เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 20260 "เยาวราช" คือใคร
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 13 ก.ค. 02, 07:39

 สะพานราชเทวีนี่ใกล้ๆซอยกิ่งเพชรกับโรงแรมเอเชียใช่หรือปล่าวครับ
จำได้ว่าแถวนั้นอาหารอร่อยสุดๆเหมือนกัน    
บันทึกการเข้า
ฝอยฝน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 104

architect


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 13 ก.ค. 02, 07:59

 คุณจ้อมีเมนูอาหารร้านอร่อยๆจะแนะนำไหมคะ
หรือคุณจ้อกลับมาเมื่อไหร่  ให้คุณจ้อพาไปดีมั๊ยคะ
บันทึกการเข้า
ฝอยฝน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 104

architect


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 13 ก.ค. 02, 08:09

 อุ๊ย  ลืมตอบค่ะ  ใช่ค่ะ สะพานนั้นแหละค่ะ    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 13 ก.ค. 02, 09:53

 คำว่าบ้าน ประกอบตำบลที่อยู่ มีความหมายว่า แหล่ง หรือย่านที่มีอาชีพ หรือสินค้านั้นๆอยู่ค่ะ
อย่างบ้านบาตร เคยเป็นแหล่งช่างทำบาตรพระ   ภาษาช่างเรียกว่าตีบาตร   เพราะวิธีทำต้องตีเหล็กเพื่อทำเป็นรูปบาตร

มีหลายแห่งในกรุงเทพ ที่มีชื่อแปลกๆ  ชวนให้ค้นหาที่มาของชื่อ
อย่างสะพานหัน ติดกับสำเพ็ง
ที่ชื่ออย่างนี้เพราะในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีสะพานข้ามคลองแบบหันได้จริงๆ เพื่อให้เรือผ่านได้สะดวก  แต่หักพังไปในรัชกาลที่ ๒ สะพานสร้างใหม่เป็นสะพานข้ามธรรมดา แต่คนยังเรียกว่าสะพานหันเหมือนชื่อเดิม
ว่ากันว่าสะพานหันมีอีก ๒ แห่งในอิตาลี  คือเวนิศกับฟลอเรนซ์   ใครเคยเห็นบ้างคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 14 ก.ค. 02, 10:04

 ขอข้ามจากถนนสายเก่าแก่ในกรุงเทพมาถึงริมคลองแสนแสบ
เคยได้ยินชื่อชุมชนบ้านครัวไหมคะ จะเล่าถึงที่มาของชื่อนี้

 ตอนเช้าตรู่ ถ้าดิฉันเปิดประตูด้านระเบียง จะได้ยินเสียงสวดทำพิธีกรรมทางศาสนาของชาวบ้านครัวอีกฟากหนึ่งของคลองแสนแสบ ลอยลมเข้ามาในห้อง

หลายปีก่อนมีข่าวว่าทางด่วนจะตัดผ่านบ้านครัว  ชาวบ้านชุมนุมประท้วง   ให้สัมภาษณ์ว่าพวกเขาอยู่มาตั้งแต่รัชกาลที่ ๓
ต่อมาทางการก็ไม่ได้ตัดทางด่วน ชาวบ้านครัวก็อยู่กันอย่างสงบตามเดิม

คำว่า บ้านครัวไม่เกี่ยวอะไรกับห้องครัว  อย่างที่หนูมะหมี่นั่งขูดมะพร้าวจนโด่งดังในเรื่องแม่เบี้ย
แต่มาจากคำว่าแขกครัว   หมายถึงแขกจาม
ที่มีถิ่นฐานอยู่ในเขมร  นับถือศาสนาอิสลาม
ถูกกวาดต้อนมาตั้งถิ่นฐานในไทยตอนเราไปรบกับเขมร พอชนะก็กวาดต้อนชาวเขมรมา รวมพวกจามด้วย

ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อทำศึกกับพม่า ไทยเรามีทหารจามเป็นกำลังรบอยู่ในกองทัพไทย เรียกว่า ทหารอาสาจาม  พวกนี้มีความดีความชอบได้พระราชทานที่ดินนอกเมืองริมคลองมหานาคไปจนถึงวัดบรมนิวาส ให้อยู่อาศัยกัน
พอพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงให้ขุดคลองแสนแสบต่อจากคลองมหานาค   ชาวจามก็ขยายถิ่นที่อยู่ มาถึงริมคลองแสนแสบ
แล้วอยู่มาจนทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 15 ก.ค. 02, 11:14

 ชุมชนชาวจามในสยามนั้น มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาครับ กวาดต้อนมาตั้งแต่ครั้งไทยตีเขมร ชาวจามในอยุธยาตั้งเป็นกองอาสาช่วยรบมาตลอด จนคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 ก็ยังช่วยรบ จนเมื่อกรุงแตก พระเจ้าตากทรงสถาปนากรุงธนบุรีฯชาวจามก็ตามมาสวามิภักดิ์ และยังจัดตั้งเป็นกองอาสาต่อเนื่องมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ ชาวจามที่มาเติมในบ้านครัวนั้นมีทั้งชาวจามจากกรุงเก่าและที่อพยพมาจากเขมรเพิ่มเติมเมื่อครั้งตีเขมรในช่วงกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ด้วยครับ ทุกวันนี้ยังมีคนพูดภาษาจามอยู่ในชุมชนบ้านครัวเหมือนบรรพบุรุษของเขา แต่ก็คงเหลือน้อยมากแล้ว เช่นเดียวกับสิ่งดีๆที่พวกเขาเคยทำไว้ในการร่วมก่อร่างสร้างเมือง และคนกำลังลืมไป จนมองเขาเป็นแค่ส่วนเกินนั่นแหละครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 15 ก.ค. 02, 19:00

 ขอบคุณทุกท่านครับ

สะพานหันนั้น แต่ก่อนหันได้จริงๆ แต่ตอนนี้ติดตรึงตายกับฝั่งคลองสองข้างแล้ว ไม่หันแล้ว คล้ายกับอีกสะพาน คือ สะพานหก ไม่ได้แปลว่า 6 แต่แปลว่า หกเหียนหัน ทำนองหกคะเมนตีลังกา สะพานหก เป็นสะพานข้ามคลอง อยู่แถวหลังที่ทำงานเก่าผมที่วังสราญรมย์ แต่ก่อนก็ชักขึ้นหมุนได้จริงเหมือนกัน (ดูเหมือนเห็นประวัติอว่าเอาแบบมาจากฮอลแลนด์) ต่อมากลายเป็นสะพานธรรมดา แต่หลังสุดสมัยฉลองกรุงเทพฯ 200 ปี หรือยังไงนี่ มีการรื้อสร้างสะพานหกใหม่ กลับไปคงรูปเป็นแบบสะพานหกได้อย่างเดิม และมีประวัติเขียนจารึกไว้ด้วย แต่จะหกได้จริงหรือไม่ก็ไม่ทราบครับ

กลับเข้าเรื่องกระทู้ เป็นอันว่าได้ต้นตอชื่อ "เยาวราช" แล้ว  ราชวงศ์ล่ะครับ มาแต่ไหน แถวนั้นทั้งหมดขึ้นอยู่ในเขตสัมพันธวงศ์ ซึ่งฟังแต่เสียงชื่อ เหมือนกับว่าจะไปเกี่ยวกับชื่อสามัญ คือ สำเพ็ง -สัมพันธวงศ์ แต่ถ้าฟังเอาความหมายก็แปลได้อีก ถ้าเราจะแปล ว่าพระญาติพระเจ้าแผ่นดิน ก็พอได้ (มีเจ้านายดำรงพระยศเป็น พระสัมพันธวงศ์เธอพระองค์โน้นพระองค์นี้หลายพระองค์ในสมัย ร.5) น่าแปลกดีเหมือนกันครับว่ามีชื่อเยาวราช มีราชวงศ์ แล้วยังมีสัมพันธวงศ์อีกด้วย ถ้าจะว่าเคยมีวังเจ้านายแถวนั้น เท่าที่ความรู้เท่าหางของหางอึ่งหางด้วนของผมจะรู้ก็นึกออกแค่วังเดียว คือวังบูรพา ซึ่งออกจะเลยออกไปริมย่านเยาวราชแล้ว

ไม่ทราบว่าสำเพ็ง แปลว่าอะไรในภาษาจีนครับ  3....อะไรสักอย่าง?

นอกจากบ้าน (แขก) ครัว เรายังมีตำบลชื่อบ้านแขกด้วย
บันทึกการเข้า
ฝอยฝน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 104

architect


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 15 ก.ค. 02, 21:07

 เมื่อวันหยุดที่ผ่านมา มีงานต้องไปเก็บข้อมูลแถบฝั่งธนฯ  มีโอกาสผ่านไปแถบ ท่าดินแดง  ฝั่งตรงข้ามท่าน้ำราชวงศ์ เดี๋ยวนี้คงจะเปลี่ยนไปหมดแล้ว แต่คุยกับเพื่อนร่วมงาน ได้ความว่าในสมัยหนึ่งคนจีนที่ทำงานแถวราชวงศ์จะข้ามมานอนแถวท่าดินแดงนี่  และได้อ่านหนังสือพบว่าทางฝั่งนี้ก็จะมีย่านที่เรียกว่า กงสี  หมายถึง คนจีนที่เพิ่งมาอพยพมาจากเมืองจีน จะมาอยู่รวมกันพักที่นี่ กินอยู่ร่วมกันแบบญาติ  พอทำงานไถ่ค่าตัวค่าเรือแล้วถึงจะย้ายไปอยู่ที่อื่น

 แต่ที่แน่ๆแถวนี้ของกินอร่อยมากค่ะ  มีก๋วยเตี่ยวลูกชิ้นปลา ที่มีลูกชิ้นกุ้งทอดแสนอร่อยกับหนังปลากรอบเพิ่มมาด้วย  แถมยังมีหมูสะเต๊ะอีกด้วย  เพื่อนร่วมทางบอกว่าถ้ามาเช้ากว่านี้ จะมีโจ๊กเจ้าเด็ด พร้อมปาทั่งโก๋

ทีนี้ข้ามวกกลับไป ฝั่งกรุงเทพฯ ก็ได้ค่ะ ....
ท่านพระยาอนุมานราชธน  ท่านเล่าไว้ว่า วัดเกาะ มีชื่อทางราชการว่า วัดสัมพันธ์วงศ์ เดิมชื่อวัดเกาะแก้วลังการาม  กรมหลวงพิทักษ์มนตรี เป็นผู้ปฎิสังขรณ์ ในรัชกาลที่ 4 พระราชทานนามใหม่ เป็น วัดสัมพันธวงศาราม กรมหลวงพิทักษ์มนตรี เป็นโอรสของ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระศรีสุดารักษ์  มีคำนำหน้าเฉลิมพระอิสริยยศ เมื่อภายหลังว่า สมเด็จพระสัมพันธ์วงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี  เหตุนี้วัดเกาะจึง ได้นามว่า วัดสัมพันธ์วงศ์
เขตสัมพันธวงส์ก็คงมาจากพระนามนี้
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 16 ก.ค. 02, 11:04

 สำเพ็งคนจีนแต้จิ๋วเรียกซำเผ่ง
น่าแปลกที่ผมสงสัยว่ามันไม่ใช่ภาษาจีนนะ ถึงจะฟังคล้ายก็เถอะ
ไม่รู้ภาษาอะไร เจอญาติผู้ใหญ่ต้องลองถามดู
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 16 ก.ค. 02, 12:02

 มายืนยันคำตอบของคุณฝอยฝนค่ะ

ส่วน "สำเพ็ง" ถือเป็นคำหนึ่งที่ช่วยให้นักภาษาไทยและนักประวัติศาสตร์มีงานทำมา ๒๐๐ ปีแล้ว  
คือตั้งแต่เริ่มตั้งกรุงเทพ มาจนบัดนี้ก็ยังไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร  ต้องค้นคว้ากันไปเรื่อยๆ
บางคนบอกว่าเพี้ยนมาจาก "สามแพร่ง"
ขุนวิจิตรมาตราหรือกาญจนาคพันธุ์บอกว่ามาจาก "สามปลื้ม" ที่คนจีนออกเสียงเป็นสำเพ็ง
อาจารย์สมบัติ พลายน้อย  หยิบเอานิราศเมืองแกลงของสุนทรภู่มาวิเคราะห์ว่า
" ถึงสำเพ็งเก๋งตั้งริมฝั่งน้ำ  
แพประจำจอดเรียงเคียงขนาน"
สำเพ็งเก๋ง  น่าจะเป็นชื่อเก๋งประเภทหนึ่ง

แต่ดิฉันไม่แน่ใจ เพราะอาจแยกออกมาได้ความว่า
ถึงสำเพ็ง...ก็คือละแวกสำเพ็ง
เก๋งตั้งริมฝั่งน้ำ....เป็นอีกความหนึ่ง
หมายความเพียงว่าถึงย่านสำเพ็งก็เห็นเก๋งจีนตั้งอยู่ริมแม่น้ำ
ใครรู้ภาษาจีนช่วยบอกหน่อยค่ะว่าเก๋งสำเพ็งมีหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 16 ก.ค. 02, 17:49

 ขออภัยที่พักนี้ผมจะอ้างเจ้าคุณอนุมานราชธน หรือเสฐียรโกเศศ บ่อยหน่อย เพราะตอนนี้ที่นี่เผอิญมีหนังสืออยู่

ท่านเจ้าคุณมีจดหมายกราบทูลสมเด็จฯ ครู คือสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ ว่า เคยถามคนจีนเรื่องสำเพ็ง คนจีนบอกว่าคือ สันติ 3 ประการ สำ- 3 ส่วน -เพ็ง นั้นแต้จิ๋วเป็นเผ่ง และว่าแปลว่าสันติ แต่ไล่ถามต่อว่าแล้วสันติสามประการมีอะไรบ้างก็ตอบไม่ได้ ท่านเจ้าคุณสงสัยว่าเดิมจะไม่ได้แปลว่ายังงั้นจริงแต่เป็นเสียงคำอื่น

ถ้าสำเพ็งคือซำเผ่ง จีนกลางก็คือ ซานผิง และผมนึกว่าผิง ผิงอัน เหอผิง ในภาษาจีนแปลว่าสันติก็ได้อย่างที่มีคนเรียนท่านเจ้าคุณอนุมานฯ ชื่อเมืองหลวงจีนเดิมว่าเป่ยผิงสมัยก่อนสงครามโลกครั้งแรก (ไทยสมัยนั้นเรียกว่า กรุงไปปิง) ก็แปลว่าสันติภาพทางเหนือ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็นเป่ยจิงหรือมหานครทางเหนือ อันเป็นชื่อกรุงปักกิ่งเดี๋ยวนี้ แต่ผิงดูเหมือนจะแปลว่าสงบราบเรียบ ราบคาบ ก็ได้ ความหมายยังไม่ไกลจากสันติภาพนัก แล้วก็ดูเหมือนผิงจะแปล ในทางภูมิศาสตร์ ว่าที่ราบก็ได้ด้วย
ถ้ายังงั้นซานผิงจะเป็นทุ่งราบสามทุ่ง ไหวไหมครับ?

แต่ทั้งหมดนี้เป็นเดา บางทีสำเพ็งอาจจะเป็นภาษาไทยก็ได้ (เช่นคำว่า สามแพร่ง) ที่คนจีนพยายามถอดเสียงเป็นภาษาเขา แล้วไทยถอดกลับมาอีกที เป็นสำเพ็ง เลยความหมายเดิมเลยหายไป

วัดเกาะ ใช่วัดเดียวกับที่เคยมีโรงพิมพ์หนังสือ จักรๆ วงศ์ๆ ขายสมัยสัก 100 ปีมาแล้วหรือเปล่าครับ "เล่มสลึงพึงรู้ท่านผู้ซื้อ แบบหนังสือวัดเกาะเพราะนักหนา ราษฎร์เจริญโรงพิมพ์ริมมรคา เชิญท่านมาเลือกซื้อดูคงรู้ดี..."
บันทึกการเข้า
ฝอยฝน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 104

architect


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 16 ก.ค. 02, 18:50

 ในหนังสือ องค์ประกอบทางกายภาพของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำขึ้น  แบ่งการศึกษาออกเป็นหลายสมัย

ได้กล่าวถึงถนนสามเพ็ง ว่ามีขึ้นตั้งแต่ ช่วงสมัย รัชกาลที่ 1-3 แต่ถนในสมัยนั้นเป็นแค่แนวทางเดินเล็กๆ
และได้กล่าวว่า ถนนเยาวราช หรือถนน ยุพราช สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นถนนที่สร้างเคียงมากับถนนสามเพ็งเดิม  แต่ถนนเดิมขยายลำบาก  ถนนยุพราชช่วงแรก เริ่มต้รที่ถนนมหาไชยหน้าวังบูรพา ไปสิ้นสุดที่ถนนราชวงศ์  
และยังเล่าถึง สะพานแบบใหม่ที่สร้างตามรูปแบบตะวันตก ในสมัย รัชกาลที่ 4-5 มี สะพานหก  สะพานหัน  และสะพานโครงเหล็กรูปโค้ง
สะพานหก มีดังนี้
สะพานหกหน้ากระทรวงมหาดไทย ข้ามคูเมืองเดิม
สะพานหกหลังกระทรวงกลาโหม ข้ามคูเมืองเดิม
สะพานหก ริมวังพระองค์เจ้าสายปัญญา
สะพานหกข้ามคลองบางกอกใหญ่
สะพานข้ามคลองมอญ

ขอกลับไปท่าน้ำราชวงศ์ หน่อยค่ะ  คิดถึงในหนังสือสมัยก่อน เวลาเดินางไปหัวเมืองชายทะเล  เป็นต้องไปขึ้นเรือที่ท่าราชวงศ์ นึกถึงปริศนา ของท่านชายพจน์ ตอนไปรับ-ส่งแม่และพี่สาวที่ท่าน้ำราชวงศ์นะคะ
 
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 16 ก.ค. 02, 19:41

 สะพานหกใกล้ที่ทำงานเก่าผม ที่ว่าสร้างใหม่เป็นรูปสะพานหกตามเดิม นั้น น่าจะเป็นสะพานหกหน้ากระทรวงมหาดไทยข้ามคลองคูเมืองเดิมครับ ส่วนสะพานข้ามคูเมืองหลังกระทรวงกลาโหม เข้าใจว่า ตอนนี้กลายเป็นสะพานคนเดินธรรมดาไปแล้วครับ หกไม่ได้แล้ว

นึกเล่นๆ สำเพ็ง - 3 ผิง  ถ้าคือ สามราบ จริง ก็จะไปใกล้กับเสียมราบ เสียมเรียบ (ไทยเขียนเสียมราฐ) อีกชื่อหนึ่ง นี่นึกเล่นสนุกๆ นะครับ อย่าฟังเอาเป็นหลักฐาน

นึกเล่นต่ออีก คำว่าเพื่อน แต้จิ๋วว่าเผ่งอิ้ว จีนกลางว่าเผิงโหย่ว (เผิง หนังสือคนละตัวกับผิงที่แปลว่าสงบสันติ) เพื่อนสามคนหรือสามสหาย เรียก ซำเผ่งอิ้วได้ไหม? เพราะว่าตรงแถวนั้นมีวัดเก่าชื่อเดิมชื่อ วัดสามจีน อยู่ และเดี๋ยวนี้ได้ชื่อว่า วัดไตรมิตร... แต่ข้อที่คิดเล่นข้อนี้คงจะตกไป เพราะผมเข้าใจว่าภาษาจีนเรียกสำเพ็งว่าซำเผ่ง เป็นเผ่ง สันติ ไม่ใช่เผ่งอิ้วหรือสหาย
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 16 ก.ค. 02, 20:07

 งานนี้ท่าจะยุ่งแล้วสิครับ

ตัวผิงที่แปลว่าสันตินั้น คนแต้จิ๋วออกเสียงว่าเพ้งครับ ไม่ใช่เผ่ง ถ้าจะออกเป็นเผ่งก็เป็นเพราะการผันเสียงตามตัวอื่น เช่นกับคำ อัง (อัน ในสำเนียงจีนกลาง) เพ้ง+อัง ออกเสียงว่า เผ่งอัง
กรณีซำเผ่งนั้น ไม่ใช่ตัวผิงตัวนี้แน่ๆ เพราะถ้าใช่ก็คงเรียกเป็น ซำเพ้ง ไปแล้ว

กรณีซำเผ่งอิ้ว ดูเป็นไอเดียพิสดารดีครับ แต่ก็คงไม่ใช่อีก เพราะคนจีนไม่นิยมเรียกย่อลักษณะนี้

ยิ่งไปเป็นสามปลื้มนั้น ผมยิ่งว่าไม่น่าใช่ไปกันใหญ่ เพราะลิ้น+หูคนจีนไม่น่าเพี้ยนมาออกแนวนี้ น่าจะออกไปทาง ซำป๋อลิ้ม อะไรเทือกนั้น

จนแล้วจนรอดผมก็ยังนึกไม่ออก เพราะดูแล้วคำนี้คนจีนน่าจะเรียกทับศัพท์คำว่าสำเพ็งในภาษาไทย(ฮืม)มากกว่านะครับ

จะถามแม่ดู
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 17 ก.ค. 02, 05:01

สะพานหันได้ที่เวนิซนี่คุ้นๆว่าจะเคยเห็น แต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นอันเดียวกับที่คุณเทาชมพูพูดถึงหรือเปล่า
คิดว่าอาจจะเป็นสะพานที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ทหารเรือหรืออะไรซักอย่างที่เกี่ยวกับกองทัพเรือของเวนิซ (ต้องขอไปค้นก่อน)
ส่วนที่ฟอเรนส์นี่ไม่เห็นครับ

แต่สะพานที่ทั้งเวนิซและฟอเรนส์มีเหมือนกันแน่ๆ คือสะพานที่มีร้านขายของอยู่ข้างบน
ที่เวนิซมี Rialto ส่วนที่ฟอเรนส์มีสะพาน Ponte Vecchio มีชื่อเสียงทั้งสองแห่งครับ เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว
Rialto ลองดูภาพที่เว็ปนี้ครับ
 http://www.danheller.com/venice-rialto.html
ส่วน Ponte Vecchio ดูที่นี่
 http://www.florence.ala.it/ing/foto/htm/pt_vecc.htm
เห็นคุณฝอยฝนบอกว่าให้ผมแน่นำร้านอาหารแถวกิ่งเพชร                           แนะนำพอได้ครับ แต่ผมถ้ามีคนเลี้ยงข้าวนี่ จะแนะนำได้สะดวกขึ้นครับ ฮี่ๆๆๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.04 วินาที กับ 20 คำสั่ง