เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 8405 เรื่องของ "หอวัง"
ลุงแก่
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 27 ต.ค. 00, 12:00

จากกระทู้ H631191 วันที่ ๔ กรกฏาคม ในห้องสมุดของพันทิบ มีการตั้งคำถามถึงที่มาของโรงเรียน
มัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยอันเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาปัจจุบันและก็มีศษย์เก่าและ
ศิษย์ปัจจุบันมากมายมาร่วมแสดงความคิดเห็น วันนี้ลุงแก่จะขอเสนอเรื่องจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
สมัยยังตั้งอยู่ที่หอวัง อันเป็นข้อเขียนของท่าน ศาสตราจารย์ คุณหญิง ผะอบ โปษะกฤษณะ ที่ท่านได้
เขียนลงไว้ให้ในหนังสือ ๒๓ ตุลา ของปี ๒๕๒๐ ดังนี้

"... ในเมื่อข้าพเจ้าเข้าเป็นนิสิตนั้นเป็นเวลา ๕๐ ปีมาแล้วพอดี คือปี ๒๔๗๑ (นับถึงปัจจุบันก็ได้ ๗๒ ปี
 - ลุงแก่) พวกเราชาวจุฬาฯ ถือเป็นประเพณีอย่างหนึ่งว่าจะต้องจัดทำทุกปี เพื่อแสดงความมีน้ำหนึ่ง
ใจเดียวกัน ... งานรื่นเริงประจำปีนี้ เป็นงานที่นิสิตทุกคนร่วมมือร่วมใจกันจัดขึ้นที่สนามหอวัง คือที่เป็น
สนามกีฬาแห่งชาติในปัจจุบัน เมื่อก่อนนั้น ที่สนามกีฬาแห่งชาติยังเป็นสถานศึกษาของคณะอักษรศาสตร์
และวิทยาศาสตร์ของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เป็นตึกทรงโบราณสีเหลืองคร่ำ มีลานหินหน้าตึกกว้าง
เป็นรูปครึ่งวงกลม เกือบจะพอเล่นเนตบอลได้ ลงจากลานจะมีบันไดเป็นรูปเดียวกับลานประมาณ ๑๒ ขั้น
ถ้าจำไม่ผิด (เพราะผู้เขียนเคยวิ่งตกบันไดมาแล้ว) ต่อจากตึกจะเป็นถนนโรยกรวดออกสู่ถนนใหญ่ สองข้าง
ทางมีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น ต้นอะไรจำไม่ได้ถนัด แต่ดูเหมือนจะเป็นมะฮอกกะนี สองข้างถนนเป็นลานดิน
มีหญ้าขึ้นบ้าง เป็นที่ที่นิสิตเล่นฟุตบอล และเมื่อมีงานก็กลายเป็นสถานที่ต่างๆ ตามประสงค์โดยเฉพาะ
เวลามีงานประจำปีก็จัดเป็นเวทีละคร และที่สำหรับแขกรับเชิญ

ตึกที่กล่าวถึงนี้ (ตึกนี้เป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่สมเด็จพระบรม
โอรสาธิราช เจ้าฟ้าวฃิรุณหิศ ที่เรียกกันว่าวังพญาไทหรือวังฝรั่ง - ลุงกแก่) ชั้นล่างเป็นสำนักงานอย่างที่
เรียกกันสมัยนี้ว่า สำนักงานคณบดีและเป็นห้องพักของคณะบดี อาจารย์ชาวไทย ชาวต่างประเทศ ชั้นบน
เป็นห้องปฎิบัติการทางฟิสิคส์ เคมีฯ และชั้นบนสุดเป็นที่ทำงานของกรมวิทยาศาสตร์ ส่วนที่เรียนวิชา
อื่นๆนั้น คือพื้นซีเมนต์ชั้นล่างไม่มีฝากั้น(โล่งตลอด) ใต้เรือนไม้สีเขียวซึ่งเป็นหอพักของนิสิตชาย
หรือที่เรียกกันว่าหอวัง ถ้าจะพูดกันภาษาชาวบ้านก็ว่าใต้ถุนหอพัก ตั้งโต๊ะยาวไปเท่ากับตัวเรือนไม้ จุโต๊ะ
เรียนได้ประมาณ ๒๐๐ โต๊ะ เป็นห้องเรียนรวมของนิสิตคณะต่งๆ ที่มาเรียนวิชาปีหนึ่งและปีที่สองรวมกัน
(เฉพาะวิชาที่เรียนรวมกันได้) เช่น วิชาภาษาอังกฤษเป็นต้น บางวิชาก็มี ๒ คณะหรือ ๓ คณะ แล้วแต่คณะใด
ต้องการสายวิชานั้น ถ้าจะเทียบกับปัจจุบันก็คือวิชาพื้นฐาน คณะใดรวมกันได้ในวิชาใดก็เรียนรวมกันเช่น
ฟิสิคส์ เคมี ก็จะมีนิสิตคณะเตรียมแพทย์ศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ถ้าวิชาคณิตศาสตร์
ก็จะมีคณะอักษรศาสตร์ที่สมัครเรียนคณิตศาสตร์รวมด้วย เมื่อจบปี ๒ แล้วก็แยกย้ายกันไป ส่วนที่ตึก
จุฬาลงกรณฯเดี๋ยวนี้(ตึกบัญชาการหรือตึก ๑ ของคณะอักษรศาสตร์ในปัจจุบัน - ลุงแก่)นั้น ยังมีตึก
อักษรศาสตร์ปัจจุบันเพียงตึกเดียวเป็นสำนักงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์และรัฐศาสตร์ นิสิตต้องพัก
อยู่อีกหอหนึ่ง เรียกว่าหอใหม่ (อยู่หลังตึกสำนักงานเลขาธิการปัจจุบัน)" (ปัจจุบันสถานที่นี้จะเป็นอะไร
ลุงแก่ก็ไม่อาจทราบได้ เพราะไม่ได้ไปสัมผัสมานานมากแล้ว)

ที่นำเรื่องของหอวังนี้มากล่าวถึงก็เพียงอยากให้ทราบถึงประวัติการก่อตั้งในเบื้องต้นของจุฬาฯ ที่นอก
เหนือจากการที่เราทราบกันเพียงว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาจุฬาฯ ขึ้น ยังมี
บันทึกที่กล่าวถึงเรื่องของหอวังนี้อีก แต่ขณะนี้หนังสือนั้นอยู่ไกลตัวจึงไม่อาจนำมาเสนอได้ในขณะนี้

สำหรับโรงเรียนหอวัง(ที่เป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาปัจจุบัน) หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อตีตผู้บุกเบิก
และก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาท่านหนึ่งได้เคยกล่าวถึงไว้ว่าได้รับโอนมาจากโรงเรียนวัดหัวลำโพง
จากกระทรวงธรรมการ เพื่อมาใช้เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยมของคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
สมัยที่คณะครุศาสตร์ยังเป็นแผนกครุศาสตร์อยู่ และท่านถือว่าโรงเรียนหอวังนี้นับเป็นโรงเรียนสาธิตฯ
แห่งแรกของไทยด้วย และได้เปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในภายหลังโดยมีวัตถุประสงค์ในการ
เตรียมความพร้อมของนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่จุฬาฯต่อไป

ขอส่งท้ายอีกนิดว่าคำว่า "นิสิต" นี้ เมื่อก่อนเข้าใจกันว่าหมายถึงเฉพาะนักศึกษาที่ทางมหาวิทยาลัยจัดให้
มีหอพักอยู่ภายในมหาวิทยาลัยด้วยเช่นจุฬาฯ หรือเกษตรศาสตร์ ส่วนทีไม่มีหอพักนั้นเรียกว่า"นักศึกษา"
อย่างของธรรมศาสตร์นั้น เรื่องนี้ไม่เป็นเช่นนั้น คำว่า"นิสิต หรือ นิสสิต" นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏ
เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงแปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Matriculated Student" ดังที่ปรากฏ
อยู่ในระเบียบการทั่วไปแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ดังมีข้อความนี้

 "นิสิต(Matriculated Student) นับเอาจำพวกที่สอบได้ประโยคมัธยมบริบูรณ์(คือมัธยมปีที่ ๘)แล้ว
เข้าเป็นนักเรียนชั้นสูงซึ่งเรียนตามหลักสูตร เพื่อจะสอบวิชาเป็นบัณฑิต(Graduate)ของสำนัก"

 ท่านใดเห็นว่าขาดตกบกพร่องอย่างไรก็ช่วยเสนอแนะด้วยก็แล้วกัน แก่แล้วความจำมันเริ่มเสื่อมน่ะ
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 14 ต.ค. 00, 00:00

- มีอีกคำหนึ่งที่ผมไม่เคยได้ยินมาก่อนคือ "แขวงวังใหม่"
ผมเห็นคำนี้ตอนที่รุ่นน้องที่กำลังเรียนอยู่ที่จุฬาฯตอนนี้คนหนึ่ง ส่งบทความทางวิชาการที่เขาเขียนมาให้ผมอ่านเมื่อเร็วๆนี้ เขาเขียนที่อยู่ว่า "...จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แขวงวังใหม่ พญาไท กรุงเทพ 10330" ... ผมเคยเรียนอยู่แถวๆนั้นอยู่หลายปี ก็ไม่เคยใส่ว่า"แขวงวังใหม่"ตอนเขียนที่อยู่ของสถาบันเลย และก็ไม่เคยได้ยินมาก่อนด้วยว่าแถวนั้นเข้าเรียก"แขวงวังใหม่" เพิ่งจะได้ยินครั้งนั้นเป็นครั้งแรกนี่แหละครับ... ทำไมจึงเรียกแถวนั้นว่า "วังใหม่" ครับ?
 
- พูดถึงคำว่า "นิสิต" ...แล้วคุณลุงแก่ยกประโยคจากราชกิจจานุเบกษาส่วนนั้นมา ประโยคนั้นผมเข้าใจว่าหมายความว่า ผู้ที่จะเป็นนิสิตได้นั้นต้องเป็นผู้ที่สอบได้ประโยคมัธยมบริบูรณ์ ฯลฯ อันนี้เป็นเพียงคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นนิสิตได้ในทางกฎระเบียบ เหมือนกับมีกฎเกณฑ์ว่าผู้ที่จะมีสิทธิ์เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐได้ต้องเป็นผู้ที่ ๑. อายุไม่เกินเท่านั้นเท่านี้ ฯลฯ (matriculate = รับเข้าเป็นนักศึกษา, รับเข้าสมาคม) แต่ประโยคนั้นไม่ได้เป็นการนิยามคำว่า "นิสิต" และก็ไม่ได้บ่งถึงความแตกต่างระหว่างคำว่านิสิตกับคำว่านักศึกษาในแง่ต่างๆอื่นๆนะครับ
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 14 ต.ค. 00, 00:00

รูปหอวัง (วังของสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ) ซึ่งต่อมาใช้เป็นตึกคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐



( ภาพจาก http://www.sc.chula.ac.th/thai/about/history' target='_blank'>http://www.sc.chula.ac.th/thai/about/history )
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/reurnthai114x2.jpg'>
บันทึกการเข้า
ลุงแก่
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 14 ต.ค. 00, 00:00

เรื่องของแขวงวังใหม่ เคยพบอยู่แตไม่ได้ให้ตวามสนใจ
แต่คราวนี้ต้องขอไปค้นก่อนครับ
คำว่า นิสิต นั้น ผมก็ลอกมาจากระเบียบการที่กล่าวถึง
ยุคสมัยเปลี่ยนไป ทุกสิ่งก็เปลี่ยนไป มันเป็นอนิจจังน่ะครับ
ผมขอรบกวนคุณอินทาเนียหน่อย สงสัยอยู่เหมือนกันว่า
"อินทาเนีย" แปลว่าอะไร มีที่มาจากไหน และทำไม"ต้องไว้ลายอินทาเนีย" ?
บันทึกการเข้า
GSX
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 ต.ค. 00, 00:00

คล้ายๆengineerมั้งผมว่า
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 ต.ค. 00, 00:00

คำว่า "Intania" ไม่มีความหมายในเชิงภาษาครับ แต่เป็นคำที่พวกวิศวกรจุฬาฯสมัยก่อนคิดขึ้นมาใช้หมายถึง "Engineer(s)" ต่อมาก็มีสถาบันอื่นๆนำคำนี้ไปใช้ด้วยเหมือนกัน อย่างเช่นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ... บางมหาวิทยาลัยก็ใช้ว่า "Entania" ครับ

ผมชอบคำว่า "Intania" มาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ระดับมัธยมปลาย เมื่อตอนสมัยที่ผมเรียนอยู่ระดับปริญญาตรีเลยใช้ "INTANIA" เป็นนามแฝงตอนเล่น IRC และก็เอามาใช้เป็น login name ของ Hotmail account ของผมในตอนนี้ด้วยครับ

แต่ "อินทาเนีย" ที่ผมใช้อยู่นี้ ไม้ได้บ่งบอกว่าผมมาจากหรือสังกัดสถาบันไหนหรอกนะครับ แต่ใช้ในฐานะที่เป็น "intania" (engineer) คนหนึ่งเท่านั้นเองครับ :-)
บันทึกการเข้า
วีณาแกว่งไกว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 ต.ค. 00, 00:00

เพิ่งไปเขียนตอบกระทู้เรื่องคำว่า "นิสิต" ที่ PANTIP มาเมื่อกี้นี้...



http://pantip.inet.co.th/cafe/library/topic/K708193.html#17' target='_blank'>http://pantip.inet.co.th/cafe/library/topic/K708193.html#17
บันทึกการเข้า
วีณาแกว่งไกว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 ต.ค. 00, 00:00

ขออนุญาตแถมกระทู้เรื่อง "สิริกิติ์" http://pantip.inet.co.th/cafe/library/topic/K706279.html#12' target='_blank'>http://pantip.inet.co.th/cafe/library/topic/K706279.html#12 ด้วย
บันทึกการเข้า
นานๆมาที แต่ต่อไปคงจะมาบ่อยๆ(แฟน 2499)
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 15 ต.ค. 00, 00:00

Pantip ช้าจัง สงสัยคนใช้เยอะ
แหะๆ ลองคัดลอกมาให้อ่านตรงนี้เลยได้ไม๊ครับ
บันทึกการเข้า
ลุงแก่
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 ต.ค. 00, 00:00

จุฬาฯ รุ่นคุณยายคนหนึ่งบอกผมว่า Intania มีที่มาจากพวกการเรียกพวก
นักเดินเรือสมัยก่อน ที่เข้ามาในประเทศไทย ประเภทพวกช่างกลเรือน่ะ
แล้วพวกทหารเรือไทยสมัยต้นๆ นำคำนี้มาใช้กัน แล้วก็นำมาใช้ในมหาวิทยาลัย
ก็ที่ วิศวะ จุฬาฯ เป็นแห่งแรก
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 16 ต.ค. 00, 00:00

กระแสหนึ่งที่ผมเคยได้ยินมาก็อย่างที่คุณลุงแก่ว่าไว้ครับ

อีกกระแสหนึ่งก็บอกว่า "Intania" เป็นคำภาษาละตินแปลว่าวิศวกร แต่พอผมถามคนที่เรียนเอกภาษาละตินดู เขาก็บอกว่าไม่เคยได้ยินศัพท์คำนี้ แล้วผมได้เคยเปิดพจนานุกรมภาษาละติน (ภาษากรีก ภาษาเยอรมัน และก็ภาษาฝรั่งเศสด้วย) ก็ไม่พบคำนี้

แต่ที่แน่ ๆ ในบรรดาพวกวิศวกรแล้ว มีใช้ที่จุฬาฯเป็นแห่งแรกครับ
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 16 ต.ค. 00, 00:00

เสริม : พวกที่เรียนหมอจุฬาฯเขาเรียกตัวเองว่า "อินเดียน" ... ทราบไหมครับว่ามีที่มาอย่างไร? *_^
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 ต.ค. 00, 00:00

ป.ล. : รอฟังเรื่อง "วังใหม่" จากคุณลุงแก่อยู่ครับ :-)
บันทึกการเข้า
วศ. 38
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 17 ต.ค. 00, 00:00

เคยได้ยินมาว่า คำว่า Intania เป็นคำที่เพี้ยนมาจาก Engineer เหมือนคำว่าราชปะแตน ที่เพี้ยนมาจากคำว่า Raj Pattern เพราะว่าคนไหยเมื่อก่อนออกเสียงภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้  ส่วนที่คุณลุงแก่นำมาเล่าสู่กันฟังความคิดเห็นข้อ 9 น่าจะใช้เรียกวิศวกรประจำเรือที่เดินทางมากด้วยกับเรือน่ะครับ
บันทึกการเข้า
intania69
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 17 ต.ค. 00, 00:00

น่านสิ อยากรู้เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 17 คำสั่ง