นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 27 ก.ค. 03, 21:13
|
|
แต่ทรงเลือกใช้ภาษาท้องถิ่นของประชาชนที่ง่ายต่อการเข้าใจ (ถ้าจะทรงใช้ภาษาสันสกฤตจริงๆ ก็ทรงใช้ได้ อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นลูกกษัตริย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 27 ก.ค. 03, 21:14
|
|
ได้รับการศึกษาอย่างดีมาแล้วในวังของพระพุทธบิดา) ภาษาที่พระองค์ตรัสก็ "น่าจะ" เป็นภาษามาคธี แต่ข้อนี้ผมก็ไม่รู้ เพราะเกิดไม่ทันพุทธกาล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 27 ก.ค. 03, 21:15
|
|
ตลอดพระชนมชีพ พระพุทธเจ้าทรงเทศนาด้วยพระโอษฐ์เปล่า การศึกษาศาสนาสมัยนั้นใช้วิธีมุขปาฐะ-ปากต่อปาก สืบทอดด้วยการท่องจำ ไม่ได้จดลงไว้เป็นตัวหนังสือ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 27 ก.ค. 03, 21:17
|
|
จนหลังพุทธปรินิพพานแล้วนาน จึงมีการจดจารึกพระไตรปิฎกลงเป็นตัวหนังสือ ... หนังสือภาษาอะไร? ก็ภาษาบาลี งั้นภาษาบาลีนี่มาแต่ไหน?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 27 ก.ค. 03, 21:18
|
|
ตรงนี้ก็เรื่องก่อนผมเกิดเหมือนกัน นักวิชาการบางท่านว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาตำราของพุทธศาสนานั้นได้รับการคิดประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้จารึกพระไตรปิฎกโดยเฉพาะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 27 ก.ค. 03, 21:19
|
|
แต่มีความใกล้เคียงกับภาษามาคธี หรือภาษาท้องถิ่นอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นภาษาบรรพบุรุษของมาคธี ที่พระพุทธเจ้าท่านใช้ตรัสเทศนา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 27 ก.ค. 03, 21:21
|
|
เป็นแต่ภาษาพูดมาคธีอาจจะไม่มีไวยากรณ์ที่เรียบร้อยนักก็เอามาจัดปรับปรุงให้เป็นไวยากรณ์ที่เป็นภาษาเขียนได้ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 27 ก.ค. 03, 21:22
|
|
(ไวยากรณ์บาลีอิงตามสันสกฤต แต่ปรับให้ง่ายขึ้นกว่าสันสกฤตมาก)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 27 ก.ค. 03, 21:23
|
|
ยังงี้แล้วจะถือว่าภาษาบาลีคือภาษามคธ มคธก็คือบาลี ได้ไหมครับ หรือจะถือว่าเป็นคนละภาษาได้ไหมครับ ...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 27 ก.ค. 03, 21:24
|
|
ผมไม่มีความรู้พอที่จะถกครับ เอาเป็นว่าสำหรับผมถือคร่าวๆ ว่าภาษามคธก็คือภาษาบาลีก็แล้วกัน แต่ผมก็รู้ตัวว่านี่เป็นแค่การพูดคร่าวๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 27 ก.ค. 03, 21:25
|
|
ภาษาบาลีหรือที่เรากล้อมแกล้มเรียกว่าภาษามคธไปก่อนนี่ มีอักษรไหม ต้องมีสิครับ ก็เป็นภาษาที่ใช้เขียนพระไตรปิฎกนี่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 27 ก.ค. 03, 21:26
|
|
แต่อักษรบาลีดั้งเดิมเป็นแบบไหนผมก็ไม่ทราบ เดาว่าแต่เดิมจริงๆ คงใช้ระบบอักษรภาษาอินเดียดั้งเดิมแบบใดแบบหนึ่ง อาจจะเป็นอักษรเทวนาครี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 27 ก.ค. 03, 21:27
|
|
หรือจะเป็นอักษรคฤนท์ อะไรก็ไม่รู้ละ (ใครรู้ช่วยบอกด้วย) แต่ข้อที่น่าสังเกตก็คือว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 27 ก.ค. 03, 21:28
|
|
ภาษาบาลีเมื่อเป็นภาษาของพุทธศาสนาฝ่ายใต้หรือของนิกายเถรวาท (พระไตรปิฎกของทางฝ่ายมหายาน เป็นภาษาสันสกฤต) พอพุทธศาสนานิกายเถรวาทแพร่ไปถึงไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 27 ก.ค. 03, 21:29
|
|
ภาษาบาลีก็ไปถึงนั่น และสามารถใช้ตัวอักษรในภาษาท้องถิ่นเขียนคำภาษาบาลีได้ด้วย เช่น ไปถึงลังกาก็ใช้อักษรสิงหลเขียนพระไตรปิฎกภาษาบาลีได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|