เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 12283 ทำไมจอมพลป.ถึงห้ามกินหมาก
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 29 พ.ย. 02, 09:51

 มีผู้อ่านเรือนไทย เมล์มาถามดิฉัน   ก็เลยขอนำคำถามของเธอมาตอบลงในนี้   ตอบทางเมล์ไม่ได้เพราะตัวfont ที่เธอใช้เป็นคนละ code กับในเมล์   ส่งไปแล้วจะอ่านไม่ออกค่ะ
**********************************************************
ดิฉันได้อ่านบทความของคุณเกี่ยวกับเรื่องยุควัธนธัม  ซึ่งดิฉันมีข้อสงสัยเรื่องการกินหมาก  ในอดีตมีการห้ามกินหมากโดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม  ดิฉันอยากทราบสาเหตุที่แท้จริงว่าทำไมถึงห้าม เพราะเคยอ่านเจอในหนังสือว่าห้ามนั้นเพราะกินหมากทำให้เกิดโทษต่อสุขภาพ
และขอรบกวนอีกคำถามหนึ่งนะคะว่าในปัจจุบันทำไมคนไทยจึงไม่นิยมกินหมากแล้วทั้งๆที่ไม่มีการห้ามกินหมาก

chanitdee

ตอบ

จอมพลป. มีนโยบายที่จะปรับปรุงสยามให้เจริญก้าวหน้าทันอารยประเทศ(หมายถึงฝรั่ง)ตามที่ท่านได้ไปดูงานมาในหลายประเทศ      จึงออกกฎระเบียบเปลี่ยนแปลงชีวิตหลายอย่างของประชาชน ห้ามการกระทำหลายอย่าง รวมทั้งการกินหมาก เรียกว่ายุค "วัธนธัม"
เหตุผลคือกินหมากทำให้ฟันดำ ไม่ขาวอย่างฝรั่ง  และก็ต้องบ้วนน้ำหมากเลอะเทอะ ตามถนนหนทาง   ทำให้ดูไม่สวยงาม  ไม่มีระเบียบ  
แต่เรื่องสุขภาพ คงหมายถึงสกปรก  ไม่ได้หมายถึงโรคจากกินหมาก สมัยนั้นสาธารณสุขยังไม่ก้าวหน้าพอจะรู้ว่าหมากทำให้เกิดมะเร็งได้

หมดยุคนี้แล้วคนไทยก็กลับไปกินหมากกันอีก  แต่ว่าความนิยมค่อยๆลดน้อยลงเรื่อยๆ   เพราะการดำเนินชีวิตแบบฝรั่ง  ไม่รับกับการกินหมากที่ไปไหนมาไหนต้องถือกระโถนบ้วนน้ำหมากไปด้วย  พูดไปก็เคี้ยวไปบ้วนไปทั้งวัน

มันก็ทุลักทุเลนะคะ  ถ้าวาดภาพว่าเราอยู่อย่างแม่พลอย  พอพ้นโกนจุกก็เริ่มกินหมาก   แสดงว่าไปเรียนหนังสือชั้นมัธยมต้นก็ต้องกินหมากกันแล้ว    
นักเรียนวัยรุ่นกินหมากไปบ้วนไป ในห้องเรียนคงตอบคำถามครูได้ลำบาก    ยิ่งเรียนจบมหาวิทยาลัยไปทำงานตามออฟฟิศ อย่างแถวสีลม   กินหมากไปด้วยขณะติดต่อลูกค้า หรือร่วมประชุมกับนาย  คงยิ่งดูไม่จืด
บันทึกการเข้า
อ้อยขวั้น
มัจฉานุ
**
ตอบ: 60

ทำงานบริษัทเอกชน


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 พ.ย. 02, 15:52

 คงเป็นวิธีรักษาเหงือกและฟันของคนสมัยก่อนด้วยนะคะ  สังเกตดูคนเคี้ยวหมากมักฟันไม่ค่อยผุ  แก่แล้วฟันยังเต็มปากอยู่เลย

เวลาดูหนังหรือละครย้อนยุค  เห็นสาวๆ ฟันดำปากแดงเข้มเพราะหมากแล้ว  ไม่รู้ยังไงนึกไปถึงนิยายเรื่องแดนดาว  ตอนบรรยายปากของพวกภูติแดงน่ะค่ะ  มันกึ๋ยๆ พิกล
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 พ.ย. 02, 23:48

 ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อแหละครับ ทุกวันนี้ไต้หวันเป็นประเทศที่ยังปวดหัวจากปัญหาคน(ระดับผู้ใช้แรงงาน)กินหมากกันอยู่ เพราะนอกจากจะบ้วนหมากทำความสกปรกเลอะเทอะแล้ว ค่านิยมการกินหมากของชายไต้หวัน ยังผูกพันไปถึงปัญหาการใช้รูปของสตรีในด้านการตลาดของหมากในไต้หวันด้วย(ทำนองเดียวกับสูราในไทยนั้นแล)

แต่คนไต้หวันเขาไม่ได้กินกับพลูและปูนแดงนะครับ รู้สึกจะล่อหมากเพียวๆเลย น่าจะดูไม่จืดอย่างคุณเทาฯว่าจริงๆแหละ

เรื่องหมากนี่ผมเคยอุตส่าห์ research เอาไว้ได้ข้อมูลเพียบ แต่เผลอลบไปซะได้ ยังไม่ได้เอามาโม้ให้ฟังเลย เอาไว้รอมี mood ก่อนแล้วจะมาเล่า แต่เชื่อเถิดว่าหมากที่กินกันตั้งกะอาฟริกาถึงปาปัวนิวกินีเชียวนะครับ ไม่เฉพาะแค่คนไทยหรอก แล้วที่กินสูตรคนไทยคือกินกับพลูและปูนแดงนี่ก็ถือว่าเป็นสูตรมาตรฐานสากลสูตรนึงเลยทีเดียวนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ทองรัก
พาลี
****
ตอบ: 390

นักวิจัย


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 02 ธ.ค. 02, 07:27

 เคยเห็นข่าวในโทรทัศน์เมื่อไม่นานมานี้ค่ะ
เรื่องการส่งเสริมการขายหมากในไต้หวันอย่างที่คุณCrazyHOrse
ว่ามาน่ะค่ะ โอ้โฮ เขาใจถึงกว่าโฆษณาเหล้าไทยนะคะ
เพราะว่าที่แผงขายหมากข้างทางของเขาน่ะ มีสาวนุ่งน้อย
ห่มน้อยแต่งตัวเหมือนหลุดออกมาจากปฏิทินเลยค่ะ มายืนเชียร์ให้หนุ่ม ๆ ซื้อหมากกันเป็นแถวเลย
บันทึกการเข้า
คุณพระนาย
มัจฉานุ
**
ตอบ: 85

Graduate Student New Mexico Institute of Mining and Technology, Socorro, NM USA


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 ธ.ค. 02, 10:29

 ถ้าเคยอ่านสามเกลอจะเดาออกเลยครับว่า ทำไมคนไทยถึงเลิกกินหมากกัน เพราะว่าในเรื่องนั้นเหลือคุณหญิงวาดคนเดียวที่กินหมาก แล้ว หมากของคุณหญิงท่านก็ทำให้เสื้อสากลชั้นดีของสามเกลอเราต้องเสียหายไปหลายตัว เวลาที่ใครต้องไปนั่งใกล้ๆ ท่าน มีครั้งนึงนิกรถึงกับเตรียมเสื้อกันฝนเวลาที่ต้องไปนั่งข้างคุณหญิงวาดน่ะครับ แสดงว่า คนกินหมากเนี่ยโอกาสที่น้ำหมากจะกระเซ็นโดนคนอื่น คงมีไม่น้อย
บันทึกการเข้า
อ้อยขวั้น
มัจฉานุ
**
ตอบ: 60

ทำงานบริษัทเอกชน


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 ธ.ค. 02, 16:47

 เคยดูสกู้ปข่าวสาวขายหมากของไต้หวันเหมือนกันค่ะ  น้องหมวยจะแต่งองค์ทรงเครื่องเปรี้ยวปรี๊ด  นั่งอยู่ในห้องกระจกแคบๆ ติดถนนใหญ่  เหมือนวินโดว์ตามห้างสรรพสินค้า  พอลูกค้ามาจอดรถเธอก็จะเอาหมากไปส่งให้ถึงประตูรถเลยทีเดียว  ถ้าไม่บอกคงไม่รู้แน่ๆ เลยค่ะว่าเธอเหล่านั้นทำอาชีพอะไร
บันทึกการเข้า
Dominio
ชมพูพาน
***
ตอบ: 128

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 10 ธ.ค. 05, 15:37

 ปัจจุบันคนหนุ่มคนสาวในหมู่เกาะทะเลใต้ ยังนิยมกินหมาก (Betel Nuts) กันมาก
เช่น ฟิจิ ซามัว ปาเลา ไมโครนีเซีย หมู่เกาะคริสต์มาส ตองกา และปาปัวนิวกินี
โรงเรียนออกระเบียบเคร่งครัดว่า "No betel nut shewing allowed" เพราะขี้เกียจซักพรม
แต่ก็ยังแอบกินกัน เห็นปากแดง แต่ไม่เห็นมีปูนแดงและใบพลูแบบบ้านเราเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
เหลนนางพญา
อสุรผัด
*
ตอบ: 39

หมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 10 ธ.ค. 05, 16:20

 ที่ไต้หวัน เขาจะเรียกสาว ๆ ที่ขายหมากว่า "ปินหลานซีซือ"

คำว่า "ปินหลาน" แปลว่าหมาก
ส่วน "ซีซือ" ก็มาจากชื่อหนึ่งในสี่สาวงามของจีน นางซีซือ (ไซซี) ไงครับ เพราะสาว ๆ เหล่านั้นหน้าตาดีมาก และยังนุ่งน้อยห่มน้อย เพื่อดึงดูดลูกค้าให้มาเข้าร้าน ซึ่งส่วนลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นคนขับรถแท๊กซี่ครับ

แต่ชีวิตของ "ปินหลานซีซือ" น่าสงสารครับ พวกเธอเคยให้สัมภาษณ์ในสกู๊ปข่าวว่า พวกเธอเลือกอาชีพไม่ได้ เพราะมีการศึกษาต่ำ เลยต้องมานุ่งน้อยห่มน้อยเพื่อขายหมาก แม้ในฤดูหนาว เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้าร้านตน ก็ต้องแต่งตัวให้น้อยชิ้นที่สุด แล้วนั่งทนหนาวเอา  และยังต้องนั่งแคะหมากกันจนมือเปื่อย รายรับก็ไม่พอกับรายจ่าย ฟังแล้วก็น่าเห็นใจมากเลยครับ

คุยไปคุยมา เลยออกนอกประเด็น ไม่เกียวกับจอมพลป.เลยครับ ฮิ ๆ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 ธ.ค. 05, 03:29


ไปเจอเว็บเกี่ยวกับหมากมาครับ เลยนำมารวมไว้ เผื่อจะได้เป็นการแตกหน่อกระทู้ครับ

เรื่อง : หมาก
ที่มา :  สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

หมาก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Areca catechu Linn
ชื่อภาษาไทย : หมาก
ชื่อภาษาอังกฤษ : Betel Nuts

สถานการณ์ทั่วไป  : หมากเป็นพืชที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านความเป็นอยู่ของคนไทย ในอดีตคนไทยนิยมกินหมากตั้งแต่เจ้านายถึงชาวบ้านธรรมดามักมีเชี่ยนหมากไว้รับแขกผู้มาเยี่ยมเยือน  ปีใดเกิดภาวะแห้งแล้งมีผลกระทบเศรษฐกิจ สภาวการณ์เช่นนี้เรียกว่าข้าวยากหมากแพง  ปัจจุบันคนนิยมกินหมากกลดน้อยลง  ความสำคัญแห่งวัฒนธรรม  ปัจจุบันหมากเปลี่ยนเข้าไปมีบทบาทในแง่อุตสาหกรรมหลายชนิด  มีการส่งออกจำน่ายต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท  หมากจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจ  ปลูกง่ายการปฏิบัติดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก  โรคแมลงรบกวนน้อย  ลงทุนไม่สูง  ทำรายได้สม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นเวลานานนับสิบปีโดยแนะนำให้ปลูกในลักษณะผสมผสานร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นเพื่อเสริมรายได้

ผล  : ผลหมากมีลักษณะกลมหรือกลมรี  เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 2.5 โดยเฉลี่ยผลรวมกันเป็นทะลาย ใน 1 ทะลายจะมีผลอยู่ประมาณ 10 – 150 ผล  ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เรียกหมากดิบ  ผลแก่จะผิวเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มทั้งผลเรียกหมากสุกหรือหมากสง  

ผลประกอบด้วย  4 ส่วน คือเปลือกชั้นนอก ส่วนเปลือกเป็นเยื่อบาง ๆ สีเขียว เนื้อเปลือกมีเส้นใยละเอียด เหนียว  เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยหนามากมองเห็นชัด  เมื่อผลอ่อนเส้นใยอ่อน แก่จะเหนียวแข็ง เปลือกชั้นในเป็นเยื่อบาง ๆ ละเอียดติดอยู่กับเนื้อหมาก  

ส่วนของเมล็ดหรือเนื้อหมากถัดจากเยื่อบาง ๆ เข้าไปเป็นส่วนของเนื้อหมาก เมื่ออ่อนจะนิ่ม  เนื้อส่วนผิวจะมีลายเส้นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล  เนื้อจะมีสีเหลืองอ่อน ๆ ถึงสีเหลืองเข้มอมแดง

ผลผลิต : การให้ผลผลิตหมากแบ่งออกได้ 2 ช่วง  ซึ่งหมากจะให้ผลเกือบตลอดปี  ขึ้นอยู่กับอายุของต้นหมาก  สภาพแวดล้อม อายุและความอุดมสมบูรณ์  ช่วงการเก็บเกี่ยวมีดังนี้

1. หมากปี  จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ช่วงผลผลิตหมากมาก กรกฎาคม - สิงหาคม

2. หมากทะวาย  เริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม หมากทะวายจะมีราคาแพงกว่าหมากปี

การเก็บเกี่ยว
1. ใช้คนปีนขึ้นไปเก็บบนต้น การปีนต้นหมากเหมือนปีต้นมะพร้าว อาจใช้เท้าเปล่าหรือปลอกสรวมเพื่อผ่อนแรง  และพักกลางลำต้น ถึงคอหมากจะรองหน้าหมากโดยเก็บมาผ่าดูว่าแก่พอดีหรือไม่ ถ้าใช้ได้ก็จะตัดทะลาย โดยเฉือนบริเวณขั้วให้เกือบขาดแล้วกระชากโยนลงน้ำในร่องสวนหรือวางบนเข่าแล้วเป็นลงมา

2. ใช้ตะขอสอย  โดยใช้ไม้ไผ่ทำเป็นด้ามยาวตามความต้องการ ปลายมีตะขอเหล็กลักษณะคล้ายเคียวติดอยู่ใช้โดยให้ตะขอเกี่ยวที่ขั้วทะลายแล้วกระชากให้ขาดล่วงลงมา โดยโคนต้นหมากจะมีคน 2 คน ถือกระสอบรอรับหมากที่หล่นลงมาไม่ให้กระแทกกับพื้น

การทำหมากแห้ง : ผลผลิตหมากนอกจากจำหน่ายเป็นหมากสดหรือหมากดิบก็จะหน่ายเป็นหมากแห้ง การทำหมากแห้งทำได้หลายวิธี

1. หมากแห้งที่ทำจากหมากดิบ มี 5 ชนิด
- หมากซอย
- หมากกลีบสับ
- หมากเสี้ยว หรือหมากเจียน
- หมากจุก
- หมากป่น

2. หมากแห้งที่ทำจากหมากแก่หรือหมากส่ง  มี 4 ชนิด
- หมากหั่นหรือหมากอีแปะ
- หมากผ่าสองหรือหมากผ่าซีก
- หมากผ่าสี่
- หมากแห้งทั้งเมล็ด

อัตราส่วนหมากดิบทำเป็นหมากแห้ง
- หมากสด 1,000 ผล ทำหมากแห้งได้ 5 กิโลกรัม
- หมากสง 1,000 ผล  ทำหมากแห้งได้ 14 – 15 กิโลกรัม

ตลาดและการจำหน่าย  มีการจำหน่าย 3 ลักษณะ คือ
- จำหน่ายในรูปหมากกินหรือหมากสด  โดยเกษตรกรจำหน่ายเองที่แปลง
- การจำหน่ายในรูปของหมากสง  ราคาจะไม่ดีสู้หมากดิบไม่ได้
- การจำหน่ายในรูปหมากแห้ง  เป็นผลผลิตที่มีทั้งการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก


ก็ copy มาแต่เฉพาะที่เห็นว่าเกี่ยวกับ "ผลหมาก" ครับ ถ้าท่านใดสนใจประเด็นอื่นๆ เช่น ภาพประกอบ ฤดูกาลปลูก การดูแล ศัตรูพืช ฯลฯ ก็ขอให้ไปอ่านฉบับเต็มได้ที่ http://chachoengsao.doae.go.th/ecoplants/mak.html  
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง