ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
ศิลปะวัฒนธรรม
>
ตั้งธัมม์หลวง - เทศน์มหาชาติ ประเพณีเดือนยี่ (เหนือ)
หน้า: [
1
]
พิมพ์
อ่าน: 7080
ตั้งธัมม์หลวง - เทศน์มหาชาติ ประเพณีเดือนยี่ (เหนือ)
ศศิศ
พาลี
ตอบ: 326
อหังการ์ ล้านนาประเทศ
เมื่อ 09 พ.ย. 02, 22:11
ในเดือนยี่ (เหนือ ) หรือว่า เดือนสิบสอง ของทางภาคกลาง นอกจากจะเป็น ประเพณีลอยกระทง แล้ว ยังมีประเพณี ตั้งธัมม์หลวง หรือ การเทศน์มหาชาติ
มารู้จักกับ "ตั้งธัมม์หลวง" (เขียนตามอักขระล้านนา) กันก่อนครับ
ตั้งธัมม์หลวง หมายถึงการฟังพระธรรมเทศนาเรื่องใหญ่ หรือเรื่องสำคัญ เพราะ ธรรมหลวงที่มักใช้เทศน์มักจะเป็นเวสสันดรชาดก อันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้มา ประสูติแล้วตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในชาติต่อมา มีทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ คำว่า"ตั้ง"แปลว่าเริ่มต้น การตั้งธรรมหลวง ก็อาจแปลว่าการสดับพระธรรมเทศนาจากคัมภีร์ที่จารขึ้นใหม่เป็นครั้งแรกด้วย ประเพณีนี้ตรงกับงานประเพณีฟังเทศน์มหาชาติ ของภาคกลาง
การตั้งธรรมหลวงนี้ จะจัดขึ้นในเดือนยี่เพง(ยี่เป็ง) คือวันเพ็ญเดือน ๑๒ จะมีการเตรียมงานมากมาย นับตั้งแต่การเตรียมคัมภีร์ที่ใช้เทศน์ เตรียมองค์ธรรมกถึกหรือพระนักเทศน์ การเตรียมผู้รับผิดชอบกัณฑ์เทศน์หรือเจ้าของกัณฑ์ การจัดเตรียมสถานที่ในการเทศน์ และการเตรียมตัวของผู้จะมาฟังเทศน์ ถือเป็นเป็นพิธีใหญ่คู่กับงานทานสลากภัตต์ ดังนั้นจึงมีคตินิยมว่า ในวัดหนึ่งนั้น ปีใดที่จัดงานทานสลากภัตต์ก็จะไม่จัดงานตั้งธรรมหลวง และปีใดที่จัดงานตั้งธรรมหลวงก็จะไม่จัดงานทานสลากภัตต์ นอกจากเทศน์มหาชาติหรือเวสสันดรชาดกแล้ว ธรรมหรือคัมภีร์ที่นำมาเทศน์ในงานตั้งธรรมหลวงนี้ อาจเป็นคัมภีร์ขนาดยาวเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งทางวัดและคณะศรัทธาจะช่วยกันพิจารณา โดยอาจเป็นเรื่องในหมวด ทศชาติชาดก ปัญญาสชาดก หรือชาดกนอกนิบาตเรื่องอื่น แต่ที่นิยมกันมากคือเรื่อง"มหาชาติ"หรือเวสสันตรชาดก ซึ่งมีความเชื่อกันว่า หากได้ฟังเทศน์มหาชาติครบ ๑๓ กัณฑ์ จะได้ไปเกิดในแผ่นดินยุคพระศรีอาริยเมตรัยในอนาคต ซึ่งหากเป็นธัมม์ที่มิใช้เรื่องมหาชาติแล้วก็มักจะฟังกันไม่เกิน ๓ วัน แต่หากเป็นเวสสันตรชาดกหรือมหาชาติแล้วอาจมีการฟังธัมม์ต่อเนื่องกันไปถึง ๗ วัน ก่อนที่จะเทศน์มหาชาติก็จะเทศน์เรื่องอื่นไปเรื่อย ๆ พอจะถึงวันสุดท้ายก็จะเทศน์ด้วยคัมภีร์ชื่อ มาลัยต้น มาลัยปลาย และอานิสงส์มหาชาติ รุ่งขึ้นเวลาเช้ามืดก็จะเริ่มเทศน์มหาชาติตั้งแต่กัณฑ์ทศพรไปเรื่อย ๆ จนครบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ซึ่งมักจะไปเสร็จเอาในเวลาทุ่มเศษ ปัจจุบันนิยมเทศน์จบภายในวันเดียว ด้วยเหตุที่เทศน์มหาชาติเป็นที่นิยม จึงมีนักปราชยญ์ฉบับล้านนาแต่งธรรมเป็นจำนวนถึงประมาณ ๑๕๐ ฉบับหรือสำนวน เช่น ฉบับวิงวอนน้อย วิงวอนหลวง วิงวอนดอนกลาง หิ่งแก้วมโนวอน ท่าแป้น ริมฅง สร้อยสังกร เป็นต้น ส่วนฉบับที่เป็นภาษาบาลีล้วนเรียกว่า"คาถาพัน"
(จาก
http://www.lannaworld.com/believe/tamloung.htm
)
แล้วปีนี้ใครจะไปฟังเทศน์มหาชาติบ้างครับผม
ผมก็จะพยายามไปให้ได้ ...
บันทึกการเข้า
- ศศิศ -
หน้า: [
1
]
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.029 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...