เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 121845 วรรคทองในวรรณคดีสุดโปรดของท่าน
ดาหาชาดา
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 07 ธ.ค. 02, 19:59

 เย้ ส่งได้แล้ววว
มาฝากเนื้อฝากตัวค่ะ
เป็นคนหน้าใหม่ของเรือนไทยยุคมีพาสเวิร์ด
ทักทายเพื่อน ๆทุกคนค่ะ
แล้วจะมาใหม่
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 08 ธ.ค. 02, 10:03

 คุณดาฯยกมาแต่ของสุนทรภู่รึเปล่า
และบทสุดท้ายนี่นี่เอาให้จบสิครับ  ไม่รู้จักเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
ดาหาชาดา
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 09 ธ.ค. 02, 00:04

 กำลังหาอยู่ค่ะ ไม่รู้ว่ามาจากไหน ถ้าเจอแล้วจะเอามาแปะให้นะคะ
วรรคทองแรกมาจากอิเหนาค่ะ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 09 ธ.ค. 02, 06:54

 มาต้อนรับคุณดาหาชาดาครับ ดีใจที่เห็นคุณดาหาฯ เข้ามาเล่นอีกครับหลังจากไม่ได้เห็นกันนาน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 09 ธ.ค. 02, 07:52

 สวัสดีค่ะคุณดาหาชาดา
ขอต่อให้จนจบนะคะ เพราะเป็นบทที่ชอบมากเช่นกัน มาจากขุนช้างขุนแผนค่ะ
บ้างใสสดหยดย้อยเหมือนพลอยนิล
บ้างเหมือนพู่กลิ่นร้อยห้อยเรียงราย
บันทึกการเข้า
ดาหาชาดา
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 09 ธ.ค. 02, 14:06

 หวัดดีคุณนิลกังขากะคุณเทาชมพูด้วยค่ะ
ยังหาไม่เจอเลยค่ะ  อยู่แถว ๆตอนไหนพอจะนึกออกไหมคะ
เคยท่องเมื่อตอนเด็ก  ๆ   ชอบมาก
ขุนช้างขุนแผนกับพระอภัยมณีอ่านตอนผู้ใหญ่ซาบซื้งใจผิดกับตอนท่องปาว ๆเพื่อที่จะสอบเอ็นทรานซ์เยอะ  โดยเฉพาะขุนช้างขุนแผนนี่เป็นเพชรแท้เทียวค่ะ อ่านเมื่อไรเห็นความวาววาม คมกริบเมื่อนั้น  
แล้วก็ยังมีลิลิตพระลออีกเล่ม  อ่านเมื่อไรก็ชื่นใจ เป็นความงามที่ให้เสพได้ไม่มีวันหมด  ยิ่งพินิจก็ยิ่งลึก  
ส่วนรามเกียรติ์กับอิเหนา อลังการณ์ดี ์ บางบทบรรยายก็สวยงามมลังมเลืองเหลือเกิน แต่ไม่สัมผัสลึกเข้าไปถึงอารมณ์เหมือนสามเล่มแรกค่ะ
บันทึกการเข้า
ดาหาชาดา
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 09 ธ.ค. 02, 17:13

 เจอแล้วค่ะ   อยู่ตอนที่ขุนแผนพลายงามยกทัพไปตีเชียงใหม่

"ยกออกนอกเมืองสวรรคโลก      ข้ามโคกเข้าป่าพนาศรี
เจ้าพลายกระสันพันทวี           รำลึกถึงนารีศรีมาลา
ถ้าแม้นแก้วตามาด้วยพี่            จะชวนชี้ชมไม้ไพรพฤกษา
คิดพลางเดินพลางตามทางมา    ข้ามท่าเขินเขาลำเนาธาร
แลเห็นเขาเง้าเงื้อมชะง่อนโงก    เป็นกรวยโกรกน้ำสาดกระเซ็นซ่าน
โครมคึกกึกก้องท้องพนานต์    พลุ่งพล่านมาแต่ยอดศิขรินทร์
เป็นชะวากวุ้งเวิ้งตะเพิงพัก       แง่ชะงักเงื้อมชะง่อนล้วนก้อนหิน
บ้างใสสดหยดย้อยเหมือนพลอยนิล     บ้างเหมือนกลิ่นพู่ร้อยห้อยเรียงราย
ตรงตระพักเพิงผาศิลาเผิน      ชะงักเงิ่นเงื้อมงอกชะแง้หงาย
ที่หุบห้วยเหวหินบิ่นทลาย       เป็นวุ้งโว้งโพรงพรายดูลายพร้อย
บ้างเป็นยอดกอดก่ายตะเกะตะกะ    ตะขรุตะขระเหี้ยนหักเป็นหินห้อย
ขยุกขยิกหยดหยอดเป็นยอดย้อย      บ้างแหลมลอยเลื่อมสลับระยับยิบ
บ้างงอกเง้าเป็นเงี่ยงบ้างเกลี้ยงกลม   บ้างโปปมเป็นปุ่มกระปุบกระปิบ
บ้างปอดแป้วเป็นพูดูลิบลิบ            โล่งตลิดแลตลอดยอดศิขรินทร์
เหล่ามิ่งไม้ไทรโศกอยู่ริมห้วย       ลมชวยหล่นลอยกระแสสินธุ์
น้ำใสแลซึ้งถึงพื้นดิน           ฟุ้งกลิ่นสุมามาลย์บานระย้า
สัตตบุษย์บัวแดงขึ้นแฝงฝัก     พันผักพาดผ่านก้านบุปผา
แพงพวยพุ่งพาดพันสันตะวา          ลอยคงคาทอดยอดไปตามธาร
สาหร่ายเรียงเคียงทับกระจับจอก    ผักบุ้งงอกยอดชูดูสะอ้าน
ภุมรินบินเคล้าสุมามาลย์            ในธาราปลาพล่านตระการตา  ฯ

ให้อ่านยาวเลย คนแต่งต้องเป็นคนที่เก่งภาษาไทยเอามาก ๆ เข้าใจเรื่องการบรรยายภาพโดยใช้เสียงอย่างหาที่ติมิได้     ชอบที่เขาบรรยายถึงหิน เขา จะใช้เสียงสั้น หนักให้เห็นภาพความเว้าแหว่ง แง่คมของหิน   พอย้ายมาบรรยายน้ำ ก็ใช้เสียงเบา ฟังสบายรื่นหูชื่นอารมณ์    อย่างนี้เวลาขับเสภาออกมาคงจะน่าฟังมาก    อ่านแล้วก็เลยคิดไปถึงว่าการมีภาพถ่ายหรือภาพเคลื่อนไหวตลอดจนวิทยุเทปก็เลยทำให้คนเราสูญเสียความสามารถในการบรรยายเสียง  ภาพไปเยอะนะคะ   เพราะคิดแล้ว่าภาพหนึ่งภาพเท่ากับคำพันคำ   กลอนบทนี้พิสูจน์ได้ว่าแม้จะเป็นเช่นนั้นจริง  แต่เราก็พลาดที่จะได้เสพความอิ่มเอมใจจากจินตนาการที่สร้างขึ้นด้วย"น้ำคำ"ของมนุษย์ล้วน ๆไป.....เพ้อเจ้อมากแล้วกลับไปทำงานต่อดีกว่า
บันทึกการเข้า
ดาหาชาดา
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 09 ธ.ค. 02, 17:14

 เจอแล้วค่ะ   อยู่ตอนที่ขุนแผนพลายงามยกทัพไปตีเชียงใหม่

"ยกออกนอกเมืองสวรรคโลก      ข้ามโคกเข้าป่าพนาศรี
เจ้าพลายกระสันพันทวี           รำลึกถึงนารีศรีมาลา
ถ้าแม้นแก้วตามาด้วยพี่            จะชวนชี้ชมไม้ไพรพฤกษา
คิดพลางเดินพลางตามทางมา    ข้ามท่าเขินเขาลำเนาธาร
แลเห็นเขาเง้าเงื้อมชะง่อนโงก    เป็นกรวยโกรกน้ำสาดกระเซ็นซ่าน
โครมคึกกึกก้องท้องพนานต์    พลุ่งพล่านมาแต่ยอดศิขรินทร์
เป็นชะวากวุ้งเวิ้งตะเพิงพัก       แง่ชะงักเงื้อมชะง่อนล้วนก้อนหิน
บ้างใสสดหยดย้อยเหมือนพลอยนิล     บ้างเหมือนกลิ่นพู่ร้อยห้อยเรียงราย
ตรงตระพักเพิงผาศิลาเผิน      ชะงักเงิ่นเงื้อมงอกชะแง้หงาย
ที่หุบห้วยเหวหินบิ่นทลาย       เป็นวุ้งโว้งโพรงพรายดูลายพร้อย
บ้างเป็นยอดกอดก่ายตะเกะตะกะ    ตะขรุตะขระเหี้ยนหักเป็นหินห้อย
ขยุกขยิกหยดหยอดเป็นยอดย้อย      บ้างแหลมลอยเลื่อมสลับระยับยิบ
บ้างงอกเง้าเป็นเงี่ยงบ้างเกลี้ยงกลม   บ้างโปปมเป็นปุ่มกระปุบกระปิบ
บ้างปอดแป้วเป็นพูดูลิบลิบ            โล่งตลิดแลตลอดยอดศิขรินทร์
เหล่ามิ่งไม้ไทรโศกอยู่ริมห้วย       ลมชวยหล่นลอยกระแสสินธุ์
น้ำใสแลซึ้งถึงพื้นดิน           ฟุ้งกลิ่นสุมามาลย์บานระย้า
สัตตบุษย์บัวแดงขึ้นแฝงฝัก     พันผักพาดผ่านก้านบุปผา
แพงพวยพุ่งพาดพันสันตะวา          ลอยคงคาทอดยอดไปตามธาร
สาหร่ายเรียงเคียงทับกระจับจอก    ผักบุ้งงอกยอดชูดูสะอ้าน
ภุมรินบินเคล้าสุมามาลย์            ในธาราปลาพล่านตระการตา  ฯ
บันทึกการเข้า
ดาหาชาดา
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 09 ธ.ค. 02, 17:15

 - ยกออกนอกเมืองสวรรคโลก      ข้ามโคกเข้าป่าพนาศรี
เจ้าพลายkrasanพันทวี           รำลึกถึงนารีศรีมาลา
ถ้าแม้นแก้วตามาด้วยพี่            จะชวนชี้ชมไม้ไพรพฤกษา
คิดพลางเดินพลางตามทางมา    ข้ามท่าเขินเขาลำเนาธาร
แลเห็นเขาเง้าเงื้อมชะง่อนโงก    เป็นกรวยโกรกน้ำสาดกระเซ็นซ่าน
โครมคึกกึกก้องท้องพนานต์    พลุ่งพล่านมาแต่ยอดศิขรินทร์
เป็นชะวากวุ้งเวิ้งตะเพิงพัก       แง่ชะงักเงื้อมชะง่อนล้วนก้อนหิน
บ้างใสสดหยดย้อยเหมือนพลอยนิล     บ้างเหมือนกลิ่นพู่ร้อยห้อยเรียงราย
ตรงตระพักเพิงผาศิลาเผิน      ชะงักเงิ่นเงื้อมงอกชะแง้หงาย
ที่หุบห้วยเหวหินบิ่นทลาย       เป็นวุ้งโว้งโพรงพรายดูลายพร้อย
บ้างเป็นยอดกอดก่ายตะเกะตะกะ    ตะขรุตะขระเหี้ยนหักเป็นหินห้อย
ขยุกขยิกหยดหยอดเป็นยอดย้อย      บ้างแหลมลอยเลื่อมสลับระยับยิบ
บ้างงอกเง้าเป็นเงี่ยงบ้างเกลี้ยงกลม   บ้างโปปมเป็นปุ่มกระปุบกระปิบ
บ้างปอดแป้วเป็นพูดูลิบลิบ            โล่งตลิดแลตลอดยอดศิขรินทร์
เหล่ามิ่งไม้ไทรโศกอยู่ริมห้วย       ลมชวยหล่นลอยกระแสสินธุ์
น้ำใสแลซึ้งถึงพื้นดิน           ฟุ้งกลิ่นสุมามาลย์บานระย้า
สัตตบุษย์บัวแดงขึ้นแฝงฝัก     พันผักพาดผ่านก้านบุปผา
แพงพวยพุ่งพาดพันสันตะวา          ลอยคงคาทอดยอดไปตามธาร
สาหร่ายเรียงเคียงทับกระจับจอก    ผักบุ้งงอกยอดชูดูสะอ้าน
ภุมรินบินเคล้าสุมามาลย์            ในธาราปลาพล่านตระการตา  ฯ
บันทึกการเข้า
ดาหาชาดา
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 09 ธ.ค. 02, 17:19

 อ้าวแล้วทำไมส่งหลายหนขนาดนั้น
ครือพยายามทำให้วรรคมันขาดกันอ่านจะได้สะดวกขึ้นน่ะค่ะ
แล้วไม่ได้refresh คิดว่ามีคำหยาบเลยส่งไม่เข้า
สมาชิกให้อภัยแก่สติปัญญาอันน้อยนิดของข้าพเจ้าด้วยเทอญ
บันทึกการเข้า
ดาหาชาดา
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 11 ธ.ค. 02, 15:28

 โห หายไปไหนกันหมดคะนี่
สงสัยหยุดยาวกันหมดเลย
เหลือเราอยู่โยงคนเดียว
ไม่เป็นไรเพิ่มเรตติ้ง

"ลูกเอ๋ย ไม่เคยรู้รสร้าย
ที่ความรักกลับกลายแล้วหน่ายหนี
อันเจ็บปวดยวดยิ่งทุกสิ่งมี
ไม่เท่าที่เจ็บช้ำระกำรัก"

มาจากขุนช้างขุนแผนเหมือนกัน   บทนี้หลังจากบทข้างบนหน่อยนึง  พลายงามขี่ม้าจะไปตีเชียงใหม่ นึกถึงศรีมาลาไปด้วย เผลอตัวยกแส้ฟาดม้าของขุนแผน ที่ตกใจโผนขึ้นทำให้ขุนแผนเกือบหล่นจากหลังม้า  ขุนแผนโกรธถามว่าทำอะไร  พลายงามตอบตามจริงว่าฝันกลางวันว่าแต่งงานกับศรีมาลาแล้ว  และศรีมาลากำลังจะคลอดลูก  แต่บ่าวงกเงิ่นทำไม่ถูกใจ  พลายงามเลยเฆี่ยนเสียด้วยหวาย แต่กลายเป็นเอาแส้ฟาดม้าของพ่อเสียนี่   ขุนแผนซึ่งผ่านความรักมาโชกโชนจึงรำพึงบทนี้ขึ้นมา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 16 ธ.ค. 02, 07:58

 ขอแซมด้วยบทกวียุคปัจจุบันสักนิดนะคะ  
ที่จริงก็ไม่ใหม่นักหรอก เดาว่าไม่ต่ำกว่า ๓๐ ปีแล้ว

ให้คิดถึงเพียงใดใจจะขาด
ก็มิอาจไปตามความคิดถึง
ห้ามมาหาแต่อย่าห้ามความคะนึง
จะดื้อดึงโดยถ้อยร้อยรำพัน

คิดเสมอเมื่อใจใฝ่ถึงเขา
สายตาเศร้าเฝ้าเตือนว่าเหมือนฝัน
แววอาวรณ์อ่อนหวานผสานกัน
เหมือนจำนรรจ์จำนนท้นอาลัย

จะตัดพ้อต่อว่าประสารัก
ใจก็ทักท้วงห้ามตามวิสัย
จงมองตาตาจะเตือนว่าเหมือนใจ
ถ้าแจ้งได้ก็จะแจ้งไม่แฝงเงา

รู้ทั้งรู้ว่ารักจักให้ทุกข์
ใจยังรุกเร้าหลอกให้บอกเขา
ช่างไม่เข็ดหรือไรนะใจเรา
เขามีเจ้าของแล้วในแววตา


เดือนดับในดวงตา
ของ
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
บันทึกการเข้า
ทองรัก
พาลี
****
ตอบ: 390

นักวิจัย


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 16 ธ.ค. 02, 09:46

อ่านบทกลอนที่คุณเทาชมพูยกมาแล้วทำให้นึกถึงกลอนบทนี้ค่ะ

น้ำค้าง
หยาดลงกลางกลีบแก้วดูแพรวพร่า
แวววิเชียรเฉกฉันพรรณผกา
งามเหมือนตาเธอฉายประกายวาว

เกรงเหลือเกินเกรงฝันจะพลันดับ
เลือนไปกับทิวาในหน้าหนาว
คิดถึงเธอทุกวันฝันทุกคราว
อยากจะกล่าวรำพันก็หวั่นใจ

เสน่หา
ของคุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
เช่นเดียวกันค่ะ
บันทึกการเข้า
ถาวภักดิ์
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 17 ธ.ค. 02, 08:52

 พี่พบสองน้องนางต่างวาระ
ต่างพันธะผูกจิตพิศมัย
จึ่งคนแรกเอาฤดีของพี่ไป
อีกคนได้รักสุดท้ายของชายทราม

จำไว้นานแล้ว  ไม่ทราบว่าใครแต่ง  ไม่มีโอกาสได้ใช้ซะที  ของัดมาส่งประกวดอีกบทนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 17 ธ.ค. 02, 16:08

 เพิ่งพบโคลงที่คุณทองรักโพสต์ไว้ ๒ บาทแรก  เลยต่อให้จนจบค่ะ

จามรีขนข้องอยู่............หยุดปลด
ชีพบ่รักษ์รักษ์ยศ...........ยิ่งไซร้
สัตว์โลกอันสมมต..........มีชาติ
ดูเยี่ยงสัตว์นั้นได้...........ยศซ้องสรรเสริญ

จาก  โคลงโลกนิติ

ตัวจามรี ดิฉันนึกไม่ออกว่าแปลเป็นภาษาอังกฤษว่าอะไร  สัตว์ที่เราเรียกว่า ลามะ หรือลามา  หรือเปล่าคะ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯบอกแต่ชื่อชนิดชื่อวงศ์เป็นภาษาวิทยาศาสตร์ยาวเหยียด แต่ไม่มีชื่อสามัญ  
รู้แต่ว่าอยู่แถวธิเบต มีขนยาวเป็นพวง      กล่าวกันว่าถ้ามันหนีศัตรูวิ่งเข้าป่า  ถูกกิ่งไม้หรือหนามเกี่ยวขน มันจะหยุดปลดขน  ไม่ยอมให้หนามเกี่ยวกระชากจนขนขาดหลุด   ก็เลยถูกพรานยิงตายเอาง่ายๆเพราะมัวหยุดนี่แหละค่ะ
ในพระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  มีคาถาบทหนึ่ง นำจามรีมาเทียบกับผู้หวังพระโพธิญาณ ย่อมรักษาศีลยิ่งชีวิต  เหมือนจามรีรักษาขนหาง  ยอมตาย แต่ไม่ยอมทำให้ขนหางเสียหายไป
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง