หนอนแว่น
อสุรผัด

ตอบ: 1
ทำงาน สนง.ทรัพย์สิน ฯ
|
สุจิปุริ มีความหมายใตแต่ละคำว่าอย่างไร แล้วเด็กไทยในปัจจุบันยังคงใช้หัวใจนักปราชญ์นี้ในการศึกษาหรือไม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
paganini
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 25 พ.ค. 03, 11:33
|
|
ไม่รู้บาลีนะแต่จำได้เลาๆขอมั่วว่า สุ - สุตตะ แปลว่าฟัง ได้ยินจากคนอื่น อ่านมา ดู TV มา จิ - จิตตะ ฟังแล้วคิด ไม่ใช่ฟังแล้วเชื่อเลย ปุ - ปุจฉา คิดแล้วแย้งไม่เชื่อ รึ ไม่เข้าใจ ก็ต้องถาม ปัจจุบันก็อาจจะตีความว่าหาอ่านจากหนังสือรึอินเตอร์เนท ริ - ริอ่าน แปลว่าพอมีความรู้ก็ริอ่านคิดการใหญ่ เอ๊ยไม่ใช่ จริงๆแล้วเป็น ลิ - ลิขิต คือบันทึกครับ เมื่อรู้แล้วต้องจำได้ สามารถนำมาใช้ได้ในโอกาสต่อไป การเก็บข้อมูลต่างๆทำให้เราได้มองเห็นภาพรวมๆ ทำให้มีวิสัยทัศน์ครับ แท้จริงนี่คือกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์นั่นเอง
เด็กไทยสมัยนี้ไม่รู้ว่ายังได้ใช้หรือไม่แต่ผู้ใหญ่ไทยอย่างผมยังใช้อยู่บ้างตามอัตภาพ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 25 พ.ค. 03, 12:33
|
|
เด็กที่ตั้งใจเรียน เห็นประโยชน์ของการเรียน สร้างคุณภาพชีวิตให้ตัวเองได้ มีทุกยุคละค่ะ ไม่ว่าอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต อดีตเด็กเรียนที่กลายมาเป็นทีมวิชาการดอทคอม ก็ใช้หลักนี้กันทั้งนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 25 พ.ค. 03, 23:38
|
|
สุ จิ ปุ ลิ แปลว่า ฟัง คิด ถาม เขียน ครับ
สุต คือการฟังนั้น เพราะสมัยก่อนการถ่ายทอดวิชาหรือการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ผ่านการฟังเป็นหลัก เดี๋ยวนี้ต้องถือว่าทั้งการฟัง การอ่าน การดูทีวี การค้นในอินเตอร์เน็ต การรับข้อมูลทุกรูปแบบ อยู่ในข้อนี้ด้วย ไม่ใช่แปลว่าการฟังอย่างเดียวแล้ว ส่วนข้ออื่น จิ ปุ ลิ ก็อยู่ในคำอธิบายที่คุณ Paganina ว่ามาทั้งหมดแล้ว
ผมมีข้อสังเกตส่วนตัวข้อหนึ่ง คือ ในสมัยนี้ไอทีอาจจะเข้ามาช่วยได้แทบทุกอย่างใน 4 ข้อนี่ อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางให้เรารับรู้ข้อมูลได้มากขึ้น ช่วยเรื่องสุ รับรู้แล้ว เกิดสงสัย ก็ใช้ในการสื่อสารตั้งคำถามต่อได้ เช่นมาตั้งกระทู้ ช่วยข้อ ปุ แล้วก็ช่วยในการบันทึกผลการค้นคว้าเก็บระบบฐานข้อมูลได้ เรียกว่าช่วยข้อ ลิ
แต่ไอทีไม่สามารถแทนข้อ จิ ได้ครับ คนต้องคิดเอง ใคร่ครวญเอง จึงจะรู้เองและสามารถแตกยอดแขนงความคิดความรู้ต่อไปได้ และการคิดใคร่ครวญของผู้เรียนเองนั่นแหละที่จะเป็นตัวนำในการกำหนดแนวที่เราจะออกไปหาข้อมูลเพิ่มโดยสุตตะ ถามสิ่งที่ข้องใจโดย ปุจฉา และบันทึกเก็บไว้โดย ลิขิต ต่อไป
เขาจึงมีคำกล่าวในทางวิชาการจัดการสารสนเทศว่าด้วยซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และพีเพิ่ลแวร์ ฮาร์ดแวร์ก็ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเนื้อเป็นตัวเครื่อง ซอฟท์แวร์ก็ยังนับเป็นส่วนของเครื่อง แต่เป็นส่วนที่เครื่องใช้ "คิด" คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่งต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ (ขอถือโอกาสยืนยันตรงนี้ว่า ราชบัณฑิตยสถานไม่เคยแปลคำ 2 คำนี้ว่า "ละมุนภัณฑ์" และ "กระด้างภัณฑ์"ครับ เป็นแค่โจ๊ก ที่เล่าไปเล่ามาคนนึกว่าจริง)
แต่ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ถ้าไม่มีพีเพิ่ลแวร์ ก็ไม่มีประโยชน์อันใดครับ
มีโคลงโลกนิติบทหนึ่งที่พูดถึงหัวใจนักปราชญ์ 4 ข้อ ผมจำได้ไม่จบ ว่าดังนี้ (เชิญท่านที่จำได้จบช่วยผมด้วย)
น่าสังเกตว่า ในโคลงนั้นท่านเอาการคิดใคร่ครวญ หรือข้อ จิ ขึ้นก่อนเพื่อน
....เว้น "วิจารณ์" ว่างเว้น "สดับฟัง" เว้นที่ "ถาม" อันยัง ไป่รู้ เว้น "เล่าลิขิต" สัง- เกตว่าง เว้นแฮ (บาทที่สี่ จำไม่ได้ แต่มีความว่า ถ้าเว้นคุณลักษณะเหล่านี้แล้ว บุคคลจะเป็นปราชญ์หาได้ไม่)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิรันดร์
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 05 มิ.ย. 03, 16:44
|
|
....เว้น "วิจารณ์" ว่างเว้น ...........สดับฟัง" เว้นที่ "ถาม" อันยัง ...................ไป่รู้ เว้น "เล่าลิขิต" สัง- ...................เกตว่าง เว้นนา เว้นตั่งกล่าวว่าผู้........................ปราชญ์ฤามี
เท่าที่ผมสังเกตเด็กสมัยนี้เรียนหนังสือ เขาจะมีหัวใจกันอยู่ห้องเดียว เต้นอยู่เสียงเดียว ลิลิลิลิ ครับ ฟังไม่ค่อยฟัง แอบคุยอยู่เรื่อย คิดก็ไม่ค่อยคิด เวลาครูถามให้ตอบคำถามง่าย ๆ ก็ไม่ยอมตอบ ถามยิ่งไม่ถามใหญ่เลย เวลาเราถามว่าเข้าใจไหม ถ้าไม่เข้าใจตรงไหนถามมา จะอธิบายให้ก็ไม่มีใครยอมถาม จดลูกเดียว อะไรที่อยู่บนกระดานหรือแผ่นใสเป็น จดจดจดจด กลัวอย่างเดียว กลัวจะจดไม่ทัน ทั้งที่เป็นหัวใจห้องสุดท้าย
ยิ่งเป็นข้อความบนเน็ตยิ่งแล้วใหญ่ ไม่มีการลอก การจด ก็อปปี้ แปะกันเลย ไม่รู้ว่าได้อ่านบ้างหรือเปล่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|