เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4661 มาฆะบูชา กับ ศิวาราตรี
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
 เมื่อ 16 ก.พ. 03, 19:33

 ไปเจอในเว็บนี้ครับผม  http://www.budpage.com/maka.html  

ก็เลยนำมาฝากกันครับ

สาระสำคัญของวัน"มาฆบูชา"ที่คุณอาจจะยังไม่เคยทราบมาก่อน

๑.วันมาฆบูชาเพิ่งจะถูกจัดให้เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาในสมัยรัชกาลที่ ๔ นี้เอง
๒.วัน ๆ นี้ที่ว่ากันว่าพระอรหันต์จำนวน ๑๒๕๐ มาประชุมโดยมิได้นัดหมายกันมา ก่อน
หาใช่เหตุการณ์มหัศจรรย์แต่อย่างใด เนื่องจากวันเพ็ญเดือน ๓ (มาฆะ) นี้เป็น วันสำคัญที่เรียกว่า
"ศีวราตรี" ที่คนอินเดียในสมัยโบราณเขารู้สึกว่าน่าจะมาพบปะกันอยู่แล้ว
๓. การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมใหญ่มีชื่อเรียกว่า "มหาสันนิบาต" จัดประชุมที่
วัดเวฬุวัน (ป่าไผ่) อันเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
๓. วันมาฆบูชานี้เป็นวันพระพุทธองค์ทรงประกาศจุดยืนของพุทธศาสนาว่าแตกต่างจากศาสนาอื่นๆ อย่างไร
ได้แก่

ก. พระพุทธองค์ทรงประกาศว่าการบำเพ็ญตบะนั้นหมายถึงเผากิเลส ไม่ใช่การทำตัวเองให้ทุกข์กาย ลำบากลำบน(
เช่น ลัทธิเชน เป็นต้น)
ข. ทรงประกาศว่าเป้าหมายสูงสุดของชาวพุทธ คือ นิพพาน หาใช่การเข้าถึงพระพรหม แบบของศาสนาพราหมณ์ และ
ค. สองข้อสุดท้าย พระพุทธองค์ทรงย้ำว่าผู้ที่เป็นนักบวชจะต้องไม่เป็นผู้เบียดเบียนใครทั้งสิ้น
(สมัยนั้นนักบวชพราหมณ์ถือตัวเองว่าเป็นตัวแทนของเทพเจ้า มีการให้คุณให้โทษต่อเพื่อนมนุษย์ และ
มีการประกอบพิธีบูชายันต์ฆ่าสัตว์ตายมากมาย อย่างสมัยนี้ พระภิกษุที่ประพฤติมิชอบ
ออกเที่ยวเรี่ยไรขอบริจาคเงินทอง ก็ถือว่าเป็นการเบียดเบียนผู้อื่นเช่นเดียวกัน )
๔. วาระต่อไปพระพุทธองค์จึงทรงประกาศหลักปฏิบัติอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ๑. การไม่ทำชั่ว ๒.
การทำกุศลให้ถึงพร้อม และ ๓. การชำระจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส
๕. ในตอนท้ายของการประชุมพระพุทธองค์จึงทรงวางหลักปฏิบัติตัวสำหรับพระภิกษุสงฆ์
ให้ถือเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติสืบต่อไป ได้แก่
1. ไม่กล่าวร้ายใคร 2. ไม่ทำร้ายใคร 3. ดำรงตนอยู่ในวินัยให้ดี
4.บริโภคใช้สอยปัจจัยสี่อย่างพอดี 5. ยินดีพอใจในที่อันสงัด
6. บำเพ็ญเพียรทางจิตให้พัฒนาก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป
๖. สรุปวันสำคัญทางพุทธศาสนาในเมืองไทยทั้งสามวัน มีความหมายที่จำกันได้ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
วันวิสาขบูชา
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ถือได้ว่า เป็น วันพระพุทธ
วันอาสาฬหบูชา
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นครั้งแรก ถือได้ว่า เป็น วันพระธรรม
วันมาฆบูชา
เป็นวันที่พระสงฆ์มาประชุมพร้อมเพรียงกัน รับฟังหลักการสำคัญ เพื่อแยกย้ายกันไปเผยแผ่พระศาสนา
จึงถือว่าเป็นวันพระสงฆ์

และ ศิวาราตรี นั้นก็ขอยกข้อความจากเว็บ  http://www.geocities.com/thaiganesh/s22.html  ครับ
ศิวาราตรี

สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงเล่าถึงรายละเอียดของพิธีศิวาราตรี ที่เมืองพารณสี
ซึ่งพระองค์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง ดังจะขออัญเชิญมาต่อไปนี้.........

"พิธีศิวาราตรี นี้เป็นพิธีลอยบาปของพราหมณ์คล้าย ๆมหาปวาณาจึงโปรดให้ทำตามธรรญเนียมเดิม
พิธีนี้ทำในวันเดือนสามขึ้น 15ค่ำ คือเวลาค่ำพระมหาราชครูทำพิธี
เริ่มแต่กระสูทธิ์อัตมสูทธิ์ตามแบบเหมือนพิธีทั้งปวงแล้วเอาเสาปักสี่เสา เชือกผูกคอหม้อโยงเสาทั้งสี่
ภายใต้หม้อตั้งพระศิวลึงค์
เจาะหม้อให้น้ำหยดลงมาได้ทีละน้อยเอาขลังสอดไว้ในช่องหม้อที่เจาะนั้นเฉพาะตรงพระศิวะลึงค์ให้น้ำหยดลงถูก
พระศิวลึงค์ทีละน้อย
แล้วไหลลงมาตามรางซึ่งรองรับพระศิวลึงค์ซึ่งพระพราหมณ์ในประเทศอินเดียซึ่งข้าพเจ้าเคยไปเห็นเรียกว่าโยนี
แล้วมีหม้อรองที่ปากรางนั้นเติมน้ำและเปลี่ยนหม้อไปจนตลอดรุ่ง
เวลาใกล้รุ่งทำพิธีหุงข้าวหม้อหนึ่งในเทวสถาน เจือน้ำผึ้ง น้ำตาล นม
เนยและเครื่องเทศต่างๆสุกแล้วแจกกันกินคนละเล็กคนละน้อยทุกคนทั่วกัน พอได้อรุณก็พากันลงอาบน้ำในคลอง
สระผมด้วยน้ำที่สรงพระศิวลึงค์ ผมที่ร่วงในเวลาสระน้ำเก็บลอยไปตามน้ำ
แต่การพิธีนี้ไม่มีของหลวงพระราชทาน
เป็นของพราหมณ์ทำเองเมื่อพิเคราะห์ดูการที่ทำนี้เห็นว่าจะเป็นการย่อมาเสียแต่เดิมแล้ว
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
คนชื่นชอบนิยาย
อสุรผัด
*
ตอบ: 4

ที่ทำงาน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ sci park จ.ปทุมธานี


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 ก.พ. 03, 14:15


ขอบคุณนะคะ น้องศศิศ ที่นำเรี่องราวดีๆ มาโพสต์ให้อ่านกัน
บันทึกการเข้า
วรินทรา
อสุรผัด
*
ตอบ: 5

n/a


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 ส.ค. 03, 02:28

  สวัสดีครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.033 วินาที กับ 19 คำสั่ง