เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 18071 สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน)--เครดิตแก่ผู้ใด?
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 04 เม.ย. 03, 14:59

 เจอแล้วครับที่ผมค้างไว้ที่
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 7  ตรงข้อ 3

ท่านชื่อ  วิวัฒน์  ประชาเรืองวิทย์  ท่านเป็นผู้อาวุโส มีอาชีพเป็นพ่อค้าแต่ก็เป็นบัณฑิตด้วย ท่านบอกว่าต้องการใช้ชีวิตบั้นปลายให้เป็นประโยชน์เลยแปลเอาไว้
สามก๊กฉบับที่ท่านแปลนี้ถือว่าสมบูรณ์มากเพราะได้แปลจากเล่มที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งรับรองและรวมทุกสิ่งเอาไว้ทั้งแปลกลอนและเชิงอรรถของกิมเสี่ยถ่างอีกทั้งท่านผู้แปลก็ได้หาความรู้เพิ่มเติมและอธิบายเป็นเชิงอรรถอีกชุดหนึ่งด้วย  อาจจะความสัยสนนิดนึงตรงที่ท่านใช้ชื่อเป็นภาษาแต้จิ๋วซึ่งเป็นพื้นเพเดิมของท่านในขณที่ฉบับบเจ้าพระยาพระคลังใช่สำเนียงปนกันแต่จะมีฮกเกี้ยนเป็นส่วนหลัก

น่าอ่านครับ  ผมยังไม่มีเวลาอ่านจริงๆเลยเพราะมีภารกิจอันสำคัญต้องทำขณะนี้  แต่ผมว่าชุดนี้น่าซื้อเก็บไว้ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 07 เม.ย. 03, 11:24

 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  เขียนเรื่องเกี่ยวกับสามก๊กไว้อีกเรื่องหนึ่งคือ  โจโฉ นายกตลอดกาล   เข้าใจว่าท่านล้อเลียน จอมพล ป.

ดิฉันรวบรวมการวิเคราะห์สามก๊กมาให้อ่านค่ะ

สมพันธุ์ เลขะพันธุ์  ให้ความเห็นไว้ใน วรรณกรรมรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ว่า เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ใช้วิธีแปลแบบที่เรียกว่า" การถอดความ"  และสรุปผลสำเร็จของการแปลเรื่องนี้ว่า
   วิธีถอดความ( paraphase) คือ ใช้ล่ามแปลจากภาษาจีนเป็นใจความภาษาไทย แล้วกวีเรียบเรียงให้เป็นสำนวนประพันธ์ที่ไพเราะ  การถอดความวิธีนี้จึงได้ทั้งความและรสพร้อมๆกัน  
ผู้อ่านจะไม่เกิดความรู้สึกว่ากำลังอ่านเรื่องแปล  เพราะมีการถ่ายทอดถึง ๒ ชั้น  ในชั้นสุดท้ายที่เป็นงานของกวีนั้น  กวีย่อมจะใช้วิจารณญาณใคร่ครวญเลือกสรรใจความ  ตัดข้อความที่ไม่เหมาะสม  ไม่สอดคล้องกับประเพณี   และศีลธรรมของไทยออก
 เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ผู้อำนวยการแปลพงศาวดารจีนในครั้งนั้นได้ใช้วิธีถ่ายทอดแบบถอดความนี้  
ประกอบกับเจ้าพระยาพระคลังและผู้ร่วมงานของท่านมีความรู้ในวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมทั้งในราชสำนักและสังคมไทยเป็นอย่างดี  
งานแปลครั้งนั้นจึงประสบความสำเร็จ ไม่มีร่องรอยของวัฒนธรรมจีนหลงเหลืออยู่

    ข้อน่าสังเกตประการหนึ่งจากการถอดความแบบนี้ก็คือ  เมื่อเจ้าพระยาพระคลัง (หน ) และบรรดากวีผู้มุ่งจะแปลให้สอดคล้องกับความเข้าใจของคนไทย  
บางครั้งต้องเปลี่ยนศัพท์จีนบางคำให้เป็นศัพท์ที่เข้าใจง่ายของคนไทย เช่น เปลี่ยนดอกท้อเป็นดอกยี่โถ  เพราะคนไทยรู้จักต้นยี่โถมากกว่าต้นท้อ  
เนื้อความบางอย่างถูกตัดออกไป เมื่อไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและค่านิยมของคนไทย  เช่น การบรรยายเรื่องรับประทานอาหาร
วัฒนธรรมจีนถือว่าต้องรับประทานเสียงดัง เพื่อแสดงว่าชื่นชมรสอาหารและแสดงคารวะต่อเจ้าของบ้าน   แต่วัฒนธรรมไทยถือว่าการรับประทานอาหารให้มีเสียงดังคือไม่มีมารยาท  จึงต้องตัดตอนออกไป

สังข์  พัทโนทัย ห็นว่า
     
สามก๊ก เป็นหนังสือเรื่องยาว  เพียงแต่ตรวจแก้สำนวนโวหารอย่างเดียวก็คงจะต้องใช้เวลาหลายปี  ยิ่งมีราชการงานเมืองมากก็ยิ่งเมื่อยล้ายิ่งขึ้น   เท่าที่แปลกันจนสำเร็จบริบูรณ์ได้นั้น ควรนับว่าเป็นความวิริยะอุตสาหะที่มีค่ามาก  
และจะต้องมีผู้ทรงอำนาจในราชการ  ซึ่งมองเห็นความสำคัญของเรื่องสามก๊กเป็นกำลังสนับสนุนอย่างแข็งขัน  อันเป็นสิ่งที่ควรได้รับความขอบใจจากคนชั้นหลังมิใช่น้อย

ส่วนเรื่องการแปลศัพท์และการออกเสียงภาษาจีนในเรื่องนี้  สังข์ตั้งข้อสังเกตว่า

" จีนฮกเกี้ยนคงจะทำหน้าที่บรรณาธิการ  เพราะชื่อบุคคลและสถานที่ต่างๆที่ถอดเสียงจากอักษรจีนออกมา ล้วนเป็นเสียงจีนฮกเกี้ยนเป็นส่วนใหญ่  นอกจากนั้นคงจะมีจีนแต้จิ๋ว แคะ กวางตุ้งและไหหลำ เป็นคณะบรรณาธิการในการแปลด้วย  
                                                           
    สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า สามก๊ก เป็นเรื่องที่แปลขึ้นไว้   “ เพื่อประโยชน์ราชการบ้านเมือง” เพราะฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าเน้นหนักทางด้านกลอุบายสงคราม  
ภาษาที่ใช้ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการอธิบายเนื้อความเหล่านี้มากกว่าอย่างอื่น  ไม่เน้นที่ความงามทางภาษา เช่นการพรรณนาธรรมชาติ  ความงามของสตรี หรือความไพเราะของบทร้อยกรองที่แทรกอยู่  
บทกวีนิพนธ์เป็นจำนวนมากในฉบับภาษาจีนถูกตัดออกเกือบหมด  เหลือไว้แต่ บทที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกับเนื้อเรื่องร้อยแก้วจนไม่สามารถตัดออกได้  แม้แต่บทกวีของโจสิดลูกโจโฉ ซึ่งเป็นที่เลื่องลือกันมาก  ก็กล่าวไว้  เพียงสั้นๆ

    ต่อมานักประพันธ์บางคนได้นำมาขยายความให้เห็นรายละเอียดทางด้านวรรณศิลป์ที่ขาดหายไป  เห็นได้ชัดที่สุดใน สามก๊ก ฉบับวณิพก ของ "ยาขอบ" ซึ่งขยายความรายละเอียดตอนโจสิดไว้ใน "โจสิด - ผู้ร่ายโศลกเอาชีวิตรอด "
    ถึงแม้ว่าตัดวรรณศิลป์ในฉบับภาษาจีนออกไปมาก  แต่วรรณศิลป์ไทยก็ยังมีอยู่สูงในการใช้ภาษาร้อยแก้วที่รัดกุมและกระจ่าง  เป็นที่เข้าใจของคนอ่านแม้ต้องอธิบายเรื่องซับซ้อน  เช่น กลอุบายในการทำสงคราม  จนนำมาเป็นข้อคิดในการทำสงครามได้  ไม่เฉพาะแต่สงครามในเรื่องนี้เท่านั้น  เช่น
    -    การศึกจะดีด้วยคนมากนั้นหาไม่  สุดแต่นายทัพดีมีปัญญาแล้ว  ถึงน้อยก็_ชนะมาก
    -    แม่ทัพนายกองผู้ทำสงครามจะยกไปตีเขา  อย่าให้เขาทันรู้ตัวจึงจะมีชัย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 07 เม.ย. 03, 11:27

 สามก๊ก ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง  เป็นที่เอ่ยอ้างในวรรณคดีไทยต่อมาในรัชกาลที่ ๒   คือในพระราชนิพนธ์บทละครนอกเรื่อง คาวี  ในตอนหนึ่งว่า      
          เมื่อนั้น..........................ไวยทัตหุนหันไม่ทันตรึก
    อวดรู้อวดหลักฮักฮึก.............ข้าเคยรบพบศึกมาหลายยก
    จะเข้าออกยอกย้อนผ่อนปรน........ เล่ห์กลเรานี้อย่าวิตก
    ทั้ง พิไชยสงคราม  สามก๊ก..........ได้เรียนไว้ในอกสารพัด

    นอกจากนี้  สามก๊ก ยังเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดสามก๊กฉบับต่างๆ ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองอีกมากมาย   มีฉบับร้อยแก้ว ๓๐ เรื่อง  ฉบับร้อยกรอง ๔ เรื่อง  รวมบทละครเรื่อง สามก๊ก ไม่ปรากฏนามผู้ประพันธ์เป็นหนังสือ ๑๐ เล่มสมุดไทย  ยังไม่ได้พิมพ์  

นอกจากนี้ยังมีผู้นำเอาเนื้อเรื่องบางตอนใน สามก๊ก มาประพันธ์เป็นบทขับร้องหลายตอน  ตอนที่นิยมกันมากคือ  ตอน ่ จิวยี่รากเลือด ่ และยังมีบทมโหรี ่ ตับจูล่ง ่ อีกด้วย
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 07 เม.ย. 03, 13:15

 อ่านเพลินไปเลยค่ะ  ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมให้ความรู้ด้วยนะคะ  เคยอ่านนานมาแล้วจนจำไม่ได้  ได้มาอ่านกระทู้นี้ก็จำได้เลาๆ  แต่ก็คงไม่สามารถร่วมออกความเห็นกระไรได้  ได้แต่มาทักทายด้วยความคิดถึงถึงคุณเทาชมพูและทุกท่าน  ขออ่านอยู่วงนอกก็แล้วกันนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 07 เม.ย. 03, 15:38

มาทักทายคุณพวงร้อยค่ะ  ไม่ได้คุยกันนานแล้ว
สถานการณ์ในประเทศเป็นยังไงบ้างคะ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 07 เม.ย. 03, 20:03

 ขอบคุณคุณเทาชมพูที่ให้ข้อมูลเพิ่มอีกครับ มานึกดูแล้ว วิธีการแปลที่ว่าทำให้ขาดรายละเอียดไปพอสมควร  แต่ก็ถูกทดแทนด้วยสำนวนร้อยแก้วที่ยอดเยี่ยม และอรรถรสยังอยู่ครบ
ตอนนี้ผมแย่แล้วครับเพราะติดสามก๊กยังกะติดยาบ้า  ผมไปเอามาอ่านจนได้ครับฉบับแปลสมบูรณ์ของ  ท่านวิวัฒน์  ประชาเรืองวิทย์  อ่านไปได้หลายบทแล้วครับรู้สึกว่าขอบคุณท่านเหลือหลายเพราะว่าฉบับที่ท่านแปลนี้มีคำวิจารณ์ของ  จินเซิ่งทั่น (กิมเสี่ยถ่าง)  บอกกับคำวิจารณ์ของผู้แปลเองทำให้รู้สึกเหมือนอ่านไปแล้วมีเหื่อนมาถกเถียงอภิปรายกันเลยครับ  และได้พบกับมุมมองใหม่ๆหลายประการ  ว่างๆจะพิมพ์มาแลกเปลี่ยนกันนะครับ (ท่าแปลคนเดียวเป็นเวลา 5-6 ปี มีท่านทองแถม นาถจำนงช่วยเป็น  บก.ให้)

คุณพวงร้อยครับ  ลองอ่านเวอร์ชันอิเล็กทรอนิกส์ดูสิครับ   download ฟรีที่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการครับ  ผมเคยอ่านหลายบทอยู่  แปลกตรงที่เขาเอามาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ปัจจุบันด้วย ก็สนุกไปอีกแบบครับ
www.manager.co.th

ผมยังคิดเล่นๆเลยว่าว่างๆจะเอาฉบับแปลสามก๊กแต่ละเวอร์ชันมาอ่านไปหร้อมๆกันบทต่อบท  จะได้รู้ว่าท่าวเจ้าพระยาพระคลังข้ามตรงไหนและท่านแปลอย่างสละสลวยได้อย่างไร  งมงายจริงๆตัวเรา
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 08 เม.ย. 03, 06:10

 ขอบคุณในความกรุณาค่ะ คุณเทาชมพู  สุขภาพเป็นอย่างไรบ้างคะ  หวังว่าคงดีขึ้นมากแล้วนะคะ  สำหรับคนทั่วไปก็ไม่ค่อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่หรอกค่ะ  ดิฉันเองบอกตรงๆก็ไม่ค่อยได้ติดตามสถานการณ์เท่าไรนักค่ะ

คุณpaganini ขอบคุณที่บอกค่ะ  แต่เห็นจะอดใจไม่อ่านตอนนี้ดีกว่า  เดี๋ยวจะติดเหมือนคุณไปซะอีกคน ฮิๆๆ  คืดคิดว่าถ้าจะอ่านก็คงรอให้ได้ทุกๆเวอร์ชั่นแล้วจะได้มาเทียบกันค่ะ  และอีกอย่างหาเวลาอ่านอะไรนานๆไม่ค่อยได้เลยค่ะ พักนี้ยุ่งมากๆเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง