เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4736 อยากทราบเกี่ยวกับการตั้งพระนามเจ้าทรงกรม
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


 เมื่อ 22 พ.ย. 02, 01:15

 อยากเรียนถามท่านผู้รู้ทั้งหลายว่ามีเหตุผลในการตั้งกรมขุน หลวง พระยา อะไรยังไง   อย่างเช่นการตั้งเป็นชื่อจังหวัด  ถ้าจังหวัดในเมืองไทยหมดแล้วจะทำไง แล้วการเลือกชื่อจังหวัดนี้มีความนัยยังไง
เช่น กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
กรมหลวงเพชรบุรีดิเรกฤทธิ์ ฯลฯ
แต่กรมพระยากลับไม่มีชื่อจังหวัด เช่น
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
แล้วกรมเจ้าพระยาเคยมีมั้ย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 พ.ย. 02, 13:32

ก่อนอื่นคุณ paganini ต้องแยกเสียก่อนค่ะ  ว่าเจ้านายทรงกรมนั้นเป็นพระราชโอรสธิดาในรัชกาลแตกต่างกันไปตั้งแต่ ๑-๕  
ดังนั้น  พระนามเมื่อทรงกรมก็แตกต่างกันไป  ไม่ใช่นำมาจัดเรียงเข้าด้วยกันได้เลย  ว่าทำไมถึงมียังงี้ ทำไมไม่มียังโง้น

หลักการสังเกตขั้นแรกคือถ้าเห็นพระนามทรงกรมที่เป็นชื่อจังหวัดละก็   ๙๙% เป็นพระราชโอรสธิดาในรัชกาลที่ ๕   เว้นบางองค์เท่านั้นที่ทรงกรมในระยะหลัง

ที่มาของพระนามจังหวัดนี้ เล่ากันมาว่ารัชกาลที่ ๕ ทรงได้แรงบันดาลใจมาจากพระนามเจ้านายอังกฤษ   ที่เป็นดยุค หรือเอิร์ล ของเมืองต่างๆ  อย่างดยุคออฟลานคาสเตอร์

การกำหนดพระนามโดยชื่อเมืองก็มีหลักการควบคู่กันไป   เพราะบางพระองค์เป็นเจ้าฟ้า ซึ่งมีชั้นเอกชั้นโท   บางองค์ก็เป็นพระองค์เจ้า เพราะเกิดจากเจ้าจอมมารดา
ชื่อเมืองที่นำมาเป็นพระนามจึงเป็นเมืองใหญ่บ้างเล็กบ้าง  ตามระเบียบหัวเมืองเอกโทอย่างเมื่อก่อน  เช่นกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

ส่วนพระนามเจ้านายที่ไม่มีชื่อเมือง   ก็เป็นพระราชโอรสธิดาในรัชกาลที่ ๑-๔
ถ้าเป็นในรัชกาลที่ ๔ ละก็    พระบรมราชชนกพระราชทานไว้คล้องจองกันหมด   แล้วที่เก๋คืออ่านย้อนถอยหลังมาก็จะได้คล้องจองกันหมดเหมือนกัน

แล้วจะไปหามาอ่านให้ฟังค่ะ
บันทึกการเข้า
หนูหมุด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 88


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 25 พ.ย. 02, 14:27

 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์, กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรกาศ (พ.ศ. ๒๔๐๔), กรมขุนพินิตประชานาถ(๒๔๐๘))
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจันทรมณฑลโสภณภควดี, พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเฉลิมพระนามอัฐิ ให้เป็น  สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี, ในรัชกาลที่ ๕ เป็น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงฯ และ เลื่อนพระยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระจักรพรรดิพงศ์ (ต้นสกุล จักรพันธุ์)
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์, ในรัชกาลที่ ๕ เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมหลวงภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เลื่อนพระเกียรติยศในรัชกาลที่ ๖ เป็น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช และต่อมาในรัชกาลที่ ๗ ทรงได้รับการสถาปนา พระเกียรติยศเป็น สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข  (ต้นสกุล ภานุพันธุ์)
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 พ.ย. 02, 08:41

 ขอบคุณท่านทั้งสองที่ให้ความรู้ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 02 ธ.ค. 02, 14:35

ขอโทษที่มาช้าไปหน่อยค่ะ
ขอต่อเรื่องที่ค้างอยู่
วิธีสังเกตพระนามเจ้านายทรงกรมที่เป็นพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๔ คือพระนามทรงกรมเรียงลำดับคล้องจองกัน ตามอาวุโส ของปีประสูติ ตั้งแต่พระองค์ใหญ่สุดจนท้ายสุด
ตามนี้ค่ะ
นเรศวรฤทธิ์
พิชิตปรีชากร
อดิศรอุดมเดช
ภูธเรศธำรงค์ศักดิ์
ประจักษ์ศิลปาคม
พรหมวรานุรักษ์
ราชศักดิ์สโมสร
ทิวากรวงศ์ประวัติ
สิริธัชสังกาศ
สรรพสาตรศุภกิจ
สรรพสิทธิประสงค์
เทวะวงศ์วโรปการ
วชิรญาณวโรรส
สมมตอมรพันธ์
วิวิธวรรณปรีชา
พงศาดิศรมหิป
นราธิปประพันธ์พงศ์
ดำรงราชานุภาพ
พิทยลาภพฤฒิธาดา
นริศรานุวัดติวงศ์
มรุพงศ์สิริพัฒน์
สวัสดิวัตนวิศิษฎ์
มหิศรราชหฤทัย

แล้วที่เก๋มากก็คือถ้าลำดับกลับตั้งแต่พระนามเจ้านายองค์อ่อนอาวุโสที่สุด
ย้อนกลับไปถึงองค์ที่หนึ่ง  ก็จะคล้องจองลงจังหวะกันได้ตลอด
และได้ความหมายของคำ ครบถ้วนด้วย
คือ

ราชหฤทัยมหิศร์
วิศิษฎ์สวัสดิวัตน์
สิริพัฒน์มรุพงศ์
นุวัดติวงศ์นริศรา
พฤฒิธาดาพิทยลาภ
ราชานุภาพดำรง
ประพันธ์พงศ์นราธิป
ดิศรมหิปพงศา
ปรีชาวิวิธวรรณ
อมรพันธ์สมมต
วโรรสวชิรญาณ
วโรปการเทวะวงศ์
ประสงค์สรรพสิทธิ
ศุภกิจสรรพสาตร
สังกาศสิริธัช
วงศ์ประวัติทิวากร
สโมสรราชศักดิ์
วรานุรักษ์พรหม
ศิลปาคมประจักษ์
ธำรงค์ศักดิ์ภูธเรศ
อุดมเดชอดิศร
ปรีชากรพิชิต
วรฤทธิ์นเรศ


จากหนังสือ วันวารที่ผ่านไป
ของ จินตนา อิศรางกูรฯ

ตามธรรมเนียม  เมื่อเจ้านายมีพระชนมายุพอสมควร ก็จะได้ทรงกรม แล้วถ้ามีความดีความชอบก็อาจได้เลื่อนขึ้นไปอีก จากขุน หลวง พระ พระยา เป็นสูงสุด
ทรงกรมในที่นี้หมายความรวมถึงการมีวังแยกออกไปเป็นของพระองค์เอง   มีข้าราชบริพารส่วนพระองค์   หัวหน้าเรียกว่าเจ้ากรม
เจ้ากรมจะมีบรรดาศักดิ์เป็นขุน หลวง พระ พระยา ตามด้วยราชทินนาม
เจ้านายที่ทรงกรมนั้น ก็เรียกตามพระนามทรงกรม ว่ากรมขุน กรมหลวง กรมพระฯลฯ
อย่างเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ มีเจ้ากรม คือขุนสงขลานครินทร์  (หลี ตะละภัฏ)
เรียกอย่างชาวบ้านว่าเจ้ากรมหลี
มีเกร็ดเล่าแถมให้ฟังค่ะ
ในรัชกาลที่ ๖  เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ ขณะนั้นยังทรงเป็นนางสาวสังวาล  จะเดินทางไปสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาวิชาพยาบาล
หนังสือเดินทางต้องใช้นามสกุล แต่ยังไม่ทรงมีนามสกุล ก็เลยต้องทรงยืมนามสกุลเจ้ากรมหลีมาใช้
จึงทรงมีพระนามอยู่ชั่วระยะหนึ่งว่า นางสาวสังวาล ตะละภัฎ
แต่ว่ามิได้ทรงเป็นญาติกับคนในสกุลนี้แต่อย่างใด

ธรรมเนียมที่ว่าทรงกรม มีเจ้ากรม ปลัดกรมนี้ ใช้อยู่ในช่วงเวลาเมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง
หลังจากนั้นเจ้านายที่ทรงกรม ก็มีพระนามทรงกรมเฉยๆ เช่นกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์   กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิต ไม่มีข้าราชบริพารเจ้ากรมอย่างสมัยก่อนค่ะ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 ธ.ค. 02, 01:57

 ขอบคุณมากกกกกกก ครับ  คุณเทาชมพูตอบคราวนี้แก้ข้อสงสัยผมหมดเลย   ผมชอบจริงๆสำหรับการตั้งชื่อของพระเจ้าลูกยาเธอใน ร.4  เขามีความแยบยลมากๆๆเลย ถ้าไม่บอกไม่มีทางสังเกตได้แน่เลย
งั้นขอถามต่อครับ (แฮ่ๆๆได้คืบเอาศอก) แล้วพระนามทรงกรมของ ร.5 คืออันไหนครับ แล้ว กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรกาศ (2404)จะวางตรงไหนครับ
และหนังสือวันวารที่ผ่านไป นี่น่าสนใจมากเลยครับ 555
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 ธ.ค. 02, 08:09

 ดิฉันเกิดความสงสัยอย่างคุณ paganini ว่า  ไปเปิดหนังสือ วันวารฯ  เขาก็ลงพระนามไว้แค่นี้ละค่ะ    
อาจจะมีรายพระนามเจ้านายข้างต้นที่ขาดหายไป ก่อนกรมพระนเรศวรฤทธิ์   ทำให้ลงไม่ครบ  เพราะเจ้าของเรื่องคัดมาจากหนังสือเก่าอีกทีหนึ่ง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง