เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5343 คือว่า ถ้าเป็นราชวงศ์เนี่ยถ้าเป็นภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Royal family หรือเปล่า แล้วถ้าเป็นขุนนางห
คุณพระนาย
มัจฉานุ
**
ตอบ: 85

Graduate Student New Mexico Institute of Mining and Technology, Socorro, NM USA


 เมื่อ 06 มิ.ย. 03, 00:51

 คือว่า ก็เป็นที่น่ายินดีว่า ตอนนี้ ที่อเมริกา มีหนังไทยเรื่องดังมาฉายอยู่บ้างแล้วครับ ก็คือเรื่อง Legend of Suriyothai ผมก็มีเพื่อนฝรั่งที่สนใจจะไปดูหนังเรื่องนี้ อยู่เหมือนกัน แล้วเค้าก็คุยถามถึงเมืองไทยอยู่บ้าง
ที่เค้าสงสัยกันก็คือว่าทำไมคนไทยเราจึงมี last name ที่ยาว อย่างนามสกุลผมเนี่ยก็ยาวเหลือเกิน แต่เค้าก็เห็นมีหลายคนที่นามสกุลสั้น ๆ ก็มี ส่วนชื่อนั้นเรียกยากกันทุกคน
ผมพยายามนึกหาวิธีอธิบายให้เค้าฟังได้ง่าย ๆ เลยบอกว่า
คนไทยที่มีนามสกุลยาว ๆ นั้นมีอยู่สองแบบคือ
อาจจะเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ที่อพยพเข้ามาในเมืองไทยเมื่อไม่นานนี้ แล้วพอเปลี่ยนจากแซ่ (ซึ่งมักจะสั้น) มาเป็นนามสกุล มักจะตั้งนามสกุลให้มันดูยาว โดยที่พยายามตั้งให้มันยาว ๆ นั้น ผมเดาด้วยความรู้สึกส่วนตัวล้วน ๆ ก็เพื่อให้มันดูดี คล้ายนามสกุลของพวกขุนนางสมัยเก่า ที่มักจะใช้ราชทินนามมาเป็นนามสกุล ซึ่งก็มักจะฟังเพราะและดูยาวกว่านามสกุลธรรมดา
ทีนี้ เวลาอธิบายเป็นภาษาอังกฤษ ผมก็ใช้ คำว่า noble family ให้หมายถึงตระกูลขุนนางหรือผู้ดีเก่า ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่า ตรงความหมายหรือเปล่า เพื่อนฝรั่ง ฟังแล้ว งง ๆ ผมก็บอกว่า เป็นพวก family ที่เคยทำงานให้ King แต่ไม่ใช่ญาติ
ผมเลยอยากมาถามว่า ผมเข้าใจได้ถูกหรือเปล่าครับที่จะบอกว่า noble family คือตระกูลขุนนางเก่า หรือผู้ดีเก่า
แล้วถ้าอย่าง ตระกูลที่เป็นหม่อมหลวง หรือหม่อมราชวงศ์อย่างนี้จะเรียกว่าเป็น Royal family หรือว่า  Noble family ล่ะครับ
อีกคำถามนึง เพื่อน ๆ คิดว่าอะไรเป็นเหตุให้คนไทยเชื้อสายจีน มีนามสกุลยาว ๆ กันหรือครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 มิ.ย. 03, 09:36

 เรื่องตั้งนามสกุลยาวๆ  ดิฉันเคยผ่านสายตา แต่ไม่แน่ใจว่าถูกหรือเปล่า ว่าการตั้งนามสกุลใหม่เป็นไทยของคนไทยเชื้อสายจีน ที่เปลี่ยนจากแซ่  ถูกระเบียบ พ.ร.บ. กำหนดให้ยาวไม่ต่ำกว่า ๕ พยางค์
เหตุผลอาจเป็นได้ว่าถ้าไม่กำหนดแบบนี้  ยอมให้ตั้งนามสกุลสั้นๆ จะไปซ้ำกับนามสกุลที่มีอยู่ก่อนแล้วได้ง่ายมาก    ดังนั้นถ้ายาวเข้าไว้ โอกาสซ้ำจะน้อยกว่า
สมมุติว่าดิฉันจะขอตั้งนามสกุลว่า "เทาชมพูเรือนไทย"   โอกาสซ้ำกับคนอื่น จะน้อยกว่าขอตั้งนามสกุลว่า "เรือนไทย" สั้นๆ เพราะอาจมีคนใจเดียวกันขอตั้งอยู่ก่อนแล้ว

สมัยนั้นการตรวจสอบ ไม่มีคอมพิวเตอร์เครือข่ายให้ตรวจง่ายอย่างเดี๋ยวนี้   ขนาดป้องกันอย่างนี้คนที่ตั้งนามสกุลซ้ำกันก็ยังมีได้

ส่วนศัพท์ที่คุณพระนายถามมา  
Royal family  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศ์
ราชทินนาม  title conferred by the king
ส่วน noble family  ดิฉันไม่ค่อยจะได้เห็นคำนี้    เห็นแต่คำว่า  noblemen  
ถ้าเป็นนามสกุลของพวกเขา ก็บอกไปเลยว่าเป็น  last name ของพวก noblemen

นามสกุลขุนนางwmp(ส่วนใหญ่จะได้รับพระราชทานจากพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖) ไม่ยาวเท่านามสกุลตั้งใหม่สมัยนี้     มี ๒-๕ พยางค์  g=jo
บุนนาค ๒ พยางค์
จุลานนท์ ๓ พยางค์
ฉัตรภูติ ๔ พยางค์
กาญจนาคพันธุ์ ๕ พยางค์
ส่วนการใช้ราชทินนามของบรรพบุรุษแทนนามสกุลพระราชทาน ดิฉันว่ามีน้อยกว่าลูกหลานที่ยังใช้นามสกุลพระราชทานนะคะ  
ที่ได้ยินมากที่สุดคือ อนุมานราชธน ของพระยาอนุมานราชธน(ยง เสฐียรโกเศศ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 07 มิ.ย. 03, 09:44

 ต่ออีกหน่อย
การนับพระราชวงศ์ของอังกฤษกับไทยเรา ไม่ลงตัวกันอยู่หลายเรื่องนะคะ   อย่างเช่น ม.ร.ว. และ ม.ล.  ทางไทยไม่นับเป็นเจ้า  เรียกว่าเชื้อพระวงศ์  ไม่ใช่พระบรมวงศานุวงศ์   ซึ่งหมายถึงหม่อมเจ้าถึงเจ้าฟ้า
ม.ร.ว. บางคนก็เป็นขุนนาง อย่างหม่อมราโชทัย(ม.ร.ว. กระต่าย อิศรางกูร) หรือหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์(ม.ร.ว. เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)
บางคนก็เป็น ม.ร.ว. อย่างเดียว ไม่ได้เป็นขุนนาง  ถ้าท่านไม่รับราชการ
ม.ล. ก็เช่นกัน

จะนับเป็น Royal family ไหม ดิฉันว่าถ้าในความหมายว่า "เจ้า" พวกนี้ก็ไม่ใช่
แต่ถ้าเป็นสมาชิกแห่งราชวงศ์หรือเปล่า   ใช่  เพราะสืบเชื้อสายมา ใช้ราชสกุล
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.028 วินาที กับ 19 คำสั่ง