับ 'สาวนะ' ครับ

(ศัพท์นี้เห็นทีต้องทักท้วงราชบัณฑิตยสถานไปด้วยเหมือนกัน ว่าควรจะเขียนเป็นแบบภาษาเดิม คือ สะกดด้วย "ณ" ผมได้เคยเสนอให้เปลี่ยนจากคำว่า 'ภาณุ' ในพจนานุกรมฯ เป็น "ภานุ" อย่างภาษาเดิมแล้วเหมือนกัน แต่อาจจะปรับปรุงไม่ทันพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติที่กำลังจะออกปีหน้า)



สำหรับเรื่องชื่อเทวดาทั้ง ๓๓ องค์ รวมทั้งชื่ออาทิตย์เทพ ๑๒ องค์นั้น ผมจะขอผัดไปเป็นพรุ่งนี้นะครับ เพราะตอนนี้ชักง่วงแล้วครับ ^_^
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 ต.ค. 00, 00:00

สำหรับท่านที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับศัพท์เหล่านี้ อย่างเช่นพระจันทร์"เสวยฤกษ์"นั้น"เสวยฤกษ์"นี้หมายความว่าอย่างไร ถ้ามีโอกาส..พรุ่งนี้ผมจะมาเขียนอธิบายให้ครับ เคยเขียนไว้แล้วครั้งหนึ่ง ขอไปหาดูก่อน
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 26 ต.ค. 00, 00:00

สำหรับท่านที่คอยอ่านอยู่ กรุณารออีกนิดนะครับ ตอนนี้ผมกำลังอ่านทบทวนอยู่ครับ คาดว่าเสาร์อาทิตย์นี้คงได้ฤกษ์เขียนแล้วหละครับ แล้วจะมีแถมเรื่องเขาพระสุเมรุ เขาไกลาส เรื่องความหมายจริงๆของชื่อ "ครุฑ" (แต่เคยอ่านเจอที่ไหนสักแห่งบอกว่า ครุฑ แปลว่า ผู้ยกของหนัก???) และทำไมครุฑถึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า "สุบรรณ" (และอีกหลายสิบชื่อ) รวมทั้งชื่อลูกครุฑทั้ง ๖ ให้ด้วยครับ

หรือหากใครทราบ จะช่วยเขียนก่อนก็ได้นะครับ จะได้ประหยัดพลังงานผมครับ ^_^
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 26 ต.ค. 00, 00:00

จะมีใครร่วมสนุกเฉลยก่อนไหมครับว่าทำไมครุฑจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า "สุบรรณ" ? :-)
บันทึกการเข้า
ทิด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 26 ต.ค. 00, 00:00

ตามมามั่วด้วยเหมือนเดิม
"สุบรรณ" นี่แปลว่า "ทอง" ด้วยหรือเปล่าครับ
ถ้าใช่คงเป็นเพราะว่าครุฑมีกายเป็นสีทองครับ
บันทึกการเข้า
ทิด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 26 ต.ค. 00, 00:00

มามั่วต่อท่าทางเมื่อกี้จะผิดแน่ๆ
ถ้าแยกคำ "สุ" กับ "บรรณ"
บรรณ แปลว่า ปีก ถ้าอย่างนั้น "สุบรรณ"
จะแปลว่า "ผู้มีปีกที่ดี" หมายถึง "มีปีกที่แข็งแรง"
หรือเปล่าครับ (แหะๆ ยังมั่วเหมือนเดิม)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 17 คำสั่ง