เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 13208 น้ำท่วมใครว่าดีกว่าฝนแล้ง
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
 เมื่อ 24 ต.ค. 02, 15:58

 ตอนนี้เมืองไทยกำลังเกิดอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ในหลายจังหวัดครับ รู้สึกสงสารพี่น้องประชนที่ประสบภัยเป็นอย่างมาก หลายคนเสียทรัพย์สินเสียหายถึงสิ้นเนื้อสิ้นตัวไปเลยก็มี ได้แต่เอาใจช่วยและขอให้ผ่านภัยครั้งนี้ไปได้เร็วๆ

เวลาฝนตกน้ำท่วมทีไรผมนึกถึงเพลงลูกทุ่งหลายๆเพลงที่พูดถึงภัยน้ำท่วม ทำให้เกิดสงสัยว่าคนไทยในชนบทน่าจะประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่หลายต่อหลายครั้ง

คุณแม่ผมเล่าให้ฟังว่าสมัยเป็นเด็ก (ราวๆ 50ปีมาแล้ว) ที่จังหวัดลพบุรีแม่น้ำป่าสักไหลเข้าท่วมบ้านทุกปี จะไปตลาดซื้อของต้องพายเรือไป สมัยนั้นแม่เล่าว่าถึงแม้จะเดือดร้อนบ้างแต่ก็ไม่ถึงกับลำบากมาก เพราะบ้านเรือนไทยเป็นแบบใต้ถุนสูง พอน้ำท่วมทีหนึ่ง จากเรือนไทยก็กลายสภาพเป็นเรือนแพไปเลย ที่ลำบากก็คือพวกสัตว์เลี้ยงที่ต้องหนีน้ำ ต้อนไปไว้บนถนนที่น้ำไม่ท่วม ได้ฟังแล้วผมเลยคิดว่าคนไทยเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีจริงๆ

แต่มาสมัยหลังมีการสร้างเขื่อนขึ้น ทำให้น้ำเลิกท่วมไป นอกจากเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ๆ ถึงจะมีน้ำท่วมขึ้น บ้านของคนไทยสมัยใหม่ก็ไม่ได้สร้างใต้ถุนสูงกันอีกแล้ว น้ำท่วมเลยเสียหายมากขึ้น

แต่ไม่ว่าน้ำท่วมสมัยไหนก็ไม่ดีทั้งนั้น ขอให้ชาวไทยพ้นภัยเร็วๆด้วยเถิด ...
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 01 ต.ค. 02, 17:29

 เอ... พักนี้เรือนไทยกลายเป็นเรือนแพ
สมาชิกถูกสายน้ำพัดไปอยู่ที่ไหนหมดหนอ    
บันทึกการเข้า
caeruleus
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 01 ต.ค. 02, 17:52

 เข้ามาอ่านเรื่อยๆค่ะ แต่ไม่เสดงความเห็น เพราะ ที่คุณจ้อพูด (เอ้ย พิมพ์) มาก็ยังไม่เห็นมีผิด

ตอนนี้อังกฤษไม่มีฝนมา ๓ อาทิตย์แล้วค่ะ ตื่นเต้นจัง    
บันทึกการเข้า
caeruleus
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 02 ต.ค. 02, 01:12

 ว้า...ดีใจเร็วไปหน่อย พยากรณ์อากาศบอกว่าคืนนี้ฝนจะตก    
บันทึกการเข้า
ถาวภักดิ์
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 02 ต.ค. 02, 11:53

 ถ้าใครกำลังเรียน  หรือเคยศึกษาเกี่ยวกับ River Restoration น่าเอาความรู้ัมาแบ่งปันกันบ้าง  รู้สึกว่าคนในบ้านเรารู้กันน้อยมาก

ในเดนมาร์ค 100ปีที่ผ่านมา ได้พยายามปรับเปลี่ยนสภาพภูมิศาสตร์เดิมของประเทศที่เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง  ให้มีสภาพน้ำท่วมไม่ถึงมาโดยตลอด  ซึ่งประเทศไทยก็เดินตามรอยเดียวกัน  จนมาถึงประมาณ 10-20 ปีที่ผ่านมา ประเทศเดนมาร์คจึงตระหนักถึงความผิดพลาดที่กระทำมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน  หันกลับมาศึกษาสภาพภูมิศาสตร์อย่างละเอียดลึกซึ้ง  และทุ่มเทงบประมาณมหาศาลเพื่อปรับเข้าสู่ธรรมชาติภูมิศาสตร์เดิม  เพราะรู้ชัดว่านั่นคือการลงทุนที่คุ้มค่าเป็นเป็นประโยชน์สูงสุดในระยะยาวอย่างแท้จริง

ทุกครั้งที่มนุษย์ยะโส โอหังคิดว่าเอาชนะธรรมชาติได้  มนุษย์โดยทั่วไปก็จะได้รับการลงโทษอย่างแสนสาหัส มีเพียงมนุษย์ที่โชคดีและเห็นแก่ตัวไม่กี่คนที่สามารถเสวยสุขได้อย่างต่อเนื่อง  แต่มนุษย์ส่วนน้อยนี่แหละที่มีอำนาจชี้นิ้วให้ชนหมู่มากต้องทนทุกข์ทรมานเพื่อความสุขสบายของตนและพวกพ้อง

ผมเชื่อว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดของส่วนรวม น่าจะเป็นการให้ความเคารพพลังอำนาจของธรรมชาติ  เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับความแปรปรวนของธรรมชาติ  มากกว่าการพยายามที่เอาชนะเป็นเด็ดขาด
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 02 ต.ค. 02, 15:38

 วันนี้อาจารย์ถาวภักดิ์มามาดนักวิศวกรรมชลประทานและสิ่งแวดล้อมแฮะ

ผมมาฟังหาความรู้ประดับสมองคะรับ เพราะยังไม่เคยเรียนวิชาที่ว่านั่นเลยครับ

ก่อนจะถึงรายการวิชาฟื้นฟูแม่น้ำ ขอฟังเพลงลูกทุ่งก่อนครับ "น้ำท่วมเขาว่าดีกว่าฝนแล้ง...." ขอเชิญเสเพลบอยชาวไร่(กล้วย) นางตานี และสหายวงลูกทุ่งทั้งหลายร้องให้ฟังด้วย

เออ ใครทราบบ้างครับว่าประโยคที่ว่าน้ำท่วมเขาว่าดีกว่าฝนแล้งนี้ ใครว่า เป็นคนแรก เป็นสำนวนไทยเดิมสืบมาแต่โบราณหรือว่ามีคนพูดเป็นคนแรกก่อน ผมน่ะ คลับคล้ายคลับคลายังกับว่าท่านจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีไทยสมัยใส่หมวก สมัย "วัธนธัม" สมัยอักขระวิบัติ นั่นแหละ ท่านจะพูดไว้ ปลอบใจคนไทย เพราะช่วงนั้น (ไทยกำลังจะเข้าสงครามโลก ราวๆ พ.ศ. 2480 กว่าๆ) มีปีหนึ่งที่เมืองไทยน้ำท่วมหนักมาก แต่ท่านผู้นำจอมพล ป. ท่านจะพูดเองเป็นคนแรก หรือท่านจะจำคำเก่ามาพูด ผมก็ไม่ทราบ
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 ต.ค. 02, 08:34

แฮะๆๆ ผมเคยได้ยินก็จากเพลงลูกทุ่งครับ
เปิดเพลงตามคำขอก็แล้วกัน เพลงของ ศรคีรี ศรีประจวบ
เข้าใจว่าแต่งตอนน้ำท่วมใหญ่เหมือนกัน แต่จำไม่ได้ว่าพ.ศ.ไหน
น่าจะ 25.. อะไรซักอย่างหนึ่ง  

..น้ำ ท่วม น้องว่าดีกว่า ฝนแล้ง
พี่ว่าน้ำแห้ง ให้ฝนแล้งเสียยังดีกว่า
น้ำท่วมปีนี้ทุกบ้านล้วนมี แต่คราบน้ำตา
พี่หนีน้ำขึ้นบนหลังคา น้ำตาหลั่งคลอสายชล

น้ำ ท่วมใต้ฝุ่นกระหน่ำ ซ้ำสอง
เสียงพายุก้อง เหมือนเสียงของมัจจุราชบ่น
น้ำท่วมที่ไหน ก็ต้องเสียใจด้วยกันทุกคน
เพราะต้องพบกับความยากจน
เหมือนคน หมดเนื้อ สิ้นตัว

บ้านพี่ ก็ถูกน้ำท่วมเหมือนกัน
ที่ประจวบคีรีขันธ์ เหมือนกันไปทุกครอบครัว
พื้นนาก็ล่ม ไร่แตงก็จมเสียหายไปทั่ว
พี่จึงเหมือนคนหมดตัว หมดตัวแล้วนะแก้วตา

น้ำท่วม พี่ต้องผิดหวังชอกช้ำ
พี่คิดเช้าค่ำ ปล่อยให้น้ำท่วมตายดีกว่า
น้องอยู่บ้านดอน ช่างไม่อาทรถึงพี่สักครา
ไม่มาช่วยพี่ซับน้ำตา ไม่มามองพี่บ้างเลย  
***********************
บันทึกการเข้า
ฝอยฝน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 104

architect


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 03 ต.ค. 02, 17:16

 ไม่ได้เรียนวิชา ชื่อยากๆโน้นมามาโดยตรงนะคะ  แต่พอจะเคยเรียนรู้  พื้นฐานเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำมาบ้างค่ะ  
ในการจัดการทรัพยากรน้ำ  เขาแบ่งแหล่งน้ำเป็น น้ำใต้ดิน  และน้ำที่ผิวดิน(น้ำท่า)  ซึ่งก็มาจากน้ำฝนที่ตกลงมาไหลลงไปยังพื้นที่รับน้ำ(drainage area หรือ watershed area) นั่นเองค่ะ และจะไหลไปรวมกันกลายเป็นแม่น้ำลำคลองที่เราเห็นๆไงคะ

 วิธีการคำนวณปริมาณน้ำจะมีสูตรค่ะ แต่จำไม่ได้จริงๆ พื้นที่รับน้ำ(watershed)  ถ้าดูจากแผนที่ส่วนมากเขาจะลากเส้นจากสันเขา (ส่วนที่สูง) ประมาณ 3 จุด ในแต่ละพื้นที่  (ในแผนที่จะมีเส้นชั้นความสูงของพื้นที่-contour) ในปัจจุบันใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียม ช่วยในการทำงาน  จะมีโปรแกรมแปลงสัญญาณภาพถ่าย  ออกมาเป็นแผนที่ลุ่มน้ำและสามารถวัดและคำนวณขนาดพื้นที่ออกมา...นำไปใช้ประโยชน์ได้ ทั้งนี้ในการคำนวณปริมาณน้ำท่าต้องมีการวัดปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ประกอบด้วยนะคะ โดยจะได้ข้อมูลจากสถานีอุตุนิยมวิทยา  

แม่น้ำสายต่างๆ เขาจะกำหนดพื้นที่ลุ่มน้ำ เป็นตารางกิโลเมตรค่ะ  วิธีการสังเกตว่าน้ำจะไหลไปทางไหน ก็ดูจากเส้นชั้นความสูงที่ถี่ติดๆกัน  ตรงนั้นแหละค่ะ จะกลายเป็นร่องน้ำ ถ้าเส้นห่างความชันจะน้อยค่ะ (เราก็ทราบว่าน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ)
 
บันทึกการเข้า
ฝอยฝน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 104

architect


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 03 ต.ค. 02, 17:20

 ที่นี้ในการจัดการการใช้น้ำ  ในแต่ละพื้นที่ชาวบ้านจะมีภูมิปัญญาท้องถิ่น  ต่างกันไปค่ะ  ทางภาคเหนือ พื้นที่ภูมิประเทศเป็นภูเขา มีระดับสูงต่ำ  เขาใช้ ฝาย คือ  หาอะไรก็ได้มากั้นทางน้ำเล็กๆ หรือร่องน้ำที่เล่าไว้ข้างบนนั้น  ให้น้ำไหลล้นออกด้านข้าง  เป็นจุดๆตามแต่เขาต้องการให้น้ำผ่านไปทางไหน  มีทั้งฝายหิน  ฝายไม้ ฯลฯ มีทั้งแบบชั่วคราวและถาวร

ทางภาคอีสาน เคยพบบางพื้นที่  แหล่งน้ำคดเคี้ยว นำไหลแรง  เขาจะทำคล้ายๆวงล้อเกวียนขนาดใหญ่ ไว้ที่ริมน้ำ เรียกว่า หลุก (ไม่ค่อยแน่ใจนะคะว่าเรียกแบบนี้หรือเปล่า)ลักษณะวงล้อ  ออกแบบเป็นขั้นๆ เมื่อน้ำไหลผ่าน  แรงน้ำจะทำให้หลุกหมุน หลุกจะทำหน้าที่เป็นภาชนะตักน้ำเข้าทางน้ำเล็กๆที่เตรียมไว้ และนำไปใช้ต่อไป  

ทางภาคกลางเป็นพื้นที่ราบ  การชลประทานจึงใช้คลองส่งน้ำเป็นหลักค่ะ  โดยมีประตูปิด-เปิด น้ำ
ในทางชลประทานเขาก็คำนวณเวลาและปริมาณการปล่อยน้ำได้ค่ะ

  รู้มาประมาณนี้แหละค่ะ  ถ้าทางเทคนิคอย่างละเอียดก็ไม่ทราบนะคะ
บันทึกการเข้า
Orpheus
อสุรผัด
*
ตอบ: 12

เรียนอยู่ม.รังสิตครับ


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 04 ต.ค. 02, 21:11

ผมว่าน้ำท่วมก็มีปัญหามากกว่าแล้วจริงๆนะ อย่างน้อยเมื่อมีน้ำก็มีพาหะนำโรคมากกว่าจริงๆแหละครับ ตัวโรคที่มากับน้ำก็มีอย่างตัวนี้ไง
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 07 ต.ค. 02, 10:47

 เอ่อ... วันนี้บ้านผมก็น้ำท่วมครับ ฮือๆๆ      
บันทึกการเข้า
ถาวภักดิ์
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 ต.ค. 02, 15:14

 ขอยกตัวอย่างข้อเสียในการมุ่งใช้ทางน้ำให้เป็นเพียงระบบระบายน้ำ ดังนี้

1. การขุดลอกอย่างรุนแรงตลอดทางน้ำ เป็นประจำทุกปี  ทำให้สูญเสียพลังงาน/ค่าใช้จ่ายประจำ  และทำลายสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อวงจรชีวิตของสัตว์น้ำ  เช่น กรวด-หินที่จำเป็นต่อการวางไข่ ก็ถูกนำออกไปในกระบวนการขุดลอก  สาหร่ายและพืชน้ำที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารก็ถูกทำลาย  ผลคือปัจจุบันคนไทยต้องซื้อปลาที่มีการเพาะเลี้ยงเพื่อการบริโภค  ไม่สามารถพึ่งพาแหล่งน้ำธรรมชาติได้เป็นปกติเช่นสมัยก่อน

2. การขุดลอกยังมีผลให้ตลิ่งพังทลาย ต้องสูญเสียเงินในการซ่อม/ป้องกันตลิ่ง  ครั้นทำการป้องกันตลิ่งด้วยคอนกรีตก็เป็นการทำลายสภาพแวดล้อมที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของสัตว์และพืชน้ำมากยิ่งขึ้นไปอีก

3. การขุดลอก  และการเบียดเบียนพื้นที่ทางน้ำเดิมไปเป็นถนนบ้าง หน่วยราชการบ้าง  ทำให้ท้องน้ำลึกลงไปมาก ผิดจากธรรมชาติเดิม  เป็นเหตุให้ระดับน้ำใต้ดินเปลี่ยนระดับลึกลงไปจนพ้นระยะหยั้งถึงของรากต้นไม้  มีผลให้เกิดความแห้งแล้งรุนแรงในหน้าแล้ง  และยังสิ้นเปลืองพลังงาน/ค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นในการนำน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินมาใช้

4. ผลประโยชน์ที่คนกลุ่มเล็กได้รับจากการนำทรายขึ้นมาจำหน่าย  ที่ดูเหมือนเป็นรายได้สูงเฉพาะกลุ่ม  ตั้งอยู่บนความสูญเสียอันใหญ่หลวงของส่วนรวม   และยิ่งรายได้นี้อยู่ในมือของกลุ่มที่มีอำนาจ-อิทธิพล  ยิ่งทำให้เกิดความเพิกเฉยที่จะศึกษาในรายละเอียด  ตลอดจนปรับเปลี่ยนการจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวมอย่างแท้จริง และยั่งยืน

สภาพภูมิศาสตร์ของที่ราบลุ่ม  น้ำท่วมถึงได้ในบริเวณกว้าง  มีธรรมชาติที่น้ำและดินได้เอื้ออาศัยพึ่งพากันและกัน  โดยแร่ธาตุต่างๆที่ทำให้ดินอุดมจะถูกน้ำพัดพามาตกค้าง ปรับสภาพให้ดินมีสารอาหารที่สมบูรณ์อยู่เสมอ  และยังเป็นการชำระสารพิษ เช่น โลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ  ตลอดจนคนและสัตว์ที่บริโภคสัตว์น้ำ ให้เจือจางไปในพื้นที่อันกว้างใหญ่ของพื้นที่น้ำท่วมถึง
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 ต.ค. 02, 15:58

 ผมว่า บ้านเรา น้ำคงจะท่วมหนักขึ้นทุกปีก็เพราะเขื่อนนี่แหละครับ
เขื่อนที่ว่านี่ยาวเป็นสิบหรือเป็นร้อยกิโลเมตรเลย
ก็ถนน ที่พวกเราอยากให้รัฐบาลตัดผ่านแถว ๆ ที่ดินของพวกเรานั่นแหละครับ

แต่ก่อน ฝนตก น้ำท่วม ก็ไม่ขังนาน เพราะน้ำไหลลงคลอง
ลงแม่น้ำ ลงทะเลอย่างรวดเร็ว

แต่เดี๋ยวนี้ เราทำถนนสูงมาก ขนานกับแม่น้ำลำคลองและชายฝั่งทะเล
น้ำมาแล้วอยากจะไปเร็ว ๆ ก็ไปไม่ได้ เพราะติดถนนเหล่านั้นนั่นแหละครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 08 ต.ค. 11, 09:03

กระทู้นี้ทันกระแสปัจจุบัน  แม้ผ่านมา ๙ ปีแล้ว เหตุการณ์น้ำท่วมยังเกิดขึ้นทุกปี และรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

ปีนี้หนักมาก ขอบันทึกสาเหตุหนึ่งของน้ำท่วมในหลายจังหวัด

ประตูระบายน้ำบางโฉมศรีพัง



 เศร้า
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 08 ต.ค. 11, 13:48

ฮือฮาเรื่อง กทม.จะจัดพิธีไล่น้ำก่อนจะยกเลิกไป


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 19 คำสั่ง