เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5510 พระราชพิธีเสี่ยงทาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 21 ก.พ. 03, 14:42

 เรื่องการเสี่่ยงทาย เป็นความเชื่อของคนไทยเวลาเผชิญปัญหาใหญ่บางอย่างที่ต้องใช้เวลาถึงจะรู้ผล
ระหว่างที่รอด้วยความกระวนกระวาย   คนที่เกี่ยวข้องก็มักใช้วิธีเสี่ยงทาย เพื่อให้รู้ผลล่วงหน้า

วรรณคดีไทยบันทึกความเชื่อข้อนี้เอาไว้ในหลายเรื่องด้วยกัน
ในลิลิตพระลอ  เมื่อพระลอออกจากเมืองจะไปหานางเพื่อนนางแพง  ตามแรงเสน่ห์ที่ถูกกระทำ  
รู้ตัวไปแล้วจะอันตรายมาก ไม่แน่ว่าจะรอดกลับมาได้หรือไม่ เพราะเมืองทั้งสองเป็นศัตรูกัน จึง"เสี่ยงน้ำ" คือเสี่ยงทายกับแม่น้ำกาหลง  ดูว่าจะไปคราวนี้ดีหรือร้าย
ผลคือแม่น้ำไหลวนเป็นสีเลือดตรงหน้า ก็รู้แน่ว่าจะไปตาย
แต่ด้วยขัตติยมานะ( และฤทธิ์เสน่ห์ยังแรงอยู่) ก็ตัดสินใจมุ่งหน้าแทนที่จะกลับบ้าน
ผลคือไปตายจริงๆ

ในขุนช้างขุนแผน   ตอนพลายแก้วไปทัพ  ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายไม่รู้จะรอดกลับมาไหม พลายแก้วหรือขุนแผนก็ไปปลูกต้นโพธิ์เสี่ยงทายไว้ให้นางพิม
คือถ้าต้นไม้ยังงอกงามเติบโตดี แปลว่าไม่มีอันตราย  ถ้าเหี่ยวเฉาตายแปลว่าเจ้าของไปตาย
ขุนช้างก็แอบให้คนเอาน้ำร้อนไปรดต้นไม้เสียจนตาย  หลอกนางพิม และนางศรีประจันต์แม่นางพิม
เป็นส่วนหนึ่งของอุบายชิงนางพิมมาเป็นเมีย

ในอิเหนา  มะเดหวีเมืองดาหา ตัดสินใจไม่ถูกว่าบุษบาควรได้กับอิเหนาหรือจรกา
ก็ไปขอเสี่ยงทายกับพระประธานในโบสถ์   คือตอนบุษบาเสี่ยงเทียน
คือจุดเทียน ๒ เล่มแทนตัวอิเหนากับจรกา   ถ้าได้ข้างไหนก็ขอให้เทียนด้านนั้นสว่างดี  ข้างไม่ได้ก็ดับไป
อิเหนาเลยใช้อุบายไปต้อนค้างคาวในวิหารให้บินพึ่บพั่บ เทียนดับ

ในพระราชพงศาวดาร  เล่ากันมาว่า
ตอนที่พระเธียรราชากับขุนพิเรนทรเทพคิดกำจัดขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์
ก็ไปเสี่ยงทายหน้าพระพุทธรูปเช่นกัน ด้วยการจุดเทียนของขุนวรวงศาฯ และเทียนของพระเธียรราชาคู่กัน ว่าใครจะดับก่อน
ตอนนั้น พระเธียรราชาท้อใจว่าแผนน่าจะไม่สำเร็จเสียแล้ว
ขุนพิเรนทรฯคายชานหมากออกมา ขว้างไป เผอิญไปถูกเทียนขุนวรวงศาดับ
หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะเจ้าตัวขว้างแม่นจริงๆ
อย่างไรก็ตาม  พอเทียนดับก็เกิดฮึกเหิมว่าเสี่ยงทาย ผลออกมาแล้วศัตรูแพ้แน่
ก็ลงมือตามแผน  ดักจับตัวและประหารขุนวรวงศาได้ในที่สุด

(แล้วจะมาเล่าต่อถึงพระราชพิธีเสี่ยงทายโดยแทงพระธรรมบทค่ะ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 25 ก.พ. 03, 11:44

ในรัชกาลทีี่ ๑  เป็นยุคสมัยที่ไทยต้องทำศึกกับพม่าเกือบไม่ว่างเว้นตลอดรัชกาล    สองครั้งในจำนวนนี้เป็นศึกเมืองทวาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพม่า
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐ และพ.ศ. ๒๓๓๖
ศึกครั้งหลังเกิดจาก พระยาทวายแปรพักตร์จากพม่ามาสวามิภักดิ์ต่อไทย
เมื่อพม่าได้ข่าวก็ยกทัพมาปราบทวาย  ขณะนั้นไทยรักษาเมืองอยู่เพราะถือว่าทวายเป็นของไทยแล้ว
กองทัพไทยของเจ้าพระยารัตนาพิพิธกับเจ้าพระยามหาเสนา ได้ข่าวศึกพม่าจึงยกไปสมทบเพื่อช่วยทวายทำศึกกับพม่า

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงปริวิตกเรื่องนี้  ไม่แน่ว่าไทยจะได้ชัยชนะหรือแพ้ต่อพม่า  จึงโปรดเกล้าฯให้ประกอบพระราชพิธี "เสี่ยงทายโดยแทงพระธรรมบท"
พิธีนี้ได้กระทำหลายครั้ง   เข้าใจว่าในระยะเดียวกัน
พิธีนี้กระทำโดยอาศัยพระธรรมบท  ซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญของพระสุตตันไตรปิฎก  หมวดขุททกนิกาย
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงเป็นประธานในพิธี  ทรงตั้งสัจจาธิษฐาน   แล้วทรงแทงไปที่ผูกต่างๆของคัมภีร์พระธรรมบท
แต่ละผูกต่างๆก็กล่าวถึงบุคคลสมัยพุทธกาล  เล่าเป็นเรื่องเอาไว้
ถือว่าถ้าทรงเลือกได้เรื่องดี  การทำนายก็จะได้ดี
ถ้าหากว่าทรงเลือกได้เรื่องร้าย  การทำนายก็จะร้าย
เช่น
" ถ้าอ้ายพม่าจะได้เมืองทวาย  ขอให้ถูกที่ชั่ว   ถ้ามันไม่ได้เมืองทวาย  และมันจะแพ้ทัพไทย  ขอให้ได้ดีที่สุด"
ผลการเสี่ยงทาย  ว่าพม่าจะแพ้หรือไม่แพ้   ทรงแทงได้เรื่องพระชาณุโกณฑัญญเถระ
มีเนื้อความว่าพระอรหันต์ชาณุโกณฑัญญะ นั่งเข้าฌานอยู่    กลุ่มโจร๕๐๐ คนเข้าใจว่าร่างท่านเป็นตอไม้  ถึงนำห่อทองที่ปล่้นมาได้มาวางบนศีรษะท่าน    พระเถระได้เทศนาโปรดกลุ่มโจร จนกลับใจแล้วเลื่อมใส  พากันออกบวชในพุทธศาสนา

ในศึกทวายครั้งนี้  ทัพไทยเผชิญศึกกระหนาบสองด้าน คือนอกจากทัพพม่าที่ต้องรบกันเป็นศึกใหญ่นอกเมืองแล้ว
ในเมืองทวาย ชาวเมืองเกิดเปลี่ยนใจอีกครั้งหันกลับไปเข้าข้างพม่า   ฆ่าฟันทหารไทยที่รักษาเมือง เพื่อจะช่วยพม่า
นอกจากนี้พระยาอภัยรณฤทธิ์ แม่ทัพไทยที่รักษาค่ายนอกเมือง ตัดสินใจผิดพลาด
เมื่อเห็นทัพเจ้าพระยารัตนาพิพิธกับเจ้าพระยามหาเสนาเพลี่ยงพล้ำถูกพม่ารุกไล่ แตกร่นมา
แทนที่จะเปิดค่ายให้กองทัพหนีเข้าค่ายได้ทัน  กลับปิดค่ายไม่ยอมให้เข้า เพราะเกรงว่าค่ายจะแตกไปด้วย
ทำให้แม่ทัพไทยสูญเสียชีวิต ทั้งเจ้าพระยามหาเสนาและพระยาสีหราชเดโชชัย
ทำให้ทัพไทยต้องถอยจากทวาย   แต่ก็รักษาทัพที่เหลือไว้ได้  พม่าตามตีไม่สำเร็จ  กลับมาถึงเมืองหลวง   โปรดเกล้าฯให้สอบสวนทวนเรื่องที่เกิดขึ้น พระยาอภัยรณฤทธิ์ได้รับพระราชอาญาถึงประหาร

ขอสรุปว่า ผลของการทำศึก ไม่เป็นไปตามพิธีเสี่ยงทาย  ดิฉันยังค้นไม่พบว่ามีการทำพระราชพิธีนี้อีกหรือไม่  และเมื่อใด

หนังสืออ้างอิง
ไทยรบพม่า  พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
บทความ" การเสี่ยงทาย" ใน พินิจวรรณลักษณ์ ของ ศ.ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 ก.พ. 03, 14:53

 ขอบคุณที่เขียนให้อ่านกันครับ  ชอบๆๆๆ
คุณเทาชมพูช่วยไปอ่านที่ผมแปลมั่งสิครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 ก.พ. 03, 17:53

 ดีใจที่ชอบค่ะ  
คุณ paganini แปลไว้ที่ไหนล่ะคะ  ช่วยทำลิ้งค์ให้หน่อยได้ไหม
จะได้ไปอ่าน
บันทึกการเข้า
รตา
แขกเรือน
อสุรผัด
*
ตอบ: 39


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 27 ก.พ. 03, 08:59

 ขอบคุณมากค่ะคุณเทาชมพู ชอบอ่านเรื่องประวัติศาสตร์ผสมพงศาวดารจังค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 27 ก.พ. 03, 09:45

จะหามาเล่าสู่กันฟังอีกค่ะ
รอสักนิดนะคะ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 ก.พ. 03, 13:16

 แหะ ข่าววิทยาศาตร์ครับ  ผมแปลแล้วบางทีคนก็อ่านไม่รู้เรื่องครับ  อาจจะขาดทักษะด้านความเรียง  ไงก็น้อมรับคำวิจารณ์ครับ
 http://www.vcharkarn.com/vnews/
บันทึกการเข้า
ทองรัก
พาลี
****
ตอบ: 390

นักวิจัย


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 มี.ค. 03, 09:31

 ขอบคุณค่ะ เทาชมพูมากค่ะ
ทองรักก็ชอบอ่านประวัติศาสตร์ผสมพงศาวดารเหมือนคุณรตาค่ะ
เดี๋ยวจะแวะไปอ่านบทความของคุณpaganini นะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง