เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 93149 Violin Concerto ในดวงใจ
HotChoc
มัจฉานุ
**
ตอบ: 62


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 20 ม.ค. 06, 12:02

 ตัวผมตอนเด็กๆคุณแม่ก็จับเล่นเปียโนครับ แต่เล่นๆไปก็เบื่อดูมันไร้จุดหมาย พอโตขึ้นมาเริ่มฟังเพลงคลาสสิกตอนมาอยู่อเมริกาแล้วชอบขึ้นมา ก็กลับไปฝึกเล่นเปียโนใหม่ได้ความซาบซึ้งมากกว่าตอนเด็กมากครับ

Symphony #3 ของ Beethoven นี่ผมอ่านทาง Internet เขาว่าตัวโน๊ตเพลง original เลยที่บีโทเฟนเขียน มีรอยฆ่าชื่อนโปเลียนออกด้วยนะครับ ตอนแรกบีโทเฟนนิยมในตัวนโปเลียนเพราะเป็นผู้นำความสงบมาสู่ฝรั่งเศสซึ่งตอนนั้นวุ่นวายเพราะการปฎิวัติ และเป็นตัวแทนของความเสมอภาคภราดรภาพของมนุษย์ด้วย เลยแต่ง Symphony #3 ให้ แต่พอนโปเลียนตั้งตัวเป็นจักรพรรดิบีโทเฟนก็โมโห เลยกาชื่อนโปเลียนออกจากบทเพลง ตอนนี้Symphony #3 เลยชื่อ Eroica (Heroic) ไป รู้สึกว่่าตอนแสดงเพลงนี้ครั้งแรกบีโทเฟนบอกว่าเพลงนี้แต่งเพื่อ in memory of a great man ด้วย โห...เจ็บจริงๆ
บันทึกการเข้า
คำฝอย
มัจฉานุ
**
ตอบ: 64

เรียน


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 20 ม.ค. 06, 20:54

 ขอบคุณ คุณ  HOtchoc  และคุณ Paganini ค่ะ  คราวนี้จะได้รู้เสียทีว่าทำไมถึงตั้งชื่อเป็นหมายเลข แล้ว   Allegro , Andante หมายถึงอะไร

เมื่อครั้งที่ไปเยี่ยมเพื่อนที่ แมดริด ก็เกือบปล่อยไก่ไป เพราะชื่อเพลงนี่ล่ะค่ะเพื่อนเป็นแฟนคลาสสิกตัวยง ดิฉันก็บอกว่า เรามี Beethoven อยู่แผ่นหนึ่ง ฟังประจำ  เขาถามว่า แล้วมันชื่อว่าอะไร ก็นึกได้ว่า เคยพยายามหาชื่อ ก็เห็นบอกว่า Symphony หมายเลขอะไรซํกอย่าง แล้วก็เขียนเรียงลงมา ว่า  Allegro  แล้วก็อะไรอื่นๆ อีกเยอะแยะ แต่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นชื่อกันแน่ เกือบบอกเขาไปว่า เพลง  Allegro ดูสิคะ มืดบอดแค่ไหน

ฟังเพลงคลาสสิกเริ่มต้นเมื่อไหร่ ไม่แน่ชัดเหมือนกันค่ะ เพราะตอนเด็กๆ ที่บ้านจะไม่มีเพลงคลาสสิก ฟังกันแต่สุนทราภรณ์ค่ะ ไม่เคยเรียนดนตรี และเล่นกีฬา (ยกเว้น ลีลาศนะคะ เพราะว่า คุณพ่อเป็น เท้าไฟ) ตอนเป็นวัยรุ่นก็ฟังพวก  bubblegum ค่ะ มาเริ่มฟังเพลงคลาสสิกแบบค่อยเป็นค่อยไป ตอนมาเรียน ป.โท ที่ จุฬา ฯ ค่ะ ดึกๆ รายการวิทยุช่องไหนไม่ทราบจะเปิดเพลงคลาสสิก บางทีมีโอเปรา ด้วย ชอบมาก แล้ว อีกรายการที่ชอบ นานมากแล้ว (ชักลืม) น่าจะเป็นบ่ายวันอาทิตย์ ชื่อ  dream and memory ที่มีเพลงเก่า เพราะๆ นะค่ะ ก็ฟังเรื่อยมาหลังจากนั้น โดนเพื่อนร่วมงานกัดแกมหยอกออกบ่อยๆ ว่า ทำเป็นพวกเห่อของนอก  ก็ ปล่อยเขาไปค่ะ ลางเนื้อชอบลางยา ว่าไม่ได้

เพิ่งทราบว่า  Beethoven  แกแอบแค้นนโปเลียน

ขอสารภาพนะคะ ดิฉันอยู่เยอรมนี บางทีแอบแค้นคนเยอรมันบ่อยๆ ค่ะ (น่าละอาย) แล้วเรื่องภาษานี่ ดิฉันลำบากมาก เพราะมันเรียนยาก แล้วยังไม่ค่อยเพราะอีก เลยพาล หาว่าที่ คีตกวี ชาวเยอรมัน โด่งดัง เพราะว่า เพลงไม่มีเนื้อร้องน่ะค่ะ แหะ แหะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 20 ม.ค. 06, 21:21

 คุณคำฝอยต้องระวังนะครับ Richard Wagner คีตกวีชาวเยอรมันเป็นเจ้าพ่อ Opera คนนึงเลยนะครับ หาว่าคีตกวีชาวเยอรมันโด่งดังเพราะว่าเพลงไม่มีเนื้อร้องนี่ผมว่าเขาสู้ตายเลยนะ    
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
HotChoc
มัจฉานุ
**
ตอบ: 62


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 20 ม.ค. 06, 22:26

 โห...คุณคำผอยอยู่เยอรมันนี่ถือเป็นถิ่นดนตรีคลาสสิกเลยครับ ลองไปฟังคอนเสิร์ตดนตรีคลาสสิกของวงดนตรีประจำเมืองดูซิครับ ถ้าหาดีๆอาจจะได้ดูฟรีเลยก็ได้ น่าจะมีหลายวงเลยเพราะเขาว่าคนเยอรมัน 1 ใน 4 จะเล่นเครื่องดนตรีคลาสสิกเป็น ทางยุโรปดนตรีคลาสสิกคงเป็นอะไรที่ธรรมดามากมั้งครับ ตอนผมไปเที่ยวสเปน แวะหาอาหารกินตอนเช้าตรู่ เป็นร้านแบบข้างถนนเลยครับ เดินเข้าไปเจ้าของร้านกำลังฟัง Symphony #5 ของ Beethoven อยู่เลย

ตัวผมเองไม่ได้สนใจ Opera หรือดนตรีมีคำร้องมากนักน่ะครับเพราะว่าฟังไม่ออก    
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 23 ม.ค. 06, 12:54

 ขอโทษที่หายไปนานครับ ... วันนี้นำของมาฝากที่ตรงกับหัวข้อหน่อย

Anne Sophie Mutter: The Berlin Recital (aka The recital on behalf of her late husband)

Brahms, Debussy, Mozart, Franck

Deutsch Grammaphone: 1996


01. Brahms-Scherzo in C minor
02. Debussy-Sonato for violin in G minor: Allegro vivo
03. Debussy-Sonato for violin in G minor: Intermede. Fantasque et leger
04. Debussy-Sonato for violin in G minor: Finale - Tres anime
05. Mozart-Sonato for violin in E minor: Allegro
06. Mozart-Sonato for violin in E minor: Tempo di Minuetto
07. Franck-Sonato for violin in A major: Allegretto moderato
08. Franck-Sonato for violin in A major: Allegro
09. Franck-Sonato for violin in A major: Recitativo-Fantasia - Moderato
10. Franck-Sonato for violin in A major: Allegretto poco mosso
11. Brahms-Hungarian Dances No. 2 in B minor
12. Brahms-Hungarian Dances No. 5 in G minor
13. Debussy-Beau Soir

links:

 http://st3.ok.okxr.com//Song/464088/2006/01/15/011925,416389.mp3  
 http://st3.ok.okxr.com//Song/464088/2006/01/15/013827,839501.mp3  
 http://st3.ok.okxr.com//Song/464088/2006/01/15/014147,975373.mp3  
 http://st3.ok.okxr.com//Song/464088/2006/01/15/014444,771806.mp3
http://st3.ok.okxr.com//Song/464088/2006/01/15/015947,314698.mp3  http://st3.ok.okxr.com//Song/464088/2006/01/15/020420,746108.mp3
 http://st3.ok.okxr.com//Song/464088/2006/01/15/020909,519063.mp3  
 http://st3.ok.okxr.com//Song/464088/2006/01/15/021417,17485.mp3  http://st3.ok.okxr.com//Song/464088/2006/01/15/022716,173618.mp3
 http://st3.ok.okxr.com//Song/464088/2006/01/15/023120,594776.mp3  
 http://st3.ok.okxr.com//Song/464088/2006/01/15/024208,411028.mp3  
 http://st3.ok.okxr.com//Song/464088/2006/01/15/024911,963427.mp3  
 http://st3.ok.okxr.com//Song/464088/2006/01/15/025129,193303.mp3



นอกจากนั้นแล้วนำของฝากของชาวโอเปร่ามาให้ด้วย

The Greatest Opera Show on Earth: DECCA

CD1

1. Carmen: Prelude

2. La Traviata: Brindisi: Libiamo, Ne Lieti Calici

3. La Boheme: Che Gelida Manina

4. Lakme: Flower duet: Dome Epais Le Jasmin

5. Fedora: Amor Ti Vieta

6. Carmen: Habanera: L’amour Est Un Oiseau Rebelle

7. Nabucc Chorus Of The Hebrew Slaves: Va Pensiero

8. Le Nozze Di Figar Dove Sono

9. Rigolett La Donna mobile

10. Lohengrin: Bridal Chorus: Treulich Gefuhrt Ziehet Dahin

11. Gianni Schicchi: O Mio Babbino Caro

12. Il Barbiere Di Siviglia: Largo Al Factotum

13. La Wally: Ebben?...Ne Andr?Lontana

14. Madama Butterfly: Humming Chorus

15. Carmen: Flower Song: La Fleur Que Tu M’avais Jetee

16. Les Contes D’Hoffmann: Barcarolle: Belle Nuit, O Nuit D’amour

17. Tosca: E Lucevan Le Stelle

18. Madama Butterfly: Un Bel Di

19. Les Pecheurs De Perles: C’est Toi...Au Fond Du Temple Saint

 http://211.155.226.126:8086/download/music/The%20Greatest%20Opera%20Show%20on%20Earth/CD1/(*).mp3  

(*) add in 01-19


CD2

1. Die Walküre: The Ride Of The Valkyries

2. Le nozze di Figar Voi Che Sapete

3. Pagliacci: Recitar!...Vesti la giubba

4. La Bohème: O soave fanciulla

5. Il travatore: Anvil Chorus: Vedi! Le fosche

6. Manon Lescaut: Donna Non Vidi Mai

7. Don Giovanni: Là Ci Darem La Mano

8. Mattinata - Leoncavallo

9. Faust: Soldiers’ Chorus

10. L’Elisir d’Amore: Una Furtiva Lagrima

11. Turandot: Signore, Ascolta!

12. Don Giovanni: Champagne Aria

13. Cosi fan tutte: Tri Soave Sia Il Vento

14. Il Trovatore: Di Quella Pira

15. TOSCA: Vissi D’Arte

16. Carmen: Toreador Song

17. Madama Butterly: Love Duet: Vogliatemi bene

18. Cavalleria Rusticana: Intermezzo

19. Rusalka: O Silver Moon

20. La Bohème: Si. Mi Chiamano Mimi

21. Turandot: Nessun Dorma

 http://211.155.226.126:8086/download/music/The%20Greatest%20Opera%20Show%20on%20Earth/CD2/(*).mp3


(*) add in 01-21

โบนัสสำหรับวันนี้

เพลงบรรเลงจีนครับ ลองฟ้งดูแล้วกันนะครับ

Spring Night with Flower Blossoms

 http://www.yzgzc.com/wma/chunjianghuayueye.wma

Guangling Melody

 http://www.chinakongzi.com/2550/music/download/guqin/guanglingsan.mp3

River and Water

"เจียงเหอสุ่ย(ที่มาบรรจบของ)แม่น้ำกับ(สาย)น้ำ(ตา)" ลองฟังเสียงสะอื้นของ "ก่วนสึ (เครื่องดนตรี) ดูนะครับ อีกฉบับนึงของเพลงนี้ที่ได้รับความนิยมก็จะเป็นการบรรเลงเพลงด้วยซอจีน "เอ้อหู" ซึ่งก็เล่นได้เศร้าไม่แพ้กัน

 http://www.chinakongzi.com/2550/music/download/shang4guan/jiangheshui.mp3

สามเพลงต่อมานี้จะเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ส่งผลโดยตรงคือการสถาปนาราชวงศ์ฮั่น  ซึ่งก็คือ ศึกก้ายเซี่ย "ก้ายเซี่ยจือจ้าน" ที่ผลก็คือ ชอป้าอ๋อง (ตามที่คนไทยรู้จักกัน หรือ ซีฉู่ป้าหวาง ในจีนกลาง) แพ้ และ ฆ่าตัวตาย

10 Sided Ambush "สือเมี่ยนหมายฝู ซุ่มโจมตีจากทั้งสิบทิศ" เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงหน้าสุดท้ายของสงคราม แต่ทว่าเป็นการมองเหตุการณ์เดียวกันจากมุมมองของหลิวปัง ผู้ชนะ


 http://www.chinakongzi.com/2550/music/download/pipa/shimianmf.mp3

The Hegemon Taking off His Armor "ป้าหวางเซี่ยเจี่ย ป้าอ๋องถอดเกราะ" เป็นบทเพลงที่บรรยายถึงเหตุการณ์ และมุมมองของ ป้าอ๋องต่อศึกครั้งนี้

 http://www.chinakongzi.com/2550/music/download/pipa/bawangxj.mp3

The Song of "Chu" "ฉู่เกอ เพลงทำนองพื้นเมืองฉู่" เป็นเพลงซึ่งเป็นกุศโลบายทำให้ทหารของป้าหวางคิดถึงบ้านเก่า และเสียกำลังใจในการรบ ซึ่งก็เป็นอีกประการหนึ่งที่ทำให้ป้าอ๋องแพ้ศึกครั้งนี้

 http://www.chinakongzi.com/2550/music/download/minzu/%B3%FE%B8%E8.rm

"สือเมี่ยนหมายฝู่" กับ "ป้าหวางเซี่ยเจี่ย" มักจะถือว่าเป็นเพลงคู่แฝดคนละฝา ซึ่งกล่าวคือ ถึงแม้ว่าทั้งสองเพลงจะกล่าวถึงเหตุการณ์เดียวกัน ทว่า ความที่มุมมองไม่เหมือนกันนั้น ก็ทำให้อรรถรสในการฟังนั้นเปลี่ยนไปด้วย

ชอบไม่ชอบอย่างไรก็บอกนะครับ

ผมขอตั้งคำถามครับ

จากการฟังเพลง "เจียงเหอสุ่ย" ผมขอถามทุกท่านว่า เพลงนี้กำลังพยายามบรรยาย หรือ บอกเล่าเรีืองราวอะไรอยู่ครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 24 ม.ค. 06, 11:34

 บังเอิญเคยแอบดูคำตอบของคำถามข้อนี้ของคุณ Peking Man มาก่อนแล้ว ก็เลยไม่กล้าตอบครับ  

ดนตรีนั้นเป็นภาษาสากล สื่อจากใจถึงใจ แปลความหมายได้จากทำนองครับ

ขอบคุณคุณ Peking Man อีกครั้งครับ ผมได้ฟังหมดแล้ว ได้อารมณ์ดีครับ

ว่าแต่ Guangling San นี่หนักนะ ผมว่า แต่คุ้มที่จะฟังครับ ถ้าคิดว่าเป็นเพลงที่มีอายุถึง 2,000 ปี

เป็น Proto Romantic หรือเปล่านี่  


เมื่อวันก่อน เปิดเจอ Forever Young ใน UBC เจอเพลงๆหนึ่งที่ฟังทีไรสะดุดหูเมื่อนั้น ผมได้ยินมาหลายครั้ง(จากหลายที่)แต่ไม่รู้ว่าเป็นเพลงอะไร ได้โอกาสก็เลยเอาเนื้อเพลงลองมา search หาจาก google ก็ได้ได้ความว่าเป็นเพลง The Very Thought of You ที่ "Lady Day" Billie Holiday ร้องเอาไว้เมื่อเกือบ 70 ปีมาแล้ว

พยายามลองหาเพลงเต็มๆฟังจาก internet ก็หาไม่เจอ แต่ได้ฟังเพลงอื่นบ้าง ตอนนี้เลยบ้า "Lady Day" อยู่

ฟังแล้วรู้สึกเลยครับว่าเพลง Blue ที่ร้องมาจากใจคนมีแผลนั้น "เข้าถึง" จริงๆ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 24 ม.ค. 06, 12:33

 ขอบคุณคุณปักกิ่งอีกครั้ง ชอบมากๆๆๆ
แต่ตอนนี้ยังไม่มีเวลาโหลดมาฟังครับ มาลงชื่อขอบคุณไว้ก่อน ว่างๆค่อยมาตอยอีกที

ก้วงหลิงซาน ของ จีคัง อืมมม เป็นเพลงที่มีประวัติอันรันทด กิมย้งเขียนถึงในเรื่องกระบี่เย้ยยุทธจักร
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 24 ม.ค. 06, 21:16

 อืม... ไม่ทราบว่าท่าน CrazyHOrse ไปแอบดูมาจากที่ใด.... น่าคิดยิ่งนัก... อืมหรือว่าเราจะรู้จักกันในโลกแห่งความจริง???



สำหรัีบคุณ  paganini ถ้าจำไม่ผิดในเรื่องกระบี่เย้ยฯ พูดถึงเรื่องราวของจีคัง และ การที่เขาขอบรรเลงเพลงนี้ก่อนเขาถูกประหารชีวิต ผมขอกล่าวย้อนไปอีกครับ ว่าความจริงแล้ว บทเพลงนี้ยังมีเบื้องหลังมากกว่านี้อีก ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่า กว่างหลิงส่าน แต่เดิมแล้วนั้นกล่าวถึงเรื่อง เนี่ยเจิ้งลอบสังหารหานหวาง ซึ่งเรื่องนี้มีกล่าวไว้สองแบบ



ใน "สื่อ("สื่อ" ย่อมาจาก "สื่อกวน" หรือ เจ้าพนักงาน ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์)จี้ (บันทึกของ"นักประวัติศาสตร์(หลวง)" หรือชื่อในภาษาอังกฤษ "The Records of the Grand Historian" กล่าวว่า เนี่ยเจิ้ง เนื่องด้วยความตื้นตันในมิตรภาพ และ ความช่วยเหลือต่าง ๆ นานาของ เหยียนจ้งสึ จึงลอบสังหาร เสียเล่ย ศัตรูคู่แค้นของ เหยียนจ้งสึ เสีย



ใน "ฉินเชา" หรือ "(บันทึกว่าด้วยการ)ดีด(กู่)ฉิน" ของ ไช่อี้ นั้นบันทึกเนื้อหาของ เนี่ยเจิ้งลอบสังหารหานหวาง ไว้ว่า ครอบครัวของเนี่ยเจิ้งเป็นช่างดาบ และเนื่องด้วยพ่อของเนี่ยเจิ้งหล่อดาบได้ไม่พอใจ หานหวาง จึงถูกลงโทษด้วยการประหารชีวิต ซึ่งด้วยสาเหตุนี้ เนี่ยเจิ้ง จึงตั้งมั่นว่า  จะต้องล่างแค้นแทนพ่อของตนโดยการฆ่า หานหวางให้จงได้ เนื่องด้วย ตัว หานหวาง โปรดปรานดนตรีเป็นชีวิตจิตใจ เนี่ยเจิ้ง จึงตัดสินใจ ทำลายใบหน้าตนเอง และหลบไปฝึกการดีดกู่ฉินเป็นเวลา สิบ ปีก่อนที่เขาจะกลับเข้ารัฐหานมาล้างแค้น



ด้วยความสามารถในการดีดกู่ฉิน เนี่ยเจิ้งจึงได้ถูกเรียกเข้าไปดีดกู่ฉินให้หานหวางฟัง ซึ่งพอหานหวางกำลังซาบซึ้งอยู่กับเสียงเพลง เนี่ยเจิ้งก็กระชาบกระบี่ที่ซ่อนอยู่ในกู่ฉินออกมาฆ่า หานหวาง ซะ ซึ่งแน่นอนการที่เขาฆ่า หานหวางสำเร็จเขาก็ต้องชดใช้ด้วยชีวิต ของเขาเอง



ด้วยสาเหตุนี้เองจึงไม่แปลกที่ ใน 45 movements ของบทเพลงจึงมีชื่อต่าง ๆ ดั่งเช่น "ฉู่ว์หาน" (เอา(ชีวิต) หาน) "ชงกว้น" ((ความโกรธ)ทะลุกระหม่อม) "ฟานู่" (โกรธ) "เฉินหมิง" (จม(ทำลาย)ชื่อ(ตนเอง)) "โถวเจี้ยน" (โยนกระบี่) ฯลฯ



เรื่องทั้งสองเรื่องนี้ บวกกับประสบการณ์ของ ซีคัง ที่ฝักใฝ่ในเสียงเพลง และ อิสรภาพทางความคิด จนกระทั่งซือหม่าเจา ทนไม่ได้จึงสั่งประหารเสีย  คงสะท้อนว่า ถ้าได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ความเห็นเรื่องตายเป็นเรื่องเล็ก          ด้วยประการนี้เองกระมังที่ทำให้ กว่างหลิงส่าน ถูกจัดให้เป็น หนึ่งในบทเพลงอมตะ ของจีน สมแล้วกับที่กวียุคถัง หานยู่ ให้คำจำกัดความรู้สึกในหารฟังบทเพลงนี้ไ้ว้ว่า



"เทียนตี้คั่วหย่วนสุยเฟยหยาง...อี่ปิงทั่นจื่ออั่วฉาง!"



((ดั่ง)โบยบินและเที่ยวท่องไปอย่างอิสระบนท้องฟ้าและพื้นพสุธาอันกว้างไกล...(ดั่ง)เอาน้ำแข็งและถ่านไฟมาวางไว้ในลำใส้ข้าฯ)

 

ถ้ามีเวลาแล้วผมจะลองมาแนะนำอีกเก้าบทเพลงบรรเลงจีนที่ถูกขนานนามว่าสุดยอดนะครับ



แต่วันนี้ ผมเอางานของ Schubert มาฝากครับ



Schubert:Winterreise



DECCA: DECCA Legendary Performance (1963 Peter Pears & Benjamin Britten)



01. Gute nacht / Good night        

02. Die Wetterfahne / The Weathervane    

03. Gefror'ne Tranen / Frozen Tears    

04. Erstarrung / Numbness    

05 . Der Lindenbaum / The Linden Tree    

06. Wasserflut / Floodwaters    

07. Auf dem Flusse / By the Stream    

08. Ruckblick / Backward Glance    

09. Irrlich / Will-o'-the-Wisp    

10. Ruhe / Rest    

11. Fruhlingstraum / Dreams of Spring    

12. Einsamkeit / Lonliness    

13. Die Post / The Mail    

14. Der greise Kopf / The Aging One    

15. Die Krahe / The Crow    

16. Letzte Hoffnung / Last Hope    

17. Im Dorfe / In the Village    

18. Der sturmische Morgan / The Stormy Morning    

19. Tauschung / Delusion    

20 . Der Wegseiser / The Signpost    

21. Das Wirtshaus / The Inn    

22. Mut / Courage    

23. Die Nebensonnen / The Phantom Suns    

24. Der Leierman / The Hurdy-Gurdy Player




 http://jnjmuse.cnei.or.kr/musicbox_2/wintereise_(*).mp3



(*) add 01-24
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 25 ม.ค. 06, 00:34

 ข้าพเจ้ามีตาหามีแมวไม่ เอ้ย หามีแววไม่
แรกเริ่มคิดว่าฉายาท่านมนุษย์ปักกิ่งนี้หมายถึงสายพันธุ์บรรพบุรุษของมนุษย์สายหนึ่ง แต่หาได้ตระหนักถึงความนัยของชื่อไม่ว่าแท้จริงแล้วท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญกว้างขวางในด้านจีนศึกษานี่เอง
ขอคารวะด้วยน้ำเปล่า 3 จอก
จริงๆแล้วเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีนนั้นหลากหลายกว้างขวางและลึกซึ้งดื่มด่ำยิ่งนัก ผู้รู้ในด้านนี้มักหาตัวยาก เมื่อเจอแล้วข้าพเจ้ายินดียิ่ง อันบุรุษเราพบพานสหายถูกใจสนทนาสามวันมิเลิกรา ขอเชิญท่านสาธยายต่อในเรื่องเพลงจีน
ข้าพเจ้า และท่านอัศว์เสียจริต (CrazyHorse) รวมถึงท่านอื่นๆจะคอยรับการชี้แนะ

ต้องอย่างท่านนี่แหละที่คู่ควรกับคำว่า Honoured Member จริงๆ
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 25 ม.ค. 06, 11:59

 พิมพ์ไปฟัง โอเปร่า ไป ได้อารมณ์ไม่เลว เสียง Pavarotti ช่วงที่ร้องนี้เสียงน่าหลงไหลเป็นอย่างยิ่ง ส่วน Carares กับ Domingo ก็ร้องได้น่าประทับใจไม่แพ้กัน เคลิ้มครับฟังเพลงอย่างนี้

ความจริวแล้วชื่อนั้น สำคัญไฉน ไม่จำเป็นต้องไปหาคำนิยาม หรอกครับ ภาษายังด้อยกว่าดนตรีนักในการสื่อความหมายที่ถ้อยคำไม่สามารถที่จะเอื้อนเอ่ยได้

เอ... แต่ถ้าพูดอย่างงี้ ก็คงจะต้องแวะไปทักทาย จีคัง เพราะว่าเขาจากการค้นคว้าและบรรเลงกู่ฉินชั่วชีวิต เขาได้ให้กำเนิด concept ของ Aesthetics จีนขึ้นมาหนึ่งอัน นั่นก็คือ เขาเชื่อมั่นว่า "เซิงอู๋อายเล่อ" (เสียงนั้นไร้ความรู้สึกโศกเศร้า หรือ สุขสันต์) ซึ่งก็หมายความว่า ความรู้สึกนั้นเกิดขึ้นจากภายใน

ก่อนที่จะหลุดไปไกลกว่านี้ เกี่ยวกับ กู่ฉิน ถ้าท่านใดสนใจโปรดไปอ่านลิ้งค์นี้ประกอบ

 http://en.wikipedia.org/wiki/Gu_qin


สำหรับวันนี้ผมขอต่อด้วยเพลงกู่ฉินอมตะอีกหนึ่งเพลง ที่มีชื่อว่า "เกาซันหลิวสุ่ย" (เขาสูง(สาย)น้ำไหล) ซึ่งแน่นอนมีเรื่องเล่าของความเป็นมาของชื่อเพลงนี้ได้อย่างน่าสนใจ

ใน "หลู่ว์ซื่อชุนชิว" (บันทึกความเป็นไป)สมัยชุนชิว(ฤดูใบไม้ผลิ และ ฤดูใบไม้ร่วง)ของคนแซ่หลู่ว์ (หลู่ว์ปู้เหว่ย) กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

ครั้งหนึ่งมีชายอยู่สองคน คนหนึ่งชื่อ ปั๋วหยา อีกคนหนึ่งชื่อ จ้งสึชี ปั๋วหยานั้นดีดกู่ฉินเก่งมากแต่ก็ไม่เคยพอใจเพราะว่าไม่เคยมีใครที่จะเข้าใจในสิ่งที่เขา ต้องการถ่ายทอดออกมาทางเสียงเพลง จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่ง ปั๋วหยาได้เข้าไปดีดพิณอยู่ในหุบเขาลึกแห่งหนึ่ง พอบรรเลงเสร็จ จ้งสึชี ที่ยืนฟังอยู่ก็ออกปากชมว่า ดีดได้ดีเยี่ยม ซึ่งปั๋วหยาก็ถามกลับไปว่า ท่านฟังแล้ว รู้สึกอย่างไร จ้วสึชีก็ตอบว่า

"ซ่านไจฮูกู่ฉิน เวยเวยฮูรั่วไท่ซาน" (ท่าน)ดีดได้วิเศษมาก การบรรเลงของท่าน "เวยเวย" (การเล่นเสียง)ข้าว่าหนักแน่นและมั่นคงดั่งไท่ซาน (ชื่อภูเขา)

ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ปั๋วหยาคิดอยู่และพยายามถ่ายทอดเข้าไปในการบรรเลงเพลงของเขา

ปั๋วหยาดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ในที่สุดเขาก็ได้พบ "จืออิน" (ผู้ที่เข้าใจเสียง(ดนตรี) ต่อมาคำนี้มักจะใช้แทนคำว่าเพื่อนสนิท) ของเขา แล้ว

ในอีกโอกาสหนึ่งทั้งสองไปติดฝนอยู่ในถ้ำโปร่งแห่งหนึ่ง ปั๋วหยา ก็ได้เริ่มดีดกู่ฉิน พอดีดเสร็จก็ถาม จ้งสึชี ว่า ที่เขาดีดไปเมื่อกี๊ เขากำลังคิดอะไรอยู่ จ้งสึชี ตอบกลับไปทันควันว่า

"ซ่านไจฮูกู่ฉิน หยางหยางฮุรั่วหลิวสุ่ย (ท่าน)ดีดได้วิเศษมาก การบรรเลงของท่าน "หยางหยาง"(เลียนเสียงน้ำรินไหล) ดั่งสายน้ำที่ไหลริน

ซึ่งนี่ก็เลยเป็นที่มาของชื่อเพลง "เกาซานหลิวสุ่ย"

แต่เรื่องยังไม่จบเท่านั้น ต่อมาเนื่องด้วย ปั๋วหยามีธุระต้องกลับบ้านไป ทั้งสองจึงนัดว่าปีหน้าจะมาพบกันใหม่ เพื่อที่จะร้องรำทำเพลง แต่ว่าใครจะไปรู้ว่า ในระหว่างหนึ่งปีที่ผ่านไป จ้งสึชี กลับเสียชีวิตลง ซึ่งพอ ปั๋วหยา ทราบเข้า เขาก็รีบพกกู่ฉินไปที่หน้าหลุมศพของจ้งสึชี แล้วก็ดีดกู่ฉินอย่างไม่คิดชีวิต เขาดีดอยู่นานจนเขาไม่สามารถดีดได้อีก พอเป็นเช่นนี้แล้ว เขาก็หยุดดีด คว้ามีดที่เขาเตรียมมาด้วย แล้วก็จัดการตัดสายกู่ฉินทั้งหมดให้ขาดสะบั้น พร้อมกับฟาดตัวกู่ฉินให้แหลกสลายคามือเขา ซึ่งคนที่พา ปั๋วหยา มาที่หลุมศพของ จ้งสึชี ก็ตกใจตามว่า ทำไมต้องทำเช่นนี้ด้วย ซึ่ง ปั๋วหยาก็ตอบปนสะอื้นว่า หากไร้แล้วซึ่งคนที่เข้าใจในเสียงดนตรี ของ ตน เล่นไปจะมีประโยชน์อะไร ซึ่งหลังจากนั้น ปั๋วหยา ก็ไม่ดีดพิณอีกเลย

บทเพลง "เกาซานหลิวสุ่ย" เนื่องด้วยเป็นตัวแทนของมิตรภาพระหว่างผู้รู้ใจ ซึ่งต่อมาเรื่องราวนี้ก็ได้ถูกยกให้เป็นมิตรภาำตัวอย่างที่ทุกคนเอาเป็นเยี่ยงอย่าง ด้วยสาเหตุนี้เพลงนี้จึงได้รับความนิยมอย่างสูง ถึงขั้นได้รับเกียรติให้เป็น เพลงบรรเลงอมตะอันดับหนึ่งของจีน

ลองฟังดูนะครับ(เวอร์ชั่นนี้เป็นเวอร์ชั่นที่ใช้กู้เจิงบรรเลง)

 http://www.chinakongzi.com/2550/music/download/guzheng/gaoshanls.mp3      

อา...ขอเรียนถามท่าน CrazyHOrse ในฐานะที่ท่านก็ชอบเรื่องจีน ๆ อันว่านามของท่านนั้น ได้รับอิทธิพลจากบทความในคัมภีร์จวงจื้อ บท "ฉีอู้ลุ่น" (ว่าด้วยการเพียบพร้อมของสรรพสิ่ง)ที่กล่าวว่า

"เทียนเซี่ยอี้หม่าเหย่" (สรรพสิ่งใต้ฟากฟ้าก็เป็นดั่งม้าตัวหนึ่ง)

ใช่หรือไม่?

หรือว่า เป็น คำถาม "ไป๋หม่าเฟยหม่า" (ม้าสีขาวไม่ใช่ม้า) ของหานเฟยสึเอ่ย

หรือว่า เป็นม้าพยศตัวที่บูเช็กเทียนอาสาปราบให้กับถังไท่จง? โดยนางของผลไม้ ค้อน กับ กระบี่ในการปราบม้าพยศนี้ กล่าวคือ ก่อนอื่นควรใช้ไม้อ่อน คือล่อให้ผลไม้ ถ้าม้ายังไม่เชื่อง ก็ใช้ค้อนทุบซะ แต่ถ้าค้อนทุบแล้วยังไม่หายพยศ ก็ฆ่ามันเสีย เพราะม้าพยศเลี้ยงไว้ก็เปล่าประโยชน์

เฮ ๆ ๆ ท่านม้าฯเป็นม้าตัวไหนครับ หรือว่าเป็นม้านิลมังกร (ไทยปนจีน) หรือว่าเป็น ยูนิคอร์น หรือว่า เซ็นทอร์ (ครึ่งคนครึ่งม้า) น่าคิดทั้งนั้น
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 25 ม.ค. 06, 15:46

 ที่ท่านซอเทวดาได้เปรียบเปรยข้าพเจ้าเป็นอัศว์เสียจริตนั้น มิกล้ารับจริงๆ ขอชื่อที่นุ่มนวลกว่านี้หน่อยมิได้หรือท่าน

และขอเรียนท่านผู้เยี่ยมยุทธแห่งเมืองหลวง อันนามข้าพเจ้านั้นมิได้เป็นนามของผู้กล้าแห่งจงหยวนแต่อย่างใด แต่ได้มาจากสมญาของผู้กล้าผิวแดงแห่งแผ่นดินงาม ผู้ปกป้องชนเผ่าตัวเองจากการรุกรานของคนขาว

แฮ่ๆ ลำบากน่าดู แต่จะรอฟังทั้งหมดครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 26 ม.ค. 06, 09:37

 ดูเหมือนคุณนิลกังขา แปลชื่อคุณ CrazyHOrse ว่า
"อาชาคลั่ง"
ไม่ใช่หรือคะ
ชื่อนี้รับได้ไหม
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 26 ม.ค. 06, 10:37

 อาชาคลั่ง พอได้ครับ ผมว่าใกล้เคียงกับเจตนารมณ์ของชื่อ Crazy Horse นะครับ

ปล. คิดถึงพี่นิลฯเหมือนกันนะครับ ไม่ได้ข่าวคราวเลย
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
คำฝอย
มัจฉานุ
**
ตอบ: 64

เรียน


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 26 ม.ค. 06, 16:32

 มาๆ หายๆ กระทู้นี้ติดจรวดแลเวนะคะเนี่ย



ขอบคุณคุณ ปักกิ่งแมนค่ะ สำหรับลิงค์และความรู้เรื่องจีนค่ะ ดิฉันก็มีเป้าหมายอยากจะเรียนภาษาจีนนะคะ  คงแหมะไว้ก่อนหลังกลับเมืองไทยค่อยว่ากันอีกที  ตอนนี้ต้องเอาตัวให้รอดก่อน



เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ดิฉันไป  Leipzig มาค่ะ อาจจะพอคุ้นชื่อกันบ้างนะคะ เพราะในอดีตเขาเรียก Leipzig กันว่า ปารีส น้อยน่ะค่ะ เพราะเป็นศูนย์กลางศิลปะและวิชาการ  ที่นี่เองเป็นเมืองที่  Bach ทำงานอยู่ ที่โบสถ์ที่มีชื่อว่า Thomaskirche (die Kirche = โบสถ์) และชื่อดังของ Leipzig  ก็ต้อง Thomaschor  วงประสานเสียง (เขาเรียกกันอย่างนี้หรือเปล่าคะ)



 ท้าวความเพลิน จริงๆ จะเล่าว่าไปดูโอเปรา ที่  Leipzig  มาค่ะ เรื่อง  Le Nozze di Figaro (The Figaro's marriage)  ดูแล้วก็ขำดีค่ะ ไม่นึกว่ามันจะเป็นคอมเมดี้ได้ จริงๆ ฟังก็ไม่ออกหรอกนะคะ เพราะร้องเป็นภาษาอีตาลี ฟังออกแต่คำว่า  bello  กัü bella (หล่อ-สวย) แต่เนื่องจากมีจอขึ้นตัววิ่งเป็นภาษาเยอรมัน เลยพอตามทัน (multi cultural มากๆ ค่ะ) หันไปมองเพื่อนซี้ที่ตกเป็นเหยื่อ ถูกดิฉันหนีบไปด้วย ทำหน้าเบื่อๆ บ่นว่าฟังไม่รู้เรื่อง  ดิฉันมันพวกฟังเอารส ก็เพลิดเพลินไปเรื่อยๆ กีบดนตรีกับเสียงสูงๆ ต่ำๆ ก็คุ้มแล้วล่ะค่ะ (ตั๋วนักเรียนลด 30% อีกต่างหาก)



น่าเสียดายอากาศไม่ดี มัวแต่วิ่งกางร่มเลยไม่มีกะใจจะถ่ายรูป ไปคราวหน้าจะเอารูปมาฝากแล้วกันนะคะ



วันนี้แวะมารายงานตัวหน่อยนึง เพราะว่าเดี๋ยวต้องไปสัมนาที่เบอร์ลินสุดสัปดาห์นี้ ถ้ามีเวลาคงจะแวะตามร้ายขายซีดี แล้วตามหาบรรดาบทเพลงแนะนำต่างๆ นั่นแหละค่ะ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 26 ม.ค. 06, 16:59

 โอๆๆๆ  ข้าน้อยขออภัย มิได้ตั้งใจให้ระคายเคืองท่านอาชาคลั่งเลยครับ พอดีคิดคำที่ตรงกับ crazy ไม่ได้ เลยพยามหาคำที่ดูเหมือนสุภาพ คำว่า crazy ในที่นี้ตรงกับคลุ้มคลั่ง โมโห มากกว่า บ้ารึเสียจริต  ขออภัยๆๆๆ

เดี๋ยวว่างๆจะมาคุยเรื่องดนตรีต่อนะจ๊ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.128 วินาที กับ 19 คำสั่ง