เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 31161 100 ปี ม.ล.ปิ่น มาลากุล
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 30 มิ.ย. 06, 23:48

 จำได้ว่า ก่อนที่ท่านหม่อมหลวงปิ่น จะอสัญกรรมนั้น  วันหนึ่งท่านเล่าให้ฟังภายหลังรับประทานอาหารกลางวันว่า  ท่านเป็นนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่ในหลวง (หมายถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงคัดเลือกให้ได้รับทุนด้วยพระองค์เอง  เพราะนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงที่สมัยนั้นชอบเรียกกันว่า คิงส์สกอร์ลาชิปนั้นต้องสอบชิงทุน  

เรื่องทุนคิงส์สกอร์ลาชิปนี้  เคยได้ยิน พระยาภะรตนราชา (หม่อมหลวงทศทิศ  อิศรเสนา) อดีตผู้บัญชาการ (อธิการบดี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย  ได้เล่าให้ฟังว่า  เมื่อครั้งที่ท่านเข้าสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงนั้น  มัวไปเสียเวลาทำข้อสอบคณิตศาสตร์ข้อหนึ่งที่ค่อนข้างยาก  กว่าจะแก้โจทย์ข้อนั้นเสร็จ  ก็ทำให้ทำข้อสอบที่เหลือไม่ทัน  จึงตกไปเป็นคนที่ ๓  ซึ่งต้องไปเรียนครูตามเงื่อนไขของการให้ทุน  ในเวลานั้นคนที่สอบได้ที่ ๑ สามารถเลือกเรียนวิชาอะไรก็ได้ตามใจสมัคร  ที่ ๒ ต้องเรียนวิชาทหาร  และที่ ๓ ต้องเรียนครู

ท่านอาจารย์ ดร.ประเสริฐ  ณ นคร ท่านเตยเล่าให้ฟังว่า  ท่านเป็นคนเรียนหนังสือไม่เก่ง  จบชั้น ๖ จากพิริยาลัย จังหวัดแพร่  แล้วไปเรียนชั้น ๗ - ๘ (มัธยมปีที่ ๗ - ๘ ปัจจุบันคือ ม.๕ - ๖) ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย  เชียงใหม่ ๑ ปี  แล้วต้องมาเรียนชั้น ๘ ซ้ำที่ สวนกุหลาบวิทยาลัยอีก ๑ ปี เพื่อจะสอบชิงทุนสิงส์สกอร์ลาชิป

มีข้อที่น่าสังเกตตรงที่นามสกุล ณ นคร ของท่านอาจารย์ประเสริฐ  ที่ชวนให้คนหลงไปว่า ท่านต้องเคยเรียนหนังสือที่ปักษ์ใต้ตามสายสกุลของท่าน  แต่โดยข้อเท็จจริงท่านติดตามบิดาของท่านซึ่งไปรับราชการอยู่ที่เมืองแพร่  จึงได้เรียนที่เมืองแพร่มาโดยตลอดจนจบมัธยมปีที่ ๖
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 00:51

 แต่ผมเคยอ่านอ.ประเสริฐท่านเล่าว่าท่านเรียนเก่งมากมาแต่เด็กนะครับ

ที่ซ้ำชั้น ม.8 เพราะซุ่มครับ ท่านว่าสมัยนั้นเด็กสวนฯเก่งๆจะยอมเรียนซ้ำชั้น ม.8 ซุ่มลุ้นเอาทุนคิงส์กันทั้งนั้นครับ

จะว่าไปแล้ว สมัยผมก็มีปรากฏการณ์คล้ายๆกัน เด็กส่วนใหญ่จะสอบเทียบกันไปตั้งแต่ ม.4-ม.5 เด็กที่ได้ที่ 1 ประเทศไทยมักเป็นเด็ก ม.5 และจะมีบางคนไม่ยอมเข้าเรียนมหาวิทยาลัย แต่จะเรียนต่อ ม.6 เพื่อสอบชิงทุนคิงส์ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
สุรัชน์
แขกเรือน
อสุรผัด
*
ตอบ: 8

ปัจจุบันคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 11:33

 ขอบคุณคุณpipatอกครั้ง ในช่วงแรกที่มีคนส่งsmsให้ผมผ่านช่องทางนี้ ผมก็ไม่ทราบเช่นกัน คงต้อบอกว่า โง่พอกันมั้งครับ  

เรื่องของเกาส์ สั้นๆเป็นดังนี้ครับ
...เหตุการณ์ที่แสดงความอัจฉริยะของเกาส์ให้คนทั่วไปได้ทราบ เกิดขึ้นเมื่อเขายังเป็นเด็กชายเกาส์อายุ 7 ขวบ ในห้องเรียนวันหนึ่ง ครูสั่งให้นักเรียนบวกเลขตั้งแต่ 1 ถึง 100 ครูเพียงแค่หันหลังไป เด็กชายเกาส์ก็ตอบขึ้นมาว่า 5,050 เมื่อถูกถามว่าได้คำตอบนั้นมาได้อย่างไร เด็กชายเกาส์เขียน

  1 +   2 +   3 + ... + 100
100 +  99 +  98 + ... +   1
---------------------------
101 + 101 + 101 + ... + 101  = 101 x 100 = 10100
ดังนั้นคำตอบคือ 10100 / 2 = 5050 ....

สำหรับเรื่องอาจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร นั้น ผมจำได้ว่าเคยอ่านในหนังสือนักวิจัยของไทยที่ห้องสมุดตอนเป็นนักเรียน และได้อ่านเกร็ดคร่าว ๆ เชิงคณิตศาสตร์ของท่าน ในมติชน ว่างๆเดี่ยวจะลองค้นนะครับ ... แต่ดูเหมือนว่าทุกๆท่านจะรู้จักอาจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ดีกว่าผมมาก ผมเองคงจะนำเสนอท่านได้ในมุมมองด้านคณิตศาสตร์ครับ

ส่วนเรื่องอินเดียกับศูนย์นั้น ขอติดไว้ก่อนนะครับ ตอนนี้ถ้าสนใจก็อ่านลิ้งและหนังสือแนะนำไปก่อนครับ
The Nothing that Is : A Natural History of Zero
by Robert Kaplan

 http://en.wikipedia.org/wiki/0_(number)
http://www-history.mcs.st-andrews.ac.uk/HistTopics/Zero.html
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 14:00

 คนอื่นรู้จักอาจารย์ประเสริฐ แบบที่ใครๆก็รู้จัก
คุณสุรัชน์น่าจะรู้จักท่าน แบบที่ท่านอยากให้ใครๆรู้จัก

เอ่อ...ภาษาคนไม่ฉลาดน่ากลัวจะเป็นแบบนี้กระมัง ฮิฮิ....

เรื่องเด็กอัจฉริยะนั่น ผมเคยอ่านตอนเด็กๆว่า วันนั้น เด็กในห้องมันเกเรกันจัง หรือเอาแต่เล่นประมาณนี้มังครับ
ครูประจำชั้นเลยแก้เผ็ดด้วยการสั่งการบ้านชนิดทุกคนนั่งนิ่งบวกเลขกันทั้งห้อง
มีแต่เด็ก..ยะนี่ คนเดียว ทำนู่นทำนี่จนหมดเวลา ไม่ทำเลขเลย
แต่เป็นคนเดียวที่ตอบถูก

ผมก็ลืมแล้วว่าอ่านมาจากใหน คงเป็นพวกวีรธรรม หรือนิตยสารช่างอากาศ...จำได้แต่ว่า
เด็กคนนี้เจ๋งจริง อยากเป็นอย่างเขา แต่ดันตกเลขเสียนี่เรา

เรื่องเลขศูนย์นี่ อยากฟังจากคนไทยเล่า ฝรั่งเล่ามันไม่มันครับ
ขอบคุณไว้ล่วงหน้าซะเลยนะครับ
บันทึกการเข้า
สุรัชน์
แขกเรือน
อสุรผัด
*
ตอบ: 8

ปัจจุบันคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 14:05

 ลองค้นๆดูก็พบว่า เดี๋ยวจะลองไปหาหนังสือสองเล่มนี้มาอ่านก่อนครับ
+ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด
+80 ปี ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร
บันทึกการเข้า
สุรัชน์
แขกเรือน
อสุรผัด
*
ตอบ: 8

ปัจจุบันคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 01 ก.ค. 06, 14:15

 เมื่อกี้ลองถามนักวิชาการคณิตศาสตร์ศึกษาท่านหนึ่ง นั่งใกล้ๆกันว่ารู้จัก ดร.ประเสริฐ ณ นคร ไหม ปรากฏว่าไม่รู้จักครับ คงเป็นเพราะอยู่คนละสายกัน  

คณิตศาสตร์สำหรับวรรณคดีhttp://www.ipst.ac.th/ThaiVersion/publications/in_sci/wankadee.pdf

 
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 02 ก.ค. 06, 06:57

 ที่ท่านอาจารย์ ท่านว่า ท่านเรียนไม่เก่งนั่น  ท่านล้อผมครับ  

ไม่เก่งได้อย่างไรเรียน ๗ ข ๘ ปีเดียว  แล้วจบด้วย  สมัยนั้นอย่าว่าแต่นักเรียนต่างจังหวัดเลยครับ  แม้แต่นักเรียนในกรุงเทพฯ ยังสอบผ่านชั้น ๘ ได้ปีละไม่กี่คน  บางโรงเรียนตกยกชั้นก็มีให้เห็นบ่อยๆ

มีเรื่องขันๆ เกี่ยวกับการสอบชั้น ๘ ก่อนที่จะยุบชั้น ๘ เปลี่ยนไปเรียนเตรียมทั้งหลาย  ทั้งเตรียมนายร้อย  เตรียมนายเรือ  เตรียมอุดมศึกษา  เตรียมแพทย์  เตรียม มธก.  เรื่องนี้มีอยู่ว่า เจ้านายองค์หนึ่งท่านรับสั่งให้ฟังว่า เมื่อท่านทรงเรียนชั้น ๘ นั้น องค์ท่านสอบตกภาษาไทย  เลยต้องซ้ำชั้น ม.๘  รับสั่งว่า  ไม่ว่าจะสอบวิชาอื่นได้คะแนนชั้นเยี่ยมเพียงไร  ถ้าตกภาษาไทย  ต้องซ้ำชั้น  เมื่อเสด็จกลับวังก็เลยโดนเสด็จฯ พระบิดา  ซึ่งพวกเรายกย่องว่าเป็นพระบิดาแห่งวิชาการสาขาหนึ่ง  ทรงเอ็ดเอา  ในขณะที่ท่านชายอีกองค์หนึ่งที่เรียนชั้นเดียวกันและทรงเป็นโอรสของเจ้านายที่ได้ชื่อว่าเป็นนักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียง  ก็ทรงตกภาษาไทยเหมือนกัน  เมื่อเสด็จกลับถึงวังที่ประทับก็ทรงโดนอ็ดเหมือนกันอีก  แต่ทั้งสององค์ก็ทรงยกตัวอย่างอีกองค์หนึ่งขึ้นเพ็ดทูลกับพระบิดา  ก็เลยรอดตัวไปทั้งสององค์
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 02 ก.ค. 06, 18:44

 สมัยอยู่เตรียมอุดม ร้องเพลงปิ่นหทัยคล่องปรื๋อค่ะ
นานมากแล้วแต่รู้สึกเหมือนไม่กี่ปี
จนปีที่แล้วไปเที่ยวฮอยอัน กับเพื่อนเตรียมห้อง 38
ไปเจอผู้ร่วมก๊วนก็จบเตรียมแต่อายุเลยวัยเกษียณค่ะ
เพื่อนเลยขึ้นเพลงปิ่นหทัย.....
วันเดือนปีี๊ ที่ผ่านมา...
ปรากฎว่าจอดแค่ สงวนบุญหนุนเลื่อนเสียงครูเสียงเพื่อนแจ่มใจ...ทั้งสามคนค่ะ
...
แต่ความรู้สึกตอนนั้นชื่นมื่นมาก
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 02 ก.ค. 06, 18:55

 อ่านบทความที่แนะนำแล้วครับ คุณสุรัชน์
ทำเอาผมซึ่งอยู่ฝ่ายคำนวณไม่เป็น นั่งทำตาปริบๆ จะเถยงก็ไม่รู้จะเถยงยังไง

สมมติว่าเราพบบทประพันธ์เพิ่ม ค่าเฉลี่ยนี้ก็อาจจะใช้ไม่ได้สิครับ แล้วนักวิจัยเขามั่นใจแค่ใหน ว่าบทละคอนทั้งหมดเป็นของจริง...และแม้ว่าจริง จะตรงกับต้นฉบับมากน้อยแค่ใหน เพราะการพิมพ์มักจะสร้างความเพี้ยน และเชคสเปียร์กฌไม่ได้จัดพิมพ์ดดดดด้วยตัวเอง.......

เคยได้ยินคนเล่าว่า หนังสือสามก๊กนั้น ก็ใช้ศัพท์ไม่มากนัก
ส่วนพระไตรปิฏกนี่ มีฉบับดิจิตอลแล้ว
ไม่รู้ว่าวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ได้หรือไม่

ขอบคุณที่แนะนำบทความดีๆให้อ่านครับ
บันทึกการเข้า
tuka007
พาลี
****
ตอบ: 291


คนจับจอบจับเสียม


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 12 ก.ค. 06, 14:36


มอบให้ผู้รู้ทุกๆท่านค่ะ
บันทึกการเข้า

จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง