เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 31201 100 ปี ม.ล.ปิ่น มาลากุล
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 24 ต.ค. 03, 14:00


องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ประกาศให้ศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษา  ในวาระครบ 100 ปีวันเกิดของท่าน  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 ต.ค. 03, 14:30

 ม.ล.ปิ่น    มาลากุล เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446
สืบเชื้อสายมาจากต้นราชสกุล มาลากุล ณ อยุธยา  คือสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์  พระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยอันประสูติแต่เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี

บิดามารดาของม.ล.ปิ่นคือเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) และท่านผู้หญิงเสงี่ยม (สกุลเดิม วสันตสิงห์)

หม่อมหลวงปิ่น   มาลากุล ได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (ปัจจุบันคือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นนักเรียนมหาดเล็กรับใช้รุ่นแรก

ต่อมาได้รับทุนของกระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษาธิการ)ไปศึกษาวิชาภาษาสันสกฤต ณ School of Oriental Studies  มหาวิทยาลัย ลอนดอน
แล้วจึงสอบเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เลือกภาษาสันสกฤตเป็นวิชาเอก  บาลีเป็นวิชาโท  จนสำเร็จปริญญาตรี เกียรตินิยม สาขาวิชาโบราณตะวันออก (ภาษาบาลี - สันสกฤต)
ต่อจากนั้นได้ศึกษาวิชาครูต่อที่ออกซฟอร์ดอีก 1 ปี
ในพ.ศ. 2474 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้พิจารณาให้ได้รับปริญญาโททางอักษรศาสตร์   (M.A)

หม่อมหลวงปิ่น   มาลากุล ได้สมรสกับท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ไกรฤกษ์) ไม่มีบุตรธิดา

เมื่อสำเร็จการศึกษา        ม.ล.ปิ่น   มาลากุล รับราชการเป็นอาจารย์ประจำกรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ   ต่อมาย้ายไปเป็นอาจารย์คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2475-77

ตำแหน่งงานต่อๆมาของท่านคือผู้รักษาการตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนมัธยมหอวัง   ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และ อธิบดีสามัญศึกษาตามลำดับ

ในช่วงปี พ.ศ. 2489 - 2500 ได้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ในขณะเดียวกันก็ได้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมวิชาการ อธิบดีกรมการฝึกหัดครู และอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา

ท่านได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดของผู้บริหารกระทรวงเมื่อได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงวัฒนธรรม เมื่อ พ.ศ. 2500 - 2501 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ พ.ศ. 2502 - 2512
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 ต.ค. 03, 14:34

 ผลงานทางด้านการศึกษาของ ม.ล.ปิ่น มาลากุล    มีจำนวนมากมาย
ขอยกมาเฉพาะผลงานสำคัญบางชิ้น  คือ
 1. ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท โรงเรียนมัธยมสหศึกษา โรงเรียนแรกในประเทศไทย
2. ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนประถมสาธิต วิทยาลัยวิชาการศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในระดับประถมศึกษา
3. ริเริ่มตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร ต่อมาเป็นวิทยาลัยวิชาการ ศึกษาประสานมิตร  และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ในปัจจุบัน
4. ริเริ่มจัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์(ทับแก้ว )และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำให้ประชากรในชนบทได้มีโอกาสเรียนถึงระดับอุดมศึกษา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 ต.ค. 03, 14:37

 5 ริเริ่มจัดตั้งห้องสมุดเสียงขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อรวบรวมวรรณกรรมร้อยแก้วด้านพระราชดำรัส พระบรมราโชวาทและปาฐกถาของผู้มีชื่อเสียงด้านต่าง ๆ
6. พัฒนาการศึกษาหลายโครงการ เช่น โครงการพัฒนาการศึกษาส่วนภูมิภาค โครงการพัฒนาการศึกษา และโครงการฝึกหัดครูชนบท ก่อให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา
7. ขยายงานของกรม กองต่าง ๆ เพื่อรองรับการปฏิบัติงานด้านการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น นำเทคโนโลยีด้านการศึกษาเข้ามาใช้ เช่น จัดตั้งวิทยุการศึกษา ท้องฟ้าจำลอง เป็นต้น
8. ก่อตั้งหอวชิราวุธานุสรณ์เพื่อเป็นที่ระลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เป็นคลังสมบัติทางปัญญาในการค้นคว้ารวบรวมและเผยแพร่พระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่าน
9. จัดสร้างค่ายหลวงบ้านไร่ จังหวัดราชบุรี เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมความรู้และเป็นค่ายพักแรมหรือจัดกิจกรรมของเยาวชน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 ต.ค. 03, 14:50

 ผลงานด้านวัฒนธรรมและวรรณกรรม

ม.ล. ปิ่น มาลากุลได้รับการอบรมปลูกฝังให้รักและชื่นชมวัฒนธรรมของชาติมาแต่เยาว์วัย   ท่านได้เป็นมหาดเล็กรับใช้รุ่นแรกในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นเวลานานถึง 6 ปี ทำให้ได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากพระองค์ท่านมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับวรรณกรรม
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงฝึกอบรมและทรงมอบหมายหน้าที่พิเศษให้ท่านจัดเก็บพระราชนิพนธ์บทละคร และเมื่อทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องใดแล้ว จะพระราชทานให้อ่านก่อน แล้วจึงนำมาอ่านให้ที่ประชุมฟังในภายหลัง
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้รับพระราชานุญาตเป็นพิเศษ ให้แก้ไขต้นฉบับลายพระหัตถ์ได้  หากทรงเผลอพระราชนิพนธ์ผิดไป นอกจากนี้ทรงตั้งให้เป็น บรรณาธิการดุสิตสมิตอีกด้วย
ม.ล.ปิ่น มาลากุล จึงปราดเปรื่องในเชิงวรรณศิลป์  สามารถแต่งหนังสือได้แทบทุกประเภทภายในเวลาอันรวดเร็ว สืบเนื่องมาจากการได้อยู่ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีความเป็นอัจฉริยะทางด้านอักษรศาสตร์ และได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก

ท่านมีผลงานที่ตีพิมพ์เป็นเล่มเผยแพร่รวม 207 เรื่อง แบ่งออกเป็น 5 หมวด คือ
หมวดการศึกษา 57 เรื่อง
หมวดบทละคร 58 เรื่อง
หมวดคำประพันธ์ 32 เรื่อง
หมวดการท่องเที่ยว 8 เรื่อง
หมวดเบ็ดเตล็ด 52 เรื่อง
ในจำนวนนี้ที่สำคัญ ได้แก่ ศึกษาภาษิต 109 บท คำประพันธ์บางเรื่อง 200 เรื่อง บทเพลง 24 เพลง บทนิราศ 8 เรื่อง และบทละคร 58 เรื่อง

เกียรติคุณทางวัฒนธรรมของท่านเป็นที่ประจักษ์ดังนี้
-ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทวรรณคดี สาขาวรรณคดี  และภาษาศาสตร์
- ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์  พ.ศ. 2430
-ผู้สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น
-ได้รับพระเกี้ยวทองคำ  ในฐานะผู้ส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น
-รางวัลอาเซียน สาขาวรรณกรรม
-ปูชนียบุคคลด้านภาษาและวรรณกรรมไทย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 ต.ค. 03, 14:57

 ตัวอย่างผลงานด้านวรรณศิลป์

อันอำนาจใดใดในโลกนี้
ไม่เห็นมีเปรียบปานการศึกษา
สร้างคนหาค่ามิได้ในโลกา
ขึ้นจากผู้ที่หาค่าไม่มี

กล้วยไม้มีดอกช้า..........ฉันใด
การศึกษาเป็นไป...........เช่นนั้น
แต่ดอกออกคราวไร......งามเด่น
งานสั่งสอนปลูกปั้น.......เสร็จแล้วแสนงาม

การเป็นครูนั้นไซร้ไม่ลำบาก
แต่สอนดีนั้นยากเป็นนักหนา
เพราะต้องใช้ศิลปวิทยา
อีกมีความเมตตาอยู่ในใจ

ตระเวนไปอยากได้การศึกษา
จนยุโรปอเมริกาก็ถ้วนทั่ว
มนุษย์เชี่ยวเชิงวิชาอย่างน่ากลัว
แต่ใจคนจะชั่วไม่เปลี่ยนแปลง
ระลึกคุณพระพุทธสุดประเสริฐ
สงบเกิดแก่ใจได้รู้แจ้ง
ฝึกฝนจิตส่วนร้ายหายรุนแรง
ศึกษาแหล่งที่แท้อยู่แค่ใจ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 ต.ค. 03, 16:12

 ขอบคุณครับคุณเทาชมพู

ในสมัยปฏิรูปการศึกษาบ้างไม่ปฏิรูปบ้างนี้ (ไม่รู้เมื่อไหร่จะปฏิรูปกันเสร็จ) ผมนึกไปถึงบทละครเรื่องหนึ่งที่ท่านแต่งไว้ เสนอแนวคิดในการจัดการศึกษาประชาบาลไว้อย่างน่าสนใจ ถ้าจำไม่ผิด บทละครนั้นชื่อ "สามเกลอ" ไม่ใช่สามเกลอพล นิกร กิมหงวนนะครับ แต่เป็นสามเกลอแห่งการเสริมสร้างบทบาทของโรงเรียนประชาบาลไทย สามเกลอที่ไม่ใช่พลนิกรกิมหงวนนั้น เป็นชื่อเครื่องมือช่างไทยโบราณอย่างหนึ่ง เอาไว้ใช้ตอกเสาเข็มในสมัยที่ยังไม่มีปั้นจั่นหรือเครื่องมือกลในการตอกเสา ลักษณะของสามเกลอนั้นเป็นแท่งหรือตุ้มน้ำหนักที่มีที่จับสามมุม ใช้คนสามคนยกขึ้นตอกลงไปบนหัวเสา

ม.ล. ปิ่นท่านอ้างถึงบทกลอนที่ท่านเองแต่งไว้ว่า "ประเทศเรานั้นหรือคือตึกใหญ่ จะมั่นคงอยู่ได้เพราะรากฐาน เข็มตอกลึกศึกษาประชาบาล ส่วนนายงานนั้นหรือก็คือครู เราทำงานอาบเหงื่อเพื่อวางราก ไม่มีใครออกปากว่าสวยหรู บ้านเราเองจะหวังให้ใครมาดู แต่เรารู้เราเห็นเป็นสุขเอยฯ"

เข็มตอกลึกที่เป็นรากฐานการศึกษาของอคารประเทศไทยนั้น คือการศึกษาประชาบาล อันเป็นการศึกษาประเภทหนึ่งที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ตั้งพระทัยให้เป็นการศึกษาที่ชุมชนในพื้นที่จัดการบริหารเอง เป็นการสนับสนุนให้ประชาชนในท้องถิ่นมีบทบาทมีส่วนร่วมในระดับพื้นฐานที่สุด แต่ต่อมาโรงเรียนประชาบาลก็ค่อยๆ แคระแกร็นไป (อย่างน้อยจนถึงสมัยที่ท่านแต่งบทละครนั้น สมัยต่อมาจนถึงสมัยนี้ผมไม่ทราบว่าการศึกษาประชาบาลเป็นยังไงแล้ว) ตัวละครในเรื่องก็มาคุยกันว่าจะทำอะไรให้เป็นการปฏิรูปหรือปฏิวัติการศึกษาประชาบาลได้บ้าง ตัวละครนั้น คนหนึ่งเป็นนายอำเภอ ทำนองว่าเป็นตัวแทนภาครัฐ คนหนึ่งเป็นน้องสาวนายอำเภอ และเป็นนางเอกด้วย อีกคนเป็นนายธนาคารสาขาในอำเภอนั้น และเป็นเพื่อนนายอำเภอ มาช่วยกันคิดไปคิดมาแล้วก็เลยได้รักกันกับนางเอก จึงจะพอถือว่าเป็นพระเอกก็คงได้ "สามเกลอ" ที่เป็นชื่อเรื่องนั้นก็คือคนสามคนมาคิดกันเรื่องการศึกษานั่นความหมายหนึ่ง แต่ในอีกความหมายหนึ่ง "สามเกลอ" หมายถึงหลักการสามข้อในการจัดการศึกษาประชาบาล คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน การทำหน้าที่อย่าซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ และบทบาทในเชิงสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะโรงเรียนประชาบาลเป็นพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 และ (ตามเรื่องละคร) คนสามคนมาคิเรื่องการศึกษาประชาบาลแอผนใหม่กันในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ ในรัชกาลปัจจุบัน

บทละครนี้ท่านแต่งถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ปีอะไรผมก็จำไม่ได้ แต่ถ้าจำไม่ผิดเป็นปีเดียวกับที่นีล อาร์มสตรองไปลงดวงจันทร์ เพราะในบทละครมีพูดถึงยานอะพอลโล่อยู่

ถ้าท่านรัฐมนตรีศึกษาธิการสมัยปัจจุบันได้อ่านก็น่าจะดีครับ แต่ได้ข้าวว่าจะปรับ ครม. กันอีกแล้ว ไม่ทราบว่าจะเปลี่ยนตัว "เสมา 1" กันอีกรึเปล่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 ต.ค. 03, 18:33

 ในเน็ตมีการพูดถึงการศึกษาประชาบาลไว้ในเว็บนี้ค่ะ
 http://www.thaiteacher.org/admin/publication/4/2.pdf.
คงจะตอบคำถามของคุณนิลกังขาได้พอสมควร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 25 ต.ค. 03, 13:03

 ขอเล่าเพิ่มเติมเกี่ยวกับราชสกุล มาลากุล ณ อยุธยาค่ะ

ราชสกุลมาลากุล ณ อยุธยา สืบเชื้อสายมาจาก  สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา หรือ เจ้าฟ้าชายกลาง กรมพระยาบำราบปรปักษ์พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี (พระนามเดิมพระองค์เจ้าจันทบุรี )
เจ้าฟ้ากุณฑลทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทองสุก พระธิดาพระเจ้าอินทวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์
เมื่อพระสูติทรงดำรงพระยศเป็นพระองค์เจ้า  แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี

เล่ากันมาว่า  เนื่องจาก ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯเสด็จพระราชดำเนินลงไปลอยพระประทีป พระองค์เจ้าจันทบุรีตามเสด็จลงไปที่พระตำหนักแพ
เมื่อเวลาจุดดอกไม้ รับสั่งว่าประชวรพระเนตรอยู่ให้กลับขึ้นไปพระราชวังเสียก่อน พระองค์เจ้าหญิงก็เสด็จกลับขึ้นมาถึงเรือพลาดตกลงน้ำหายไป
คนทั้งปวงพากันตกใจพากันลงน้ำเที่ยวค้นหา จึงพบพระองค์เจ้าลูกเธอเกาะทุ่นหยวกอยู่ท้ายน้ำ หาได้เป็นอันตรายไม่ เป็นอัศจรรย์
จึงมีพระราชโองการสถาปนาให้มีอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าและให้มีงานสมโภชอีก ๓ วัน )    

เจ้าฟ้ากุณฑลฯทรงมีพระราชโอรสธิดารวม 4 พระองค์ด้วยกัน คือเจ้าฟ้าชายอาภรณ์  เจ้าฟ้าชายกลาง (เจ้าฟ้ามหามาลา) เจ้าฟ้าหญิง และเจ้าฟ้าชายปิ๋ว

สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์สำคัญองค์หนึ่ง  ในรัชกาลที่ 5  ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการ ในพระราชสำนักและว่าพระคลังทั้งปวง
ต่อมาได้เป็นผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย ซึ่งเกี่ยวข้องต่อคนต่างประเทศและราชการหัวเมืองต่างๆ
และทรงเป็นประธานของพระบรมวงศานุวงศ์

ราชสกุลมาลากุล มีเจ้านายสืบสายจำนวนมาก    ในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะสายของม.ล.ปิ่น มาลากุล
คือ สมเด็จกรมพระยาบำราบฯ มีพระโอรส ประสูติจากหม่อมกลีบ ได้แก่หม่อมเจ้าขจรจรัสวงษ์    ต่อมาเลื่อนขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์
กรมหมื่นปราบปรปักษ์  มีโอรสจากหม่อมเปี่ยม ชื่อม.ร.ว. เปีย มาลากุล  รับราชการได้เป็นเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
เจ้าพระยาพระเสด็จฯ(ม.ร.ว. เปีย)มีบุตรธิดากับท่านผู้หญิงเสงี่ยม  รวม  8 คน คือ
ม.ล. ปก
ม.ล. ปอง สมรสกับหม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ เทวกุล
ม.ล. เปนศรี
ม.ล. ปนศักดิ์
ม.ล. ป้อง
ม.ล. ปิ่น
ม.ล. เปี่ยมสิน
ม.ล. ปานตา สมรสกับนายเมืองเริง วสันตสิงห์
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 27 ต.ค. 03, 18:09

 ขอบพระคุณครับคุณเทาชมพู

แต่ link ที่ให้ไว้ผมเปิดไม่ออก ไม่ทราบว่าเครื่องผมมีปัญหารึเปล่า

มล. ปิ่น เป็นท่านผู้ให้กำเนิดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในยุคปัจจุบัน ในฐานะลูก ตอ. คนหนึ่ง ผมยังจำได้ว่า เพลงประจำโรงเรียนคือเพลง "ปิ่นหทัย" และว่ากันว่า เล็งถึงท่านผู้ก่อตั้งโรงเรียนนี่เอง ในเนื้อเพลงนั้น ว่ากันว่าท่านผู้แต่งเนื้อเพลงสามารถบรรจุชื่อของอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเตรียมฯ ทุกท่านตั้งแต่แรกตั้ง คือท่าน ม.ล. ปิ่นมาจนถึงท่านที่เป็นอาจารย์ใหญ่อยู่ในขณะที่แต่งเพลง ใส่เข้าไปในเนื้อเพลงปิ่นหทัยได้หมด (แต่อาจารย์ใหญ่หลังจากนั้น ยังไม่มีเนื้อ version ที่ updated ครับ)

...รัก ตอ. ขอจงอยู่ยืนนาน
รักครูอาจารย์ รักเพื่อนทั่วหน้า
รักจริงรักจริง รักสิงวิญญาณ์
รัก ตอ. ประหนึ่งว่า "ปิ่น" ปักจุฑานั่นเอย...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 28 ต.ค. 03, 09:16

 เว็บประชาบาล กลับไปอีกทีทำไมเข้าไม่ได้ก็ไม่ทราบค่ะ น่าเสียดาย
บอกประวัติของโรงเรียนประชาบาลไว้ยาวมาก  ทำให้มองเห็นนโยบายการสร้างโรงเรียนประเภทต่างๆ
ดิฉันสงสัยว่าได้แนวมาจากอังกฤษ  เพราะปัญญาชนของไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 6 มาจนถึงก่อนสงครามโลก มักจะรับวิชาความรู้มาจากอังกฤษมากกว่าประเทศอื่นๆในยุโรป  หรืออเมริกา

โรงเรียนประชาบาล  คือ ชุมชนในท้องถิ่นนั้นค้ำจุน  หางบประมาณให้ตั้งอยู่ได้  ตั้งมาเพื่อสนองภูมิปัญญาท้องถิ่น
โรงเรียนเทศบาล   หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ค้ำจุน

แต่ต่อมาความเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาประเทศ ทำให้เรามุ่งเป้าหมายไปในทางทำให้ชนบท(ซึ่งถูกมองว่าด้อยพัฒนา) เจริญในแบบเมืองหลวงให้เท่ากันทั้งประเทศ
น่าจะเป็นนโยบายแบบอเมริกัน ซึ่งเข้ามามีบทบาทในไทยหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา  
แผนพัฒนาฉบับต่างๆตั้งแต่ 1 จนปัจจุบันก็ดูจะสอดคล้องกับการพัฒนาในความหมายของอเมริกา มากกว่าแบบอังกฤษ ซึ่งยังให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมท้องถิ่นมากกว่า


ย้อนมาถึงเพลงโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา   ชื่ออาจารย์ใหญ่ ดิฉันแกะออกมาได้ชื่อเดียวค่ะคือบุญเลื่อน  คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู

ฟังเพลง" ปิ่นหทัย"  ได้ที่เว็บนี้ค่ะ
 http://www.toursong.com/song/7072.htm

วันเดือนปี ที่ผ่านมา โอ้ต.อ.จ๋า รักยังแจ่มจ้า ไม่เลือน
สระน้ำคูบัว ตามเตือน สงวนบุญหนุนเลื่อน
เสียงครูเสียงเพื่อน แจ่มใจ ..
ยามเรียนลือยามเล่นเด่นชื่อ ต.อ.ระบือ ลือสนั่น ลั่นไกล
คิดถึงพระคุณ อาจารย์ยิ่งใด
เป็นปิ่น หทัย ให้ร่มเย็นใจ เสมอมา ..
รักต.อ.ขอจงอยู่ยืนนาน รักครูอาจารย์ รักเพื่อนทั่วหน้า
รักจริงรักจริง รักสิงวิญญา
รักต.อ.ยิ่งชีวา รักจนดินฟ้ามลาย ..
รักต.อ.ขอจงอยู่ยืนนาน รักครูอาจารย์ รักเพื่อนทั่วหน้า
รักจริงรักจริง รักสิงวิญญา
รักต.อ.ประหนึ่งว่า ปิ่นปักจุฑานั่นเอย... . 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 30 ต.ค. 03, 11:34


พระสาทิสลักษณ์ สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 30 ต.ค. 03, 12:39


ลายพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในใบพระราชทานนามสกุล "มาลากุล"  
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 31 ต.ค. 03, 15:02

 มีใครในที่นี้เป็นศิษย์เก่า ตอ. บ้างครับ?
เท่าที่ผมแกะได้ ในเนื้อเพลงปิ่นหทัยมีชื่ออาจารย์ใหญ่หลายท่าน เท่าที่ทราบคือ ท่านอาจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล อาจารย์ใหญ่ท่านแรก อาจารย์คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู ที่คุณเทาฯ พูดถึง ยังมีอาจารย์สงวน จำนามสกุลท่านไม่ได้ อาจารย์สนั่น (สุมิตร?) แกะได้เพียงเท่านี้ครับ ใครเป็นอาจารย์ใหญ่ในช่วงไหนบ้างผมก็ไม่ทราบ จำประวัติโรงเรียนตัวเองไม่ได้เสียแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 01 พ.ย. 03, 08:13

 สงวน? บุญเลื่อน? สนั่น?
เตือน? แจ่ม?

ชื่อสมัยก่อนง่ายๆ แต่งลงในเนื้อเพลง  หาคำอื่นมารับ  ได้ความกลมกลืนกันดี
ถ้าชื่อ"นิลกังขา" หรือ  "จ้อ" "เปี้ยว" อะไรทำนองนี้ เกิดได้เป็นครูใหญ่ตอ.   ดิฉันว่าคนแต่งเพลงคงขอลาออกจากงาน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง