เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 93150 Violin Concerto ในดวงใจ
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 17 ม.ค. 06, 19:31

 นานๆก็ย่องเข้ามาสักทีครับ

ประเภทเพลงคลาสสิกที่เคยได้ยินกันบ่อยๆก็มีอย่างนี้ครับ(ถ้าผมปล่อยไก่คุณ paganini ช่วยแก้ด้วยนะครับ)

Symphony - จะเป็นเพลงที่แต่งเพื่อให้วง Orchrestra เล่นครับ เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นจะผลัดกันเด่นเป็นพระเอกในแต่ละช่วง โดยทั่วไปจะมี 4 องก์(movement) ช่วงต่อระหว่างองก์จะเงียบเหมือนจบไปครับ ถ้าไปฟัง concert ก็อย่าเพิ่งตบมือนะครับ เขาจะตบมือกันทีเดียวตอนจบเพลง จบองก์ที่ 4 ครับ

Concerto - อันนี้จะคล้าย Symphony แต่ย่อมลงมาหน่อย บรรเลงโดยใช้วง Orchrestra เหมือนกัน แต่(ส่วนมาก)จะมีเครื่องดนตรีเด่นเป็นพระเอกอยู่เพียงอย่างเดียว อย่างอื่นเป็นตัวประกอบ ดังนั้นจะเรียกตามชื่อของเครื่องดนตรีที่เป็นพระเอกครับ เช่น Violin Concerto, Oboe Concerto หรือ Piano Concerto เป็นต้น Concerto นี้โดยทั่วไปจะมี 3 movements ครับ

Sonata อันนี้เป็นเพลงสบายๆ ประมาณว่าแต่งเพื่อใช้เล่นในงานตอนเย็นธรรมดา โดยทั่วไปจะแต่งสำหรับเล่นโดยเครื่องดนตรีไม่กี่ชิ้นครับ เพลงจะไม่แบ่งเป็นหลายท่อนหลายองก์ และก็จะเป็นเพลงสั้นๆครับ แต่ก็สั้นแบบเพลงคลาสสิกนะครับ โดยทั่วไปก็ราวๆสิบกว่านาทีครับ

ส่วนเรื่องสำเนียงของดนตรี ผมไม่เคยได้ยินว่ามีการแบ่งแยกอย่างเป็นทางการ แต่คีตกวีแต่ละท่านก็มักจะใส่สำเนียงดนตรี(หรือแม้กระทั่งเพลงพื้นบ้าน)ของบ้านเกิดลงไปในเพลงที่แต่งด้วยครับ โดยเฉพาะพวกยุโรปตะวันออกที่ห่างจากศูนย์กลางของโลกดนตรีซึ่งสำเนียงกลายเป็นกระแสหลัก ก็จะมีกลิ่นอายที่แตกต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัดครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 17 ม.ค. 06, 19:43

 ก็ไม่รู้ว่ามันยังมีขายรึเปล่านะ เพราะไม่เห็นมานานแล้วแป้งตาบู

จริงๆเรื่อง Phantom ผมก็ไม่เคยดูมาก่อนนะแต่จากเพลงแล้วหนังมันควรจะดีกว่านี้ กำลังจะด่าว่าคนทำไม่อิน ปรากฏว่าชื่อของ Andrew Lloyd Webber ขึ้นหราเลยในฐานะผู้ร่วมเขียนบทรึร่วมอำนวยการสร้างไรทำนองนี้แหละ เลยด่าไม่ออกเพราะงานนี้ต้องผ่านความเห็นของท่าแน่นอน
ผมว่าจุดด้อยมากๆคือนักแสดงไม่ได้ร้องเพลงเอง(มั๊ง โดยเฉพาะนางเอก) เดาเอา แถมลิปซิงค์ได้ไม่แนบเนียนอีก ร้องเพลงเหมือนกำลังท่องบทอาขยานอยู่นั่นแหละ

ส่วนคำถามของคุณนั้นมันลึกซึ้งมากจนต้องขอยกยอดไปตอบเวลาอื่นเพราะตอนนี้หิวข้าวมากกก
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 18 ม.ค. 06, 11:06

 พักนี้เรียกว่าสวรรค์เป็นใจได้เพลงคลาสสิคมาเยอะ ขอให้ทุกท่านแบ่งปันไปอย่างมีความสุขนะครับ

@^__^@

สำหรับตัวผม ผมชอบ Rachmaninov มาก ๆ นอกจากนั้นแล้ว ก็คงเป็น งานของ Chopin เล่นโดยฝีมือชั้นเซียนของ Horowitz หรือไม่ก็ Rubenstein สองท่านนี้บรรเลง nocturnes ได้ซึ้งมาก ๆ โดยเฉพาะจังหวะการหยุดนี่ยิ่งหาคนจับตัวยาก งานของ Haydn และงานของ Elgar บรรเลงโดยฝีมือของ Jacquilene Dupre, แน่นอนต้องตามด้วยงานของ Dvorak และงานของ Bach บรรเลงโดย Rostropovich, etc... โอ...ผมฟังทั้งนั้นครับ

อืม...แล้วถ้าหาเจออีกแล้วจะเอามาฝากอีกนะครับ
 
Brahms & Tchaikosky Violin Concerto
RCA : 09026 61495-2
Jascha Heifetz&(Violin&)
Chicago Symphony Orchestra (Fritz Reiner)

Track list:

Concerto in D, Op. 77: Allegro non troppo
 http://www.dahangzhou.com/webin/dhzupbases/94bced2c-4538-48b8-a918-5a1086a0347b.wmv

Concerto in D, Op. 77: Adagio
 http://www.dahangzhou.com/webin/dhzupbases/c9b8731c-bb9f-4809-afd1-ad762c10e300.wmv

Concerto in D, Op. 77: Allegro giocoso, ma non troppo vivace
 http://www.dahangzhou.com/webin/dhzupbases/9bd9a343-a17a-4dc8-bdf2-d37c6a8a961c.wmv

Concerto In D, Op. 35: Allegro moderato
 http://www.dahangzhou.com/webin/dhzupbases/033148b9-5dd2-4e0d-8706-52c1cf0e132d.wmv

Concerto In D, Op. 35: Canzonetta: Andante
 http://www.dahangzhou.com/webin/dhzupbases/dcbcd000-504c-4158-8071-6cc05824fcac.wmv

Concerto In D, Op. 35: Allegro vivacissimo
 http://www.dahangzhou.com/webin/dhzupbases/1904eabd-42c0-4740-9ff4-5a81e9c6649f.wmv



Beethoven/Mendelssohn: Violin Concertos
RCA : 09026 68980 2
Jascha Heifetz
Boston Symphony Orchestra (Charles Munch)


Tracklist:

1. Concerto In D, Op. 61: Allegro, ma non troppo
 http://www.dahangzhou.com/webin/dhzupbases/b7741580-d7e5-4509-8e4c-0e48182f1bc5.wmv

2. Concerto In D, Op. 61: Larghetto
 http://www.dahangzhou.com/webin/dhzupbases/f8b32a1f-5012-49e1-890d-ffefbf9018ae.wmv

3. Concerto In D, Op. 61: Rondo: Allegro
 http://www.dahangzhou.com/webin/dhzupbases/51c5b159-7956-42ef-8d82-2c4c400b7c76.wmv

4. Concerto In E Minor, Op. 64: Allegro molto appassionato
 http://www.dahangzhou.com/webin/dhzupbases/4223e0dc-d055-4b8a-9b2b-b27d9086434b.wmv

5. Concerto In E Minor, Op. 64: Andante
 http://www.dahangzhou.com/webin/dhzupbases/f6f8e7da-9ae1-4453-a18e-ed699807308d.wmv

6. Concerto In E Minor, Op. 64: Allegretto non troppo
 http://www.dahangzhou.com/webin/dhzupbases/a4790d41-4d52-4c63-a787-5c8a40aea778.wmv

VERY IMPORTANT

AFTER DOWNLOAD CHANGE *.wma to *.mp3 TO ENJOY 192 KB MP3 QUALITY
บันทึกการเข้า
windy
อสุรผัด
*
ตอบ: 7

เรียนที่ ม.เทคโนโลยีสุรนารี


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 18 ม.ค. 06, 15:05

 ผมก็เป็นคนนึงที่ชอบฟังเพลงคลาสสิก โดยส่วนใหญ่จะฟังจาก mp3 ที่หาซื้อได้ตามพันธุ์ทิพย์นะครับ แล้วเพลงที่ฟังก็บอกได้แค่ว่าเพลงนี้ชอบหรือไม่ชอบเท่านั้น แต่บอกไม่ได้ครับว่า เพลงนี้มันสุดยอดอย่างไร ...อยากให้ท่านผู้รู้ช่วยแนะนำหน่อยครับ ว่าถ้าจะฟังให้รู้ถึงความสุดยอดของเพลงนั้นนะครับ จะต้องฟังและทำอย่างไร
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 19 ม.ค. 06, 09:13

 ขอบคุณครับพี่ม้า แหมไม่เห็นนานนึกว่าไม่ได้เข้ามาเล่นแล้วซะอีก ยังนึงถึงสมัยเก่าๆที่มีพี่ม้า มีพี่นิลฯ พี่พวงร้อยและอีกหลายๆท่าน สมัยนั้นคุยกันสนุกและเป็นมิตรมากๆ

คุณคำฝอยครับที่ถามไว้พี่ม้าแกตอบให้คุณหมดแล้วนะครับ มิได้ปล่อยไก่แต่อย่างใด ส่วนเรื่องสำเนียงของแต่ละชาตินั้นผมขอเสริมว่า ดนตรีตะวันตกนี่มันมีรากฐานจากที่เดียวกัน  เวลาแต่งก็อิงจากแนวทาง หรือทฤษฎีตัวโน๊ตก็มี 12 เสียง  เช่น โด โดชาร์ป เร เรชาร์ป ฯลฯ รวมแล้ว 12 เสียง (Chromatic Scale) และมีแนวทางการสร้าง
เสียงประสาน(Harmony) แบบเดียวกันทำให้สำเนียงดนตรีแยกจากกันได้ยาก เว้นเสียแต่อยู่ห่างไกลเช่นดนตรีของพวก สลาฟ หรือยุโรปตะวันออกอย่างพี่ม้าว่าแหละ (พี่ม้านี่หูใช้ได้เลยนะ นับถือๆๆ)
แต่ดูอย่าง ไทย ลาว จีน ญี่ปุ่น อินเดีย อาหรับ เหล่านี้เราสร้างเครื่องดนตรีและเสียง(ตัวโน๊ต) ที่มีโครงสร้างกันคนละแบบ เพราะฉะนั้นเวลาแต่งเพลงออกมาสำเนียงจึงต่างกันมากๆ ยกตัวอย่างง่ายๆ ดนตรีไทยมี 7 เสียงเวลาจะแต่งให้เป็นสำเนียงลาวเขาจะใช้เพียง 5 เสียง คือ โด เร มี ซอล ลา  เพราะฉะนั้นเวลาแต่งเพลงออกมาให้จำกัดอยู่เพียงแค่ 5 เสียงนี้ มันก็จะฟังแตกต่าง ตย เช่น เพลง ลาวดวงเดือน ลาวดำเนินทราย ลาวจ้อย ฯลฯ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 19 ม.ค. 06, 09:28

 ตอบคุณ มนุษย์ปักกิ่ง
ขอบคุณมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก เลยครับ สุดยอด เอาอีก เอาอีก เอาอีก  อิอิอิ
เพื่อนๆทั้งหลายครับ ลิ้งค์ล่าสุดที่คุณมนุษย์ปักกิ่งเอามาให้โหลดน่า ไม่โหลดไม่ได้นะครับ
Chicago Symphony ในสมัยของ Fritz Reiner นั้นถือว่าสุดยอดครับ วได้รับการยกย่องว่าเล่น Symphony ของ Beethoven ได้ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา ชอบอัดลงแผ่นเสียง RCA ครับ
ส่วนผู้เดียวไวโอลินนั้น Jascha Heifetz (1901-1987?)ชื่อนี้สำหรับนักไวโอลินหรือคอเพลงไวโอลิน หรือคอเพลงคลาสสิคแล้ว เขาคือพระเจ้าครับ เป็นมนุษย์ที่เล่นไวโอลินดีที่สุดเท่าที่เคยปรากฏในพิภพโลกแห่งนี้
2 สุดยอดมารวมกัน ต้องโหลดสถานเดียวครับ

คุณมนุษย์ปักกิ่งครับ Rachmaninov เพลงของท่านโรแมนติกปนเศร้ามากๆ ผมก็ชอบครับ โดยเฉพาะ Piano Concerto No. 2 และ Symphony No.2
แต่ที่คุณยกมาว่าของ Haydn, Elgar, Dvorak, ฺBach นี่คุณลืมบอกไปนะว่ากำลังพูดถึง Cello ใช่มั้ยครับ ผมก็ชอบเหมือนกัน Cello เป็นเครื่องดนตรีที่แสดงถึงอารมณ์ลึกซึ้งได้ดีมากๆ หวานแต่หม่นหมอง The Swan ของ Saint-Seans เป็นอะไรที่ฟังแล้วดื่มด่ำมากๆ

คุณ Windy ไม่มีครับวิธีที่คุณพูดถึง วิธีของผมคือเปิดใจ และจริงใจ(อันไหนไม่ชอบก็อย่าไปบอกว่าตัวเองต้องชอบเพียงเพราะนักวิจารนณ์บอกว่าดี) อาจารย์ผมมักจะบอกว่า หูให้ได้ยิน แต่ใช้ใจฟัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 19 ม.ค. 06, 15:26

 เข้ามาอ่านค่ะ เปิด Moonlight Sonata  ฟังเมื่อวานนี้    มันหวานเศร้าแต่ยังไม่ถึงกับน้ำตาหยดตามคุณคำฝอย

ไม่มีใครสนใจงานของ Rimsky-Korsakov บ้างหรือคะ
อยากฟัง Schéhérazade กับThe Flight of the Bumble-Bee
พอจะโหลดได้จากไหนบ้างคะ คุณ Pekingman
บันทึกการเข้า
คำฝอย
มัจฉานุ
**
ตอบ: 64

เรียน


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 19 ม.ค. 06, 15:41

 คุณเทาชมพูคะ ดิฉันก็ชอบแอบกรีดน้ำตาอย่างงี้แหละค่ะ ว่างจากแลปก็ชอบแอบทำเป็นศิลปินค่ะ แหะ แหะ ตามกำหนดปีนี้ปีสุดท้าย เลยเผชิญหลายคลื่นหน่อยน่ะค่ะ ว่างๆ เลยต้องแอบ ทำ  blue ค่ะ

ลิงค์ของที่ให้มาก็เพราะมากเสียแต่ว่าทำไมมันมาขาดๆ หายๆ ไม่รู้

วันนี้มีคำถามอีกน่ะค่ะ ชื่อเพลงนี่ทำไม คีตกวี นี่เขาชอบตั้งเป็นตัวเลขล่ะค่ะ แบบ หมายเลข 5 เอย หรือหมายเลข 9 เอย แล้วก็ Allegro  นี่แปลว่าอะไรคะ เห็น ปรากฏบ่อยๆ
บันทึกการเข้า
HotChoc
มัจฉานุ
**
ตอบ: 62


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 19 ม.ค. 06, 20:02

 Moonlight Sonata ของ Beethoven ผมฟังแล้วรู้สึกเศร้าเหมือนกันครับ งานของ Beethoven ที่หวานและผมชอบก็คือ Romance #1 and #2 (แค่ชื่อก็หวานแล้ว    )

เรื่องเพลงไหนใครเล่นดีผมจะอ่านคำวิจารณ์ก่อนซื้อนะครับ คนเล่นหรือวงหรือconductor มีผลต่อความไพเราะพอสมควร เคยซื้อCD แบบสุ่มดู (หมายถึงเลือกเพลงมาแล้วแต่สุ่มคนเล่น)แล้วมีแป๊กเยอะเสียดายตังค์ครับ แต่ไม่ยึดติดว่าต้องได้วิจารณ์ดีที่สุดนะครับ ผมว่าหูผมความรู้ระดับผมแยกความเจ๋งระหว่างคนเล่นที่ได้ 1 ดาวกับ 3 ดาวไม่ออกหรอกครับ ตอนซื้อมาฟังที่บ้านผมก็สังเกตุตัวเองดู เพลงไหนฟังบ่อยก็คือเพลงนั้นดีแหละครับ (สำหรับผม    )

เรื่องชื่อเพลงเป็นตัวเลขนี่ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน แหม!อุตส่าห์แต่งเพลงได้เพราะซะขนาดนั้นจะตั้งชื่อให้มันสร้างสรรค์หน่อยไม่ได้หรือไง แต่เพลงเพราะๆส่วนมากจะมีชื่อเล่นนะครับ บางทีคนแต่งได้แรงบรรดาลใจจากอะไรก็จะบอกไว้ (เช่น Moonlight Sonata นั่นแหละ ชื่อเป็นทางการคือ Piano Sonata No.14 in C sharp minor, Op.27 No.2) หรือบางทีคนฟังตั้งให้ตามจุดเด่นของเพลง เช่น Haydn มี Symphony อันนึงชื่อ Surprise (No. 94 in G major) กับ Clock (No. 101 in D major) ถ้าฟังดูแล้วจะทราบเลยครับว่าทำไมได้ชื่อนั้นๆ หรือบางทีก็ใช้ชื่อคนที่ผู้ประพันธ์ dedicate เพลงนั้นให้ (Beethoven มี Piano Trio อันนึงชื่อว่า Archduke คือแต่งให้ Archduke Rudolp of Austria ส่วน Symphony No.3 ของ Beethoven เกือบได้ชื่อว่า Napoleon แล้ว)

ส่วนคำว่า Allegro เป็นภาษาอิตาเลียนครับแปลว่าสนุกสนาน เป็นการบอกจังหวะความเร็วและอารมณ์ของเพลงที่จะเล่น Adagio จะแปลว่าช้าซึ้ง Presto ก็จะเร็ว Andante จะช้าแต่ไม่ช้าเ่ท่า Adagio ใน metronome (เครื่องจับจังหวะที่ดังติ๊กต๊อกๆนะครับ) จะมีคำพวกนี้เขียนไว้ เวลาเราจะเล่นเพลงจังหวะนึง เราก็เซ็ต metronome ไปที่จังหวะนี้ เครื่องมันก็จะดังติ๊กต๊อกเป็นจังหวะให้เรา
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 19 ม.ค. 06, 22:27

 พักเหนื่อยครับ download อุตลุตเลยครับ เพิ่งได้แค่ 150MB ตามประสาคนเน็ตไม่เร็วจัด ขอบคุณคุณมนุษย์ปักกิ่งมากครับ

เรื่องการฟังเพลงให้ซาบซึ้งที่คุณ windy ถาม ผมก็คิดคล้ายๆคุณ Paganini ครับ

ฟังเพลงคลาสสิกต้องตั้งใจฟัง ถ้าไม่ฟังในห้องฟังเพลงก็ต้องฟังจากหูฟังครับ เพราะเพลงคลาสสิกมีช่วงดังเบาที่ต่างกันมาก ถ้าเราเปิดเสียงเบาก็จะไม่ได้ยินช่วงเบา ถ้าเปิดดัง ช่วงที่ดังจะโดนชาวบ้านสาปแช่งครับ(แหะๆ) ความดังเบานี้เป็นตัวกำหนดอารมณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง นอกจากนี้การที่ดนตรีคลาสสิกส่วนมากจะเป็นเสียงประสานของเครื่องดนตรีหลายชิ้น ถ้าเราตั้งใจฟังจะได้ยินอะไรเล็กๆน้อยๆอีกมากครับ

ทีนี้จะชอบหรือไม่ จะซาบซึ้งถึงใจหรือไม่ ก็แล้วแต่ความชอบส่วนตัวแล้วล่ะครับ แต่ละคนอาจจะชอบไม่เหมือนกันได้ครับ ไม่ต้องฝืน และไม่ต้องเหมือนใครครับ

นอกจากนี้ผมยังมีข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ พื้นฐานทางดนตรีของผู้ฟังก็จะทำให้ความเพลิดเพลินในการฟังมากขึ้นด้วย

ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่ว่าผมมีพื้นฐานดนตรีดีนะครับ แต่ตรงกันข้ามเลย เพราะผมเล่นดนตรีได้ระดับงูๆปลาๆแบบมวยวัด แม้แต่บรรทัด 5 เส้นก็ยังอ่านไม่แข็งแรง แต่ผมเริ่มฟังเพลงคลาสสิกตั้งแต่แทบไม่เคยเล่นดนตรีเลย พอฟังมากๆเข้า ได้ลองเล่นดนตรีดูเองบ้าง ก็รู้สึกถึงความสวยงามมากขึ้นครับ

ก็คงจะเปรียบได้กับคนอ่านบทกวี ถ้ามีพื้นฐานทางภาษา ถ้ามีภูมิหลังเกี่ยวกับเรื่องในบทกวีนั้น ก็จะทำให้ทำความเข้าใจได้ลึกซึ้งและเข้าถึงได้มากขึ้นนั่นแหละครับ

นอกจากนี้การฟังบ่อยๆจะทำให้เราคุ้นเคยกับสไตล์ของคีตกวีแต่ละท่านด้วยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 19 ม.ค. 06, 22:39

 อ.เทาชมพู เมื่อก่อนผมมี cassette งานของ Rimsky-Korsakov อยู่ชุดหนึ่งครับ ถ้าจำไม่ผิดจะชื่อ The Legend of Sinbad เป็นดนตรีติดสำเนียง ชอบมากๆเหมือนกันครับ น่าเสียดายที่ cassette เก่าๆของผมพังหมดแล้ว

ส่วนเรื่องที่คุณคำฝอยถาม ผมก็สงสัยอยู่เหมือนกันครับ เจ้า opus น่ะผมพอจะเข้าใจว่าเป็นลำดับบทประพันธ์ที่คนรุ่นหลังมาจัดให้อีกที แต่หมายเลขต่างๆของ Symphony หรืออื่นๆนี่คีตกวีกำหนดมาแต่แรกหรือว่าคนรุ่นหลังมาจัดนะครับ

อย่าง Symphony ของ Haydn นี่เยอะจนเจ้าตัวเองยังน่าจะวุ่นกับต้นฉบับเมหือนกันนะครับ

ปล.คุณ Hotchoc เรื่องซิมโฟนีหมายเลข 3 ของพี่บีนี่ ผมได้ยินมาว่าพี่บีแกตั้งชื่อว่านโปเลียนไปแล้วด้วยความปลื้มนโปเลียนครับ มาเปลี่ยนชื่อที่หลังตอนนโปเลียนตั้งตนเป็นจักรพรรดิ์ ประมาณว่าโกรธแล้วน่ะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 19 ม.ค. 06, 22:46

 อันนี้หามาฝากอ.เทาชมพูครับ ยังไม่ได้ลองดาวน์โหลดเหมือนกัน หวังว่าจะใช้งานได้นะครับ

อันนี้ The Tale Of Tsar Saltan(Bumble Bee อยู่ในนี้ครับ)
 http://www.classiccat.net/rimskykorsakov_n/57.htm

อันนี้ Scheherazade ครับ (อันเดียวกับ Sinbad ของผมนี่เอง)
 http://www.classiccat.net/rimskykorsakov_n/35.htm

ผม download ของคุณ Peking Man จบแล้วจะมาต่ออันนี้ครับ    
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 20 ม.ค. 06, 02:02

 คุณคำฝอยคงสมใจแล้วนะครับ
มีคุณมาถามปุ๊บกระทู้นี้ฟื้นคืนชีพเลย คุณ hotchoc แจกแจงไว้ดีมากเลยครับ ส่วนพี่ม้าของผมก็มาพูดถึงไอเดียที่ผมเห็นด้วยมานานแล้วคือ ดีกรีของความซาบซึ้ง บางครั้งมันก็นอกเหนือจากเสียงที่ได้ยิน นั่นคือถ้าเรารู้และเข้าใจทฤษฎี โครงสร้างของดนตรี พอเราฟังงานดีๆเราก็จะซาบซึ้งถึงภูมิปัญญาของท่านคีตกวีผู้แต่งได้ เฉกเช่นเราเข้าใจทฤษฎีของไอน์สไตน์แล้วรู้สึกซาบซึ้งและชื่นชมในอัจฉริยภาพของท่านนั่นเอง

ต่อไปผมจะตอบคำถามนะครับ
- No.1, 2, 3 ...  หมายถึงอะไร นับอย่างไร
ไม่ยากครับคือสมมุติว่านาย A แต่เพลงโซนาตาสำหรับเปียโนไว้ 5 ชิ้น เขาก็เรียกผลงานชิ้นแรกว่า No.1 แล้ว 2 3 4 5 เรียงกันไปตามลำดับที่แต่งเท่านั้นเอง ไม่ได้เอาลำดับของโมซาร์ทมารวมกับเบโธเฟ่นอะไรยังงั้น

ส่วนที่คุณ hotchoc ถามเรื่องว่าทำไมไม่ตั้งชื่อให้เพราะๆหน่อยอุตส่าห์แต่งทั้งที
ก็เป็นเพราะคติในเรื่องการแต่งดนตรีนั้นต่างจากสมัยเราครับ

สมัยบาโร้ค และคลาสสิคนั้น การแต่งเพลงพวก Sonata, Concerto หรือ Symphony นั้นยังเป็นงานศิลปะเพื่อศิลปะ(Art for Art sake)อยู่มากกว่าสมัยโรแมนติกและสมัยหลังๆ ที่มุ่งหมายที่จะสื่อถึงอารมณ์ ความคิดของผู้แต่ง ดังนั้นการให้ชื่อแก่งานชิ้นนั้นๆจึงไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ เช่น Symphony ของโมซาร์ททั้งหมด 41 ชิ้น มีชื่อเล่นไม่กี่ชิ้นเอง แถมเป็นคนอื่นตั้งให้ซะส่วนมาก ชิ้นที่เพราะที่สุดคือ Symphony no 40 in G minor ก็ยังไม่มีชื่อเฉพาะเลย แต่สมัยหลังๆ ยุคโรแมนติกคีตกวีมักจะใส่ชื่อไว้เลยเพื่อสื่อถึงความหมายที่เป็นแรงบันดาลใจของตนเอง เช่น Symphony no.6 - Pathetique ของ Tchaikovsky ที่เจ้าตัวอยากจะบรรยายว่าชีวิตตนเองช่างรันทดเหลือเกิน

สังเกตดู Symphony ของโมซาร์ท(ยุคคลาสสิค)สิครับ เพลงไหนเพลงนั้นต่างเต็มไปด้วยความร่าเริงสดใสน่ารัก ชนิดที่ต่างจากชีวิตอันทุกข์เข็ญของท่านมาก แต่กลับกันลองฟังเพลงของ Tchaikovsky(ยุค Romantic) ที่มีทั้ง ร่าเริง สดใส อ่อนหวาน และเศร้าโศกอย่างรุนแรง ขึ้นกับว่าท่านต้องการสื่ออะไรออกมา

พอมาฟังดนตรีสมัยใหม่ที่เน้นการรังสรรค์ทฤษฎีดนตรีที่แปลกๆออกไป มีการทดลองแปลกๆ เพื่อหาทางหลีกหนีจากยุคคลาสสิค + โรแมนติก ก็จะฟังแทบจะไม่เป็นเพลงเลย อย่างเช่นเพลงของ Arnold Schoenberg (เจ้าของทฤษฎี Twelve Tones) หรือ Charles Ives ดนตรีเหล่านี้จะไม่ใช่เพื่อความรื่นรมย์ในการฟังแล้ว แต่เป็นการโชวออฟถึงความลึกซึ้งในด้านทฤษฎีดนตรีของผู้แต่งมากกว่าครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 20 ม.ค. 06, 07:29

 ขอบคุณมากค่ะคุณ CH  ตอนนี้กำลังเปิดฟังอยู่พร้อมกับพิมพ์ตอบขอบคุณ
เพลงของริมสกี้-คอสซาคอฟ เป็นเพลงแห่งความหลังครั้งเยาว์ของดิฉัน  
มาได้ฟังอีกครั้งก็ทำให้จำอะไรๆขึ้นมาได้หลายอย่าง

Bumblebee ถ้าสามารถเปิดฟังได้ตอนเดินเล่นเช้าๆ ในชนบท (ในกรุงเทพเห็นทีจะหายาก)
ผ่านดอกไม้ริมทาง  เห็นหมู่แมลงและผึ้งกำลังบินวนเวียนตอมดอกไม้อยู่ละก็
จะได้บรรยากาศของเพลงแบบเกินร้อยเลยทีเดียว  
บันทึกการเข้า
windy
อสุรผัด
*
ตอบ: 7

เรียนที่ ม.เทคโนโลยีสุรนารี


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 20 ม.ค. 06, 10:10

 ไม่ทราบว่า คุณปักกิ่งแมน หรือว่าคุณม้าบ้า พอจะมีเว็ปให้ดาวน์โหลด OST. บ้างมั๊ยครับ เพราะว่าดนตรีบรรเลงที่ประกอบภาพยนต์ ผมก็รู้สึกว่ามันไพเราะดีเหมือนกัน อย่างเช่น OST. ของ The Lord Of The Ring เป็นต้น ผมคิดว่ามันน่าจะหายากนะครับ

เล่าสู่กันฟังครับ ..แรงบันดาลใจที่ทำให้ผมรู้สึกว่าอยากที่จะฟังเพลงคลาสสิกก็คือ เมื่อผมได้ฟังเพลงของใครไม่ทราบ ที่เปิดตามวิทยุแล้ว มันทำให้ผมจินตนาการได้ว่าเหมือนกำลังนั่งดูเรื่อง Tom & Jerry หรือไม่ก็พวก บักบันนี่ นะครับ ซึ่งตั้งแต่นั้นมาผมก็เลยขวนขวายหาเพลงคลาสสิกมาฟังนะครับ และอยากจะพอมีความรู้บ้างเพื่อคุยกับคนอื่นได้อย่างรู้เรื่อง ก็เลยไปหาหนังสือเกี่ยวกับเพลงคลาสสิกมาอ่านนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.098 วินาที กับ 19 คำสั่ง