เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 19812 โคลงรกเอก-โคลงรกโท.......ช่วยวิจารณ์ด้วยค่ะ
ละเมียด
อสุรผัด
*
ตอบ: 31

กรมศิลปากร


 เมื่อ 08 ก.พ. 03, 16:06

 ย้ำสู้ทั้งที่รู้..................ต้องเศร้า
เฝ้าแต่งถ้อยให้เจ้า.......แปลกแท้
คล้ายฟ้ายั่วแกล้างเย้า...นี้ใช่ แล้วนา
แม้หม่นล้นพ้นแก้.........พ่ายแพ้ ไม่สน
..............................
..............................
ข่าวที่ส่งอ่านแล้ว...........กระจ่างยิ่ง
เที่ยง-ง่าย-แน่ ดั่งสิ่ง......บ่งเสี้ยน
อ่อนแกว่ง ใช่ แกร่งนิ่ง...ย่อมหม่น ชั่วคราว
อย่าห่วง แต่ อย่าเหี้ยน...เผื่อไว้ ซ่อมใจ
บันทึกการเข้า
Little Sun
พาลี
****
ตอบ: 212

กำลังตามหาความฝัน


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 ก.พ. 03, 18:20

 ขอวิจารย์คนแรกเลยนะคะ ลิตเติ้ลอ่านแล้วคิดว่ากลอนบทนี้น่าจะเป็นกลอนที่ผู้ชายแต่งให้ผู้หญิงที่เค้ารัก  ขอโทษนะคะที่วิจารณ์นอกเรื่องไปนิดนึง
ลิตเติ้ลจดข้อความนี้มาจากหนังสือพิมพ์ สังสัยจะเป็นเนื้อเพลงลิตเติ้ลคิดว่าน่าจะเข้ากับกลอนข้างบนบ้าง

 ฝากฟ้าสั่งดินฝากความถวิลแห่งใจ
 ฝากมาถึงทรามวัย
 ฝากด้วยหัวใจและปลายลิ้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 09 ก.พ. 03, 13:31

 ถ้าให้ช่วยวิจารณ์ก็ขอแยกตามนี้ค่ะ
รูปแบบ-
การเล่นเอกโท คือจงใจใช้คำที่มีวรรณยุกต์เอกโทในบทโคลงทั้ง ๒ บท   ฟังแปลกหูสำหรับคนที่เคยชินกับโคลงสี่สุภาพมาแต่เดิม  
มีแต่เอกกับโท  ฟัง"รก"จริงๆแหละ เพราะหาเสียงวรรณยุกต์อื่นมาผ่อนคลายจังหวะเสียงไม่ได้
แต่ก็เอาเถอะ  ถือว่าเป็นกลบทประเภทหนึ่ง  อ่านหลายหนเข้าก็ค่อยชิน ไม่ว่ากัน
เนื้อหา-
ย้ำสู้ทั้งที่รู้..................ต้องเศร้า
เฝ้าแต่งถ้อยให้เจ้า.......แปลกแท้
คล้ายฟ้ายั่วแกล้งเย้า...นี้ใช่ แล้วนา
แม้หม่นล้นพ้นแก้.........พ่ายแพ้ ไม่สน
ดิฉันอ่านเนื้อความแล้วพอเข้าใจ  ว่าเหมือนผู้ชายแต่งถ้อยคำเกี้ยวผู้หญิง   แต่ก็รู้ว่าคงจะไม่สมหวัง ก็ยังสู้แต่งอยู่
แต่ทำไม คล้ายฟ้าต้องมายั่วมาเย้า  หมายถึงโชคชะตากำหนดให้แต่งเกี้ยวเขาอยู่นั่นแหละ งั้นหรือคะ
บาทสุดท้าย    คำว่า ไม่สน  เป็นสำนวนยุคใหม่นะคะ  ไม่ค่อยกลืนกับคำก่อนๆที่แต่งมา ซึ่งเลียนแบบสำนวนเก่า

บาทที่สอง  อ่านแล้วไม่รู้เรื่องค่ะ ขออภัย
แต่งบทประพันธ์ที่มีข้อบังคับเพิ่มเติมเป็นพิเศษ ทำให้หาคำได้ยาก ไม่เป็นอิสระในการเลือกคำ
บางทีคุณอาจจะตั้งใจหมายความอย่างหนึ่ง  แต่กลายเป็นอีกอย่างหนึ่งเพราะถูกบังคับด้วยคำ  อย่างบทนี้ละค่ะ
บันทึกการเข้า
ละเมียด
อสุรผัด
*
ตอบ: 31

กรมศิลปากร


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 ก.พ. 03, 21:15

 ขอบพระคุณมากนะคะ สำหรับคำวิจารณ์ทั้งสอง
กำลังต้องการอย่างยิ่งเลยค่ะ เพราะ เพิ่งหัดเตาะแตะ ยังไม่รู้ทิศรู้ทางเท่าไร

บทแรก เนื้อความ ก็เป็นอย่างที่คุณเทาชมพูเข้าใจค่ะ
ดิฉันกำลังคิดว่า ถ้าจะเปลี่ยนคำ บางคำ จะดีขึ้นไหมคะ
........กล้าสู้ทั้งที่รู้.............ต้องเศร้า
........ย้ำแต่งถ้อยให้เจ้า.....แปลกแท้
........คล้ายฟ้าสั่งให้เฝ้า......นี้ใช่ แล้วนา
........แม้หม่นล้นพ้นแก้......พ่ายแพ้ ยอมทน

บทที่สอง อยากใช้วรรณยุกต์เอกทั้งหมด โทสี่ตัว...เลยมั่วอย่างนี้แหละค่ะ เนื้อความสื่อความหมายไม่สมบูรณ์
เพราะดิฉันตัดคำหลายคำออกไป
........ข่าวที่ส่งอ่านแล้ว............กระจ่างยิ่ง
(คำตอบในจดหมายที่เขียนมา ได้อ่านแล้ว เข้าใจแล้ว)
........เที่ยง-ง่าย-แน่ ดั่งสิ่ง.......บ่งเสี้ยน
(คำตอบช่างตรงประเด็น ชัดเจน เรียบง่าย เหมือนแก้ปัญหาคาใจได้ทุกอย่าง)
........อ่อนแกว่งใช่แกร่งนิ่ง......ย่อมหม่น ชั่วคราว
(ใจพี่อ่อนไหว ไม่ใช่คนใจแข็ง ได้อ่านคำตอบอย่างนั้น ย่อมหม่นหมองบ้าง)
........อย่าห่วงแต่อย่าเหี้ยน......เผื่อไว้ ซ่อมใจ
(วอนน้องอย่าห่วง แต่อย่าตัดสัมพันธ์ไปทั้งหมด  เหลือไว้บ้าง เพื่อซ่อมใจ)

เห็นทีดิฉันคงต้องฝึกฝนอีกมาก....และคงต้องแวะมาให้วิจารณ์
กันอีกหลาย หลาย หลาย หลาย ที
ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ อาจารย์

ขอบคุณอีกทีค่ะ
บันทึกการเข้า
Little Sun
พาลี
****
ตอบ: 212

กำลังตามหาความฝัน


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 ก.พ. 03, 07:45

 บอกตามตรงค่ะลิตเติ้ลชอบกลอนที่คุณละเมียดแต่งมากๆเลยชอบใจความมีความหมยดีค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 ก.พ. 03, 08:18

 กล้าสู้ทั้งที่รู้.............ต้องเศร้า
ย้ำแต่งถ้อยให้เจ้า.....แปลกแท้
คล้ายฟ้าสั่งให้เฝ้า......นี้ใช่ แล้วนา
แม้หม่นล้นพ้นแก้......พ่ายแพ้ ยอมทน
เปลี่ยนคำใหม่  อ่านแล้วกระจ่างเข้าใจชัดขึ้น   ดีแล้วค่ะ


ข่าวที่ส่งอ่านแล้ว............กระจ่างยิ่ง
เที่ยง-ง่าย-แน่ ดั่งสิ่ง.......บ่งเสี้ยน
อ่อนแกว่งใช่แกร่งนิ่ง......ย่อมหม่น ชั่วคราว
อย่าห่วงแต่อย่าเหี้ยน......เผื่อไว้ ซ่อมใจ

ส่วนบทที่สอง   เมื่อได้อ่านการแปลโคลงของคุณแล้วก็เข้าใจ  คุณมีการลำดับความคิดดี  เป็นเรื่องเป็นราวต่อเนื่องกันอย่างมีประเด็น
แต่จุดอ่อนของโคลงนี้มี ๒ อย่าง คือ
๑) การสร้างคำพิเศษ ไม่ใช่คำที่เข้าใจกันทั่วๆไป อย่าง อ่อนแกว่ง(ตอนแรกดิฉันนึกว่าสะกดผิดจาก อ่อนแกร่ง เสียอีก) ทำให้คนอ่านที่ไม่คุ้น  ไม่เข้าใจค่ะ
อีกอย่างคำนี้ไม่มีประธาน  เลยไม่รู้ว่า อ่อนแกว่ง นั้น เป็นกริยาของอะไร
เหี้ยน ก็เหมือนกัน  เราคุ้นในคำว่า เหี้ยนเตียน   ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์ มากกว่า เหี้ยน  เป็นคำกริยา  อีกอย่างตัวสะกดและเสียงคำนี้ ไม่ค่อยเพราะค่ะ มองในเชิงคำประพันธ์
ซ่อมใจ เป็นภาษาใหม่ค่ะ  
๒) หลักข้อหนึ่งสำหรับการแต่งบทกวีหรือบทประพันธ์สำหรับนักแต่งหน้าใหม่  มีว่า   งานประพันธ์นั้นคือการสื่อสารกับคนอ่านเป็นจำนวนมาก   ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มใกล้ตัวที่เห็นหน้าค่าตาพอจะซักถามเพิ่มเติมกันได้
มีคนอ่านจำนวนมาก ไม่มีโอกาสถามคนแต่งว่าคำนี้แปลว่าอะไร หรือเรื่องนี้หมายถึงอะไร
เพราะฉะนั้น การสื่อสารแบบนี้  คนแต่งควรแต่งชนิดอ่านแล้วเข้าใจได้โดยง่าย     สามารถทดสอบได้จากไม่ต้องมีคำอธิบายประกอบค่ะ
อย่างเช่นกลอนของสุนทรภู่ ที่เป็นอมตะมาจนทุกวันนี้ก็เพราะท่านแต่งแล้วไม่ต้องมาถอดความเป็นร้อยแก้วอีกที
หรืออย่างของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์  บางบทเป็นปรัชญาเซ็น หรือหลักพุทธธรรมที่ลึกซึ้ง      เขาก็สามารถแต่งให้อ่านแล้วเข้าใจได้ ทั้งรส และความหมายของคำ
ลองพิจารณาดูนะคะ    ดิฉันเพียงแต่เสนอความคิดเห็นเท่านั้นค่ะ
บันทึกการเข้า
ละเมียด
อสุรผัด
*
ตอบ: 31

กรมศิลปากร


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 ก.พ. 03, 09:09

 คิดโคลงข้าเคร่งค้น..........คัดคำ
กลายกลับไกลเกินก้ำ.......กึ่งก้อย
หลงไหลไล่เลยถลำ.........ลืมหลัก เลิศลอย
ดังแข่งแสงหิงห้อย...........เข่นจ้า ท้าสูรย์

โปรดรับการคารวะค่ะ
บันทึกการเข้า
Little Sun
พาลี
****
ตอบ: 212

กำลังตามหาความฝัน


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 ก.พ. 03, 07:54

 ฟังนะที่รักอย่าเพิ่งท้อ
ความรักต้องเวลาบ่มสร้าง
น้องยังสัญญาว่ายังยืนเคียงข้าง
ไม่ห่างหายไปดอกนะพี่นา
 


ใจจริงอยากแต่
โคลงสี่สุภาพค่ะแต่แต่งไม่ได้ได้แค่กลอนธรรมดาๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 ก.พ. 03, 09:51

คิดโคลงข้าเคร่งค้น..........คัดคำ
กลายกลับไกลเกินก้ำ.......กึ่งก้อย
หลงไหลไล่เลยถลำ.........ลืมหลัก เลิศลอย
ดังแข่งแสงหิงห้อย...........เข่นจ้า ท้าสูรย์
สามบาทแรกดีแล้วค่ะ  ถูกต้องตามโคลงกลบท เล่นเสียงตัวอักษร
แต่ดิฉันขอเสนอให้สลับคำในบาทที่ ๓ จาก เลิศลอย เป็นลอยเลิศ เพราะถ้ามีสร้อยคำในบาทนี้  เขาจะใช้เสียงเอก หรือคำตาย ในคำสุดท้าย ไม่ใช่เสียงสามัญหรือคำเป็นค่ะ
หลงไหลไล่เลยถลำ.........ลืมหลัก ลอยเลิศ
แต่บาทที่ ๔ แปลกใจว่าทำไมเว้นการเล่นตัวอักษรเสียล่ะค่ะ  ไม่
แต่งตามแบบ ๓ บาทแรกหรือคะ?

คุณ Little Sunคะ
ดีใจที่คุณสนใจแต่งกลอน    แต่คุณอาจจะยังไม่เข้าใจเรื่องฉันทลักษณ์     การสัมผัสคำ และเสียงของคำ
คำว่า ท้อ  กับ ต้อง ไม่สัมผัสกันค่ะ  ผิดหลักการแต่ง
และคำท้ายของวรรคที่สองและสาม ก็ควรเป็นเสียงตรีและสามัญ ตามลำดับ ไม่ใช่โท
ขอเชิญไปดูรูปแบบและการแต่งที่ถูกต้องตามหลักของกลอนได้ที่เว็บนี้
 http://thaiarc.tu.ac.th/host/thaiarc/poetry/klon/supharp/
บันทึกการเข้า
Little Sun
พาลี
****
ตอบ: 212

กำลังตามหาความฝัน


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 ก.พ. 03, 18:30

 ขอบคุณคุณเทาชมพูมากค่ะที่ช่วยแนะนำ ลิตเติ้ลจะไปหัดแต่งใหม่
บันทึกการเข้า
Little Sun
พาลี
****
ตอบ: 212

กำลังตามหาความฝัน


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 ก.พ. 03, 18:45

 ฟังนะที่รักอย่าเพิ่งท้อ
ความรักต้องรอเวลาบ่มสร้าง
น้องยังสัญญาว่ายังยืนเคียงข้าง
ไม่ห่างหายไปดอกนะพี่นา
บันทึกการเข้า
ละเมียด
อสุรผัด
*
ตอบ: 31

กรมศิลปากร


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 ก.พ. 03, 22:43

 ขอบคุณ คุณเทาชมพูค่ะ สำหรับข้อแนะนำ
เป็นความรู้ใหม่เลยค่ะ ว่าคำสุดท้ายของบาทสาม ต้องเป็นเสียงเอก
ดิฉันอดใจไม่ลองไม่ได้.. สำหรับคำถามที่ทิ้งไว้.. ได้มาสองแบบค่ะ

.....คิดโคลงข้าเคร่งค้น.........คัดคำ
.....กลายกลับไกลเกินก้ำ .....กึ่งก้อย
.....หลงไหลไล่เลยถลำ........ลืมหลัก ลอยเลิศ
.....เจนจบจริงจิบจ้อย...........จึ่งแจ้ง เจียมใจ

กับอีกรูปหนึ่งในวรรคสุดท้าย

.....ดุจเด่นเดือนดาวด้อย.......เด็กดื้อ ดีใด

โปรดให้ข้อแนะนำอีกทีเถิดค่ะ อาจารย์
.................................................

น้อง Little Sun...พี่ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ
ดีค่ะดี เรื่องอย่างนี้ต้องหมั่นฝึกค่ะ เราโชคดี มีอาจารย์ดีๆ คอยชี้แนะ..
เรามาหัดเตาะแตะด้วยกันนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 13 ก.พ. 03, 08:58

 ขอโทษค่ะ พูดขึงขังมากไปนิด    ไม่ถึงกับเป็นข้อบังคับตายตัวว่าสร้อยคำในบาทที่สามจะต้องลงด้วยเสียงเอก
แต่ดิฉันไปชินกับแบบแผน ที่มีตัวอย่างจากลิลิตพระลอ
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง........อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร.........ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับไหล..........ลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้า................อย่าได้ถามเผือ
ก็เลยติดมาว่า ถ้าบาทที่สามลงด้วยเสียงเอกจะเพราะกว่าเสียงสามัญ  ยิ่งถ้ามีเสียงเอกนำก่อนแล้วตามด้วยสามัญ จะฟังไม่สนิทหู     เลยเรียงกลับให้ตามที่แนะนำไป

ดิฉันชอบบทนี้มากค่ะ
.....คิดโคลงข้าเคร่งค้น.........คัดคำ
.....กลายกลับไกลเกินก้ำ .....กึ่งก้อย
.....หลงไหลไล่เลยถลำ........ลืมหลัก ลอยเลิศ
.....เจนจบจริงจิบจ้อย...........จึ่งแจ้ง เจียมใจ
ได้ประเด็นเรียงลำดับ และฉันทลักษณ์ครบถ้วนค่ะ

คุณLittle Sun
สัมผัสระหว่างบท คุณตามรอยได้แล้วค่ะ
แต่ถ้าจะแต่งตามแบบกลอนแปดให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ไทยแล้ว
คำของคุณยังเกินมาในบางบาท
มันควรลงจังหวะเป็น  ๐๐๐/๐๐(๐)/๐๐๐  ในแต่ละบาท
ดูตัวอย่างนะคะ
แล้วสอนว่า/อย่าไว้/ใจมนุษย์
๐๐๐/๐๐/๐๐๐
มันแสนสุด/ลึกล้ำ/เหลือกำหนด
๐๐๐/๐๐/๐๐๐
ถึงเถาวัลย์/พันเกี่ยว/ที่เลี้ยวลด
๐๐๐/๐๐/๐๐๐
ก็ไม่คด/เหมือนหนึ่งใน/น้ำใจคน
๐๐๐/๐๐/๐๐๐

แต่ของคุณเป็นอย่างนี้

ฟังนะ/ที่รัก/อย่าเพิ่งท้อ
๐๐/๐๐/๐๐๐
ความรัก/ต้องรอ/เวลาบ่มสร้าง
๐๐/๐๐/๐๐๐๐
น้องยังสัญญา/ว่ายัง/ยืนเคียงข้าง
๐๐๐๐/๐๐/๐๐๐
ไม่ห่าง/หายไป/ดอกนะพี่นา
๐๐/๐๐/๐๐๐๐
คำว่า"ข้าง" ต้องเปลี่ยนเป็นเสียงสามัญหรือตรีค่ะ  ข้าง เป็นเสียงโท
บันทึกการเข้า
Little Sun
พาลี
****
ตอบ: 212

กำลังตามหาความฝัน


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 13 ก.พ. 03, 18:17

 ขอบคุณอีกครั้งนะคะ คุณเทาชมพูลิตเติ้ลขอแค่แต่งกลอนแปดให้ดีก็พอส่วนโคลงสี่สุภาพให้คุณละเมียดเค้าฝึกแต่ดีกว่าเป็นกำลังใจให้พี่ละเมียดเช่นกันค่ะ

แล้วอย่างนี้พอจะใช้ได้มั้ยคะ

น้องกลัวนักความรักที่หลอกลวง
ต้องชอกช้ำในทรวงทนทุกข์ระทม
กลอนที่ว่าหวานกลับกลายเป็นขม
ต้องตรอมตรมเพราะเชื่อในคำลวง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 14 ก.พ. 03, 09:30

 ชอบความมานะพยายามของคุณลิตเติ้ลค่ะ  ขอให้เป็นอย่างนี้ต่อไปนะคะ
คุณลิตเติ้ลคงจะต้องทบทวนการเรียนภาษาไทย ว่าด้วยเสียงวรรณยุกต์ค่ะ   แล้วย้อนกลับไปศึกษากลอนแปดอีกครั้ง  ตามแบบแผนที่ให้ไว้ข้างบน

ส่วนกลอนคุณ การแบ่งคำออกมาเป็นยังงี้ค่ะ

น้องกลัวนัก/ความรัก/ที่หลอกลวง
๐๐๐/๐๐๐/๐๐๐  ถูกต้องค่ะ
ต้องชอกช้ำ/ในทรวง/ทนทุกข์ระทม
๐๐๐/๐๐/๐๐๐๐   ผิดค่ะ วรรคหลังเกินมา ๑ คำ
กลอนที่ว่าหวานกลับกลายเป็นขม
อันนี้  อ่านได้ ๒ อย่างคือ กลอนที่/ว่าหวาน/กลับกลายเป็นขม
อย่างนี้ผิด
แต่ถ้าแบ่งเป็น กลอนที่ว่า/หวานกลับ/กลายเป็นขม
ถูก  แต่เวลาอ่านเว้นจังหวะ คำจะขาดเป็นท่อนๆ

ต้องตรอมตรมเพราะเชื่อในคำลวง
๐๐๐/๐๐/๐๐๐  ถูกค่ะ

สิ่งที่ต้องแก้ไขคือเสียงวรรณยุกต์ค่ะ  ผิด
คำสุดท้ายของบาท(หรือวรรค)ที่สอง  ห้ามเสียงสามัญ  ใช้ได้เสียงเอก โท จัตวา  ส่วนตรีไม่ค่อยใช้กัน
คำสุดท้ายของบาท(หรือวรรค)ที่สาม   ห้ามเสียงจัตวา  ใช้เสียงสามัญ หรือใช้เสียงตรีก็ได้แต่ไม่นิยมกัน
คุณลิตเติ้ลใช้กลับกันค่ะ   ต้องแก้ไขใหม่
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง