ฝอยฝน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 104
architect
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 17 ก.ค. 02, 05:17
|
|
ยินดีค่ะ ดร.จ้อ ฝนจะพาดร. จ้อไปเลี้ยงฉลองความสำเร็จทันทีที่สะดวกนะคะ ส่วนเรื่องสะพานพรุ่งนี้ค่อยคุยนะคะ วันนี้ขอไปทำงานต่อก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 17 ก.ค. 02, 05:24
|
|
ตืิ่นไปทำงานตั้งแต่ตีห้าเลยหรือครับ  ผมอยู่ที่นี่ไม่เคยไปทำงานก่อนสิบโมงเช้าเลย เนื่องจากว่ากว่าจะตื่นก็เที่ยงแล้ว แหะๆๆ ไม่ทราบเหมือนกันว่าเรียนจบได้ยังไง ยังงงอยู่ หึๆๆๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฝอยฝน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 104
architect
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 17 ก.ค. 02, 05:31
|
|
อิ อิ ...งานไม่เสร็จ ต้องเร่งทำให้ทันวันศุกร์ แบบพอกหางหมูไงคะ นอนไม่หลับ ตื่นมาตั้งแต่ก่อน ตี 4 แล้วค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
bookaholic
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 17 ก.ค. 02, 14:17
|
|
ขอเข้าคลาสวิชาเดาชั่นอีกคนครับ สำเพ็ง มีวัดชื่อวัดสำเพ็งอยู่ที่ถนนสำเพ็งใต้ ไม่รู้ว่ามีมาก่อนสร้างเมืองหลวงหรือเปล่า ในพงศาวดารบอกว่าตอนสร้างพระบรมมหาราชวัง ร.๑ โปรดให้ชาวจีนย้ายไปอยู่ท้องที่วัดสำเพ็ง ถ้าวัดมีมาก่อน สำเพ็งก็น่าจะเป็นชื่อเฉพาะของวัด แต่จะมาจากชื่อ สามเพ็ง คือนายหรือนางเพ็งสามคนช่วยกันสร้างวัด ก็ไม่มีหลักฐาน ผมมาคิดเอาว่าเมื่อท่านทั้งหลายที่รู้ภาษาจีนยังงงๆว่าไม่น่าจะเป็นจีน ก็อาจจะไม่ใช่จีน เรื่องเป็นภาษาแขกตัดไปได้ เสียงมันไม่น่าจะบวชมาจากบาลี ภาษาอังกฤษยิ่งอิมพอสสิเบิ้ล งั้นผมเดาเอาดื้อๆว่าเหลือภาษาไทย สำเพ็ง อาจจะมาจาก สามเพ็ง ภาษาไทยดีๆนี่แหละ เพราะเมื่อใครสร้างวัดเขาก็มักจะตั้งชื่อไว้เป็นอนุสรณ์ คนไทยชื่อเพ็งกันถมไป แล้วชื่อกันทั้งชายหญิง ถ้าจะมีมิสเตอร์และมิสซิสเพ็ง หรือมิสเพ็งอีกซักคนช่วยกันสร้างวัด เลยชื่อสามเพ็ง นานๆหดเป็นสำเพ็งก็น่าจะเดาได้ไม่ถูกตีมือนะครับ
แถวนั้นมีวัดชื่อสามอยู่อีก ๒ คือวัดสามปลื้ม วัดสามจีนที่ต่อมาคือวัดไตรมิตร ตั้งข้อสังเกตเฉยๆครับ อาจเป็นความนิยม
ย้อนมาถึงวัดเกาะ ชื่อเดิมของวัดสัมพันธวงศ์คือวัดเกาะแก้วลังกา เรียกกันสั้นๆว่าวัดเกาะครับ มาเปลี่ยนชื่อสมัยร. ๔ เรื่องจักรๆวงศ์ๆ พิมพ์ขายในโรงพิมพ์หน้าวัดเกาะ เล่มละสลึง เมื่อ๑๐๐ปีก่อนคงแพงเหมือนกันนะ
วัดเกาะมีชื่ออยู่ในประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ว่าเป็นแหล่งที่มิชชันนารีฝรั่งสมัยรัชกาลที่ ๓ ลงจากเรือมาเผยแพร่ศาสนา ที่บ้านใกล้วัดเกาะก่อนอื่น พ.ศ. ๒๓๗๑
วัดเกาะเนี่ยอีกเหมือนกัน ไม่กี่ปีต่อมา ฝรั่งซ่าชื่อกัปตันเวลเลอร์เข้าไปยิงนกพิราบ จะยิงเล่นหรือยิงไปกินก็ไม่รู้ แต่นกตาย ผลคือถูกพระสงฆ์ไทยเข้ามารุมสกรัมซะสะบักสะบอม และผลข้างเคียงคือมิชชันนารีซึ่งเป็นฝรั่งเหมือนกันถูกไล่ที่ จนต้องย้ายไปอยู่แถวกุฎีจีน ฝั่งธนบุรี ใกล้ร.ร.ซานตาครูสในปัจจุบัน
เผลอเล่าเรื่องวัดอีกแล้ว ทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจเลย คุณเรไรจะหาว่าผมเป็นสมีอีกมะล่ะเนี่ย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ถาวภักดิ์
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 18 ก.ค. 02, 12:00
|
|
ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ครูBookครับ จ้องจะทักตั้งแต่เรื่องมิลินทปัญหาแล้ว ติดขัดแต่ยังไม่ได้สมัครสมาชิก กว่าจะสมัครได้ก็ไม่มีใครเข้าไปต่อความอยู่หลายเพลาแล้ว เลยยังไม่ได้ทักจนบัดนี้
พูดถึงเยาวราชระยะนี้ผมนึกได้แต่ของบำรุงพุง เพราะมีมิตรท่านหนึ่งคอยฉุดกระชากลากถูไปนั่งหม่ำตอนดึกๆสัปดาห์ละ2-3ครั้ง จนชักจะเหมือนแป๊ะยิ้มเข้าไปทุกทีแล้ว มีหวังตรุษจีนหน้า หาพัดมาควงก็คงเข้าขบวนเต้นสิงโตได้โดยไม่ต้องสวมหัว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 19 ก.ค. 02, 09:08
|
|
ยังหาที่มาของ "สำเพ็ง" ลงตัวไม่ได้จนแล้วจนรอด
เลยขอย้อนกลับไปริมฝั่งเจ้าพระยา ข้ามสะพานพระราม ๘ ที่เพิ่งเสร็จหมาดๆ เส้นทางเลียบผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบ๊งค์ชาติ มองเห็นวังบางขุนพรหมเด่นอยู่ตรงนั้น
ย้อนหลังก่อนที่จะมีวังบางขุนพรหมในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต สร้างเมื่อรัชกาลที่ ๕ ละแวกนี้เรียกว่า "บางขุนพรหม" น่าเสียดายที่ไม่รู้ว่าท่านขุนพรหมที่ว่านี้นามสกุลอะไร รู้แต่ว่าท่านเป็นหนึ่งในขุนนางที่ได้รับพระบรมราชโองการในรัชกาลที่ ๑ ไปเป็นนายช่างสร้างพระพุทธบาทที่สระบุรี แล้วท่านก็ป่วยเป็นไข้ป่า ถึงแก่กรรม พี่ชายของท่านจึงสร้างวัดในบริเวณบ้านเดิมที่อยู่อาศัยให้เป็นที่ระลึกเรียกว่าวัดบางขุนพรหม ละแวกนั้นชาวบ้านก็เรียกกันว่าบางขุนพรหม แทนชื่อเดิมว่าบ้านลาน
ต่อมาวัดได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่โดยหลานชายของขุนพรหม ๓ คน เป็นพระยาทั้งสามคน วัดจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดสามพระยา"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 22 ก.ค. 02, 09:56
|
|
กลับมาใหม่กับสำเพ็ง เป็นอันแน่นอนแล้วว่าชื่อสำเพ็งนั้นไม่ใช่ชื่อจีน คำ"เผ่ง" ใน "ซำเผ่ง" นั้น เป็นตัวเดียวกับคำว่า "เผี่ย" (เสียงออกจมูก) ที่แปลว่า หมั้น แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้ใช้ในความหมายอย่างนั้นแต่อย่างใด
แต่คำว่าสำเพ็งนั้น ก็ยังเป็นคำที่ไม่รู้ที่มาอยู่ดี แต่ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ผมได้สอบถาม ก็ให้ข้อมูลที่แตกต่างกันจากที่เคยเสนอกันไว้ที่นี้อีก 2 อย่างคือ 1.คำสำเพ็งมาจากชื่อวัดที่ชื่อ สามเพ็ง แล้วกร่อนเสียงเป็นสำเพ็ง 2.แต่เดิมบริเวณนั้นเป็นสามแพร่ง คนจีนเรียกไม่ชัดว่าซำเผ่ง คนไทยมาเรียกตามคนจีน(ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในละแวกนั้น) ว่าสำเพ็ง ในภายหลังครับ
ก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่าสำเพ็งมาจากไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 22 ก.ค. 02, 11:06
|
|
ชักจะคล้อยตามว่าน่าจะมาจากวัดสามเพ็ง ส่วนสามแพร่ง คงเป็นคำไทยที่คิดว่าคล้ายสำเพ็งมากที่สุด แต่ยังไม่เคยเจอหลักฐานว่าแถวนั้นเป็นทางสามแพร่งมาก่อน การติดต่อกันในกรุงเทพและธนบุรีใช้ทางน้ำไม่ใช่ทางบก ทางสามแพร่งถ้ามีก็เป็นทางเดินแคบๆ ไม่ค่อยมีบ้านคนอยู่อาศัยกัน บ้านจะอยู่ริมน้ำมากกว่า ทางสามแพร่งถือว่าเป็นที่ไม่เป็นมงคล ตุ๊กตาเสียกบาลก็ไปทิ้งไว้ที่ทางสามแพร่ง บางแห่งว่านักโทษก็ประหาร หรือเสียบกระจานไว้ที่ทางสามแพร่ง ถ้าสำเพ็งมีทางสามแพร่งจริง น่าจะมีบันทึกไว้บ้างนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 22 ก.ค. 02, 21:08
|
|
ค่อนข้างเชื่อครู Book ด้วยคนว่าเป็นชื่อวัดสำเพ็ง หรือสามเพ็งมาก่อน ก่อนจะเป็นชื่อย่านครับ โดยเฉพาะถ้าวัดมีมาก่อนที่คนจีนจะย้ายมาอยู่แถวนี้
แต่ก่อน สำเพ็งเป็นคำด่ากันด้วยครับ ใครถูกด่าว่าเป็นผู้หญิงสำเพ็งก็คือว่าว่าเป็นโสเภณี เดี๋ยวนี้ความหมายนี้หายไปแล้วมั้ง เพราะเป็นที่น่าเศร้าใจว่าธุรกิจขายกามแพร่สะพัดไปทั่วกรุงเทพฯ ไปหมดแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฝอยฝน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 104
architect
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 23 ก.ค. 02, 01:32
|
|
เสฐียรโกเศศ ท่านเล่าไว้ว่า ในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง พระองค์ท่านเสด็จไปทรงทอดผ้ากฐินหลวง ณ.วัด ประทุมคงคา เสด็จพระราชดำเนินเป็นขบวนพยุหยาตราน้อยทางสถลมารคไปตามถนนในท้องสำเพ็ง เริ่มตั้งแต่สะพานหัน ไปสุดทางที่วัด ซึ่งถือว่าเป็นงานใหญ่เพราะไม่มีบ่อยๆ ว่ากันว่า 3 ปีมีครั้ง โดยเฉพาะในขบวนพยุหยาตรา จะมีวอพระประเทีบยหลายวอ ซึ่งคนทั่วไปไม่ค่อยจะได้เห็นกัน เด็กๆก็จะตื่นเต้น
สมัยก่อนลูกสาวชาวไทย ชาวจีน ที่มีอันจะกินต้องเก็บเนื้อเก็บตัว จะออกมาหน้าบ้าน ก็เวลามีงานพระกฐินหลวงนี่แหละ ชาวสำเพ็งจะตื่นเต้น ดีใจออกมาตั้งโตะบูชาประกวดประชันกัน หนุ่มๆก็จะได้ยลโฉมสาวๆสวยๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ถาวภักดิ์
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 23 ก.ค. 02, 10:23
|
|
คุณหลวงนิลฯ พูดได้ตรงใจ คนโบราณท่านตายาวนัก ท่านเห็นความสำคัญของการขนส่งมวลชนมาตั้งแต่ร้อยปีก่อน อุตส่าห์วางแผนกันที่ดินเอาไว้เป็นเครือข่ายใยแมงมุมทั้งกรุงเทพฯ พอมาถึงยุคตาสั้น เอาออกมาหาผลประโยชน์กันหมด ที่น่ากุดหัวพวกตาสั้นมากที่ีสุดก็ตรงที่ปล่อยมาให้เป็นอัครสถานค้ากาม
ซึ่งไม่ใช่แต่เท่านี้นะครับ แม้อาคารสำนักงานใหญ่ของบริษัทที่รัฐบาลสั่งปิด ก็เอามาให้เป็นแหล่งอบาย ดูเอาเถิด คนที่รับผิดชอบปล่อยออกมาเป็นสถานที่แบบนั้น เขาไม่นึกบ้างเลยหรือว่านี่เท่ากับบอกกับประชาชนและคนทั้งโลกว่า รัฐบาลประเทศนี้ไม่รังเกียจอบายเลย สักแต่ขอให้ได้เงินมาเถิด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
bookaholic
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 23 ก.ค. 02, 17:58
|
|
กรุณาอย่าเรียกผมว่าครูเลยครับคุณถาวภักดิ์และคุณหลวงนิล ผมเขิลลล ผมพวกครูพักลักจำ ใครชมก็หมดภูมิพอดีทุกทีหละครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ถาวภักดิ์
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 24 ก.ค. 02, 10:36
|
|
รึจะให้เรียกสมีก็ได้นะครับ
ครูBook ยังดีต้องรอให้มีคนชมถึงจะหมดภูมิ ผมหมดตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว สงสัยต้องไปหากินกับไสยศาสตร์
ว่าแล้วก็ใช้ซะเลย ที่ว่าว่าสำเพ็งเป็นถิ่นที่เคยมีทางสามแพร่งนั้น หมอผีขอค้านครับท่านประธาน ด้วยเหตุว่าทางสามแพร่งนั้นเป็นแดนอาถรรพณ์ เป็นที่สิงสถิย์ของสัมภเวสี วิญญาณเร่ร่อน ดวงจิตที่ดำมืดด้วยวิบาก และมิจฉาทิฐิ เป็นจำนวนมาก เป็นดังซ่องโจร หรือ ืืno man's land ในโลกทิพย์ จึงเป็นที่ที่ไม่อาจเจริญรุ่งเรืองเป็นถิ่นทำมาค้าขายได้ สำเพ็งเป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยฮวงจุ้ยอันเกื้อต่อการค้าขายอย่างยิ่ง ว่ากันว่าแม้ห้องแถวเล็กๆคูหาเดียวจะขอซื้อสักห้าสิบล้าน เจ้าของก็ไม่ยอมขาย ด้วยเป็นดังปากประตูเงินประตูทอง สามารถดึงดูดการค้าให้สะพัดสร้างรายได้นับล้านต่อวัน จึงเป็นไปไม่ได้ว่าสำเพ็งเคยเป็นถิ่นทางสามแพร่งมาก่อนด้วยประการฉะนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 10 ก.ค. 06, 12:13
|
|
เข้ามาจะค้นกระทู้เก่าว่าด้วย ยุพราช มาเจอกระทู้เรื่องถนนเยาวราช เลยขออนุญาตร่วมสนุกขุดกรุของเก่ามาเล่าต่อ
ชื่อภนนเยาวราชนั้น คิดว่าในหลวงรัชกาลที่ ๕ คงจะทรงตั้งให้หมายถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
ที่ผมว่าเช่นนั้น ก๋เพราะในรัชกาลที่ ๕ นั้น ได้โปรดพระราชทานพระนามพระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้ามาตั้งเป็นชื่อถนนหรือสถานที่สำคัญเกือบทุกพระองค์ ลองลำดับดูเท่าที่จำได้นะครับ
ถนนพาหุรัด - สมเด็จฯ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ ถนนบริพัตร - สมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ถนนจักรพงษ์ - สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประนาถ ถนนอัษฎางค์ - สมเด็จฯ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ถนนยุคล - สมเด็จฯ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
พระนามชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ที่นึกออกคงมีเท่านี้ แต่แปลกไม่ยักมีชื่อ ถนนวชิรุณหิศ หรือถนนวชิราวุธ หรือจะเป็นเพราะได้พระราชทานาม ถนนเยาวราช และราชวงศ์ไว้แล้ว
ถนนเยาวราช นั้นตรงกับพระอิสริยยศ พระเยาวราช คือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร นามนี้คงชัดเจน ส่วนถนนราชวงศ์นั้น ในความคิดของผมไม่ทราบจะถูกผิดประการใด น่าจะมาจกคำว่า Prince Royal ในภาษาอังกฤษ ซึ่งจะแปลว่า พระยุพราชก็ดี หรือพระเยาวราชน้อยซึ่งเทียบได้กับกรมพระราชวังหลังก็ได้ และน่าจะหมายถึงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี ซึ่งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นลำดับที่ ๒ รองจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 10 ก.ค. 06, 12:20
|
|
มาต่อเรื่องพระนามเจ้านายที่เป็นชื่อถนนอีกนะครับ
ในรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงดำเนินตามพระบรมราชวิเทโศบายในสมเด็จพระบรมชนกนาถ ได้โปรดพระราชทานพระนามกรมในพระราชโอรส พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ มาขนานนามถนนอีกหลายสาย เช่น ถนนศรีอยุธยา - สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเทพทวาราวดี (กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา) ถนนพิษณุโลก - สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ถนนราชสีมา - สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครราชสีมา ถนนนครสวรรค์ - สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ถนนอู่ทอง - สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนอู่ทองเขตรขัตติยนารี ถนนเพชรบุรี - สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ถนนนครไชยศรี - กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|