นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ไม่ใช่วันเกิดใครที่ผมรู้จักหรอกครับ หรือมีใครในเรือนไทยเกิดวันนี้บ้าง จะได้ถือโอกาสอวยพร
จริงๆ แล้วติดพันมาแต่กระทู้ชื่อถนนเยาวราช ข้างล่างโน้น ชื่อวงเวียน 22 กรกฎาฯ ก็อยู่ไม่ไกลจากถนนเยาวราชนัก ถ้าจำไม่ผิด วงเวียนนี้ได้ชื่อนี้ เพราะวันที่ 22 กรกฎา พ.ศ. ไหนจำไม่ได้ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ทรงนำสยามเข้าสู่มหาสงครามในยุโรป ที่เรียกกันต่อมาทีหลังว่า สงครามโลกครั้งที่ 1 โดยประกาศสงครามกับฝ่ายเยอรมันและเข้าเป็นสัมพันธมิตรกับอังกฤษและฝรั่งเศส
ธรรมเนียมตั้งชื่อถนน วงเวียน สะพาน ฯลฯ เป็นวันที่นี้ ในเมืองฝรั่งเห็นมีอยู่บ้าง แต่ที่ผมเห็นแยะเป็นไปทางประเทศละตินอเมริกาครับ แถวนั้น จะมีชื่อถนน 32 มกรายน ถนน 30 กุมภาคม อะไรต่ออะไรเต็มไปหมด ได้ความว่าบางทีก็เป็นวันปฏิวัติ วันประกาศเอกราช หรือในบางประเทศที่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงผู้นำกันบ่อย บางทีถนนสายเดียวกันเปลี่ยนชื่อเป็นวันที่ต่างๆ เสียหลายรอบ สุดแต่ว่าคณะผู้มีอำนาจที่ขึ้นมาได้ใหม่นั้นทำปฏิวัติยึดอำนาจสำเร็จในวันไหน
แต่ธรรมเนียมนี้ เรารับมาแล้ว ดูเหมือนไม่ค่อยติดในเมืองไทย ผมนึกไม่ออกว่านอกจากวงเวียน 22 กรกฎาแล้ว เรามีถนน วงเวียน อะไรที่ชื่อเป็นวันที่อยู่ที่ไหนอีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฝอยฝน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 104
architect
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 19 ก.ค. 02, 23:19
|
|
ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ ว่าจะที่มีไหนตั้งชื่อสถานที่เป็นวันที่บ้าง แต่บังเอิญไปอ่านหนังสือเจอว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 สภาพบ้านเมืองเปลี่ยนแปลง การเดินทางสัญจรเปลี่ยนจากทางน้ำมาใช้ทางบกมากขึ้น พระองค์ท่านทรงโปรดฯ ให้บำเพ็ญพระบรมราชูทิศสร้างสะพาน เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาในแต่ละปีที่สร้าง เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2439 (รศ. 114) เมื่อมีพระชนมายุ 42 พรรษา สะพานแรกจึงมีชื่อว่า "สะพานเฉลิม 42 " ต่อมาปลายรัชกาลทรงพระราชชื่อสะพานให้ครบและง่ายต่อการจดจำ สะพานแรกนี้จึง ชื่อ สะพานเฉลิมศรี 42 (ข้ามคลองบางขุนพรหม ที่ถนนสามเสน) รวมทั้งหมดทีถึง 15 สะพาน ในรัชกาลที่ 6 ก็ทรงสืบต่อการอุทิศพระราชทรัพย์สร้างสะพาน มีคำว่า "เจริญ " นำหน้า มีด้วยกัน 6 สะพาน และมีสะพานที่ขึ้นต้นด้วยเฉลิม ซึ่งเริ่มในรัชกาลที่ 5 มาแล้วเสร็จในรัชกาลนี้อีก 2 สะพานค่ะ
และไปอ่านเจอบทความค่ะ กล่าวถึง การตั้งชื่อวัด นักวิชาการเขาสรุปว่า มีหลักในการตั้งชื่อ แสดงความหมายบางประการ มีหลายกลุ่มด้วยกัน คือ
-ผู้สร้าง แสดงฐานะ เชื้อชสติ ผู้สร้าง ได้แก่ วัดพิชัยญาติการาม วัดขรัวอิน (วัดดาวดึงษาราม) วัดจางวางดิศ (วัดดิสานุการาม)
- แสดงที่ตั้ง สภาพภูมิประเทศ เช่น วัดเกาะ (วัดสัมพันธวงศ์) วัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม)
-แสดงความเกี่ยวข้องกันและกัน เช่น วัดทองบน (วัดทองธรรมชาติ) วัดทองล่าง(วัดทองนพคุณ) วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษสิตาราม) วัดบางหว้าน้อย (วัดอมรินทราราม) ฯลฯ....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฝอยฝน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 104
architect
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 19 ก.ค. 02, 23:29
|
|
เพิ่งอ่านเจอเหมือนกันค่ะ ว่าถนน สี่พระยา ก็เพราะเจ้าพระยา 4 ท่าน ช่วยกันออกเงินสร้าง
พอเล่าถึงสะพาน ก็เพิ่งนึกออกว่า ที่วัดเบญจมบพิตร ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านทรงริเริ่มมีงานวัดครั้งแรกจำได้ลางๆ ว่าท่านทรงจัดเพื่อฉลองการสร้างพระพุทธรูป แต่ก็ได้จัดมาเรื่อยๆ และยังนำรายได้ในการออกร้านไปสร้างสะพานในวัด ถึง 3 สะพาน ต่อมาในรัชกาลที่ 6 สถานที่คับแคบเกินไป จึงขยายไปออกร้านยังสนามฟุตบอลสโมสรเสือป่า และชื่องานจึงเปลี่ยนเป็นงานรื่นเริงฤดูหนาว ต่อมาย้ายไปจัดที่สวนจิตร และสวนสราญรมย์ ตามลำดับ ซึ่งกลายเป็นต้นตำรับในการจัดงานรื่นเริงฤดูหนาวสืบมา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฝอยฝน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 104
architect
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 20 ก.ค. 02, 00:41
|
|
ที่วงเวียน 22 กรกฏา นอกจากจะเป็นการรำลึกถึงวันที่ 22 กรกฏา 2460 แล้ว อ่านพบว่าพื้นที่บริเวณย่านนี้แออัดคับแคบ เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้บ่อย จึงสร้างเป็นวงเวียนเพื่อให้เกิดพื้นที่โล่ง ทั้งยังเป็นสง่าราศรีแก่บ้านเมือง พื้นที่วงเวียนเกิดมีได้ก็เพราะเพลิงไหม้บริเวณนั้น จึงเกิดที่ว่างสร้างวงเวียนขึ้นได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 24 ก.ค. 02, 16:32
|
|
ขอบคุณครับ จริงแหละ มีสะพานชุดเฉลิมที่มีตัวเลขต่อท้าย อันเป็นเลขพระชนมายุ คล้ายๆ จะเป็นการบอกเวลาสร้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นวันที่โดยเฉพาะครับ ผมนึกว่าที่มีชื่อเป็นวันที่จะมีแต่วงเวียน 22 กรกฎาอันเดียว เมืองทางอเมริกาใต้ที่ชื่อทำนองนี้ที่ดังที่สุด ก็ริโอเดอจาไนโร ไงครับ ชื่อเมืองนี้แปลว่า แม่น้ำมกราคม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 12 ก.ย. 05, 18:16
|
|
เพิ่งมาอ่านพบกระทู้นี้ เลยขออนุญาตร่วมวงไพบูลย์ด้วยคนครับ
บริเวณที่เป็นวงเวียน ๒๒ กรกฎานี้เดิมเคยเป็นชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยหนานแน่นมาก ราว พ.ศ. ๒๔๖๐ หรือ ๖๒ ได้เกิดไฟไหม้ใหญ่เผาผลาญบ้านเรือนในบริเวณนี้ไปเกือบหมด เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบกีกระทรวงนครบาลจึงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตตัดถนนเพื่อควสามเป็นระเบียบของบ้านเมือง ต่อมาได้โปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตัดถนนสามส่าย บริเวณที่ถนนสามสายนั้นมาตัดกันได้โปรดให้สร้างเป็นวงเวียน พระราชทานนามว่า ๒๒ กรกฎา ส่วนถนนสามสายนั้นพระราชทานชื่อว่า ไมตรีจิต - มิตรสัมพันธ์ - สันติภาพ เมื่อแปลความหมายแล้วจะได้ความว่า รอบวงเวียนนั้นมี ๖ แยก คือ รัชกาลที่ ๖ ทรงประกาศสงครามเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ด้วยไมตรีจิตที่ใจ่อฝ่ายสัมพันธมิตรทำให้เกิดสันสันติภาพ นอกจากนั้นในเมืองจำลองดุสิตธานี ยังได้พระราชทานชื่อถนนไว้เป็นที่ระลึกว่า ๑๑ พฤศจิกา และ สยามชนะศึก ความหมาย คือ สยามประเทศมีชัยในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 16 ก.ย. 05, 02:05
|
|
คุณ V_Mee ครับ ผมสงสัยในชื่อถนนมิตรสัมพันธ์ครับ เพราะเห็นป้ายถนนระบุนามว่า "ถนนมิตรพันธ์" (ซึ่งน่าจะเป็นการสลับคำว่า "พันธมิตร")
ไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้ว่าอย่างไรครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 17 ก.ย. 05, 01:40
|
|
ถูกต้องตามที่ คุณ UP ทักมาครับ ใจเร็วไปนิด จริงต้องเป็นมิตรพันธ์ คือ พันธมิตร ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|