ผมลองไปค้นคำว่า "เจษฎา" ได้ความมาดังนี้ครับ
ในคำสันสกฤต มีอยู่สองคำคือ
1.
สันสกฤต:
เชฺยษฺฐ [เทวนาครี: ज्येष्ठ; โรมัน: jyeshṭha] แปลว่า พี่ชายคนโต หรือ ผู้เป็นเลิศกว่าทุกคน ต่อมาคำนี้ก็เพี้ยนเป็นภาษาอื่นๆ ดังนี้ครับ
บาลี: เชฏฐ [โรมัน: Jeṭṭha] ;
ทมิฬ: เจฏฏนฺ [โรมัน: cēṭṭaṉ], เชฺยษฺฏนฺ [โรมัน: jyēṣṭaṉ]
ฮินดี: เชษฺฏ [जेष्ट ; jeshṭ], เชฐ [जेठ ; jeṭh], เชฐา [जेठा ; jeṭhā], เชฐฺรา [जेठरा ; jeṭhrā], เชษฺฐ [जेष्ठ ; jeshṭh]
ไทย: เชษฐา, เจษฎา ;
เขมร: ชีตา (รูปคำปริวรรต)
แต่มาเลย์เรียก abang

คำว่า อาบัง ก็คงมาจากภาษามาเลย์นี่เอง คือแปลว่า "พี่" ทำนองเดียวกับคำจีนว่า เจ็ก - เจ๊ก ซึ่งก็แปลว่าพี่เช่นกัน
2.
สันสกฤต:
เจษฺฏา [เทวนาครี: चेष्टा ; โรมัน: ćeshṭā] แปลว่า การขยับกาย, การประพฤติถ้าในความเห็นของผมนะครับ พระนามของรัชกาลที่ ๓ นี้ น่าจะมีต้นเค้ามาจากการที่พระองค์ทรงเป็นพระโอรสองค์แรก ของรัชกาลที่ ๒ จึงได้รับพระราชทานพระนามด้วยคำว่า "เจษฎา" ที่แปลว่า พี่ชายคนโต แต่อย่างไรก็ตาม คำว่าเจษฎานี้ ได้กลายเป็นภาษาไทยไปแล้ว ดังนั้น ถ้าจะแปลตามที่ อาจารย์เทาชมพูว่าไว้ก็ได้เช่นเดียวกันครับ
คำนี้ เป็นคำที่แปลกอยู่คำหนึ่ง เข้าใจว่า คำไทยคงเขียนขึ้นมาเสียงที่ได้ยินจากปากของพราหมณ์ที่ใช้ภาษาสันสกฤต
เสียง "ชฺย" ของสันสกฤต ไ้ด้เพี้ยนเป็น "จ" (ในภาษาทมิฬก็เช่นกัน จาก jy เป็น c)
ส่วน "ฐ" ของสันสกฤต ก็กลายเป็น "ฎ" (เลื่อนจาก "ฏ" อีกที)