เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5538 ว่าด้วยเรื่องของระบบ College ในมหาวิทยาลัยของอังกฤษ
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
 เมื่อ 15 พ.ย. 02, 16:44

 บังเอิญว่าได้คุยกับคุณเทาชมพูเรื่องระบบมหาวิทยาลัยในอังกฤษ ซึ่งบางแห่งเช่น อ็อกฟอร์ด และ เคมบริดจ์นั้นเป็นแบบ College ซึ่งแตกต่างจากระบบที่ใช้กันในประเทศอื่นๆ เลยคิดว่ามาคุยเรื่องนี้กันดีกว่า เพื่อว่าคุณเปี้ยวซึ่งอยู่เคมบริจมานานหลายปีจะช่วยให้ความรู้เพิ่มเติมได้บ้าง

เท่าที่ผมเข้าใจนั้นระบบนี้เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์มากกว่า ถ้าจะว่ากันตรงๆแล้ว ผมคิดว่าถ้าอังกฤษจะสร้างมหาวิทยาลัยขึ้นมาใหม่ก็คงไม่ใช้ระบบนี้แล้วเพราะต้องใช้เงินมหาศาล

ในสมัยก่อนนั้นเคมบริดจ์เป็นเมืองมหาวิทยาลัย แต่ละ College ก็เหมือนกับเป็นมหาวิทยาลัยหนึ่ง ซึ่งไม่ขึ้นแก่กัน ในCollege ก็จะมีที่พักสำหรับนักเรียน โบสถ์ โรงอาหาร ห้องสมุดเป็นของตัวเอง และมีอาจารย์ผู้สอนเป็นของตัวเองอีกด้วย คาดว่าในสมัยโบราณนั้นแต่ละ  College ก็จะสอนนักเรียนของตัวเอง การเรียนการสอนจะจัดขึ้นภายใน College ไม่มีการแบ่งภาควิชาแต่อย่างใด

ในสมัยใหม่โลกเปลี่ยนไป ระบบมหาวิทยาลัยก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย สมัยนี้ College มีบทบาทน้อยลง นักเรียนในเคมบริจด์ และ อ็อกฟอร์ด  ส่วนใหญ่จะไม่ได้เรียนใน College แล้ว จะไปเรียนที่คณะแทน เช่นนักเรียนฟิสิกส์ก็ไปเรียนที่ภาควิชาฟิสิกส์เป็นต้น  College เป็นที่พัก ที่รับประทานอาหาร และ คอยดูแลนักเรียนของตน แต่ไม่ได้ทำการสอนเอง

แต่ใน College ต่างๆจะมีการติว หรือสอนการบ้านของนักเรียนใน College ของตน  ซึ่งเรียกว่า Tutorial โดยที่จะมี ติวเตอร์วิชาต่างๆมาสอน ติวเตอร์เหล่านี้ก็คือบรรดาอาจารย์ นักวิจัย หรือ Postdoc ที่ทำงานอยู่ในภาควิชาต่างๆของมหาวิทยาลัยนั่นเอง

ระบบติวเตอร์ใน College นั้นมีประสิทธิภาพมาก เพราะจำนวนนักเรียนต่อกลุ่มนั้นมีน้อย คิดว่าติวเตอร์คนหนึ่งต่อเด็กประมาณ 4-5 คน (อย่างมากไม่เกิน 10) ซึ่งนักเรียนจะได้ซักถามข้อสงสัยได้ ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ (เหมือนสอนพิเศษแบบตัวต่อตัว)

การรับนักเรียนและอาจารย์นั้น ส่วนใหญ่ College จะเป็นคนรับ คือเด็กที่จะเข้าเรียนปริญญาตรี โท และเอกนั้น เวลาสมัครจะต้องสมัครว่าจะเข้า  College ไหน ถ้าไม่มี College รับก็เข้าเรียนไม่ได้ (แต่สำหรับนักเรียน ป.โท และเอก ผมคิดว่าคณะจะมีบทบาทมากกว่าเรื่องนี้)

College บางแห่งนั้น ร่ำรวยมหาศาลเลยทีเดียวเพราะนอกจากจะเป็นเจ้าของที่ดินมากมายแล้ว ศิษย์เก่ายังช่วยส่งสนับสนุนอยู่ นอกจากนั้นบางแห่งยังทำธุรกิจอีกต่างหาก
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 31 ต.ค. 02, 08:50

 ไม่แน่ใจเหมือนกันครับว่ามีมหาวิทยาลัยในอังกฤษกี่แห่งที่มีระบบ College เท่าที่ทราบมี Oxford Cambridge แล้วก็ Durham คิดว่าน่าจะมีอีกแห่งหรือสองแห่ง

เคยได้ยินมาว่า สมัยตอนที่จะดำเนินการสร้าง มหาวิทยาลัยสงขลาฯ มีคนเสนอให้นำระบบ College มาใช้เหมือนกัน แต่ก็ล้มไป ซึ่งคิดว่าถูกต้องแล้วเพราะใช้เงินมาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 31 ต.ค. 02, 11:02

 ขอบคุณค่ะคุณจ้อ
เรื่องเปลืองงบประมาณ ดิฉันไม่เคยนึกเลยนะคะ  อาจจะเป็นเพราะไม่รู้ว่าเขาบริหารกันยังไง  จะเป็นทางให้มีสำนักงานซ้ำซ้อนกันได้มากหรือเปล่า

รู้แต่ว่าเมื่อมหาวิทยาลัยศิลปากรขยายวิทยาเขตไปที่พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม พ.ศ. ๒๕๑๐  พณฯ ม.ล.ปิ่น มาลากุล อธิการบดีในสมัยนั้นได้นำระบบคอลเลจมาใช้ค่ะ
เรียกว่า วิทยาลัย
วิทยาลัยแรกคือวิทยาลัยทับแก้ว    มีโครงการจะตั้งวิทยาลัยทรงพล  วิทยาลัยทับขวัญ วิทยาลัยทับเจริญ ต่อมา
ชื่อเหล่านี้มาจากชื่ออาคารสถานที่ในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์
ระบบวิทยาลัย ดูแลหอพัก  สวัสดิการนักศึกษา ระบบธุรการ การเงิน กิจกรรมต่างๆ ให้ขึ้นกับวิทยาลัยทั้งหมด   ส่วนคณะมีหน้าที่เพียงจัดการเรียนการสอน เป็นด้านวิชาการโดยตรง

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ยักใช่เรื่องการเงิน      กลับเป็นว่านักศึกษาไม่พอใจคำว่า "วิทยาลัย" เพราะถือว่าตัวเองเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐ
วิทยาลัยในยุคนั้นก็มีวิทยาลัยครู  หรือวิชาลัยเอกชน(ยังไม่ได้ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย)
จึงมีการคัดค้านระบบกันใหญ่โตมาก    ไม่อยากได้ชื่อว่าอยู่ในวิทยาลัย   ในที่สุดระบบวิทยาลัยก็ถูกระงับไป
เหลือแต่ชื่อ กลายเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ทับแก้ว เรียกกันอยู่พักหนึ่ง  เดี๋ยวนี้ยังเรียกกันอีกหรือเปล่าไม่ทราบ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 01 พ.ย. 02, 01:42

 ครั้งหนึ่ง (ราวๆ 251x ต้นๆ) ที่จุฬาฯคณะวิศวะไม่ลงรอยกับอบจ.เกี่ยวกับเรื่องการจัดการรับเสด็จ รายละเอียดขอไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ แต่จบลงด้วยความพยายามสวนกระแส เรียกตัวเองเป็น college ของคณะวิศวะ

ทุกวันนี้เรื่องนี้ถือว่าจบไปนานแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าเด็กรุ่นหลังรู้หรือเปล่าว่าเคยมีเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้น ร่องรอยที่หลงเหลือ เท่าที่เห็นทุกวันนี้คือการจัดงานนิทรรศน์ฯ ของวิศวะ ในช่วงเวลาเดียวกับ จุฬาวิชาการ (ทั้งๆที่มันก็งานเดียวกันนั่นแหละ)

อีกอย่างหนึ่งที่ผมเคยเจอ แต่ไม่แน่ใจว่าเดี๋ยวนี้ยังใช้อยู่หรือเปล่า คือปกรายงานสีน้ำตาลจะเขียนว่า College of Engineering ครับ

เล่ากันเล่นสนุกๆ เพราะหมู่นี้เรือนไทยเหงาเหลือเกิน
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 พ.ย. 02, 01:45

 เอ้อ... จะว่าไปแล้ว ไม่ใช่ อบจ.หรอก น่าจะเป็น สจม.มากกว่า เพราะสมัยนั้น อบจ.ใช้ชื่อว่า สจม. ปัจจุบันนี้เข้าใจว่า สจม.จะหมายถึงสโมสรอาจารย์จุฬาฯ ใช่ไหมครับ?
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 พ.ย. 02, 08:51

 สจม.ค่ะ สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
สมัยนั้นจุฬาลงกรณ   ไม่ใช้ ณ์  
ยุคนั้น  บรรดาปู่ๆ  วิศวฯ กร่างที่สุด  เคยยกพวกตีกับคณะรัฐศาสตร์  วิทยาศาสตร์
แม้แต่อักษรศาสตร์ก็เคยโดน  บรรดาป้าๆ(หรืออาจจะเรียกได้ว่ายาย) ไปช่วยเพื่อนหนุ่มอักษรฯตีเสียด้วย
เพราะผู้ชายมีหยิบมือเดียวทั้งคณะ  เกรงจะไม่เหลือไว้สืบทอดตำนานอีก
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 พ.ย. 02, 17:24

 อันเดียวกันแหละครับ สจม. กับ อบจ.
สจม. เป็นชื่อเก่า สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
อบจ. ตือ องค์กรบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพราะในสมัยหลังมานี่ ดูเหมือนจะหลัง 14 ตุลาฯ หรือแถวๆ นั้นแหละ เกิดมีไอเดียว่าจะจัดการบริหารสโมสรนิสิตให้เป็นประชาธิปไตยขึ้น มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายสภา เหมือนบริหารกับนิติบัญญัติในระดับชาติ (ฝ่ายตุลาการไม่มี) มีการเลือกตั้งผู้แทนนิสิตไปนั่งอยู่ในสภานิสิตที่เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นใหม่ คอยคุมงบประมาณของ สจม. ดังนั้นส่วนที่ทำหน้าที่บริหาร สจม. เดิมอยู่ก็เลยได้รับการจัดตั้งเป็น อบจ. ทำหน้าที่คล้ายๆ รัฐบาล

เดี๋ยวนี้จะเป็นไงไม่รู้แล้ว ผมเคยได้รับเลือกเป็น สส. หรือผู้แทนนิสิตไปนั่งอยู่ในสภานิสิตอยู่ปีหนึ่ง แต่ตอนหลังออกมาทำกิจกรรมเองในระดับชมรม ทางฝั่ง อบจ. สนุกกว่านั่งคุมเขาหรือตัดงบเขา (ชมรมต่างๆ ถือว่าอยู่ทางฝั่งฝ่ายบริหาร) เคยเข้าไปแถลงป้องกันงบฯ ของชมรมในสภาเหมือนกัน

เรื่องหลุดประเด็นจากเคมบริดจ์เสียแล้ว ที่จริงถ้าจะเล่า เรื่องวิศวะรุ่นปู่ตีกับรัฐศาสตร์รุ่นตานี่ คุยได้อีกยาวครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 พ.ย. 02, 02:53

 ผมเคยได้ยินว่าท่านอาจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล จะเอาระบบคอลเลจมาใช้ที่ ม. ศิลปากรทับแก้วเหมือนกัน แต่เพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่าล้มเหลวไปเพราะอะไร

ที่จริงก็เป็นการติดยึด เป็นอุปาทาน ซ้ำไม่ตรงกับความจริงอีก เพราะไปยึดมั่นว่าคำว่าวิทยาลัยด้อยกว่ามหาวิทยาลัย ก็ตัวเองเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยศิลปากรอยู่แล้ว ไม่น่าจะน้อยใจเลย แต่น่าเสียดายอยู่เหมือนกันว่าถ้าติดใจข้องใจกันแค่ชื่อ ท่านอาจารย์ ม.ล. ปิ่นฯ ท่านก็น่าจะแก้แค่ที่ชื่อได้นี่ครับ เช่นเรียกว่าวิชชาลัย หรือวิทยเคหะ วิทยสถาน สำนักทิศาปาโมกข์ ... อะไรก็ได้

ผมเข้าใจว่าระบบทำนองนี้อังกฤษใช้มาเป็นประเพณี ลงไปในระดับโรงเรียนก็มี อย่างโรงเรียนแฮร์โรว์ อีตัน ก็มี Houses ต่างๆ แม้แต่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย (เป็นชื่อพระราชทาน เลยไม่มีใครสมัยหลังกล้าสงสัยว่าเป็นแค่โรงเรียนมัธยมไหงชื่อเป็น "วิทยาลัย" ที่จริงวิทยาลัยก็แปลว่าที่อยู่ของความรู้ แค่นั้นเอง) แม้แต่วชิราวุธวิทยาลัย ร.6 ท่านก็ทรงรับระบบ "บ้าน" หรือ "คณะ" ทำนองนี้มาด้วยคือที่ๆ ให้เด็กพักและทำกิจกรรม มีระบบธุรการของตนเอง ก็คือเป็นระบบคอลเลจย่อส่วนนั่นเอง

เดี๋ยวนี้ระบบอย่างที่ว่าที่ดังที่สุด เห็นจะเป็นระบบบ้านต่างๆ ของ Hogwarts โรงเรียนพ่อมดของแฮรี่ครับ เอ้อ ลืมเล่าไปว่า เมื่อผมไปเยี่ยมคนเปี้ยวที่เคมบริดจ์นั้น ไปขึ้นรถไฟออกจากลอนดอนที่สถานีชาริงครอส ที่เดียวกับที่แฮรี่ขึ้นรถไฟไปโรงเรียนพ่อมดด้วยครับ แต่มองหาชาชาลาที่ 9 3/4 ไม่เจอ
บันทึกการเข้า
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 03 พ.ย. 02, 21:58

 เมื่อวานพิมพ์เกี่ยวกะ College เคมบริดจ์ไปประมาณ 2 หน้า ดันกดปุ่มผิด หายเกลี้ยงเลย    ไว้โอกาสหน้าตอนไม่เบลอจะมาพิมพ์ใหม่ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 04 พ.ย. 02, 10:54

เสียดายค่ะคุณเปี้ยว  ส่งดอกไม้มาเยี่ยมอาการ
ขอให้หายเบลอเร็วๆนะคะ
บันทึกการเข้า
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 14 พ.ย. 02, 23:49

 ขอบคุณคุณเทาชมพูครับ  
เสาร์อาทิตย์นี้คาดว่าคงหายเบลอครับ
บันทึกการเข้า
ทองรัก
พาลี
****
ตอบ: 390

นักวิจัย


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 พ.ย. 02, 11:08

 คุณเปี้ยวใช้เวลารักษาอาการเบลอนานจังค่ะ  
มาเอาใจช่วย(อีกคน)ให้หายเบลอเร็ว ๆ นะคะ
อยากฟังต่อค่ะ
บันทึกการเข้า
นวล
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 พ.ย. 02, 16:44

 มายืนยันค่ะว่า จนเดี๋ยวนี้ ก็ยังเป็น College of Engineering ปักอยู่บนกระเป๋าเสื้อเวิร์คช้อป แต่บนสมุดนั้น ไม่เห็นแล้วค่ะ ใช้แต่ปกรวมของจุฬาฯ

ส่วนใหญ่แล้ว ในอังกฤษถ้าเป็นโรงเรียนประจำ จะแบ่งกันเป็น houses มีชื่อ และสัญลักษณ์เป็นสีต่างๆ (ส่วนใหญ่) มีหัวหน้า Head และตามด้วย prefects เป็นผู้คุมกฎ!
บันทึกการเข้า
VSL
อสุรผัด
*
ตอบ: 5

เรียนที่มหาวิทยาลัยเกียวโต, ญี่ปุ่น


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 16 ม.ค. 03, 22:27

 อืม อยากให้มีธรรมเนียมปฏิบัติดีๆอย่างนี้กับหอพักของมหาวิทยาลัยทุกแห่งจังเลย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง